Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

Transverse strength

Publication Year

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของการบ่มตัวภายใต้ความดันต่อกําลังตัดขวาง ของอะคริลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมี, ไพจิตร หัมพานนท์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล, กุลลี ทองปุสสะ, ณวรรณวดี แก้วผลึก May 2002

ผลของการบ่มตัวภายใต้ความดันต่อกําลังตัดขวาง ของอะคริลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมี, ไพจิตร หัมพานนท์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล, กุลลี ทองปุสสะ, ณวรรณวดี แก้วผลึก

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมี ในสภาวะปกติที่อุณหภูมิห้องกับในสภาวะภายใต้ความดัน วัสดุและวิธีการ ทําแท่งชิ้นทดสอบขนาด 10x65x2.5 มิลลิเมตร โดยใช้อะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมี จํานวน 3 ผลิตภัณฑ์ คือ เกทซ์ (Getz) ทาคิลอน (Takilon) พาลาเพรส Palapress เมื่อทําการบ่มตัวด้วยสภาวะปกติ ที่อุณหภูมิห้อง และการบ่มตัวด้วยสภาวะภายใต้ความดัน เปรียบเทียบกับอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน เมลิโอเดนท์ (Meliodent) นําชิ้นทดสอบไปทดสอบค่ากําลังตัดขวางและความสามารถดัดงอก่อนหักโดยเครื่องทดสอบ สากล (Lloyd Universal testing machine รุ่น LR 10K) นําผลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและวิธีทดสอบ แบบตันแคน มัลติเปิล เรนจ์ ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา ในสภาวะปกติอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน Meliodent มีค่ากําลังตัดขวางและค่าความ สามารถดัดงอก่อนหักสูงกว่าอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมีอย่างมีนัยสําคัญ การบ่มตัวภายใต้ความดัน โดยใช้หม้ออัดความดันทําให้อะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมี Getz มีค่าความแข็งแรงตัดขวางสูงขึ้น ใกล้เคียงกับอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน Meliodent ในขณะที่การบ่มตัวของอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัว ด้วยปฏิกิริยาเคมี Takilon ภายใต้ความดันไม่ทําให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ นอกจากนี้การบ่มตัวภายใต้ ความดันไม่ทําให้ค่าความสามารถดัดงอก่อนหักของอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมีสูงขึ้น สรุป การบ่มตัวภายใต้ความดันของอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมี ทําให้ความแข็งแรงของอะครีลิกเรซิน สูงขึ้นเฉพาะบางผลิตภัณฑ์ และไม่ทําให้ทุกผลิตภัณฑ์ในการทดสอบนี้มีความยืดหยุ่นดีขึ้น


ผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต่อความแข็งแรง ดัดขวางของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยความร้อน, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์, รุ่งนภา วานิชวัฒนสิทธิ, สรนันทร์ จันทรางศุ, สิวัลย์ เฉลิมพิสุทธิศักดิ์ Sep 1999

ผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต่อความแข็งแรง ดัดขวางของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยความร้อน, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์, รุ่งนภา วานิชวัฒนสิทธิ, สรนันทร์ จันทรางศุ, สิวัลย์ เฉลิมพิสุทธิศักดิ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อพิจารณาผลของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต่อความแข็งแรงดัดขวางของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกชนิดบ่มด้วยความร้อน วัสดุและวิธีการ เตรียมชิ้นตัวอย่างวัสดุฐานฟันปลอม อะคริลิกชนิดบ่มด้วยความร้อนผลิตภัณฑ์โรเด็กซ์ (โรเดนท์, เอส.อาร์.แอล) รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 65x10x2.5 มม. จํานวน 60 ชิ้นแบ่งเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 10 ชิ้น นําไปแช่ ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผลิตภัณฑ์แบล็กแคท (บริษัท ยูไนเต็ด ไวน์เนอรี่ แอนด์ ดิสทิลเลอรี่ จํากัด) เข้มข้น 40 ดีกรี ที่อุณหภูมิ 5±2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 100 200 300 400 และ 500 ชั่วโมง ตามลําดับ จากนั้นทดสอบ ความแข็งแรงดัดขวางด้วยวิธีกด 3 จุด ด้วยเครื่องยูนิเวอร์ซัลเทสทิ้งแมชชีน (Lloyd, England) รุ่นแอลเค 10 ด้วย ความเร็วหัวกด 5 มิลลิเมตรต่อนาที ผล ค่าเฉลี่ย (หน่วยปาสคาล) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความแข็งแรงตัดขวางของกลุ่มต่างๆ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ไม่ได้แช่ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 59.57 ±4.39 กลุ่มที่ 2 แช่ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครบ 100 ชั่วโมง 59.24± 5.00 กลุ่มที่ 3 แซ่ครบ 200 ชั่วโมง 60.74 ± 5.38 กลุ่มที่ 4 แซ่ครบ 300 ชั่วโมง 59.19± 4.67 กลุ่มที่ 5 แซ่ครบ 400 ชั่วโมง 58.75± 7.22 กลุ่มที่ 6 แซครบ 500 ชั่วโมง 56.6 ±5.38 …


อิทธิพลของการเสริมตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมต่อความแข็งแรงดัดขวางของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิก, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์, ไชยพร เทพชาตรี, พงศธร พู่ทองคำ Apr 1999

อิทธิพลของการเสริมตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมต่อความแข็งแรงดัดขวางของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิก, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์, ไชยพร เทพชาตรี, พงศธร พู่ทองคำ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของการใส่ตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมทั้งที่ทา และไม่ทากาวไชยาในอะคริเลตผลิต ภัณฑ์เคนจิ (Kenji) ต่อความแข็งแรงดัดขวาง (transverse strength) ของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกผลิตภัณฑ์ เมลิโอเดนต์ (Meliodent) รวมทั้งผลของการทํา thermocycling วิธีการ เตรียมชิ้นตัวอย่างวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 65x10x2.5 มม. ซึ่งแบ่งเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 10 ชิ้น ได้แก่ กลุ่มที่ 1) ไม่ได้เสริมแรงด้วยตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิม และไม่ผ่าน thermocycling กลุ่มที่ 2) ไม่ได้เสริมแรงด้วยตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิม และผ่าน thermocycling ที่ 8°C และ 55°C จํานวน 500 รอบ กลุ่มที่ 3) เสริมแรงด้วยตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมที่ไม่ได้ทากาวไชยาในอะคริเลต และไม่ผ่าน thermocycling กลุ่มที่ 4) เสริมแรงด้วยตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมที่ไม่ได้ทากาวไชยาโนอะคริเลต และผ่าน thermocycling กลุ่มที่ 5) เสริมแรง ด้วยตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมที่ทากาวไชยาในอะคริเลต และไม่ผ่าน thermocycling กลุ่มที่ 6) เสริมแรงด้วยตะแกรง เหล็กกล้าไร้สนิมที่ทากาวไซยาโนอะคริเลต และผ่าน thermocycling จากนั้นทดสอบความแข็งแรงตัดขวางด้วยวิธี 3-point bending test ด้วยเครื่อง Instron universal testing machine นําผลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความ แข็งแรงดัดขวางโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และ Tukey's HSD ที่ระดับนัยสําคัญ p<0.05 ผล ค่าเฉลี่ย (หน่วยเมกกะปาสคาล) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความแข็งแรงดัดขวางของวัสดุฐานฟันปลอม อะคริลิกดังต่อไปนี้ กลุ่มที่ 1 75.34 ±4.35 กลุ่มที่ 2 72.17±2.39 กลุ่มที่ 3 71.64±4.26 กลุ่มที่ 4 69.05±4.17 กลุ่มที่ 5 75.80±4.30 และกลุ่มที่ 6 67.75±2.79 ตามลําดับ จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแข็งแรงดัดขวาง ที่ระดับนัยสําคัญ p<0.05 พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของค่าความแข็งแรงดัดขวางระหว่างกลุ่มที่ไม่ผ่าน thermocycling (กลุ่มที่ 1 3 และ 5) และพบว่า thermocycling ไม่ทําให้มีผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญใน กลุ่มที่ไม่ได้เสริม (กลุ่มที่ 1 และ 2) และเสริมตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิม (กลุ่มที่ 3 และ 4) แต่มีผลแตกต่างอย่าง มีนัยสําคัญในกลุ่มที่เสริมตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมและทากาว (กลุ่มที่ 5 และ 6) สรุป ตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมไม่ได้ช่วยเพิ่มความแข็งแรงดัดขวางให้กับวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิก และการทากาว ไชยาในอะคริเลตที่ตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมก็ไม่ได้ช่วยเพิ่มความแข็งแรงดัดขวางให้กับวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิก นอกจากนี้ thermocycling มีผลทําให้ค่าความแข็งแรงตัดขวางลดลงเฉพาะในกลุ่มที่เสริมตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิม และทากาวไชยาโนอะคริเลต