Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Dental Journal

Journal

1994

Cementum

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของวิธีใช้กรดซิตริกทาบนผิวรากฟัน : นอกปาก, นวลฉวี หงษ์ประสงค์, นิตยา จินดาวิจักษ์, วีณา วุฒิทรัพย์ทวีสุข Jan 1994

ผลของวิธีใช้กรดซิตริกทาบนผิวรากฟัน : นอกปาก, นวลฉวี หงษ์ประสงค์, นิตยา จินดาวิจักษ์, วีณา วุฒิทรัพย์ทวีสุข

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานการวิจัยฉบับนี้ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้กรดซิตริกทาเบา ๆ และถูบนผิวเคลือบรากฟันที่ถูกเกลารากฟันแล้ว ใช้ฟันเขี้ยวที่ถูกถอนเนื่องจากโรคปริทันต์อักเสบจํานวน 8 ซี่ นํามาขูดหินน้ำลาย และเกลาราก ฟันให้เรียบ เพื่อนํามาเตรียมแผ่นผิวเคลือบรากฟัน โดยฟัน 1 ซี่ เตรียมได้ 2 แผ่น แยกไว้กลุ่มละ 1 แผ่น ในแต่ละกลุ่มจึงมี 8 แผ่นนํามากรอแบ่งครึ่งตามแนวตั้งเพื่อใช้เป็นกลุ่มควบคุมของแต่ละแผ่น ใช้กรดซิตริก pH 1 ทา เบา ๆ ในกลุ่มที่ 1 และถูแรง ๆ ในกลุ่มที่ 2 ทางด้านขวาของร่องที่แบ่งไว้ทิ้งไว้ 3 นาทีล้างน้ำให้สะอาด แล้ว นําไปแช่ไว้ในน้ำยาพาราฟอร์มาดีชัย 4% จากนั้นนําแผ่นผิวเคลือบรากฟัน ไปเตรียมตัวอย่างสําหรับตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด ประเมินผลของกรดซิตริกต่อจํานวนรูเปิดของเดนดินัล ทิวบูล โดยนับจํานวนเฉลี่ยของเดนตินัล ทิวบูลจากภาพถ่ายกําลังขยาย 5,000 เท่า แล้ววิเคราะห์ผลความแตกต่างของกลุ่มต่าง ๆ โดยใช้สติวเดนท์ ที่เทส จากผลการทดลองพบว่าในกลุ่มควบคุมจะมี สเมียร์ เลเยอร์ เหลืออยู่มากและมีรูเปิดของ เดนตินัล ทิวบูล เล็กน้อย ส่วนในกลุ่มทดลองจะพบว่าสามารถกําจัด สเมียร์ เลเยอร์ ได้ และยังทําให้รูเปิดของ เดนดินัล ทิวบูล มีจํานวนเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าการใช้วิธีการจะทําให้ได้จํานวนรูเปิดมากกว่าวิธีทาเบา ๆ แต่ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ แรงที่เกิดจากการถูจะทําให้ สเมียร์ เลเยอร์ ไปอุดตันรูเปิดของ เดนดินัล ทิวบูล บางส่วนได้ ในขณะที่การทาเพียงเบา ๆ จะทําให้พื้นผิวสะอาด และมีรูเปิดของ เดนดินัล ทิวบูล กว้างกว่า จากผลการทดลองจึงสรุปได้ว่า ในการใช้กรดซิตริกโดยวิธีการทาเบา ๆ ให้ผลที่ดีกว่าการถู