Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 21 of 21

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การเปรียบเทียบเสถียรภาพของสีของเฟลสปาติกพอร์ซเลนที่ขัดผิวด้วยวิธีต่าง ๆ, วัลลภัทน์ แสนทวีสุข, อิศราวัลย์ บุญศิริ Sep 2003

การเปรียบเทียบเสถียรภาพของสีของเฟลสปาติกพอร์ซเลนที่ขัดผิวด้วยวิธีต่าง ๆ, วัลลภัทน์ แสนทวีสุข, อิศราวัลย์ บุญศิริ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบเสถียรภาพของลีเฟลสปาติกพอร์ซเลน วิต้า โอเมก้า 900 ที่ขัดผิวด้วย วิธีต่างๆ 3 วิธี และการเคลือบผิวแบบธรรมชาติ วัสดุและวิธีการ โดยเตรียมชิ้นงานพอร์ซเลน เป็นแผ่นรูปวงกลม จํานวน 80 ชิ้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 20 ชิ้นนํา ไปเคลือบผิวแบบธรรมชาติ และขัดผิว 3 วิธี (หัวขัดเซราไหล, ชุดหัวขัดโซฟูและครีมขัดผสมกากเพชร, ชุดหัวขัดใช และหัวขัดไตฟินิช) ประเมินเสถียรภาพของสีตามข้อกําหนดเลขที่ 69 ว่าด้วยเซรามิกทางทันตกรรมของสมาคม ทันตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา โดยแบ่งชิ้นงานในแต่ละกลุ่ม 10 ชิ้น จุ่มในสารละลายเมทธิลีนบลู อีก 10 ชิ้น จุ่มใน น้ํากลั่นเพื่อเป็นกลุ่มควบคุม วัดค่าสีในระบบสี ไฮยี ก่อนและหลังจุ่มสารละลายด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ นํามาคํานวณค่าความแตกต่างของสี ประเมินความเรียบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด และเปรียบเทียบความแตกต่างของสีของแต่ละกลุ่มด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษา กลุ่มที่เคลือบผิวแบบธรรมชาติให้ผิวเรียบที่สุดและมีเสถียรภาพของสีดีที่สุด การขัดผิวด้วยชุดหัวขัด โซฟและหัวขัดไตฟินิชให้ผิวที่เรียบกว่าวิธีอื่นและมีเสถียรภาพของสีไม่แตกต่างจากการขัดด้วยชุดหัวขัดโชฟุ และครีม ผสมกากเพชร (p > 0.05) สรุป การเปลี่ยนสีของชุดหัวขัดใชฟและหัวขัดไตฟินิชนั้นสามารถยอมรับได้ทางคลินิก แต่กลุ่มที่ขัดผิวด้วยหัวขัด เซราไพลมีการเปลี่ยนสีที่สามารถสังเกตเห็นได้ โดยความแตกต่างของสีมากกว่าทุกกลุ่ม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(p < 0.05)


การทดสอบสมการทํานายความกว้างของฟันเขียว และฟันกรามน้อยในคลินิกทันตกรรมจัดฟัน, ปิยารัตน์ อภิวัฒนกุล, วัชระ เพชรคุปต์ Sep 2003

การทดสอบสมการทํานายความกว้างของฟันเขียว และฟันกรามน้อยในคลินิกทันตกรรมจัดฟัน, ปิยารัตน์ อภิวัฒนกุล, วัชระ เพชรคุปต์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความแม่นยําในการทํานายผลรวมความกว้างของฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยที่หนึ่ง และฟันกรามน้อยซี่ที่สองในคนไทย เมื่อใช้สมการการทํานายที่สร้างขึ้นจากความกว้างของ ฟันกรามแท้ซี่แรกในขากรรไกรเดียวกันของวัชระและปิยารัตน์ เปรียบเทียบกับการทํานายโดยใช้ตาราง Moyers วัน และวิธีการ วัดนาดฟันจากแบบจําลองฟันของผู้ป่วยที่รับการบําบัดรักษาในคลินิกทันตกรรมจัดฟัน ภาควิชา ทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 200 ราย แบ่งเป็นเพศชาย 100 ราย และหญิ 100 ราย หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลรวมความกว้างของฟันเขี้ยวและฟันกรามน้อยทั้งสอง จากค่าจริงที่วัดจากแบบจําลองฟัน นํามาเปรียบเทียบกับค่าที่ได้จากการคํานวณโดยใช้ความกว้างของฟันกรามแท้ ซี่แรกในขากรรไกรเดียวกันตามสมการของวัชระและปิยารัตน์ และจากการใช้ตาราง Meyers (Moyers probability chart) น่าค่าที่วัดได้มาทดสอบความแตกต่าง โดยใช้สถิติ Paired T-test ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 และหาความสัมพันธ์ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลของการศึกษา พบว่าในขากรรไกรบนของเพศชายและขากรรไกรล่างของเพศหญิงมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระหว่างค่าของขนาดฟันที่ได้จากการใช้ตาราง Moyers กับการใช้สมการวัชระและปิยารัตน์ (P < 0.01) และการใช้ตาราง Moyers กับค่าที่ได้จากฟันจริง (P < 0.01) แต่ไม่พบความแตกต่างกันระหว่าง ขนาดฟันที่ได้รับจากสมการกับค่าจริง ส่วนขนาดฟันในขากรรไกรล่างของเพศชายและขากรรไกรบนของเทศหญิงไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระหว่างทุกกลุ่ม แต่ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างการใช้สมการวัชระและปิยารัตน์ ใกล้เคียงกับค่าจริงมากกว่าการใช้ตาราง Mayers เมื่อพิจารณาจากช่วง ของความคลาดเคลื่อน (ค่าแตกต่างระหว่างค่าจากการทํานายกับค่าจริง) พบว่าค่าที่ได้จากสมการใกล้เคียงกับ รองขนาดฟันจริงมากกว่าการใช้ตาราง Moyers สรุป จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าการใช้สมการวัชระและปิยารัตน์เพื่อทํานายผลรวมความกว้างของฟันเขี้ยวและ ฟันกรามน้อยทั้งสองมีค่าใกล้เคียงกับค่าของฟันจริงมากกว่าค่าใช้จากตาราง Moyers โดยเฉพาะขนาดของฟันในขากรรไกรบนของเพศชาย และขนาดของฟันในขากรรไกรล่างของเพศหญิง


การประเมินภาวะการเจริญรวดเร็ว สู่วัยเริ่มเจริญพันธุ์ด้วยภาพรังสี, ดวงกมล อัชทวีวรรณ, นิรมล ชํานาญนิธิอรรถ Sep 2003

การประเมินภาวะการเจริญรวดเร็ว สู่วัยเริ่มเจริญพันธุ์ด้วยภาพรังสี, ดวงกมล อัชทวีวรรณ, นิรมล ชํานาญนิธิอรรถ

Chulalongkorn University Dental Journal

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมเนื้อหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินระยะการเจริญเติบโตของ ร่างกายและใบหน้าในช่วงวัยเริ่มเจริญพันธุ์ จากภาพรังสีมือ-ข้อมือ (hand-wrist radiograph) และจากกระดูก คอในภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้าง (lateral cephalometric radiograph) เปรียบเทียบความแตกต่างของ กลุ่มที่มีการเจริญเต็มที่เร็ว (early maturers) กับกลุ่มที่มีการเจริญเต็มที่ช้า (late maturers) รวมถึงความสัมพันธ์ ระหว่างการเจริญเติบโตของร่างกายกับกระดูกขากรรไกร


ความสามารถในการทําซ้ําของการเอียงของศีรษะในท่านั่งและยืน เมื่อมองตรงไปด้านหน้าโดยใช้หรือ ไม่ใช้กระจกกำหนดแนวสายตา, ไพบูลย์ เตชะเลิศไพศาล, ชัยวัฒน์ วราอุบล, สัมพันธ์ ติงธนากุล Sep 2003

ความสามารถในการทําซ้ําของการเอียงของศีรษะในท่านั่งและยืน เมื่อมองตรงไปด้านหน้าโดยใช้หรือ ไม่ใช้กระจกกำหนดแนวสายตา, ไพบูลย์ เตชะเลิศไพศาล, ชัยวัฒน์ วราอุบล, สัมพันธ์ ติงธนากุล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการทําซ้ํา (reproducibility) ของการเอียงของศีรษะ (head orientation)ในท่านั่งและยืนโดยใช้และไม่ใช้กระจกเพื่อช่วยกําหนดแนวสายตา วัสดุและวิธีการ อาสาสมัครคือนิสิตทันตแพทย์จํานวน 3 คน เพศชาย 13 คน หญิง 25 คน อายุเฉลี่ยเท่ากับ 2ปี 1 เดือน ทําการถ่ายภาพหน้าด้านข้างด้วยกล้องถ่ายภาพดิจิตอลโดยใช้สภาวะแวดล้อมเดียวกันใน 4 ลักษณะคือ 1) นั่งหลังตรง มองตรง 2) นั่งหลังตรง มองตรงและใช้กระจกกําหนดระดับแนวสายตา 3) ยืนตัวตรง มองตรง 4) ยืน ตัวตรง มองตรงและใช้กระจกกําหนดระดับแนวสายตา ทําการถ่ายภาพทั้ง 4 ลักษณะจํานวน 2 ครั้งในระยะเวลา ที่ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน ภาพดิจิตอลทั้งหมดจะถูกนํามาวัดค่ามุมระหว่าง Glabella-Subnasale Line (GSL) และ True Vertical Line (TVL) ด้วยโปรแกรม Photoshop 7.0 โดยมุมดังกล่าวจะถูกใช้เป็นตัวแทนของการเชียง องศีรษะของกลุ่มอาสาสมัคร ผลการศึกษา พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสําคัญระหว่างมุม GSL-TVL ที่ได้จากการถ่ายภาพ ทั้งสองครั้งในทั้ง 4 ลักษณะ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของมุม GSL-TVL ระหว่างการถ่ายภาพครั้งที่หนึ่งและสองในท่านั่ง ท่านั่งมองกระจก ท่ายืนและท่ายืนมองกระจกเท่ากับ 1.16 0.50 0.14 และ 0.13 องศาตามลําดับ และมีค่า method error เท่ากับ 2.00 2.05 2.78 และ 3.46 องศาตามลําาดับ สรุป การเอียงของศีรษะในท่ายืนมีแนวโน้มที่จะทําซ้ําได้ง่ายกว่าท่านั่ง ศีรษะมีแนวโน้มที่จะเงยในท่านั่งมากกว่าในท่ายืนและการใช้กระจกกําหนดแนวสายตาอาจมีผลทําให้การทําซ้ําของการเอียงของศีรษะในท่านั่งเป็นไปได้ง่ายขึ้น


การยึดชิ้นฟันที่หักติดเข้ากับตัวฟันเดิม ในฟันหน้า : รายงานผู้ป่วย 2 ราย, มลิวรรณ วงศ์สิทธาจารย์, สุชาดา วัฒนบุรานนท์ Sep 2003

การยึดชิ้นฟันที่หักติดเข้ากับตัวฟันเดิม ในฟันหน้า : รายงานผู้ป่วย 2 ราย, มลิวรรณ วงศ์สิทธาจารย์, สุชาดา วัฒนบุรานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

การใช้ชิ้นฟันที่หักติดเข้ากับตัวฟันเดิม นับเป็นทางเลือกหนึ่งในการบูรณะฟันที่แตกหัก ซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุ ก่อการบาดเจ็บของฟันหน้าในกรณีที่ผู้ป่วยเก็บชิ้นส่วนฟันที่หักไว้ได้ จัดเป็นการบูรณะฟันเชิงอนุรักษ์ เป็นการ บูรณะฟันที่แตกหักได้อย่างปัจจุบันทันด่วนทั้งในเชิงการบูรณะชั่วคราวหรือถาวร โดยอาศัยระบบบอนด์ดึง (Bonding) และวัสดุเรซินคอมโพสิตช่วยในการยึดติด ใช้เวลาในการบูรณะน้อย, ประหยัดค่าใช้จ่าย, ได้ฟันที่มีสี, รูปร่างและ ทําหน้าที่ได้ดังเดิม ดังเช่นผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ซึ่งได้รับการบูรณะฟันด้วยวิธีนี้และประสบผลสําเร็จจากการติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 1 ปี


Pulpal Blood Flow In Streptozotocin-Induced Diabetic Rats Measured By Laser Doppler Flowmetry, Supathra Amatyakul, Daroonwan Chakraphan, Siriporn Chotipaibulpan, Suthiluk Patumraj Sep 2003

Pulpal Blood Flow In Streptozotocin-Induced Diabetic Rats Measured By Laser Doppler Flowmetry, Supathra Amatyakul, Daroonwan Chakraphan, Siriporn Chotipaibulpan, Suthiluk Patumraj

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The aim of this study is to investigate the pulpal blood flow in streptozotocin-induced diabetic rats by using laser Doppler flowmeter Materials and methods The animal model of streptozotocin (STZ)-induced diabetic rats (i.v. injection of STZ 55 mg/kg BW) was used. Thirty-two male Spraguep-Dawley rats weighing 200-250 g were divided equally into 2 groups; non-diabetes (CON) and diabetes (STZ). At 12 weeks (wks) and 24 wks after the STZ injection, the laser Doppler flowmeter (Model ALF 21, USA.) was used to measured pulpal blood flow of the right lower incisor while the animals were anesthetized with an intraperitoneal injection …


การประเมินประสิทธิภาพของฟันปลอมโดยการศึกษา ความสัมพันธ์ของความสามารถในการบดเคี้ยวและ การแสดงการบดเคี้ยวในผู้ป่วยสูงอายุ, ปรารมภ์ ชาลินี, สุภิดา อนุสสรนิติสาร, ดุษฎี ประดับพลอย, เกรียงไกร วรรธนะเลาหะ, ชาญวิทย์ ประพิณจารูญ, ชุติมา ธีระเรืองไชยศรี Sep 2003

การประเมินประสิทธิภาพของฟันปลอมโดยการศึกษา ความสัมพันธ์ของความสามารถในการบดเคี้ยวและ การแสดงการบดเคี้ยวในผู้ป่วยสูงอายุ, ปรารมภ์ ชาลินี, สุภิดา อนุสสรนิติสาร, ดุษฎี ประดับพลอย, เกรียงไกร วรรธนะเลาหะ, ชาญวิทย์ ประพิณจารูญ, ชุติมา ธีระเรืองไชยศรี

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว (masticatory efficiency) มีความสําคัญอย่างมากต่อสุขภาพร่างกาย ในผู้ป่วยที่มีการสูญเสียฟันธรรมชาติจะมีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารลดลงซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการใส่ฟันปลอม การประเมินประสิทธิภาพของฟันปลอมให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างแท้จริงจึงมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่งโดยทั่วไป ทันตแพทย์มักใช้วิธีการประเมินโดยการสอบถามจากผู้ป่วยซึ่งมิได้ให้ผลอ้างอิงที่ชัดเจน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการประเมินประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวในผู้ป่วยสูงอายุโดยการหาความสัมพันธ์ระหว่าง ความสามารถในการบดเคี้ยว (masticatory ability) ซึ่งเป็นการสอบถามจากผู้ป่วย และการแสดงการบดเคี้ยว (mas-ticatory performance) ซึ่งเป็นการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ว่าให้ผลไปในทางเดียวกันหรือไม่ วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาในผู้ป่วยสูงอายุ (อายุ 55 ปีขึ้นไป) ที่มารับบริการใส่ฟันปลอมในคลินิกบัณฑิตศึกษา ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ จํานวน 62 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ผู้ป่วยที่ใส่ฟันปลอมถอดได้ทั้งปากในขากรรไกรบนและล่าง (18 คน) กลุ่มที่สอง คือผู้ป่วยที่ใส่ฟันปลอมบางส่วน ถอดได้สบกับฟันปลอมบางส่วนถอดได้หรือฟันปลอมทั้งปาก (29 คน) และกลุ่มที่สามคือ ผู้ป่วยที่ใส่ฟันปลอมบาง ส่วนถอดได้สบกับฟันธรรมชาติ (15 คน) การทดสอบความสามารถในการบดเคี้ยวทําโดยการประเมินความพึง พอใจในการเคี้ยวอาหารของผู้ป่วยหลังใส่ฟันปลอมจากการตอบคําถาม ส่วนการแสดงการบดเคี้ยวทําโดยการวัด ความละเอียดของอาหารที่เคี้ยวด้วยวิธีร่อนอาหารผ่านตะแกรงโดยให้ผู้ป่วยเคี้ยวแครอทหนึ่งชิ้น (น้ําหนัก 3 กรัม) จํานวน 40 ครั้ง นํามาผ่านตะแกรงชนิดหยาบและละเอียด ตามลําดับ จากนั้นจึงพึ่งให้แห้ง ชั่งน้ําหนัก และ คํานวณการแสดงการบดเคี้ยว นําข้อมูลมาที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ จากนั้นหาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถ ในการบดเคี้ยวกับการแสดงการบดเคี้ยวทางสถิติโดยใช้การทดสอบ ไค-สแควร์ ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 โดยใช้เกณฑ์ การแสดงการบดเคี้ยวตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปถือว่ามีประสิทธิภาพดี ผลการศึกษา การศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างของการแสดงการบดเคี้ยวในกลุ่มผู้สูงอายุที่ใส่ฟันปลอมประเภท ต่าง ๆ กัน ทั้ง 3 กลุ่ม อย่างมีนัยสําคัญ และความสามารถในการบดเคี้ยวไม่มีความสัมพันธ์กับการแสดงการบดเคี้ยว สรุป ทันตแพทย์ไม่ควรประเมินประสิทธิภาพของฟันปลอมจากการสอบถามผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว แต่ควรทําการ ทดสอบเพื่อให้เห็นถึงความสามารถของฟันปลอมในการใช้บดเคี้ยวอาหารอย่างแท้จริง


Microbiological Quality Of The Water Used In The Dental Clinic Of Naresuan University, Nat Wongchanhan, Chareerat Jittrong, Saowaluk Dechaboon, Thosapol Piyapattamin May 2003

Microbiological Quality Of The Water Used In The Dental Clinic Of Naresuan University, Nat Wongchanhan, Chareerat Jittrong, Saowaluk Dechaboon, Thosapol Piyapattamin

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective This study was designed to assess the microbiological quality of the water used in the dental clinic of Naresuan University (NU). Materials and methods By means of standard plate counts with the use of violet red bile agar, microorganisms in water samples gathered from dental units before and after dental procedures were cultivated and examined at light microscopic level. Results The observed Gram-negative bacilli without spore formation were regarded as total coliforms. Water samples from plastic bottles attached to the dental units and from air-water syringe tips revealed few, if any, colony-forming units (cfu) of total coliforms, while those …


ผลของการรักษารากฟันในรอยโรคเอนโดดอนต์ปริทันต์ : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, แอนนา เทพวนังกูร May 2003

ผลของการรักษารากฟันในรอยโรคเอนโดดอนต์ปริทันต์ : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, แอนนา เทพวนังกูร

Chulalongkorn University Dental Journal

ความวิการของกระดูกเบ้าฟันตามแนวยืนพบได้ทั้งในโรคปริทันต์ และโรคที่เกิดจากพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อ ในโพรงฟัน การรักษารอยโรคนี้อาจต้องการการรักษาคลองรากฟัน หรือปริทันต์บําบัดอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ทั้งสองอย่างร่วมกัน ขึ้นกับผลการตรวจความมีชีวิตของเนื้อเยื่อในโพรงฟัน การตรวจร่องลึกปริทันต์ และภาพรังสี ในรายงานนี้กล่าวถึงการรักษาคลองรากฟันในฟันกรามล่างซ้ายซี่ที่สองของผู้ป่วย ที่มีร่องลึกปริทันต์ในด้านแก้มไกล กลางและด้านลิ้นไกลกลางมากกว่า 10 มิลลิเมตร จากการตรวจความมีชีวิตของฟันพบว่าเป็นฟันตาย การโยก ของฟันอยู่ในระดับ 2 จากภาพรังสีมีการละลายของกระดูกเบ้าฟันเฉพาะที่อย่างรุนแรง การรักษาคลองรากฟัน มีผลทําให้อวัยวะปริทันต์กลับเข้าสู่สภาพปกติได้ เนื่องจากสาเหตุของรอยโรคมาจากพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อใน โพรงฟัน จากการติดตามผลการรักษา เป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน ฟันอยู่ในสภาพปกติใช้งานได้ดี และไม่พบพยาธิ สภาพในภาพรังสี


การให้บริการทางศัลยกรรมผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรและใบหน้าในโรงพยาบาลคณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สมชาย เศรษฐศิริสมบัติ, กรชนก วยัคฆานนท์, กิตติมา ศิริพานิช, กาญจนีย์ เตียววัฒนา, เกศกนก โชคถาวร, ขวัญเนตร ครีนุตตระกูล, วรพรรณ ตรัยไชยาพร May 2003

การให้บริการทางศัลยกรรมผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรและใบหน้าในโรงพยาบาลคณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สมชาย เศรษฐศิริสมบัติ, กรชนก วยัคฆานนท์, กิตติมา ศิริพานิช, กาญจนีย์ เตียววัฒนา, เกศกนก โชคถาวร, ขวัญเนตร ครีนุตตระกูล, วรพรรณ ตรัยไชยาพร

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์จํานวนและการให้บริการรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการสบฟัน และความสัมพันธ์ของกระดูกขากรรไกรและใบหน้า โดยการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร (orthognathic surgery)ของผู้ป่วยในโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัสดุและวิธีการ รวบรวมข้อมูลจากเพิ่มประวัติผู้ป่วยของโรงพยากรคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัยในระหว่างปีพุทธศักรา5 2539-2544 ที่ได้รับการผ่าตัดแก้ไ ความผิดปกติ ของการสบฟันจํานวน 115 คน เป็นชาย 46 คน หญิง 69 คน อยู่ในช่วงอายุ 6-45 ปี โดยแจกแจงข้อมูลและทําการวิเคราะห์สาเหตุที่มารับการ รักษา วิธีการรักษา อาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดระยะเวลาการติดตามผลหลังการผ่าตัดจนกระทั่งอาการทั่วไปคงที่ ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นชาย 46 คน คิดเป็น 40% หญิง 69 คน คิดเป็น 40% อายุเฉลี่ย 26 ปี เหตุ ส่วนใหญ่ที่มารับการรักษาคือขากรรไกรล่างยื่นอย่างเดียวและรวมกับความผิดปกติอื่นคิดเป็นร้อยละ 81.7 ผู้ป่วย ได้รับการรักษาโดยการจัดฟันก่อนการผ่าตัดร้อยละ 62.4. ผ่าตัดขากรรไกรสวนใหญ่ได้แก่ ไบลาเทอรอล แซเอลสปลิทเรมิสออสติโอใตมี (bilateral sagittal split ramus osteotomy) เป็นร้อยละ 91.3 อาการแทรกซ้อนที่สำคัญ 6 เดือนแรกหลังผ่าตัดกรามฝีปากล่าง คิดเป็นร้อยละ 40.7 สรุป ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของขากรรไกรและใบหน้าที่เข้ารับการผ่าตัดในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยในระยะเวลา 5 ปี พบว่าสวนใหญ่เป็นการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกรล่างและผลแทรกซ้อน ที่พบมากที่สุดคือ อาการขาของริมฝีปากล่าง


การรักษาฟันที่ได้รับการกระแทกในผู้ป่วยจัดฟัน รายงานผู้ป่วย 1 ราย, วันทนีย์ พฤกษ์สว่างวงศ์ May 2003

การรักษาฟันที่ได้รับการกระแทกในผู้ป่วยจัดฟัน รายงานผู้ป่วย 1 ราย, วันทนีย์ พฤกษ์สว่างวงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วยจัดฟันหนึ่งรายที่ได้รับการกระแทกในฟันตัดด้านบนและด้านล่าง อาการบาดเจ็บดังกล่าว ทําให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อประสาทฟัน การละลายด้านนอกรากฟัน และเกิดคอนเดนซิงออสทีไอติส ผู้ป่วยได้ รับการรักษาร่วมกันระหว่าง ทันตกรรมสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ และทันตกรรมจัดฟัน โดยใช้แคลเซียมไฮดรอก ไซด์ และแรงจัดฟันเบาๆ พบว่าผลการรักษาเกิดการหายของแผล และไม่พบการละลายของรากฟันในขณะที่มี การเคลื่อนฟันทางทันตกรรมจัดฟัน รวมถึงไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ภายใต้การ ติดตามผลการรักษาเป็นระยะเวลา 1 ปี 3 เดือน


การรักษาคลองรากฟันซ้ําในฟันตัดล่างซ้ายซึ่งมีการระบาย ของหนองสู่ภายนอกช่องปาก : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, ผ่องผุด หาญนรเศรษฐี May 2003

การรักษาคลองรากฟันซ้ําในฟันตัดล่างซ้ายซึ่งมีการระบาย ของหนองสู่ภายนอกช่องปาก : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, ผ่องผุด หาญนรเศรษฐี

Chulalongkorn University Dental Journal

การรักษาคลองรากฟันซ้ํา หมายถึงการรื้อวัสดุอุดคลองรากฟันออก และดําเนินการรักษาคลองรากฟันใหม่ อย่างถูกวิธีทุกขั้นตอน ตั้งแต่การทําความสะอาด ตกแต่งรูปร่าง และอุดคลองรากฟัน รายงานผู้ป่วยนี้ แสดง ผลสําเร็จของการรักษาคลองรากฟันซ้ํา ที่ไม่ต้องใช้วิธีการผ่าตัดร่วมด้วย ในฟันตัดล่างซ้ายซึ่งมีการระบายของ หนองสู่ภายนอกช่องปาก โดยกล่าวถึงลักษณะที่ตรวจพบในคลินิก ลักษณะภาพรังสี รวมถึงการรักษาคลอง รากฟันซ้ําในฟันทั้ง 2 ซี่ จากการติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 1 ปี พบว่า รอยแผลที่เกิดขึ้นภายนอกช่องปาก หายเป็นปกติ ฟันทั้ง 2 สามารถใช้งานได้ดี


ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการควบคุมระดับ น้ําตาลในเลือดกับการเกิดโรคปริทันต์อักเสบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, จินตนา โพคะรัตน์ศิริ, วิรัตน์ โพคะรัตน์ศิริ Jan 2003

ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการควบคุมระดับ น้ําตาลในเลือดกับการเกิดโรคปริทันต์อักเสบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, จินตนา โพคะรัตน์ศิริ, วิรัตน์ โพคะรัตน์ศิริ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดกับการเกิดโรคปริทันต์อักเสบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในคนไทย วัสดุและวิธีการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จํานวน 205 ราย ในคลินิกโรคเบาหวาน ของโรงพยาบาลเมือง ฉะเชิงเทรา โดยผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างนี้ ต้องเป็นผู้ป่วยที่มารับการรักษาจากคลินิกดังกล่าว ติดต่อกันอย่างน้อย สองครั้ง ต้องเป็นผู้ป่วยที่มีฟันดัชนีที่จะสามารถประเมินสภาวะต่าง ๆ ทางปริทันต์ได้ครบ 6 ปี ในวันที่ทําการศึกษา หลังจากเจาะเลือดเพื่อตรวจหาค่า บ่งชี้ความสามารถในการควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดโดยวัดระดับฮีโมโกลบินที่ มีน้ําตาลเกาะ (Hemoglobin A : HbA) จึงทําการตรวจและจดบันทึกสภาวะต่าง ๆ ทางปริทันต์ ผลจากการ ตรวจวัดค่าเฮโมโกลบินเอวัน พบว่าในผู้ป่วย 205 รายนี้มีผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดได้ 46 ราย จึงนํารายละเอียดจากแบบบันทึกสภาวะปริทันต์ของกลุ่มตัวอย่างอีก 45 ราย ที่มีอายุและเวลาป่วยเป็นเบาหวาน ใกล้เคียงกับกลุ่มแรกมากที่สุดแต่ควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดไม่ได้มาศึกษาเปรียบเทียบโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป เอสทีเอส.บล/ที ผลการศึกษา พบว่าเมื่อศึกษารวมทั้งกลุ่ม โดยสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าเฉลี่ยฮีโมโกลบินเอวัน สัมพันธ์กับ ค่าเฉลี่ยการสูญเสียการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ p = 0.01 (p < 0.05) โดยมีค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (1) = 0.3 เมื่อใช้การทดสอบไค-สแควร์หาความสัมพันธ์ของความสามารถในการควบคุม ระดับน้ําตาลในเลือดกับการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ โดยเปรียบเทียบจํานวนผู้ป่วยที่มีการสูญเสียการยึดเกาะของ อวัยวะปริทันต์ 25 มิลลิเมตรมากกว่าร้อยละ 10 ของด้านฟันขึ้นไป พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติ ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 p = 0.012 (p < 0.05) ค่า odds ratio - 3.96 (95% CI = 11.43, 1.37) สรุป ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ความสามารถในการควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค ปริทันต์อักเสบ โดยผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดไม่ได้มีโอกาสเป็นโรคปริทันต์อักเสบคิดเป็น 4 เท่าของผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดได้


การบูรณะฟันที่ถูกตัดแบ่งรากฟันด้วยฟันปลอมชนิดติดแน่น : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, สิทธิเดช นิลเจริญ, สรรพัชญ์ นามะโน Jan 2003

การบูรณะฟันที่ถูกตัดแบ่งรากฟันด้วยฟันปลอมชนิดติดแน่น : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, สิทธิเดช นิลเจริญ, สรรพัชญ์ นามะโน

Chulalongkorn University Dental Journal

ทันตแพทย์มักจะประสบปัญหาค่อนข้างมากในการวางแผนการรักษาเพื่อบูรณะฟันที่มีการสูญเสียการยึด เกาะของอวัยวะปริทันต์ หรือในกรณีที่มีฟันผุหรือมีจุดแตกหักบริเวณจุดแยกรากในฟันกรามหลายราก ถึงแม้ว่าปัญหาดังกล่าวจะมีผลต่อการพยากรณ์โรคในระยะยาวของฟันที่ได้รับผลกระทบ การถอนฟันออกก็ไม่ใช่ทางเลือก ที่ดีเสมอไป การตัดแบ่งรากฟัน โดยเอาส่วนรากฟันและตัวฟันที่มีปัญหาออกไป มักเป็นทางเลือกหนึ่งใน การให้การรักษากรณีดังกล่าว รายงานฉบับนี้เป็นรายงานผู้ป่วยหนึ่งรายที่ใช้ฟันกรามล่างที่ทําการผ่าตัดแยกรากฟันออกไปหนึ่งรากร่วมกับฟันกรามอีกหนึ่งซี่เป็นฟันหลักในการบูรณะด้วยสะพานฟันที่เป็นโลหะล้วน ชนิด semi- precious และออกแบบฟันแขวน (pontic) เป็นแบบ sanitary pontic เพื่อให้ง่ายต่อการทําความสะอาด และได้ ติดตามผลการรักษาเป็นระยะทุกๆ 6 เดือน เป็นเวลา 3 ปี 3 เดือน (นับถึงวันที่เขียนรายงานฉบับนี้) ผลปรากฏ ว่าผู้ป่วยสามารถใช้งานฟันปลอมได้ดี ไม่มีอาการเจ็บปวด สะพานฟันอยู่ในสภาพดี ไม่โยกขยับ ไม่มีการรอบ คอฟัน ไม่มีคราบจุรินทรีย์เกาะติดรอบสะพานฟัน


รอยโรคไลเคนอยด์ในช่องปากที่เกิดจาก ยานาพรอกเซน: รายงานผู้ป่วย 1 ราย, สโรชรัตน์ ปิตุวงศ์ Jan 2003

รอยโรคไลเคนอยด์ในช่องปากที่เกิดจาก ยานาพรอกเซน: รายงานผู้ป่วย 1 ราย, สโรชรัตน์ ปิตุวงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วยรอยโรคไลเคนอยด์ในช่องปาก ที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับยานาพรอกเซนที่ใช้รักษาโรค ข้ออักเสบ ผู้ป่วยได้รับประทานยานี้เป็นเวลานานประมาณ 2-3 ปีติดต่อกัน อาการและลักษณะทางคลินิกของ รอยโรคภายในช่องปากดีขึ้นภายหลังที่ให้ผู้ป่วยหยุดยานี้ จากการติดตามผลการรักษาเป็นระยะ ๆ เป็นเวลา 1 ปีไม่พบว่ามีรอยโรคนี้เกิดขึ้นอีก


ผลของเอพิแกลโลคาเทชิน แกลเลต ในการยับยั้งการกระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ Mmp-2 ที่เหนี่ยวนําโดยสารละลายคอลลาเจนในเซลล์ไลน์ ของมะเร็งชนิดสแควร์มัสเซลล์ที่ได้จากช่องปาก, นิรชา สารชวนะกิจ, อมรรัตน์ สุวรรณชัย, อรฉัตร บุณยเกียรติ, อาทิพันธ์ พิมพ์ขาวขำ, ประสิทธิ์ ภวสันต์ Jan 2003

ผลของเอพิแกลโลคาเทชิน แกลเลต ในการยับยั้งการกระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ Mmp-2 ที่เหนี่ยวนําโดยสารละลายคอลลาเจนในเซลล์ไลน์ ของมะเร็งชนิดสแควร์มัสเซลล์ที่ได้จากช่องปาก, นิรชา สารชวนะกิจ, อมรรัตน์ สุวรรณชัย, อรฉัตร บุณยเกียรติ, อาทิพันธ์ พิมพ์ขาวขำ, ประสิทธิ์ ภวสันต์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของเอพีแกลโลคาเทชิน แกลเลต (Epigallocatechin gallate; EGCG) ซึ่งเป็นสารสกัด จากใบชาในกลุ่มโพลีฟีนอล ในการยับยั้งการกระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ MMP-2 ในเซลล์ไลน์จากมะเร็ง ชนิดสแควร์มัสเซลล์ที่พบในช่องปาก วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาในห้องปฏิบัติการ โดยใช้ HSC-3 และ HSC-7 ซึ่งเป็นเซลล์ไลน์ของมะเร็ง ชนิดสแควร์มัสเซลล์ และ HFF ซึ่งเป็นเซลล์ไลน์ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เซลล์ไลน์ทั้งสามถูกเลี้ยงในสภาวะที่เดิม สารละลายคอลลาเจน 200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เพื่อเหนี่ยวนําการกระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ MMP-2 จากนั้นเติม EGCG ที่ความเข้มข้น 0, 1, 10 ไมโครโมลาร์ เป็นเวลา 48 ชั่วโมง ระดับของ แอคทีฟ MMP-2 ถูก ตรวจวัดจากอาหารเลี้ยงเซลล์ด้วยเทคนิคเจลาตินไซโมกราฟฟิผลการศีกษา พบว่า EGCG ที่ความเข้มข้น 10 ไมโครโมลาร์ ลดระดับการกระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ MMP-2 ใน HSC-3 และ HFF และยับยั้งการกระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ MMP-2 ใน HSC-7 สรุป ผลการศึกษาแสดงให้เห็นความสามารถของ EGCO ในการลดการกระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ MMP-2 ซึ่งมีบทบาทสําคัญในกระบวนการแพร่กระจายของมะเร็งโดยทั่วไปรวมทั้งมะเร็งชนิดสแควร์มัสเซลล์ ซึ่งเป็น คุณสมบัติอีกด้านหนึ่งของ EGCG นอกเหนือจากการเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ด้านการเกิดมะเร็งดังที่เคยมี รายงานในมะเร็งหลายๆชนิด


เปรียบเทียบปริมาณฟลูออไรด์ที่ขับออกภายหลัง การกินยาเม็ดฟลูออไรด์พร้อมน้ํา นมธรรมดา และนมแคลเซียมสูง, ยุทธนา ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม, กฤษนันท์ ประคองทรัพย์, สานเดิม มุทธสกุล Jan 2003

เปรียบเทียบปริมาณฟลูออไรด์ที่ขับออกภายหลัง การกินยาเม็ดฟลูออไรด์พร้อมน้ํา นมธรรมดา และนมแคลเซียมสูง, ยุทธนา ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม, กฤษนันท์ ประคองทรัพย์, สานเดิม มุทธสกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณฟลูออไรด์ที่ขับออกมาในปัสสาวะภายในเวลา 3 ชั่วโมงหลังกินยาเม็ดไซเดียม ฟลูออไรด์พร้อมน้ํา นมธรรมดา และนมแคลเซียมสูง วัสดุและวิธีการ อาสาสมัครสุขภาพสมบูรณ์ อายุระหว่าง 19-21 ปี จํานวน 10 คนกินยาเม็ดโซเดียมฟลูออไรด์ 0.25 มิลลิกรัม 1 เม็ด พร้อมน้ํา 250 มิลลิลิตร เก็บปัสสาวะทุก 30 นาที หลังกินยาจนครบ 3 ชั่วโมง วัดปริมาตร ของปัสสาวะและความเข้มข้นของฟลูออไรด์อิออนในปัสสาวะด้วยฟลูออไรด์อีเล็คโทรด จํานวนปริมาณฟลูออไรด์ เฉลี่ยที่ถูกขับออกมาในปัสสาวะในเวลา 3 ชั่วโมง และร้อยละเฉลี่ยเมื่อเทียบกับปริมาณฟลูออไรด์ที่กิน ทําการ ทดลองซ้ําโดยให้กินยาเม็ดไซเดียมฟลูออไรด์พร้อมนมธรรมดา 2 ชนิด และนมแคลเซียมสูง 2 ชนิด โดยเว้นระยะ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงสําหรับนมแต่ละชนิด เปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติของปริมาณฟลูออไรด์เฉลี่ยที่ถูกขับออกมาในปัสสาวะภายหลังการกินพร้อมน้ําและนมแต่ละชนิดด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจําแนกทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบคู่ที่แตกต่างกันด้วยวิธีนัยสําคัญน้อยที่สุด (Least significance difference) ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา ปริมาณฟลูออไรด์เฉลี่ยที่ถูกขับออกมาในปัสสาวะในเวลา 3 ชั่วโมงหลังกินยาเม็ดโซเดียมฟลูออไรด์ พร้อมน้ํา นมธรรมดาชนิดที่ 1 นมธรรมดาชนิดที่ 2 นมแคลเซียมสูงชนิดที่ 1 และนมแคลเซียมสูงชนิดที่ 2 เท่ากับ 0.139 + 0.014, 0.114 + 0.026, 0.113 + 0.034, 0.079 + 0.022 และ 0.080 4 0.024 มิลลิกรัม คิดเป็นร้อยละ ของปริมาณฟลูออไรด์ทั้งหมดที่กินเท่ากับ 55.6, 45.6, 45.2, 31.6 และ 32.0ตามลําดับ ปริมาณเฉลี่ยของฟลูออไรด์ ที่ถูกขับออกมาในปัสสาวะหลังกินพร้อมน้ํามากกว่าปริมาณเฉลี่ยของฟลูออไรด์ที่ถูกขับออกมาหลังกินพร้อม นมทั้ง 4 ชนิดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ปริมาณเฉลี่ยของฟลูออไรด์ที่ถูกขับออกมาหลังกินพร้อม นมธรรมดาทั้ง 2 ชนิดมากกว่าปริมาณฟลูออไรด์ที่ถูกขับออกมากหลังกินพร้อมนมแคลเซียมสูงทั้ง 2 ชนิดอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) สรุป ปริมาณแคลเซียมในนมที่เพิ่มขึ้นเป็นผลให้ปริมาณฟลูออไรด์ที่ถูกขับออกมาในปัสสาวะลดลง


Enamel Shear Bond Strength Of Different Sealants: In Vitro Study, Supaporn Chongvisal, Piyanuch Saisuwan, Thipawan Tharapiwattananon Jan 2003

Enamel Shear Bond Strength Of Different Sealants: In Vitro Study, Supaporn Chongvisal, Piyanuch Saisuwan, Thipawan Tharapiwattananon

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The aim of this study was to investigate the enamel shear bond strength of four sealants in vitro. Materials and methods Sixty caries-free human premolars were randomly divided into four groups of 15. The materials used were a local-made sealant (LM), Super-Bond C&B (SB), Delton® (D) and Concise™(C). Each material was prepared according to the instruction of the manufacturer. The sealant was placed in a mold, cured, stored in distilled water for 24 hr and shear bond strength determined by the Instron Universal Testing Machine at a crosshead speed of 0.5 mm/min. Results The results in MPa were: LM, …


ความรู้และพฤติกรรมในการสร้างเสริมป้องกัน ทันตสุขภาพของประชาชนในชุมชนเขตบางรักกรุงเทพมหานคร, มยุรี ตติยกวี Jan 2003

ความรู้และพฤติกรรมในการสร้างเสริมป้องกัน ทันตสุขภาพของประชาชนในชุมชนเขตบางรักกรุงเทพมหานคร, มยุรี ตติยกวี

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมในการสร้างเสริมและป้องกันทันตสุขภาพของประชาชนในชุมชน เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร วัสดุและวิธีการใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลโดยสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS ใช้ค่าสถิติ 2. test กําหนดค่านัยสําคัญ p < 0.05 ผลการศึกษา พบว่าจากประชาชนกลุ่มตัวอย่าง 235 ราย มีความรู้ในเรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธี สาเหตุโรคฟันผุ และโรคเหงือก การป้องกันโรคฟันผุ การป้องกันโรคเหงือก คิดเป็นร้อยละ 74, 35.1, 86, และ 70.2 ตามลําดับ มี ความรู้ในเรื่องการเคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์ในเด็ก การเคลือบหลุมร่องฟัน การรับประทานฟลูออไรด์เสริม และ การตรวจฟันด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 39.6, 57.9, 62.6, และ 38.7 ตามลําดับ ในด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ฟันนั้น พบว่าร้อยละ 91.1แปรงฟันวันละ 2 ครั้งขึ้นไป ร้อยละ 64.3 พบทันตแพทย์เมื่อมีปัญหาทันตสุขภาพ และ ร้อยละ 16.2 ไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันประจําปี จากการวิเคราะห์ทางสถิติในกลุ่มตัวอย่างนี้พบว่า ผู้หญิง ผู้มี การศึกษาสูง และผู้ที่มีรายได้เพียงพอ มีความรู้และพฤติกรรมทางทันตสุขภาพดีกว่า ผู้ชาย ผู้มีการศึกษาที่ต่ํากว่า และผู้ที่มีรายได้ไม่เพียงพอ การเรียนรู้ทันตสุขภาพจากโทรทัศน์และจากโฆษณา มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้วิธี แปรงฟันที่ถูกต้องและการป้องกันโรคเหงือก และความต้องการให้สอนทันตสุขศึกษาทางสื่อต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับ การเรียนรู้จากโทรทัศน์ อย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05)สรุป ประชาชนในชุมชนเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ยังขาดความรู้ด้านการสร้างเสริมและป้องกันทันตสุขภาพอีก หลายประการ ความรู้และพฤติกรรมในการสร้างเสริมป้องกันทันตสุขภาพมีความสัมพันธ์ กับ เพศ อายุ ระดับ การศึกษา และรายได้ของบุคคล สื่อโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของประชาชน


โรควอนวิลลีแบรนด์ กับปัญหาทางทันตกรรม, พูนสุข ปรีชาพานิช Jan 2003

โรควอนวิลลีแบรนด์ กับปัญหาทางทันตกรรม, พูนสุข ปรีชาพานิช

Chulalongkorn University Dental Journal

โรควอนวิลลีแบรนด์ (von Willebrand's Disease) เป็นโรคเลือดออกผิดปกติที่เป็นมาแต่กําเนิด ถ่ายทอด ทางพันธุกรรมแบบออโตโซมอล โดมิแนนท์ (autosomal dominant) เกิดในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของวอลวิลลี - แบรนด์แฟคเตอร์ และไปทําให้มีความผิดปกติของแฟคเตอร์ 8 แอนติฮีมโมฟิลิค กลอบบูลีน (antihemophilic globulin ) และมีความผิดปกติในหน้าที่ของเกร็ดเลือด ในโรคนี้มีจํานวนเกร็ดเลือดและการแข็งตัวของลิ่มเลือดปกติ แต่ระยะเวลาเลือดออกจะยาวนานกว่าปกติ ดังนั้นการทําฟันจะต้องทําด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะการถอนฟัน หรือขูดหินปูน จําเป็นจะต้องทําการรักษาร่วมกับแพทย์ทางโลหิตวิทยา แก้ไขปัญหาทางการแพทย์ ก่อนการให้ การรักษาทางทันตกรรมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเลือดออกผิดปกติ ในบทความนี้ได้รายงานผู้ป่วย 2 ราย ที่เป็นโรควอนวิลลีแบรนด์ร่วมกับการรักษาทางทันตกรรม


การสูญเสียฟันในผู้ป่วยทันตกรรมสูงอายุและความสัมพันธ์กับโรคทางระบบ, อารีย์ เจนกิตติวงศ์ Jan 2003

การสูญเสียฟันในผู้ป่วยทันตกรรมสูงอายุและความสัมพันธ์กับโรคทางระบบ, อารีย์ เจนกิตติวงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลของอุบัติการและรูปแบบของการสูญเสียฟันในผู้ป่วยทันตกรรมสูงอายุ และเพื่อหาความสัมพันธ์ของการสูญเสียฟันกับโรคทางระบบประชากร กษาและวิธีการ การศึกษาทําในผู้ป่วยที่มาขอรับการรักษาทางทันตกรรมที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 60 ปีหรือมากกว่า จํานวน 510 คน โดยการสัมภาษณ์เกี่ยวกับโรคทางระบบ และ ตรวจช่องปากบันทึกซี่ฟันที่หายไป ผลการศึกษา อุบัติการของการสูญเสียฟัน ภาวะสูญเสียฟันทั้งปาก และจํานวนพื้นที่หายไปเพิ่มตามอายุที่สูงขึ้น - อย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.001) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ (83.1%) มีฟันหายไปอย่างน้อย 1 ปี ขณะที่ 12.5% ของผู้ สูงอายุไม่มีฟันทั้งปาก ค่าเฉลี่ยจํานวนฟันที่หายไปในผู้สูงอายุจํานวน 510 คน คือ 16.7 ต่อคน ไม่พบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยจํานวนฟันที่หายไประหว่างเพศ พบว่าฟันที่หายไปบ่อยที่สุดคือ ฟันกรามใหญ่ ฟันที่หายไปน้อยที่สุดคือ ฟันเขี้ยว ค่าเฉลี่ยจํานวนรากฟันเหลือค้างในช่องปากของผู้สูงอายุ 136 คนคือ 2.3 รากต่อคน พบรากฟันเหลือค้าง ในขากรรไกรบนมากกว่าขากรรไกรล่าง ไม่พบความแตกต่างของอุบัติการและค่าเฉลี่ยจํานวนรากฟันเหลือค้างระหว่างเพศและอายุ ผู้สูงอายุจํานวน 421 คนมีโรคทางระบบอย่างน้อยหนึ่งชนิด ค่าเฉลี่ยจํานวนฟันที่หายไปใน ผู้สูงอายุที่มีโรคทางระบบไม่แตกต่างจากผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคใด ๆ และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสูญเสียฟันทั้งปากกับการที่มีโรคทางระบบสรุป การศึกษานี้สนับสนุนการศึกษาอื่น ๆ ที่รายงานว่าอุบัติการของการสูญเสียฟันและจํานวนพื้นที่หายไปสูงใน ผู้สูงอายุ และแปรตามอายุที่สูงขึ้น แต่การศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ของการสูญเสียฟันกับโรคทางระบบ