Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 378

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร, ดวงพร กุลภควา Jan 2018

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร, ดวงพร กุลภควา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างแบบประเมินซึ่งมี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์รายการสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดจากการทบทวนวรรณกรรมและสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญพยาบาลห้องผ่าตัด จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างข้อรายการสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โดยการกำหนดข้อรายการสมรรถนะและวิเคราะห์หาคุณภาพของข้อรายการสมรรถนะด้วยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.94 และทดสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 นำผลที่ได้ไปสร้างเป็นแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสมรรถนะ 6 ด้าน ข้อรายการสมรรถนะย่อย 36 ข้อ ระยะที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน ผู้วิจัยนำแบบประเมินที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน ประกอบด้วยพยาบาลห้องผ่าตัด 44 คนและพยาบาลผู้จัดการแผนกและพยาบาลหัวหน้าหน่วยแผนกห้องผ่าตัด 6 คน โดยใช้รูปแบบการประเมิน 360 องศา วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคและความสอดคล้องของการประเมินระหว่างพยาบาลห้องผ่าตัดประเมินตนเอง ประเมินโดยเพื่อนร่วมงานและประเมินโดยพยาบาลผู้จัดการแผนกและพยาบาลหัวหน้าหน่วยแผนกห้องผ่าตัดด้วยสถิติ Intraclass Correlation Coefficient ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น (r) เท่ากับ 0.98 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยรายด้านสมรรถนะหลัก 6 รายด้าน ข้อรายการสมรรถนะย่อย 36 ข้อ ดังนี้ 1) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลผ่าตัด มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 12 ข้อ 2) การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 8 ข้อ 3) การใช้และการจัดการเครื่องมือ อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 4 ข้อ 4) การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงและการแก้ปัญหาฉุกเฉิน มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 4 ข้อ 5) การสื่อสาร ติดต่อประสานงาน มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 4 …


การศึกษาการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ, พัชรินทร์ โชคสวัสดิ์ Jan 2018

การศึกษาการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ, พัชรินทร์ โชคสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ โดยใช้เทคนิคเดลฟายในการรวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงานวิจัยหรือผลงานที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ 6 คน ผู้บริหารทางการพยาบาล โรงพยาบาลตติยภูมิ 6 คน อาจารย์พยาบาล 4 คน และหัวหน้าหน่วยงานเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลตติยภูมิ 4 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ในรอบที่ 1 มาวิเคราะห์เนื้อหาจัดหมวดหมู่สาระในลักษณะเดียวกัน สร้างเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาระดับความสำคัญของรายการในแต่ละด้าน ในการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ ขั้นตอนที่ 3 นำความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน ความคิดเห็นอีกครั้ง แล้วนำข้อมูลมาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และสรุปองค์ประกอบในการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ ประกอบด้วย 6 ด้าน และมีรายการจำนวน 47 ข้อ ดังนี้ 1) การกำหนดค่านิยมในการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ข้อ 2) การขอรับการสนับสนุนด้านการสร้างเสริมสุขภาพจากสหวิชาชีพ จำนวน 4 ข้อ 3) การสื่อสารค่านิยมในการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 10 ข้อ 4) การกำหนดพฤติกรรรมการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 12 ข้อ 5) การเสริมแรงพฤติกรรมการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ข้อ 6) การสร้างความต่อเนื่องของการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ข้อ


การเปรียบเทียบตัวแปรทางชีวกลศาสตร์ระหว่างการสวิงกอล์ฟบนพื้นที่ลาดเอียงที่ต่างกันในนักกีฬากอล์ฟสมัครเล่น, ชัชชานนท์ พูลสวัสดิ์ Jan 2018

การเปรียบเทียบตัวแปรทางชีวกลศาสตร์ระหว่างการสวิงกอล์ฟบนพื้นที่ลาดเอียงที่ต่างกันในนักกีฬากอล์ฟสมัครเล่น, ชัชชานนท์ พูลสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบตัวแปรทางชีวกลศาสตร์ ระหว่างการสวิงบนพื้นราบและบนพื้นลาดเอียงแบบขึ้นเนินและลงเนิน ในนักกีฬากอล์ฟสมัครเล่น วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างงานวิจัยนี้คือ นักกีฬากอล์ฟสมัครเล่น เพศชาย วงสวิงขวา จำนวน 16 คน กลุ่มตัวอย่างทำการสวิงด้วยเหล็ก 7 บนพื้น 3 รูปแบบ ได้แก่ พื้นราบ พื้นเอียงแบบขึ้นเนินและลงเนิน ซึ่งทำมุม ±10 องศากับแนวราบ เพื่อบันทึกการเคลื่อนไหวของร่างกาย แรงปฏิกิริยาจากพื้นและความเร็วหัวไม้ แล้วจึงเลือกข้อมูลใน 4 เหตุการณ์ ได้แก่ ตำแหน่งจรดลูก ตำแหน่งขึ้นไม้สูงสุด ตำแหน่งกลางของการลงไม้และตำแหน่งไม้กระทบลูก เพื่อหาความแตกต่างด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย พบว่า การสวิงแบบขึ้นเนินและลงเนินมีระยะระหว่างเท้าเพิ่มจากสวิงบนพื้นราบ การสวิงแบบขึ้นเนินมีความแตกต่างของการเคลื่อนไหวและประสิทธิภาพที่ลดลงจากการสวิงบนพื้นราบและการสวิงแบบลงเนินอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่การสวิงแบบลงเนินมีประสิทธิภาพและการเคลื่อนไหวบางช่วงไม่แตกต่างจากการสวิงบนพื้นราบอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การสวิงแบบขึ้นเนินและลงเนินควรเพิ่มระยะระหว่างเท้าให้กว้างมากขึ้นเพื่อรักษาการทรงตัว การสวิงบนพื้นที่ลาดเอียงควรรักษาลักษณะการยื่นและการเคลื่อนไหวให้ใกล้เคียงกับการสวิงบนพื้นราบให้มากที่สุด เพื่อคงไว้ซึ่งความเร็วเชิงมุมในการหมุนลำตัวและสะโพกที่สำคัญต่อการสร้างความเร็วหัวไม้


ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมการตลาดและความตั้งใจซื้อสินค้าที่ระลึก กรณีของสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย, อนิวรรตน์ นุ่มลืมคิด Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมการตลาดและความตั้งใจซื้อสินค้าที่ระลึก กรณีของสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย, อนิวรรตน์ นุ่มลืมคิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมการตลาดและความตั้งใจซื้อสินค้าที่ระลึกของสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยในไทยลีก วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแฟนบอลของสโมสรต่างๆทั้ง 5 สโมสร ที่มีรายได้จากการขายสินค้าที่ระลึกมากที่สุด 5 อันดับแรกที่เข้าไปซื้อหรือดูสินค้าที่ระลึกที่จุดจำหน่ายของที่ระลึกของแต่ละสโมสรทั้ง 5 สโมสรในไทยลีก 1 จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยหาจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้การทดสอบการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย การส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจซื้อสินค้าที่ระลึกของสโมสรฟุตบอลอาชีพในไทยลีกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อยู่ในระดับปานกลาง (r = .436) ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.436 และกำลังสองของค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ (R2) มีค่าเท่ากับ 0.190 แสดงว่าการส่งเสริมการตลาด สามารถพยากรณ์ความตั้งใจซื้อสินค้าที่ระลึกของสโมสรฟุตบอลอาชีพในไทยลีก คิดเป็นร้อยละ 19 และค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์มีค่าเท่ากับ 0.559 สรุปผลการวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมการตลาดและความตั้งใจซื้อสินค้าที่ระลึกของสโมสรฟุตบอลอาชีพในไทยลีก มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


ความชุกของเชื้อลิชมาเนีย และทริพพาโนโซมในริ้นฝอยทราย ที่เก็บได้จากแหล่งระบาดของโรคลิชมาเนียในประเทศไทย, พิมพ์พิลาส ศรีสุธน Jan 2018

ความชุกของเชื้อลิชมาเนีย และทริพพาโนโซมในริ้นฝอยทราย ที่เก็บได้จากแหล่งระบาดของโรคลิชมาเนียในประเทศไทย, พิมพ์พิลาส ศรีสุธน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ริ้นฝอยทราย จัดเป็นแมลงดูดเลือดที่มีขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Psychodidae อันดับ Diptera ซึ่งเป็นแมลงที่มีความสำคัญทางการแพทย์ เพราะเป็นพาหะนำโรคลิชมาเนีย ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ในประเทศไทยมีรายงานการพบโรคลิชมาเนียและโรคทริพพาโนโซมในมนุษย์ แต่ข้อมูลของแมลงพาหะนำโรค ยังมีอยู่อย่างจำกัด งานวิจัยนี้ จึงได้ทำการศึกษาความชุกของเชื้อลิชมาเนียและเชื้อทริพพาโนโซม และความสัมพันธ์ของแมลงพาหะนำโรค ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งระบาดของโรคลิชมาเนีย (จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดเชียงราย) และพื้นที่ที่ไม่ใช่แหล่งระบาดของโรคลิชมาเนีย (จังหวัดชุมพร) จำนวนทั้งหมด 500 ตัวอย่าง แบ่งออกเป็นตัวเมีย 276 ตัวอย่าง และตัวผู้ 224 ตัวอย่าง ทำการตรวจหาเชื้อลิชมาเนีย และเชื้อทริพพาโนโซม โดยใช้ตำแหน่งของยีน ITS1 และ SSU rRNA ตามลำดับ และระบุชนิดของริ้นฝอยทรายที่ตรวจพบเชื้อ ด้วยเทคนิคทางอณูชีววิทยาโดยใช้ตำแหน่งของยีน COI และ CytB ผลตรวจหาเชื้อลิชมาเนีย และทริพพาโนโซมในริ้นฝอยทราย พบว่า ริ้นฝอยทรายจากจังหวัดสงขลาจำนวน 180 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อ L. martiniquensis 2 ตัวอย่าง (1.1%) และพบเชื้อ Trypanosoma sp. 4 ตัวอย่าง (2.8%) ในริ้นฝอยทราย Se. khawi ซึ่งในจำนวนนี้มีการตรวจพบ Co-infection ของเชื้อ L. martiniquensis และ Trypanosoma sp. ในริ้นฝอยทราย Se. khawi 1 ตัวอย่างด้วย ริ้นฝอยทรายจากจังหวัดพัทลุง จำนวน 136 ตัวอย่าง ตรวจพบ Trypanosoma sp. 2 ตัวอย่าง (1.5%) ในริ้นฝอยทราย Se. khawi และ Se. indica ริ้นฝอยทรายจากจังหวัดเชียงราย 61 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อ Trypanosoma noyesi 1 …


การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ฐิติพร ถนอมบุญ Jan 2018

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ฐิติพร ถนอมบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะ และกำหนดเกณฑ์ตัดสินผลการประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างแบบประเมิน มี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์และวิเคราะห์ความสอดคล้องขององค์ประกอบและรายการสมรรถนะ โดยการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารและการปฏิบัติการพยาบาลในงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างแบบประเมิน โดยนำรายการพฤติกรรมมาสร้างเกณฑ์การประเมินระดับสมรรถนะด้วยเกณฑ์แบบรูบริค (Rubric) 5 ระดับ วิเคราะห์ความตรงตามเนื้อหาของแบบประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน วิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมินด้านความคงที่โดยประเมินพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน จำนวน 5 คน ประเมินโดยพยาบาลหัวหน้าหอ 1 คน และ พยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารและปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 5 คน และหาค่าความสอดคล้องภายใน โดยนำแบบประเมินไปใช้กับประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน จำนวน 63 คน ระยะที่ 2 การกำหนดเกณฑ์ตัดสินผลการประเมินสมรรถนะ โดยนำผลการประเมินที่ได้มากำหนดคะแนนจุดตัด โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและการปฏิบัติการพยาบาลด้านงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน จำนวน 10 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ประกอบด้วย 7 สมรรถนะ ข้อรายการสมรรถนะ 57 ข้อ ดังนี้ ด้านการคัดแยกอาการ (จำนวน 9 ข้อ) ด้านการฟื้นคืนชีพขั้นสูง (จำนวน 4 ข้อ) ด้านการปฏิบัติการพยาบาล (จำนวน 20 ข้อ) ด้านนิติเวชในงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน (จำนวน 5 ข้อ) ด้านการติดต่อสื่อสาร (จำนวน 5 ข้อ) ด้านการพัฒนาคุณภาพและการจัดการความรู้เชิงประจักษ์ (จำนวน 8 ข้อ) ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล (จำนวน 6 ข้อ) 2. การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน พบว่า แบบประเมินมีความตรงตามเนื้อหา …


การศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน, ฐาปนีย์ ชัยกุหลาบ Jan 2018

การศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน, ฐาปนีย์ ชัยกุหลาบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงบรรยายแบบ Delphi technique เพื่อศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์ การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน ที่เป็นฉันทามติ ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 21 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มอาจารย์และนักวิชาการ 2) กลุ่มผู้บริหาร ทางการพยาบาล 3) กลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนและ 4) กลุ่มแพทย์ เฉพาะทางสาขาโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเทคนิคเดลฟาย ประกอบด้วย แบบสอบถาม 3 ชุด โดยแบบสอบถามชุดที่ 1 เป็นแบบสัมภาษณ์เพื่อการศึกษาหาตัวชี้วัดผลลัพธ์ แบบสอบถามชุดที่ 2 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามในชุดที่ 1 นำมาสร้างแบบสอบถามมาตราประมาณค่า ให้กับผู้เชี่ยวชาญได้ให้ลำดับความสำคัญของแต่ละตัวชี้วัด และแบบสอบถามชุดที่ 3 เป็นแบบสอบถามที่แสดงข้อมูลป้อนกลับ ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ของแต่ละข้อรายการของตัวชี้วัดผลลัพธ์ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้ยืนยันคำตอบหรือเปลี่ยนแปลงคำตอบ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเห็นสอดคล้องกันว่า ตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน ประกอบด้วย 7 ด้าน 41 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ด้านความปลอดภัยของระบบประสาทและสมอง 6 ตัวชี้วัด 2) ด้านการเข้าถึงและประสิทธิภาพ ของการได้รับยาละลายลิ่มเลือด 5 ตัวชี้วัด 3) ด้านการประสานงานดูแลส่งต่อ 7 ตัวชี้วัด 4) ด้านความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติในการเข้ารับบริการ 6 ตัวชี้วัด 5) ด้านการตอบสนอง ด้านจิตใจของผู้ป่วยและญาติ 3 ตัวชี้วัด 6) ด้านการวางแผนจำหน่าย 8 ตัวชี้วัด และ 7) ด้านการดูแลต่อเนื่อง 6 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดผลลัพธ์มีค่าระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด(Med = 4.18 - 4.93, IR =0.59 - 1.29)


การศึกษาภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวาย, ภรณ์ทิพย์ คุณพูล Jan 2018

การศึกษาภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวาย, ภรณ์ทิพย์ คุณพูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวาย โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารทางการพยาบาล จำนวน 3 คน หัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 1 คน นักวิชาการ/อาจารย์บริหารพยาบาล จำนวน 4 คน และพยาบาลเจนวาย จำนวน 6 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวาย ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์สาระสำคัญแล้วนำมาสร้างแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของรายด้านย่อยของภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวายและนำมาคำนวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 จัดทำเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันคำตอบและนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวาย ประกอบด้วย 8 ด้าน และมีข้อรายการย่อย จำนวน 78 ข้อ ได้แก่ 1) ด้านคุณลักษณะของผู้นำ จำนวน 21 ข้อรายการ 2) ด้านวิสัยทัศน์ จำนวน 8 ข้อรายการ 3) ด้านการเสริมแรงบันดาลใจ จำนวน 12 ข้อรายการ 4) ด้านการบริการ จำนวน 6 ข้อรายการ 5) ด้านการพัฒนา จำนวน 11 ข้อรายการ 6) ด้านการบริหารความขัดแย้ง จำนวน 4 ข้อรายการ 7) ด้านการนิเทศ จำนวน 7 ข้อรายการ และ 8) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 9 ข้อรายการ โดยองค์ประกอบทั้ง 8 ด้าน พบว่ามีข้อรายการย่อย จำนวน 76 ข้อรายการ ที่มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด …


การพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง โรงพยาบาลตติยภูมิ, วรรนิษา มักมะยม Jan 2018

การพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง โรงพยาบาลตติยภูมิ, วรรนิษา มักมะยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูงโรงพยาบาลตติยภูมิ โดยใช้เทคนิค EDFR ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร จำนวน 19 คน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 รอบ คือ รอบที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างเป็นแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าความน่าจะเป็นของการพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง และรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ และจัดทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น เพื่อสรุปการพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง โรงพยาบาลตติยภูมิ ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง โรงพยาบาลตติยภูมิ ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการบริหารองค์กร จำนวน 8 ข้อ ได้แก่ กําหนดโครงสร้าง บทบาทหน้าที่และเส้นทางความก้าวหน้าของพยาบาลวิชาชีพที่มีศักยภาพสูงที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาพยาบาลวิชาชีพให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง เป็นต้น 2) ด้านการบริหารบุคลากร จำนวน 15 ข้อ ได้แก่ จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของพยาบาลวิชาชีพที่ต้องการพัฒนาความเชี่ยวชาญในสาขาที่ปฏิบัติงาน การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่พยาบาลวิชาชีพในเชิงสร้างสรรค์ เป็นต้น 3) ด้านการพัฒนาบุคลากร จำนวน 5 ข้อ ได้แก่ จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมหรือกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสมรรถนะสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่มีศักยภาพสูง สร้างวัฒนธรรมการสอนงานการปฏิบัติการพยาบาลในคลินิก โดยการพัฒนาพยาบาลวิชาชีพทุกระดับให้มีทักษะการสอนงาน และการสื่อสารทางบวก เป็นต้น


การบริหารพยาบาลรุ่นอายุแซดในทีมการพยาบาล:ประสบการณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐแห่งหนึ่ง, สุรีพร แซ่หนึง Jan 2018

การบริหารพยาบาลรุ่นอายุแซดในทีมการพยาบาล:ประสบการณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐแห่งหนึ่ง, สุรีพร แซ่หนึง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ในการบริหารพยาบาลรุ่นอายุแซดในทีมการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยของรัฐแห่งหนึ่ง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปรากฎการณ์วิทยาตีการความ ตามแนวคิดของ Martin Heidegger ผู้ให้ข้อมูลเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยที่มีประสบการณ์การบริหารพยาบาลรุ่นอายุแซดในหอผู้ป่วยไม่ต่ำกว่า 3 ปี จำนวน 12 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ van Manen (1990) ผลการศึกษา สามารถแบ่งเป็น 5 ประเด็นหลักและประเด็นย่อย ดังนี้ 1. ทำความเข้าใจเพื่อให้เข้าถึงพยาบาลรุ่นใหม่ในทีมการพยาบาล ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) ยอมรับในความแตกต่างของแต่ละบุคคล 1.2) อธิบายข้อข้องใจ โดยไม่ใช้วิธีการบังคับ และ 1.3) ใช้คำพูดเชิงบวกในการบอกถึงความผิดพลาด 2. จัดการกับการสื่อสารให้เข้าถึงพยาบาลรุ่นใหม่ ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย 2.1) ใช้หลากหลายช่องทางการสื่อสาร 2.2) สื่อสารให้กระชับ ชัดเจน มีเหตุผลและเป็นรูปธรรม 2.3) เปิดช่องทางให้ติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา 2.4) จัดลำดับความสำคัญของประเด็นที่ต้องการสื่อสาร และ 2.5) ตักเตือนหากใช้สื่อสังคมออนไลน์ไม่เหมาะสม 3. แก้ปัญหาการทำงานของพยาบาลรุ่นอายุแซด ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย 3.1) สร้างข้อตกลงร่วมกันผ่านการประชุมหน่วยงาน 3.2) ควบคุมและกำกับดูแลให้ทำงานอย่างมืออาชีพ 3.3) แก้ปัญหาทำงานไว แต่ไม่รอบคอบ ไม่ตรงต่อเวลา 3.4) มอบหมายพยาบาลรุ่นพี่ตรวจสอบการทำงานพยาบาลรุ่นน้อง และ 3.5) ปลูกฝังให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว 4. พัฒนาการทำงานของพยาบาลรุ่นอายุแซดในทีมการพยาบาล ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย 4.1) มอบหมายให้ฝึกงานกับพยาบาลพี่เลี้ยง 4.2) ทำงานเป็นตัวจริง แต่ยังทิ้งไม่ได้ ต้องให้รุ่นพี่ช่วยดูแล 4.3 ฝึกเป็นหัวหน้าเวร มีปัญหาอะไรปรึกษาหัวหน้าได้ตลอดเวลา 4.4) มอบหมายหน้าที่อื่นให้ เพื่อจะได้เพิ่มพูนทักษะในการทำงาน และ 4.5) เปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ ทำโครงการนวัตกรรมใหม่ๆ 5. การลดช่องว่างระหว่างวัยเพื่อบริหารพยาบาลรุ่นอายุแซด ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย 5.1) ปรับตัวให้เหมือนเป็นคนรุ่นเดียวกัน 5.2) …


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม, มะลิวรรณ กระโพธิ์ Jan 2018

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม, มะลิวรรณ กระโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม ได้แก่ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตาย ความเชื่อทางศาสนาพุทธเกี่ยวกับความตาย ภาระที่ค้างคา การรับรู้ความสามารถของตนเอง และสัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามวัยผู้ใหญ่ที่เข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรคมะเร็งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ จำนวน 212 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตาย แบบสอบถามความเชื่อทางศาสนาเกี่ยวกับความตาย แบบสอบถามภาระที่ค้างคา แบบสอบถามการรับรู้ในความสามารถของตนเอง แบบสอบถามสัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัว และแบบสอบถามการยอมรับความตาย ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .86, .72, .74, .74, .89 และ .70 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย และค่าสัมประสิทธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ 1. ผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามมีการยอมรับความตายในระดับสูง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ31.37 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.47 2. ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตาย ภาระที่ค้างคามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับการยอมรับความตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.61, r= -.39) ตามลำดับ 3. ความเชื่อทางศาสนาพุทธเกี่ยวกับความตายและการรับรู้ความสามารถของตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการยอมรับความตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .41, r =.38) ตามลำดับ และสัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการยอมรับความตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =.20)


ผลของโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ต่อการเสพแอมเฟตามีนของผู้ติดแอมเฟตามีน, วิสุดา มูลมี Jan 2018

ผลของโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ต่อการเสพแอมเฟตามีนของผู้ติดแอมเฟตามีน, วิสุดา มูลมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษา 2 กลุ่มแบบวัดซ้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) การเสพแอมเฟตามีนในผู้เสพแอมเฟตามีนซ้ำที่ได้รับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 2 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ 2) การเสพแอมเฟตามีนในผู้เสพแอมเฟตามีนซ้ำระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์กับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง/การดูแลตามปกติ 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เสพแอมเฟตามีนซ้ำจำนวน 40 คน ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดและเข้ารับการบำบัดรักษาในแผนกผู้ป่วยในบำบัดผู้ติดสุราและสารเสพติด โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการจับคู่ด้วยเพศ และคะแนนความรุนแรงของการเสพติดแอมเฟตามีน แล้วถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดฯ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินการเสพแอมเฟตามีน และ 4) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการควบคุมการเสพแอมเฟตามีน เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 3 ตรวจสอบความเที่ยงโดยวิธีทดสอบซ้ำพบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเท่ากับ .89 และเครื่องมือชุดที่ 4 พบค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบราคเท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated ANOVA) และทดสอบค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Planned Comparisons กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้เสพแอมเฟตามีนซ้ำในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ มีการเสพแอมเฟตามีนในระยะหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ ลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้เสพแอมเฟตามีนซ้ำในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ มีการเสพแอมเฟตามีนลดลงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ ทั้งในระยะหลังการทดลอง/การดูแลตามปกติ 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการผ่าตัดลดน้ำหนักของผู้ป่วยโรคอ้วน, ศิภาพันธ์ ลวสุต Jan 2018

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการผ่าตัดลดน้ำหนักของผู้ป่วยโรคอ้วน, ศิภาพันธ์ ลวสุต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการผ่าตัดลดน้ำหนักของผู้ป่วยโรคอ้วนภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง และเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการผ่าตัดลดน้ำหนักของผู้ป่วยโรคอ้วน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคอ้วนทั้งเพศชายและหญิง อายุ 18 – 59 ปี ภายหลังได้รับการผ่าตัดลดน้ำหนักที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน จับคู่ด้วยเพศ อายุ และชนิดการผ่าตัด กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดทฤษฎีการดูแลตนเองของ Orem ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ ระยะการให้ความรู้และการสนับสนุนภายหลังการผ่าตัดขณะอยู่โรงพยาบาล และระยะการให้การสนับสนุนเมื่อกลับบ้าน เก็บรวบรวมข้อมูล 8 สัปดาห์ ด้วยแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการผ่าตัดลดน้ำหนัก มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยโรคอ้วนภายหลังได้รับการผ่าตัดลดน้ำหนักกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง มีพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับดี (Mean = 4.13) 2. ผู้ป่วยโรคอ้วนภายหลังได้รับการผ่าตัดลดน้ำหนัก กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองมีพฤติกรรมการดูแลตนเอง (Mean = 4.13 ± SD = 0.25) ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (Mean = 3.68 ± SD = 0.31) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การศึกษาจิตวิญญาณในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ, อุบลรัตน์ ศักดิ์ทอง Jan 2018

การศึกษาจิตวิญญาณในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ, อุบลรัตน์ ศักดิ์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจิตวิญญาณในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรฝ่ายทรัพยากรบุคคลจำนวน 3 คน ผู้บริหารทางการพยาบาลจำนวน 4 คน ผู้บริหารองค์กรวิชาชีพจำนวน 3 คน นักวิชาการ/อาจารย์พยาบาลจำนวน 4 คน และพยาบาลระดับปฏิบัติการจำนวน 6 คน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับจิตวิญญาณในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างเป็นแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญของจิตวิญญาณในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ และขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จัดทำแบบสอบถามและส่งกลับให้ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิมยืนยันความคิดเห็น จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์อีกครั้งเพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า จิตวิญญาณในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านความเข้าใจในตัวตน จำนวน 12 ข้อ 2) ด้านความมีพลังจากภายใน จำนวน 12 ข้อ และ 3) ด้านทัศนคติที่ดีต่องาน จำนวน 16 ข้อ


The Pharmacokinetic Model Of 18f-Fdopa In Pet Brain Imaging For Early Parkinson’S Disease, Wirunpatch Buratachwatanasiri Jan 2018

The Pharmacokinetic Model Of 18f-Fdopa In Pet Brain Imaging For Early Parkinson’S Disease, Wirunpatch Buratachwatanasiri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Parkinson’s disease (PD) symptom usually appears when over half of all dopaminergic neurons have died. Early detection and treatment approach are; therefore, very important. The 18F-FDOPA PET scan is extensively examined to differentiate the normal and pathological dopamine metabolism in the human brain. The purpose of this study was to investigate the transfer rate constants of 18F-FDOPA in PET brain imaging based on compartmental model in early Parkinson’s disease. The retrospective data from five early PD patients who underwent 18F-FDOPA PET brain scan at King Chulalongkorn Memorial Hospital (KCMH) were collected. After 18F-FDOPA was administered intravenously, PET images were acquired …


Patterns Of Use In Alcohol Drinking And Betel Nuts Chewing Among Workers Of Myitnge Train Carriage And Wagons Workshop, Myanmar, Htet Myat Aung Jan 2018

Patterns Of Use In Alcohol Drinking And Betel Nuts Chewing Among Workers Of Myitnge Train Carriage And Wagons Workshop, Myanmar, Htet Myat Aung

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Alcohol drinking is a major concern and cause of morbidity and mortality all over the world. Historically, alcohol is still holding an important role in social interaction, relationship and bonding. Excessive amount of alcohol drinking is leading to more than 200 diseases and injury conditions including alcohol dependence, liver cirrhosis, cancers and injuries. Betel nut has been used widely throughout the history and deeply cultivated in some religious and some sociocultural events. Although betel nut chewing is not a problem for worldwide but still affects the Asia and Pacific regions such as Myanmar, Sri Lanka, India, Cambodia and Papua …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรองเท้ากีฬาของนักกีฬาวอลเลย์บอลระดับตัวแทนมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร, นฤมล ธงอาสา Jan 2018

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรองเท้ากีฬาของนักกีฬาวอลเลย์บอลระดับตัวแทนมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร, นฤมล ธงอาสา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งที่จะศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรองเท้ากีฬาของนักกีฬาวอลเลย์บอลระดับตัวแทนมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยด้านคุณค่าการรับรู้ด้านคุณภาพ คุณค่าการรับรู้ด้านราคา และคุณภาพการให้บริการ วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อรองเท้ากีฬาของนักกีฬาวอลเลย์บอลระดับตัวแทนมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ นักกีฬาระดับตัวแทนมหาวิทยาลัย ที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยในรอบคัดเลือกและรอบมหกรรม ครั้งที่ 45 ปี พ.ศ.2560 ในกรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 18 มหาวิทยาลัย จำนวน 200 คน ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติในการทดสอบสมมติฐานใช้ค่าสถิติ สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 104 คน เพศหญิง จำนวน 96 คน มีอายุในช่วง 21-23 ปี เป็นผู้เล่นตำแหน่งตบบอลหัวเสา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเทียบเท่า 10,000 บาท และมีประสบการณ์การเล่นกีฬาวอลเลย์บอลมากกว่า 4 ปีขึ้นไป และปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อรองเท้ากีฬาของนักกีฬาวอลเลย์บอลระดับตัวแทนมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้สถิติสมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Regression) พบว่า ปัจจัยด้านคุณค่าการรับรู้ด้านราคา ส่งผลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อรองเท้ากีฬาของนักกีฬาระดับตัวแทนมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร เพียงปัจจัยเดียวโดยด้านคุณค่าการรับรู้ด้านคุณภาพ และคุณภาพการให้บริการ เป็นปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อรองนักกีฬาวอลเลย์บอลระดับตัวแทนมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร สรุปผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรองเท้ากีฬาของนักกีฬาวอลเลย์บอลระดับตัวแทนมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร มีเพียงปัจจัยเดียว ได้แก่ ปัจจัยด้านคุณค่าการรับรู้ด้านราคา ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรหึความสำคัญกับด้านดังกล่าว เพราะเป็นปัจจัยที่นักกีฬาให้ความสำคัญในการตัดสินใจซื้อรองเท้ากีฬา


แรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังของผู้หญิงชาวไทย, อรัญญา เกรียงไกรโชค Jan 2018

แรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังของผู้หญิงชาวไทย, อรัญญา เกรียงไกรโชค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาแรงจูงใจของผู้หญิงชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพัง และเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังของผู้หญิงชาวไทยตามตัวแปรลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้หญิงชาวไทยในประเทศไทยที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป เคยหรือมีความสนใจในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังไปยังประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทย มีการวางแผนการเดินทางด้วยตนเองรวมถึงเดินทางท่องเที่ยวระหว่างทำธุรกิจ แต่ไม่รวมการเดินทางไปศึกษาต่อ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) เท่ากับ 0.89 และค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น α เท่ากับ 0.90 เก็บรวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์หาค่าความถี่หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้ทดสอบความแตกต่างรายคู่ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แรงจูงใจโดยรวมในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังของผู้หญิงชาวไทยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.00 โดยที่แรงจูงใจรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านกายภาพ มีค่าเฉลี่ย 4.42 และระดับมาก ได้แก่ ด้านการพัฒนาตนเอง มีค่าเฉลี่ย 4.18 ด้านวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ย 4.02 ด้านอารมณ์ ความรู้สึก มีค่าเฉลี่ย 3.99 ด้านสถานภาพ ชื่อเสียง มีค่าเฉลี่ย 3.78 และด้านบุคคล มีค่าเฉลี่ย 3.64 ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังของผู้หญิงชาวไทย แสดงให้เห็นว่า ตัวแปรลักษณะทางประชากรศาสตร์ด้านอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย ผู้หญิงชาวไทยมีแรงจูงใจโดยรวมในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังอยู่ในระดับมาก โดยมีแรงจูงใจด้านกายภาพระดับมากที่สุด แต่มีแรงจูงใจด้านอื่นระดับมาก โดยที่ลักษณะประชากรศาสตร์ด้านอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกันจะมีแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังแตกต่างกัน


การพัฒนาแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพของโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย, พชร ชินสีห์ Jan 2018

การพัฒนาแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพของโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย, พชร ชินสีห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพที่เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงของคนไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพของโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทยที่มีคุณภาพและสร้างเกณฑ์ปกติวิสัยของการแปลความหมายความรอบรู้ทางสุขภาพในโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์แผนปัจจุบันและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขของพื้นที่ 4 ภาค และ1พื้นที่พิเศษคือกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,446 คน ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย ตัวแปรแฝงมี 3 ตัวแปร ได้แก่ การดูแลตนเอง การป้องกันความเสี่ยง และการส่งเสริมสุขภาพ และตัวแปรที่สังเกตได้ 4 ตัวแปร ในแต่ละตัวแปรแฝง รวมเป็น 12 ตัว ซึ่งได้แก่ การเข้าถึงข้อมูล การเข้าใจข้อมูล การประเมิน และการประยุกต์ใช้ข้อมูลในเรื่องการดูแลตนเอง การเข้าถึงข้อมูล การเข้าใจข้อมูล การประเมิน และการประยุกต์ใช้ข้อมูลในเรื่องการการป้องกันความเสี่ยง และ การเข้าถึงข้อมูล การเข้าใจข้อมูล การประเมิน และการประยุกต์ใช้ข้อมูลในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพที่เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงของคนไทยโดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน ความเที่ยงโดยสูตรวิธีแอลฟาของครอนบาค และความตรงตามโครงสร้างโดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรมลิสเรล รวมถึงหาค่าเกณฑ์ปกติวิสัยเพื่อแบ่งค่าระดับความรอบรู้ทางสุขภาพของโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ค่าความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่านมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.68 ค่าความเที่ยงของแบบวัด ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการป้องกันโรคแทรกซ้อน และ ด้านการดูแลรักษาตนเอง มีค่าความเที่ยงสูงตามลำดับ โดยแบบวัดทั้งฉบับมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .864 ผลการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย เมื่อพิจารณาค่าสถิติที่ใช้ในการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลเชิงประจักษ์พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเกณฑ์ปกติของคะแนนความรอบรู้ทางสุขภาพสำหรับโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย แบ่งเป็น 3 ระดับตามช่วงของเปอร์เซ็นไทล์ ได้แก่ ระดับต่ำ ระดับปานกลาง ระดับสูง กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรอบรู้ทางสุขภาพอยู่ในระดับสูงเป็นจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.25 รองลงมาอยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 32.50 และ ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 32.25 ดังนั้นแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพที่เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงของคนไทยมีคุณภาพของเครื่องมือสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาการให้บริการสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมกับโรคความดันโลหิตสูงได้


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยช่วงวันหยุดของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทย, อิสรีย์ สุขพรสินธรรม Jan 2018

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยช่วงวันหยุดของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทย, อิสรีย์ สุขพรสินธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยช่วงวันหยุดของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทย วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทยของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่มีสัญชาติไทยและผ่านการทดลองงานแล้วเท่านั้น และเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศในช่วงวันหยุดจากการทำงาน จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างค่าคำถามกับวัตถุประสงค์ พบว่าค่าที่ได้คือ 0.91 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามที่ได้คือ 0.93 ผู้วิจัยทำการแจกแบบสอบถามที่บริเวณศูนย์ปฏิบัติการลูกเรือ เขตสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเริ่มทำการแจกแบบสอบถามในช่วงวันทำการ จันทร์-อาทิตย์ จำนวนวันละ 20 ชุด ในช่วงเช้า เวลา 8.00 - 12.00 น. เป็นจำนวน10 ชุด และช่วงบ่าย เวลา 13.00 – 17.00 น. จำนวน 10 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติในการทดสอบสมมติฐาน ใช้ค่าสถิติสมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ โดยตั้งระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ 0.05 ผลการวิจัย เมื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยแรงจูงใจด้านสรีระหรือกายภาพ ด้านวัฒนธรรม และด้านส่วนบุคคล และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมทางการตลาด ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยช่วงวันหยุดของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทย อย่างมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 สรุปผลการวิจัย ปัจจัยแรงจูงใจด้านสรีระหรือกายภาพ ด้านวัฒนธรรม และด้านส่วนบุคคลและส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมทางการตลาด ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยช่วงวันหยุดของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทย


พลังสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ต้องขังชาย ณ ทัณฑสถานเปิดบ้านเนินสูง จังหวัดปราจีนบุรี, อรพรรณ เกิดทวี Jan 2018

พลังสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ต้องขังชาย ณ ทัณฑสถานเปิดบ้านเนินสูง จังหวัดปราจีนบุรี, อรพรรณ เกิดทวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาพลังสุขภาพจิต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับพลังสุขภาพจิตของผู้ต้องขังชาย ณ ทัณฑสถานเปิดบ้านเนินสูง จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 185 คน โดยเครื่องมือที่ใช้มี 5 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานทั่วไป แบบสอบถามเกี่ยวกับพลังสุขภาพจิต แบบประเมินการเลี้ยงดู แบบประเมินแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินวิธีเผชิญความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Chi-square, independent samples t-test, Pearson product-moment correlation และ logistic regression analysis ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ต้องขังชายมีอายุเฉลี่ย 31.5 ปี มีระดับพลังสุขภาพจิตอยู่ในระดับปกติร้อยละ 74.6 อยู่ในระดับสูงร้อยละ 17.3 และอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 8.1 โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับพลังสุขภาพจิตได้แก่ ผู้ดูแลหลักในวัยเด็กและพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดู การมีผู้ที่เป็นแบบอย่างที่ดี การมีผู้ที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวในการดำเนินชีวิตทางบวก วิธีการเผชิญความเครียด และกิจกรรมยามว่างระหว่างอยู่ในทัณฑสถาน เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยทำนายตัวแปรพบว่า การขาดผู้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดพลังสุขภาพจิตต่ำ


การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินขณะบริหารยาทางเส้นเลือด หลังการให้ยาแอนตี้ฮิสต้ามีน ในผู้ป่วยที่ได้การรักษาซ้ำ ด้วยยาเคมีบำบัดอ๊อกซาลิพลาติน, ฐิชกาญจน์ จันทสิริยากร Jan 2018

การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินขณะบริหารยาทางเส้นเลือด หลังการให้ยาแอนตี้ฮิสต้ามีน ในผู้ป่วยที่ได้การรักษาซ้ำ ด้วยยาเคมีบำบัดอ๊อกซาลิพลาติน, ฐิชกาญจน์ จันทสิริยากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา อ๊อกซาลิพลาติน เป็นยาเคมีบำบัดหลักที่ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ผลข้างเคียงที่มักพบบ่อย คือการเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินขณะได้รับอ๊อกซาลิพลาตินทางเส้นเลือด โดยมีแน้วโน้มสูงขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดที่มีอ๊อกซาลิพลาตินซ้ำ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินขณะได้รับอ๊อกซาลิพลาตินทางเส้นเลือด ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดที่มีอ๊อกซาลิพลาตินซ้ำ ซึ่งจะได้รับยาป้องกันคือ ยากลุ่ม แอนติฮิสตามีน ก่อนการให้ยาอ๊อกซาลิพลาติน วิธีการศึกษา ผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับยาคลอร์เฟนิรามีน 10 มิลลิกรัม ร่วมกับ รานิทิดีน 50 มิลลิกรัม ฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำ ก่อนเริ่มยาเคมีบำบัด 30นาที ในทุกรอบการรักษา จนกว่าการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดสูตรนี้จะยุติลง โดยจะรายงานอุบัติการณ์การเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินขณะได้รับอ๊อกซาลิพลาตินทางเส้นเลือด ผลการวิจัย ตั้งแต่ 1 ก.พ.2561 ถึง 20 เม.ย. 2562 มีผู้เข้าร่วมในวิจัย 35 คน พบการเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินขณะได้รับอ๊อกซาลิพลาตินทางเส้นเลือด ทั้งหมด 5 คน โดยไม่มีผู้เข้าร่วมวิจัยที่ต้องยุติการรักษาเนื่องจากการเกิดปฏิกิริยาการแพ้ดังกล่าว สรุปผลการวิจัย ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาซ้ำด้วยอ๊อกซาลิพลาติน พบอุบัติการณ์การเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินขณะได้รับอ๊อกซาลิพลาตินทางเส้นเลือดหลังให้การป้องกันด้วยยากลุ่มแอนตี้ฮิสตามีน ร้อยละ 14.28


ความชุกของภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ปานุวัฒน์ สุธีรยงประเสริฐ Jan 2018

ความชุกของภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ปานุวัฒน์ สุธีรยงประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คำนำ: ภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีความสัมพันธ์กับการอักเสบเรื้อรังและภาวะสูงอายุ ภาวะนี้อาจมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานหรือสมรรถภาพทางเพศที่ลดลง การศึกษานี้เป็นการหาความชุกของภาวะนี้ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพศชายในประชากรไทย วิธีการ: การศึกษารวบรวมผู้ป่วยชายโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และชายสูงอายุสุขภาพดีที่รักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วัดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนโดยวิธี electrochemiluminescent immunoassay (ECLIA) รวมถึงการตรวจสมรรถภาพปอด และทำแบบสอบถามเพื่อประเมินสภาวะสุขภาพกาย จิต และ คุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษาประกอบด้วย ผู้ป่วย COPD เพศชาย 91 ราย และ ผู้สูงอายุชาย 39 ราย โดยมีอายุเฉลี่ย 72.6 และ 66.7 ปีตามลำดับ ความชุกของภาวะพร่องเทสโทสเตอโรนในผู้ป่วย COPD เป็น 8.8 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับผู้สูงอายุชาย 5.1 เปอร์เซ็นต์ (p = 0.722) โดยพบว่ากลุ่มผู้ป่วย COPD ที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีปริมาตร FVC ต่ำกว่าในกลุ่มที่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนปกติ (Pre-FVC: 2.07 vs 2.66, p = 0.03; Post-FVC: 1.80 vs 2.72, p = 0.02) สรุป: ความชุกของภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้ป่วยชาย COPD ไม่แตกต่างจากประชากรสูงอายุชายสุขภาพดี โดยความชุกอยู่ที่ 8.8 เปอร์เซ็นต์ และค่าการตรวจสมรรถภาพปอดที่มีระดับ FVC ต่ำอาจสัมพันธ์กับภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน


การศึกษาเปรียบเทียบขนาดก้อนมะเร็งตับอ่อน ในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนระยะลุกลาม ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการเผาทำลายโดยใช้เข็มคลื่นวิทยุผ่านทางกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดสูตรมาตรฐาน และ กลุ่มที่รักษาโดยการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดสูตรมาตรฐานเพียงอย่างเดียว, เกศินี เธียรกานนท์ Jan 2018

การศึกษาเปรียบเทียบขนาดก้อนมะเร็งตับอ่อน ในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนระยะลุกลาม ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการเผาทำลายโดยใช้เข็มคลื่นวิทยุผ่านทางกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดสูตรมาตรฐาน และ กลุ่มที่รักษาโดยการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดสูตรมาตรฐานเพียงอย่างเดียว, เกศินี เธียรกานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เป้าหมายงานวิจัย: เพื่อศึกษา เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของขนาดของก้อนที่ตับอ่อน ของมะเร็งตับอ่อนระยะลุกลาม ระหว่างผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการเผาทำลายโดยใช้เข็มคลื่นวิทยุผ่านทางกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด วิธีการศึกษา : เทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการรักษาด้วยการเผาทำลายโดยใช้เข็มคลื่นวิทยุผ่านทางกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดและกลุ่มควบคุม คือผู้ป่วยที่มี อายุ เพศ ระยะของมะเร็งตับอ่อน และ ECOG ใกล้เคียงกับผู้ป่วยกลุ่มทดลอง แต่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว มาเปรียบเทียบขนาดก่อนหลัง,ภาวะแทรกซ้อน และ ปริมานยาแก้ปวดที่ใช้ ก่อนและหลังทำการรักษาในช่วง 3เดือน ผลการศึกษา :เก็บข้อมูลตั้งแต่ กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ถึง กันยายน พ.ศ. 2561ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น28 ราย เป็นกลุ่มทดลอง และ กลุ่มควบคุม อย่างละ 14 ราย (อายุเฉลี่ย66.14±10ปี; อัตราส่วน ชาย: หญิง= 1: 3)พบว่า ไม่มีความแตกต่างของลักษณะก่อนทำการรักษาระหว่างประชากรระหว่างทั้งสองกลุ่ม มีการส่องกล้องคลื่นเสียง และเผาทำลายด้วยเข็มคลื่นวิทยุ ทั้งสิ้น 34 ครั้ง(พิสัย 1-4ครั้ง/คน)มีรายงานภาวะแทรกซ้อน ทั้งสิ้น3 ใน 34 ครั้ง ในผู้ป่วย2 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.8 ได้แก่ การติดเชื้อในก้อนมะเร็ง จำเป็นต้องได้ยาฆ่าเชื้อ (นอนโรงพยาบาล 7 วัน ), เลือดออกจากรอยเจาะเข็ม ใช้ฮีโมคลิปหยุดเลือด (นอนโรงพยาบาล 7 วัน)และ ตับอ่อนอักเสบไม่รุนแรง (นอนโรงพยาบาล 2วัน)โดยภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยไม่มียังสามารถเข้ารับยาเคมีบำบัดได้ตามกำหนดการเดิม ผลการทดลองพบว่า ในกลุ่มทดลอง ความยาวของก้อนมะเร็งไม่โตขึ้น (ก่อน เทียบกับ หลัง ; 61.37±20.1 ม.ม. เทียบกับ 64.25±22.0 ม.ม. (P = 0.099)แต่ในกลุ่มควบคุม ความยาวก้อนมะเร็งโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (ก่อน เทียบกับ หลัง ; 50.1 ± 21.1ม.ม. เทียบกับ 55.4 …


การศึกษาไขว้กลุ่มแบบไปข้างหน้า เปรียบเทียบอัตราการลดลงของของเสียที่จับกับโปรตีน ระหว่างการฟอกเลือดโดยใช้ตัวกรองรูกรองใหญ่พิเศษเปรียบเทียบกับการฟอกเลือดวิธีฮีโมไดอะฟิวเตรชัน ประสิทธิภาพสูงโดยใช้ตัวกรองมาตรฐาน, ธีระชัย ธรรมาธิวัฒน์ Jan 2018

การศึกษาไขว้กลุ่มแบบไปข้างหน้า เปรียบเทียบอัตราการลดลงของของเสียที่จับกับโปรตีน ระหว่างการฟอกเลือดโดยใช้ตัวกรองรูกรองใหญ่พิเศษเปรียบเทียบกับการฟอกเลือดวิธีฮีโมไดอะฟิวเตรชัน ประสิทธิภาพสูงโดยใช้ตัวกรองมาตรฐาน, ธีระชัย ธรรมาธิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย: การฟอกเลือดวิธีฮีโมไดอะฟิวเตรชัน เป็นวิธีการฟอกเลือดที่ดีที่สุดในปัจจุบันของผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยมีการศึกษาต่างๆ พบว่า การฟอกเลือดวิธีฮีโมไดอะฟิวเตรชันสามารถกำจัดสารยูรีมิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารยูรีมิกที่จับกับโปรตีน เช่น อินดอกซิลซัลเฟต และสารยูรีมิกขนาดกลาง เช่น บีต้า 2 ไมโครโกลบูลิน ได้ดีกว่าการฟอกเลือดโดยใช้ตัวกรองมาตรฐาน ทำให้การฟอกเลือดวิธีฮีโมไดอะฟิวเตรชันมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าสามารถลดอัตราเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามวิธีการฟอกเลือดนี้ไม่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย และมีราคาแพงมากกว่าการฟอกเลือดด้วยตัวกรองมาตรฐาน จึงนำไปสู่การศึกษาปัจจุบันที่เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการฟอกเลือดด้วยตัวกรองใหม่รูใหญ่พิเศษ (Novel super high-flux dialyzer, PES 17D alpha, Nipro, Japan) เปรียบเทียบกับการฟอกเลือดวิธีฮีโมไดอะฟิวเตรชัน ในแง่ของการกำจัดสารยูรีมิกที่จับกับโปรตีน และสารยูรีมิกขนาดกลาง โดยการศึกษานีเป็นการศึกษาแบบเทียบเคียง (non-inferiority trial) ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มไขว้แบบไปข้างหน้า รวบรวมผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอยู่เดิมทั้งหมด 12 ราย แบ่งการรักษาออกเป็น 2 กลุ่ม โดยที่สุ่มผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งฟอกเลือดด้วยตัวกรองรูใหญ่พิเศษ และอีกกลุ่มหนึ่งฟอกเลือดด้วยวิธีฮีโมไดอะฟิวเตรชัน แล้วจึงสลับการรักษา 12 สัปดาห์หลังการรักษา โดยผู้ป่วยมีระยะเวลาเข้าศึกษา (run-in) และ ระยะพัก (wash-out) ของการศึกษาเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ โดยใช้การฟอกเลือดด้วยตัวกรองมาตรฐาน (high flux dialyzer) โดยกำหนดคำถามหลักของการวิจัยคือเปรียบเทียบอัตราการลดลงของอินดอกซิลซัลเฟตของทั้ง 2 การรักษา นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบอัตราการลดลงของสารยูรีมิกขนาดกลาง และสารยูรีมิกขนาดเล็ก รวมไปถึงการสูญเสียอัลบูมินทางน้ำยาไตเทียม และตัวชี้วัดทางโภชนาการ โดยการศึกษานี้กำหนดให้จุดตัดของอัตราการลดลงของอินดอกซิลซัลเฟตไม่น้อยไปกว่าร้อยละ 5 จะถือว่าไม่มีความแตกต่างกันของการรักษาทั้ง 2 วิธี ผลการศึกษา: การฟอกเลือดด้วยตัวกรองรูใหญ่พิเศษมีประสิทธิภาพเทียบเคียงกับการฟอกเลือดวิธีฮีโมไดอะฟิวเตรชันในแง่อัตราการลดลงของอินดอกซิลซัลเฟต เป็นร้อยละ 50.9.8±25.03 และ 50.5±41.1 ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยของความต่างร้อยละ 5.87 (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95, -1.63, 13.37). สำหรับอัตราการลดลงของบีต้า 2 ไมโครโกลบูลิน และ อัลฟา 1 ไมโครโกลบูลิน ซึ่งเป็นสารยูรีมิกขนาดกลางไม่แตกต่างกันระหว่างการรักษาทั้ง 2 วิธี โดยมีค่าเฉลี่ยของความต่างร้อยละ 1.98 (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95, -0.21, 4.18) …


ความแม่นยำของการใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดต่อเนื่องเปรียบเทียบกับการใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดเจาะปลายนิ้วในการปรับอินซูลินในหอผู้ป่วยวิกฤติทาง อายุรกรรม, วัณณิตา ติงสรัตน์ Jan 2018

ความแม่นยำของการใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดต่อเนื่องเปรียบเทียบกับการใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดเจาะปลายนิ้วในการปรับอินซูลินในหอผู้ป่วยวิกฤติทาง อายุรกรรม, วัณณิตา ติงสรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความแม่นยำของการใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดต่อเนื่องเปรียบเทียบกับการใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดเจาะปลายนิ้วในการปรับอินซูลินในหอผู้ป่วยวิกฤติทางอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย วิธีการวิจัย เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ถึง 80 ปี ในหอผู้ป่วยวิกฤติทางอายุรกรรมที่มีน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และได้รับการรักษาด้วยอินซูลินทางหลอดเลือดดำอย่างน้อย 24 ชั่วโมง จะได้รับการติดเครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดต่อเนื่องใต้ชั้นผิวหนัง รุ่น iPro2 Medtronic เพื่อศึกษาระดับน้ำตาลเปรียบเทียบกับการเจาะเลือดปลายนิ้วใน 24 ชั่วโมงแรก และประเมินความแม่นยำของเครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดต่อเนื่องโดยใช้ค่า mean absolute relative difference (MARD) ซึ่งค่าที่ยอมรับคือ < 14%, กราฟ surveillance error grid analysis (SEG) และดูความสอดคล้องของข้อมูล โดยการใช้ Modified Bland-Altman Plot ผลการศึกษา มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 17 ราย ข้อมูลจากผู้ป่วยจำนวน 12 รายถูกนำมาวิเคราะห์ผล มีจำนวนคู่ของระดับน้ำตาลจากการเจาะเลือดปลายนิ้วใน 24 ชั่วโมงแแรกเปรียบเทียบกับเครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดต่อเนื่องจำนวน 144 คู่ ระดับน้ำตาลเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมงแรกจากเครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดต่อเนื่องเท่ากับ 161.28 ± 32.16 และ จากการเจาะเลือดปลายนิ้วเท่ากับ 161.09 ± 32.30 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (p value = 0.878) ความแม่นยำของเครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดต่อเนื่องมีค่า MARD เท่ากับร้อยละ 7.2 , SEG analysis มีระดับน้ำตาลที่อยู่ใน zone A และ zone B เท่ากับร้อยละ 100 และ Modified Bland-Altman Plot แสดง 95% of limit of agreement เท่ากับ -19.3% ถึง 20.6% สรุปการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าการใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดต่อเนื่องในผู้ป่วยวิกฤติทางอายุรกรรมมีระดับน้ำตาลไม่แตกต่างจากการเจาะเลือดปลายนิ้ว


การเปรียบเทียบการทำความสะอาดรอบท่อปัสสาวะระหว่างน้ำเกลือปกติและน้ำยาแซฟลอน ก่อนสวนปัสสาวะในการลดอุบัติการณ์ของแบคทีเรียในปัสสาวะหลังการคาสายสวน: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม, สาริน คหะแก้ว Jan 2018

การเปรียบเทียบการทำความสะอาดรอบท่อปัสสาวะระหว่างน้ำเกลือปกติและน้ำยาแซฟลอน ก่อนสวนปัสสาวะในการลดอุบัติการณ์ของแบคทีเรียในปัสสาวะหลังการคาสายสวน: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม, สาริน คหะแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนเป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบบ่อยซึ่งนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทำให้ผู้ป่วยต้องรับการรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากขึ้น พบว่าการมีเชื้อแบคทีเรียอยู่บริเวณรอบท่อปัสสาวะมีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์ของการมีแบคทีเรียในปัสสาวะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการทำความสะอาดรอบท่อปัสสาวะก่อนคาสายสวน ระหว่างของน้ำเกลือปกติและน้ำยาฆ่าเชื้อแซฟลอน ในการลดอุบัติการณ์ของแบคทีเรียในปัสสาวะหลังการคาสายสวน ผู้ป่วยและวิธีวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองไปข้างหน้าแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบ ว่าน้ำเกลือปกติไม่ด้อยกว่าน้ำยาแซฟลอนในการลดอุบัติการณ์ของแบคทีเรียในปัสสาวะในวันที่ 5 หลังการคาสายสวน โดยถือว่าไม่ด้อยกว่าหากอุบัติการณ์แตกต่างกันไม่เกินร้อยละ 10 ทำในผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะใน 2 หอผู้ป่วยอายุรกรรมวิกฤต 2 หอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทวิกฤต 1 หอผู้ป่วยศัลยกรรมวิกฤต 4 หอผู้ป่วยอายุรกรรมทั่วไป 4 หอผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป และห้องฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2561 ถึงวันที่ 30 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2562 โดยผู้ป่วยจะได้น้ำเกลือปกติหรือน้ำยาแซฟลอนทำความสะอาดรอบท่อปัสสาวะก่อนคาสายสวน น้ำยาแต่ละชนิดจะถูกสุ่มให้ใช้ในแต่ละหอผู้ป่วยที่มีลักษณะผู้ป่วยเหมือนกันตั้งแต่เริ่มการศึกษา และหลังจากนั้นจะสลับกันทุก 3 เดือนจนครบกำหนดระยะเวลาการศึกษา ผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนจะได้รับการเก็บปัสสาวะเพาะเชื้อในวันที่ 1, 3, และ 5 ของการคาสายสวน ผลการวิจัย: จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 508 ราย ถูกสุ่มให้อยู่ในกลุ่มน้ำเกลือปกติ 254 ราย และน้ำยาแซฟลอน 254 ราย ผู้ป่วยร้อยละ 55.7 ได้รับการคาสายสวนที่ห้องฉุกเฉิน อุบัติการณ์ของแบคทีเรียในปัสสาวะในวันที่ 3 และ 5 หลังการคาสายสวนของผู้ป่วยทุกรายเท่ากับร้อยละ 3.5 และ 12 ตามลำดับ อัตราการติดเชื้อ 2.9 ครั้งต่อ 1000 วันใส่สายสวน ระยะเวลามัธยฐานของการคาสายสวนคือ 5 (IQR 4, 7) วัน ในวันที่ 5 หลังการคาสายสวนพบว่าอุบัติการณ์ของแบคทีเรียในปัสสาวะในกลุ่มที่ใช้น้ำเกลือปกติและน้ำยาแซฟลอนในการทำความสะอาด เท่ากับร้อยละ 10.6 และ 6.6 ตามลำดับ (ค่าเฉลี่ยของผลต่าง ร้อยละ 3.9; 95% confidence interval (CI) 0.3 to …


ผลของผ้าปิดตาและที่อุดหูในเวลากลางคืนต่อคุณภาพการนอนหลับในหอผู้ป่วยวิกฤต, ภูรีพัทธ์ อรรถเวชกุล Jan 2018

ผลของผ้าปิดตาและที่อุดหูในเวลากลางคืนต่อคุณภาพการนอนหลับในหอผู้ป่วยวิกฤต, ภูรีพัทธ์ อรรถเวชกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: เสียงและแสงรบกวนที่มากเกินไปในหอผู้ป่วยวิกฤตนั้นสามารถที่จะรบกวนการนอนหลับของผู้ป่วยโดยการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวของสมองส่งผลให้คุณภาพการนอนหลับเลวลง เป้าหมาย: เพื่อที่จะประเมินประสิทธิภาพของอุปกรณ์ผ้าปิดตาและที่อุดหูในการเพิ่มคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติ วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าพักในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม จำนวน 20 คนได้เข้าสู่การศึกษา โดยจะสุ่มผู้ป่วยเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มแรกจะได้รับการสวมใส่อุปกรณ์ผ้าปิดตาและที่อุดหูในเวลากลางคืนเป็นเวลาห้าคืน ส่วนกลุ่มที่สองจะเป็นกลุ่มควบคุม มีผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มการรักษา 10 คน และ กลุ่มควบคุม 10 คน วัดผลดัชนีการตื่นตัวของสมองและค่าทางการนอนหลับอื่นๆ โดยเครื่องตรวจการนอนหลับที่มีผู้เฝ้า (attended polysomnography) วัดการนอนหลับและการเคลื่อนไหวของร่างกายในเวลากลางวันด้วย wrist actigraphy และ ประเมินคุณภาพการนอนหลับโดยแบบสอบถาม Richard-Campbell sleep questionnaire ในทุกวันของการศึกษา นอกจากนี้ข้อมูลจาก wrist actigraphy และ polysomnography จะนำมาเปรียบเทียบเพื่อหาความสัมพันธ์ ผลการศึกษา: การใช้ผ้าปิดตาและที่อุดหูในเวลากลางคืนในช่วงคืนแรกมีแนวโน้มที่จะสามารถลดค่าดัชนีการตื่นตัวของสมองได้เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (21.00 (21.40) กับ 42.10 (27.05) เหตุการณ์ต่อชั่วโมง, p=0.086) เพิ่มคุณภาพการนอนหลับ (59.00 (5.48) กับ 56.4 (5.17), p= 0.146) และเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายในเวลากลางวัน (7806 [7003] vs 1556 [3889] ครั้ง, p =0.067) ผลการวัดค่าการนอนหลับจาก polysomnography และ wrist actigraphy มีความสัมพันธ์กันเพียงเล็กน้อยในทุก parameter สรุป: การสวมใส่ผ้าปิดตาและที่อุดหูในผู้ป่วยวิกฤติอายุรกรรมมีแนวโน้มที่จะลดดัชนีการตื่นตัวของสมอง เพิ่มคุณภาพการนอนหลับและเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายในเวลากลางวัน อุปกรณ์ wrist actigraphy ไม่สามารถวัดค่าการนอนหลับในผู้ป่วยวิกฤติอายุรกรรมได้อย่างแม่นยำ


ความชุกของการเห็นคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูในชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุข 19 วงศ์สว่าง, ธนพร ชื่นตา Jan 2018

ความชุกของการเห็นคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูในชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุข 19 วงศ์สว่าง, ธนพร ชื่นตา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการเห็นคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูในชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุข 19 วงศ์สว่าง รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเห็นคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูในชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุข 19 วงศ์สว่าง มีผู้เข้าร่วมงานวิจัยเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู (6 เดือน - 3 ปี) ทั้งสิ้น 88 คน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 - เดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย แบบสอบถามข้อมูลด้านการเจ็บป่วย แบบประเมินสมองเบื้องต้นที่ประเมินด้วย Thai Mental state Examination (TMSE) แบบประเมินความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน (Barthel Index of Activity of Daily Living) แบบวัดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิท ฉบับผู้ใหญ่ และแบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าน้อยสุด ค่ามากสุด และฐานนิยม และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงอนุมาณ ได้แก่ Chi - square , t - test , Mann - Whitney U test , สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด 88 คน มีอายุเฉลี่ยที่ 66.9 ปี เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันร้อยละ 73.9 และมีอาการป่วยมานานมากกว่า 2 ปี ร้อยละ 52.3 พบความชุกของการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำร้อยละ 40.9 ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ได้แก่ ระดับการศึกษา การมีปัญหาด้านการพูด / การออกเสียง / การสื่อสาร การมีปัญหาด้านการกลืน และคะแนนแบบประเมินสมองเบื้องต้นต่ำ และภาวะซึมเศร้าคิดเป็นร้อยละ 55.7 ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา การมีปัญหาด้านการพูด / …


ความสามารถในการฟื้นพลัง ภาวะซึมเศร้าและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, ฐิติพร แก้วมีศรี Jan 2018

ความสามารถในการฟื้นพลัง ภาวะซึมเศร้าและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, ฐิติพร แก้วมีศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทคัดย่อ: เพื่อที่จะศึกษาความสามารถในการฟื้นพลัง ภาวะซึมเศร้า และรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในการศึกษาครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างมี่ทั้งหมด 88 คนซึ่งได้ทำแบบสอบถามทั้งสิ้น 4 ชนิด คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามความสามารถในการฟื้นพลัง CD-RISC 3) แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า และ 4) แบบสอบถามรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ SPSS 22.0 โดยวิเคราะห์ในเรื่องของการหาค่าเฉลี่ยความสามารถในการฟื้นพลัง ความชุกของภาวะซึมเศร้า และรูปแบบการเลี้ยงดูของกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเลี้ยงดูกับความสามารถในการฟื้นพลัง และระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูกับภาวะซึมเศร้า จากการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยความสามารถในการฟื้นพลัง คือ 60.8 ขณะที่ความชุกภาวะซึมเศร้า พบที่ร้อยละ 40.9 นอกจากนี้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับการเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่มากที่สุด คือ ร้อยละ 47.7 และรองลงมาได้รับการเลี้ยงดูแบบตามใจ คือร้อยละ 35.2 จากการศึกษายังพบอีกว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการฟื้นพลังคือ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู โดยที่การเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่มีโอกาสจะมีความสามารถในการฟื้นพลังระดับสูงเป็น 35 เท่า เมื่อเทียบกับการเลี้ยงดูแบบเข้มงวด และอีกปัจจัยหนึ่งคือ ภาวะซึมเศร้า โดยที่ กลุ่มตัวอย่างที่ไม่พบภาวะซึมเศร้ามีโอกาสจะมีความสามารถในการฟื้นพลังระดับสูงเป็น 19 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่พบภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อชาตินักเรียนมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการฟื้นพลังอีกด้วย