Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 317

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การตรวจ Mcm2 เพื่อทำนายการตอบสนองทางพยาธิวิทยาแบบ Rcb0/I ภายหลังการให้ยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะต้นชนิดมีตัวรับฮอร์โมนและไม่มีตัวรับเฮอร์ทู, ธิติฏฐ์ สุศิริวัฒนนนท์ Jan 2020

การตรวจ Mcm2 เพื่อทำนายการตอบสนองทางพยาธิวิทยาแบบ Rcb0/I ภายหลังการให้ยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะต้นชนิดมีตัวรับฮอร์โมนและไม่มีตัวรับเฮอร์ทู, ธิติฏฐ์ สุศิริวัฒนนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา การตอบสนองทางพยาธิวิทยาภายหลังการได้รับยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดมีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ทางคลินิก ปัจจุบันไม่มีปัจจัยใดที่สามารถทำนายการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดในมะเร็งเต้านมชนิดมีตัวรับฮอร์โมนและไม่มีตัวรับเฮอร์ทูได้อย่างแม่นยำ เช่นเดียวกับ Ki-67 การแสดงออกของโปรตีน MCM2 ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการสังเคราะห์ดีเอ็นเอในระดับสูงบ่งชี้ถึงการแบ่งตัวของเซลล์ที่รวดเร็ว และมีความสัมพันธ์กับการพยากรณ์โรคที่ไม่ดีในมะเร็งหลายชนิดรวมถึงมะเร็งเต้านม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแสดงออกของ MCM2 ในชิ้นเนื้อก่อนได้รับยาเคมีบำบัดเพื่อทำนายการตอบสนองทางพยาธิวิทยาแบบ RCB 0/I ในมะเร็งเต้านมระยะต้นชนิดมีตัวรับฮอร์โมนและไม่มีตัวรับเฮอร์ทู วิธีการศึกษา ทบทวนเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะต้นชนิดมีตัวรับฮอร์โมนและไม่มีตัวรับเฮอร์ทูที่ได้รับยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่าง 1 มกราคม 2558 - 31 ธันวาคม 2563 นำชิ้นเนื้อก่อนได้รับยาเคมีบำบัดตรวจการแสดงออกของ MCM2 ด้วยการย้อมอิมมูโนฮิสโตเคมีและทบทวนลักณะทางพยาธิวิทยาเพื่อคำนวน RCB index ในชิ้นเนื้อหลังได้รับยาเคมีบำบัด คำนวนการติดสีของ MCM2 ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ภาพ Aperio Imagescope ผลการวิจัย ผู้ป่วยทั้งหมด 88 คน มีค่ามัธยฐานอายุ 49 ปี (พิสัย 27-80 ปี) 61.4% เป็นวัยก่อนหมดประจำเดือน มีระยะโรคมะเร็งทางคลินิก cT4 และ cN1 40% และ 66.7% ตามลำดับ เป็นมะเร็งเต้านมชนิด invasive ductal carcinoma 91.1% มีระดับทางพยาธิวิทยาระดับที่ 2 58.9% มีการแสดงออกของ ER >10% 92.2% และสถานะ PR เป็นลบ 22.2% ในชิ้นเนื้อมะเร็งเต้านมทั้งหมด 72 ชิ้นที่สามารถย้อม MCM2 และประเมิน RCB index ได้ พบว่าการแสดงออกของ MCM2 >=40% มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองทางพยาธิวิทยาแบบ RCB 0/I อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการวิเคราะห์แบบ univariate analysis (OR = 18.33 ช่วงความเชื่อมั่น 95% = 1.88-178.98 p-value = 0.012) ปัจจัยทางพยาธิวิทยาคลินิกที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับ …


การศึกษาผลกระทบของสถานะทางโภชนาการต่อผลลัพธ์ของการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กที่ได้รับยาภูมิคุ้มกันบำบัด, ธนานันท์ ธเนศวรอนันต์ Jan 2020

การศึกษาผลกระทบของสถานะทางโภชนาการต่อผลลัพธ์ของการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กที่ได้รับยาภูมิคุ้มกันบำบัด, ธนานันท์ ธเนศวรอนันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา และวัตถุประสงค์: การรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจาย ได้มีการพัฒนาการรักษามาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ จนกระทั่งการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัด ที่ออกฤทธิ์ต้าน programmed cell death ligand 1 (Anti PD-L1) และ/หรือยาที่ออกฤทธิ์ต้าน programmed cell death (Anti PD-1) แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดถึงข้อมูลทางชีวภาพในการบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดในผู้ป่วยแต่ละราย จากข้อมูลการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าดัชนีมวลกายนั้นมีความสัมพันธ์กับการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัด ดังนั้นจึงทำการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ของผลกระทบต่อสถานะทางโภชนาการโดยการประเมินด้วยแบบฟอร์ม patient generated subjected Global Assessment (PG-SGA) และปัจจัยหรือข้อกำหนดอื่นทางโภชนาการต่อผลลัพธ์ของการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจาย วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจายที่ได้รับการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด โดยประเมินภาวะทางโภชนาการด้วยแบบฟอร์ม PG-SGA ในวันที่เริ่มการรักษาและสัปดาห์ที่ 12 หลังเริ่มการรักษา ตรวจวัดองค์ประกอบของร่างกายและเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อวัดระดับพารามิเตอร์ทางโภชนาการ บันทึกประวัติการรับประทานอาหารด้วยสมุดบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมอินมูแคล (INMUCAL-N) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะโภชนการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อผลลัพธ์ของการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจาย ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 20 ราย พบว่าผู้ป่วย 18 รายมีภาวะทุพโภชนการเมื่อประเมินด้วยแบบฟอร์ม PG-SGA ระยะเวลาเฉลี่ยของการติดตามการรักษา 7 เดือน โดยในผู้ป่วยที่ภาวะทางโภชนาการปกติ (PG-SGA A) มีระยะเวลาการรอดชีวิตที่ปราศจากความก้าวหน้าที่ยาวนานกว่าผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการ (PG-SGA B/C) และปัจจัยอื่นได้แก่ ดัชนีมวลกาย (BMI), ระดับ NLR, pre-albumin, hs-CRP ในเลือด มีความสัมพันธ์ต่อผลลัพธ์ของระยะเวลาการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่ยาวนานขึ้น สรุปผลการวิจัย: ภาวะทางโภชนาการที่ประเมินด้วย PG-SGA อาจจะมีความสัมพันธ์ต่อผลลัพธ์ของการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดในมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจาย โดยภาวะทุพโภชนาการมีผลลัพธ์ต่อระยะเวลาการรอดชีวิตที่ปราศจากความก้าวหน้าที่แย่กว่า


ความสัมพันธ์ระหว่างค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจกับความรุนแรงของอาการในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้, ไพรัช ทรัพย์ส่งเสริม Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจกับความรุนแรงของอาการในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้, ไพรัช ทรัพย์ส่งเสริม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้เป็นโรคที่มีความชุกสูงโรคหนึ่ง การรักษาใช้ระยะเวลานาน และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหืด ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์ของค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจกับความรุนแรงของอาการโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในประชากรผู้ใหญ่ไทย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้กลุ่มที่มีความรุนแรงของอาการน้อยมีความแตกต่างกับกลุ่มที่มีความรุนแรงของอาการปานกลางถึงมาก วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลจากอาสาสมัครที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โดยใช้แบบสอบถามและตรวจวัดค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจ ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกสาขาโรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม 2563 จำนวนรวม 38 ราย และนำมาวิเคราะห์ ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยของไนตริกออกไซด์ในลมหายใจในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้กลุ่มที่มีความรุนแรงของอาการน้อยเท่ากับ 14.82+/-6.59 ส่วนในพันล้านส่วน กลุ่มที่มีความรุนแรงของอาการปานกลางถึงมากเท่ากับ 44.31+/-27.78 ส่วนในพันล้านส่วน โดยมีความแตกต่างทางสถิติ (p=0.02) จากการวิเคราะห์พบว่าค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจที่เหมาะสมใช้เป็นจุดตัดเพื่อแยกผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ที่มีความรุนแรงของอาการน้อยและปานกลางถึงมากเท่ากับ 23.5 ส่วนในพันล้านส่วน โดยมีความไวร้อยละ 100 ความจำเพาะร้อยละ 91.7 ค่าทำนายผลบวกร้อยละ 87.5 ค่าทำนายผลลบร้อยละ 100 และมีความแตกต่างทางสถิติ (p<0.001) ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่พบความแตกต่าง สรุปผลการศึกษา: ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้จะมีค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจแปรตามความรุนแรงของอาการ


ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่และความถี่ของการไหลย้อนของของเหลวจากกระเพาะสู่หลอดอาหารในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง, ทิวาพร ธรรมมงคล Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่และความถี่ของการไหลย้อนของของเหลวจากกระเพาะสู่หลอดอาหารในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง, ทิวาพร ธรรมมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาและวัตถุประสงค์ ปัจจุบันอุบัติการณ์การเกิดกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease) และ ท้องผูก (Constipation) พบร่วมกันได้บ่อย แต่ยังไม่มีแนวทางการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างชัดเจน การที่พบสองภาวะนี้ร่วมกันนั้นยังไม่ทราบว่าแน่ชัดว่ามีความสัมพันธ์ หรือกลไกที่เกี่ยวข้องกันระหว่างภาวะกรดไหลย้อน และภาวะท้องผูกหรือไม่ วิธีการวิจัย การศึกษาวิจัยทดลองแบบไขว้และสุ่ม ในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน คือ มีอาการแสบร้อนกลางอก หรือเรอเปรี้ยว อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ ร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง โดยท้องผูกมีอาการถ่ายอุจจาระ ≤ 2 ครั้ง หรือ ถ่ายลักษณะอุจจาระก้อนเล็กแข็งเป็นกระสุน รูปทรงยาวผิวตะปุ่มตะป่ำ หรือรูปทรงยาวผิวแตก (BSFS 1-3) ในช่วง 7 วัน จำนวนทั้งหมด 12 ราย อายุ 18-80 ปี โดยแบ่งกลุ่มการศึกษาเป็น 2 กลุ่ม และทำการทดลองแบบไขว้กัน โดยช่วงเวลาที่ผู้ป่วยจะเข้าร่วมแต่ละกลุ่มนั้นต้องห่างกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่เข้าการศึกษากลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยจะได้รับการรับประทานแคปซูลที่บรรจุสารทึบรังสี จำนวน 20 ชิ้น ในวันที่ 1 ต่อมาในเช้าวันที่ 4 ของการเข้าร่วมการศึกษา จะได้รับทำการถ่ายภาพรังสีบริเวณท้อง (x-ray abdomen) หากพบว่ามีสารทึบรังสีคั่งค้าง marker ≥ 90% (≥18/20) จะยืนยันเข้าศึกษาในกลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ และอีกกลุ่มผู้ป่วยจะได้รับการรับประทานแคปซูลที่บรรจุสารทึบรังสี จำนวน 20 ชิ้น ในวันที่ 1 เหมือนกันและสวนอุจจาระด้วย Unison enema วันละครั้งจำนวน 4 ครั้ง ต่อมาในเช้าวันที่ 4 หากถ่ายภาพรังสีบริเวณท้องพบว่ามีสารทึบรังสีคั่งค้าง marker < 90% (<18/20) จะยืนยันเข้าศึกษาในกลุ่มไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ ในการศึกษาแต่ละกลุ่มอาสาสมัครจะต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนรับการตรวจ โดยจะได้รับการตรวจการขยายตัวของกระเพาะอาหาร (Gastric accommodation) ด้วยวิธี Satiety nutrition drink test หลังจากตรวจสิ้นสุด 4 ชั่วโมงต่อมาจะได้การตรวจวัดการย้อนของกรดและน้ำย่อยในหลอดอาหาร (esophageal impedance pH monitoring) โดยให้อาสาสมัครทานอาหารควบคุม 520 กิโลแคลอรี เก็บข้อมูลการไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารโดยดูการเปลี่ยนแปลงความต้านทานในหลอดอาหาร (esophageal impedance) นาน 2 ชั่วโมง และตอบแบบสอบถามประเมินอาการทางเดินอาหาร ความรุนแรงของอาการระบบทางเดินอาหารส่วนต้นก่อนรับการตรวจช่วงที่งดน้ำและอาหาร และหลังจากเสร็จสิ้นการตรวจการขยายตัวของกระเพาะอาหารส่วนต้น นาน 30 นาที และเป่าลมหายใจเพื่อส่งตรวจระดับ ไฮโดรเจน และมีเทน ในช่วงงดน้ำและอาหาร เพื่อเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่มการศึกษา ผลการศึกษา ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง ในภาวะที่มีการค้างของอุจจาระในลำไส้ใหญ่พบว่ามีอาการทางเดินอาหารรบกวนโดยรวมที่มากกว่าโดยมีค่ามัธยฐาน 7 (3.3-8) เทียบกับกลุ่มที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่จำนวนค่ามัธยฐาน 4.5 (2.3-6) ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.04)และอาการท้องอืดเหมือนมีลมในท้องในระดับที่มากกว่าโดยมีค่ามัธยฐาน 5.5 (4-8) เทียบกับภาวะที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่มีค่ามัธยฐาน 3 (2-5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.02) โดยในช่วงอดอาหารและก่อนทานอาหาร ไม่พบว่ามีความแตกต่างของ ระดับไฮโดรเจน และมีเทนในลมหายใจ ในกลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ พบว่ามีจำนวนการเกิดการไหลย้อนของของเหลวสู่หลอดอาหารในระยะเวลา 2 ชั่วโมงหลังมื้ออาหาร จำนวนค่าเฉลี่ย 10.6 (4.8) จำนวนมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่จำนวนค่าเฉลี่ย 6.3 (4.1) ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.003) ในกลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ หลังการทานมีอาการแสบร้อนกลางอกที่รบกวน มีค่ามัธยฐาน 2 (0-7.5) มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่จำนวนค่ามัธยฐาน 0 (0-0) ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.04) และ ในกลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่มีการขยายตัวของกระเพาะอาหารในปริมาตรค่าเฉลี่ย 591.7 (202.1) มิลลิลิตร ซึ่งมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ ปริมาตรค่าเฉลี่ย 516.7 (158.6) มิลลิลิตร แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.07) สรุป ภาวะที่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่มีความสัมพันธ์กับจำนวนการเกิดการไหลย้อนของของเหลวสู่หลอดอาหารที่มากขึ้น มีผลต่ออาการแสบร้อนกลางอกที่รุนแรงมากขึ้น และมีการขยายตัวของกระเพาะอาหารในปริมาตรที่มากขึ้นเช่นกัน จากผลการศึกษาภาวะที่มีการค้างของอุจจาระในลำไส้ใหญ่ ในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง น่าจะเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการเกิดไหลย้อนของของเหลวสู่หลอดอาหารที่มากขึ้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับการขยายขนาดของกระเพาะอาหารที่มากขึ้นหลังการรับประทาน


ความเข้ากันได้ของฐานข้อมูลชุดข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้ม เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับตัวชี้วัดการดูแลสุขภาพแบบมุ่งเน้นคุณค่าที่อ้างอิงโดย Ichom ในกลุ่มโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง, สุวภัทร วิชานุวัฒน์ Jan 2020

ความเข้ากันได้ของฐานข้อมูลชุดข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้ม เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับตัวชี้วัดการดูแลสุขภาพแบบมุ่งเน้นคุณค่าที่อ้างอิงโดย Ichom ในกลุ่มโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง, สุวภัทร วิชานุวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้ากันได้ของฐานข้อมูลผู้ป่วยกลุ่มโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงจากชุดข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้ม นำมาใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับตัวชี้วัด ICHOM มีรูปแบบการศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed method research) คือการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาฐานข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2560 - กันยายน พ.ศ.2561 จากหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ 2 แห่ง และการการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ความเข้ากันได้ของฐานข้อมูลผู้ป่วยและแหล่งข้อมูลสำหรับตัวชี้วัด ICHOM ในกลุ่มโรคเบาหวานหน่วยบริการ A และหน่วยบริการ B มีความเข้ากันได้ 21 ตัวชี้วัดและ 33 ตัวชี้วัด หรือคิดเป็นร้อยละ 31.34 และ 49.25 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มโรคความดันโลหิตสูงหน่วยบริการ A และหน่วยบริการ B มีความเข้ากันได้ 14 ตัวชี้วัดและ 18 ตัวชี้วัด หรือคิดเป็นร้อยละ 31.11 และ 40.00 ตามลำดับ และผลการสัมภาษณ์โดยรวมความคิดเห็นตัวชี้วัดที่ใช้ปัจจุบันของผู้ป่วย ได้ข้อสรุปว่ามีประโยชน์และเพียงพอแล้ว โดยมองในมุมผู้รับบริการเป็นหลักว่าฐานข้อมูลที่เก็บเพียงพอต่อบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น และฟื้นฟูสภาพร่างกาย อีกทั้งในมุมของผู้ให้บริการเองมองเห็นว่าหากลดการบันทึกตัวชี้วัดที่ซ้ำซ้อนกับข้อมูลที่มีข้อมูลที่บันทึกประจำอยู่แล้ว จะลดภาระงาน และทำให้ตัวชี้วัดที่สำคัญมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ชุดข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้มไม่สามารถใช้ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ตัวชี้วัด ICHOM ที่เป็นข้อมูลระยะยาวได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่พบความไม่เข้ากันกับชุดตัวชี้วัด ICHOM แต่ชุดตัวชี้วัด ICHOM เป็นเพียงเงื่อนไขเริ่มต้นและปัจจัยเพื่อให้สามารถปรับเลือกใช้ตามบริบทของประเทศ ภูมิภาค รวมถึงความแตกต่างของจำนวนผู้ป่วยและผู้ให้บริการ หากนำมาปรับใช้กับบริบทประเทศไทยอาจต้องปรับโครงสร้างข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้มให้มีความครบถ้วนและถูกต้อง อีกทั้งควรมีเป้าหมายการนำไปใช้อย่างชัดเจน


Application Of Phage Display Technology For The Production Of Antibodies Againststreptococcus Suis Serotype 2, Pattarawadee Sulong Jan 2020

Application Of Phage Display Technology For The Production Of Antibodies Againststreptococcus Suis Serotype 2, Pattarawadee Sulong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Streptococcus suis (S. suis) serotype 2 infection is problematic in the swine industry and responsible for most cases of human infection worldwide. Since current multiplex PCR cannot differentiate between serotypes 2 and 1/2, then serotype-specific antibodies (Abs) are required for serotype identification to confirm S. suis serotype 2 infection. This study aimed to generate Abs specific to S. suis serotype 2 by phage display from a human heavy chain variable domain (VH) antibody library. For biopanning, whole cells of S. suis serotype 2 were used as the target antigen. With increasing selection stringency, we could select the VH Abs that …


Effect Of 2-(4"-Hydroxybenzyl)-5-2"-Dihydroxy-3- Methoxystilbene On Apoptosis And Autophagic Cell Death Of Lung Cancer Cells, Sucharat Tungsukruthai Jan 2020

Effect Of 2-(4"-Hydroxybenzyl)-5-2"-Dihydroxy-3- Methoxystilbene On Apoptosis And Autophagic Cell Death Of Lung Cancer Cells, Sucharat Tungsukruthai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The shifting of autophagy, a catabolic process for cell survival, toward death could be a potential mode of anti-cancer drug action. In addition, autophagic cell death (ACD) is an alternative death mechanism in resistant malignant cancer cells. This study, we demonstrated how PE5, a stilbene compound, exhibits potent ACD-promoting activity and apoptosis in lung cancer cells that may offer an opportunity for novel cancer treatment. It was found that PE5 exerted a higher toxic effect toward cancer cells compared with its effect on normal cells. Interestingly, the cell death caused by PE5 was found to be concomitant with dramatic autophagy …


ผลของการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลเวียนโลหิต ที่มีต่อสมรรถภาพทางแอโรบิก ความทนต่อการเมื่อยล้า และความสามารถทางกีฬา ในนักกีฬาจักรยานประเภทถนนรุ่นมาสเตอร์, พัชรินทร์ ตั้งชัยสุริยา Jan 2020

ผลของการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลเวียนโลหิต ที่มีต่อสมรรถภาพทางแอโรบิก ความทนต่อการเมื่อยล้า และความสามารถทางกีฬา ในนักกีฬาจักรยานประเภทถนนรุ่นมาสเตอร์, พัชรินทร์ ตั้งชัยสุริยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกแบบปกติ การฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักสูง และการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลเวียนโลหิตเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ที่มีต่อสมรรถภาพทางแอโรบิก ความทนต่อการเมื่อยล้า และความสามารถทางกีฬาในนักกีฬาจักรยานประเภทถนนรุ่นมาสเตอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาจักรยานประเภทถนนรุ่นมาสเตอร์อายุระหว่าง 35 ถึง 49 ปี จำนวน 50 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มฝึกแบบปกติ (UST) จำนวน 16 คน ฝึกปั่นจักรยานแบบต่อเนื่อง 75 นาทีที่ความหนัก 65-70 เปอร์เซ็นต์ของกำลังสูงสุด 2) กลุ่มฝึกปั่นจักรยานแบบสลับช่วงที่ความหนักสูง (HIIT) จำนวน 17 คน ฝึกปั่นจักรยานแบบสลับช่วงที่ความหนักสูง 4 นาทีที่ความหนัก 80 เปอร์เซ็นต์ของกำลังสูงสุดสลับกับการฝึกที่ความหนักเบา 2 นาทีที่ความหนัก 30 เปอร์เซ็นต์ของกำลังสูงสุด จำนวน 4 รอบ 3) กลุ่มการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลเวียนโลหิต (HIIT+BFR) จำนวน 17 คน ฝึกเหมือนกลุ่ม HIIT ยกเว้น รอบที่ 2 และ 4 ลดความหนักเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ของกำลังสูงสุดร่วมกับการจำกัดการไหลเวียนโลหิต 30 เปอร์เซ็นต์ของความดันการปิดกั้นหลอดโลหิตแดงอย่างสมบูรณ์ในขณะพัก ทุกกลุ่มได้รับการฝึกปั่นจักรยาน 6 วันต่อสัปดาห์ แบ่งเป็นฝึกรูปแบบเฉพาะกลุ่ม 2 วันต่อวันสัปดาห์ ฝึกแบบต่อเนื่อง 120 นาทีที่ความหนัก ~55-60 เปอร์เซ็นต์ของกำลังสูงสุด 2 วันต่อวันสัปดาห์ และ 75 นาทีที่ความหนัก ~65-70 เปอร์เซ็นต์ของกำลังสูงสุด 2 วันต่อวันสัปดาห์ รวมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ก่อนและหลังการฝึก ทำการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยา สมรรถภาพทางแอโรบิก สมรรถภาพทางกล้ามเนื้อ โครงสร้างและการทำงานของหลอดเลือด โครงสร้างและการทำงานของกล้ามเนื้อ สารชีวเคมีในเลือด และความสามารถทางกีฬาจักรยาน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึก และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ …


ผลของโปรแกรมการจัดการอาการทางลบต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง, วฤณดา อธิคณาพร Jan 2020

ผลของโปรแกรมการจัดการอาการทางลบต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง, วฤณดา อธิคณาพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลสองครั้งก่อนและหลังการทดลองเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบ 2) เปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่รับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 คน ได้รับการจับคู่ด้วยเพศและระยะเวลาการเจ็บป่วย จากนั้นสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมการจัดการอาการทางลบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 7 กิจกรรม เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อส่งเสริมการจัดการอาการทางลบและทักษะที่เกี่ยวข้อง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการจัดการอาการทางลบ 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และ 3) แบบวัดทักษะชีวิต เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน โดยแบบวัดทักษะชีวิตมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การเปรียบเทียบการผลิตโคเอนไซม์คิวเทนจากสายพันธุ์เมทิโลแบคทีเรียม, ณัฐธิดา มิ่งระโภชน์ Jan 2020

การเปรียบเทียบการผลิตโคเอนไซม์คิวเทนจากสายพันธุ์เมทิโลแบคทีเรียม, ณัฐธิดา มิ่งระโภชน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง โคเอนไซม์คิวเทนสามารถผลิตได้โดยการหมักแบคทีเรีย Methylobacterium organophilum NBRC 15689T และ Methylobacterium sp. LRY1-08 ด้วยวิธีการสกัดโคเอนไซม์คิวเทนจากเซลล์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวิธีการสกัด สายพันธุ์ Methylobacterium และปัจจัยทางกระบวนการหมัก ต่อปริมาณโคเอนไซม์คิวเทนที่ได้ การวิเคราะห์ปริมาณโคเอนไซม์คิวเทนทำโดยใช้เทคนิคโครมาโตรกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC) การศึกษาปัจจัยทางกระบวนการหมักแบคทีเรีย ได้แก่ ความแตกต่างของแหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจนและระยะเวลาของการหมัก ผลการศึกษา พบว่า วิธีการทำให้เซลล์แตกก่อนโดยใช้เมทานอลและโซเดียมคลอไรด์ 0.3% (10:1 v/v) ที่มีส่วนประกอบของไตรตอนเอ็กซ์-100 1% ควบคู่กับการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง แล้วสกัดต่อด้วยไอโซโพรพานอลและเฮกเซน (3:5) พบว่า ให้ปริมาณโคเอนไซม์คิวเทนสูงสุดในทั้งสองสายพันธุ์ โดย Methylobacterium organophilum NBRC 15689T ให้ปริมาณโคเอนไซม์คิวเทนสูงกว่า Methylobacterium sp. LRY1-08 ซึ่งสอดคล้องกับน้ำหนักเซลล์แห้งที่มากกว่า ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวิธีการสกัดนี้สามารถใช้เพื่อสกัดโคเอนไซม์คิวเทนจากเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรียได้ และผลการศึกษาปัจจัยของกระบวนการหมัก พบว่า กลูโคสความเข้มข้น 10 กรัมต่อลิตร และสารสกัดยีสต์ความเข้มข้น 10 กรัมต่อลิตร เป็นแหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจนที่เหมาะสมที่สุด โดยหมักเป็นเวลา 96 ชั่วโมง ส่งผลต่อปริมาณโคเอนไซม์คิวเทนที่ผลิตได้จากแบคทีเรีย Methylobacterium organophilum NBRC 15689T ซึ่งให้ค่า CoQ10 production เท่ากับ 2.7667 ± 0.26 mg/L ค่า Specific CoQ10 content เท่ากับ 0.7663 ± 0.07 mL/g ของน้ำหนักเซลล์แห้ง และน้ำหนักเซลล์แห้งเท่ากับ 3.62 ± 0.20 g/L


การศึกษาการแสดงออกของยีนในเลือดคนไข้โรคฉี่หนูอาการรุนแรง, เจนจิรา ดินฮูเซ็น Jan 2020

การศึกษาการแสดงออกของยีนในเลือดคนไข้โรคฉี่หนูอาการรุนแรง, เจนจิรา ดินฮูเซ็น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ โรคเลปโตสไปโรสิส หรือโรคฉี่หนู เป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญระดับโลก โรคส่วนใหญ่น่าจะเกิดในสัตว์มากกว่าคน แต่สามารถพบคนเป็นโรคนี้ได้ในหลายพื้นที่อาการของโรคมีตั้งแต่ความรุนแรงน้อย จนไปถึงระดับความรุนแรงมาก ในปัจจุบันการวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรสิสวิเคราะห์อาการทางคลินิกร่วมกับตรวจวินิจฉัยทางชีวโมเลกุล (molecular diagnostic) ซึ่งไม่สามารถประเมินความรุนแรงของโรคได้. วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ ต้องการศึกษาการแสดงออกและการตอบสนองของคนไข้โรคติดเลปโตสไปรา ที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการเกิดความรุนแรงของโรค ซึ่งในอนาคตอาจเป็นทางเลือกที่ใช้ควบคู่ไป กับวิธีการวินิจฉัยการเกิดความรุนแรงของโรคเลปโตสไปโรสิสได้. วิธีการศึกษา นำเลือดผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเลปโตสไปโรสิส แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มรุนแรงและไม่รุนแรง มาทำการค้นหายีนโดยใช้เทคโนโลยี Nanostring® nCounter® PanCancer IO 360 เมื่อได้ยีนที่น่าสนใจ ทำการตรวจสอบยีนที่ค้นพบด้วยวิธี RT-PCR. ผลการศึกษา จากการค้นหาการแสดงออกของยีนด้วยเทคนิค Nanostring โดยเลือกยีนจากความแตกต่างของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งได้ยีนที่สนใจคือ PDCD1, Nos2 และ IL4 ซึ่งเป็นยีน down regulate ทั้งหมด จึงนำยีนที่ได้มาทำการตรวจสอบด้วยวิธี RT-PCR ในผู้ป่วย 99 คน ซึ่งพบว่า ยีน PDCD1 สามารถระบุการเกิดความรุนแรงของโรคได้ โดยมี AUC เท่ากับ 0.65 สรุปผลการศึกษา PDCD1 สามารถเป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพ ในการทำนายการเกิดโรคเลปโตสไปโรสิสอาการรุนแรงได้


การศึกษาระบาดวิทยาและความหลากหลายทางจีโนไทป์ของโรต้าไวรัสสายพันธุ์เอ ที่พบในเด็กทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีที่มีอาการท้องเสียเฉียบพลัน ในประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 ถึง 2562, สิริพัทธ์ พสิษฐังกูร Jan 2020

การศึกษาระบาดวิทยาและความหลากหลายทางจีโนไทป์ของโรต้าไวรัสสายพันธุ์เอ ที่พบในเด็กทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีที่มีอาการท้องเสียเฉียบพลัน ในประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 ถึง 2562, สิริพัทธ์ พสิษฐังกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ฮิวแมนโรต้าไวรัสสายพันธุ์ A (Human Rotavirus A) เป็นสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันหรือท้องเสียในเด็กทารกและเด็กเล็กทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี อีกทั้งยังเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทยอีกด้วย ในงานวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะศึกษาระบาดวิทยาของเชื้อโรต้าไวรัสในประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 ถึง 2562 โดยทำการเก็บตัวอย่างจากอุจจาระของผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีที่เข้ารับการรักษาด้วยอาการท้องเสียระหว่างเดือนมกราคม ปีพ.ศ. 2559 ถึง เดือนธันวาคม ปีพ.ศ.2562 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 2,001 ตัวอย่าง การตรวจวินิจฉัยฮิวแมนโรต้าไวรัสสายพันธุ์ A ใช้เทคนิค real-time PCR ผลการวิจัยพบตัวอย่างที่ให้ผลบวกต่อเชื้อโรต้าไวรัสจำนวน 301 ตัวอย่าง (15.0%) กลุ่มอายุผู้ป่วยติดเชื้อโรต้าไวรัสพบมากในช่วงอายุ 0 ถึง 2 ปี โดยอัตราการติดเชื้อโรต้าไวรัสพบมากในช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย จากการจัดจำแนกสายพันธุ์พบว่า สายพันธุ์โรต้าไวรัสที่พบมากที่สุด คือ สายพันธุ์ G3P[8] (33.6%, 101/301), รองลงมาคือ G8P[8] (10.6%, 32/301), G9P[8] (6.3%, 19/301), G2P[4] (6.0%, 18/301) และ G1P[6] (5.3%, 16/301) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังตรวจพบโรต้าไวรัสสายพันธุ์ที่พบได้น้อยในคน อาทิ G2P[8], G3P[4] และ G9P[4] เมื่อทำการวิเคราะห์ในเชิง genetic backbone พบว่า DS-1-like G3P[8] เป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุด (28.2%, 85/301) ผลการวิเคราะห์ phylogenetic tree แสดงให้เห็นว่า DS-1-like G3P[8] ที่พบในประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมใกล้ชิดกับ DS-1-like G3P[8] ที่พบในประเทศอื่น ๆทั่วโลก ดังนั้นความเกี่ยวข้องกันทางพันธุกรรมของเชื้อโรต้าไวรัสที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศควรมีการศึกษาต่อไป เพื่อเป็นประโยชน์ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรต้าไวรัสและการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันการระบาดของโรคในอนาคตต่อไป


คุณลักษณะและบทบาทของพลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้นในโรคข้อเสื่อม, สุภัทรา ผาคำ Jan 2020

คุณลักษณะและบทบาทของพลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้นในโรคข้อเสื่อม, สุภัทรา ผาคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของพลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP) ความสามารถในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ และประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม เพศหญิงจำนวน 40 ราย โดยพบว่า PRP ที่เก็บได้มีปริมาณ เกล็ดเลือดมากกว่าค่าเฉลี่ยในเลือดประมาณ 2 เท่า และมีปริมาณ IL-1, IL-2, IL-5, IL-7, IL-8, IL-9, IL-12, IL-17, IFN-γ, TNF-α, IP-10, MIP-1β, bFGF, VEGF และ PDGF-BB สูงกว่าในพลาสมาอย่างมีนัยสำคัญ แต่ปริมาณของ IL-10 ใน PRP ต่ำกว่าในพลาสมาอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อทำการทดสอบทางห้องปฏิบัติการพบว่า เซลล์กระดูกอ่อนและเซลล์เยื่อบุข้อของผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมที่เลี้ยงในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่ผสม PRP มีอัตราการเจริญเพิ่มจำนวนและอัตราการเจริญเคลื่อนตัวมากกว่าเซลล์ที่เลี้ยงในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่ผสมพลาสมา ซึ่งอาจเป็นผลมาจากจำนวนเกล็ดเลือดที่อยู่ใน PRP มากกว่าพลาสมา ประมาณ 2 เท่า ทำให้ใน PRP มีปริมาณ growth factors และ cytokines มากกว่า รวมถึงการให้ PRP อย่างต่อเนื่องส่งผลให้เซลล์ทั้ง 2 ชนิดมีการเจริญเพิ่มจำนวนมากกว่าเซลล์ที่ได้รับพลาสมา อย่างเห็นได้ชัด และยังพบว่าเซลล์กระดูกอ่อนที่เลี้ยงในอาหารเลี้ยงที่ผสม PRP มีการแสดงออกยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพัฒนาของเซลล์กระดูกอ่อน (SOX9, aggrecan และ COL2A1 ) มากกว่าในเซลล์ที่เลี้ยงในพลาสมา และเซลล์เยื่อบุข้อที่เลี้ยงในอาหารเลี้ยงที่ผสม PRP ก็มีการแสดงออกยีนประเภท proinflammatory cytokines (IL-1β, IL-6 และ MMP-13) ซึ่งบ่งชี้ถึงการอักเสบน้อยกว่าในเซลล์ที่เลี้ยงในพลาสมา นอกจากนี้เมื่อทำการทดสอบทางคลินิกโดยการฉีด PRP เข้าข้อเข่าแล้วทำการประเมิน VAS score ประเมินสมรรถภาพทางกาย (Sit to Stand test, Time Up and Go test and 3 minute walk test) รวมถึงการประเมินด้วยชุดคำถาม …


การพัฒนาวิธี Real-Time Quantitative Rt-Pcrสำหรับตรวจหาลีดเดอร์อาร์เอ็นเอซับจีโนมิกของเชื้อไวรัส Sars-Cov-2, สินินาถ เพชราช Jan 2020

การพัฒนาวิธี Real-Time Quantitative Rt-Pcrสำหรับตรวจหาลีดเดอร์อาร์เอ็นเอซับจีโนมิกของเชื้อไวรัส Sars-Cov-2, สินินาถ เพชราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคอุบัติใหม่ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เกิดจากการติดเชื้อ Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2 (SARS-CoV-2) โรคนี้ติดต่อกันได้ง่ายจากคนสู่คน ทำให้ไวรัสแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องไปทั่วโลก การตรวจติดตามและการประเมินไวรัสที่ปลดปล่อยเชื้อ (viral shedding) เป็นระยะเวลานานหลายสัปดาห์ จึงมีความสำคัญต่อการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการทางการแพทย์ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ดังนั้นการตรวจพบ SARS-CoV-2 subgenomic RNA leader (sgRNA) เป็นตัวบ่งบอกสถานะของไวรัสในระยะ active มีความสามารถเพิ่มจำนวนได้ ในงานวิจัยนี้ได้ตรวจติดตามระยะเวลาการปลดปล่อย SARS-CoV-2 sgRNA leader และ genomic RNA (gRNA) จากตัวอย่างระบบทางเดินหายใจ 111 ตัวอย่าง (ของผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 10 ราย) ด้วยวิธี real-time quantitative RT-PCR (qRT-PCR) ผลการทดลองพบว่า E-sgRNA leader สามารถตรวจพบได้นานถึง 15 วัน และตรวจพบในตัวอย่างที่มีปริมาณไวรัส (viral load) มากกว่า 100,000 copies/ml (≥1E+05 virus E gene copies/ml) ในขณะที่ gRNA ยังตรวจพบได้นานถึง 24 วัน นอกจากนี้ยังค้นพบว่ามีผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 2 ใน 10 ราย ที่ E-sgRNA leader ปรากฏตัวอีกครั้งหลังจากที่ตรวจไม่พบแล้วเป็นเวลา 2 วัน ถึง 8 วัน ด้วยเหตุนี้เพื่อความปลอดภัย จึงแนะนำให้ผู้ป่วยกักตัวหรือแยกตัวอย่างน้อย 14 วันหลังจากได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน ดังนั้นการประเมิน E-sgRNA leader เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19


ผลของการฝึกการรับรู้และตอบสนองที่ข้อต่อร่วมกับการออกกำลังกายแบบสั่นสะเทือนทั้งร่างกายต่อการทรงตัวและการทำงานของระบบประสาทกล้ามเนื้อในนักกีฬาที่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคง, ณภัทร เครือทิวา Jan 2020

ผลของการฝึกการรับรู้และตอบสนองที่ข้อต่อร่วมกับการออกกำลังกายแบบสั่นสะเทือนทั้งร่างกายต่อการทรงตัวและการทำงานของระบบประสาทกล้ามเนื้อในนักกีฬาที่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคง, ณภัทร เครือทิวา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกการรับรู้และตอบสนองที่ข้อต่อร่วมกับการออกกำลังกายแบบสั่นสะเทือนทั้งร่างกายที่มีต่อความสามารถในการทรงตัวและการทำงานของระบบประสาทกล้ามเนื้อในนักกีฬาที่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคง ผู้เข้าร่วมงานวิจัยเป็นนักกีฬาระดับมหาวิทยาลัย ทั้งเพศชายและหญิงที่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคง จำนวน 52 คน มีอายุระหว่าง 18-27 ปี โดยผ่านการตรวจร่างกายและเกณฑ์การคัดเข้าก่อนเข้าร่วมงานวิจัย จากการตอบแบบสอบถามประเมินตนเอง CAIT ได้คะแนนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 24 คะแนน โดยแบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 13 คน ได้แก่ กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝึกการรับรู้และตอบสนองที่ข้อต่อร่วมกับการออกกำลังกายแบบสั่นสะเทือนทั้งร่างกาย (Control) กลุ่มทดลอง 1 ที่ได้รับการฝึกการรับรู้และตอบสนองที่ข้อต่อเพียงอย่างเดียว (PPT) กลุ่มทดลอง 2 ที่ได้รับการออกกำลังกายแบบสั่นสะเทือนทั้งร่างกายเพียงอย่างเดียว (WBV) และกลุ่มทดลอง 3 ที่ได้รับการฝึกการรับรู้และตอบสนองที่ข้อต่อร่วมกับการออกกำลังกายแบบสั่นสะเทือนทั้งร่างกายต่อเนื่องกัน (PPT+WBV) โดยกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่มได้รับโปรแกรมการฝึกที่กำหนด 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ในช่วงการทดลองทุกกลุ่มจะได้รับการฝึกซ้อมทักษะตามปกติภายใต้การควบคุมดูแลของผู้ฝึกสอน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการฝึก ได้แก่ ข้อมูลคุณลักษณะทั่วไป การทดสอบความสามารถในการทรงตัวขณะอยู่นิ่งโดยเครื่องไบโอเด็กซ์ (Biodex stability system) และการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวโดยการทดสอบการทรงตัวตามแนวเส้นรูปดาว (Star excursion balance test) วัดการรับรู้ความรู้สึกที่ข้อต่อ (Joint position senses, JPS) วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเท้า ทดสอบการทำงานของข้อเท้าโดยการกระโดดลงสู่พื้น (Time to stability, TTS) และฮอฟแมนรีเฟล็กซ์ (H-reflex) ที่กล้ามเนื้อน่องด้านใน (Soleus muscle) ผลการวิจัยพบว่า ในกลุ่มควบคุม ไม่พบความแตกต่างของทุกตัวแปรก่อนและหลังการทดสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ขณะที่ทั้ง 3 กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการทรงตัวทั้งขณะอยู่นิ่ง เวลาที่ผู้ทดสอบอยู่นิ่งหลังจากที่กระโดดลงมาสู้พื้นด้วยขาข้างเดียว และค่าเฉลี่ยความสูงของ H-reflex ที่กล้ามเนื้อ Soleus ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ยกเว้นบางตัวแปรในกลุ่ม WBV ที่มีค่าความสามารถในการการรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อที่ไม่เปลี่ยนแปลง (p>0.05) ส่วนกลุ่ม PPT ไม่พบความแตกต่างก่อนและหลังการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ของค่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเท้าและความสามารถในการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว และกลุ่ม PPT+WBV ไม่พบความแตกต่างของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเท้าที่ก่อนและหลังการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p …


A Topical Eye Drop Versus Intra-Meibomian Gland Injection Of Bevacizumab For Meibomian Gland Dysfunction Patients., Chitchanok Tantipat Jan 2020

A Topical Eye Drop Versus Intra-Meibomian Gland Injection Of Bevacizumab For Meibomian Gland Dysfunction Patients., Chitchanok Tantipat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Purpose: To compare the efficacy and safety of topical bevacizumab eye drop versus intra-meibomian gland injection of bevacizumab when used with the standard lid hygiene in meibomian gland dysfunction (MGD) patients. Methods: 60 eyes of 30 MGD patients with lid margin telangiectasia were randomized to receive 0.05% bevacizumab eye drop or single 2.5% intra-meibomian gland bevacizumab injection plus standard lid hygiene. The primary outcomes were telangiectasia grading and the computerized lid margin neovascularized area (LMNA). The secondary outcomes were the ocular surface disease index (OSDI) score, corneal staining, meibomian gland quality, meiboscore, conjunctival redness, fluorescein break up time (FBUT), noninvasive …


Factors Predicting Nutritional Scores In Hiv-Infected Elder Receiving Antiretroviral Therapy In Thailand, Daylia Thet Jan 2020

Factors Predicting Nutritional Scores In Hiv-Infected Elder Receiving Antiretroviral Therapy In Thailand, Daylia Thet

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objectives: (1) To compare means of nutritional scores and means of depression scores from 2016 and 2020 (2) To investigate relationship between nutritional scores and depression scores (3) To establish nutritional score prediction model. Methodology: A longitudinal retrospective survey study was performed. Population were human immunodeficiency virus (HIV)-infected Thai elderly patients aged 50 years and above who were receiving HIV care and had previously participated in the aging cohort study conducted from March 2016 to April 2017 at the HIV-NAT Center, Bangkok, Thailand. Sample size for multiple regression analysis is calculated as 15 cases per 1 independent variable. This study …


Effect Of Dietary Advice On The Components Of Metabolic Syndrome In Hiv/Aids Patients With Metabolic Syndrome, Patcharee Ketchaleaw Jan 2020

Effect Of Dietary Advice On The Components Of Metabolic Syndrome In Hiv/Aids Patients With Metabolic Syndrome, Patcharee Ketchaleaw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Metabolic syndrome is a complication found in HIV/AIDs patients. The patients with metabolic syndrome had increased risk of cardiovascular disease. An appropriate dietary advice may help ameliorate this problem. This study aimed to investigate the effect of dietary advice on components of metabolic syndrome including anthropometric parameters, lipid profiles, fasting blood sugar, and blood pressure in the HIV/AIDs with metabolic syndrome who were on highly active antiretroviral therapy. This study was a randomized controlled trial. Sixty participants were randomly assigned into an intervention group (n = 30) and a control group (n = 30). All patients received the advice with …


Efficacy And Safety Of Mulberry Leaves On Glycemic Control In Patients With Obesity And Patients With Type 2 Diabetes, Thanchanit Thaipitakwong Jan 2020

Efficacy And Safety Of Mulberry Leaves On Glycemic Control In Patients With Obesity And Patients With Type 2 Diabetes, Thanchanit Thaipitakwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This work was divided into three study phases: the two-phase randomized controlled clinical trials and proteomics study. First, the phase I clinical trial aimed to determine efficacy and safety of mulberry leaves on postprandial glucose following the 50-g sucrose ingestion in healthy nondiabetic adults and to explore the optimal administered dose of 1-deoxynojirimycin (DNJ), the major antihyperglycemic compound of mulberry leaves. The results showed the alleviation of postprandial hyperglycemia by mulberry leaves in a dose-dependent fashion. Adverse effects of mulberry leaves included bloating and flatulence, loose stool, and nausea. In addition, 12 mg of DNJ was considered the optimal dose …


Toe Clearance And Lower Limb Kinematics During Swing Phase Of Walking Over The Obstacles In Postoperative Total Knee Arthroplasty, Archrawadee Srijaroon Jan 2020

Toe Clearance And Lower Limb Kinematics During Swing Phase Of Walking Over The Obstacles In Postoperative Total Knee Arthroplasty, Archrawadee Srijaroon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this study was to determine minimum toe clearance and lower limb kinematics at initial swing and mid-swing phase during walking over the obstacles in patients with knee osteoarthritis after total knee arthroplasty (TKA). Twenty patients aged 65-85 years with knee OA were included to the study before surgery, three and six months following TKA and twenty age-matched healthy controls were collected the data for comparisons. All participants were asked to perform range of motion test, muscle length test, leg length, leg muscles strength test, joint position sense test, single-leg balance test, Knee Injury Osteoarthritis Outcome Score (KOOS). …


ผลของการฝึกด้วยแรงต้านแบบผสมผสานยางยืดโดยใช้คลัสเตอร์เซตต่อความแข็งแรงและพลังของท่าคลีนพูลในนักกีฬายกน้ำหนักยุวชน, เสกข์ศักย์ ธิติศักดิ์ Jan 2020

ผลของการฝึกด้วยแรงต้านแบบผสมผสานยางยืดโดยใช้คลัสเตอร์เซตต่อความแข็งแรงและพลังของท่าคลีนพูลในนักกีฬายกน้ำหนักยุวชน, เสกข์ศักย์ ธิติศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้วิธีฝึกด้วยแรงต้านแบบผสมผสานยางยืดร่วมกับวิธีฝึกแบบคลัสเตอร์เซต เพื่อพัฒนาความสามารถด้านความแข็งแรงและพลังในนักกีฬายกน้ำหนักยุวชน งานวิจัยนี้ประกอบด้วยการศึกษา 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬายกน้ำหนักหญิง อายุ 13-17 ปี จำนวน 9 คน ทดสอบท่าคลีนพูลด้วยแรงต้านผสมผสานยางยืด ฟรีเวท 90% : ยางยืด 10% ความหนัก 85% จำนวน 6 ครั้ง ด้วยเวลาพัก 20 30 และ 40 วินาที เปรียบเทียบพลังสูงสุดเฉลี่ยเพื่อนำไปใช้ทดลองขั้นตอนถัดไป ขั้นตอนที่ 2 ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬายกน้ำหนักชายและหญิง อายุ 13-17 ปี จำนวน 16 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างจำนวนเท่ากัน กลุ่มทดลองฝึกด้วยแรงต้านผสมผสานยางยืดโดยใช้เวลาพัก 40 วินาที กลุ่มควบคุมฝึกท่าคลีนพูลด้วยวิธีประเพณีนิยมที่ความหนัก 80-95% ทดสอบก่อนการฝึก ระหว่างการฝึก และหลังการฝึก ผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 พบว่าระยะเวลาพัก 40 วินาที นักกีฬาจะมีพลังสูงสุด แรงสูงสุด ความเร็วสูงสุด และเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของความเร็วสูงสุดจากครั้งแรกต่อเซตมากกว่าการฝึกด้วยระยะเวลาพัก 20 และ 30 วินาที (P<.05) ขั้นตอนที่ 2 ไม่พบความแตกต่างหลังการฝึกระหว่างทั้งสองกลุ่มในทุกตัวแปร แต่เมื่อทดสอบความแตกต่างของตัวแปรภายในกลุ่มพบว่ากลุ่มทดลองสามารถเพิ่มพลังสูงสุด อัตราการพัฒนาแรงสูงสุด และความแข็งแรงท่าคลีนพูลสูงสุด ส่วนกลุ่มควบคุมสามารถเพิ่มอัตราการพัฒนาแรงสูงสุด และความแข็งแรงสูงสุด แต่ความเร็วสูงสุดในช่วงท้ายของการฝึกลดลง จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า วิธีการฝึกด้วยแรงต้านแบบผสมผสานยางยืดร่วมกับวิธีการฝึกแบบคลัสเตอร์เซตเหมาะในการฝึกเพื่อเพิ่มพลังสูงสุด และรักษาระดับความเร็วสูงสุด


ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพของนักวิ่งเพื่อสุขภาพ, ฌาณัฏฐ์ ภัคธันยสิทธิ์ Jan 2020

ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพของนักวิ่งเพื่อสุขภาพ, ฌาณัฏฐ์ ภัคธันยสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพของนักวิ่งเพื่อสุขภาพ และเพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมสุขภาพของนักวิ่งเพื่อสุขภาพ จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ และประสบการณ์ในการวิ่ง วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักวิ่งเพื่อสุขภาพจากกลุ่มนักวิ่งจำนวน 7 กลุ่มในเครือข่ายสังคมออนไลน์ จำนวน 423 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบ "ที" (t-test) และสถิติทดสอบ"เอฟ" (F-test) ในกรณีที่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทำการทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe's) ผลการวิจัย พบว่า 1. นักวิ่งเพื่อสุขภาพมีความรู้เกี่ยวกับการวิ่งอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 64.04 มีทัศนคติเกี่ยวกับการวิ่งอยู่ในระดับดีมาก มีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับดี 2. เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมสุขภาพของนักวิ่งเพื่อสุขภาพ จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ และประสบการณ์ในการวิ่งพบว่านักวิ่งเพื่อสุขภาพส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ระดับทัศนคติเกี่ยวกับการวิ่ง และพฤติกรรมสุขภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ยกเว้นพฤติกรรมสุขภาพเพศชายและเพศหญิงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05) สรุปผลการวิจัย นักวิ่งเพื่อสุขภาพมีความรู้เกี่ยวกับการวิ่งอยู่ในระดับปานกลาง มีทัศนคติเกี่ยวกับการวิ่งอยู่ในระดับดีมาก และมีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพจำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์ในการวิ่งส่วนใหญ่มีความแตกต่างกัน


ผลของการฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการนวดทางกีฬาทีมีต่อสมรรถนะในการว่ายน้ำในนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย, พีรภาส จั่นจำรัส Jan 2020

ผลของการฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการนวดทางกีฬาทีมีต่อสมรรถนะในการว่ายน้ำในนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย, พีรภาส จั่นจำรัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการนวดทางกีฬาต่อการเคลื่อนย้ายกรดแลคติกและสมรรถภาพในการว่ายน้ำในนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาว่ายน้ำตัวแทนทีมชาติ เพศชาย อายุระหว่าง 18 - 24 ปี จำนวน 15 คน เข้ารับการทดสอบ 3 รูปแบบการฟื้นตัว ได้แก่ การฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการนวด การฟื้นตัวแบบีกิจกรรมการเคลื่อนไหว และการฟื้นตัวด้วยการนวด การทดสอบแต่ละครั้ง เว้นระยะห่างกัน 1 สัปดาห์ ก่อนและหลังการฟื้นตัวแต่ละรูปแบบทำการบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ ความเข้มข้นของกรดแลคติกในกระแสเลือด อัตราเร็วของรอบแขนใน 1 นาที และเวลาที่ใช้ในการว่ายท่าฟรอนท์ครอล 100 เมตร นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (Paired-simple t-test) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดสอบ วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างและความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยของตัวแปรต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่ม โดยใช้การทดสอบเปรียบเทียบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA measure) โดยวิธีของ Bonferroni กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า การฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการนวดเป็นวิธีการฟื้นฟูที่ส่งผลดีต่อการเคลื่อนย้ายกรดแลคติกและสมรรถภาพในการว่ายน้ำ ได้ดีกว่าการฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหว และการฟื้นตัวด้วยการนวด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 สรุปผลการวิจัย การฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการนวดเป็นวิธีที่ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของนักกีฬาว่ายน้ำภายหลังการออกกำลังกายหรือการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพ


ผลของสื่อโมชันกราฟิกด้านการออกกำลังกายที่มีต่อการทรงตัวในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน, ธนพร ลาภบุญทรัพย์ Jan 2020

ผลของสื่อโมชันกราฟิกด้านการออกกำลังกายที่มีต่อการทรงตัวในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน, ธนพร ลาภบุญทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสื่อโมชันกราฟิกการออกกำลังกายต่อการทรงตัวของผู้ป่วยพาร์กินสัน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยพาร์กินสันที่เข้ารับการรักษาในเขตกรุงเทพมหานคร อายุ 60-80 ปี 28 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน รับสื่อโมชันกราฟิกการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาการทรงตัว ออกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์ กลุ่มควบคุม 13 คน รับสื่อข้อความเนื้อหาการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาการทรงตัวและใช้ชีวิตตามปกติ ทดสอบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงยาออกฤทธิ์ก่อนและหลังการทดลอง 10 สัปดาห์ โดยทดสอบการทรงตัวขณะหยุดนิ่งด้วยเครื่องทดสอบการทรงตัวไบโอเด็กส์และทดสอบการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวด้วยแบบประเมินการทรงตัว (MiniBESTest) วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรก่อนและหลังการทดลองของแต่ละกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 10 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มมีค่าเฉลี่ยข้อมูลด้านสรีรวิทยา ได้แก่ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย ระดับความรุนแรงของโรค (Modified Hoehn & Yahr Stage) ปริมาณยาเลโวโดปาที่ได้รับไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรด้านการทรงตัวพบว่า กลุ่มทดลองมีดัชนีการเซเฉลี่ยดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05) ค่าเฉลี่ยคะแนนแบบประเมินการทรงตัว (MiniBESTest) ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองและแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05) สรุปผลการวิจัย การออกกำลังกายด้วยสื่อโมชันกราฟิกด้านการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาการทรงตัวสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสันเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ช่วยให้การทรงตัวของผู้ป่วยพาร์กินสันดีขึ้น


พฤติกรรมสุขภาพของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร, ณัฐนรี วาสนาทิพย์ Jan 2020

พฤติกรรมสุขภาพของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร, ณัฐนรี วาสนาทิพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามตัวแปร เพศ และชั้นปีการศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ ทั้ง 4 ด้าน มีข้อคำถามทั้งหมด 62 ข้อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยที่เป็นคนไทยในกรุงเทพมหานครที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 480 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบเอฟ ผลการวิจัย 1) นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับดี 2) นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร เพศชายมีพฤติกรรมการออกกำลังกายดีกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร เพศหญิงมีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ดีกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรชั้นปีการศึกษา พบว่า นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครที่มีชั้นปีการศึกษาต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพทั้ง 4 ด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สรุปผลการวิจัย นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง แต่พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับดี


ผลของการออกกำลังกายแบบฟังก์ชั่นที่มีความจำเพาะต่อการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบทาง คิเนมาติกส์และการทำงานของกล้ามเนื้อของรยางค์ล่างในนักวิ่งระยะไกลที่เป็นโรครองช้ำ, วรพงษ์ คงทอง Jan 2020

ผลของการออกกำลังกายแบบฟังก์ชั่นที่มีความจำเพาะต่อการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบทาง คิเนมาติกส์และการทำงานของกล้ามเนื้อของรยางค์ล่างในนักวิ่งระยะไกลที่เป็นโรครองช้ำ, วรพงษ์ คงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ประกอบด้วย 2 การศึกษา สำหรับการศึกษาที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบทางคิเนมาติกส์และการทำงานของกล้ามเนื้อทางด้านหลังของข้อสะโพกและรยางค์ล่างในนักวิ่งระยะไกลที่เป็นโรครองช้ำและไม่เป็นโรครองช้ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักวิ่งระยะไกลจำนวน 36 คน ประกอบด้วยกลุ่มที่เป็นโรครองช้ำ (PF) จำนวน 18 คน และกลุ่มที่ไม่เป็นโรครองช้ำ (No PF) จำนวน 18 คน ได้รับการทดสอบมุมการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง ความสามารถในการคงรูปของเท้า Impulse และการทำงานของกล้ามเนื้อทางด้านหลังของข้อสะโพกและรยางค์ล่าง ขณะวิ่งเท้าเปล่าที่ความเร็ว 3 ถึง 3.67 เมตรต่อวินาที ด้วยเครื่องวิเคราะห์การเคลื่อนไหวที่เชื่อมต่อกับแผ่นรับแรงกดและเครื่องบันทึกสัญญาณการทำงานของกล้ามเนื้อแบบไร้สาย นอกจากนั้น ทำการเก็บข้อมูลขนาดกล้ามเนื้อในฝ่าเท้าชั้นที่ 1 ความแข็งแรงของกลุ่มกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก และระดับความรู้สึกปวด แล้วทำการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Unpaired t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่ม PF มีความสามารถในการคงรูปของเท้า การทำงานของกล้ามเนื้อ Gluteus medius กล้ามเนื้อ Tensor fascia latae ขนาดกล้ามเนื้อ Abductor hallucis ความแข็งแรงของกลุ่มกล้ามเนื้อ Hip abductor ความแข็งแรงของกลุ่มกล้ามเนื้อ Hip extensor และระดับ Pressure pain threshold (PPT) มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม No PF อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้น พบว่ากลุ่ม PF มีมุมของอุ้งเท้า มุม Rearfoot eversion มุม Knee abduction มุม Hip adduction มุม Pelvic upward rotation การทำงานของกล้ามเนื้อ Medial gastrocnemius กล้ามเนื้อ Gluteus maximus ค่า Impulse และคะแนน Foot function index (FFI) มีค่ามากกว่ากลุ่ม No …


ผลของการฝึกด้วยแรงต้านร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดต่อความสามารถในการวิ่งมาราธอนในนักวิ่งวัยกลางคน, อัครเศรษฐ เลิศสกุล Jan 2020

ผลของการฝึกด้วยแรงต้านร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดต่อความสามารถในการวิ่งมาราธอนในนักวิ่งวัยกลางคน, อัครเศรษฐ เลิศสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยแรงต้านร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดต่อความสามารถในการวิ่งมาราธอนในนักวิ่งวัยกลางคน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักวิ่งมาราธอนทั้งเพศชายและหญิง 30 คน อายุระหว่าง 35 ถึง 45 ปี แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มฝึกด้วยแรงต้านแบบใช้น้ำหนักตัว (กลุ่มใช้น้ำหนักตัว) กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มฝึกด้วยแรงต้านที่ระดับความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดที่ระดับแรงดันต่ำ (กลุ่มการจำกัดการไหลของเลือดต่ำ) และกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มฝึกด้วยแรงต้านที่ระดับความหนักต่ำร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดที่ระดับแรงดันสูง (กลุ่มการจำกัดการไหลของเลือดสูง) และทั้ง 3 กลุ่มได้รับการฝึกวิ่งตามโปรแกรม จำนวน 3 วันต่อสัปดาห์ และฝึกด้วยแรงต้านเฉพาะตามแต่ละกลุ่ม จำนวน 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปรก่อนการฝึกและหลังการฝึก 12 สัปดาห์ ได้แก่ 1) ตัวแปรด้านสรีรวิทยาทั่วไป; อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบและคลายตัว และองค์ประกอบของร่างกาย 2) ตัวแปรด้านสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ; ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ 3) ตัวแปรด้านสมรรถภาพทางแอโรบิก; ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด และระดับกั้นแอนแอโรบิก และ4) ตัวแปรด้านความสามารถในการวิ่ง; ระยะเวลาในการวิ่งมาราธอน และประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานขณะวิ่ง ทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ 3x2 (กลุ่ม x เวลา) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีแอลเอสดี ผลการวิจัย พบว่า เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนการฝึกและภายหลังการฝึก 12 สัปดาห์ กลุ่มฝึกทั้ง 3 กลุ่ม มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (วัดโดยความสามารถของการออกแรงสูงสุดในท่าสควอท) และความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้น และมีระยะเวลาในการวิ่งมาราธอนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มฝึกด้วยการจำกัดการไหลของเลือดทั้ง 2 กลุ่มมีความทนทานของกล้ามเนื้อ (วัดโดยความสามารถในการนั่ง – ยืน) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้กลุ่มการจำกัดการไหลของเลือดสูงมีค่าประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานขณะการวิ่ง, กำลังสูงสุดของกล้ามเนื้อต้นขาท่าเหยียด - งอเข่า ที่ความเร็ว 180o/วินาที และค่างานของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังท่างอเข่า เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 …


ผลของการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกสลับช่วงประกอบน้ำหนักต่อองค์ประกอบของร่างกายและการทำงานของหลอดเลือดในผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง, ธันยากานต์ วรเศรษฐวัฒน์ Jan 2020

ผลของการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกสลับช่วงประกอบน้ำหนักต่อองค์ประกอบของร่างกายและการทำงานของหลอดเลือดในผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง, ธันยากานต์ วรเศรษฐวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลฉับพลันและผลของการฝึกออกกำลังกายแบบสลับช่วงต่อการตอบสนองทางสรีรวิทยา การใช้พลังงาน การทำงานของหลอดเลือด และสมรรถภาพทางกายในผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง สำหรับการศึกษาผลฉับพลัน กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายและหญิง มีอายุตั้งแต่ 18-50 ปี แบ่งเป็น ผู้ที่มีน้ำหนักปกติ ค่าดัชนีมวลกาย 18.5-22.9 กิโลกรัม/เมตร2 จำนวน 12 คน และผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง ค่าดัชนีมวลกาย ≥ 37.5 กิโลกรัม/เมตร จำนวน 12 คน ก่อนและหลังการออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง และแบบสลับช่วง ทำการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยา การทำงานของหลอดเลือด การใช้พลังงาน และคะแนนความสนุกสนาน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (2x3) และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยวิธี LSD ที่ระดับ .05 จากนั้นนำผลที่ได้จากการศึกษาที่ 1 มาใช้ในการศึกษาผลของการฝึกออกกำลังกายในการศึกษาที่ 2 สำหรับการศึกษาผลของการฝึกออกกำลังกายกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายและหญิง อายุ 18-50 ปี จำนวน 26 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักปกติ ค่าดัชนีมวลกาย 18.5-22.9 กิโลกรัม/เมตร2 จำนวน 14 คน และ กลุ่มผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง ค่าดัชนีมวลกาย ≥ 37.5 กิโลกรัม/เมตร จำนวน 12 คน ทำการฝึกออกกำลังกายแบบสลับช่วงโดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ช่วง 1-6 สัปดาห์ ออกกำลังกายระดับความหนักสูงที่ 75-85 % อัตราการเต้นหัวใจสำรอง (HRR) เป็นเวลา 1 นาที สลับกับช่วงออกกำลังกายระดับเบาที่ 45-55 % HRR เป็นเวลา 4 นาที จำนวน 6 รอบ ระยะที่ 2 ช่วง 7-12 สัปดาห์ …


ผลฉับพลันของการบริหารรยางค์ขาส่วนล่างด้วยตนเองโดยใช้โฟมโรลเลอร์ต่อการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและอุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, วรวรรณ หัตถโชติ Jan 2020

ผลฉับพลันของการบริหารรยางค์ขาส่วนล่างด้วยตนเองโดยใช้โฟมโรลเลอร์ต่อการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและอุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, วรวรรณ หัตถโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลฉับพลันของการบริหารรยางค์ขาส่วนล่างด้วยตนเองโดยใช้โฟมโรลเลอร์ต่อการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและอุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อายุ 42 – 65 ปี เพศชายและหญิง ประเมินความเสี่ยงที่เท้าอยู่ในระดับ 0 จำนวนทั้งสิ้น 30 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน โดยกลุ่มควบคุมให้นอนหงายราบโดยมีหมอนรองศีรษะเป็นเวลา 30 นาที และกลุ่มทดลองให้บริหารรยางค์ขาส่วนล่างข้างซ้ายด้วยตนเองโดยใช้โฟมโรลเลอร์ ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการวัดปริมาณการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและอุณหภูมิผิวหนังที่เท้าก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที หลังการทดลอง 10 นาที และหลังการทดลอง 20 นาที นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบภายในกลุ่มด้วยความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอร์โรนี และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ ใช้ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีปริมาณการไหลเวียนเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้นและอุณหภูมิผิวหนังที่เท้าลดลงน้อยกว่ากลุ่มควบคุมภายหลังได้รับการบริหารรยางค์ขาส่วนล่างด้วยตนเองโดยใช้โฟมโรลเลอร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการไหลเวียนเลือดส่วนปลายหลังการทดลองทันที หลังการทดลอง 10 นาที และหลังการทดลอง 20 นาที เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลอง และมีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิผิวหนังหลังการทดลองทันที หลังการทดลอง 10 นาที และหลังการทดลอง 20 นาที ลดลงแตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับกลุ่มควบคุมพบว่ามีค่าเฉลี่ยการไหลเวียนเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้นหลังการทดลองทันทีแตกต่างกับก่อนการทดลอง และมีค่าเฉลี่ยของการไหลเวียนเลือดส่วนปลายหลังการทดลอง 10 นาที และหลังการทดลอง 20 นาที ลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในส่วนของอุณหภูมิผิวหนังที่เท้า พบว่า กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิผิวหนังที่เท้าหลังการทดลองทันที หลังการทดลอง 10 นาที และหลังการทดลอง 20 นาทีลดลงแตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย การบริหารรยางค์ขาส่วนล่างด้วยตนเองโดยใช้โฟมโรลเลอร์สามารถเพิ่มปริมาณการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและส่งผลดีต่ออุณหภูมิผิวหนังที่เท้าที่ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2


การศึกษาสมรรถนะพยาบาลผู้นิเทศทางคลินิก โรงพยาบาลรัฐ, เสาวลักษณ์ ต้นสักตระกูล Jan 2020

การศึกษาสมรรถนะพยาบาลผู้นิเทศทางคลินิก โรงพยาบาลรัฐ, เสาวลักษณ์ ต้นสักตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลผู้นิเทศทางคลินิก โรงพยาบาลรัฐ โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย (Delphi Technique) ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการนิเทศทางคลินิก จำนวน 21 คน ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสภาวิชาชีพการพยาบาล จำนวน 3 คน 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญระดับหัวหน้ากลุ่มการ/ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลรัฐ ที่มีประสบการณ์การนิเทศทางคลินิก จำนวน 3 คน 3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการ/อาจารย์พยาบาลที่มีผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยเกี่ยวกับการนิเทศทางคลินิก จำนวน 3 คน 4) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญระดับหัวหน้าหอผู้ป่วยที่มีประสบการณ์การนิเทศทางคลินิก จำนวน 6 คน และ 5) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการพยาบาลที่มีประสบการณ์การนิเทศทางคลินิก จำนวน 6 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 รอบ ได้แก่ รอบที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลผู้นิเทศทางคลินิก โรงพยาบาลรัฐ รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญของสมรรถนะพยาบาลผู้นิเทศทางคลินิก โรงพยาบาลรัฐ และรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 คำนวณหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จัดทำเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันหรือเปลี่ยนแปลงความคิดเห็น เพื่อสรุปเป็นสมรรถนะพยาบาลผู้นิเทศทางคลินิก โรงพยาบาลรัฐ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันเกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลผู้นิเทศทางคลินิกโรงพยาบาลรัฐ ประกอบด้วย สมรรถนะหลัก 6 ด้าน สมรรถนะย่อย 59 ข้อ ได้แก่ 1) สมรรถนะด้านวิชาการเชิงคลินิก จำนวน 14 ข้อ 2) สมรรถนะด้านการปฏิบัติการนิเทศทางคลินิก จำนวน 14 ข้อ 3) สมรรถนะด้านคุณลักษณะของผู้นิเทศทางคลินิก จำนวน 12 ข้อ 4) สมรรถนะด้านการสอนในคลินิก จำนวน 7 ข้อ 5) สมรรถนะด้านการสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพ จำนวน 6 ข้อ และ 6) สมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 6 …