Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

Retention

Publication Year

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การยึดอยู่ และความแนบบริเวณขอบของครอบฟัน เมื่อใช้ซีเมนต์ชนิดต่างกัน, มรกต ตันติประวรรณ Sep 1998

การยึดอยู่ และความแนบบริเวณขอบของครอบฟัน เมื่อใช้ซีเมนต์ชนิดต่างกัน, มรกต ตันติประวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการยึดอยู่ (Retention) และความแนบบริเวณขอบของครอบฟัน (Marginal seating) เมื่อใช้ซีเมนต์ชนิดซิงก์ฟอสเฟต (Zinc phosphate cement) ซีเมนต์ชนิดกลาสไอโอโนเมอร์ (Glass ionomer cement) และซีเมนต์ชนิดเรซิน (Resin cement) เป็นตัวยึดครอบฟัน วัสดุและวิธีการ แบ่งฟันกรามน้อย 30 ซี่ ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ซี่ กรอแต่งฟันแต่ละซี่ให้มีลักษณะ เหมือนกันโดยควบคุม ความสูง พื้นที่หน้าตัด และความเอียงของผนังตามแกน (Axial walls) ด้วยหัวกรอและ เครื่องควบคุมความขนาน (Milling machine) พิมพ์ฟันซี่ที่กรอแต่งมาทําครอบฟันด้วยโลหะเงินผสมเพลลิเดียม วัด ความสูงของครอบฟันโดยใช้เครื่อง Digimatic Indicator ยึดครอบฟันโลหะด้วยซีเมนต์ชนิดต่างกัน โดยกลุ่มที่ 1 ใช้ซิงก์ฟอสเฟต กลุ่มที่ 2 ใช้ กลาสไอโอโนเมอร์ และกลุ่มที่ 3 ใช้เรซิน วัดความสูงของครอบฟันหลังยึดด้วยซีเมนต์ และวัดแรงดึงสูงสุดที่ทําให้ครอบฟันหลุดจากตัวฟันด้วยเครื่อง Lloyd universal testing machine ผลการทดลอง ค่าเฉลี่ยความแตกต่างความสูงของครอบฟันก่อนและหลังซีเมนต์ (ไมโครเมตร) กลุ่มที่ 1 = 36.0 = 16.6 กลุ่มที่ 2 = 14.7 + 7.4 กลุ่มที่ 3 = 45.5 + 21.3 ค่าเฉลี่ยแรงดึงสูงสุด (นิวตัน) กลุ่มที่ 1 = 343.98 + 46.21 กลุ่มที่ 2 = 482.0 + 33.08 กลุ่มที่ 3 = 522.88 …


การเปรียบเทียบแรงยึดเกาะของฐานฟันปลอมอะคริลิก ที่ระดับความคอดต่าง ๆ กันของฟันและแรงยึดเกาะของตะขอลวดดัด, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล, ปิยะวัฒน์ พันธุ์โกศล, รพีพรรณ คงพิทักษ์สกุล, สุธาสินี เปรมอิสระกูล May 1997

การเปรียบเทียบแรงยึดเกาะของฐานฟันปลอมอะคริลิก ที่ระดับความคอดต่าง ๆ กันของฟันและแรงยึดเกาะของตะขอลวดดัด, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล, ปิยะวัฒน์ พันธุ์โกศล, รพีพรรณ คงพิทักษ์สกุล, สุธาสินี เปรมอิสระกูล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงยึดเกาะของฐานฟันปลอมอะคริลิกที่ระดับความคอดต่าง ๆ กันของฟัน และแรงยึดเกาะของตะขอลวดดัด วัสดุและวิธีการ โดยนําฟันกรามน้อยบนที่ 2 และฟันกรามใหญ่บนที่ 1 ฝังลงในแบบจําลองปลาสเตอร์สโตน ทําการพิมพ์ซ้ํา โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ หาแรงยึดเกาะที่ระดับความคอด 0.03 นิ้ว 0.02 นิ้ว 0.01 นิ้วและ ระดับเส้นสํารวจ ส่วนกลุ่มที่ 4 หาแรงยึดเกาะของตะขอลวดดัด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร ที่ระดับความ คอด 0.02 นิ้ว ของฟันกรามใหญ่ชี้ที่ 1 ทดสอบหาค่าแรงยึดเกาะโดยใช้ เครื่องลอยด์ยูนิเวอร์ซัลเทสติ้ง รุ่น แอลอาร์ 10 เค (Lloyd Universal Testing Machine Model LR 10 K) ผลการทดลองและสรุป เมื่อวิเคราะห์ค่าแรงยึดเกาะทางสถิติโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับความ เชื่อมั่น 0.05 และวิธีดันแคนนิวมัลติเพิลเรนจ์ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 พบว่าในฟันซี่เดียวกันแรงยึดเกาะที่ระดับความคอดต่าง ๆ กันจะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ โดยที่ระดับความคอด 0.03 นิ้ว ให้แรงยึดเกาะสูงสุดรองลง มาคือที่ระดับส่วนคอด 0.02 นิ้ว 0.01 นิ้วและที่เส้นสํารวจตามลําดับ และที่ระดับความคอดเดียวกันในฟันต่าง ๆ กัน แรงยึดเกาะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ โดยฐานฟันปลอมที่ครอบคลุมทั้งฟันกรามน้อยซี่ที่ 2 และฟันกรามใหญ่ ที่ 1 ให้แรงยึดเกาะสูงสุด รองลงมาคือฐานฟันปลอมที่ครอบคลุมฟันกรามใหญ่ที่ 1 และฐานฟันปลอมที่ครอบคลุม ฟันกรามน้อยที่ 2 ตามลําดับ ส่วนที่ระดับเส้นสํารวจไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญในฟันกรามน้อยที่ 2 และ ฟันกรามใหญ่ที่ 1 แต่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญในกลุ่มที่ครอบคลุมฟันทั้ง 2 ซี่ ส่วนกลุ่มตะขอลวดดัด ให้แรงยึดเกาะของฐานฟันปลอมน้อยกว่าแรงยึดเกาะของฐานฟันปลอมที่ได้จากระดับความคอด 0.03 นิ้ว 0.02 นิ้ว และ …


ความหนาของซีเมนต์ต่อการยึดติดและความแนบสนิทบริเวณขอบของครอบฟัน, มรกต ตันติประวรรณ, จันทร์ผล ผิวเรือง, พุทธกรอง รักษ์สันติกุล May 1996

ความหนาของซีเมนต์ต่อการยึดติดและความแนบสนิทบริเวณขอบของครอบฟัน, มรกต ตันติประวรรณ, จันทร์ผล ผิวเรือง, พุทธกรอง รักษ์สันติกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

ควบคุมความขนาน ให้มีลักษณะเหมือนกัน คือความสูง 3 มิลลิเมตร หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมมน แบ่งฟันที่กรอแต่งแล้วออกเป็นสี่กลุ่ม โดยกลุ่ม A ใช้ Die-spacer ความหนา 2 ชั้นเพื่อให้เป็นที่อยู่ของซีเมนต์ กลุ่ม B กลุ่ม C และกลุ่ม D ใช้ Die- spacer ความหนา 4 ชั้น 6 ชั้น และ 8 ชั้นตามลําดับ ครอบฟันโลหะซึ่งทําจากโลหะผสมเงินกับเพลลาเดียมทั้ง 52 ชิ้น ถูกนํามายึดติดบนตัวฟันด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดแคปซูล ในแต่ละกลุ่มนําชิ้นตัวอย่าง 3 ชิ้น ไปหาค่าเฉลี่ยความหนาของซีเมนต์ และนําชิ้นตัวอย่างอีก 10 ชิ้น ไปวัดความแนบบริเวณขอบของครอบฟันก่อนและหลังยึดด้วยซีเมนต์ โดยใช้เครื่อง Digimatic indicator บันทึกค่าเฉลี่ยความแตกต่างของความสูงของครอบฟัน วัดแรงดึงสูงสุดที่ใช้ดึงครอบฟันออกจากตัวฟัน ด้วยเครื่อง Lloyd Universal Testing Machine ค่าเฉลี่ยความแตกต่างของความสูงของครอบฟัน (ไมโครเมตร) ของกลุ่ม A = 24.33±14.87, B = 17.89±8.10, C = 13.40±8.74 และ D = 10.80±7.06 แรงดึงสูงสุด (นิวตัน) ของกลุ่ม A = 404.87±80.03, B = 387.57±126.48, C = 360.79±75.64 และ D=452.11±103.77 แล้ววิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ ANOVA และ Duncan Test และได้ผลว่าแรงดึงสูงสุดของแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p<0.05 แต่ความแนบ บริเวณขอบของครอบฟันระหว่างกลุ่มที่ทา Die-spacer หนา 2 ชั้นกับหนา 8 ชั้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p<0.05 จึงสรุปได้ว่าความหนาของซีเมนต์ที่ได้จากการใช้ Die-spacer 2-8 ชั้นให้ค่าแรงยึดติดของครอบฟันไม่แตกต่างกัน ในขณะที่การเพิ่มความหนาของ Die-spacer ช่วยครอบฟันที่ยึดด้วยซีเมนต์ให้มี ความแนบสนิทกับตัวฟันมากขึ้น


การศึกษาเปรียบเทียบความยึดแน่นของสารไออาร์เอ็ม(Irm) กับอมัลกัมในฟันกรามน้ำนมสำหรับงานทันตสาธารณสุข, สายจิต วิสุทธิสิน, พรพรรณ ลีวัธนะ May 1991

การศึกษาเปรียบเทียบความยึดแน่นของสารไออาร์เอ็ม(Irm) กับอมัลกัมในฟันกรามน้ำนมสำหรับงานทันตสาธารณสุข, สายจิต วิสุทธิสิน, พรพรรณ ลีวัธนะ

Chulalongkorn University Dental Journal

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความยึดแน่นของสาร ไออาร์เอ็ม กับอมัลกัม ภายหลัง 6 เดือน ในฟันกรามน้ำนมของเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3-5 ปี จากสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน ศูนย์บริการสาธารณสุข 19 วงศ์สว่าง และโรงเรียนอนุบาลศักดิ์สงวนวิทยาพบว่า ความยึดแน่นของสาร ไออาร์เอ็ม ด้อยกว่าอมัลกัม สำหรับ การบูรณะฟันกรามน้ำนมที่มีรอยผุด้านบดเคี้ยวด้านเดียว หรือมีรอยผุด้านข้างด้วย แต่จากภาพถ่ายรังสีฟันที่บูรณะ ด้วยสารไออาร์เอ็มแล้ว ถึงแม้จะคงอยู่หรือหลุดไปก็ไม่มีการผุเกิดขึ้นใหม่