Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Journal

2002

Aloe vera; fibroblast; kerationocyte

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของสารสกัดจากส่วนวุ้นและส่วนยางจาก ว่านหางจระเข้ต่อการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้างเส้นใย ที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อเหงือกและเซลล์สร้างเคอราตินในห้องปฏิบัติการ, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล, ดำรง ดำรงค์ศรี, นฤมล เจริญเวชธรรม, สุภีพันธุ์ บุณยรัตนสุนทร, สุรีรัตน์ อุดมกิจธนสาร Jan 2002

ผลของสารสกัดจากส่วนวุ้นและส่วนยางจาก ว่านหางจระเข้ต่อการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้างเส้นใย ที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อเหงือกและเซลล์สร้างเคอราตินในห้องปฏิบัติการ, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล, ดำรง ดำรงค์ศรี, นฤมล เจริญเวชธรรม, สุภีพันธุ์ บุณยรัตนสุนทร, สุรีรัตน์ อุดมกิจธนสาร

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากว่านหางจระเข้ที่มีต่อการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้างเส้นใยและเซลล์ สร้างเคอราติน CCL-25 วัสดุและวิธีการ เซลล์ถูกทดสอบด้วยสารสกัดจากส่วนวุ้นและส่วนยางที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีนต่าง ๆ กัน เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นจํานวนเซลล์จะถูกคํานวณโดยวิธีการย้อมเซลล์ด้วยสีเมทิลีนบลู และผลการทดลองจะถูกวิเคราะห์ทางสถิติแบบ One-way Analysis of Variance ผลการศึกษา สารสกัดจากส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีนตั้งแต่ 1-50 ไมโครกรัมต่อ มิลลิลิตร สามารถกระตุ้นการเพิ่มจํานวนเซลล์สร้างเส้นใยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติแต่ไม่มีผลต่อเซลล์สร้างเคอราติน ส่วนสารสกัดจากส่วนยางที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีน 20-400 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถกระตุ้นการเพิ่ม จํานวนเซลล์ของเซลล์สร้างเส้นใย ในขณะที่ความเข้มข้นของโปรตีนในสารสกัดจากส่วนยางของว่านหางจระเข้ที่ 20 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร กระตุ้นการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้างเคอราติน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุป สารสกัดจากส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีน 1-50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และสาร สกัดจากยางที่ระดับความเข้มข้น 20-400 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถกระตุ้นการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้างเส้นไย