Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 67

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

รำลึกพระคุณรองศาสตราจารย์ นายแพทย์วินัย พากเพียร: 80 ปีชาตกาล, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก, พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์ Nov 2017

รำลึกพระคุณรองศาสตราจารย์ นายแพทย์วินัย พากเพียร: 80 ปีชาตกาล, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก, พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์

Chulalongkorn Medical Journal

ท่านอาจารย์หมอวินัย พากเพียร มีคุณสมบัติเพียบพร้อมที่พวกเราควรเคารพท่านในฐานะเป็น ครู หมอ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักการศึกษา นักสังคมสงเคราะห์ ท่านได้ทำประโยชน์เป็นคุณูปการต่อ คณะแพทยศาสตร์ ต่อโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อสมาคมวิชาชีพต่างๆ และต่อสังคมโดยส่วนรวมมากมาย ชีวิตของท่านคือการทำงานตลอดเวลา อย่างไรก็ตามท่านมีความมุ่งมั่นในการทำงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลดีต่อสังคมโดยส่วนรวมและต่อประเทศชาติ อันควรที่แพทย์อนุชนรุ่นหลังควรยึดถือเป็นแบบอย่างตลอดไป.


Effectiveness Of Passive Stretching Of The Achilles Tendon With The Continuous Passive Stretching (Cps) Instrument In Patients With Plantar Heel Pain, Phoomchai Engkananuwat, Rotsalai Kanlayanaphotporn, Nithima Purepong Nov 2017

Effectiveness Of Passive Stretching Of The Achilles Tendon With The Continuous Passive Stretching (Cps) Instrument In Patients With Plantar Heel Pain, Phoomchai Engkananuwat, Rotsalai Kanlayanaphotporn, Nithima Purepong

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Previous studies have shown that stretching of the Achilles tendon iseffective for treating patients with plantar heel pain.Objective : To evaluate the effectiveness of the continuous passive stretching (CPS)instrument in patients with plantar heel pain.Methods : Fifteen subjects aged 40 - 60 years with a history of plantar heel painlonger than 1 month were recruited. They were instructed to use CPSinstrument for 5 days per week for 4 consecutive weeks. Six variableswhich included plantar heel pain at first step in the morning, average painover the past 24 hours, pressure pain threshold, foot and ankle disability,passive ankle range of …


การทดสอบด้วยการเดิน 6 นาทีและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจหลังการเข้ารับบริการคลินิกฟื้นฟูหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, พรเทพ รอดโพธิ์ทอง, สริสสา แรงกล้า, จิราภรณ์ ปาสานำ Nov 2017

การทดสอบด้วยการเดิน 6 นาทีและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจหลังการเข้ารับบริการคลินิกฟื้นฟูหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, พรเทพ รอดโพธิ์ทอง, สริสสา แรงกล้า, จิราภรณ์ ปาสานำ

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจจะมีปัญหาในการออกกำลังกายและทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตลดลง การออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจเป็นวิธีการช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจมีสมรรถภาพร่างกาย และระดับคุณภาพชีวิตดีขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจควรได้รับการส่งเสริม ให้เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจมากขึ้นวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการทำกิจกรรมออกกำลังกายและระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ ภายหลังจากการเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ณ.คลินิกฟื้นฟูหัวใจและปอด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์วิธีการทำวิจัย : เป็นการศึกษาข้อมูลผู้ป่วยนอกจำนวน 22 รายที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่โรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ในด้านระดับความสามารถในการทำกิจกรรมออกกำลังกายด้วยการทดสอบการเดิน 6 นาที (6 minute walk test) และระดับคะแนนคุณภาพชีวิต (SF-36 Thai version) ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556ผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจเป็นชาย 15 ราย(ร้อยละ 68.2) หญิง 7 ราย (ร้อยละ 31.8) มีอายุเฉลี่ย 65.36 ± 11.10 ปีส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease)14 ราย (ร้อยละ 63.6) มีค่าสัมประสิทธิ์การบีบตัวของหัวใจ (leftventricular ejection fraction) เฉลี่ย 38.4 ± 17.96% ผลการศึกษาการทดสอบด้วยการเดิน 6 นาทีและคะแนนคุณภาพชีวิตจากแบบสอบถาม SF-36 พบว่าก่อนเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจกลุ่มตัวอย่างสามารถเดินได้ระยะทางโดยเฉลี่ย 273.9 ± 137.42 ม. และหลังการเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจสามารถเดินได้ระยะทางโดยเฉลี่ย 346.32 ± 153.65 ม. โดยมีระยะทางเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย72.38 ม. (P <0.001) ส่วนด้านคุณภาพชีวิตในภาพรวมหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) เมื่อเทียบกับก่อนเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจสรุป : กายฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายในระดับความหนักปานกลางสามารถเพิ่มระดับความสามารถในการทำกิจกรรมออกกำลังกาย และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ และควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่โรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ในกรณีที่ไม่สามารถมารับบริการที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยควรได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่เหมาะสมไปปฏิบัติที่บ้านทุกราย.


ผลของการออกกำลังกายด้วยรำมวยโบราณประยุกต์ต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุชาวไทย:การศึกษานำร่อง, ทิติภา ศรีสมัย, เสาวนีย์ นาคมะเริง, พลลพัฏฐ์ ยงฤทธิปกรณ์, วัณทนา ศิริธราธิวัตร, ภารดี เอื้อวิชญาแพทย์, กิตติศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์, ทวีศักดิ์ จรรยาเจริญ Nov 2017

ผลของการออกกำลังกายด้วยรำมวยโบราณประยุกต์ต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุชาวไทย:การศึกษานำร่อง, ทิติภา ศรีสมัย, เสาวนีย์ นาคมะเริง, พลลพัฏฐ์ ยงฤทธิปกรณ์, วัณทนา ศิริธราธิวัตร, ภารดี เอื้อวิชญาแพทย์, กิตติศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์, ทวีศักดิ์ จรรยาเจริญ

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังเพิ่มขึ้นการออกกำลังกายถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุได้ ในปัจจุบันมีการศึกษารูปแบบการออกกำลังกายที่เป็นประเพณีดั้งเดิม ตามวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน และพบว่าสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุได้ การรำมวยโบราณประยุกต์เป็นศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีกแขนงหนึ่งที่มีท่าทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย แขนและขาที่ผสานสัมพันธ์กันคล้ายรูปแบบการออกกำลังกาย ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงต้องการศึกษานำร่องผลของการออกกำลังกายด้วยการรำมวยโบราณประยุกต์ในผู้สูงอายุ เพื่อนำมาเป็นโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในชุมชนวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการรำมวยโบราณประยุกต์ต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุชาวไทยวิธีการทำวิจัย : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง อาสาสมัครเป็นผู้สูงอายุทำการทดสอบสมรรถภาพในการออกกำลังกายด้วยการเดิน 6 นาที(six-minute walk test: 6MWT) ทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาด้วยการทดสอบลุกนั่ง 5 ครั้ง (five times sit to stand test: FTSS)ทดสอบการทรงตัวด้วยแบบทดสอบการเดินไป - กลับในระยะ 3 เมตร(timed up and go test: TUGT) และตอบแบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกฉบับภาษาไทยโดยย่อ (WHOQOL-BREF THAI)โดยทำการทดสอบก่อนและหลังสิ้นสุดโปรแกรม 8 สัปดาห์ และกลุ่มทดลองได้รับการออกกำลังกายแบบรำมวยโบราณประยุกต์ 40นาทีต่อครั้ง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ผลการศึกษา : ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนและหลัง 8 สัปดาห์ พบว่าในกลุ่มทดลอง หลังจากออกกำลังกายแบบรำมวยโบราณประยุกต์สมรรถภาพใน การออกกำลังกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาการทรงตัว และคะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนกลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายก่อนและหลัง 8 สัปดาห์พบว่าสมรรถภาพในการออกกำลังกายและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาไม่มีความแตกต่างกัน การทรงตัว มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและคะแนนคุณภาพชีวิตมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่าสมรรถภาพในการออกกำลังกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา การทรงตัวและคะแนนคุณภาพชีวิตของทั้งสองกลุ่มมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญสรุป : การออกกำลังกายด้วยรำมวยโบราณประยุกต์ช่วยพัฒนาสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุได้.


Morphometric Study Of Fixed Nasal Anatomical Structures Related To Endoscopic Surgery Of Sinuses And Anterior Base Of Skull In Hemisagittal Cadaveric Heads, Tipyada Papassornsiri, Vilai Chentanez Nov 2017

Morphometric Study Of Fixed Nasal Anatomical Structures Related To Endoscopic Surgery Of Sinuses And Anterior Base Of Skull In Hemisagittal Cadaveric Heads, Tipyada Papassornsiri, Vilai Chentanez

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Endoscopic sinus and anterior skull base surgery requires anatomicallandmarks to identify the location of each paranasal sinus. Even thoughmany anatomical reference points are applied, they can be distorted bytumors, inflammatory processes and previous surgeries. An earlier studyof the paranasal sinus in computed tomography found that the maxillaryroof (orbital floor) represented a reliable fixed anatomical landmark duringthe endoscopic dissection for the entry of the sphenoid sinus that avoidsthe skull base. However, the study in cadavers has never been performedand no comparative study between genders has been done.Objective : To determine the distance from nasal floor to cribriform plate, ethmoidroof, …


สุขภาพจิตและกลไกทางจิตของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินพาณิชย์แห่งหนึ่งในประเทศไทย, พลเลิศ พวงสอน, ณภัควรรต บัวทอง Nov 2017

สุขภาพจิตและกลไกทางจิตของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินพาณิชย์แห่งหนึ่งในประเทศไทย, พลเลิศ พวงสอน, ณภัควรรต บัวทอง

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เป็นอาชีพที่มีความแตกต่างจากอาชีพอื่น ๆ ในด้านลักษณะงาน ตารางการบินที่ไม่สม่ำเสมอ การปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมในสถานีปลายทาง รวมถึงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติงานบนเครื่องบิน ปัญหาต่าง ๆ อาจนำมาสู่ภาวะทางสุขภาพจิตและการใช้กลไกทางจิตในการปรับตัวและแก้ปัญหาซึ่งยังไม่มีการศึกษาภาวะสุขภาพจิต และกลไกทางจิตของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ในประเทศไทยมาก่อนวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิต กลไกทางจิต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบินพาณิชย์แห่งหนึ่งในประเทศไทยวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบินพาณิชย์แห่งหนึ่งในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2559 จำนวน 260 รายระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามปัจจัยการทำงานแบบสอบถามปัจจัยทางจิตสังคมแบบประเมินกลไกทางจิต (DSQ-60) และแบบประเมินสุขภาพจิตคนไทย (TMHI-55) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาการวิเคราะห์ไคสแควร์ค่าความเสี่ยงและช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 การทดสอบค่าทีการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณด้วยแบบจำลองลอจิสติกผลการศึกษา : ภาวะสุขภาพจิต พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีภาวะสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป (ร้อยละ 52.3) ภาวะสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป(ร้อยละ 25.6) และ ภาวะสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป (ร้อยละ 22.1)ส่วนใหญ่ใช้กลไกทางจิตในด้าน adaptive defense มากที่สุด(ร้อยละ 83.7) เมื่อวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณ พบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพจิตในระดับต่ำกว่าคนทั่วไป ได้แก่ ความพึงพอใจต่อผลการปฏิบัติงาน ในระดับไม่พึงพอใจเลย หรือ พึงพอใจน้อย (ORadj = 2.86:95%CI = 1.19 - 6.85) การใช้กลไกทางจิตด้าน affect regulatingdefense (ORadj = 6.92 : 95%CI = 2.85 - 16.81) และการมีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน/หัวหน้างาน (ORadj= 2.22 : 95%CI = 1.06 - 4.64)สรุป : หน่วยงานควรมีการให้บริการให้คำแนะนำ และการช่วยเหลือปัญหาทางสุขภาพจิต ในรูปแบบที่สะดวกต่อการเข้าถึงบริการ รวมทั้งการเสริมสร้างทักษะในการทำงานและทักษะการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันเพื่อส่งเสริมให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน มีทักษะในการแก้ไขปัญหา การใช้กลไกทางจิตที่เหมาะสม และมีภาวะสุขภาพจิตที่ดี.


การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมหลังการตัดเต้านม, พูนพิศมัย สุวะโจ, สหทัศ เหตานุรักษ์ Nov 2017

การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมหลังการตัดเต้านม, พูนพิศมัย สุวะโจ, สหทัศ เหตานุรักษ์

Chulalongkorn Medical Journal

ในประเทศไทยพบว่ามะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับ 1 และการผ่าตัดถือได้ว่าเป็นหนึ่งในการรักษาหลักของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม โดยวิธีการผ่าตัดเต้านมสองวิธีที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน คือ การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม (breast-conservative therapy) และ totalmastectomy อย่างไรก็ตามในช่วงประมาณ 10 ปี ที่ผ่านมา การรักษาเต้านมโดยวิธี total mastectomyกลับมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันนั้นนอกจากในด้านการควบคุมโรคมะเร็งแล้ว การแก้ไขภาวะความพิการจากการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งเต้านม ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จำเป็นต้องคำนึงถึงในการรักษาผู้ป่วย และยังเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนบุคคลปกติทั่วไป การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม (breast reconstruction)หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดมะเร็งเต้านมจึงมีบทบาทสำคัญและเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องให้ข้อมูลกับผู้ป่วยเสมอ ในการตัดสินใจพิจารณาว่าจะแนะนำ breast reconstruction สำหรับผู้ป่วยจะต้องดูถึงปัจจัยหลายประการ ประกอบด้วย ระยะของมะเร็งเต้านม การให้ adjuvant therapy ระยะเวลาการทำผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมหลังการตัดเต้านมเป็นผ่าตัดทันทีหรือผ่าตัดภายหลัง การยอมรับของผู้ป่วยสำหรับการใช้ prosthesis ความพร้อมของผู้ป่วยและความชำนาญของศัลยแพทย์ในการทำผ่าตัด การให้ข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้านเพื่อให้ผู้ป่วยได้ตัดสินใจเลือก และมีส่วนร่วมในแผนการรักษาอันจะนำมาซึ่งผลการรักษา ความร่วมมือในการรักษาและประโยชน์สูงสุดแก่ตัวผู้ป่วยนั่นเอง.


สุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1, ณัฐดนัย เอี่ยมวัฒนเสรี, พวงสร้อย วรกุล, ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์ Nov 2017

สุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1, ณัฐดนัย เอี่ยมวัฒนเสรี, พวงสร้อย วรกุล, ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 นั้นมีความจำเป็นจะต้องปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ทั้งในด้านการเรียนและสังคมเมื่อเข้ามหาวิทยาลัยแต่อย่างไรก็ตามงานที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพจิตของนิสิตกลุ่มนี้ยังคงมีน้อยอยู่ในปัจจุบันวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1วิธีการทำวิจัย : รวบรวมข้อมูลจากนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 จำนวนทั้งสิ้น 993 ราย โดยการใช้แบบสอบถามที่มีสองส่วน คือ ส่วนของข้อมูลส่วนบุคคล และ Thai Mental Health Indicator (TMHI-66)ใช้การวิเคราะห์ทั้งแบบตัวแปรเดียวและหลายตัว เพื่อระบุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่างผลการศึกษา : นิสิตส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.2 มีภาวะสุขภาพจิตในระดับเท่ากับคนทั่วไป แต่เมื่อนำไปวิเคราะห์ โดยการวิเคราะห์แบบถดถอยแบบคู่พบว่าตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตของนิสิต มีทั้งหมด 16 ตัวแปรได้แก่ เพศชาย มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล กลุ่มสาขาวิชาสายศิลป์ ค่าใช้จ่าย ที่ได้รับมากกว่า 8,000 บาทต่อเดือน รู้สึกไม่พึงพอใจในที่พักอาศัย มีความ สัมพันธ์กับครอบครัวที่ไม่ดี บิดามารดาไม่มีโรคประจำตัว รายได้ของครอบครัวไม่เพียงพอ ความสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ในมหาวิทยาลัยไม่ดี มีจำนวนเพื่อนสนิทมาก ไม่ค่อยเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยหรือคณะ และไม่พึงพอใจในคณะที่กำลังศึกษาสรุป : สุขภาพจิตของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มีระดับภาวะสุขภาพจิตระดับเดียวกับ คนทั่วไปในประเทศไทย.


ผลของการลุกขึ้นยืนและจินตนาการลุกขึ้นยืนต่อลักษณะคลื่นไฟฟ้าสมองของผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี, สมภิยา สมถวิล, กนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล, ศิวฤทธิ์ รัศมีจันทร์, อรอุมา บุณยารมย์ Nov 2017

ผลของการลุกขึ้นยืนและจินตนาการลุกขึ้นยืนต่อลักษณะคลื่นไฟฟ้าสมองของผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี, สมภิยา สมถวิล, กนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล, ศิวฤทธิ์ รัศมีจันทร์, อรอุมา บุณยารมย์

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : การลุกขึ้นยืนเป็นการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่จำเป็นในชีวิตประจำวันในผู้สูงอายุที่มีความแข็งแรงและการทรงตัวลดลง เป็นปัจจัยสำคัญในการลุกขึ้นยืนจากท่านั่งได้อย่างง่ายและปลอดภัย การกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทสั่งการมายังอวัยวะเป้าหมายให้ทำงานดีขึ้นเป็นสิ่งจำเป็น การจินตนาการเคลื่อนไหว เป็นกระบวนการที่สามารถเพิ่มการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทสั่งการ เนื่องจากการจินตนาการเคลื่อนไหว (motor imagery; MI) มีกระบวนการทำงานคล้ายกับการเคลื่อนไหวทางร่างกายที่เกิดขึ้น แต่มีความแตกต่างกันที่การจินตนาการจะไม่เห็นการเคลื่อนไหวทางกายเกิดขึ้น การประเมินการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ในขณะจินตนาการเคลื่อนไหวสามารถประเมินได้หลายวิธี อาทิการวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (electroencephalography;EEG) ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่รุกล้ำเข้าไปในร่างกาย การศึกษานี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับการเพิ่มสมรรถภาพในการลุกขึ้นยืนในผู้สูงอายุและในผู้ที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหวได้วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาจินตนาการลุกขึ้นยืนกับการลุกขึ้นยืนจริง โดยวัดจากชนิดของคลื่นไฟฟ้าสมอง ในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีวิธีทำการวิจัย : อาสาสมัครจำนวน 19 ราย อายุระหว่าง 60 - 69 ปี วัดคลื่นไฟฟ้าสมองก่อนทำการลุกขึ้นยืน ในขณะทำการลุกขึ้นยืน และในขณะทำการจินตนาการลุกขึ้นยืนผลการศึกษา : พบลักษณะคลื่นไฟฟ้าบริเวณสมองส่วน frontal lobe, temporal lobe,parietal lobe และ occipital lobe เป็นคลื่นเบต้า (14 - 17 Hz)ก่อนทำการลุกขึ้นยืน ในขณะทำการลุกขึ้นยืน และในขณะทำการจินตนาการลุกขึ้นยืน อย่างไรก็ตามลักษณะคลื่นไฟฟ้าสมองบริเวณparietal และ occipital lobe พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) ระหว่างก่อนลุกขึ้นยืน ขณะลุกขึ้นยืนกับขณะจินตนาการลุกขึ้นยืน โดยพบคลื่นเบต้า (14 - 17 Hz) ในช่วงก่อนทำการลุกขึ้นยืนและขณะลุกขึ้นยืน คิดเป็นร้อยละ 89.5 แต่ในขณะจินตนาการลุกขึ้นยืน พบคลื่นเบต้า (14 - 17 Hz) คิดเป็นร้อยละ 52.6สรุป : ลักษณะคลื่นไฟฟ้าสมองขณะลุกขึ้นยืนกับจินตนาการลุกขึ้นยืนที่บริเวณสมองส่วน frontal lobe, temporal lobe, parietal lobe และoccipital lobe มีลักษณะคล้ายกัน คือ เป็นคลื่นเบต้า ดังนั้นอาจสรุปได้ว่ากระบวนการทำงานของสมองในขณะจินตนาการเคลื่อนไหวมีกระบวนการทำงานคล้ายกับการเคลื่อนไหวจริง โดยเฉพาะในบริเวณสมองส่วน frontal lobe และ temporal lobe ในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี.


การเพิ่มขึ้นของภาวะเครียดออกซิเดชันและการลดลงของจำนวนไมโทคอนเดรียดีเอ็นเอในโรคเนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน, มณฑิรา ฐานไพศาลกิจ, ชินดนัย หงสประภาส, กฤษณ์ เจริญลาภ, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก Nov 2017

การเพิ่มขึ้นของภาวะเครียดออกซิเดชันและการลดลงของจำนวนไมโทคอนเดรียดีเอ็นเอในโรคเนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน, มณฑิรา ฐานไพศาลกิจ, ชินดนัย หงสประภาส, กฤษณ์ เจริญลาภ, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : โรคเนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนมีความซับซ้อนในการวินิจฉัยการรักษา และติดตามผลการรักษา และพบอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นทุกปีการศึกษาก่อนหน้าพบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนไมโทคอนเดรียดีเอ็นเอ (mtDNA copies) และการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด แต่พบการศึกษาเปรียบเทียบจำนวน mtDNA copies ในชิ้นเนื้องอก ชิ้นเนื้อปกติข้างเคียง และเซลล์เม็ดเลือดขาวในโรคเนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนจำนวนน้อยวัตถุประสงค์ : เพื่อวิเคราะห์และศึกษาความสัมพันธ์ของจำนวน mtDNA copiesในชิ้นเนื้องอก ชิ้นเนื้อปกติบริเวณข้างเคียง และเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยโรคเนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนเทียบกับเซลล์เม็ดเลือดขาวของกลุ่มควบคุม ร่วมกับการศึกษาเปรียบเทียบระดับ8-hydroxydeoxyguanosine (8-OHdG) ในชิ้นเนื้อของผู้ป่วยวิธีการทำวิจัย : ผู้ป่วยโรคเนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนที่เข้ารับการรักษาผ่าตัดเนื้องอก จำนวน 48 ราย ทำการเก็บชิ้นเนื้องอก ชิ้นเนื้อปกติบริเวณข้างเคียง และตัวอย่างเลือดร่วมกับเก็บตัวอย่างเลือดในกลุ่มควบคุมจำนวน 100 ราย นำมาศึกษาจำนวน mtDNA copies ด้วยวิธี real-timepolymerase chain reaction และวัดระดับ 8-OHdG ด้วยวิธี enzymelinkedimmunosorbent assayผลการศึกษา : จำนวน mtDNA copies ในชิ้นเนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนมีจำนวนน้อยกว่าในชิ้นเนื้อปกติบริเวณข้างเคียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.018) พบว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวมีจำนวน mtDNA copiesน้อยกว่าทั้งในชิ้นเนื้องอก (P <0.001) และในชิ้นเนื้อปกติบริเวณข้างเคียง (P <0.001) จำนวน mtDNA copies ในเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยโรคเนื้องอกกระดูก และเนื้อเยื่ออ่อนมีปริมาณน้อยกว่าในเซลล์เม็ดเลือดขาวของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P = 0.039) นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างจำนวนmtDNA copies ในชิ้นเนื้องอกและเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยรายเดียวกัน (r = 0.348, P = 0.021) และพบว่าระดับ 8-OHdGในชิ้นเนื้องอกมีระดับสูงกว่าในชิ้นเนื้อปกติบริเวณข้างเคียง (P <0.001)สรุป : ผลการศึกษาพบการลดลงของจำนวน mtDNA copies ในชิ้นเนื้องอกซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับการศึกษาในเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยอีกทั้งพบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวน mtDNA copies ในชิ้นเนื้องอกและเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วย และพบระดับ 8-OHdG สูงขึ้นในชิ้นเนื้องอกเมื่อเทียบกับชิ้นเนื้อปกติ แสดงให้เห็นว่าเซลล์เนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนมีภาวะเครียดออกซิเดชันเพิ่มขึ้น อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงจำนวน mtDNA copies ให้มีปริมาณลดลง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการเจริญในโรคเนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน อาจนำจำนวน mtDNA copies มาประยุกต์ใช้เป็นตัวบ่งชี้การเจริญของเนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนได้.


ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมาน มันตาภรณ์: บิดาแห่งศัลยกรรมทรวงอกในประเทศไทย, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก Sep 2017

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมาน มันตาภรณ์: บิดาแห่งศัลยกรรมทรวงอกในประเทศไทย, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก

Chulalongkorn Medical Journal

ปีพ.ศ.2560 นี้ เป็นปีที่มีเหตุการณ์สำคัญยิ่ง และจะได้จารึกอยู่ในประวัติศาสตร์วงการศึกษาไทยลำดับแรกเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ 2560 โดยมีการจัดกิจกรรม”จุฬา 100 ปีศตวรรษแห่งความภูมิใจ” ลำดับถัดมาเป็นปีที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มาหวิทยาลัย มีอายุครบรอบ 70 ปี ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560 โดยมีการจัดงาน “70 ปีแพทย์จุฬาฯ สรรค์สร้างนวัตกรรม ก้าวนำสังคมไทย” มีแสดงนิทรรศการอย่างยิ่งใหญ่และงาน คืนสู่เหย้า “วันแพทย์จุฬาฯ” ณ อาคารแพทยพัฒน์ ภายในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ รวมทั้งระดมทุนขอบริจาคสนับสนุนกองทุนสวัสดิการศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ และเงินทุนนวัตกรรมแพทยศาสตร์ จุฬาฯเมื่อหวนย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปี ก่อน ศิษย์แพทย์จุฬาฯ ยุคบุกเบิกรุ่นแรกและสืบต่อมาราว 30 รุ่น ต้องรู้จักและได้เรียนกับ “อาจารย์หมอสมาน” หรือ “ครูหมาน” ถึงแม้ผู้เขียนไม่ได้มีโอกาสเรียนรู้เป็นลูกศิษย์โดยตรงจากท่าน แต่ก็เป็น “หลานศิษย์” ที่รับรู้ได้จากคำยกย่องชื่นชม กล่าวถึงของคุณครูอาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านที่เคยเป็นลูกศิษย์ของท่าน ซึ่งควรค่าแก่การรำลึกนึกถึงคุณูปการของท่านที่มีต่อคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และถือเป็นเพชรน้ำหนึ่งของวงการแพทย์ไทย.


ภาวะเครียดจากการทำงาน และภาวะหมดไฟในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความ ณ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์, วลีรัตน์ เช็ค เทิดทูนภูภุช, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย Sep 2017

ภาวะเครียดจากการทำงาน และภาวะหมดไฟในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความ ณ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์, วลีรัตน์ เช็ค เทิดทูนภูภุช, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ภาวะเครียดจากการทำงาน เป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในในทนายความของหลาย ๆ ประเทศในปัจจุบัน เนื่องจากความกดดันจากองค์กรที่ต้องการผลงานมากขึ้น ทำให้งานล้นมือลูกจ้าง หรือการไม่มีสิทธิในการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างเต็มที่ภาวะเครียดจากการทำงานที่สะสมเป็นเวลานานทำให้เกิดภาวะหมดไฟได้ ซึ่งจะลดประสิทธิภาพในการทำงานของตัวบุคคล โดยภาวะเครียดจากการทำงานและภาวะหมดไฟในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะเครียดจากการทำงานและภาวะหมดไฟ ในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความณ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์วิธีการทำวิจัย: ศึกษาในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความจำนวน 400 รายที่สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558 – มกราคม พ.ศ. 2559 โดยการตอบแบบสอบถามด้วยตนเองจำนวนทั้งหมด 4 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล2) แบบสอบถามด้านการทำงาน 3) แบบสอบถามวัดภาวะเครียดจากการทำงาน และ 4) แบบสอบถามวัดภาวะหมดไฟ วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียดจากการทำงาน และภาวะหมดไฟโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายภาวะเครียดจากการทำงานและภาวะหมดไฟโดยการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกและวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องระหว่างความเครียดจากการทำงาน และภาวะหมดไฟโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ผลการศึกษา : พบอัตราความชุกของ ภาวะเครียดจากการทำงาน ในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความ ร้อยละ 22.3 (89 ราย) และภาวะหมดไฟร้อยละ 7.0 (28 ราย) ผลการวิเคราะห์ความถดถอยลอจิสติก พบว่าปัจจัยทำนายภาวะเครียดจากการทำงาน ได้แก่ รายได้เฉลี่ยมากกว่า40,000 บาทขึ้นไปและประเภทใบอนุญาตทนายความใหม่และประเภท 2 ปี และปัจจัยทำนายภาวะหมดไฟ ได้แก่ รายได้เฉลี่ยมากกว่า 40,000 บาทขึ้นไป ประสบการณ์การทำงาน น้อยกว่า 10 ปีทำงานให้คำปรึกษา/แนะนำทางกฎหมายด้านงานอาญา และจำนวนชั่วโมงการทำงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 ชม.ต่อวัน และผลการทดสอบไคสแควร์ พบว่าภาวะเครียดจากการทำงานเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะหมดไฟสรุป : ทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความที่มีภาวะเครียดจากการทำงานร้อยละ 22.3 (89 ราย) เป็นผู้ที่เพิ่งได้รับใบอนุญาตทนายความและผู้มีใบอนุญาตทนายความประเภท 2 ปี และมีรายได้จากการทำงานเฉลี่ยมากกว่า 40,000 บาทขึ้นไป ส่วนผู้ที่มีภาวะหมดไฟร้อยละ 7.0 (28 ราย)เป็นผู้ที่มีรายได้เฉลี่ยมากกว่า 40,000 บาท และมีประสบการณ์การทำงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ปี โดยอยู่ในกลุ่มที่ทำงานด้านให้คำปรึกษา/แนะนำทางกฎหมายด้านงานอาญาเพียงอย่างเดียวและมีจำนวนชั่วโมงการทำงานต่อวันน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 ชม. โดยภาวะเครียดจากการทำงานเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะหมดไฟ.


การปรับตัวและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1, นิลญา อาภรณ์กุล, ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร Sep 2017

การปรับตัวและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1, นิลญา อาภรณ์กุล, ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : การปรับตัว เป็นการแก้ปัญหาเพื่อให้ชีวิตมีความสุข หากแก้ปัญหาหรือปรับตัวไม่ได้ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ในการเรียน การทำงานตลอดจนปัญหาการปรับตัวในเรื่องอื่น ๆ การศึกษาการปรับตัวของนักศึกษาแพทย์สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหา ตลอดจนให้คำแนะนำแก่นักศึกษาแพทย์ได้อย่างถูกต้องวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการปรับตัวและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลวิธีการทำวิจัย : โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 284 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน 2) แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต 3) แบบสำรวจปัญหาการปรับตัว ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายลักษณะทั่วไปของประชากร ได้แก่ ค่าสัดส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบความสัมพันธ์ของปัญหาการปรับตัวกับปัจจัยส่วนบุคคลและความฉลาดทางอารมณ์โดยใช้สถิติ Pearson’s correlation coefficient, Independentsamples t-test, One way analysis of variance และ multipleregression analysisผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย 150 ราย (ร้อยละ 52.8) และเป็นเพศหญิง134 ราย (ร้อยละ 47.2) มีอายุเฉลี่ย 19 ปี ส่วนใหญ่มีปัญหาการปรับตัวโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (ค่าเฉลี่ย 1.93 จากคะแนนเต็ม3) มีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ในด้านรวม อยู่ในเกณฑ์ปกติโดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และทำนายปัญหาการปรับตัว คือความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งสามารถทำนายได้ร้อยละ 36.7สรุป : นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนใหญ่มีปัญหาในการปรับตัวโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ และความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ และเป็นปัจจัยทำนายปัญหาการปรับตัว.


แรงจูงใจในการเรียนแพทย์ของนิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ณัฐธิดา ลวานนท์, ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร, พฤกษา ผาติวรากร Sep 2017

แรงจูงใจในการเรียนแพทย์ของนิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ณัฐธิดา ลวานนท์, ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร, พฤกษา ผาติวรากร

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : นิสิตแพทย์ทุกคนมีแรงจูงใจในความอยากเป็นแพทย์ที่แตกต่างกันและมีเหตุผลของการเลือกเรียนที่แตกต่างกัน เช่น เรียนเพราะคะแนนถึงเกณฑ์ สอบติด พ่อแม่บังคับ เป็นต้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาวิจัยว่าปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเรียนแพทย์วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเรียนแพทย์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการเรียนแพทย์ ของนิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิธีการทำวิจัย : เก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 6คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีสถานภาพความเป็นนิสิตอยู่ในปีการศึกษา 2558 ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 โดยสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติได้จำนวน 870 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล2) แบบสอบถามวัดภาวะสุขภาพจิต (Depression Anxiety StressScales: DASS-21) และ 3) แบบสอบถามวัดแรงจูงใจในการเรียนแพทย์ (The Strength of Motivation for Medical School-Revised:SMMS-R)ผลการศึกษา : นิสิตแพทย์ส่วนใหญ่มีแรงจูงใจในด้านความเต็มใจในการเสียสละอยู่ในระดับกลาง ด้านการเตรียมความพร้อมในการเริ่มต้นอยู่ในระดับกลาง และด้านความมั่นคงอยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการเรียนแพทย์โดยรวมและรายด้าน ได้แก่เพศ อายุ ชั้นปีที่กำลังศึกษา โครงการที่เข้าศึกษา เกรดเฉลี่ยสะสมลักษณะที่พักปัจจุบันที่ใช้เวลาพักอาศัยในแต่ละสัปดาห์มากที่สุดรายได้เฉลี่ย การออกกำลังกาย การอ่านหนังสือเรียนโดยเฉลี่ยต่อวันในช่วงเปิดเทอม เวลาที่รู้สึกว่าได้พักผ่อนอย่างแท้จริง โดยไม่นับเวลานอน การทำกิจกรรมนอกหลักสูตร ความรู้สึกอยากเป็นแพทย์ในระดับชั้นการเรียนต่าง ๆ เหตุผลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาคณะแพทยศาสตร์ และภาวะสุขภาพจิต ปัจจัยที่สามารถทำนายแรงจูงใจในการเรียนแพทย์โดยรวม ได้แก่ ชั้นปีที่กำลังศึกษา(ปี 2) การใช้เวลาอ่านหนังสือเรียนโดยเฉลี่ยต่อวันในช่วงเปิดเทอมและการทำกิจกรรมนอกหลักสูตร (นาน ๆ ครั้ง)สรุป : มีหลากหลายปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจในการเรียนแพทย์ ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้น่าจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนจัดการเรียนการสอนตามแนวทางแพทยศาสตรศึกษาเพื่อพัฒนาการผลิตแพทย์ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป.


แนวโน้มการทำศัลยกรรมเสริมความงาม และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมปลายในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานคร, รสพร บุบผะศิริ, บุรณี กาญจนถวัลย์ Sep 2017

แนวโน้มการทำศัลยกรรมเสริมความงาม และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมปลายในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานคร, รสพร บุบผะศิริ, บุรณี กาญจนถวัลย์

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : การทำศัลยกรรมเสริมความงามแพร่หลายมากขึ้นในกลุ่มช่วงอายุที่น้อยลง เนื่องจากปฏิเสธไม่ได้ว่ารูปลักษณ์ภายนอกเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ในเกือบทุกรูปแบบ นักเรียนระดับชั้นมัธยมปลายในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานคร เป็นกลุ่มบุคคลที่เติบโตมาท่ามกลางสื่อและความทันสมัยต่าง ๆ ช่วงวัยดังกล่าวเป็นช่วงที่กำลังจะเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่เปลี่ยนแปลงสถานศึกษา ซึ่งทำให้ชวนติดตามว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อความคิดที่อยากทำศัลยกรรมเสริมความงามของกลุ่มบุคคลนี้ เพื่อเป็นการสะท้อนและเป็นแนวทางพัฒนาความภาคภูมิใจในตนเองต่อไปวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาแนวโน้มการทำศัลยกรรมเสริมความงาม ความภาคภูมิใจในตนเอง และความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มการทำศัลยกรรมเสริมความงามกับความภาคภูมิใจในตนเอง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆของนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานครวิธีการทำวิจัย : กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 โดยใช้แบบสอบถาม 4 ชุด ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปแบบสอบถามบุคลิกภาพ แบบสอบถามความภาคภูมิใจในตนเองและแบบสอบถามแนวโน้มการทำศัลยกรรมเสริมความงามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับแนวโน้มการทำศัลยกรรมเสริมความงามในระดับปานกลาง (ร้อยละ 66.4) มีความภาคภูมิใจในตนเองในระดับปานกลาง (ร้อยละ 63.3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการทำศัลยกรรมเสริมความงาม ได้แก่ แนวของสื่อที่เสพในชีวิตประจำวัน (แนวบันเทิง แฟชั่น ความงาม) มีความแตกต่างกับคะแนนเฉลี่ยแนวโน้มการทำศัลยกรรมเสริมความงาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยแผนการเรียน (ศิลป์ – ภาษา)และการรับรู้ภาพลักษณ์ของตนเอง (ไม่พึงพอใจ) ซึ่งมีความแตกต่างกับคะแนนเฉลี่ยแนวโน้มการทำศัลยกรรมเสริมความงาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่สามารถทำนายระดับแนวโน้มการทำศัลยกรรมเสริมความงาม คือ แนวของสื่อที่เสพในชีวิตประจำวัน (แนวบันเทิง แฟชั่น ความงาม) และแผนการเรียนซึ่งสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 12.5สรุป : แนวโน้มการทำศัลยกรรมเสริมความงามของกลุ่มตัวอย่างไม่ได้หมายความว่าบุคคลนั้นจะต้องเป็นผู้ที่ไม่มีความภาคภูมิใจในตนเอง หรือชี้ชัดว่าบุคคลนั้นเป็นอย่างไร การทำศัลยกรรมเสริมความงามเป็นเหรียญสองด้าน มีทั้งข้อดีและข้อจำกัด หากมีการศึกษาข้อมูลอย่างดี เลือกบริโภคสื่ออย่างถูกต้องเหมาะสม ก็จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี มีความพึงพอใจในรูปลักษณ์ของตนเอง มีความเชื่อมั่นมากขึ้น อย่างไรก็ดี ความภาคภูมิใจในตนเองสามารถสร้างขึ้นได้จากตัวตน ความสามารถของเราที่ไม่ได้ขึ้นกับรูปลักษณ์ภายนอกเพราะไม่มีอะไรดีไปกว่าการที่เรารู้จัก เข้าใจ และยอมรับตัวเราเอง ซึ่งสิ่งนี้ย่อมจีรังยั่งยืนและเป็นนิรันดร์มากกว่าความงามภายนอกที่เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา.


Improvement Of Caregivers’ Life Quality After Children With Cleft Lip Cleft Palate Undergoing Surgical Correction : The Thai Red Cross Project, Usa Boonplian, Pichit Siriwan, Kornkiat Snidvongs Sep 2017

Improvement Of Caregivers’ Life Quality After Children With Cleft Lip Cleft Palate Undergoing Surgical Correction : The Thai Red Cross Project, Usa Boonplian, Pichit Siriwan, Kornkiat Snidvongs

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Cleft lip and cleft palate (CL/P) are among the most common congenitalmalformations of the face. These facial deformities significantly impactthe mother, children, society and economy of the country. Studies haveshown that surgical correction can improve the patient’s appearance andfunctionality such as feeding and speech. However, there are limitedinformation pertaining to the quality of life (QOL) of the caregivers aftertheir children have received corrective surgery for cleft deformities andthe use of mobile surgical units to reach the hard-to-reach population.Objectives : To assess the quality of life (QOL) of the caregivers whose childrenreceived corrective surgery for CL/P offered through ‘The …


Incidence Of Nosocomial Pneumonia And Causative Bacteria Among Chronically Ill Patients Admitted In A General Hospital A, Klairoong Sangsawang, Pipat Luksamijarulkul, Sukhontha Siri, Supachai Pitikultang Sep 2017

Incidence Of Nosocomial Pneumonia And Causative Bacteria Among Chronically Ill Patients Admitted In A General Hospital A, Klairoong Sangsawang, Pipat Luksamijarulkul, Sukhontha Siri, Supachai Pitikultang

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Nosocomial pneumonia (NP) is ranked high among all health careassociated infections. The incidence and causative bacteria may bedifferent from studied hospital to the others.Objective : To investigate incidence of NP and its causative bacteria amongchronically ill patients who were admitted at a general hospital inthe central region of Thailand.Methods : A prospective study, which was carried out in department of medicine ofa general hospital in the central region of Thailand from April to September2016. A total of 330 chronically ill patients who were admitted tothe department of Medicine. NP is defined as pneumonia with onset noless than 48 …


การดูแลผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ: ร่างกาย จิตใจและการเยียวยาทางกฎหมาย, อานนท์ จำลองกุล Sep 2017

การดูแลผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ: ร่างกาย จิตใจและการเยียวยาทางกฎหมาย, อานนท์ จำลองกุล

Chulalongkorn Medical Journal

การล่วงละเมิดทางเพศเป็นปรากฏการณ์หนึ่งทางสังคม ซึ่งส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางสร้างความหวาดกลัว ตื่นตระหนก และรบกวนการใช้ชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก การดูแลผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศในอดีตเป็นการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบแยกส่วน มุ่งเน้นการรักษาและป้องกันโรคทางกาย ปัจจุบันการรักษาเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมทั้งทางด้านร่างกายจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ อย่างไรก็ตามการเยียวยาด้วยกระบวนการทางกฎหมายยังเป็นสิ่งที่ถูกละเลย เนื่องจากแพทย์จำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยในส่วนของแพทย์สิ้นสุดลงโดยปราศจากการติดตามผู้ป่วยไปในชั้นพิจารณาคดี และชั้นการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ส่วนทางฝั่งของกระบวนการยุติธรรมในอดีตนั้นมุ่งให้ความสำคัญกับการล่วงละเมิดทางเพศของผู้เสียหายที่มีเพศตรงข้ามกับผู้กระทำผิด โดยละเลยการกระทำความรุนแรงทางเพศระหว่างสามีกับภรรยา และผู้เสียหายที่มีเพศเดียวกันกับผู้กระทำผิดทั้งยังมุ่งเน้นการลงโทษผู้กระทำความผิดมากกว่าการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม และปรับพฤติกรรมของอาชญากร ต่อมาจึงได้มีการพัฒนากฎหมายให้ครอบคลุมถึงผู้เสียหายทุกกลุ่ม รวมทั้งมุ่งเน้นการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดมากยิ่งขึ้น บทความนี้จึงเป็นการรวบรวมความรู้ระหว่างการแพทย์และกฎหมาย เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงวิธีการดูแลผู้ป่วยถูกล่วงละเมิดทางเพศในด้านการตรวจร่างกายการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาแบบองค์รวม และการเยียวยาทางกฎหมาย เพื่อให้บุคลากรทางด้านสาธารณสุขและทางด้านกฎหมายมีความเข้าใจปัญหาการถูกล่วงละเมิดทางเพศอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น.


Triple-Negative Breast Cancer In Thai Patients: Experience In King Chulalongkorn Memorial Hospital, Napa Parinyanitikul, Voranuch Thanakit, Caroline Miranda, Poranee Laoitthi, Sopark Manasnayakorn, Tassapong Raiyawa, Virote Sriuranpong Sep 2017

Triple-Negative Breast Cancer In Thai Patients: Experience In King Chulalongkorn Memorial Hospital, Napa Parinyanitikul, Voranuch Thanakit, Caroline Miranda, Poranee Laoitthi, Sopark Manasnayakorn, Tassapong Raiyawa, Virote Sriuranpong

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Triple-negative breast cancer (TNBC) is defined by the lack of expressionof ER, PR and Her-2 receptors and exhibits aggressive behaviors andpoor clinical outcomes. Eighty percent of TNBCs are classified asbasal-like tumor and share clinical behaviors that are consistent with thissubtype of breast tumors.Objectives : To characterize the epidemiological features of triple-negative breastcancers (TNBC) occurring in Thai patients in terms of demographics andpathological hallmarks including the expression patterns of ER, PR,Her-2, CK5/6, CK17 and EGFR as well as clinical outcomes.Methods : In 166 TNBCs, adequate tissue samples were obtained from seventycases, and patient/tumor characteristics as well as the survival …


Category Change And Incidence Of Malignancy In Bosniak Category Ii, Iif And Iii Lesions At King Chulalongkorn Memorial Hospital (Kcmh), Aniwat Sriyook, Kewalee Sasiwimonphan Sep 2017

Category Change And Incidence Of Malignancy In Bosniak Category Ii, Iif And Iii Lesions At King Chulalongkorn Memorial Hospital (Kcmh), Aniwat Sriyook, Kewalee Sasiwimonphan

Chulalongkorn Medical Journal

Background : The widely-used classification for renal cysts is Bosniak classification whichis also accepted by urologists for diagnoses and management approachesto cystic renal masses. The recent studies show variable incidences ofmalignancy in Bosniak category II, IIF and III lesions. Even in Bosniakcategory II lesion which was previously believed to be benign which had noneed to follow-up has incidence of malignancy.Objective : To detect the incidence of malignancy, time and rates of progression incomplexity of Bosniak category II, IIF and III lesions at King ChulalongkornMemorial Hospital (KCMH).Methods : Searched the term “complex renal cyst”, “Bosniak”, “hemorrhagic cyst” and“complicated cyst” in computed …


เวลาที่มีคุณภาพในครอบครัวของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร, เอษรา วสุพันธ์รจิต, รัศมน กัลยาศิริ Sep 2017

เวลาที่มีคุณภาพในครอบครัวของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร, เอษรา วสุพันธ์รจิต, รัศมน กัลยาศิริ

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการวิจัย : การใช้เวลาที่มีคุณภาพในครอบครัว เป็นการใช้ช่วงเวลาระหว่างสมาชิกในครอบครัวที่ก่อให้เกิดผลดี มีความสำคัญต่อสัมพันธภาพในครอบครัว อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบการศึกษาเชิงปริมาณเกี่ยวกับการใช้เวลาที่มีคุณภาพของครอบครัวในประเทศไทยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการใช้เวลาที่มีคุณภาพในครอบครัว และค้นหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้เวลาที่มีคุณภาพในครอบครัวของนักเรียนวัยรุ่นวิธีการทำวิจัย : การวิจัยนี้จัดทำขึ้นระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2557โดยรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน348 ราย ผู้เข้าร่วมการวิจัยตอบแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดการใช้เวลาคุณภาพในครอบครัว ใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อบรรยายข้อมูลส่วนบุคคล ใช้สถิติไคสแควร์ และ Crude Odd Ratio (95%CI) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละตัวแปรกับการใช้เวลาที่มีคุณภาพในครอบครัวจากนั้นใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทำนายการใช้เวลาที่มีคุณภาพในครอบครัวในระดับต่ำผลการศึกษา : นักเรียนทั้งหมด 348 ราย พบว่ามีการใช้เวลาที่มีคุณภาพในครอบครัวระดับต่ำ กลาง สูง จำนวน 59 ราย (ร้อยละ 16.9) 170 ราย(ร้อยละ 48.9) และ 119 ราย (ร้อยละ 34.2) ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ พบว่าตัวแปรที่มีความทำนายความเสี่ยงการใช้เวลาที่มีคุณภาพในระดับต่ำ ได้แก่ ระดับผลการเรียนเฉลี่ยที่ต่ำ และสถานภาพสมรสระหว่างบิดากับมารดาเป็นแบบหย่าร้างหรือแยกกันอยู่สรุป : จากการวิจัย พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่มีคะแนนการใช้เวลาที่มีคุณภาพในครอบครัวอยู่ในระดับปานกลางและสูง เนื่องจากนักเรียนที่มีผู้ปกครองหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ มีการใช้เวลาที่มีคุณภาพในครอบครัวระดับต่ำ จึงควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองที่เลี้ยงบุตรคนเดียวได้เรียนรู้และจัดให้มีช่วงเวลาที่มีคุณภาพในครอบครัวให้มากขึ้นการสนับสนุนทางสังคมเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อช่วยเหลือผู้ปกครองเลี้ยงเดี่ยวให้สามารถจัดสรรเวลาที่มีคุณภาพสำหรับบุตรได้.


Continuous Glucose Dynamics Monitoring In Diabetic Patients With Peritoneal Dialysis, Somporn Wongraoprasert, Talerngsak Karnjanabuch, Napat Leeaphorn, Kuakoon Piyachomkwan, Sompongse Suwanwalaikorn, Somchai Eiam-Ong, Krit Pongpirul Jul 2017

Continuous Glucose Dynamics Monitoring In Diabetic Patients With Peritoneal Dialysis, Somporn Wongraoprasert, Talerngsak Karnjanabuch, Napat Leeaphorn, Kuakoon Piyachomkwan, Sompongse Suwanwalaikorn, Somchai Eiam-Ong, Krit Pongpirul

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Glucose dynamics in patients on peritoneal dialysis (PD) is influencedby many factors.Objectives We evaluated the dynamics of interstitial fluid (ISF) glucose in diabeticpatients undergoing PD, controlled for caloric food intake, daily activities,and hypoglycemic agents.Methods : We studied all type-2 diabetic patients at the PD clinic of KingChulalongkorn Memorial Hospital between 2007 and 2008. They received1.5% or 4.25% glucose during continuous ambulatory peritoneal dialysis(CAPD 1.5% or 4.25%), or 1.5% glucose continuous cycling peritonealdialysis (CCPD 1.5%). Continuous glucose monitoring system andfinger-stick were used to assess ISF and blood glucose levels for72 hours, respectively. Sixteen patients (9 CAPD and 7 CCPD) …


Community Health Status Of Banpa Population: The Increasing Burden Of Heatlh Risks, Poranee Laoitthi Jul 2017

Community Health Status Of Banpa Population: The Increasing Burden Of Heatlh Risks, Poranee Laoitthi

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Population health survey is an important tool to better our understandabout health situation in community. It allows us to have comprehensivepicture of the risks and health outcomes of the population. With gooddesign, it can provide a good representation of community health includingsome additional dimensions not commonly measured such as social capital.Objective : To understand health outcomes and health risks in the population ofTambon Banpa, Kaeng Khoi district, Saraburi Province.Methods : Cross-sectional survey using cluster two-stage sampling method. Three of11 villages were randomly selected. In each village, proportionate samplesof households with head of household or representative of the householdage …


นิยามและปัจจัยของการไม่สามารถจำหน่ายผู้ป่วยในออกจากโรงพยาบาล โดยการทำกลุ่มโฟกัส, ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร, พรเลิศ ฉัตรแก้ว, ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์, ภรเอก มนัสวานิช, ทิพย์พร สงวนทรัพย์, นวรัตน์ มีถาวร, ชลิดา อุทัยเฉลิม Jul 2017

นิยามและปัจจัยของการไม่สามารถจำหน่ายผู้ป่วยในออกจากโรงพยาบาล โดยการทำกลุ่มโฟกัส, ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร, พรเลิศ ฉัตรแก้ว, ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์, ภรเอก มนัสวานิช, ทิพย์พร สงวนทรัพย์, นวรัตน์ มีถาวร, ชลิดา อุทัยเฉลิม

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : การจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิและโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์มีความยุ่งยากซับซ้อน มีความยากลำบากในการจำหน่ายผู้ป่วย สังเกตได้จากปัญหาการนอนโรงพยาบาลนานวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจนิยามของ “การนอนโรงพยาบาลนานและภาวะจำหน่ายยาก” ตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะจำหน่ายยาก จากมุมมองของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลวิธีการทำวิจัย : การทำกลุ่มโฟกัส จำนวน 4 กลุ่มที่ประกอบด้วยบุคลากรทางการแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิแบบสหสาขาวิชาชีพ รวมทั้งสิ้น 37 ราย ข้อมูลจากการทำกลุ่มสัมภาษณ์ถูกนำมาวิเคราะห์และรวบรวมเป็นนิยามของการนอนโรงพยาบาลนานและภาวะจำหน่ายยาก ตลอดจนปัจจัยต่าง ๆที่เกี่ยวข้องทั้งทางบวก และลบต่อภาวะจำหน่ายยากผลการศึกษา : นิยามเรื่องการนอนโรงพยาบาลนาน หมายถึง ภาวะการนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมินานเกินกว่าที่ระบบการรักษากำหนดไว้ ด้วยเกณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ 1. ตาม diagnosis related groups (DRGs)2. ตามค่าเฉลี่ยของวันนอนของแต่ละหอผู้ป่วย 3. ค่าใช้จ่ายที่สูงเกินค่าเฉลี่ยของผู้ป่วยลักษณะเดียวกัน และ 4. มีคำสั่งจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลแล้วแต่ไม่สามารถจำหน่ายได้ ซึ่งในข้อสุดท้ายนี้ถือว่าเป็นนิยามของ “ภาวะจำหน่ายยาก” โดยปัจจัยที่มีผลต่อภาวะจำหน่ายยากที่ถูกกล่าวถึงมาก 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. ปัญหาค่าใช้จ่ายด้านการดูแลที่เพิ่มขึ้น 2. ความกลัวความไม่มั่นใจของผู้ดูแลในการดูแลต่อเนื่องและ 3. ความไม่พร้อมของที่อยู่อาศัย ส่วนปัจจัยที่มีผลลดภาวะจำหน่ายยาก 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. โปรแกรมและสถานที่เพื่อฝึกดูแลผู้ป่วยให้แก่ญาติผู้ดูแลที่ได้มาตรฐาน 2. การวางแผนจำหน่ายร่วมกับผู้ดูแลแบบองค์รวมตั้งแต่แรกรับผู้ป่วย และ 3. การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคองแก่ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลสรุป : การวิจัยนี้ได้ให้ข้อสรุปเรื่องนิยามของการนอนโรงพยาบาลนาน และภาวะจำหน่ายยาก ตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อภาวะจำหน่ายยาก จากมุมมองของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการอ้างอิงและวิจัยต่อไป.


Addison’S Disease Due To Disseminated Histoplasmosis: A Case Report, Krittaya Rattanakorn, Ratchathorn Panchaprateep Jul 2017

Addison’S Disease Due To Disseminated Histoplasmosis: A Case Report, Krittaya Rattanakorn, Ratchathorn Panchaprateep

Chulalongkorn Medical Journal

Addison’s disease, also known as primary adrenal insufficiency, can manifest asgeneralized mucocutaneous hyperpigmentation. The common causes of Addison’s disease indeveloping countries are mycobacterium and fungal infections. Histoplasma capsulatum is adimorphic fungi, which may disseminate to the adrenal glands and skin, causing Addison’sdisease and skin lesions such as macules, acneiform pustular eruptions, erythematous papules,nodules, keratotic plaques with or without crust and mucosal ulceration.We present a case of a 45-year-old male with Addisonian pigmentation for one yeartogether with multiple skin-colored flat top papules on both inguinal areas 3 months earlier.Cutaneous lesions were carefully physical examined might easily lead to the cause of …


การเปรียบเทียบความชุกของภาวะตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในผู้ที่มี และผู้ที่ไม่มีภาวะอ้วนลงพุงด้วยเครื่อง Controlled Attenuation Parameterwith Transient Elastography (Cap-Te), กุลวดี แหวนดวงเด่น, รุ่งฤดี ชัยธีรกิจ, เกศรินทร์ ถานะภิรมย์, กนกวรรณ ศรศิริ, สมบัติ ตรีเสริฐสุข Jul 2017

การเปรียบเทียบความชุกของภาวะตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในผู้ที่มี และผู้ที่ไม่มีภาวะอ้วนลงพุงด้วยเครื่อง Controlled Attenuation Parameterwith Transient Elastography (Cap-Te), กุลวดี แหวนดวงเด่น, รุ่งฤดี ชัยธีรกิจ, เกศรินทร์ ถานะภิรมย์, กนกวรรณ ศรศิริ, สมบัติ ตรีเสริฐสุข

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ภาวะตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วโลก โดยมีความชุกในวัยผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 20 - 40ปัจจุบันได้มีเครื่องมือซึ่งนำมาช่วยวินิจฉัยภาวะตับคั่งไขมันและพังผืดในตับได้ไวมากขึ้น คือ เครื่อง Controlled attenuation parameter withtransient elastography (CAP-TE) ทางผู้วิจัยจึงได้นำมาใช้ในงานวิจัยนี้วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความชุกของภาวะตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในกลุ่มบุคลากรของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่มีและไม่มีภาวะอ้วนลงพุง และเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะตับคั่งไขมัน อย่างมีนัยสำคัญที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์วิธีการทำวิจัย : งานวิจัยดำเนินการเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมพ.ศ. 2559 ถึงเดือนตุลาคมพ.ศ. 2559 โดยทำการสุ่มประชากรจากบุคลากรโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทั้งหมด 250 ราย หลัง จากให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยได้ผู้เข้าร่วมงานวิจัย 161 ราย โดยทำการเก็บข้อมูล ได้แก่ อายุ เพศน้ำหนัก ส่วนสูง รอบเอว รอบสะโพก ปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มต่อวันการมีโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง ระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร ระดับไขมันในเลือด ค่าการทำงานของตับผลเลือดไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี หลังจากนั้นทำการตรวจหาภาวะตับคั่งไขมันและปริมาณพังผืดในตับด้วยเครื่อง CAP-TEโดยวัดทั้งหมด 10 ครั้ง และแสดงค่ามัธยฐาน ซึ่งพังผืดตับถูกวัดออกมาในหน่วยกิโลปาสคาล และปริมาณไขมันในตับจะวัดออกมาในหน่วยเดซิเบล/เมตร ภาวะตับคั่งไขมันคือมีปริมาณไขมันในตับมากกว่าร้อยละ 10 แต่หากปริมาณไขมันในตับมากกว่าร้อยละ 33จะเรียกว่าภาวะตับคั่งไขมันอย่างมีนัยสำคัญ และหากมากกว่าร้อยละ66 เรียกว่าภาวะตับคั่งไขมันอย่างรุนแรง ส่วนภาวะอ้วน คือ การมีดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 25 กิโลกรัม/ตารางเมตรผลการศึกษา : มีผู้ที่มีภาวะตับคั่งไขมัน 99 รายจากผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 161 ราย(ร้อยละ 61.5) โดยพบว่ากลุ่มที่มีภาวะอ้วนลงพุงนั้นมีความชุกของภาวะตับคั่งไขมันสูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีภาวะอ้วนลงพุง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 97 และร้อยละ 52 ตามลำดับ, P < 0.001) โดยปัจจัยเสี่ยงของภาวะตับคั่งไขมันอย่างมีนัยสำคัญ คือ ภาวะอ้วน (OR 12.4,95% CI 5.8 - 26.4) รอบเอวที่เพิ่มขึ้น (OR 11.0, 95% CI 4.9 - 24.4)มีโรคความดันโลหิตสูง (OR 5.5, 95% CI 1.9 - 15.9) การมีระดับน้ำตาลหลังอดอาหารมากกว่า 100 มก./ดล. (OR 3.3, 95% CI 1.4 -7.7) ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (OR 8.7, 95% CI 3.1 - 24.6)ระดับโคเลสเตอรอลชนิดเอชดีแอลในเลือดต่ำ (OR 3.5, 95% CI 1.7 -7.1) รวมถึงมีภาวะอ้วนลงพุง (OR 26.6, 95% CI 7.6 - 92.6) เมื่อนำปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวไปทำ Multivariate analysis พบว่าตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ภาวะอ้วน (OR 3.6, 95% CI 1.3 - 9.9,P = 0.014) และค่าการทำงานของตับ (ALT)(OR 1.05, 95% CI 1.00 -1.09, P = 0.03) นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ที่มีภาวะพังผืดตับสูงอย่างมีนัยสำคัญ (มากกว่า 7 กิโลปาสคาล) ร้อยละ 3.8 และผู้ที่มีภาวะไขมันคั่งตับรุนแรง (ไขมันในตับมากกว่าร้อยละ 66) ร้อยละ 19.3สรุป : ความชุกของภาวะตับคั่งไขมันของประชากรตัวอย่างในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จากการวินิจฉัยด้วยเครื่อง CAP-TE คือ ร้อยละ 61.5โดยที่ความชุกของภาวะตับคั่งไขมันในกลุ่มที่มีภาวะอ้วนลงพุงสูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีภาวะอ้วนลงพุง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและพบความชุกของภาวะพังผืดตับร้อยละ 3.8.


การเปลี่ยนแปลงความยาวเทโลเมียร์ และจำนวนชุดไมโทคอนเดรียดีเอ็นเอ จากเซลล์ชิ้นเอ็นในโรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบ:การศึกษานำร่อง, สินสุดา เดชสุภา, วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ, วรวรรธน์ ลิ้มทองกุล, วิชาญ ยิ่งศักดิ์มงคล, ธันว์ อิทธิพานิชพงศ์, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก Jul 2017

การเปลี่ยนแปลงความยาวเทโลเมียร์ และจำนวนชุดไมโทคอนเดรียดีเอ็นเอ จากเซลล์ชิ้นเอ็นในโรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบ:การศึกษานำร่อง, สินสุดา เดชสุภา, วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ, วรวรรธน์ ลิ้มทองกุล, วิชาญ ยิ่งศักดิ์มงคล, ธันว์ อิทธิพานิชพงศ์, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : โรคกระดูกสันหลังเสื่อมพบมากในประเทศไทยและพบบ่อยในผู้สูงอายุโดยเฉพาะ โรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบ (lumbar spinal stenosis)ซึ่งเกิดจากการหนาตัวของชิ้นเอ็นช่องไขสันหลัง อัตราส่วนของอีลาสตินและคอลลาเจนลดลง และรวมถึงพังผืดจากอายุ ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาความยาวเทโลเมียร์ จำนวนชุด mitochondrial DNA (mtDNA) และ cellsenescence ในโรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบและยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกี่ยวข้องกับปัจจัยใดวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างความยาวเทโลเมียร์ จำนวนชุด mtDNAและทดสอบตัวชี้วัดการเกิดเซลล์ชรา (cell senescence) ในเซลล์ไฟโบบลาสจากชิ้นเอ็นช่องไขสันหลังระดับที่มีการหนาตัว และเซลล์ไฟโบบลาสจากชิ้นเอ็นช่องไขสันหลังระดับที่ไม่หนาตัว โดยเปรียบเทียบจากผู้ป่วยโรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบที่ได้รับการผ่าตัดขยายช่องไขสันหลังที่มีอายุแตกต่างกันวิธีการทำวิจัย : ทำการเพาะเลี้ยงเซลล์จากชิ้นเอ็นช่องไขสันหลังจากผู้ป่วยโรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบจำนวน 4 ราย อายุระหว่าง 61- 84 ปี ที่เข้ารับการผ่าตัดลดการกดทับไขสันหลังตามปกติ โดยในแต่ละรอบของการเลี้ยงเซลล์จากชิ้นเอ็นช่องไขสันหลังระดับที่หนาตัวและระดับที่ไม่หนาตัวทำการศึกษาความยาวเทโลเมียร์ จำนวนชุด mtDNA (mitochondrial DNAcopy number; mtDNAcn) โดยเทคนิค real-time polymerase chainreaction (PCR) และทดสอบตัวชี้วัดการเกิดเซลล์ชรา (cell senescence)โดยการย้อม senescence-associated β-galactosidase (SA-β-gal)ผลการศึกษา : เซลล์จากชิ้นเอ็นช่องไขสันหลังระดับที่หนาตัวและระดับที่ไม่หนาตัวมีความยาวเทโลเมียร์และจำนวนชุด mtDNA ลดลงในแต่ละรอบของการเลี้ยงเซลล์ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่อายุต่างกัน (61 และ 84 ปี)พบว่าความยาวเทโลเมียร์และจำนวนชุด mtDNA ของผู้ป่วยที่อายุมากมีความยาวเทโลเมียร์สั้นกว่าและจำนวนชุด mtDNA น้อยกว่าผู้ป่วยที่อายุน้อย นอกจากนี้เมื่อทำการศึกษา cell senescence เซลล์จากผู้ป่วยที่อายุแตกต่างกันผ่านไปในแต่ละรอบของการเลี้ยงเซลล์ พบว่าเซลล์ของผู้ป่วยที่มีอายุมาก (77 และ 84 ปี) มีร้อยละของการติดสี SA-β-gal ตั้งแต่การเลี้ยงเซลล์ในรอบแรก ซึ่งมากกว่าเซลล์ของผู้ป่วยที่มีอายุน้อย (61 และ66 ปี) และแต่ละรอบของการเลี้ยงเซลล์พบจำนวนร้อยละการติดสี SA-β-galเพิ่มจำนวนมากขึ้นในแต่ละรอบสรุป : การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความยาวเทโลเมียร์ จำนวนชุด mtDNA ของเซลล์จากชิ้นเอ็นช่องไขสันหลังลดลงตามจำนวนรอบของการเลี้ยงเซลล์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงลดลงตามอายุของผู้ป่วยและพยาธิสภาพของโรค ส่งผลให้เกิดการสะสมของ cell senescence มากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่มีต่อพยาธิกำเนิดของโรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบ.


หลวงเฉลิมคัมภีร์เวชช์ (ศ.นพ.เฉลิม พรมมาส): 70 ปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก Jul 2017

หลวงเฉลิมคัมภีร์เวชช์ (ศ.นพ.เฉลิม พรมมาส): 70 ปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก

Chulalongkorn Medical Journal

ณ โอกาสนี้ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอต้อนรับนิสิตแพทย์ใหม่ทุกคนด้วยความยินดียิ่ง ในฐานะที่เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในสถาบันแห่งนี้ และเป็นรุ่นที่เข้ามาพร้อมกับครบรอบ 70 ปี แห่งการก่อตั้ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงควรรู้รากฐานในอดีต โดยขอยกคำกล่าวต้อนรับบางส่วนของศาสตราจารย์นายแพทย์เฉลิม พรมมาส หรือ หลวงเฉลิม คัมภีร์เวชช์ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบและรายงานวงจรชีวิตของพยาธิตัวจี๊ดเป็นครั้งแรกของโลก และเคยดำรงตำแหน่งเป็นอดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเคยกล่าวกับบรรดาอาจารย์และนิสิตแพทย์ ในวันที่ 11 มิถุนยายน พ.ศ. 2490 ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปีก่อน ซึ่งเป็นวันแรกแห่งการเปิดเรียนของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์


Kidney Depth Calculation By Anterior And Posterior Renal Scintigraphy Using Attenuation – Related Techniques, Tanawat Sontrapornpol, Tawatchai Chaiwatanarat, Chiramet Kawinthammasak, Narongsak Kamklon, Rinlaphat Rattanamonrot Jul 2017

Kidney Depth Calculation By Anterior And Posterior Renal Scintigraphy Using Attenuation – Related Techniques, Tanawat Sontrapornpol, Tawatchai Chaiwatanarat, Chiramet Kawinthammasak, Narongsak Kamklon, Rinlaphat Rattanamonrot

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Attenuation correction is one of important steps in calculation of renalfunction, either glomerular filtration rate (GFR) or effective renal plasmaflow (ERPF), from nuclear medicine procedure. To do this correctly, depthof the kidney must be known. Generally, depth of the kidney can becalculated by some equation pre-installed in the machine’s computer usingpatient’s weight and height information. This technique will only result inestimated kidney depth values of the patients with the same equationderivedpopulation and will not be valid in patients from other populationsuch as kidney transplanted patients.Objective : To evaluate a more generalized and practical technique in calculation ofkidney depth …


กลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารและความเครียดของพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน, อนุสสรา ฤทธิ์วิชัย, ณภัควรรต บัวทอง Jul 2017

กลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารและความเครียดของพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน, อนุสสรา ฤทธิ์วิชัย, ณภัควรรต บัวทอง

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : กลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร (sick building syndrome; SBS) ถือเป็นกลุ่มอาการ ที่ไม่มีลักษณะเฉพาะของโรค และไม่สามารถระบุสาเหตุแน่ชัดได้ ซึ่งเกิดขึ้นกับกลุ่มคนทำงานในอาคารสำนักงาน โดยอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ มากมายที่เกิดขึ้นกับร่างกายนั้น มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและปัจจัยทางจิตสังคมในที่ทำงาน อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่าง SBS กับความเครียดของพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน ยังไม่ได้มีการศึกษาในประเทศไทยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของ SBS และความเครียดของพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงานและศึกษาความสัมพันธ์ของ SBS ความเครียดและปัจจัยใดที่เกี่ยวข้องกับการเกิด SBSวิธีการทำวิจัย : การศึกษานี้ได้รวบรวมข้อมูลจากพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน เอสเอ็มทาวเวอร์ จำนวน 273 คน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งมีทั้งสิ้น 4 ส่วน ประกอบด้วย 1) แบบ สอบถามข้อมูลทั่วไป2) ข้อมูลด้านสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในสถานที่ทำงาน3) ข้อมูลด้านกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร หรือ SBS 4) แบบสอบถามวัดความเครียด (Suanprung Stress Test-20, SPST-20) สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Chi-Square และ multiple logistic regressionผลการศึกษา : พบอัตราความชุกของ SBS ในพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน ร้อยละ 37.4 และพบอัตราความชุกของพนักงานที่มีความเครียดอยู่ในระดับน้อย ปานกลาง สูง และรุนแรง ร้อยละ 14.4,29.3, 44.3 และ 15.0 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติการถดถอยแบบพหุคูณ (multiple logistic regression) พบว่ามีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด SBS ของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ความเครียดระดับรุนแรง (OR = 4.90, 95%CI= 1.55 - 15.48) จำนวนชั่วโมงในการใช้คอมพิวเตอร์ที่มากกว่า 8 ชม. ต่อวัน (OR = …