Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

2011

Keyword

Articles 1 - 20 of 20

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของสารห้ามเลือดเฉพาะที่ต้นแบบ (ทันตะ-จุฬา 100) ต่อคุณสมบัติการดูดซึมน้ําการละลาย ความลึกในการบ่ม และความ ต้านแรงดัดโค้งของวัสดุอุดฟันเรซินคอมโพสิต ชนิดแข็งตัวด้วยแสง ตามมาตรฐานไอเอสโอ 4049 (2009), ประเวศ เสรีเชษฐพงษ์, วัชราภรณ์ ทัศจันทร์, ดุสิดา สหาวัตร, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล Sep 2011

ผลของสารห้ามเลือดเฉพาะที่ต้นแบบ (ทันตะ-จุฬา 100) ต่อคุณสมบัติการดูดซึมน้ําการละลาย ความลึกในการบ่ม และความ ต้านแรงดัดโค้งของวัสดุอุดฟันเรซินคอมโพสิต ชนิดแข็งตัวด้วยแสง ตามมาตรฐานไอเอสโอ 4049 (2009), ประเวศ เสรีเชษฐพงษ์, วัชราภรณ์ ทัศจันทร์, ดุสิดา สหาวัตร, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลของสารห้ามเลือดเฉพาะที่ต้นแบบ (ทันตะ-จุฬา 100) ต่อคุณสมบัติทางกายภาพ และคุณสมบัติทางกลบางประการของวัสดุอุดฟันเรซินคอมโพสิตชนิดแข็งตัวด้วยแสง วัสดุและวิธีการ วัสดุอุดฟันเรซินคอมโพสิตชนิดแข็งตัวด้วยแสง 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เอสเทไลท์ซิกมาฟิลเทก แซด 250 ฟิลเทก แซด 350 พรีไมส์ และ เททริก เอ็น ซีแรม นํามาเตรียมชิ้นงานตามมาตรฐานไอเอสโอ 4049 (2009) และทาด้วยสารห้ามเลือดเฉพาะที่ต้นแบบ ปริมาตร 100 ไมโครลิตร เป็นเวลา 2 นาที จากนั้นฉายแสงเพื่อให้เกิด ปฏิกิริยาเคมีอย่างสมบูรณ์ และนํามาทดสอบการละลาย การดูดซึมน้ํา ความลึกในการบ่ม และความต้านแรงดัด โค้ง เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ทาสารห้ามเลือดเฉพาะที่ ข้อมูลที่ได้จะแสดงในรูปค่าเฉลี่ย + ค่าเบี่ยงแบน มาตรฐาน ใช้โปรแกรมสถิติเอสพีเอสเอสเพื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางและเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ด้วยเทอร์คีย์ เอชเอสดี ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา สารห้ามเลือดเฉพาะที่ต้นแบบไม่มีผลต่อการละลายและการดูดซึมน้ําของวัสดุอุดฟันเรซินคอมโพสิตทั้งห้าผลิตภัณฑ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p > 0.05) สารห้ามเลือดเฉพาะที่ต้นแบบมีผลเพิ่มค่าความลึกในการ บ่มของวัสดุเอสเทไลท์ซิกมาและฟิลเทก แซด 250 และความต้านแรงดัดโค้งของวัสดุฟิลเทก แซด 250 และเททริก เอ็น ซีแรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยคุณสมบัติการละลาย การดูดซึมน้ํา ความลึกในการบ่ม และ ความต้านแรงดัดโค้งของวัสดุอุดฟันเรซินคอมโพสิตทั้งห้าผลิตภัณฑ์ ภายหลังการทาด้วยสารห้ามเลือดเฉพาะที่ ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานไอเอสโอ 4049 (2009) สรุป สารห้ามเลือดเฉพาะที่ต้นแบบไม่มีผลต่อคุณสมบัติทางกายภาพและทางกลของวัสดุอุดฟันเรซินคอมโพสิต เอสเทไลท์ ฟิลเทก แซด 250 ฟิลเทก แซด 350 พรีไมส์ และ เททริก เอ็น ซีแรม ในด้านการละลาย การดูดซึมน้ํา ความลึกในการบ่ม และความต้านแรงดัดโค้ง ตามมาตรฐานไอเอสโอ 4049 (2009) (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:213-22)


ผลของวิธีการทําความสะอาดเนื้อฟันที่ปนเปื้อนด้วยซีลเลอร์ชนิดที่มียูจินอลเป็นส่วนผสมโดยวิธีการวัดความแข็งแรงเฉือนระหว่างเรซินคอมโพสิตกับเนื้อฟัน, เฉลิมขวัญ ภู่วรวรรณ, รัตนาวดี ตันชนะประดิษฐ์, นราธิป ราชวัง Sep 2011

ผลของวิธีการทําความสะอาดเนื้อฟันที่ปนเปื้อนด้วยซีลเลอร์ชนิดที่มียูจินอลเป็นส่วนผสมโดยวิธีการวัดความแข็งแรงเฉือนระหว่างเรซินคอมโพสิตกับเนื้อฟัน, เฉลิมขวัญ ภู่วรวรรณ, รัตนาวดี ตันชนะประดิษฐ์, นราธิป ราชวัง

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงผลของซีลเลอร์อุดคลองรากฟันชนิดที่มียูจีนอลเป็นส่วนผสมต่อค่าความแข็งแรงเฉือน ของเรซินคอมโพสิตกับเนื้อฟันรวมทั้งเปรียบเทียบผลของวิธีการทําความสะอาดเนื้อฟันที่ปนเปื้อนด้วยซีลเลอร์โดยการเปรียบเทียบค่าความแข็งแรงเฉือนหลังจากการทําความสะอาดผิวฟันด้วยวิธีต่าง ๆ กัน 3 วิธี วัสดุและวิธีการ นําฟันกรามแท้ซี่ที่ 3 ของมนุษย์ที่ไม่มีรอยผุ จํานวน 50 ซี่ ที่ถูกถอนออกมาตัดบริเวณด้าน บดเคี้ยวจนลึกถึงชั้นเนื้อฟันให้ได้แนวระนาบ ฝังฟันลงในท่อพลาสติกด้วยอะคริลิกเรซิน โดยให้ผิวฟันด้านที่ถูกตัด อยู่ระดับเดียวกันและขนานกับขอบของท่อพลาสติก แบ่งฟันที่เตรียมเสร็จแล้วจํานวน 5 กลุ่ม ๆ ละ 10 ซี่ ด้วยวิธี สุ่มอย่างง่าย ผิวหน้าฟันของกลุ่มที่ 1 (กลุ่มควบคุมลบ) ไม่ถูกทาด้วยซีลเลอร์อุดคลองรากฟันชนิดที่มียูจินอลเป็น ส่วนผสม ส่วนในกลุ่มที่ 2-5 ที่ผิวหน้าของฟันถูกนํามาทาด้วยซีลเลอร์ และทําความสะอาดผิวฟันด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้ กลุ่มที่ 2 เช็ดออกด้วยสําลีแห้ง (กลุ่มควบคุมบวก) กลุ่มที่ 3 เช็ดออกด้วยสําลีชุบแอลกอฮอล์ความเข้มข้น ร้อยละ 70 กลุ่มที่ 4 เช็ดออกด้วยสําลีชุบกรดอะซิติกความเข้มข้นร้อยละ 5 และกลุ่มที่ 5 เช็ดออกด้วยสําลีชุบ แอซีโทน ภายหลังจากที่ทําความสะอาดผิวหน้าฟันแล้วจึงก่อเรซินคอมโพสิตบนผิวฟันให้เป็นทรงกระบอก (เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร สูง 2 มิลลิเมตร) โดยการใช้สารยึดติดระบบโททอลเอทช์ ฟันที่บูรณะเสร็จแล้ว นํามาทดสอบด้วยเครื่องทดสอบความแข็งแรงเฉือนที่ความเร็วหัวกด 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงเฉือนของกลุ่มที่ 4 มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ 18.59 เมกะพาสคาล ตามมาด้วย กลุ่มที่ 1 (17.98 เมกะพาสคาล) ในขณะที่กลุ่มที่ 2 ให้ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (14.42 เมกะพาสคาล) ผลการวิเคราะห์ ทางสถิติโดยการใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว พบว่ากลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 4 กลุ่ม ที่ 3 และกลุ่มที่ 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) สรุป การปนเปื้อนด้วยซีลเลอร์ชนิดที่มียูจินอลเป็นส่วนผสม และวิธีการทําความสะอาดเนื้อฟันแบบต่าง ๆ มีผลต่อค่าเฉลี่ยความแข็งแรงเฉือนโดยวิธีการทําความสะอาดเนื้อฟันที่ปนเปื้อนด้วยซีลเลอร์ชนิดที่มียูจินอลเป็น ส่วนผสมด้วยการเช็ดออกด้วยสําลีชุบกรดอะซิติกความเข้มข้นร้อยละ 5 เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:203-12)


การเปรียบเทียบประสิทธิผลการแปรงฟันหลังการให้ทันตสุขศึกษาโดยการสอนของนักศึกษาทันตแพทย์กับการใช้สื่อโสตทัศน์ในนักเรียนชั้นประถมศึกษา, อรอุมา อังวราวงศ์, ศิริพร วังศรี, โศภิตา เรืองเจริญ, สาวิตรี ขนายกลาง, อ็อบศรา เนือยทอง Sep 2011

การเปรียบเทียบประสิทธิผลการแปรงฟันหลังการให้ทันตสุขศึกษาโดยการสอนของนักศึกษาทันตแพทย์กับการใช้สื่อโสตทัศน์ในนักเรียนชั้นประถมศึกษา, อรอุมา อังวราวงศ์, ศิริพร วังศรี, โศภิตา เรืองเจริญ, สาวิตรี ขนายกลาง, อ็อบศรา เนือยทอง

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการแปรงฟันหลังการให้ทันตสุขศึกษาโดยการสอนของนักศึกษา ทันตแพทย์ และการใช้สื่อโสตทัศน์ในนักเรียนชั้นประถมศึกษา วัสดุและวิธีการ เด็กนักเรียนจํานวน 160 คน อายุ 10-12 ปี โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามเพศ ระดับชั้นเรียน และผลการเรียนเฉลี่ย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่ได้รับทันตสุขศึกษา กลุ่มที่ได้รับทันตสุขศึกษาโดยนักศึกษาทันตแพทย์ และกลุ่มที่ได้รับทันตสุขศึกษาโดยสื่อโสตทัศน์ การประเมิน ประสิทธิผลการแปรงฟันโดยทดสอบความรู้และวัดค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ก่อนและหลังให้ทันตสุขศึกษา โดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยผลต่างคะแนนความรู้และค่าเฉลี่ยผลต่างดัชนีคราบจุลินทรีย์ก่อนและหลังได้รับทันตสุขศึกษา ในกลุ่มศึกษาทั้ง 3 กลุ่ม ด้วยสถิติทดสอบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา ภายหลังการให้ทันตสุขศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยผลต่างคะแนนความรู้และค่าเฉลี่ยผลต่างดัชนีคราบจุลินทรีย์ก่อนและหลังได้รับทันตสุขศึกษาในกลุ่มศึกษาทั้ง 3 กลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.01, p < 0.01 ตามลําดับ) โดยพบว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับทันตสุขศึกษามีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ กับกลุ่มที่ได้รับทันตสุขศึกษา และพบว่าในระหว่างกลุ่มที่ได้รับทันตสุขศึกษาโดยนักศึกษาทันตแพทย์ และโดยสื่อโสตทัศน์ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สรุป การเปรียบเทียบประสิทธิผลการแปรงฟันหลังการให้ทันตสุขศึกษาโดยนักศึกษาทันตแพทย์ และโดยสื่อโสตทัศน์ในนักเรียนประถมศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติทั้งในด้านความรู้และค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ ดังนั้นอาจจะนําเอาสื่อโสตทัศน์ไปประยุกต์ใช้ในการให้ทันตสุขศึกษาแทนทันตบุคลากรได้ (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:187-92)


การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการใช้แปรงสีฟัน ไฟฟ้ากับแปรงสีฟันธรรมดาต่อการลดการเกิดเหงือกอักเสบและกําจัดคราบจุลินทรีย์ในเด็กอายุ 7-10 ปี, อรอุมา อังวราวงศ์, วรานุช ปิติพัฒน์, มนัสนันท์ ตั้งวงศ์ถาวรกิจ, วิทวัฒน์ ราชครุฑ Sep 2011

การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการใช้แปรงสีฟัน ไฟฟ้ากับแปรงสีฟันธรรมดาต่อการลดการเกิดเหงือกอักเสบและกําจัดคราบจุลินทรีย์ในเด็กอายุ 7-10 ปี, อรอุมา อังวราวงศ์, วรานุช ปิติพัฒน์, มนัสนันท์ ตั้งวงศ์ถาวรกิจ, วิทวัฒน์ ราชครุฑ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการใช้แปรงสีฟันไฟฟ้ากับแปรงสีฟันธรรมดาในการลดการเกิด เหงือกอักเสบและกําจัดคราบจุลินทรีย์ในช่วงระยะเวลา 3 เดือน วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มควบคุมแบบสุ่มในเด็กนักเรียนประถมศึกษา อายุระหว่าง 7-10 ปี จํานวน 70 คน แบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละเท่า ๆ กัน โดยการสุ่มแบบแบ่ง ชั้นตามระดับชั้นเรียนและเพศ กําหนดให้เด็กในกลุ่มทดลองใช้แปรงสีฟันไฟฟ้าชนิดการเคลื่อนที่แบบสั่นและหมุน และกลุ่มควบคุมใช้แปรงสีฟันธรรมดา วัดดัชนีเหงือกอักเสบของ Lie และ Silness และดัชนีคราบจุลินทรีย์พีเอชพี ของ Podshadley และ Haley ที่เริ่มต้นศึกษาและวัดซ้ําทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน ทดสอบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนเมื่อมีการวัดที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา เมื่อเวลา 3 เดือนพบว่า ค่าเฉลี่ยการลดลงของดัชนีเหงือกอักเสบจากค่าพื้นฐานระหว่างกลุ่ม ทดลองกับกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p = 0.19) สําหรับค่าเฉลี่ยการลดลงของดัชนี คราบจุลินทรีย์จากค่าพื้นฐานระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ (p = 0.73) เช่นเดียวกัน สรุป ประสิทธิผลในการลดการเกิดเหงือกอักเสบและกําจัดคราบจุลินทรีย์ของการใช้แปรงสีฟันไฟฟ้าไม่แตกต่างจากแปรงสีฟันธรรมดาที่ช่วงเวลา 3 เดือน (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:193-202)


การพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในงานทันตกรรม, ปิยะรัตน์ เฉลิมสุขสันต์, บวร ใจชอบ, อรพินท์ แก้วปลั่ง, ชาญชัย ปลื้มปิติวิริยะเวช Sep 2011

การพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในงานทันตกรรม, ปิยะรัตน์ เฉลิมสุขสันต์, บวร ใจชอบ, อรพินท์ แก้วปลั่ง, ชาญชัย ปลื้มปิติวิริยะเวช

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ นําเสนอและประเมินผลการทํางานของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ตกแต่งภาพฟัน และทํานายผลที่จะได้รับจากการบูรณะฟันโดยใช้การคํานวณหาขนาดและสัดส่วนของฟันหน้าบนจากจุดอ้างอิงทางกายวิภาคบนใบหน้าของผู้ป่วยเอง วัสดุและวิธีการ ประยุกต์ทฤษฎีที่ใช้ในการคํานวณขนาดฟันตัดกลางบน และทฤษฎีที่ใช้ในการแบ่งส่วนภาพฟันเพื่อใช้ในการแก้ไขปรับปรุงรูปดิจิทัลของฟัน มาเป็นหลักในการเขียนซอฟต์แวร์ในงานทันตกรรม จากนั้นได้ ทดลองใช้งานและประเมินผลในผู้ป่วยกลุ่มหนึ่ง ผลการศึกษา ซอฟต์แวร์สามารถคํานวณขนาดและสัดส่วนของฟันหน้าบนโดยใช้ข้อมูลจากจุดอ้างอิงบนใบหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถสร้างภาพฟันให้มีขนาดและสัดส่วนตามที่คํานวณได้ อีกทั้งยังสามารถทําการ เปลี่ยนแปลงขนาดและสัดส่วนของภาพฟัน รวมทั้งตัดและเคลื่อนที่ภาพฟันจากตําแหน่งเดิมได้ หลังการตกแต่งภาพที่ได้สูญเสียความคมชัดและจําเป็นต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของภาพให้ดีขึ้นด้วยกรรมวิธีการประมวลผลภาพ เมื่อทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างพบว่าซอฟต์แวร์นี้สามารถช่วยในการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและทันตแพทย์ได้ดีขึ้น สรุป ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ในการคํานวณขนาดซี่ฟัน ตกแต่งและปรับปรุงคุณภาพ ภาพจําลองฟันซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยทันตแพทย์วางแผนการรักษาทางทันตกรรมและช่วยให้เห็นภาพจริงสําหรับใช้ในการสื่อสารกับผู้ป่วยก่อนการรักษาจริง (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:155-68)


ผลของเครื่องดื่มชาเขียวและชาขาวต่อการติดสีของเรซินคอมโพสิต, สายใจ ตัณฑนุช, บุญเลิศ กู้เกียรติตระกูล, พิมพ์มาดา เกษรักษ์ Sep 2011

ผลของเครื่องดื่มชาเขียวและชาขาวต่อการติดสีของเรซินคอมโพสิต, สายใจ ตัณฑนุช, บุญเลิศ กู้เกียรติตระกูล, พิมพ์มาดา เกษรักษ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของเครื่องดื่มชาเขียวและชาขาวต่อการติดสีของเรซินคอมโพสิตชนิด นาโนฟิลล์ไฮบริด และไมโครฟิลล์ วัสดุและวิธีการ เตรียมชิ้นตัวอย่างเรซินคอมโพสิตผลิตภัณฑ์ละ 26 ชิ้น ได้แก่ ฟิลเทคแซด 350 และ พรีมีซา ซึ่ง เป็นกลุ่มนาโนฟิลล์ ฟิลเทคแซด 250 และพอยต์ 4 เป็นกลุ่มไฮบริด เคลียร์ฟิลเอสทีและดูราฟิล วีเอสเป็นกลุ่มไมโครฟิลล์ นําชิ้นตัวอย่าง 20 ชิ้นวัดสีด้วยเครื่องวัดค่าสีเพื่อเป็นข้อมูลก่อนการทดสอบ และนําชิ้นตัวอย่างเรซินคอมโพสิตกลุ่มละ 2 ชิ้นตรวจสภาพผิวก่อนทดสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดสองกราด จากนั้นแช่ชิ้นตัวอย่างที่เหลือ ทั้งหมดจํานวน 24 ชิ้นในเครื่องดื่มชา 5 วินาที สลับกับแช่น้ําลายเทียม 5 วินาที จนครบ 10 รอบ แล้วแช่ชิ้น ตัวอย่างในน้ําลายเทียมจนครบ 24 ชั่วโมง ทําซ้ําใหม่ในลักษณะเดิมจนครบ 5 รอบ วัดสีชิ้นตัวอย่าง 20 ชิ้นที่เคย วัดสีก่อนการแช่และตรวจสภาพผิวหลังทดสอบชิ้นตัวอย่างกลุ่มละ 2 ชิ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการทดสอบ ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ําและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบทูคีย์และการทดสอบแพร่ทีที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา เครื่องดื่มชาเขียวและชาขาวทําให้การติดสีของวัสดุเรซินคอมโพสิตเพิ่มขึ้นแต่ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (p > 0.05) ยกเว้นเรซินคอมโพสิตฟิลเทคแซด 350 เมื่อแช่ในเครื่องดื่มชาเขียวและดูราฟิลวีเอสเมื่อแช่ในเครื่อง ดื่มชาเขียวและชาขาวที่มีการติดสีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) สรุป เครื่องดื่มชาเขียวและชาขาวทําให้วัสดุเรซินคอมโพสิตติดสีเพิ่มขึ้น (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:169-80)


ประสิทธิภาพของการดื่มน้ําเปล่า น้ําชาเขียวหรือน้ําฝรั่ง ในการลดภาวะปากเหม็นชั่วคราวภายหลังการรับประทานกระเทียม, จินตนา ศิริชุมพันธ์, สุคนธา เจริญวิทย์, ธีศิษฏ์ ธีระมงคลกุล, ณัฐพงศ์ ชินโสภณทรัพย์ May 2011

ประสิทธิภาพของการดื่มน้ําเปล่า น้ําชาเขียวหรือน้ําฝรั่ง ในการลดภาวะปากเหม็นชั่วคราวภายหลังการรับประทานกระเทียม, จินตนา ศิริชุมพันธ์, สุคนธา เจริญวิทย์, ธีศิษฏ์ ธีระมงคลกุล, ณัฐพงศ์ ชินโสภณทรัพย์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการดื่มน้ําเปล่า น้ําชาเขียว หรือน้ําฝรั่ง ในการลดภาวะปากเหม็นชั่วคราวภายหลังการรับประทานกระเทียม วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่าง 16 คน (อายุ 20-22 ปี) ทดลองโดยการดื่มน้ําเปล่า น้ําชาเขียว หรือน้ําฝรั่ง ภายหลังการรับประทานกระเทียม โดยให้กลุ่มควบคุมรับประทานกระเทียมเพียงอย่างเดียว วัดความเข้มข้นของไอระเหยของสารประกอบซัลเฟอร์ในช่องปากด้วยเครื่องก๊าซโครมาโทกราฟฟี โดยวัดก่อนการรับประทานกระเทียม และวัดที่เวลา 0 และ 30 นาทีหลังการทดลอง คํานวณความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นหลังการทดลอง เปรียบเทียบความ เข้มข้นที่เพิ่มขึ้นระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมโดยใช้การทดสอบครัสคัล-วอลลิส ที่ระดับนัยสําคัญ .05 ผลการศึกษา ที่เวลา 0 นาทีหลังการทดลอง การดื่มน้ําเปล่า หรือน้ําฝรั่ง สามารถลดความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น ภายหลังการรับประทานกระเทียมได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ค่าพี่เท่ากับ 10008 และ 20033 ตามลําดับ) ที่ เวลา 30 นาทีหลังการทดลอง การดื่มน้ําชาเขียว หรือน้ําฝรั่ง สามารถลดความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นภายหลังการ รับประทานกระเทียมได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ค่าพี่เท่ากับ .0053 และ 0342 ตามลําดับ) สรุป การดื่มน้ําเปล่า น้ําชาเขียว หรือน้ําฝรั่งทันทีภายหลังการรับประทานกระเทียม มีประสิทธิภาพในการลดภาวะปากเหม็นชั่วคราวที่เกิดจากการรับประทานกระเทียม (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:129-140)


ความแข็งแรงดัดขวางสองแกนของวัสดุเซรามิกชนิดเซอร์โคเนียที่อัตราส่วนคอร์ต่อวีเนียร์ต่างกัน, ปรารมภ์ ซาลิมี, ธีรา ธรรมวาสี May 2011

ความแข็งแรงดัดขวางสองแกนของวัสดุเซรามิกชนิดเซอร์โคเนียที่อัตราส่วนคอร์ต่อวีเนียร์ต่างกัน, ปรารมภ์ ซาลิมี, ธีรา ธรรมวาสี

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบและเปรียบเทียบความแข็งแรงดัดขวางสองแกนและลักษณะการแตกหักของวัสดุเซอร์โคเนียเซรามิกที่มีอัตราส่วนความหนาของคอร์ต่อวีเนียร์พอร์ซเลนต่างกัน วัสดุและวิธีการ ทําการขึ้นรูปชิ้นตัวอย่างเซอร์โคเนียเซรามิก เป็นแผ่นกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 มิลลิเมตร หนา 1.2 มิลลิเมตร จํานวน 50 ชิ้น แบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ชิ้นตามอัตราส่วนความหนาของชั้นคอร์ต่อชั้น วีเนียร์ กลุ่มที่ 1 = 1:0 (คอร์ทั้งชิ้น) กลุ่มที่ 2 = 2:1 (คอร์ 0.8 มิลลิเมตร) กลุ่มที่ 3 = 1:1 (คอร์ 0.6 มิลลิเมตร) กลุ่มที่ 4 = 1:2 (คอร์ 0.4 มิลลิเมตร) และ กลุ่มที่ 5 = 0.1 (วีเนียร์ทั้งชิ้น) นําชิ้นตัวอย่างมาทดสอบและคํานวณ หาค่าความแข็งแรงดัดขวางสองแกน ตามมาตรฐาน ISO 6872 ปี ค.ศ. 1995 โดยใช้เครื่องทดสอบสากลที่ ความเร็วหัวกด 1 มิลลิเมตรต่อนาที จนชิ้นตัวอย่างแตก ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงดัดขวางสองแกนและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มที่ 1 = 921.48 1 106.86 เมกะพาสคัล กลุ่มที่ 2 = 1009.49 + 98.72 เมกะพาสคัล กลุ่มที่ 3 = 895.68 + 92.96 เมกะพาสคัล กลุ่มที่ 4 = 768.08 + 73.17 เมกะพาสคัล และกลุ่มที่ 5 = 70.49 + 8.54 …


แนวคิดโมโนบลอคในการบูรณะฟันที่ผ่าน การรักษาคลองรากฟันแล้ว, อัมพาภรณ์ นิธิประทีป, เฉลิมพล ลี้ไวโรจน์ May 2011

แนวคิดโมโนบลอคในการบูรณะฟันที่ผ่าน การรักษาคลองรากฟันแล้ว, อัมพาภรณ์ นิธิประทีป, เฉลิมพล ลี้ไวโรจน์

Chulalongkorn University Dental Journal

การบูรณะฟันภายหลังการรักษาคลองรากฟันเป็นสิ่งสําคัญต่อความสําเร็จของการรักษาคลองรากฟัน จากความก้าวหน้าในการพัฒนาวัสดุบูรณะจึงมีการนําเสนอแนวคิดโมโนบลอคมาใช้อธิบายการบูรณะฟันที่ผ่านการรักษาคลองรากฟันแล้วด้วยการใช้เดือยฟันเส้นใยสําเร็จรูป แนวคิดโมโนบลอค คือ ความพยายามให้เกิด การประสานเสมือนเป็นหน่วยเดียวกันทางเชิงกลของฟันและวัสดุบูรณะ ด้วยการใช้วัสดุบูรณะที่สามารถยึดกัน ได้ดีและยึดติดกับเนื้อฟันได้อย่างสมบูรณ์ มีค่ามอดูลัสของสภาพยืดหยุ่นใกล้เคียงเนื้อฟัน เมื่อมีแรงกระทําต่อฟัน วัสดุจะมีการบิดตัวไปพร้อมกับเนื้อฟันทําให้มีการกระจายแรงที่เท่า ๆ กัน บทความปริทัศน์นี้กล่าวถึงแนวคิด โมโนบลอคในฟันที่ผ่านการรักษาคลองรากฟันแล้ว ในแง่ของคําจํากัดความ การจําแนกประเภท ปัจจัยต่าง ๆ ที่มี ผลให้เกิดลักษณะโมโนบลอค รวมทั้งข้อจํากัดหรือปัญหาที่พบในแนวคิดโมโนบลอคนี้ (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:141-154)


การเลือกผู้ให้การรักษาของผู้ป่วยเท็มโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์เมื่อพิจารณาจากอาการ, วันทนี มุทิรางกูร, ศตวรรษ์ นวสัมฤทธิ์, หทัยรัตน์ เพิงรัตน์ May 2011

การเลือกผู้ให้การรักษาของผู้ป่วยเท็มโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์เมื่อพิจารณาจากอาการ, วันทนี มุทิรางกูร, ศตวรรษ์ นวสัมฤทธิ์, หทัยรัตน์ เพิงรัตน์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเลือกผู้ให้การรักษาของผู้ป่วยเท็มโพโรแมนติบิวลาร์ดิสออเดอร์ (ทีเอ็มดี) เมื่อพิจารณาจากอาการ วัสดุและวิธีการ ศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นที่เอ็มดี ณ ภาควิชาทันตกรรมบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2547-2550 จํานวน 301 คน โดยใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ไคสแควร์ ผลการศึกษา มีแบบสอบถามตอบกลับที่มีข้อมูลเพียงพอจากผู้ป่วย 151 คน เป็นชาย 32 คน หญิง 119 คน อายุเฉลี่ย 37.97 ปี ผู้ป่วยเหล่านี้มีอาการที่หลากหลาย และผู้ป่วยจํานวนมากมีอาการมากกว่าหนึ่งอย่าง ผู้ป่วย เกือบทุกคนได้รับการส่งต่อหรือแนะนํา ซึ่งร้อยละ 29.8 เคยได้รับการรักษามาก่อน ในขณะที่ประมาณร้อยละ 10 แจ้งว่า ได้รับการส่งต่อหรือคําแนะนําให้มารับการรักษาจากแพทย์ ผู้ป่วยจะเลือกรับการรักษาจากทันตแพทย์ หรือแพทย์ขึ้นอยู่กับรูปแบบของอาการที่ปรากฏอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) โดยผู้ป่วยจะเลือกพบทันตแพทย์ เมื่อมีอาการที่เกี่ยวข้องกับช่องปาก ขากรรไกร ได้แก่ เคี้ยวอาหารแล้วเจ็บปวดฟัน-ขากรรไกร รู้สึกกัดสบฟัน เปลี่ยนแปลง หรืออ้าปากได้จํากัด และจะเลือกพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอาการอื่น ๆ ได้แก่ อาการปวดศีรษะและ มีเสียงในหู สรุป ที่เอ็มดีเป็นปัญหาทางคลินิกที่มีความหลากหลาย ลักษณะอาการมีความสําคัญต่อผู้ป่วยในการเลือกผู้ให้ การรักษา การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเรื่องที่เอ็มดีจึงน่าจะเป็นประโยชน์ (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:109-116)


ความแข็งผิวของเรซินซีเมนต์ชนิดบ่มตัวด้วย แสงภายใต้ชิ้นงานเซรามิกชนิดต่างๆ, พิมพ์มาดา เกษรักษ์, เฉลิมพล ไวโรจน์ May 2011

ความแข็งผิวของเรซินซีเมนต์ชนิดบ่มตัวด้วย แสงภายใต้ชิ้นงานเซรามิกชนิดต่างๆ, พิมพ์มาดา เกษรักษ์, เฉลิมพล ไวโรจน์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่าความแข็งผิวของเรซินซีเมนต์ชนิดบ่มตัวด้วยแสง 2 ผลิตภัณฑ์ ที่บ่มตัวภายใต้ชิ้นงาน เซรามิกชนิดต่างๆ วัสดุและวิธีการ เตรียมชิ้นงานเซรามิกไอพีเอสอีแมกซ์เพรส (Ivoclar Vivadent, Liechtenstein) ชนิดความ โปร่งแสงสูงและชนิดความทึบแสงสูง และเซรามิกเซอร์คอน (DeguDent, Hanau, Germany) ขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร หนา 0.5 1.0 1.5 และ 2.0 มิลลิเมตร จากนั้นเตรียมชิ้นตัวอย่างเรซินซีเมนต์ชนิดบ่มตัว ด้วยแสง 2 ผลิตภัณฑ์ คือ วาริโอลิงค์วีเนียร์ (Ivoclar Vivadent, Liechtenstein) และเน็กซัสทรี (Kerr Corporation, USA) โดยใช้กลุ่มควบคุม 2 กลุ่ม คือ ชิ้นตัวอย่างเรซินซีเมนต์ 2 ผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับแสงโดยตรง จากเครื่องฉายแสง กลุ่มทดลอง 24 กลุ่ม คือ ชิ้นตัวอย่างเรซินซีเมนต์ 2 ผลิตภัณฑ์ ที่บ่มตัวภายใต้ชิ้นงานเซรามิก 3 ชนิดที่มีความหนาต่าง ๆ ดังระบุข้างต้น หลังจากฉายแสงชิ้นตัวอย่างแล้ว เก็บชิ้นงานไว้ในตู้ควบคุมอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วจึงนํามาวัดความแข็งผิวด้วยเครื่องทดสอบความแข็งผิวแบบจุลภาค โดยใช้หัวกดนูปขนาดแรงกด 50 กรัม เป็นเวลา 15 วินาที 3 ตําแหน่งต่อ 1 ชิ้นตัวอย่าง แล้วหาค่าเฉลี่ยเป็น ค่าความแข็งผิวของชิ้นตัวอย่างนั้น นําค่าความแข็งที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนสามทางสถิติการทดสอบที และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา ค่าความแข็งผิวของเรซินซีเมนต์ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ที่บ่มตัวภายใต้ชิ้นงานเซรามิกชนิดต่าง ๆ มีความ แตกต่างจากค่าความแข็งผิวของเรซินซีเมนต์กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) ค่าความแข็งผิวของ เน็กซัสทรีมีค่ามากกว่าค่าความแข็งผิวของวาริโอลิงค์วีเนียร์อย่างมีนัยสําคัญในทุกกลุ่มทดสอบ (p < 0.05) สรุป ความแข็งผิวของเรซินซีเมนต์ภายใต้ชิ้นงานเซรามิกต่างชนิดและต่างความหนามีความแตกต่างกันความหนาของเซรามิกที่เพิ่มขึ้นทําให้ค่าความแข็งผิวของเรซินซีเมนต์ลดลง (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:87-98)


ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของไฟล์นิกเกิลไทเทเนียมแบบหมุนด้วยเครื่องในการรื้อกัตตาเปอร์ชาในคลองรากฟันที่โค้ง, สุนทรี เพชรรุ่งรัศมี, ปิยาณี พาณิชย์วิสัย May 2011

ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของไฟล์นิกเกิลไทเทเนียมแบบหมุนด้วยเครื่องในการรื้อกัตตาเปอร์ชาในคลองรากฟันที่โค้ง, สุนทรี เพชรรุ่งรัศมี, ปิยาณี พาณิชย์วิสัย

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการรื้อกัตตาเปอร์ชาในคลองรากโค้งด้วยไฟล์นิกเกิลไทเทเนียมแบบหมุนด้วยเครื่องร่วมกับยูคาลิปตอล และวิธีใช้ไฟล์ที่ใช้มือร่วมกับยูคาลิปตอล วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาในรากฟันด้านแก้มไกลกลางของฟันกรามบน 88 ซี่ ซึ่งมีมุมส่วนโค้งคลองรากฟัน 10-35 องศา ขยายคลองรากฟันด้วยเทคนิคมอดดีไฟด์สเต็ปแบคและอุดคลองรากฟันด้วยกัตตาเปอร์ชาและซิงค์ออกไซด์ ยูจินอลซิลเลอร์ หนึ่งสัปดาห์ต่อมารอกัตตาเปอร์ชาโดยใช้โพรไฟล์ร่วมกับยูคาลิปตอลในกลุ่มที่ 1 และไฟล์ชนิด เอชร่วมกับยูคาลิปตอลในกลุ่มที่ 2 ความปลอดภัยของการรื้อกัตตาเปอร์ชาประเมินจากการเบี่ยงเบนของคลอง รากฟันและปริมาณเนื้อฟันที่เสียไปหลังการรื้อกัตตาเปอร์ชา การเบี่ยงเบนของคลองรากฟันวัดจากผลต่างของมุม ส่วนโค้งคลองรากฟันก่อนและหลังการรื้อกัตตาเปอร์ชา ปริมาณเนื้อฟันที่เสียไปวัดจากผลต่างของสัดส่วนของพื้นที่ รากฟันต่อพื้นที่คลองรากฟันก่อนและหลังการรื้อกัตตาเปอร์ชา ประสิทธิภาพการรื้อกัตตาเปอร์ชาประเมินจากเวลาทั้งหมดที่ใช้รื้อกัตตาเปอร์ชาและความสะอาดของคลองรากฟันหลังรื้อกัตตาเปอร์ชา ทดสอบทางสถิติโดย ใช้การทดสอบของแมนวิทนีย์ ยู ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา โพรไฟล์ทําให้เสียเนื้อฟันในแนวแก้ม-ลิ้นมากกว่าไฟล์ชนิดเอชอย่างมีนัยสําคัญแต่ไม่มีความแตกต่าง ในแง่การเสียเนื้อฟันในแนวใกล้กลาง-ไกลกลาง อย่างไรก็ตามการเสียเนื้อฟันอยู่ในสัดส่วนน้อยกว่า 1/3 ของ ความกว้างรากฟัน โพรไฟล์รื้อกัตตาเปอร์ชาได้เร็วกว่าไฟล์ชนิดเอชอย่างมีนัยสําคัญ แต่ไม่มีความแตกต่างในแง่ ความสะอาดของคลองรากฟัน สรุป การใช้โพรไฟล์ร่วมกับยูคาลิปตอลสามารถรื้อกัตตาเปอร์ชาในคลองรากโค้งได้อย่างปลอดภัยและสามารถกําจัดกัตตาเปอร์ชาออกจากคลองรากฟันโค้งได้ ไม่แตกต่างกับไฟล์ที่ใช้มือร่วมกับยูคาลิปตอล แต่ใช้เวลาน้อยกว่าอย่างมีนัยสําคัญ (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:117-128)


การศึกษาการตกค้างของโครเมียมและนิกเกิลที่ฝังในกระดูก ภายหลังการเจาะกระดูกด้วยหัวเจาะรากฟันเทียม, อุมาพร วิมลกิตติพงศ์, สรรพัชญ์ นามะโน, สิทธิชัย ทัดศรี May 2011

การศึกษาการตกค้างของโครเมียมและนิกเกิลที่ฝังในกระดูก ภายหลังการเจาะกระดูกด้วยหัวเจาะรากฟันเทียม, อุมาพร วิมลกิตติพงศ์, สรรพัชญ์ นามะโน, สิทธิชัย ทัดศรี

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ศึกษาการตกค้างของโลหะโครเมียมและนิกเกิลในกระดูก เมื่อมีการใช้หัวเจาะรากฟันเทียมเป็น ครั้งที่ 1 ครั้งที 10 และครั้งที่ 20 วัสดุและวิธีการ การศึกษานี้ใช้ขากรรไกรล่างวัว 11 ขากรรไกร แต่ละขากรรไกรตัดเป็นกระดูกชิ้นทดสอบขนาด 8 x 8 x 12 ลูกบาศก์มิลลิเมตร จํานวน 21 ชิ้น สุ่ม 1 ชิ้นเป็นชิ้นกระดูกควบคุมที่ไม่มีการเจาะกระดูก กระดูกที่ เหลืออีก 20 ชิ้นสุ่มเลือกเพื่อเจาะกระดูกเป็นลําดับที่ 1 ถึง 20 การเจาะนั้นใช้หัวเจาะรากฟันเทียม 1 ชุด ต่อ 1 ขากรรไกร หัวเจาะรากฟันเทียม 1 ชุด ประกอบด้วยหัวเจาะ 3 ตัว คือ หัวเจาะเทปเปอร์ทิป เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร (บริษัทรีเพลสซีเลคโนเบลไบโอแคร์) หัวเจาะเทปเปอร์ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 มิลลิเมตร (บริษัท รีเพลสซีเลคโนเบลไบโอแคร์) และสุดท้ายใช้หัวเจาะรีมเมอร์ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.7 มิลลิเมตร (โครงการวิจัย พัฒนาผลิตรากเทียมและอุปกรณ์) ทําการเจาะกระดูกชิ้นทดสอบแต่ละชิ้นด้วยหัวเจาะรากฟันเทียม 3 ตัว ตาม ลําดับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง โดยมีการควบคุมแรงกด ความเร็วของเครื่องเจาะ และความลึกของหัวเจาะ ในกระดูกให้คงที่ วัดปริมาณโครเมียมและนิกเกิลที่ตกค้างในกระดูกด้วยเครื่องแกรไฟต์เฟคเนท อะตอมมิก แอบซอร์พชันสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ ในชิ้นกระดูกควบคุม ชิ้นกระดูกที่ถูกเจาะเป็นลําดับที่ 1 10 และ 20 เปรียบเทียบ ปริมาณโครเมียมและนิกเกิลที่ตกค้างด้วยสถิติครูสคัล วัลลิส ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา การใช้หัวเจาะรากฟันเทียมครั้งที่ 20 ทําให้เกิดการตกค้างของโครเมียมและนิกเกิลในกระดูกมากที่สุด การใช้หัวเจาะครั้งที่ 1 ทําให้เกิดการตกค้างของโครเมียมและนิกเกิลในกระดูกน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบปริมาณโลหะแยกตามชนิดพบว่าการตกค้างของโครเมียมจากการใช้หัวเจาะครั้งที่ 1 มีปริมาณน้อยกว่าการใช้หัวเจาะครั้งที่ 10 และ 20 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ …


ผลของการปนเปื้อนน้ําลายที่มีต่อความแข็งแรงของพันธะเฉือนปอกของวัสดุติดยึดทางทันตกรรมจัดฟันระหว่างแบร็กเกตและผิวฟัน, เอกชัย ฤกษ์พิทักษ์พาณิช, ไพบูลย์ เตชะเลิศไพศาล, ศุภมาศ ปริสัญโญดม, วาริณี ศรีมหาโชตะ, อิทธิศักดิ์ ดวงพัตรา Jan 2011

ผลของการปนเปื้อนน้ําลายที่มีต่อความแข็งแรงของพันธะเฉือนปอกของวัสดุติดยึดทางทันตกรรมจัดฟันระหว่างแบร็กเกตและผิวฟัน, เอกชัย ฤกษ์พิทักษ์พาณิช, ไพบูลย์ เตชะเลิศไพศาล, ศุภมาศ ปริสัญโญดม, วาริณี ศรีมหาโชตะ, อิทธิศักดิ์ ดวงพัตรา

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการปนเปื้อนน้ําลายที่มีต่อความแข็งแรงของพันธะเฉือน ปอกของวัสดุติดยึดทางทันตกรรมจัดฟันระหว่างแบร็กเกตและผิวฟัน วัสดุและวิธีการ เตรียมฟันกรามน้อยบนจํานวน 45 ปี แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 15 ปี เตรียมผิวฟันด้วยผงพัมมิซ และกรดฟอสฟอริก ล้างน้ําและเป่าแห้ง นําแบร็กเกตติดลงบนผิวฟันด้วยวัสดุติดยึดชนิดบ่มด้วยแสง ภายใต้ 3 เงื่อนไข กลุ่ม 1 ไม่มีการปนเปื้อนน้ําลาย กลุ่ม 2 มีการปนเปื้อนน้ําลายหลังการทาสารไพรเมอร์ กลุ่ม 3 มีการปนเปื้อน น้ําลายแต่เป่าแห้งก่อนทาสารไพรเมอร์เพื่อทําการยึดติด นําตัวอย่างทั้งหมดแช่น้ํากลั่นที่ 37 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมง วัดค่าความแข็งแรงของพันธะเฉือน ปอกด้วยเครื่องทดสอบสากลอินสตรอน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแข็งแรง ของพันธะเฉือน ปอกในแต่ละกลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์ทางสถิติค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และวัดค่าการ เหลืออยู่ของวัสดุติดยึดบนตัวฟันด้วยค่าดัชนีการเหลืออยู่ของวัสดุติดยึด และทดสอบโดยค่าสถิติไคสแควร์ ที่ระดับ ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของพันธะเฉือน ปอกของกลุ่ม 1 2 และ 3 เท่ากับ 15.4 7.1 และ 16.9 เมกะ ปาสคาลตามลําดับ ความแข็งแรงพันธะของกลุ่มที่ 2 น้อยกว่ากลุ่มที่ 1 และ 3 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ในกลุ่มที่ 2 พบว่ามีการยึดติดล้มเหลวก่อนการทดสอบจํานวน 6 ตัวจาก 15 ตัว ในขณะที่กลุ่มที่ 1 และ 3 ไม่พบการยึดติด ล้มเหลวเกิดขึ้นก่อนการทดสอบ สําหรับแบร็กเกตที่ไม่มีความล้มเหลวในกลุ่มที่ 2 พบว่าค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของ พันธะเฉือน ปอกเท่ากับ 11.9 เมกะปาสคาล ซึ่งไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ 1 และ 3 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วน ค่าดัชนีการเหลืออยู่ของวัสดุติดยึดที่มีคะแนน 4 และ 5 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีวัสดุติดยึดเหลือติดอยู่ที่ผิวฟันน้อยกว่าร้อยละ 10 …


ผลของการปรับสภาพพื้นผิวต่อลักษณะพื้นผิวของเดือยฟันชนิดเส้นใยควอตซ์ด้วยสารเคมี, ศิริพร อรุณประดิษฐ์กุล, อิศราวัลย์ บุญศิริ, กัลยา ยั่งยืน, กิจศิภรณ์ บุญอํานวย, ชุติมณฑน์ ฑีฆวาณิช Jan 2011

ผลของการปรับสภาพพื้นผิวต่อลักษณะพื้นผิวของเดือยฟันชนิดเส้นใยควอตซ์ด้วยสารเคมี, ศิริพร อรุณประดิษฐ์กุล, อิศราวัลย์ บุญศิริ, กัลยา ยั่งยืน, กิจศิภรณ์ บุญอํานวย, ชุติมณฑน์ ฑีฆวาณิช

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะพื้นผิวของเดือยฟันชนิดเส้นใยควอตซ์ที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารเคมีชนิดต่างๆ วัสดุและวิธีการ นําเดือยฟันชนิดเส้นใยควอตซ์มาปรับสภาพพื้นผิวด้วยการแช่ในสารละลายชนิดต่าง ๆ ดังนี้ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 24% โซเดียมไฮโปคลอไรต์ 5.25% อีดีทีเอ 17% นาน 1 2 5 และ 10 นาที และกรด ไฮโดรฟลูออริก 4% นาน 15 30 และ 60 วินาที เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่งไม่มีการปรับสภาพพื้นผิวใด ๆ โดย แช่เดือยในน้ํากลั่นนาน 10 นาที และศึกษาลักษณะพื้นผิวด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการศึกษา พื้นผิวของเดือยฟันชนิดเส้นใยควอตซ์หลังการแช่ในไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 24% นาน 1 2 และ 5 นาที โซเดียมไฮโปคลอไรด์ 5.25% นาน 1 และ 2 นาที และอีดีทีเอ 17% นาน 1 และ 2 นาที พบว่าพื้น ผิวเดือยฟันไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม การปรับสภาพพื้นผิวด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 24% นาน 10 นาที โซเดียมไฮโปคลอไรต์ 5.25% นาน 5 และ 10 นาที และอีดีทีเอ 17% นาน 5 และ 10 นาที พบการทําลายอีพอก ซีเรซินเมทริกซ์ทั้งบริเวณพื้นผิวและระหว่างเส้นใยควอตซ์ ส่วนการปรับสภาพพื้นผิวด้วยกรดไฮโดรฟลูออริก 4% นาน 15 30 และ 60 วินาทีพบการทําลายทั้งอีพอกซีเรซินเมทริกซ์และเส้นใยควอตซ์ โดยการทําลายจะรุนแรง ขึ้นสัมพันธ์กับเวลาในการแช่ในสารละลายที่นานขึ้น สรุป การปรับสภาพพื้นผิวเดือยฟันชนิดเส้นใยควอตซ์ด้วยการแช่ในไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 24% นาน 10 นาที โซเดียมไฮโปคลอไรต์ 5.25% นาน …


ผลของซีพีพี-เอซีพีเพสต์และซีพีพี-เอซีเอฟพีเพสต์ต่อการลดลงของรอยด่างขาวจากฟันตกกระ, พุธรําไพ จันทรวราทิตย์, รุจิรา เพื่อนอัยกา Jan 2011

ผลของซีพีพี-เอซีพีเพสต์และซีพีพี-เอซีเอฟพีเพสต์ต่อการลดลงของรอยด่างขาวจากฟันตกกระ, พุธรําไพ จันทรวราทิตย์, รุจิรา เพื่อนอัยกา

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการลดลงของรอยด่างขาวจากฟันตกกระระดับน้อย (ระดับ 1-3 ของดัชนีพื้นผิว ของฟันตกกระ) บนฟันตัดถาวรซีกลางบน ภายหลังการใช้ซีพีพีเอชพีเพสต์ และซีพีพี เอซีเอฟพีเพสต์ ทารอย โรควันละ 2 ครั้งต่อเนื่องกัน 3 เดือน วัสดุและวิธีการ การวิจัยนี้ได้คัดเลือกฟันตัดถาวรซี่กลางบนขวาและซ้าย (#11, #21) ที่มีรอยด่างขาวที่เกิดจาก ฟันตกกระ 140 ซี่ จากเด็ก 70 คน อายุ 10-15 ปี อาศัยอยู่ในอําเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งมีระดับ ฟลูออไรด์ในน้ําประปา 0.541 ส่วนในล้านส่วน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 (กลุ่มควบคุม) ใช้เฉพาะยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000 ส่วนในล้านส่วนเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 และ 3 ทารอยโรคด้านใกล้ริม ฝีปากด้วยซีพีพีเอชพีเพสต์ และซีพีพี เอซีเอฟพีเพสต์ตามลําดับ ร่วมกับการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ถ่ายภาพ กลุ่มตัวอย่างในระบบดิจิทัลก่อนและหลัง 3 เดือนโดยควบคุมวิธีการถ่ายให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และวัดระดับ ความเข้มแสงของรอยโรคด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์อิมเมจ-โปร พลัส ใช้การทดสอบที่สําหรับกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่สัมพันธ์กันเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความเข้มแสงก่อนและหลังการใช้เพสต์ภายในกลุ่ม และ ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความเข้มแสงระหว่างกลุ่ม นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบ การเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงของฟันตกกระตามดัชนีพื้นผิวของฟันตกกระ ซึ่งประเมินโดยทันตแพทย์ จํานวน 5 คนที่ผ่านการทดสอบความแม่นยําแล้วโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบทางสถิติกระทําที่ระดับ นัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา ที่ระยะเวลา 3 เดือน ค่าเฉลี่ยความเข้มแสงของรอยโรคทุกกลุ่มลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p = 0.003, p < 0.001) อย่างไรก็ตามค่าความเข้มแสงระหว่างกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p = 0.194) และเมื่อเปรียบ เทียบการเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงของฟันตกกระจากการประเมินภาพถ่ายด้วยทันตแพทย์ พบว่าส่วนใหญ่ และไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม (p = 0.067)ไม่มีการเปลี่ยนแปลง สรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าที่ระยะเวลา 3 เดือน การลดลงของรอยด่างขาวจากฟันตกกระไม่แตกต่างกัน เมื่อใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000 ส่วนในล้านส่วนร่วมกับซีพีพี เอซีทีเพสต์ หรือซีพีพี เอซีเอฟพีเพสต์ และ ไม่แตกต่างจากการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000 ส่วนในล้านส่วนเพียงอย่างเดียว (ว ทันต จุฬาฯ 2554:34:31-44)


การเตรียมโพรงฟันด้านประชิดตามแนวทางทันตกรรมอนุรักษ์, กฤษฎา โตศักดิ์ภราเลิศ, รังสิมา สกุลณะมรรคา, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์ Jan 2011

การเตรียมโพรงฟันด้านประชิดตามแนวทางทันตกรรมอนุรักษ์, กฤษฎา โตศักดิ์ภราเลิศ, รังสิมา สกุลณะมรรคา, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์

Chulalongkorn University Dental Journal

แนวคิดทางทันตกรรมอนุรักษ์ได้พัฒนาจากความเข้าใจในกระบวนการเกิดโรคฟันผุและการพัฒนาของ วัสดุบูรณะฟันที่สามารถยึดติดกับฟัน นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงการออกแบบโพรงฟันเพื่อการบูรณะฟัน ที่ผ่านมา GV Black ได้เสนอการออกแบบโพรงฟันสําหรับอะมัลกัมซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่ยึดติดกับฟันทําให้ฟันมีความแข็งแรงลด ลง ดังนั้นจึงได้มีการเสนอแนวทางการออกแบบโพรงฟันใหม่ให้มีขนาดเล็กลง รักษาโครงสร้างของฟันได้มากขึ้น หรือชะลอความต้องการในการบูรณะโพรงฟันที่มีขนาดใหญ่ให้เกิดขึ้นช้าลง จุดประสงค์ของบทความปริทัศน์นี้ เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการเตรียมโพรงฟันด้านประชิดในแต่ละแบบ วิธีการเตรียมโพรงฟัน ปัจจัยที่มีผลต่อการบูรณะฟันและอายุการใช้งาน (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:65-74)


ความพอใจต่อความสวยงามของสัดส่วนทางมานุษยวิทยาที่แตกต่างกันของฟันหน้าบนโดยการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์, ปิยะรัตน์ เฉลิมสุขสันต์, อรพินท์ แก้วปลั่ง Jan 2011

ความพอใจต่อความสวยงามของสัดส่วนทางมานุษยวิทยาที่แตกต่างกันของฟันหน้าบนโดยการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์, ปิยะรัตน์ เฉลิมสุขสันต์, อรพินท์ แก้วปลั่ง

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพอใจของทันตแพทย์ไทยต่อความสวยงามของสัดส่วนทางมานุษยวิทยาที่แตกต่างกันของฟันหน้าบน วัสดุและวิธีการ โดยใช้ภาพจําลอง 6 ภาพ ที่ได้รับการคํานวณและตกแต่งจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งกําหนด ให้ขนาดความกว้างของฟันตัดกลางบนมีค่าเป็นร้อยละ 24 ของระยะระหว่างปุ่มฟันเขี้ยวบนทั้งสอง หรือมีค่า เป็น 1 ใน 6.6 ส่วนของระยะทางระหว่างจุดกึ่งกลางรูม่านตาดําทั้งสอง เมื่อได้ค่าขนาดความกว้างของฟันตัดกลาง เบนจากทั้งสองวิธีเป็นค่าเริ่มต้นแล้ว นําไปคํานวณขนาดความกว้างของฟันตัดข้างบนและฟันเขี้ยวบนจากการ ใช้สัดส่วนระหว่างความกว้างของฟันต่อฟันถัดไปที่ร้อยละ 62 70 และ 80 ภาพจําลองในแบบสอบถามถูกเรียง ลําดับโดยการสุ่มพร้อมกับการตอบแบบสอบถามความพอใจของทันตแพทย์ และลําดับของภาพจําลองคงที่ตลอดในการทําวิจัยในครั้งนี้ โดยที่ทันตแพทย์ผู้ดูให้คะแนนความพอใจโดยใช้สเกลคะแนนแบบเส้นตรง การวิเคราะห์ ข้อมูลคะแนนความพอใจ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และใช้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันโดยวิธีแรกใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคะแนนความพอใจเฉลี่ยของภาพและประสบการณ์ในการทํางานด้านทันตกรรมที่แตกต่างกัน ส่วนวิธีที่สองใช้ในการเปรียบเทียบคะแนนความพอใจ เฉลี่ยของเพศ ระดับการศึกษาและสาขาวิชาที่แตกต่าง โดยมีระดับนัยสําคัญที่ 0.05 ผลการศึกษา พบว่าภาพจําลองที่มีขนาดความกว้างของฟันตัดกลางบนที่มีค่าเป็นร้อยละ 24 ของระยะระหว่างปุ่มฟันเขี้ยวบนทั้งสอง และขนาดความกว้างของฟันต่อฟันถัดไปที่ร้อยละ 80 ได้รับคะแนนความพอใจจาก ทันตแพทย์ไทยสูงสุด โดยได้คะแนนความพอใจเฉลี่ย 69.4 + 16.0 ขนาดและสัดส่วนของฟันหน้าบนและเพศของทันตแพทย์ที่แตกต่างกัน มีผลต่อคะแนนความพอใจอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) แต่ระดับการศึกษา สาขาวิชา และประสบการณ์ในการทํางานด้านทันตกรรมไม่มีผลต่อคะแนนความพอใจ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p > 0.05) สรุป ความรู้ที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนําไปเป็นแนวทางเบื้องต้นในการวางแผนการรักษาทางทันตกรรมเพื่อความสวยงาม เพื่อช่วยตัดสินใจเลือกขนาดความกว้าง และสัดส่วนของฟันหน้าบน ในการบูรณะบริเวณดังกล่าวได้เพิ่มขึ้น (ว ทันต จุฬาฯ 2554;3419-20)


ความแข็งแรงดัดขวางของเรซินคอมโพสิตเสริมเส้นใยแก้วในประเทศและต่างประเทศและเส้นใยโพลีเอทิลีน, พิสัยศิษฏ์ ชัยจรินนท์, อิศราวัลย์ บุญศิริ Jan 2011

ความแข็งแรงดัดขวางของเรซินคอมโพสิตเสริมเส้นใยแก้วในประเทศและต่างประเทศและเส้นใยโพลีเอทิลีน, พิสัยศิษฏ์ ชัยจรินนท์, อิศราวัลย์ บุญศิริ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ศึกษาค่าความแข็งแรงดัดขวางของเรซินคอมโพสิตที่เสริมเส้นใย วัสดุและวิธีการ ชิ้นงานเรซินคอมโพสิต 140 ชิ้นขนาด 2 x 2 x 25 มิลลิเมตร แบ่งเป็น 7 กลุ่ม ๆ ละ 20 ชิ้น ได้แก่กลุ่มควบคุมที่ไม่เสริมเส้นใย กลุ่มที่เสริมเส้นใยแก้วในประเทศไทยมี 4 กลุ่ม ปริมาณร้อยละ 10 20 30 40 โดยปริมาตรตามลําดับ กลุ่มเสริมเส้นใยแก้วสําเร็จรูปจากต่างประเทศและกลุ่มเสริมเส้นใยโพลีเอทิลีน โดยแต่ละ กลุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย กลุ่มละ 10 ชิ้น แช่น้ํากลั่น 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 7 และ 30 วัน ทดสอบค่าความ แข็งแรงดัดขวางด้วยเครื่องทดสอบสากลรุ่น 8874 ความเร็วหัวกด 1 มิลลิเมตรต่อนาทีใช้สถิติทดสอบแบบที่วิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียวและการเปรียบเทียบพหุคูณ ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ผลการศึกษา กลุ่มเสริมเส้นใยมีความแข็งแรงดัดขวางสูงขึ้น กลุ่มแช่ในน้ํากลั่น 30 วัน มีค่าความแข็งแรงตัดขวาง ลดลง กลุ่มเสริมเส้นใยแก้วในประเทศไทยปริมาณร้อยละ 30 โดยปริมาตร มีค่าความแข็งแรงดัดขวางสูงสุด กลุ่มเสริมด้วยเส้นใยแก้วในประเทศไทยปริมาณร้อยละ 10 โดยปริมาตร มีค่าความแข็งแรงตัดขวางใกล้เคียงกับ กลุ่มเสริมด้วยเส้นใยแก้วสําเร็จรูปและกลุ่มเสริมด้วยเส้นใยโพลีเอทิลีน สรุป การเสริมเส้นใยปริมาณเหมาะสมช่วยให้ชิ้นงานแข็งแรงขึ้นเมื่อนําชิ้นงานแช่น้ํานานขึ้นทําให้ความแข็งแรงลดลง (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:45-54)


ผลของซีพีพี-เอซีพีเพสต์และฟลูออไรด์เจลต่อ ความแข็งระดับไมโครของผิวเคลือบฟันมนุษย์จากการสัมผัสกับเครื่องดื่มโคลา, อุษณีย์ กัลยาธิ, มุรธา พานิช, สุชิต พูลทอง Jan 2011

ผลของซีพีพี-เอซีพีเพสต์และฟลูออไรด์เจลต่อ ความแข็งระดับไมโครของผิวเคลือบฟันมนุษย์จากการสัมผัสกับเครื่องดื่มโคลา, อุษณีย์ กัลยาธิ, มุรธา พานิช, สุชิต พูลทอง

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของซีพีพีเอชพีเพสต์และฟลูออไรด์เจลในการป้องกันความแข็งระดับไมโครของผิวเคลือบฟันจากการสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลาและเพื่อเปรียบเทียบผลของน้ําลายเทียมร่วมกับซีพีพี เอซีพี เพสต์หรือฟลูออไรด์เจลในการป้องกันความแข็งระดับไมโครของผิวเคลือบฟันจากการสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลา วัสดุและวิธีการ เตรียมชิ้นตัวอย่างจากฟันตัดล่างของมนุษย์ที่ถูกถอนจํานวน 60 ปี ทําการสุ่มตัวอย่างโดยแบ่ง ออกเป็น 6 กลุ่มทดลองดังนี้ 1) ซีพีพีเอชพีเพสต์ร่วมกับน้ําปราศจากประจุ 2) ซีพีพีเอชพีเพสต์ร่วมกับน้ําลาย เทียม 3) น้ําลายเทียม 4) ฟลูออไรด์เจลร่วมกับน้ําปราศจากประจุ 5) ฟลูออไรด์เจลร่วมกับน้ําลายเทียม และ 6) น้ําปราศจากประจุ วัดค่าความแข็งของผิวเคลือบฟันด้านริมฝีปาก โดยกําหนดระยะห่างของรอยกดเท่ากับ 120 ไมโครเมตร ทําการกดด้วยหัวกดวิคเกอร์ส จํานวน 5 รอยกัดต่อการทดสอบแต่ละครั้ง โดยใช้เครื่องทดสอบความ แข็งระดับไมโคร ทําการกด 2 ช่วงเวลาต่อชิ้นตัวอย่าง คือ ก่อนการทดลองและหลังการสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลา นําค่าความแข็งที่ได้มาทดสอบด้วยสถิติแพร์แซมเปิล ที เทสต์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา หลังการสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลา ค่าความแข็งของเคลือบฟันมีค่าลดลงอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) โดยค่าความแข็งของเคลือบฟันของกลุ่มซีพีพี เอซีทีเพสต์ร่วมกับน้ําลายเทียมและกลุ่มฟลูออไรด์ร่วม กับน้ําลายเทียม มีค่ามากกว่าความแข็งของเคลือบฟันของกลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) สรุป ซีพีที-เอซีทีเพสต์และฟลูออไรด์เจลไม่สามารถป้องกันค่าความแข็งของเคลือบฟันจากการสัมผัสกับเครื่อง ดื่มโคลาได้ แต่ซีพีพี เอซีพีร่วมกับน้ําลายเทียมและฟลูออไรด์ร่วมกับน้ําลายเทียมสามารถลดความรุนแรงของการ สูญเสียแร่ธาตุได้ (ว ทันต จุฬาฯ 2554;34:21-30)