Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University Dental Journal

1985

Articles 1 - 30 of 32

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Collagenase Activity In Gingival Tissues In Periodontal Disease, Nopakun J. Sep 1985

Collagenase Activity In Gingival Tissues In Periodontal Disease, Nopakun J.

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


(X-Ray Museum) : Macrodontia And Microdontia, Dhiravarangkura P. Sep 1985

(X-Ray Museum) : Macrodontia And Microdontia, Dhiravarangkura P.

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


สภาวะอนามัยช่องปากของเด็กอายุ 6-12 ปี จากครอบครัวที่มีระดับเศรษฐกิจต่ำในเขตกรุงเทพมหานคร, ทรงธรรม สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง, ยุทธนา ปัญญางาม Sep 1985

สภาวะอนามัยช่องปากของเด็กอายุ 6-12 ปี จากครอบครัวที่มีระดับเศรษฐกิจต่ำในเขตกรุงเทพมหานคร, ทรงธรรม สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง, ยุทธนา ปัญญางาม

Chulalongkorn University Dental Journal

ดัชนีอนามัยช่องปาก (oral hygiene index) ของเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา อายุ 6-12 ปี ที่สุ่มมาจากโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร 24 แห่ง จากทุกเขตการปกครอง จำนวน 1,508 คน มีค่าเฉลี่ยเป็น 2.1 ซึ่งจัดอยู่ในระดับพอใช้ ค่าดัชนีอนามัยช่องปากของ เด็กเหล่านี้ถูกกำหนดโดยอิทธิพลของดัชนีแผ่นคราบฟัน (debris index) ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 1.9 มากกว่าจะเป็นผลจากอิทธิพลของดัชนีหินน้ำลาย (calculus index) ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 0.2 ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าการเลือกใช้วิธีแปรงฟันที่เหมาะสมและให้ประสิทธิภาพสูงในการกำจัดแผ่นคราบฟัน น่าจะทำให้สภาวะอนามัยช่องปากของเด็กเหล่านี้เปลี่ยนไปอยู่ในระดับดีได้ อย่างไรก็ดี พบว่าความแตกต่างระหว่างเพศจะมีอิทธิพลต่อดัชนีแผ่นคราบฟันและดัชนีอนามัยช่องปากอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p < 0.01 และ p < 0.1) โดยกลุ่มเด็กผู้หญิงจะมีค่าเฉลี่ยของดัชนีอนามัย ช่องปากและดัชนีแผ่นคราบฟันเท่ากับ 2.06 และ 1.84 ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มเด็กผู้ชาย จะมีค่าเฉลี่ยของดัชนีทั้งสองเท่ากับ 2.13 และ 1.95 ตามลำดับ ขณะเดียวกันก็พบว่าเด็กกลุ่ม อายุน้อยจะมีดัชนีแผ่นคราบฟันและดัชนีหินน้ำลายต่ำ และเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น แต่ความ แตกต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้เมื่อทำการทดสอบทางสถิติโดยคำนวณหาค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างดัชนีอนามัยช่องปากกับอัตราฟันผุ ถอน อุด พบว่าค่าที่ได้ต่ำ มาก อย่างไรก็ดีกลุ่มที่มีสภาวะอนามัยช่องปากระดับดีจะพบมีอัตราฟันผุ ถอน อุด ต่ำกว่า กลุ่มที่มีสภาวะอนามัยช่องปากระดับเลว ทั้งในฟันแท้และฟันน้ำนม


การเปรียบเทียบคุณภาพของฟิล์มเอ็กซเรย์ โกดักกับอินสแตนท์, ไพรัช ธีรวรางกูร, สุนทรา พันธ์มีเกียรติ Sep 1985

การเปรียบเทียบคุณภาพของฟิล์มเอ็กซเรย์ โกดักกับอินสแตนท์, ไพรัช ธีรวรางกูร, สุนทรา พันธ์มีเกียรติ

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานนี้ แสดงผลของการเปรียบเทียบคุณภาพของภาพรังสีในตำแหน่งเดียวกันบน ฟิล์มโกดัก (Kodak film) กับฟิล์มอินสแตนท์ (Instant film) ในเรื่องความดำของภาพ (Density) การตัดกันของสีขาวและสีดำ (Contrast) ความชัดแจ๋ว (Sharpness) รายละเอียด (Detail) และความแน่นอน (Definition) ความบิดเบือนของภาพ (Distortion) โดยทำ การถ่ายภาพรังสีด้วยวิธีแบ่งครึ่งมุม (Bisecting the angle technic) ผู้ป่วยที่มารับการรักษา ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 40 คน อายุระหว่าง 12 ถึง 50 ปี ผลปรากฏว่า เมื่อใช้เครื่องมือวัดความดํา (Densitometer) หาค่าความดํา (Density) และ การตัดกันของสีขาวและสีดํา พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญ ส่วนการอ่านฟิล์มด้วยตา พบว่า ความชัดแจ๋วแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ และความบิดเบือนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัย สําคัญทางสถิติทั้งหมดที่ ๕ α 0.05, t = 2.447


การเก็บรักษายาชาให้มีประสิทธิภาพ, ประเสริฐ ทรงกิตติคุณ Sep 1985

การเก็บรักษายาชาให้มีประสิทธิภาพ, ประเสริฐ ทรงกิตติคุณ

Chulalongkorn University Dental Journal

การทดสอบการออกฤทธิ์ของนอร์อะเดรนาลีน (noradrenaline) ในยาชาลิโดเคน (Lidocaine) ใช้ปลากัดลูกหม้อเพศผู้จำนวน 44 ตัว พบว่าระยะเวลาการออกฤทธิ์ของนอร์-อะเดรนาลีนในยาชาที่เก็บไว้ในตู้เย็น และยาชาประเภทเดียวกันนี้ที่เก็บไว้ในห้องปรับอากาศ ยาวกว่ายาชาที่เก็บไว้ ณ อุณหภูมิห้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) เนื่องจากนอร์-อะเดรนาลีนเป็นสารบีบหลอดเลือดที่มีอิทธิพลต่อการออกฤทธิ์ของยาชา คือจำนวนสารนี้ลดลง จะทําให้ยาชาหมดฤทธิ์เร็ว ดังนั้น ควรเก็บยาชาที่มีนอร์อะเดรนาลีนไว้ในตู้เย็น หรือห้องปรับ อากาศ เพื่อป้องกันการทำลายนอร์อะเดรนาลีน ซึ่งจะส่งผลไปถึงการออกฤทธิ์ของยาชาด้วย


รายงานผู้ป่วย : ผู้ป่วยไลเคน พลานัส ในช่องปากกับโรคเบาหวาน, อารีย์ เจนกิตติวงศ์ Sep 1985

รายงานผู้ป่วย : ผู้ป่วยไลเคน พลานัส ในช่องปากกับโรคเบาหวาน, อารีย์ เจนกิตติวงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

บทความนี้เป็นรายงานผู้ป่วย ไลเคน พลานัส ในช่องปากที่ได้รับการรักษาและควบคุม อาการของโรคไว้ดีแล้ว ต่อมาเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยสูงกว่าปกติ ปรากฏว่ารอย โรคในช่องปากกำเริบขึ้น ขยายขอบเขตไปยังบริเวณต่าง ๆ ในช่องปากและมีอาการรุนแรง การรักษาโดยให้สเตียรอยด์เฉพาะที่ร่วมกับการควบคุมโรคเบาหวาน ปรากฏว่า เมื่อสามารถ ลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในสภาวะปกติสามารถควบคุมอาการของโรคได้ดี จึงน่าที่จะมี ความสัมพันธ์ระหว่าง ไลเคน พลานัสในช่องปากกับโรคเบาหวาน ในแง่ที่โรคเบาหวานส่งเสริม ให้ อาการของไลเคน พลานัส รุนแรงขึ้น


รายงานผู้ป่วย : กระดูกโคโรนอยด์ไฮเปอร์เพลเซีย, สิทธิชัย ทัดศรี Sep 1985

รายงานผู้ป่วย : กระดูกโคโรนอยด์ไฮเปอร์เพลเซีย, สิทธิชัย ทัดศรี

Chulalongkorn University Dental Journal

การเจริญเติบโตที่ผิดปกติของกระดูกโคโรนอยด์ ไม่ค่อยปรากฏบ่อยนัก ไม่เหมือน กระดูกคอนไดล์ (condyle) ซึ่งพบได้บ่อยกว่า ดังนั้นการวินิจฉัยขั้นต้นมักผิดเพราะคิดว่าเป็น ที่กระดูกคอนไดล์ ได้รายงานผู้ป่วย 1 รายที่มีอาการอ้าปากได้แคบลงและขัดขวางการเคลื่อน ไหวของขากรรไกรล่าง จากประวัติ การตรวจร่างกายและภาพรังสีแสดงถึงการขยายใหญ่ของ กระดูกโคโรนอยด์ ผลการตรวจทางพยาธิวิทยาพบว่าเป็นไฮเปอร์เพลเซียของกระดูกโคโรนอยด์ การรักษาโดยการทำศัลยกรรมเอากระดูกโคโรนอยด์ออก และเข้าทำศัลยกรรมทางช่องปากจะ เป็นวิธีที่ง่าย หลีกเลี่ยงการเกิดแผลเป็นบนใบหน้า อันตรายน้อย และได้ผลดีที่สุด


การตรวจหาเชื้อแคนดิดาในช่องปาก โดยวิธีเพาะเลี้ยงแบบอิมพรินท์, กฤษณา อิฐรัตน์ Sep 1985

การตรวจหาเชื้อแคนดิดาในช่องปาก โดยวิธีเพาะเลี้ยงแบบอิมพรินท์, กฤษณา อิฐรัตน์

Chulalongkorn University Dental Journal

การตรวจหาเชื้อแคนดิดา ในช่องปากมีหลายวิธีซึ่งให้ผลแตกต่างกัน วิธีการตรวจที่ ให้ผลถูกต้องเชื่อถือได้ จะเป็นสิ่งที่ช่วยในด้านการให้การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องตลอดจนการ วางแผนการรักษาทั้งโรคในช่องปาก และโรคทางระบบของร่างกาย วิธีเพาะเลี้ยงแบบอิมพรินท์ เป็นวิธีการตรวจหาเชื้อแคนดิดาในช่องปากแบบใหม่ ที่ง่ายและสะดวก และให้ผลดี ถูกต้อง เชื่อถือได้มากที่สุดและมีความไวต่อการตรวจพบเชื้อสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการตรวจแบบอื่น ๆ เหมาะสำหรับใช้ตรวจหาเชื้อแคนดิดาทั้งในแง่ของการวินิจฉัยโรคในคนที่มีแผล ติดเชื้อในช่องปาก และในคนที่มีโรคทางระบบของร่างกายที่มีจำนวนเชื้อแคนดิดาในช่องปาก สูงรวมทั้งที่มีแนวโน้มของการเพิ่มสูงขึ้นของเชื้อแคนดิดาในช่องปาก ตลอดจนแม้ในคนที่มี สุขภาพในช่องปากปกติ ก็สามารถที่จะตรวจพบเชื้อแคนดิดา ได้โดยวิธีนี้


การใช้ฟลูออไรด์ในทางทันตกรรมจัดฟัน, ปิยารัตน์ อภิวัฒนกุล Sep 1985

การใช้ฟลูออไรด์ในทางทันตกรรมจัดฟัน, ปิยารัตน์ อภิวัฒนกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

คนไข้ที่รับการบำบัดรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ถ้าไม่ดูแลความสะอาดในช่องปาก ให้เพียงพอ อาจได้รับผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการคือ เกิดการละลายสูญเสียแร่ธาตุของผิวเคลือบ ฟัน ซึ่งก่อให้เกิดการผุของฟันได้ ผลของการบำบัดรักษาจะไม่ดีเท่าที่ควร หรือทำให้เวลาของ การบำบัดรักษานานขึ้น การพิจารณาเลือกใช้สารประกอบฟลูออไรด์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างความทนทานต่อการละลายผิวเคลือบฟันแก่คนไข้เหล่านั้น จะช่วยลดผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการนี้ได้ โดยเฉพาะคนไข้อายุน้อยที่ฟันแท้เพิ่งโผล่ขึ้นสู่ช่องปาก และการสะสมของเกลือแร่ต่าง ๆ ที่ผิวเคลือบฟันยังไม่สมบูรณ์


ไลโปมาในช่องปาก (รายงานผู้ป่วย), ผ่องเพ็ญ ชินะวงศา, สมพร สวัสดิสรรพ์ May 1985

ไลโปมาในช่องปาก (รายงานผู้ป่วย), ผ่องเพ็ญ ชินะวงศา, สมพร สวัสดิสรรพ์

Chulalongkorn University Dental Journal

ไลโปมาเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายพบได้บ่อยในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ยกเว้นใน ช่องปากซึ่งพบได้น้อยมาก เนื้องอกนี้มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อที่โตช้า ไม่มีอาการเจ็บปวด คลำนุ่ม ประกอบด้วยเซลล์ไขมันจำนวนมาก ลักษณะทางคลินิกคล้ายกับไฟโบรมา ซึ่งทำให้การ พิเคราะห์โรคขั้นต้นผิดไปได้ รายงานนี้กล่าวถึงผู้ป่วยที่มาพบทันตแพทย์ด้วยมีก้อนเนื้อในปาก ไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่รำคาญเนื่องจากกัดถูกเสมอเวลารับประทานอาหาร ทันตแพทย์ ได้ให้การพิเคราะห์โรคขั้นต้นเป็นไฟโบรมา และทำการรักษาโดยตัดออกทั้งหมด แล้วส่งชิ้นเนื้อมาตรวจทางจุลพยาธิวิทยา ที่ภาควิชาทันตพยาธิวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ ลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการตรวจ เป็นไลโปมา


สภาวะโรคฟันผุในฟันน้ำนมและฟันแท้ของ เด็กนักเรียน ในเขตกรุงเทพมหานคร, ขวัญชัย ปรัชญา, ยุทธนา ปัญญางาม May 1985

สภาวะโรคฟันผุในฟันน้ำนมและฟันแท้ของ เด็กนักเรียน ในเขตกรุงเทพมหานคร, ขวัญชัย ปรัชญา, ยุทธนา ปัญญางาม

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษาสภาวะโรคฟันผุในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา (อายุ 6-12 ปี) ที่มา จากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,508 คน พบว่า อัตราความชุกชุม (prevalence) ของโรคฟันผุในฟันแท้ของประชากรกลุ่มตัวอย่างมี ค่าคิดเป็นร้อยละ 84.10 ในขณะที่ฟันน้ำนมมีค่าเป็นร้อยละ 73.62 สภาพความรุนแรงของ โรคฟันผุในฟันแท้ที่แสดงด้วยค่าเฉลี่ยของฟันผุถอนอุดคิดเป็นซี่ต่อคนและด้านต่อคน จะตำ เมื่อเด็กอายุน้อยและค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเมื่อ ในเมื่ออายุมากขึ้น โดยมีค่าเป็น 1.22 2.16 2.37 3.20 3.71 4.27 5.17 ปีต่อคน และ 1.86 3.65 4.00 5.89 6.77 7.66 9.74 ด้านต่อคน ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าค่าเฉลี่ยที่คิดเป็นด้านต่อคนจะเพิ่มเร็วกว่าคิดเป็นซี่ต่อคน ซึ่งแสดง ว่ามีการลุกลามของรอยผุไปยังด้านอื่นของซี่ฟันเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น สำหรับค่าเฉลี่ยของ ฟันผุและอุดในฟันน้ำนมพบว่าสูงเมื่ออายุน้อยแล้วค่อย ๆ ลดลง เมื่ออายุมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจาก ไม่สามารถบันทึกข้อมูลการหลุดหายไปของฟันน้ำนมว่ามีประวัติการผุอย่างไรหรือไม่ จึงดูเหมือนว่าค่าดังกล่าวลดลง อย่างไรก็ดีเมื่อนำข้อมูลค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดของฟันแท้มาวิเคราะห์ หาความสัมพันธ์กับอัตราฟันผุและอุดของฟันน้ำนม โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation coefficient, r) พบว่าเด็กกลุ่มอายุ 6, 7 และ 8 ปี จะมีความสัมพันธ์กัน ระหว่างอัตราความรุนแรงของโรคฟันผุของฟันน้ำนมกับฟันแท้ นั่นคือเมื่อตรวจพบว่ามีฟันน้ำนมผุ มากก็น่าจะพบฟันแท้ผุมากด้วย หรือถ้าตรวจพบมีฟันน้ำนมผุน้อย ฟันแท้ก็จะผุน้อย ซึ่ง แสดงให้เห็นว่าถ้าได้มีการดูแลฟันน้ำนมมาอย่างดีตั้งแต่เริ่มมีฟันน้ำนมซี่แรกโผล่ขึ้นสู่ช่องปาก จนถึง 5-6 ขวบแล้ว เมื่อฟันแท้เริ่มขึ้นจะมีโอกาสผุน้อยด้วย ทั้งนี้เพราะองค์ประกอบที่ก่อให้ เกิดโรคฟันผุได้ถูกควบคุมไว้อย่างดีแล้ว


(X-Ray Museum) : Taurodontism, Dhiravarangkura P. May 1985

(X-Ray Museum) : Taurodontism, Dhiravarangkura P.

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


ตำแหน่งของรูเปิดคลองรากฟัน ที่เบี่ยงเบนจากปลายรากฟันในฟันหน้า, ขวัญตา เภกะสุต, ไชยยันต์ อินทราลักษณ์, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร May 1985

ตำแหน่งของรูเปิดคลองรากฟัน ที่เบี่ยงเบนจากปลายรากฟันในฟันหน้า, ขวัญตา เภกะสุต, ไชยยันต์ อินทราลักษณ์, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร

Chulalongkorn University Dental Journal

ฟันหน้าแท้จำนวน 400 ซี่ ซึ่งถูกถอนจากโรงพยาบาลทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้ถูกรวบรวมนำมาใช้ในการศึกษาถึงตำแหน่งของรูเปิดคลองรากฟันที่เบี่ยงเบนไปจากปลายราก การกำหนดตำแหน่งและการวัดระยะทางของรูเปิดคลองรากที่เบี่ยงเบนไปจากปลายรากศึกษา โดยใช้กล้อง Stereomicroscope พร้อมด้วย eyepiece micrometer พบว่าอัตราของความเบี่ยงเบนสูงถึงร้อยละ 92.0 และระยะห่างระหว่างรูเปิดคลองรากฟันไปยังปลายรากมีค่า เฉลี่ยประมาณ 0.56 ม.ม. ความชุกของตําแหน่งรูเปิดคลองรากฟันถึงแม้จะพบมากที่สุดบนด้าน ลิงกวลในฟันตัดบน (ร้อยละ 33.0) และฟันเขี้ยวบนและล่าง (ร้อยละ 40.0) แต่ในฟันตัด ล่างกลับพบมากที่สุดบนด้านเลเบียล (ร้อยะ 47.5)


ตำแหน่งของแนวกลางใบหน้า กับแนวกลางฟันบนและล่างในคนไทย, โสภี ชาติสุทธิพันธุ์ May 1985

ตำแหน่งของแนวกลางใบหน้า กับแนวกลางฟันบนและล่างในคนไทย, โสภี ชาติสุทธิพันธุ์

Chulalongkorn University Dental Journal

ในการศึกษาตำแหน่งของแนวกลางใบหน้า คือร่องเหนือริมฝีปากบน และเนื้อยึด ริมฝีปากบนและล่าง กับแนวกลางฟันบนและล่าง จากผู้ป่วยคนไทยทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวน 775 คน พบว่าในผู้ป่วยส่วนมาก ทั้งเพศชายและเพศหญิงไม่มีความแตกต่างกัน คือ มีแนวกลางฟันบนตรงกับเนื้อยึดริมฝีปากบน มากกว่าจะตรงกับร่องเหนือริมฝีปากบน และ แนวกลางฟันล่างตรงกับเนื้อยึดริมฝีปากล่าง โดยมีแนวกลางฟันล่างเบี่ยงเบนอยู่ไปทางซ้ายของแนวกลางฟันบน ในจำนวนใกล้เคียงกันทั้งสองเพศ ดังนั้นในการเรียงฟันปลอมจึงควรยึดหลักสําคัญ โดยให้ฟันปลอมนั้นมีแนวกลาง ฟันบนตรงกับเนื้อยืดริมฝีปากบน และแนวกลางฟันล่างตรงกับเนื้อยึดริมฝีปากล่าง ส่วนแนว กลางฟันล่างที่เพิ่มจำนวนฟันที่อยู่ไปทางซ้ายในช่วงอายุมากขึ้นนั้น ควรจะได้รับการพิจารณา และศึกษาต่อไป


Case Report : Post Irradiation Caries : Significant Case Findings, Chatsuthipan S. May 1985

Case Report : Post Irradiation Caries : Significant Case Findings, Chatsuthipan S.

Chulalongkorn University Dental Journal

The incidence of rampant caries in patient's for nasopharyngeal cancer who undergone radiotherapy treatment has been well documented. However a study of recent case histories has found that as well as the development of rampant caries after such treatment, another type of caries was also found to be prevalent. This other type of radiotherapy induced caries can be distinquished from rampant caries by virtue of its unique pattern of development.


การใช้ยาประเภทอิมมูโนเรคคิวเลเตอร์ ในการรักษาบำบัดแผลพุพองในช่องปาก, ลัคนา เหลืองจามีกร May 1985

การใช้ยาประเภทอิมมูโนเรคคิวเลเตอร์ ในการรักษาบำบัดแผลพุพองในช่องปาก, ลัคนา เหลืองจามีกร

Chulalongkorn University Dental Journal

การมีแผลพุพองในช่องปากที่เกี่ยวข้องกับโรคทางภูมิคุ้มกันนั้น ก่อให้เกิดความรำคาญ และอาการเจ็บปวดแก่ผู้ป่วยอย่างยิ่ง แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาด แต่ก็สามารถ ควบคุมและบรรเทาอาการของรอยโรคเหล่านั้นได้โดยใช้ยาประเภทอิมมูโนเรคคิวเลเตอร์ บทความ นี้จึงได้รวบรวมลักษณะธรรมชาติการเกิดของรอยโรค ยาที่ใช้รักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอร์ติ โคสเตียรอยด์ อะซาไธโอพริน และลีวามิโซล เพื่อใช้เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาให้การ รักษาผู้ป่วยเหล่านั้นต่อไป


ลักษณะและมาตรฐานตำราทางวิชาการ, ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์ May 1985

ลักษณะและมาตรฐานตำราทางวิชาการ, ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


ปกิณกะ : ความย่อจากวารสารต่างประเทศ May 1985

ปกิณกะ : ความย่อจากวารสารต่างประเทศ

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


บทสรุปวิธีแปรงฟัน ของเด็กและผู้ใหญ่ในชุมชน, ประทีป พันธุมวนิช Jan 1985

บทสรุปวิธีแปรงฟัน ของเด็กและผู้ใหญ่ในชุมชน, ประทีป พันธุมวนิช

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


การวิเคราะห์ภูมิหลังและความต้องการของผู้ใช้บริการ ทันตกรรม ที่ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุนทร ระพิสุวรรณ, ประกอบ บูรณสิน, ธนสิทธิ์ เสรีรัตน์ Jan 1985

การวิเคราะห์ภูมิหลังและความต้องการของผู้ใช้บริการ ทันตกรรม ที่ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุนทร ระพิสุวรรณ, ประกอบ บูรณสิน, ธนสิทธิ์ เสรีรัตน์

Chulalongkorn University Dental Journal

ได้ศึกษาถึงภูมิหลังและความต้องการรักษาทางทันตกรรมของผู้ใช้บริการทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้แบบสอบถาม และสำรวจจากบัตร ตรวจจำนวน 467 คน พบว่า 60.4 เปอร์เซ็นต์ เป็นหญิง 77.52 เปอร์เซ็นต์ เป็นคนที่อายุ ไม่เกิน 33 ปี 63.17 เปอร์เซ็นต์ มีการศึกษาสูงกว่า ม.ศ. 3, 60.81 เปอร์เซ็นต์ มีอาชีพเป็น นักเรียน นิสิต นักศึกษา ฐานะทางการเงินของผู้ใช้บริการเทียบโดยอิงรายได้ของครอบครัว ต่อ เดือน จํานวนสมาชิกในครอบครัวและค่าใช้จ่ายต่อคนของคนกรุงเทพฯ พบว่า 65.91 เปอร์เซ็นต์ มีรายได้พอใช้เดือนต่อเดือน หรือไม่ค่อยจะพอใช้ ระยะทางโดยเฉลี่ยจากบ้าน หรือสถานที่ทํางาน มาถึงคณะทันตแพทยศาสตร์ประมาณ 7 ก.ม. เวลาที่ใช้ในการเดินทางไปรักษาเฉลี่ยประมาณ 45 นาที ความต้องการรักษา หรือบริการทันตกรรมพบว่า 74.15 เปอร์เซ็นต์ต้องการอุดฟัน รอง ลงมา 49.78 เปอร์เซ็นต์ต้องการถอนฟัน และความต้องการแก้ไขระบบบดเคี้ยวมีน้อยที่สุดเพียง 6.84 เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ยของผู้ใช้บริการถอนฟันต่อนิสิตที่ขึ้นคลินิกเพื่อฝึกหัดถอนฟัน โดยอิงจำนวนคนไข้ใหม่ 50 คน จะเท่ากับ 0.63 คน ต่อนิสิต 1 คน


วิธีแปรงฟันวิธีต่าง ๆ, สมพล เล็กเฟื่องฟู, นพดล ศุภพิพัฒน์ Jan 1985

วิธีแปรงฟันวิธีต่าง ๆ, สมพล เล็กเฟื่องฟู, นพดล ศุภพิพัฒน์

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


(X-Ray Museum) : Dens Evaginatus And Talon Cusp, Dhiravarangkura P. Jan 1985

(X-Ray Museum) : Dens Evaginatus And Talon Cusp, Dhiravarangkura P.

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


รายงานผู้ป่วย : การปลูกกระดูกให้ติดแน่นโดยใช้ รีคอนสตรัคชันเพลท, สิทธิชัย ทัดศรี Jan 1985

รายงานผู้ป่วย : การปลูกกระดูกให้ติดแน่นโดยใช้ รีคอนสตรัคชันเพลท, สิทธิชัย ทัดศรี

Chulalongkorn University Dental Journal

การใช้คอนสตรัคชันเพลท (Reconstruction plate) ช่วยยึดกระดูกเป็นวิธีการ อย่างหนึ่งที่นำมาใช้ช่วยยึดกระดูกที่ปลูกให้ติดแน่น ง่าย และการติดเชื้อลดลง ได้รายงาน ผู้ป่วย 2 ราย ที่สูญเสียกระดูกบริเวณขากรรไกรล่าง รายแรกเนื่องจากถูกปืนยิง ส่วนรายที่สอง ได้รับการผ่าตัดไฟบรัสดีสเพลเซียบริเวณกระดูกขากรรไกรออก ทั้งสองรายได้ใช้กระดูกมาปลูกแทนที่โดยใช้เพลทช่วยยึด


รายงานเสนอ : วิธีแปรงฟันของเด็กในชุมชน, อัมพุช อินทรประสงค์ Jan 1985

รายงานเสนอ : วิธีแปรงฟันของเด็กในชุมชน, อัมพุช อินทรประสงค์

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


รายงานวิจารณ์ 1 : วิธีแปรงฟันของเด็กในชุมชน, นพดล ศุภพิพัฒน์ Jan 1985

รายงานวิจารณ์ 1 : วิธีแปรงฟันของเด็กในชุมชน, นพดล ศุภพิพัฒน์

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


รายงานวิจารณ์ 2 : วิธีแปรงฟันของเด็กในชุมชน, หาญณรงค์ ลําใย Jan 1985

รายงานวิจารณ์ 2 : วิธีแปรงฟันของเด็กในชุมชน, หาญณรงค์ ลําใย

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


อภิปรายทั่วไป : วิธีแปรงฟันของเด็กในชุมชน Jan 1985

อภิปรายทั่วไป : วิธีแปรงฟันของเด็กในชุมชน

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


รายงานเสนอ : วิธีแปรงฟันของผู้ใหญ่ในชุมชน, สมพล เล็กเฟื่องฟู Jan 1985

รายงานเสนอ : วิธีแปรงฟันของผู้ใหญ่ในชุมชน, สมพล เล็กเฟื่องฟู

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


รายงานวิจารณ์ 1 : วิธีแปรงฟันของผู้ใหญ่ในชุมชน, ฐิติมา ภู่ศิริ Jan 1985

รายงานวิจารณ์ 1 : วิธีแปรงฟันของผู้ใหญ่ในชุมชน, ฐิติมา ภู่ศิริ

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


รายงานวิจารณ์ 2 : วิธีแปรงฟันของผู้ใหญ่ในชุมชน, วาสนา พัฒนพีระเดช Jan 1985

รายงานวิจารณ์ 2 : วิธีแปรงฟันของผู้ใหญ่ในชุมชน, วาสนา พัฒนพีระเดช

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.