Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

The Thai Journal of Veterinary Medicine

1985

Articles 1 - 28 of 28

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Anthelmintic Activity Of Thiophanate Against Endoparasites In Chickens, Vichitr Sukhapesna Dec 1985

Anthelmintic Activity Of Thiophanate Against Endoparasites In Chickens, Vichitr Sukhapesna

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Anthelmintic activity of single doses of thiophanate at the rates of 70,100,200,300,400 and 500 milligrams per kilogram of body weight and continuous dose of thiophanate for 14 consecutive days at the rate of 10 milligrams per kilogram of body weight were determined by the critical test against endoparasites in 80 chickens. Thiophanate at a dose rate of 70 and 100 milligrams per kilogram was no effective in removing Ascaridia galli and Raillietina spp. Thiophanate at the dose rates of 200, 300, 400 and 500 milligrams per kilogram were 5.3, 75.1, 87.5 and 96.4 percent, respectively in removing A. galli. Whereas, …


เซลล์เลี้ยงของปลาช่อน, สุมิตรา วัฒโนดร, วิวัฒน์ ชวนใช้, วัฒนา วัฒนวิจารณ์ Dec 1985

เซลล์เลี้ยงของปลาช่อน, สุมิตรา วัฒโนดร, วิวัฒน์ ชวนใช้, วัฒนา วัฒนวิจารณ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ได้นำลูกปลาช่อนมาทําเป็นเซลล์เลี้ยง พบว่าเซลล์เจริญได้ดีที่ 26 - 28° C. มีลักษณะเป็น fibroblast มี microvilli ขนาดสั้นและยาวอยู่รอบเซลล์ ส่วนการศึกษา โครโมโซม พบว่าจำนวน diploid chromosome ของปลาช่อนเป็น 2n=44


ประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อ 4 ชนิด ต่อเชื้อ Aeromonas Hydrophila, เกรียงศักดิ์ สายธนู Dec 1985

ประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อ 4 ชนิด ต่อเชื้อ Aeromonas Hydrophila, เกรียงศักดิ์ สายธนู

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Aeromonas hydrophila เป็นเชื้อโรคสำคัญชนิดหนึ่งที่ทําให้เกิดโรคในปลา และเชื้อนี้อาจทําให้เกิดโรคในคน จึงได้ทําการศึกษาถึงประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อ 4 ชนิด ซึ่ง นิยมใช้ในโรงพยาบาลว่าจะฆ่าเชื้อนี้ได้หรือไม่ จากผลการศึกษา โดยทดลองที่ความเป็น กรด-ด่าง 7.2 อุณหภูมิ 28 + 1°ซ. พบว่า เอทิล แอลกอฮอ 20 - 95% สามารถฆ่าเชื้อที่ทดสอบจำนวน 15 สเตรน ได้ภายใน 2 1/2 นาที ในสภาพการทดสอบเดียวกันนี้ Povidone-iodine ขนาดความเข้มข้น 1 : 2,500 Chlorhexidine และ Cetrimide ขนาดความเขมขน 1 : 4,000 สามารถ ฆ่าเชื้อได้หมดภายในเวลาเดียวกัน สำหรับ Chlorhexidine ขนาดความเข้มข้น 1 : 1,000 ซึ่งเป็นความเข้มข้นสูงสุดที่ทําการทดสอบสามารถฆ่าเชื้อนี้ได้ 11 สเตรน ภายในเวลา 2 1/1 นาที ผลการศึกษาว่าระดับความเข้มข้นที่แนะนำให้ใช้ มีประสิทธิภาพเพียงพอในการ ฆ่าเชื้อ Aeromonas hydrophila


Russell's Viper Venom-Induced Depolarization In The Proximal Tubule Of Triturus Kidney, Narongsak Chaiybutr, Visith Sitprija, Nobuhiro Sugino, Takeshi Hoshi Dec 1985

Russell's Viper Venom-Induced Depolarization In The Proximal Tubule Of Triturus Kidney, Narongsak Chaiybutr, Visith Sitprija, Nobuhiro Sugino, Takeshi Hoshi

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Changes of peritubular transmembrane potential were recorded in the Triturus proximal tubular cell during envenomation with the Russell's viper. The action of the venom on transmembrane potential was found to be concentration dependent. The results were compared with actions of 2 - 4 dinitrophenol (DNP). on the depolarization of cell membrane and were discussed in the role of venom on the mechanism of transport of ions across the cell membrane.


การสำรวจหาภูมิคุ้มกันต่อโรค Japanese Encephalitis (Je), ชัยวัธน์ วิทูระกูล, วงศ์ขวัญ จิตนุพงศ์, อนุชิต ศักดาศิริสถาพร, วัลลภา พรสุขสว่าง, นิรัติศัย สิงหสันติ Dec 1985

การสำรวจหาภูมิคุ้มกันต่อโรค Japanese Encephalitis (Je), ชัยวัธน์ วิทูระกูล, วงศ์ขวัญ จิตนุพงศ์, อนุชิต ศักดาศิริสถาพร, วัลลภา พรสุขสว่าง, นิรัติศัย สิงหสันติ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

โรค Japanese encephalitis เป็นโรคซึ่งเกิดในคน โดยมีสุกรเป็น host และยุงเป็น vector สุกรที่ได้รับเชื้อ Japanese encephalitis virus จะไม่แสดง อาการป่วยให้เห็น นอกจากในพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ซึ่งทําให้ผสมไม่ติด แท้ง ลูกสุกรตายขณะ คลอดหรือคลอดออกมาไม่แข็งแรง ศูนย์วินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ภาคเหนือ ได้ทําการเก็บ ตัวอย่างซีรั่มสุกรในจังหวัดภาคเหนือ โดยเก็บจากสุกรในช่วงอายุต่าง ๆ กัน น่ามาทําการ ตรวจหาภูมิคุ้มกันที่มีต่อโรค Japanese encephalitis โดยวิธี Hemagglutination inhibition test พบว่าสุกรมี positive antibody ต่อโรค Japanese encephalitis ในสุกรอายุต่ำกว่า 6 เดือน 79.16% และในสุกรอายุสูงกว่า 6 เดือนขึ้นไป 100%


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Dec 1985

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


การสำรวจและการศึกษาหนอนพยาธิในเป็ดและไก่, สุภรณ์ โพธิ์เงิน Dec 1985

การสำรวจและการศึกษาหนอนพยาธิในเป็ดและไก่, สุภรณ์ โพธิ์เงิน

The Thai Journal of Veterinary Medicine

อวัยวะระบบทางเดินอาหารและหลอดลม รวมทั้ง bursa of fabricius ของเป็ด 69 ตัว และไก่ 133 ตัว จากจังหวัดนครปฐม ฉะเชิงเทรา ชลบุรี สระบุรี และกรุงเทพมหานคร นำมาสำรวจหาหนอดพยาธิทุกชนิด โดยวิธีเปิดผ่า แล้วแยกอวัยวะระบบทางเดินอาหารออกเป็นส่วน ๆ ใส่ลงในขวดปลาสติค แล้วเติมน้ำลงไป 2/3 ส่วน ปิดฝาให้แน่นเขย่าแรง ๆ เพื่อให้หนอนพยาธิที่เกาะติดอยู่ตามผนังลําไส้หลุดออกจากอวัยวะดังกล่าว ตัวเต็มวัยของพยาธิใบไม้และพยาธิตืดทุกตัวที่เก็บได้ เมื่อทําความสะอาดแล้วจะนำไปแช่ในน้ำยา เอ เอฟ เอ จากนั้นจึงนำไปย้อมด้วยคาร์มัน ส่วนพยาธิตัวกลมนั้นไม่มีการย้อมสี ผลของการสำรวจและการศึกษาพบหนอนพยาธิตัวกลม Ascaridia galli 64.35%, Heterakis gallinae 37.12%, Heterakis putaustralis 8.41%, Acuaria spiralis 12.87%, Acuaria hamulosa 1.98%, Tetrameres fissispina 31.68%, Gongylonema ingluvicola 17.82%, Capillaria obsignata 12.37%, Capillaria annulata 5.94%, Oxyspirura mansoni 2.47%, พยาธิตืด Raillietina tetragona และ R. echinobothrida 33.66%, Amoebotaenia sphenoides 1.98%, Dirochis sp. 0.99%, พยาธิใบไม้ Echinostoma revolutum 6.93%, Prosthogonimus pellucidus 5.94%, และ Tracheophilus sisowi 0.99% ในการสำรวจครั้งนี้พบหนอนพยาธิหลายชนิดที่ยังไม่มีรายงานว่าพบในประเทศไทยเลย คือ Heterakis putaustralis, Capillaria annulata, Capillaria obsignata, Amcebotaenia sphenoides a …


รายงานสัตว์ป่วย : โรคพิษสุนัขบ้าในโคและกระบือ, สนอง ศรีนันทพันธ์, นิมิตร ไตรวนาธรรม, ผดุม ขุนจันทร์ Dec 1985

รายงานสัตว์ป่วย : โรคพิษสุนัขบ้าในโคและกระบือ, สนอง ศรีนันทพันธ์, นิมิตร ไตรวนาธรรม, ผดุม ขุนจันทร์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

โค 9 ตัว และกระบือ 1 ตัว อายุตั้งแต่ 19 วัน ถึง 6 ปี แสดงอาการ ไม่กิน อาหาร น้ำลายฟูมปาก ท้องผูก กระจกตาขุ่นตาแดงและอาการทางระบบประสาท ระยะเวลาป่วยเฉลี่ย 3.2 วัน สัตว์ทุกตัวให้ผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้า ด้วยการตรวจโดยวิธี Sellers' stain a FA technique


ประวัติการสอนวิชาสรีรวิทยา ในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต, N/A Sep 1985

ประวัติการสอนวิชาสรีรวิทยา ในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต, N/A

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


ระดับธัยรอยด์ฮอร์โมนและคอร์ติซอลในกระบือที่ส่งโรงฆ่าเปรียบเทียบกระบือที่เลี้ยงดูตามปกติ, ประภา ลอยเพ็ชร, ณรงศักดิ์ ชัยบุตร, อายุส พิชัยชาญณรงค์ Sep 1985

ระดับธัยรอยด์ฮอร์โมนและคอร์ติซอลในกระบือที่ส่งโรงฆ่าเปรียบเทียบกระบือที่เลี้ยงดูตามปกติ, ประภา ลอยเพ็ชร, ณรงศักดิ์ ชัยบุตร, อายุส พิชัยชาญณรงค์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การศึกษาระดับธัยรอยด์ฮอร์โมน (T4,T3) และคอร์ติซอลในซีรั่มของกระบือปกติ และกระบือที่ส่งโรงฆ่าสัตว์ พบว่ากระบือที่เลี้ยงดูตามปกติ ระดับ T4 และ T3 ในซีรั่มมีค่า เท่ากับ 57.5 ± 26.8 และ 1.06 ± 0.32 ng/ml. ตามลำดับ จะสูงกว่าค่า T4 และ T3 ของกระบือจากโรงฆ่าสัตว์ซึ่งมีค่าเท่ากับ 46.2 ± 17.1 และ 0.82 ± 0.47 ng/ml. ตามลำดับ ส่วนค่า T3/T4 ratio ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ระดับคอร์ติซอลของกระบือใน โรงฆ่าสัตว์มีค่า 10.59 ± 6.53 ng/ml. ซึ่งมีแนวโน้มต่ำกว่ากระบือปกติคือ 12.70 ±5.43 ng/ml. ผลดังกล่าวแสดงว่ากระบือจากโรงฆ่าสัตว์อยู่ในภาวะเครียด มีการทํางานของต่อมธัยรอยด์และต่อมหมวกไตลดลง


ศาสตราจารย์ น.สพ. ดร. อายุส พิชัยชาญณรงค์, N/A Sep 1985

ศาสตราจารย์ น.สพ. ดร. อายุส พิชัยชาญณรงค์, N/A

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Sep 1985

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


การศึกษาทางโลหิตวิทยาของช้างเอเซียในภาคต่างๆ ของประเทศไทย (Hematological Studies Of Asiatic Elephants In Various Part Of Thailand), อายุส พิชัยชาญณรงค์, ปรีชา พวงคำ, ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร, ชอุ่ม คุณวุฒิ, เทอด เทศประทีป, ดำรงค์ ลีนานุรักษ์, ประภา ลอยเพ็ชร, วีรวงศ์ โกมลเมนะ, สมชาย ผลดีนานา, สุรเชษฐ์ อุษณกรกุล, ชนาญวัติ เทวกุล Sep 1985

การศึกษาทางโลหิตวิทยาของช้างเอเซียในภาคต่างๆ ของประเทศไทย (Hematological Studies Of Asiatic Elephants In Various Part Of Thailand), อายุส พิชัยชาญณรงค์, ปรีชา พวงคำ, ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร, ชอุ่ม คุณวุฒิ, เทอด เทศประทีป, ดำรงค์ ลีนานุรักษ์, ประภา ลอยเพ็ชร, วีรวงศ์ โกมลเมนะ, สมชาย ผลดีนานา, สุรเชษฐ์ อุษณกรกุล, ชนาญวัติ เทวกุล

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ผลของการศึกษาหาค่ามาตรฐานทางโลหิตวิทยาของช้างเอเชียที่กรุงเทพมหานคร สุรินทร์และลําปางนั้น ค่าเฉลี่ยของเวลาการแข็งตัวของโลหิตช้าง 56 เชือก เท่ากับ 5 นาที 24 วินาที ±1 นาที 59 วินาที สำหรับจำนวนเฉลี่ยของเม็ดโลหิตแดงช้าง 77 เชือก เท่ากับ 2,859,083 ± 534,729 เม็ด/ลบ.มม. ส่วนปริมาณฮีโมโกลบินเฉลี่ยของช้าง 3 จังหวัด จำนวน 77 เชือกหาได้ 10.4 ± 2.1 ก/100 มล. ปริมาตรเม็ดโลหิตแดงอัดแน่นเฉลี่ยของช้าง 59 เชือก มีค่า 32.75.1% ส่วนปริมาตรเม็ดโลหิตแดงโดยเฉลี่ยมีค่า 117.8 ลูกบาศก์ไมครอน ปริมาณฮีโมโกลบินในเม็ดโลหิตแดงโดยเฉลี่ย เท่ากับ 38.8 พิโคกรัมต่อเม็ด และความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดโลหิตแดงโดยเฉลี่ย เท่ากับ 32.9% ของเม็ดโลหิตแดง การตกตะกอนของเม็ดโลหิตแดงช้างเอเซียค่อนข้างเร็ว ค่าเฉลี่ยของช้าง 40 เชือก เท่ากับ 113.83±17.33 มม/1ชม. ส่วนค่าเฉลี่ยของจำนวนเม็ดโลหิตขาวของช้าง 69 เชือกมีค่า 15,035 ± 4,424 เม็ด/ลบ.มม. ผลการนับเม็ดโลหิตขาวแยกประเภทจากข้าง 74 เชือกมีดังนี้ นิวโตรฟิล 34.53 ± 9.44% อีโอซิโนฟิล 8.11 ± 5.78%, โมโนไซท์ 1.49 ± 1.74% เบโซฟิล 0.21 ± 0.57% และสัมโพไซท์ 55.57 ± 11.75% ซึ่งในจำนวน นี้มีชนิดที่นิวเคลียสมี 2 ก้อน อยู่ 22.13%


Effects Of The Antidiarrhoeal Drug (Phanquinone) On The Urinary Bladder Function Of The Experimental Dog, Narangsak Chaiyabutr, Khaekhai Chayavadhana, Sumate Chitthichanonte, Ted Tesaprateep, Prapa Loypetjra, Ayus Pichaicharnarong Sep 1985

Effects Of The Antidiarrhoeal Drug (Phanquinone) On The Urinary Bladder Function Of The Experimental Dog, Narangsak Chaiyabutr, Khaekhai Chayavadhana, Sumate Chitthichanonte, Ted Tesaprateep, Prapa Loypetjra, Ayus Pichaicharnarong

The Thai Journal of Veterinary Medicine

This experiment was conducted to study the effects of antidiarrheal drugs on kidney and urinary bladder functions of twelve adult male mongrel dogs. Animals were divided into three groups of four dogs each and given Clioquinol 600 mg (groups I), Phanquinone 60 mg (group II), and Phanquinone 60 mg + Clioquinol 600 mg (group III) once daily for 3 days. The study on kidney functions revealed that there were no significant changes in urine flow (V), glomerular filtration rate (GFR), renal plasma flow (RPF), and renal blood flow (RBF) as compared with premedicated period in all groups. Animals were given …


การศึกษาปรสิตของไก่พื้นเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, เชิดชัย รัตนเศรษฐากุล, สาทิส ผลภาค, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์, มาณวิกา ผลภาค, ดรุณี ทันตสุวรรณ์ Sep 1985

การศึกษาปรสิตของไก่พื้นเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, เชิดชัย รัตนเศรษฐากุล, สาทิส ผลภาค, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์, มาณวิกา ผลภาค, ดรุณี ทันตสุวรรณ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การตรวจหาปรลิตของไก่พื้นเมืองอายุประมาณ 3 - 4 เดือน จำนวน 67 ตัว จาก 7 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ขอนแก่น หนองคาย สกลนคร เลย อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และ สุรินทร์ ปรากฏผลดังนี้ พบปรสิตภายนอก Megninia sp. 59.70%, Echinophaga gallinacea 7.46%, Menopon sp. 4.48% และ Goniodes sp. 4.48% พบหนอนพยาธิตัวกลม Oxyspirura mansoni 82.09%, 82.09%, Ascaridia galli 77.61%, Heterakis gallinarum 64.18%, Gongylonema sp. 29.85%, Tetrameres sp. 16.42%, Capillaria obsignata 11.94% และ Acuaria sp. 8.96% พบหนอนพยาธิตืด Raillietina echinobothrida, Raillietina tetragona, Raillietina cesticillus, Hymenolepis sp. และ Amoebotaenia cuneata 88.06% พบหนอนพยาธิใบไม้ Prosthogonimus sp. 23.88% และ Echinostoma revolutum 1.49% พบปรสิตในเลือดเพียงชนิดเดียว คือ Leucocytozoon sabrazesi 31.34%


เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคช่องหูส่วนนอกอักเสบของสุนัขและผลของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ 12 ชนิด, อรวรรณ นวีภาพ, สมภพ นวีภาพ Jun 1985

เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคช่องหูส่วนนอกอักเสบของสุนัขและผลของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ 12 ชนิด, อรวรรณ นวีภาพ, สมภพ นวีภาพ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

สุนัข จำนวน 58 รายที่เจ้าของนำมารักษาด้วยโรคช่องหูส่วนนอกอักเสบ ที่โรงพยาบาลรักษาสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2526 ถึงเดือนตุลาคม 2527 เป็นสุนัขเพศผู้ 44 ราย ในจำนวนนี้พบว่าเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุทําให้เกิดโรคช่องหูส่วนนอกอักเสบของสุนัขมีอยู่หลายชนิด เกิดจากเชื้อ Pseudomonas aeruginosa 22 ราย (37.93%), Staphylococcus aureus 22 ราย (37.93%) Proteus spp. 7 ราย (12.06%), Streptococcus spp. 4 ราย (6.89%), Escherichia coli 2 ราย (3.44%) และ Corynebacterium bovis 1 ราย (1.72%) ลักษณะสีของหนองที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดต่าง ๆ จะมีสีแตกต่างกันตั้งแต่สีเหลืองอ่อนสีเหลืองครีม จนกระทั่งสีเขียวปนเหลือง ผลของการทดสอบความไวของเชื้อชนิดต่าง ๆ ที่แยกได้ต่อยาปฏิชีวนะ 12 ชนิด มีดังนี้คือ Gentamycin (91.44%), Polymyxin-B (82.89%), Chloramphenicol (54.38%), Sulfamethoxazole + trimethoprim (32.03%), Kanamycin (29.27%) Erythromycin (26.24%), Ampicillin (9.09%), Streptomycin (4.92%), Neomycin (2.27%), Nitrofurantoin (2.27%), Tetracyclin (1.51%), และ Penicillin (0.75%)


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Jun 1985

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


Efficacy Of Escherichia Coli (E. Coli) Bacterin For Contral Of Neonatal Diarrhea In Piglets : A Field Trial, Peerasak Chantaraprateep, Teeraparp Aroonpairoj, Piyalamporn Poomsuwan, Chainarong Lohachit, Boonchai Uavechanichkul Jun 1985

Efficacy Of Escherichia Coli (E. Coli) Bacterin For Contral Of Neonatal Diarrhea In Piglets : A Field Trial, Peerasak Chantaraprateep, Teeraparp Aroonpairoj, Piyalamporn Poomsuwan, Chainarong Lohachit, Boonchai Uavechanichkul

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Investigation on control of neonatal diarrhea in piglets by using E.coli bacterin was conducted. It was found that during the first 4 days of life, piglets born from vaccinated dams developed diarrhea lower significantly than those from unvaccinated dams (controls) both morbidity (mean) 8.7% VS 17.7% and mortality 0% VS 3.9%. Accumulative dead rate due to diarrhea through 10 days revealed that piglets born from dam received vaccination was also lower than the controls, (0% VS 3.9%).


เซลต่าง ๆในกระบวนการผลิตเชื้อตัวผู้ (กล้องจุลทัศน์ธรรมดาและกล้องจุลทัศน์อีเลคตรอน), สุมลยา กาญจนะพังคะ Jun 1985

เซลต่าง ๆในกระบวนการผลิตเชื้อตัวผู้ (กล้องจุลทัศน์ธรรมดาและกล้องจุลทัศน์อีเลคตรอน), สุมลยา กาญจนะพังคะ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การบ่งชี้ stages ในวงจรของ seminiferous epithelium โดยใช้กล้องจุลทัศน์ธรรมดาทําได้โดยนำเนื้อเยื่ออัณฑะไปทําปฏิกริยากับ periodic acid Schiff reagent (PAS) แล้วย้อมเนื้อเยื่อด้วย hematoxylin วิธีการนี้จะช่วยทําให้โครงสร้างที่ใช้ ในการบ่งชี้แต่ละ step ของ spermatogenic cells เช่น head cap และ acrosomic system ปรากฏชัด เมื่อเปรียบเทียบกับ spermatogenic cells ที่ศึกษาด้วยกล้องจุลทัศน์ อีเลคตรอนแบบ scanning และ transmission ปรากฏว่าการเตรียมเนื้อเยื่ออัณฑะเพื่อ ศึกษาด้วยกล้องจุลทัศน์ธรรมดาสะดวก, เสียค่าใช้จ่ายต่ําและสามารถเห็น spermatogenic wave ได้เป็นบริเวณกว้างกว่า อย่างไรก็ดีการศึกษา spermatogenic cells โดยใช้กล้องจุลทัศน์อีเลคตรอนทั้ง 2 แบบ แม้จะซับซ้อนและเสียค่าใช้จ่ายสูงแต่สามารถให้รายละเอียดใน ด้าน 3 มิติ และ ultrastructure ของ spermatogenic cells ได้ดีกว่ามาก


Short Communication : Renal Utrastructural Alteration In Ketone-Induced Potentiation Of Chloroform Toxicity, Sumolya Kanchanapangka Jun 1985

Short Communication : Renal Utrastructural Alteration In Ketone-Induced Potentiation Of Chloroform Toxicity, Sumolya Kanchanapangka

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


การทดลองใช้ Flumequine รักษาโรคในปลา, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์, เบญจมาศ วงศ์สัตยานนท์ Jun 1985

การทดลองใช้ Flumequine รักษาโรคในปลา, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์, เบญจมาศ วงศ์สัตยานนท์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จากการประยุกต์ใช้ขนาดของยา Flumequine ต่อเชื้อ Aeromonas salmonicida ในปลาเทร้าต่อปลาช่อนที่เป็นโรคระบาดในช่วงต้นปี พ.ศ. 2527 พบว่าการใช้ยา Flumequine ขนาด 12 มก. ต่อขนาดปลา 1 กก. กินติดต่อกัน 7 วัน จะช่วยให้ลดอัตราการตายของปลาช่อนอย่างน่าพอใจ นอกจากการให้โดยการกินแล้วการใช้ยาชนิดนี้ขนาด 10 ppm ละลายลงในน้ํา สามารถทําให้ลดอัตราการตายของปลาสวยงามโดยเฉพาะของปลาสวายเผือกอย่างรวดเร็ว สำหรับการศึกษาความไวของยาต่อเชื้อแบคทีเรียที่แยกได้จากปลาป่วยจำนวน 77 เสตรน พบว่าให้ผลไวต่อเชื้อดีที่สุด 62.4% ไวต่อเชื้อปานกลาง 31.1% และไม่ไวต่อเชื้อเลย 6.5%


การผ่าตัดรูปลิ่มแก้ไขกระดูกสะบ้าเคลื่อนในสุนัข, ชนินทร์ กัลล์ประวิทธ์ Jun 1985

การผ่าตัดรูปลิ่มแก้ไขกระดูกสะบ้าเคลื่อนในสุนัข, ชนินทร์ กัลล์ประวิทธ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

สุนัขพันธุ์ผสมเพศเมีย อายุ 19 เดือน มีอาการใช้ขาหลังซ้ายผิดปกติ มักจะเดิน ยกขาขึ้น จากการตรวจพบว่ามีกระดูกสะบ้าเคลื่อนเข้าด้านใน ข้อเข่าซ้ายได้รับการผ่าตัดโดย แซะร่องกระดูกที่ปลายล่างของกระดูกต้นขา ให้เป็นรูปลิ่มและตัดเนื้อกระดูกของบริเวณดังกล่าว ทิ้งไปบางส่วน ต่อจากนั้นจัดวางกระดูกรูปลิ่มนั้นไว้ตําแหน่งเดิม วิธีการนี้เรียกว่า "The Trochlear Wedge Recession" การผ่าตัดนี้ทําให้ร่องกระดูก (groove) ที่กล่าวข้างต้น ลึกมากขึ้นกว่าก่อนผ่าตัดและสามารถเก็บรักษาผิวกระดูกอ่อนของข้อต่อไว้อย่างเดิม ภายหลัง ผ่าตัดกระดูกสะบ้าจะเคลื่อนอยู่เฉพาะภายในร่องกระดูกนั้น ไม่เคลื่อนหลุดง่ายอีก สุนัขตัวนั้น หายเป็นปกติหลังผ่าตัดได้หนึ่งเดือน


ยูเรียเป็นพิษในวัว, ธีรพงศ์ ธีรภัทรสกุล, อัจฉรอยา กาญจนเทพ, บุญมี สัญญสุจารี Mar 1985

ยูเรียเป็นพิษในวัว, ธีรพงศ์ ธีรภัทรสกุล, อัจฉรอยา กาญจนเทพ, บุญมี สัญญสุจารี

The Thai Journal of Veterinary Medicine

วัวนมสาว 24 ตัวได้รับการเลี้ยงดูด้วยอาหารข้นซึ่งประกอบด้วยมันเส้น กากถั่วเหลือง รํา และหญ้าสด นอกจากนี้มีการให้ยูเรีย เพื่อทดแทนอาหารโปรตีนในรูปสารละลาย ยูเรีย-กากน้ำตาล พ่นลงในอาหาร ในจำนวนนี้มี 7 ตัว ทะยอยกันแสดงอาการเบื่ออาหาร บวมน้ำตามร่างกาย อุจจาระน้อยและมีลักษณะเป็นแป้งนวด ระดับโปรตีนสูงในปัสสาวะ ตายภายใน 5-11 วัน หลังแสดงอาการ ผลการผ่าซากและหลักฐานทางสภาพแวดล้อมได้แก่ ความเป็นกรดเป็นด่างของกระเพาะพัก (pH 7.5-8.0) กลิ่นรุนแรงของแอมโมเนียจาก กระเพาะฟัก การเสื่อมของไตอย่างรุนแรง และการลาดเอียงของรางอาหารไปหน้าคอกที่วัวป่วยอาศัยอยู่ ซึ่งแสดงว่าวัวป่วยตายเพราะโรคยูเรียเป็นพิษ


การศึกษาโปรแกรมวัคซีนสำหรับป้องกันโรคนิวคาสเซิลในไก่พื้นเมือง, เชิดชัย รัตนเศรษฐากุล, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์, รื่นฤดี บุณยะโหตระ Mar 1985

การศึกษาโปรแกรมวัคซีนสำหรับป้องกันโรคนิวคาสเซิลในไก่พื้นเมือง, เชิดชัย รัตนเศรษฐากุล, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์, รื่นฤดี บุณยะโหตระ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ไก่ลูกผสม (พื้นเมือง X โร๊ดแดง) คละเพศ 150 ตัว แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 30 ตัว มีโปรแกรมการให้วัคซีนนิวคาสเซิลชนิดต่าง ๆ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ให้วัคซีนนิวคาสเซิล F เมื่ออายุ 1 สัปดาห์และ 4 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 ให้วัคซีนนิวคาสเซิล F เมื่ออายุ 1 สัปดาห์ และนิวคาสเซิล M.P. เมื่อ 4 สัปดาห์ กลุ่มที่ 3 ให้วัคซีนนิวคาสเซิล B1 เมื่ออายุ 1 สัปดาห์ และนิวคาสเซิล M.P. เมื่อ 4 สัปดาห์ กลุ่มที่ 4 ให้วัคซีนนิวคาสเซิล LaSota เมื่ออายุ 1 สัปดาห์ และวัคซีนนิวคาสเซิล M.P. เมื่อ 4 สัปดาห์ กลุ่มที่ 5 ไม่ให้วัคซีนเลย การตรวจหา HI titers และความต้านทานโรคหลัง challenge ทําเมื่อลูกไก่อายุ 1,7 และ 13 สัปดาห์ ปรากฏผลดังนี้ กลุ่มที่ 1 (F, F) มีค่าเฉลี่ย Log, HI titers 2.0, 4.2 และ 2.0 มีความต้านทานโรคหลัง challenge 80, และ 100 และ 40% เมื่ออายุ 4, 7 และ 13 …


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Mar 1985

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


โครงการการทดสอบพ่อโคนมที่ใช้ในการผสมเทียม 1. การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับอัตราการเจริญเติบโตของลูกโคนมผสมขาวดำที่ราชบุรี, พรรณพิไล เสกสิทธิ์, กรองแก้ว สมิตัย, สัมพันธ์ สิงหจันทร์, กุญชร วัชชัย, สุรพงศ์ โชติกเสถียร Mar 1985

โครงการการทดสอบพ่อโคนมที่ใช้ในการผสมเทียม 1. การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับอัตราการเจริญเติบโตของลูกโคนมผสมขาวดำที่ราชบุรี, พรรณพิไล เสกสิทธิ์, กรองแก้ว สมิตัย, สัมพันธ์ สิงหจันทร์, กุญชร วัชชัย, สุรพงศ์ โชติกเสถียร

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาเกี่ยวกับอัตราการเจริญเติบโตของลูกโคพันธุ์ผสมขาวดำ (Holstein Friesian) ที่จังหวัดราชบุรี โดยชั่งน้ำหนักลูกโคเพศเมียจำนวน 43 ตัว ซึ่งเกิดจากพ่อพันธุ์ ขาวดำ 75% จำนวน 8 ตัว ซึ่งอยู่ในระหว่างการทดสอบสมรรถภาพการกระจายลักษณะดีเด่น ของพ่อพันธุ์ โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ลูกโคแรกคลอดจนถึง 8 สัปดาห์ ประกอบกับการวัดรอบอก ความสูง และความยาวลําตัว เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักกับรอบอก และความสัมพันธ์ ระหว่างน้ำหนักกับอายุของลูกโค เพื่อนำมาคํานวณหาสูตรปรับน้ำหนัก พบว่าน้ำหนักกับรอบอก มีความสัมพันธ์กัน (r = 0.95, n = 92) และอายุกับน้ำหนักมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.74, n=92) ลูกโคที่มีอายุระหว่างแรกคลอดจนถึง 8 สัปดาห์ น้ำหนักเฉลี่ยเมื่ออายุ 2 สัปดาห์ (n=43) 4 สัปดาห์ (n=33) และ 8 สัปดาห์ (n=16) เท่ากับ 29.91 ± 5.07, 39.35 ± 6.66 และ 49.09 ± 8.17 กก. ตามลำดับ โดยที่น้ำหนักเมื่ออายุ 4 สัปดาห์เพิ่มขึ้นจากเดิม 9 ± 5.44 กก. และจะเพิ่มขึ้นอีก 11.81 ± 4.10 กก. เมื่ออายุ 8 สัปดาห์ และจากการศึกษาทาง Regression analysis พบว่าสามารถคํานวณน้ำหนักตัวลูกโคพันธุ์ผสมขาวดำที่มีอายุระหว่างแรกคลอดจนถึง 8 สัปดาห์ ได้ จากสูตร Y = -63.7282 + 1.2913X เมื่อ Y = น้ำหนักของลูกโคพันธุ์ผสมขาวดำเป็นกิโลกรัม และ X = ความยาวรอบอก (Heart …


โรคเนื้องอก (Fibroma) ในช่องคลอดสุนัข : การวินิจฉัยและการผ่าตัด, ปราณี ตันติวนิช, ชัยณรงค์ โลหชิต Mar 1985

โรคเนื้องอก (Fibroma) ในช่องคลอดสุนัข : การวินิจฉัยและการผ่าตัด, ปราณี ตันติวนิช, ชัยณรงค์ โลหชิต

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ก้อนเนื้องอกชนิด Fibroma ขนาด 3 X 4 นิ้ว ของสุนัขพันธุ์ผสมอายุ 7 ปี ใน ช่องคลอดหน้ากระดูกเชิงกรานกดทางเดินปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ เกิดการติดเชื้อและ มีหนองไหลออกมาจากช่องคลอด วิธีการตรวจวินิจฉัย และการผ่าตัดรักษาได้กล่าวไว้อย่างละเอียด


การศึกษาคาริโอไทป์ปกติของโคและกระบือพื้นเมือง, วิวัฒน์ ชวนใช้, จันทร์จรัส ลือสกุล Mar 1985

การศึกษาคาริโอไทป์ปกติของโคและกระบือพื้นเมือง, วิวัฒน์ ชวนใช้, จันทร์จรัส ลือสกุล

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ได้ทําการเพาะเลี้ยงเซลล์เม็ดเลือดขาวโดยใช้ตัวอย่างเลือดของโคพื้นเมืองไทยเพศผู้ Bos indicus จำนวน 7 ตัว และกระบือปลักไทยเพศผู้ Bubalus bubalis จำนวน 20 ตัว เพื่อศึกษาทางด้านเซลล์พันธุศาสตร์ จากการจัดทําคาริโอไทยพบว่า จำนวน โครโมโซมของโคพื้นเมืองไทยมี 2n=60 ออโตโซม 58 ตัว มีรูปร่างแบบ acrocentric ทั้งหมด และมี X-chromosome เป็นแบบ submetacentric ส่วน Y-chromosome เป็น acrocentric ที่มีขนาดเล็กที่สุด การตรวจวัดหาความยาวสัมพัทธ์ของโครโมโซมจากเซลล์ ที่กำลังแบ่งตัว 35 เซลล์ พบว่าส่วนใหญ่แตกต่างจากที่มีรายงานใน Bos taurus แต่ความยาวสัมพัทธ์และค่า centromeric index ของ X-chromosome ไม่ต่างจากที่รายงานไว้แล้ว ในกระบือปลักไทย จากการจัดทําคาริโอไทป์และวัดหาความยาวสัมพัทธ์จากจำนวนเซลล์ 70 เซลล์เปรียบเทียบกับกระบือปลักและกระบือแม่น้ำที่มีผู้รายงานไว้ พบว่ามีจำนวนโครโมโซม 2n=48 ออโตโซมจำนวน 23 คู่ แบ่งตามรูปร่างได้ 2 แบบ คือ submetacentric และ metacentric จำนวน 5 คู่ และแบบ acrocentric จำนวน 18 คู่ X-chromosome เป็น acrocentric ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ส่วน Y-chromosome เป็น acrocentric ขนาดเล็ก ค่าความยาวสัมพัทธ์ของโครโมโซมกระบือปลักต่างจากกระบือแม่น้ำเป็นส่วนใหญ่ ในการตรวจสอบโครโมโซมในรายละเอียด แนะนำให้ใช้วิธีการขั้นสูงได้แก่เทคนิค Banding