Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University Dental Journal

Aloe vera; MTT assay; osteoblast; proliferation

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของสารสกัดส่วนวุ้นและส่วนยางของว่านหางจระเข้ต่อการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้างกระดูกที่แยกจากไขกระดูกหนูแรทและเซลล์ไลน์สร้างกระดูกMc3t3-E1, วิจิตรา วิพิศมากูล, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล May 2005

ผลของสารสกัดส่วนวุ้นและส่วนยางของว่านหางจระเข้ต่อการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้างกระดูกที่แยกจากไขกระดูกหนูแรทและเซลล์ไลน์สร้างกระดูกMc3t3-E1, วิจิตรา วิพิศมากูล, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารสกัดส่วนวุ้นและส่วนยางของว่านหางจระเข้ที่มีต่อการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้าง กระดูกที่แยกจากไขกระดูกหนูแรทและเซลล์ไลน์สร้างกระดูก MC3T3-E1 วัสดุและวิธีการ เซลล์จะถูกทดสอบด้วยสารสกัดส่วนวุ้นและส่วนยางของว่านหางจระเข้ ที่ความเข้มข้นต่างๆ ในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่ปราศจากซีรัม เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นวัดผลต่อการเพิ่มจํานวนเซลล์ด้วยการสอบวิเคราะห์ เอ็มทีที และวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา สารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ ที่ระดับความเข้มข้น 10, 20 และ 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลกระตุ้นการเพิ่มจํานวนเซลล์สร้างกระดูกที่แยกจากไขกระดูกหนูแรท อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) ในขณะที่สารสกัดส่วนหุ้นของว่านหางจระเข้ที่ระดับความเข้มข้น 1, 5, 10, 20 และ 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผล กระตุ้นการเพิ่มจํานวนเซลล์ไลน์สร้างกระดูก MC3T3-E1 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) แต่สารสกัดส่วนยาง ของว่านหางจระเข้ ที่ระดับความเข้มข้น 20, 40 และ 60 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลลดจํานวนเซลล์สร้างกระดูกที่ แยกจากไขกระดูกหนูแรท และเซลล์ไลน์สร้างกระดูก MC3T3-E1 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) สรุป ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ ที่ความเข้มข้น 10-50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และ 1-50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ในการกระตุ้นการเพิ่มจํานวนเซลล์สร้างกระดูกที่ แยกจากไขกระดูกหนูแรทและเซลล์ไลน์สร้างกระดูก MC3T3-E1 ตามลําดับ แต่สารสกัดส่วนยางของว่านหางจระเข้ ที่ระดับความเข้มข้น 20-60 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลลดจํานวนเซลล์สร้างกระดูกที่แยกจากไขกระดูกหนูแรทและ เซลล์ไลน์สร้างกระดูก MC3T3-E1 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ว ทันต จุฬาฯ 2548;28:127-36)