Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Dental Journal

Journal

2003

Behaviors; community; dental health promotion and prevention; knowledge

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ความรู้และพฤติกรรมในการสร้างเสริมป้องกัน ทันตสุขภาพของประชาชนในชุมชนเขตบางรักกรุงเทพมหานคร, มยุรี ตติยกวี Jan 2003

ความรู้และพฤติกรรมในการสร้างเสริมป้องกัน ทันตสุขภาพของประชาชนในชุมชนเขตบางรักกรุงเทพมหานคร, มยุรี ตติยกวี

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมในการสร้างเสริมและป้องกันทันตสุขภาพของประชาชนในชุมชน เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร วัสดุและวิธีการใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลโดยสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS ใช้ค่าสถิติ 2. test กําหนดค่านัยสําคัญ p < 0.05 ผลการศึกษา พบว่าจากประชาชนกลุ่มตัวอย่าง 235 ราย มีความรู้ในเรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธี สาเหตุโรคฟันผุ และโรคเหงือก การป้องกันโรคฟันผุ การป้องกันโรคเหงือก คิดเป็นร้อยละ 74, 35.1, 86, และ 70.2 ตามลําดับ มี ความรู้ในเรื่องการเคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์ในเด็ก การเคลือบหลุมร่องฟัน การรับประทานฟลูออไรด์เสริม และ การตรวจฟันด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 39.6, 57.9, 62.6, และ 38.7 ตามลําดับ ในด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ฟันนั้น พบว่าร้อยละ 91.1แปรงฟันวันละ 2 ครั้งขึ้นไป ร้อยละ 64.3 พบทันตแพทย์เมื่อมีปัญหาทันตสุขภาพ และ ร้อยละ 16.2 ไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันประจําปี จากการวิเคราะห์ทางสถิติในกลุ่มตัวอย่างนี้พบว่า ผู้หญิง ผู้มี การศึกษาสูง และผู้ที่มีรายได้เพียงพอ มีความรู้และพฤติกรรมทางทันตสุขภาพดีกว่า ผู้ชาย ผู้มีการศึกษาที่ต่ํากว่า และผู้ที่มีรายได้ไม่เพียงพอ การเรียนรู้ทันตสุขภาพจากโทรทัศน์และจากโฆษณา มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้วิธี แปรงฟันที่ถูกต้องและการป้องกันโรคเหงือก และความต้องการให้สอนทันตสุขศึกษาทางสื่อต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับ การเรียนรู้จากโทรทัศน์ อย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05)สรุป ประชาชนในชุมชนเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ยังขาดความรู้ด้านการสร้างเสริมและป้องกันทันตสุขภาพอีก หลายประการ ความรู้และพฤติกรรมในการสร้างเสริมป้องกันทันตสุขภาพมีความสัมพันธ์ กับ เพศ อายุ ระดับ การศึกษา และรายได้ของบุคคล สื่อโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของประชาชน