Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Dental Journal

Journal

2003

Predicting equation; Tooth size

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การทดสอบสมการทํานายความกว้างของฟันเขียว และฟันกรามน้อยในคลินิกทันตกรรมจัดฟัน, ปิยารัตน์ อภิวัฒนกุล, วัชระ เพชรคุปต์ Sep 2003

การทดสอบสมการทํานายความกว้างของฟันเขียว และฟันกรามน้อยในคลินิกทันตกรรมจัดฟัน, ปิยารัตน์ อภิวัฒนกุล, วัชระ เพชรคุปต์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความแม่นยําในการทํานายผลรวมความกว้างของฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยที่หนึ่ง และฟันกรามน้อยซี่ที่สองในคนไทย เมื่อใช้สมการการทํานายที่สร้างขึ้นจากความกว้างของ ฟันกรามแท้ซี่แรกในขากรรไกรเดียวกันของวัชระและปิยารัตน์ เปรียบเทียบกับการทํานายโดยใช้ตาราง Moyers วัน และวิธีการ วัดนาดฟันจากแบบจําลองฟันของผู้ป่วยที่รับการบําบัดรักษาในคลินิกทันตกรรมจัดฟัน ภาควิชา ทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 200 ราย แบ่งเป็นเพศชาย 100 ราย และหญิ 100 ราย หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลรวมความกว้างของฟันเขี้ยวและฟันกรามน้อยทั้งสอง จากค่าจริงที่วัดจากแบบจําลองฟัน นํามาเปรียบเทียบกับค่าที่ได้จากการคํานวณโดยใช้ความกว้างของฟันกรามแท้ ซี่แรกในขากรรไกรเดียวกันตามสมการของวัชระและปิยารัตน์ และจากการใช้ตาราง Meyers (Moyers probability chart) น่าค่าที่วัดได้มาทดสอบความแตกต่าง โดยใช้สถิติ Paired T-test ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 และหาความสัมพันธ์ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลของการศึกษา พบว่าในขากรรไกรบนของเพศชายและขากรรไกรล่างของเพศหญิงมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระหว่างค่าของขนาดฟันที่ได้จากการใช้ตาราง Moyers กับการใช้สมการวัชระและปิยารัตน์ (P < 0.01) และการใช้ตาราง Moyers กับค่าที่ได้จากฟันจริง (P < 0.01) แต่ไม่พบความแตกต่างกันระหว่าง ขนาดฟันที่ได้รับจากสมการกับค่าจริง ส่วนขนาดฟันในขากรรไกรล่างของเพศชายและขากรรไกรบนของเทศหญิงไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระหว่างทุกกลุ่ม แต่ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างการใช้สมการวัชระและปิยารัตน์ ใกล้เคียงกับค่าจริงมากกว่าการใช้ตาราง Mayers เมื่อพิจารณาจากช่วง ของความคลาดเคลื่อน (ค่าแตกต่างระหว่างค่าจากการทํานายกับค่าจริง) พบว่าค่าที่ได้จากสมการใกล้เคียงกับ รองขนาดฟันจริงมากกว่าการใช้ตาราง Moyers สรุป จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าการใช้สมการวัชระและปิยารัตน์เพื่อทํานายผลรวมความกว้างของฟันเขี้ยวและ ฟันกรามน้อยทั้งสองมีค่าใกล้เคียงกับค่าของฟันจริงมากกว่าค่าใช้จากตาราง Moyers โดยเฉพาะขนาดของฟันในขากรรไกรบนของเพศชาย และขนาดของฟันในขากรรไกรล่างของเพศหญิง