Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 40

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การแช่แข็งตัวอ่อนที่เก็บจากฝูงแม่กระบือปลัก (Bubalus Bubalis) พันธุ์ดี, มาลี อภิเมธีธำรง, นุชรินทร์ ศงสะเสน, วิบูลย์ เยี่ยงวิศวกูร, ยันต์ สุขวงศ์, มงคล เตชะกำพุ Dec 1998

การแช่แข็งตัวอ่อนที่เก็บจากฝูงแม่กระบือปลัก (Bubalus Bubalis) พันธุ์ดี, มาลี อภิเมธีธำรง, นุชรินทร์ ศงสะเสน, วิบูลย์ เยี่ยงวิศวกูร, ยันต์ สุขวงศ์, มงคล เตชะกำพุ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการแช่แข็งตัวอ่อนกระบือปลักไทย ที่เก็บจากแม่กระบือ ปลักพันธุ์ดีที่ถูกคัดออกจากฝูง โดยทําการแช่แข็งตัวอ่อนกระบือปลักจำนวน 29 ตัวอ่อน ด้วยวิธีมาตรฐาน ใช้อัตราการลดอุณหภูมิ 0.5°c ต่อนาที จากอุณหภูมิ -6.5°c ถึง -30 °c ก่อนนำลงแช่ในไนโตรเจนเหลว น้ํายา แช่แข็งตัวอ่อนที่ประกอบด้วย 10% (v/v) กลีเซอรอล + 0.1 M ซูโครส ในสารละลาย Dulbecco's modified phosphate buffered saline (D-PBS) หลังเก็บไว้นานประมาณ 1 ปี ละลายตัวอ่อนและดึงสารป้องกันการเกิด ผลึกน้ำแข็งออกจากตัวอ่อนแบบ 3 ขั้นตอนในน้ำยาสำหรับละลายตัวอ่อน โดยค่อย ๆ ลดความเข้มข้นของ กลีเซอรอลจาก 5% (v/v) ไปยัง 2.5% และ 0% ตามลำดับ อย่างละ 5 นาที พบว่ามีตัวอ่อนกระบือ จำนวน 25 ตัวอ่อน (86.2%, 25/29) ที่มีคุณภาพและลักษณะสามารถนำไปใช้ย้ายฝากได้ แบ่งเป็นระยะมอรูล่า 15 ตัวอ่อน (83.3%, 15/18) มอรูล่าระยะรวมตัวแน่น (compact morula) จำนวน 4 ตัวอ่อน (100%, 4/4) เป็นตัวอ่อน ระยะบลาสโตซีสระยะแรก (early blastocyst) 2 ตัวอ่อน (100%, 2/2) และ ระยะบลาสโตซิส (blastocyst) 4 ตัวอ่อน (100%, 4/4) ย้ายฝากตัวอ่อนจำนวน 21 ตัวอ่อนให้กระบือตัวรับ 10 ตัว ตัวรับตั้งท้อง 1 ตัว (10%, 1/10) จากผลการศึกษานี้ …


โรค Motile Aeromonas ในปลา, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์, นันทริกา ชันซื่อ, วิชาญ ผสมกิจ Dec 1998

โรค Motile Aeromonas ในปลา, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์, นันทริกา ชันซื่อ, วิชาญ ผสมกิจ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


A Serological Survey Of Equine Infectious Diseases In Thailand, Urasri Tantaswasdi, Ruenrudee Punyahotra, Surapong Wongkasemjit, Patchima Indrakamhang Dec 1998

A Serological Survey Of Equine Infectious Diseases In Thailand, Urasri Tantaswasdi, Ruenrudee Punyahotra, Surapong Wongkasemjit, Patchima Indrakamhang

The Thai Journal of Veterinary Medicine

During 1997-1998, a serological survey of equine infectious diseases in Thailand was undertaken. Blood, sera and blood smears were taken from 400 horses, donkeys and mules out of an equine population of 8,600. Tests were carried out at the National Institute of Animal Health, Bangkok, Thailand, and at the USDA laboratories, USA, for 10 diseases. There was no evidence of the presence of African Horse Sickness, Glanders, Dourine, Surra and Equine Viral Arteritis. There was one reactor to Babesia caballi and 62 to Babesia equi. Fourteen reactors to equine influenza virus subtype 1 (Praque) and 24 to subtype 2 (Newmarket …


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Dec 1998

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


The Role Of Cytokines In Bovine Mastitis, Kittisak Ajariyakhajorn Dec 1998

The Role Of Cytokines In Bovine Mastitis, Kittisak Ajariyakhajorn

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Cytokines are protein mediators produced by the immune and nonimmune cells that are involved in the regulation of inflammation and immune responses. The availability of several recombinant bovine cytokines have led to the investigation of the potential of cytokines as prophylactic or therapeutic strategies in the control of bovine mastitis, the most expensive disease affecting the dairy industry. The main goals of cytokine therapy are to enhance the immune response in the mammary gland against pathogenic bacteria, to increase the efficacy of antibiotic treatment, and to enhance the specific immunity of mastitis vaccines. Important cytokines used in mastitis studies are …


ฮอร์โมนและความสมบูรณ์พันธุ์ในโคนมพันธุ์ผสม : สเตียรอยด์ฮอร์โมน, ดวงนฤมล ประชันคดี, พรรณพิไล เสกสิทธิ์, ประคอง ตังประพฤทธิ์กุล, สัมพันธ์ สิงหจันทร์ Dec 1998

ฮอร์โมนและความสมบูรณ์พันธุ์ในโคนมพันธุ์ผสม : สเตียรอยด์ฮอร์โมน, ดวงนฤมล ประชันคดี, พรรณพิไล เสกสิทธิ์, ประคอง ตังประพฤทธิ์กุล, สัมพันธ์ สิงหจันทร์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาความสัมพันธ์ของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (P4) เอสตราไดออล (E2) และคอร์ติซอล (C) ที่มี ต่อความสมบูรณ์พันธุ์ในโคนมพันธุ์ผสม 10 ตัว ด้วย Analysis of Variance และ Duncan's New Multiple Range Test จากผลการตรวจการตั้งท้องโดยการคลําผ่านทวารหนัก แบ่งโคออกได้เป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 5 ตัวคือ กลุ่ม ผสมติดและกลุ่มผสมไม่ติด วิเคราะห์ระดับโปรเจสเตอโรน เอลตราไดออล และคอร์ติซอลในซีรั่มของโคทั้ง สองกลุ่มในวันที่ 0 (วันที่ผสมเทียม), 4, 8, 12, 16, 20, 25 และ 41 หลังการผสมโดยวิธีเรดิโออิมมิวโนเอสเสย์ พบว่าโคกลุ่มที่ผสมติดมีระดับของโปรเจสเตอโรน และคอร์ติซอลสูงกว่าโคกลุ่มที่ผสมไม่ติด (P<0.05) โคทั้ง สองกลุ่มมีระดับโปรเจสเตอโรน ตำสุดในวันที่ 0 (P<0.05) ไม่พบว่ามีความแตกต่างของระดับเอสตราไดออล ระหว่างกลุ่มและในวันต่าง ๆ ที่ทําการศึกษา


Ecg Ouiz, Chollada Buranakarl, Kris Angkanaporn, Phiwipa Kamonral Dec 1998

Ecg Ouiz, Chollada Buranakarl, Kris Angkanaporn, Phiwipa Kamonral

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


การหาค่า Bioavaialability ของสารอาหาร, ทิพย์วรรณ ปริพัฒนานนท์ Dec 1998

การหาค่า Bioavaialability ของสารอาหาร, ทิพย์วรรณ ปริพัฒนานนท์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ค่า bioavailability ของโภชนะ คือ ปริมาณเปอร์เซ็นต์ของโภชนะที่สัตว์ดูดซึมได้จริง ๆ จากอาหารที่กิน และเป็นส่วนที่นำไปใช้ในขบวนการเมตาบอลิซึม ค่านี้แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของโภชนะโดยเปรียบเทียบ ระหว่างสารอาหาร 2 ชนิด การหาค่า bioavailability มีหลายวิธี คือ slope-ratio assay, parallel lines assay, three-point assay และ standard curve assay แต่ละวิธีก็จะมีข้อกำหนด และความเหมาะสมของการใช้ งานแตกต่างกันไป วิธีที่ดีสุดนั้นย่อมเป็นวิธีที่เหมาะสมกับข้อกำหนดมากที่สุด ในการทดลองหาค่า bioavailability ของสารอาหารนั้น slope-ratio assay เป็นวิธีที่นิยมกันที่สุด มีข้อกำหนดอยู่ 2 ข้อ คือ การตอบสนองของ สัตว์จะมีค่าเท่ากันเมื่อไม่ได้เติมโภชนะที่ต้องการเปรียบเทียบทั้งสองชนิดในอาหาร (intersection) และความ สัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองและปริมาณโภชนะที่ทดลองต้องเป็นเส้นตรง (linearity)


Ultrasound Diagnosis, Phiwipha Kamonrat Dec 1998

Ultrasound Diagnosis, Phiwipha Kamonrat

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


Immunohistochemistry ของ Trigeminal Primary Afferents ในงูเขียวหางไหม้, อรสิริ ชื่นทรวง, ริชาร์ด มอริส Dec 1998

Immunohistochemistry ของ Trigeminal Primary Afferents ในงูเขียวหางไหม้, อรสิริ ชื่นทรวง, ริชาร์ด มอริส

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การศึกษาในครั้งนี้ทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีทาง immunohistochemistry เพื่อศึกษาชนิดของneuro- transmitters ที่อาจเกี่ยวข้องกับการนำกระแสประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวด และอุณหภูมิ (nociceptive และ thermoreceptive information) luusta trigeminal ganglion a sensory trigeminal nucleus vos medulla oblongata ของงูเขียวหางไหม้ (Trimeresurus albolaris) นำสมองงูเขียวหางไหม้จำนวน 12 ตัว มาแยกเอา brainstem และ maxillomandibular ganglion มาตัด section แล้วทำ immunofluorescent labelling โดยใช้ antibodies ต่อ neurotransmitters 6 ชนิด คือ substance P, calcitonin gene-related peptide (CGRP), galanin, neuropeptide Y, nitric oxide synthase (NOS) และ Somatostatin จากผลการทดลองพบว่า ใน ganglion มีเซลล์ขนาดเล็กถึงขนาดกลางจำนวนหนึ่ง ที่แสดง immunoreactivity ต่อ substance P และ CGRP และแทบจะไม่พบเซลล์ที่ให้ผลบวกต่อ galanin ในส่วนของ medulla oblongata WU substance P immunoreactivity lu fibres oglu descending trigeminal tract uazlu neuropil รอบ ๆ lateral descending nucleus ของ trigeminal nerve และยังพบได้ใน fibres ที่วิ่งพาดข้าม trigeminal subnucleus caudalis …


โรคของปลาสวยงาม, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์, นันทริกา ชันซื่อ, สันติ วงศ์อำนวยกุล, สยาม พาใจสงค์, สิทธิคุณ วิสฤตานนท์, ศุภวิวัธน์ พงษ์เลาหพันธุ์, เทพมนัส บุปผาอินทร์ Sep 1998

โรคของปลาสวยงาม, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์, นันทริกา ชันซื่อ, สันติ วงศ์อำนวยกุล, สยาม พาใจสงค์, สิทธิคุณ วิสฤตานนท์, ศุภวิวัธน์ พงษ์เลาหพันธุ์, เทพมนัส บุปผาอินทร์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


Co-Expression Of Nitric Oxide Synthase And Neurokinin 1 Receptor In Neurones Of The Intermediolateral Column Of The Rat Spinal Cord, Ornsiri Suthamnatpong, Richard Morris Sep 1998

Co-Expression Of Nitric Oxide Synthase And Neurokinin 1 Receptor In Neurones Of The Intermediolateral Column Of The Rat Spinal Cord, Ornsiri Suthamnatpong, Richard Morris

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Spinal neurones in the thoracolumbar intermediolateral column (IML) of the rat were double-labelled for nitric oxide synthase (NOS) and neurokinin 1 receptor (NK1r) using a double indirect immunofluorescent technique. Immunostaining revealed a colocalisation of NOS and NK1r in a number of the IML neurones, particularly those that had relatively large but scattered cell bodies, and the area closed to lamina X. Neurones that expressed NK1r were more likely to co-express NOS whereas only small number of NOS-expressing neurones were NK1r immunoreactive. From this it may be concluded that the IML neurones, which are principally sympathetic preganglionic neurones, are composed of …


Ekg Quiz, Monkon Trisiriroj, Chollada Buranakarl, Kris Angkanaporn, Phiwipa Kamonrat, Apisit Prarnkamanant Sep 1998

Ekg Quiz, Monkon Trisiriroj, Chollada Buranakarl, Kris Angkanaporn, Phiwipa Kamonrat, Apisit Prarnkamanant

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Sep 1998

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


อิทธิพลของ Recombinant Bovine Somatotropin ต่อการตอบสนองการกระตุ้นเพิ่มการตกไข่ในกระบือปลัก, นุชรินทร์ ศงสะเสน, วิบูลย์ เยี่ยงวิศวกูร, มาลี อภิเมธีธำรง, บงกาล บุญตาราษฎร์, สุพรชัย ฟ้ารี, จินตนา อินทรมงคล, ยันต์ สุขวงศ์ Sep 1998

อิทธิพลของ Recombinant Bovine Somatotropin ต่อการตอบสนองการกระตุ้นเพิ่มการตกไข่ในกระบือปลัก, นุชรินทร์ ศงสะเสน, วิบูลย์ เยี่ยงวิศวกูร, มาลี อภิเมธีธำรง, บงกาล บุญตาราษฎร์, สุพรชัย ฟ้ารี, จินตนา อินทรมงคล, ยันต์ สุขวงศ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จุดประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของฮอร์โมน recombinant bovine somatotropin (rBST) ต่อการตอบสนองการกระตุ้นเพิ่มการตกไข่ด้วยฮอร์โมน follicle stimulating hormone (FSH) ใน กระบือปลัก กระบือทั้งหมด 16 ตัว ถูกเหนี่ยวนำการเป็นสัดด้วยการสอดแท่งซิลิโคนที่เคลือบด้วยโปรเจส เตอโรน และ estradiol benzoate ชนิดแคปซูล (CIDR-B) เข้าทางช่องคลอด หลังจากนั้นแบ่งกระบือออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว โดย กระบือในกลุ่มที่หนึ่งได้รับ FBST ชนิดที่ซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างช้า ๆ ในวันที่ 4 หลังการใส่ฮอร์โมน CIDR-B กระบือกลุ่มที่สองไม่ได้รับ FBST การกระตุ้นเพิ่มการตกไข่กระทําโดยการฉีด FSH แบบลดโต๊ส ปริมาณทั้งหมด 260 มิลลิกรัม เช้า-เย็น เป็นเวลา 3.5 วัน โดยเริ่มจากวันที่ 9-11 หลัง การให้ฮอร์โมน CIDR-B ในวันที่ 3 ของการให้ FSH ฉีดพรอสตาแกลนดินขนาด 500 ไมโครกรัม พร้อมทั้งดึง CIDR-B ออก เมื่อกระบือแสดงอาการเป็นสัด ผสมพันธุ์โดยใช้พ่อกระบือคุมฝูง ทำการเก็บตัวอ่อนในวันที่ 6 หลังจากที่กระบือแสดงอาการเป็นสัด ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของจำนวนคอร์ปัส ลูเทียม ของกระบือ ในกลุ่มที่หนึ่ง และสอง เท่ากับ 6.0±2.2 และ 4.3±1.1 ตามลำดับ จำนวนตัวอ่อนที่เก็บได้ และตัวอ่อนที่มี คุณภาพดีของกระบือกลุ่มที่หนึ่ง และ สอง เท่ากับ 4.5±1.6 และ 3.0±1.0 และ 2.3+1.0 และ 0.8±0.3 ตามลำดับ จำนวนตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีที่เก็บได้จากกระบือที่ได้รับ FBST มีมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ rBST …


Paradujadinia Halicoris (Owen, 1833), A Nematode From The Stomach Of A Sea Cow In The Gulf Of Thailand, Jitra Waikagul, Suwat Thonghom, Wanna Maipanich Sep 1998

Paradujadinia Halicoris (Owen, 1833), A Nematode From The Stomach Of A Sea Cow In The Gulf Of Thailand, Jitra Waikagul, Suwat Thonghom, Wanna Maipanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Twenty-seven male and 26 female roundworms were recovered from the stomach of Dugong dugon from Trang Province, Southern Thailand. The worms were kept in 70% alcohol and transported to the Department of Helminthology for study. The worm has three lips with interlabia, intestinal caecum and ventriculus. The male worm presents two spicules alate in the middle shaft, four pairs of precloacal papillae, two pairs of paracloacals and two pairs of postcloacal papillae. After comparison with specimens borrowed from Queensland Museum, the nematode was ascertained to be Paradujardinia halicoris.


โรคความดันโลหิตสูงในสุนัข, ชลลดา บูรณกาล Sep 1998

โรคความดันโลหิตสูงในสุนัข, ชลลดา บูรณกาล

The Thai Journal of Veterinary Medicine

โรคความดันโลหิตสูงในสุนัข หมายถึง ภาวะที่สุนัขมีความดันโลหิตสูงกว่าปกติ โดยอาจจำแนกความ ดันโลหิตสูงตามความรุนแรงของค่าความดันที่เพิ่มขึ้น ความสำคัญของโรคนี้ในสุนัขยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ พบว่าสุนัขที่มีความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง มักจะเกิดความผิดปกติของการมองเห็น วิธีการวัดความดัน โลหิตในสุนัขมีอยู่หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีให้ความแม่นยำและความถูกต้องแตกต่างกันไป ประกอบกับลักษณะ ทางกายวิภาคของขาสุนัข เป็นอุปสรรคที่สำคัญในการวัดความดันโลหิตในทางคลินิก นอกจากนี้พบว่าความ ดันโลหิตยังมีความเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงได้ในแต่ละนาทีนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงตามปกติในช่วงเวลาของวัน ดังนั้นค่าเฉลี่ยการวัดความดันอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง จึงให้ผลถูกต้องสูงสุดในการวัดความดันโลหิต บทความนี้ได้รวบรวมนำเสนอสถานภาพปัจจุบันของการเกิดความดันโลหิตสูงในสุนัข ความหมาย และชนิดของความดันโลหิตสูง วิธีการวัดความดันโลหิต ปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิตในสุนัข รวมถึงพยาธิสรีรวิทยาของการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงและกลไกการควบคุมความดันโลหิตโดยอาศัยระบบประสาทและไต


Ultrasound Diagnosis, Phiwipha Kamonrat Sep 1998

Ultrasound Diagnosis, Phiwipha Kamonrat

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


Postweaning Multistemic Wasting Syndrome (Pmws), รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช อาจารย์ น.สพ. ดร. Sep 1998

Postweaning Multistemic Wasting Syndrome (Pmws), รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช อาจารย์ น.สพ. ดร.

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


ความชุกของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในแมวที่แสดงอาการทางคลินิกของโรคเรื้อรัง+, รสมา ภู่สุนทรธรรม, คณิศักดิ์ อรวีระกุล, ภาวนา อุทัยโชติวรรณ, กาญจน์ เชื้อศิริ Sep 1998

ความชุกของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในแมวที่แสดงอาการทางคลินิกของโรคเรื้อรัง+, รสมา ภู่สุนทรธรรม, คณิศักดิ์ อรวีระกุล, ภาวนา อุทัยโชติวรรณ, กาญจน์ เชื้อศิริ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ทำการศึกษาในแมว 28 ราย ที่เข้ามารับการรักษา ณ โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม 2540 และได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นจาก สัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลว่าเป็นโรคติดเชื้ออย่างเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร และ/หรือ ระบบขับถ่ายปัสสาวะเกินกว่า 2 สัปดาห์ ตรวจพบหลักฐานการปรากฏแอนติบอดี้บ่งชี้การติด เชื้อโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในแมว (FIV) 32.0% พบการติดเชื้อในแมวเพศผู้ (77.8%) มากกว่าแมวเพศเมีย (22.2%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05) อายุเฉลี่ยของแมวที่ติดเชื้อเท่ากับ 5.44 ± 2.51 ปี โดยพบ มากที่สุดในแมวที่มีช่วงอายุ 5-7 ปี (55.6%) รองลงมาคือช่วงอายุน้อยกว่า 4 ปี (22.2%) และช่วงอายุมากกว่า 7 ปี (22.2%) เมื่อพิจารณาตามลักษณะของที่อยู่อาศัย พบว่าเป็นในแมวที่เลี้ยงในตึกแถวมาก ที่สุด(77.8%)รองลงมาจะพบในแมวที่เลี้ยงในบ้านเดี่ยว (11.1%) และห้องเช่า (11.1%) จากการตรวจพบ แอนติบอดี้บ่งชี้การติดเชื้อในแมวที่แสดงอาการของการติดเชื้อที่ระบบขับถ่ายปัสสาวะเรื้อรังมากที่สุด (55.6%) ระบบทางเดินอาหาร (22.2%) ระบบทางเดินหายใจร่วมกับทางเดินอาหาร (11.1%) ระบบทางเดินอาหารร่วม กับระบบปัสสาวะ (11.1%) และพบว่าแมวที่กินอาหารเจ้าของปรุงให้เอง (88.9%) มีการติดเชื้อมากกว่าใน แมวที่กินอาหารสำเร็จรูป (11.1%) นอกจากนี้พบการติดเชื้อสูงในแมวที่เลี้ยงแบบปล่อย (100%) และเป็น แมวไม่เคยได้รับวัคซีนใด ๆ (88.9%) สำหรับค่าทางโลหิตวิทยาในแมวที่มีการติดเชื้อ FIV นั้น พบว่ามีค่า ทางโลหิตวิทยาอยู่ในช่วงปกติ ค่าเคมีคลินิกเปลี่ยนแปลงตามอาการทางคลินิกของโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้น


A Field Evaluation Of Ivomec-F For The Treatment Of Naturally Acquired Fasciola Gigantica And Other Gastrointestinal Nematode Infections In Cattle And Buffaloes, Tasanee Chompoochan, Suwannee Nithiuthai, Piyanoot Prasittirat Jun 1998

A Field Evaluation Of Ivomec-F For The Treatment Of Naturally Acquired Fasciola Gigantica And Other Gastrointestinal Nematode Infections In Cattle And Buffaloes, Tasanee Chompoochan, Suwannee Nithiuthai, Piyanoot Prasittirat

The Thai Journal of Veterinary Medicine

The efficacy of Ivomec-F was evaluated in 60 cattle and 14 buffaloes that had a naturally acquired infection of Fasciola gigantica. Some animals were also concurrently infected with gastrointestinal nematodes. The animals were divided equally into treatment and control groups. Treatment group 1 which consisted of 30 cattle, were administered a single subcutaneous dose of Ivomec-F (1% ivermectin /10% clorsulon) 1 ml/ 50 kg body weight. Control group 2 which consisted of 30 untreated cattle, were given the same volume of physiological saline. Groups 3 and 4 (7 treated and 7 control buffaloes) were treated in a similar manner as …


พยาธิสภาพของสุกรปวยในฝูงที่ตรวจพบ Fumonisin ปนเปื้อนในอาหาร, ตวงทอง ปัจฉิมะศิริ, อัจฉริยา ไศละสูต, คัมภีร์ กอธีระกุล Jun 1998

พยาธิสภาพของสุกรปวยในฝูงที่ตรวจพบ Fumonisin ปนเปื้อนในอาหาร, ตวงทอง ปัจฉิมะศิริ, อัจฉริยา ไศละสูต, คัมภีร์ กอธีระกุล

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จากการชันสูตรซากสุกรขุน 12 ตัว อายุ 3-4 เดือน น้ำหนัก 30-50 กิโลกรัม อัตราป่วย 30 % อัตราตาย 5-12 % จากฝูง 3,000 ตัว มีอาการหายใจกระแทกแรงและถี่ นอนหมอบ บางตัวดีซ่าน ไม่ตอบสนองต่อการ รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ มีพยาธิสภาพคือ เยื่อเมือกซีดเหลือง ปอดอักเสบบวมน้ำ เยื่อหุ้มปอดและเยื่อหุ้ม หัวใจอักเสบมีไฟบรินปกคลุมหนา ตับซีด และมีน้ำในช่องอก ผลการตรวจทางจุลพยาธิวิทยา พบการ เปลี่ยนแปลงของตับ ประกอบด้วย single cell necrosis (4/12 ตัว) angular degenerating hepatocytes (12/12 ตัว) mild vacuolation (8/12 ตัว) binucleated hepatocytes (12/12 ตัว) multinucleated hepatocytes (5/12 ตัว) hepatomegalocytosis (11/12 ตัว) centrilobular depletion (4/12 ตัว) perilobular fibrosis (5/12 ตัว) และ disorganized hepatic cord (9/12 ตัว) ที่ตับอ่อน พบ pancreatic acinar cell degeneration (7/12 ตัว) และที่ปอด พบ pulmonary edema ลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ interlobular edema (8/12 ตัว) alveolar edema (11/12 ตัว) interstitial edema (5/12 ตัว) …


โรคปลาสวยงาม, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์, นันทริกา ชันซื่อ, สันติ วงศ์อำนวยกุล, สิทธิคุณ วิสตานนท์, ศุภวิวัธน์ พงษ์เลาหพันธุ์, เทพมนัส บุปผาอินทร์ Jun 1998

โรคปลาสวยงาม, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์, นันทริกา ชันซื่อ, สันติ วงศ์อำนวยกุล, สิทธิคุณ วิสตานนท์, ศุภวิวัธน์ พงษ์เลาหพันธุ์, เทพมนัส บุปผาอินทร์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


Ultrasound Diagnosis, Phiwipha Kamonrat Jun 1998

Ultrasound Diagnosis, Phiwipha Kamonrat

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


การปฏิสนธินอกร่างกายของโอโอไซต์เก็บจากลูกโคก่อนวัยเจริญพันธุ์, รังสี อดุลยานุภาพ, มงคล เตชะกำพุ, วันเพ็ญ อดุยานุภาพ Jun 1998

การปฏิสนธินอกร่างกายของโอโอไซต์เก็บจากลูกโคก่อนวัยเจริญพันธุ์, รังสี อดุลยานุภาพ, มงคล เตชะกำพุ, วันเพ็ญ อดุยานุภาพ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

เก็บโอโอไซต์จากรังไข่ของลูกโคพื้นเมืองอายุ 4-6 เดือน ที่กระตุ้นด้วยฟอลลิเคิล สติมูเรตติ้ง ฮอร์โมน (เอฟ เอส เอช) แบ่งโอโอไซต์ออกได้เป็น 2 ชนิด คือโอโอไซต์ที่เจริญพร้อมปฏิสนธิ (mature oocyte) และ โอโอไซต์ที่เจริญไม่พร้อมปฏิสนธิ (immature oocyte) นำไปเพาะเลี้ยงเพื่อให้เกิดสภาวะพร้อมปฏิสนธิใน น้ำยาเพาะเลี้ยงชนิด TCM-199 ที่ประกอบด้วย FSH/LH (10 ug/ml), Estradiol-17 (1 ug/ml) และ 10% FCS โดยเลี้ยงร่วมกับเซลล์กรานูโลซานาน 4 ชม. สำหรับโอโอไซต์ชนิด mature และ 24 ชม. สำหรับโอโอไซต์ชนิด immature จากการสุ่มตัวอย่างโอโอไซต์ทั้ง 2 ชนิดมาตรวจดูสภาวะพร้อมปฏิสนธิ พบว่ามีอัตราการเกิดระยะ เมตาเฟส II เฉลี่ยเท่ากับ 73.6% (67/91) ซึ่งโอโอไซต์ทั้ง 2 ชนิด มีอัตราการเกิดสภาวะพร้อมปฏิสนธิ ไม่แตกต่างกัน (73.6% และ 73.5%) ตามลำดับ นำโอโอไซต์ส่วนที่เหลือไปปฏิสนธินอกร่างกายกับตัวอสุจิที่ ผ่านกระบวนการคาร์ปาซิเตชั่น จากนั้นเลี้ยงตัวอ่อนที่ได้ในน้ำยาเพาะเลี้ยงชนิด B ที่เติม 10% FCS ที่อุณหภูมิ 39° ซ และ 5% คาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศ โดยเลี้ยงร่วมกับเซลล์ท่อนำไข่โค พบว่าได้อัตราการแบ่ง ตัวเฉลี่ยเท่ากับ 32.9%(114/346) ที่ 48 ชม. โดยไม่มีความแตกต่างระหว่างโอโอไซต์ชนิด mature และ โอโอไซต์ชนิด immature เฉลี่ยเท่ากับ 35.4% และ 32.2% ตามลำดับ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โอโอไซต์ที่ได้จากลูกโคสามารถเกิดการปฏิสนธินอกร่างกายและเจริญเป็นตัวอ่อนได้หลังการผสม 48 ชม.


Coronavirus-Like Particles In Porcine Kupffer Cell Culture, Roongroje Thanawongnuwech, Jacqueline K. Kinyamu, Jean A. Olsen Jun 1998

Coronavirus-Like Particles In Porcine Kupffer Cell Culture, Roongroje Thanawongnuwech, Jacqueline K. Kinyamu, Jean A. Olsen

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Coronavirus-like particles were observed by transmission electron microscopy in smooth-walled vesicles of Golgi, or endoplasmic reticulum (ER) in a primary Kupffer cell culture. The culture came from a clinically normal 10-day-old pig, from a swine herd that was known to be infected with porcine respiratory coronavirus (PRCV) and porcine reproductive and respiratory syndrome virus (PRRSV). Budding profiles of virions were observed in the smooth-walled vesicles and later, apparently free viruses accumulated in the collecting vesicles. The virions were enveloped and pleomorphic, with a diameter of 50-100 nm. The virus particles contained an external envelope and an inner membrane and a …


ความเหมือนและความแตกต่างของจำนวนโครโมโซฒที่พบในสัตว์ป่าบางชนิดของประเทศไทย, วิวัฒน์ ชวนะนิกุล Jun 1998

ความเหมือนและความแตกต่างของจำนวนโครโมโซฒที่พบในสัตว์ป่าบางชนิดของประเทศไทย, วิวัฒน์ ชวนะนิกุล

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จำนวนโครโมโซมของสัตว์ป่าบางชนิดที่พบในประเทศไทยได้ถูกประมวลไว้ ในสัตว์ตระกูลแมว-เสือ (Family Felidae) ทั้งสกุล Felis และสกุล Panthera พบว่ามีจำนวนโครโมโซมเท่ากันหมด คือ 38 ตัว เช่น เดียวกับในแมวบ้าน ในทางตรงกันข้าม ในสัตว์ตระกูลกวาง (Family Cervidae) พบความแตกต่างของ จำนวนและรูปแบบของโครโมโซมค่อนข้างมาก จากจำนวน 6-7 ตัวในเก๋งธรรมดา (M. muntjac) และ 13-14 ตัวในเก้งหม้อ (M. feae) จนถึง 58 ตัวในละมั่ง (C. eldi) และ 68 ตัวในเนื้อทราย (C. porcinus) ในสัตว์ป่า ตระกูลจระเข้ (Family Crocodylidae) แม้ว่าจำนวนโครโมโซมของจระเข้พันธุ์น้ำจืดซึ่งมี 30 ตัว จะไม่ เท่ากับพันธุ์น้ำเค็มซึ่งมี 34 ตัว ลูกผสมที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ก็ไม่เป็นหมัน แต่มีจำนวนโครโมโซมแตก ต่างกัน คือ 31 ตัว 32 ตัวและ 33 ตัวขึ้นกับชนิดการผสมพันธุ์ จากผลของรายงานดังกล่าว การค้นคว้าในทางลึก เช่น ด้านอณูพันธุศาสตร์และพันธุกรรมการสืบพันธุ์ การสำรวจเพิ่มเติมและการนำมาประยุกต์ในการเลี้ยงจริง น่าจะได้มีการศึกษากันต่อไป เพื่อจะได้ทราบขบวนการที่เกิดขึ้นจริง และเพื่อกำหนดทิศทางที่ถูกต้องในการ รักษาพันธุกรรมเดิมไว้ประการหนึ่งและในการเลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจอีกประการหนึ่ง


Ecg Ouiz, Apisit Prakarnkamanant, Chollada Buranakarl, Kris Angkanaporn, Phiwipa Kamonrat Jun 1998

Ecg Ouiz, Apisit Prakarnkamanant, Chollada Buranakarl, Kris Angkanaporn, Phiwipa Kamonrat

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Jun 1998

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


Ekg Quiz, Chollada Buranakarl, Kris Ankanaporn, Phiwipha Kamonrat Mar 1998

Ekg Quiz, Chollada Buranakarl, Kris Ankanaporn, Phiwipha Kamonrat

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.