Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn Medical Journal

ภาวะซึมเศร้า

Publication Year

Articles 1 - 10 of 10

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ภาวะซึมเศร้าและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในประเทศไทย, ปณิตา บุญพาณิชย์, รัศมน กัลยาศิริ, ณภัควรรต บัวทอง Nov 2018

ภาวะซึมเศร้าและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในประเทศไทย, ปณิตา บุญพาณิชย์, รัศมน กัลยาศิริ, ณภัควรรต บัวทอง

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เป็นอาชีพหนึ่งที่มีลักษณะการทำงานและการดำเนินชีวิต ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพจิตและความเหนื่อยล้า อีกทั้งในประเทศไทยยังมีข้อมูลเรื่องภาวะซึมเศร้าและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินน้อยมากวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้า ความเหนื่อยล้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินพาณิชย์แห่งหนึ่งในประเทศไทยวิธีการทำวิจัย : เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบินพาณิชย์แห่งหนึ่งในประเทศไทย จำนวน 405 ราย ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ (Insomnia Severity Index)แบบประเมินภาวะสุขภาพจิต Depression Anxiety Stress Scale(DASS-21) ฉบับภาษาไทย แบบประเมินความเหนื่อยล้า Revised-Piper Fatigue Scale (R-PFS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาการวิเคราะห์ ไคสแควร์ ค่าความเสี่ยงและช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณด้วยแบบจำลองลอจิสติกผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างมีภาวะสุขภาพจิตด้านซึมเศร้าอยู่ในระดับเล็กน้อย(ร้อยละ 16.3) มีความเหนื่อยล้าอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60.8)เมื่อวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณ พบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ความเหนื่อยล้าในระดับปานกลาง (ORadj = 12.18:95%CI = 3.70 – 40.12), ความเหนื่อยล้าในระดับรุนแรง(ORadj = 20.50: 95%CI = 4.67 – 89.9), และปัญหาการนอนหลับ(ORadj = 1.14: 95%CI = 1.07 – 1.21)สรุป : ผู้บริหารควรตระหนักถึงปัญหาสุขภาพจิตและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน อาจจัดให้มีการเพิ่มการตรวจสุขภาพจิตประจำปี และควรจัดให้มีกิจกรรมการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการปัญหาต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต เพื่อให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินได้รู้จักวิธีการจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง.


ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมทางหน้าท้อง ณ. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วิลาสินี พิพัฒน์ผล, โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ Nov 2015

ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมทางหน้าท้อง ณ. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วิลาสินี พิพัฒน์ผล, โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการวิจัย : ปัญหาทางสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีโรคทางกายรุนแรง แต่ยังมีการศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักภายหลังผ่าตัดเปิดทวารเทียมทางหน้าท้องในประชากรไทยน้อยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมทางหน้าท้อง ณ.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์รูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ที่ได้รับการผ่าตัดเปิดทวารเทียมทางหน้าท้อง จำนวน 80 ราย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 โดยให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามทั้งหมด 4 ส่วนด้วยตนเอง ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลด้านการรักษา 2) แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม (The Personal ResourceQuestionnaire, PRQ 85 Part II) 4) แบบวัดภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า Thai Hospital anxiety and depression scale (Thai-HADS) การวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-Square test สหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Pearson Correlation) และ Multivariate LogisticRegression analysis.ผลการศึกษา : พบว่ามีความชุกของภาวะวิตกกังวล ร้อยละ 35 และความชุกของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 10 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ได้แก่ อายุ ระยะเวลาในการเจ็บป่วยระยะเวลาที่มีทวารเทียม ภาวะแทรกซ้อนที่ผู้ป่วยหรือกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในเรื่องการเข้าสังคม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ได้แก่ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคม และมีปัจจัยที่ทำนายภาวะวิตกกังวลได้แก่ อายุตั้งแต่ 60 ปี (OR = 5.07; 95%CI = 1.57 - 16.42) ระยะเวลาในการเจ็บป่วยน้อยกว่า 6 เดือน (OR = 5.19; 95%CI = 1.14 -23.64) ระยะเวลาที่มีทวารเทียมน้อยกว่า 3 เดือน (OR = 4.96,95%CI = 1.58 - 15.58) แต่ไม่สามารถหาปัจจัยทำนายของภาวะซึมเศร้าได้ เนื่องจากไม่ตรงตามเงื่อนไขที่มีผู้ป่วย 8 รายเท่านั้นสรุป : ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับการผ่าตัดทวารเทียมทางหน้าท้อง ร้อยละ 35 มีภาวะวิตกกังวลและร้อยละ 10 มีภาวะซึมเศร้า และพบว่าความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าดังนั้นการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคม อาจจะช่วยลดภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า.


ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศ, นิรัชรา ศศิธร, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย Nov 2015

ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศ, นิรัชรา ศศิธร, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งมักพบว่ามี ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต การสนับสนุนทางสังคมและการมีส่วนร่วมในชุมชน ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาภาวะซึมเศร้า และปัจจัยทางจิตสังคม เพื่อที่จะเข้าใจภาวะซึมเศร้า และช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพวัตถุประสงค์ : เพื่อหาความชุกของภาวะซึมเศร้า และศึกษาปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : ชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ศึกษาในผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48นาควัชระอุทิศ จำนวน 240 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม5 แบบสอบถาม ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความเศร้า ในผู้สูงอายุของไทย (Thai Geriatric Depression Scale -TGDS) 3) แบบสอบถามเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตในช่วง 1 ปี(1 – Year Life Event Questionnaire) 4) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม (Social Support Questionnaire) และ 5) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในสังคมของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับภาวะซึมเศร้า โดยใช้การทดสอบไคสแควร์และวิเคราะห์ความถดถอยแบบลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าผลการศึกษา : ความชุกของภาวะซึมเศร้า พบได้ร้อยละ 15.4 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า มี 6 ปัจจัย ได้แก่ สถานภาพสมรสโสด/หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ ความไม่เพียงพอของรายได้ ประวัติโรคทางจิตเวชเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตระดับสูง การสนับสนุนทางสังคมระดับต่ำและการมีส่วนร่วมในชุมชนระดับต่ำและพบว่าปัจจัยที่ทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ มี 4 ปัจจัย ได้แก่ สถานภาพโสด/หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ ประวัติโรคทางจิตเวช เหตุการณ์ความเครียดในชีวิตระดับสูง และการมีส่วนร่วมในชุมชนระดับต่ำสรุป : ความชุกของภาวะซึมเศร้าในการศึกษานี้ ใกล้เคียงกับผลการศึกษาอื่น ๆ ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าได้แก่ เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต การสนับสนุนทางสังคม และการมีส่วนร่วมในชุมชน การสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในชุมชน เช่น การเข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุ น่าจะมีส่วนช่วยในการลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ.


ความชุก และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พาผู้ป่วยมารับการรักษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, รสรณ์รดี ภาคภากร, บุรณี กาญจนถวัลย์, นิจศรี ชาญณรงค์ Jul 2015

ความชุก และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พาผู้ป่วยมารับการรักษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, รสรณ์รดี ภาคภากร, บุรณี กาญจนถวัลย์, นิจศรี ชาญณรงค์

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการวิจัย : โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิต และเกิดความพิการระยะยาวซึ่งส่งผลกระทบไปยังผู้ดูแลผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมของผู้ดูแลผู้ป่วยทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมาแต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยในประเทศไทยมีการศึกษาในประเด็นนี้เป็นจำนวนน้อย และเป็นระยะเวลานานแล้วที่มีการศึกษา ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาในประเด็นดังกล่าววัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พาผู้ป่วยมารับการรักษาณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : แผนกอายุรกรรมประสาท และแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ศึกษาในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 96 คน โดยแบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล,แบบประเมินดัชนีบาร์เทลอินเด็กซ์, แบบทดสอบความรู้สึกเป็นภาระ,แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามภาวะซึมเศร้า(BDI-IA) ใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อหาความชุกของภาวะซึมเศร้าสถิติไคสแควร์ เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า และสถิติถดถอยพหุคูณลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าผลการศึกษา : จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 44.8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติในด้านผู้ดูแล ได้แก่ ความไม่เพียงพอของรายได้ การนอนหลับที่น้อยกว่า5 ชั่วโมง ความหนักใจในการดูแลอาการของผู้ป่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านพฤติกรรม และการสื่อสารของผู้ป่วย แรงสนับสนุนทางสังคมต่ำ ความรู้สึกเป็นภาระมาก และปัจจัยด้านผู้ป่วย ได้แก่ การไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ปัจจัยทสามารถใช้พยากรณ์ภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ความไม่เพียงพอของรายได้ (OR = 4.20 95% CI = 1.31-13.39)การนอนหลับที่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง (OR = 5.03 95% CI = 1.51-16.80)และความรู้สึกเป็นภาระมาก (OR = 9.05 95% CI = 2.68 - 30.55)ซึ่งการมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวเพิ่มอัตราการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสรุปผลการวิจัย : แพทย์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองควรมีการประเมิน หรือคัดกรองภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยร่วมด้วยเพื่อลดภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วย และยังส่งผลต่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้.


คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ, เพ็ญภพ พันธุ์เสือ, สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์ Jul 2015

คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ, เพ็ญภพ พันธุ์เสือ, สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์

Chulalongkorn Medical Journal

การปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นอีกหนึ่งในรูปแบบการรักษาที่มีการค้นคว้าพัฒนา และประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมากว่าครึ่งศตวรรษ จากความสำเร็จดังกล่าวการปลูกถ่ายอวัยวะจึงกลายเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญทางการรักษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาชีวิต และทำให้ผู้เข้ารับการปลูกถ่ายสามารถกลับไปใช้ชีวิตของเขาอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ผลพวงอีกประการจากความก้าวหน้าในการปลูกถ่ายคือ ความต้องการอวัยวะเพื่อการปลูกถ่ายมีมากขึ้นจนเกิดความไม่พอเพียง ถึงแม้หน่วยงานต่าง ๆ จะพยายามแก้ไขปัญหาโดยการเปิดศูนย์รับบริจาค ก็ยังพบว่าอวัยวะที่ได้จากการบริจาคไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นการปลูกถ่ายในทุก ๆ ครั้งจึงมีความสำคัญอย่างมากจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลทางลบต่อผลการปลูกถ่ายที่สำคัญปัจจัยหนึ่งคือการเกิดภาวะซึมเศร้า ที่แม้จะมีหลายงานวิจัยที่เน้นย้ำถึงอันตรายของภาวะซึมเศร้าที่มีต่อผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะทั้งในช่วงก่อนการปลูกถ่ายและหลังการปลูกถ่าย แต่กลับพบว่ามีงานวิจัยส่วนน้อยที่กล่าวถึงวิธีการจัดการหรือการบำบัดอย่างเป็นขั้นตอนที่มุ่งเน้นเพื่อลดภาวะซึมเศร้า และจากการสืบค้นยังไม่พบการศึกษาดังกล่าวในประเทศไทย ดังนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความร่วมมือในการรักษา มีอัตราการตายลดลง ทำให้การปลูกถ่ายแต่ละครั้งเกิดผลประโยชน์สูงสุด และมีความคุ้มค่ามากที่สุดการบำบัดหรือสร้างกระบวนการ เพื่อลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยปลูกถ่ายจึงมีความสำคัญ.


ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตรในมารดาวัยรุ่นโรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร, นฬพรรษ พุ่มมณี, ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์ Mar 2015

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตรในมารดาวัยรุ่นโรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร, นฬพรรษ พุ่มมณี, ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ในปัจจุบันมีจำนวนมารดาวัยรุ่น (อายุระหว่าง 14 - 18 ปี) เพิ่มมากขึ้นซึ่งส่วนมากมักเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม ซึ่งอาจส่งผลต่อการเกิดปัญหาทางอารมณ์ในมารดาวัยนี้ ที่ผ่านมามีการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางอารมณ์ โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้าในมารดาหลังคลอดที่เป็นผู้ใหญ่จำนวนมาก แต่ยังไม่ค่อยมีการศึกษาในมารดาวัยรุ่น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาภาวะซึมเศร้าในมารดากลุ่มนี้วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในมารดาวัยรุ่นช่วง 1 - 2 สัปดาห์ และ 4 - 6 สัปดาห์หลังคลอดรูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลจากมารดาวัยรุ่นหลังคลอด อายุอยู่ในช่วง 14 - 18 ปี ที่มาคลอดบุตรและนอนพักรักษาในโรงพยาบาลสิรินธร ในช่วงที่ทำการเก็บข้อมูล (ธ.ค. 2556 – มี.ค. 2557) จำนวน 147 ราย โดยใช้แบบสอบถาม1) ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางกายภาพ ข้อมูลทางจิตสังคม2) แบบวัดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด Edinburgh Postnatal DepressionScale (EPDS) ฉบับภาษาไทย (วัด 2 ครั้ง) 3) แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม 4) แบบสอบเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต5) แบบสอบถามการปรับตัวบทบาทการเป็นมารดา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ Univariate analysis เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้า ในช่วง 1 - 2 สัปดาห์ หลังคลอดจำนวน 44 ราย (คิดเป็นร้อยละ 29.9) และมีภาวะซึมเศร้า ในช่วง4 - 6 สัปดาห์ หลังคลอดจำนวน 31 ราย (คิดเป็นร้อยละ 25.5) โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในช่วง 1 - 2 สัปดาห์หลังคลอดได้แก่อายุของคู่สมรส อาการปัสสาวะบ่อย …


ความชุกของภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น อายุระหว่าง 10 - 15 ปี ที่มารับบริการที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี, สุรางคณา คงเพชร, สมรักษ์ สันติเบ็ญจกุล Jan 2015

ความชุกของภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น อายุระหว่าง 10 - 15 ปี ที่มารับบริการที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี, สุรางคณา คงเพชร, สมรักษ์ สันติเบ็ญจกุล

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : เพื่อเป็นการคัดกรองและสร้างการตระหนักให้แก่สถานสงเคราะห์ในการดูแลเอาใจใส่วัยรุ่น ซึ่งหากวัยรุ่นกลุ่มดังกล่าวสามารถปรับตัวได้สำเร็จจะช่วยให้พัฒนาตนเองเกิดบุคลิกภาพที่ดี ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการดำเนินชีวิตต่อไปวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นอายุระหว่าง 10 - 15 ปี ที่มารับบริการที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถีรูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถีตัวอย่างและวิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectionalDescriptive Study) เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้รับบริการที่มีอายุระหว่าง10 - 15 ปี ที่มารับบริการที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถีจำนวน119 คน โดยเก็บกลุ่มตัวอย่างจากจำนวนผู้รับบริการทั้งหมด เครื่องมือในการคัดกรองมีทั้งหมด 3 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถาม ข้อมูลพื้นฐาน2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยตนเอง Children’s DepressionInventories 3) แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก The Strength andDifficulties Questionnaire ฉบับผู้ปกครองผลการศึกษา : พบอัตราความชุกของภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นอายุระหว่าง 10 - 15 ปีร้อยละ 52.9 อัตราความชุกของพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ร้อยละ 12.6และพบความชุกของการเกิดทั้งภาวะซึมเศร้า และพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ร้อยละ 10.1 โดยระดับการศึกษาของผู้รับบริการมีความสัมพันธ์กับคะแนนรวมด้านพฤติกรรมที่เป็นปัญหา พฤติกรรมด้านอารมณ์และพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ p < 0.01 นอกจากนี้ยังพบว่าภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ในระดับที่น้อย (p > 0.05)สรุป : ความชุกของภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ จากการศึกษาในครั้งนี้สูงกว่าการศึกษาอื่น ๆ ในวัยรุ่นทั่วไป การทราบปัจจัยเสี่ยงจะช่วยให้บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถวางแผนช่วยเหลือแก้ไข และป้องกันได้อย่างเหมาะสมต่อไป.


ภาวะซึมเศร้า ความว้าเหว่ และการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค และที่พักผู้สูงอายุของเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร, ธนัญพร พรมจันทร์, ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร Sep 2014

ภาวะซึมเศร้า ความว้าเหว่ และการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค และที่พักผู้สูงอายุของเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร, ธนัญพร พรมจันทร์, ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ภาวะซึมเศร้า ความว้าเหว่ และการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ เป็นปัญหาที่สำคัญในผู้สูงอายุที่พักในสถานบริการที่พักทั้งรัฐและเอกชน แต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาประเด็นดังกล่าวครอบคลุมทั้ง 3 ด้านวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้า และศึกษาปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ นอกจากนั้นยังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้า ความว้าเหว่ และการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค และที่พักผู้สูงอายุของเอกชนรูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการวิจัย : บ้านพักคนชราบ้านบางแค 1 สังกัดกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม, บ้านบางแค 2 สังกัดกรุงเทพมหานคร และผู้สูงอายุที่อาศัยในสถานที่พักเอกชนใน 5 แห่งในเขตกรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ศึกษาในผู้สูงอายุจำนวน 295 คน โดยแบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบสอบถามภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ, แบบวัดความว้าเหว่ และแบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยใช้โปรแกรม SPSS version 17 วิเคราะห์ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย,ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ไครสแควร์เทส, ทีเทส, ค่าสหสัมพันธ์และสถิติถดถอยลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นเพศหญิงร้อยละ 70.5 อายุเฉลี่ย78.43 (± 8.3) ปี พบความชุกของภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่างร้อยละ57.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ เพศหญิง,สถานภาพหม้ายหรือโสด, ไม่ได้รับการศึกษา, ไม่มีรายได้, ไม่มีญาติมาเยี่ยม, มีความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวและผู้ดูแลประจำไม่ดี,มีความพึงพอใจระดับต่ำต่อที่พักอาศัย และความใส่ใจของเจ้าหน้าที่,มีการเข้าร่วมกิจกรรมด้านอาชีวบำบัด และกิจกรรมด้านสุขภาพน้อยครั้งเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้า พบว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะว้าเหว่ที่สูงและการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ และผลการวิเคราะห์สถิติถดถอยลอจิสติกพบว่าการไม่ได้รับการศึกษา,การไม่มีญาติมาเยี่ยม, ความพึงพอใจต่อที่พักในระดับต่ำ, ภาวะความว้าเหว่ระดับปานกลางถึง สูง เป็นปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าสรุป : ผลการวิจัยพบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้า และทราบถึงปัจจัยที่สัมพันธ์ การคัดกรองและการรักษาภาวะซึมเศร้ารวมถึงการดูแลด้านจิตสังคม เช่น การลดความว้าเหว่, การส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง และการเพิ่มระดับความพึงพอใจต่อที่พักอาศัยมีส่วนช่วยด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์และที่พักผู้สูงอายุ.


ผลของการใช้กระต่ายช่วยบำบัดต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง ภาวะซึมเศร้า และความสุขของเด็กกำพร้าสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี, พิมญาดา จรัสศรี, ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร Mar 2014

ผลของการใช้กระต่ายช่วยบำบัดต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง ภาวะซึมเศร้า และความสุขของเด็กกำพร้าสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี, พิมญาดา จรัสศรี, ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : สัตว์บำบัดนับเป็นศาสตร์ใหม่ในวงการแพทย์ทางเลือกของไทยเนื่องจากสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดกับมนุษย์และเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถมอบความรักให้ได้โดยไม่มีเงื่อนไข จึงสอดคล้องกับความต้องการของเด็กกำพร้า จึงอาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจที่จะเป็นส่วนช่วยเหลือหรือพัฒนาจิตใจของเด็กกำพร้าให้มีความเข้มแข็ง เห็นคุณค่าในตนเอง ไม่ซึมเศร้า และมีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้นวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการบำบัดด้วยกระต่ายที่มีต่อความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง, ภาวะซึมเศร้า และความสุขของเด็กกำพร้ารูปแบบการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบ (RandomizedControlled Trial; RCT) ระหว่างประชากร 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงเวลาก่อนและหลังที่ประชากรจะได้รับการรักษาโดยการใช้กระต่ายช่วยบำบัดสถานที่ทำการศึกษา : สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถีตัวอย่างและวิธีการศึกษา : แบ่งกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน อายุ 12 - 15 ปี โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมการบำบัดด้วยกระต่าย จำนวน 10 กิจกรรมเป็นเวลา5 วัน ส่วนกลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตตามปกติ การศึกษานี้ใช้แบบวัดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในเด็ก และแบบวัดความสุข โดยศึกษาระยะก่อนและหลังการทดลอง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS วิเคราะห์ความแตกต่างของอายุ คะแนนความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง คะแนนภาวะซึมเศร้าและคะแนนความสุขของทั้งสองกลุ่มในระยะก่อนการทดลองด้วยสถิติindependent sample t-test และโปรแกรม Stata SE 11.0 วิเคราะห์ผลของกิจกรรมการบำบัดด้วยกระต่ายในระยะก่อนการบำบัด หลังการบำบัด และระยะติดตามผล 1 เดือน ด้วยสถิติ Generalized EstimatingEquations (GEE)ผลการศึกษา : ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมบำบัดด้วยกระต่าย กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเอง ภาวะซึมเศร้า และความสุขไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ p - value เท่ากับ 0.494, 0.722และ 0.288 ตามลำดับ แต่ภายหลังการได้รับกิจกรรมการบำบัด พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้น คะแนนภาวะซึมเศร้าลดลง และคะแนนความสุขเพิ่มขึ้น คือค่า p - value เท่ากับ0.514, 0.001 และ 0.003 ตามลำดับ ดังนั้นกลุ่มทดลองหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมการบำบัดด้วยกระต่าย มีคะแนนภาวะซึมเศร้าลดลงและคะแนนความสุขเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ซึ่งขนาดอิทธิพล (effect size) …


Depression And On-Line Game Playing Behaviors Of High School Students In Bangkok Metropolitan Area, T Satarpontanasin, D. Kasantikul Jul 2010

Depression And On-Line Game Playing Behaviors Of High School Students In Bangkok Metropolitan Area, T Satarpontanasin, D. Kasantikul

Chulalongkorn Medical Journal

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานครรูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งกลุ่มตัวอย่าง : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการในเขตกรุงเทพมหานครวิธีการศึกษา : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีการศึกษา 2552 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบการติดเกมสำหรับเด็กและวัยรุ่น และแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้สึก CES-D วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม SPSS สถิตที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการศึกษา : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 257 คน (ร้อยละ 33.3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 255 คน (ร้อยละ 33.1) นักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6จำนวน 259 คน (ร้อยละ 33.6) ซึ่งเป็นเพศชายจำนวน 396 คน (ร้อยละ 51.4)และเพศหญิง จำนวน 375 คน (ร้อยละ 48.6) จากการวิจัยพบว่ากลุ่มไม่มีปัญหาใน การเล่นเกม ร้อยละ 86.5 คลั่งไคล้ เริ่มเกิดปัญหาในการเล่นเกม ร้อยละ 9.9กลุ่มติดเกม มีปัญหาในการเล่นเกมมาก ร้อยละ 3.6 ส่วนด้านความรู้สึกพบว่ากลุ่มที่ไม่อยู่ในข่ายภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 67.7 ส่วนกลุ่มที่อยู่ในข่ายภาวะซึมเศร้า32.2 และปัจจัยที่เกี่ยวข้องพบว่ามีปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเล่นเกม ได้แก่เพศชาย ระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เกรดเฉลี่ยต่ำ รายได้ส่วนตัวต่ำและสูง จำนวนเพื่อนสนิทเพศเดียวกันน้อย และปัจจัยทางจิตสังคม มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 32.3สรุปผล : นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนที่ทำวิจัย ส่วนใหญ่ยังไม่มีปัญหาในการเล่นเกม แต่ก็พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้อกับพฤติกรรมการเล่นเกม ซึ่งควรที่จะได้รับการประเมินและติดตามต่อไปในกลุ่มที่มีปัญหาพฤติกรรมการเล่นเกมและมีภาวะซึมเศร้าร่วมอยู่ด้วย รวมทั้งวางแนวทางความร่วมมือทั้งโรงเรียนและผู้ปกครอง เพื่อที่จะช่วยให้เด็กลดพฤติกรรมการเล่นเกมลงและปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น.