Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

Resin cement

Publication Year

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Microtensile Bond Strength Between Zirconia Ceramics To Resin Composite Using Different Resin Cements, Putsadee Srisomboonkamon, Prarom Salimee Jan 2019

Microtensile Bond Strength Between Zirconia Ceramics To Resin Composite Using Different Resin Cements, Putsadee Srisomboonkamon, Prarom Salimee

Chulalongkorn University Dental Journal

Background/Objective: This study aimed to evaluate the microtensile bond strength (MTBS) of three zirconia ceramics from different manufacturers bonded to resin composite using three different resin cements. Materials and methods: Three fully-sintered zirconia ceramic blocks (5x5x10 mm) from Katana (Nuvodent, Japan), Lava (3M ESPE, Germany) and Cercon (Degudent, Germany) were fabricated and bonded to resin composite blocks (Filtek Z250, 3M ESPE, USA) with the same size using one of the three resin cements : Panavia F 2.0 (Kuraray, USA), Superbond C&B (Sun Medical, Japan) and RelyX Unicem (3M ESPE, USA). After 24 h, each block was cut under water coolant …


กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์และเรซินซีเมนต์ ในงานทันตกรรมประดิษฐ์, ประพิณ เปี่ยมพริ้ง, รำไพ โรจนกิจ, แมนสรวง อักษรนุกิจ May 1997

กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์และเรซินซีเมนต์ ในงานทันตกรรมประดิษฐ์, ประพิณ เปี่ยมพริ้ง, รำไพ โรจนกิจ, แมนสรวง อักษรนุกิจ

Chulalongkorn University Dental Journal

บทความนี้จะได้กล่าวถึงลูกทิ่งเอเจนต์ สองชนิดที่ใช้ในงานทันตกรรมประดิษฐ์ ได้แก่ กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ และเรซินซีเมนต์ ที่มีการนํามาใช้สําหรับวัตถุประสงค์ทั่วไปคือ ใช้ยึดครอบและสะพานฟันแบบเดิม แทนซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์ และสําหรับเฉพาะงานได้แก่ การใช้ยึดพอร์ซเลนและคอมโพสิตเรซินที่บ่มตัวนอกปากในการบูรณะฟัน การทําฟันปลอมติดแน่นที่ใช้เรซินยึดโดยพิจารณาถึงคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ ของซีเมนต์ทั้งสองชนิดนี้ ได้แก่ คุณสมบัติทางชีวภาพความแข็งแรงของซีเมนต์ ความหนาของชั้นซีเมนต์ การยึดอยู่กับโครงสร้างของฟัน โลหะที่ใช้ในทางทันตกรรม คอมโพสิทเรซิน และพอร์ซเลน คําแนะนําและข้อควรระวังในการใช้การพิจารณาเลือกใช้ ซึ่งโดยมากมักอ้างอิงถึงซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์


การเพิ่มมิติแนวดิ่งขณะสบฟันโดยการบูรณะชั่วคราว ชนิดติดแน่น : รายงานผู้ป่วย, มรกต ตันติประวรรณ May 1996

การเพิ่มมิติแนวดิ่งขณะสบฟันโดยการบูรณะชั่วคราว ชนิดติดแน่น : รายงานผู้ป่วย, มรกต ตันติประวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วยฉบับนี้กล่าวถึง การเพิ่มมิติแนวดิ่งขณะสบฟันโดยใช้การบูรณะชั่วคราวชนิดติดแน่นในผู้ป่วยชายอายุ 21 ปี เป็นโรค amelogenesis imperfecta ซึ่งสูญเสียเคลือบฟัน และเนื้อฟัน ทางด้านบดเคี้ยวไปค่อนข้างมาก รวมทั้งสภาพเคลือบฟันที่เหลืออยู่รอบ ๆ ตัวฟันบาง และไม่แข็งแรง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาผู้ป่วยได้รับการรักษาการสึกกร่อนทางด้านบดเคี้ยว โดยใช้วัสดุอุดฟันทั้ง อะมัลกัม คอมโพสิต และกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ เพื่อคงสภาพมิติแนวดิ่งขณะสบฟันให้คงที่ และเพื่อรอเวลาให้โพรงเนื้อเยื่อฟันมีขนาดเหมาะสมที่จะสามารถครอบฟันถาวรได้ ทั้งนี้การทําครอบฟันในคนไข้รายนี้จําเป็นต้องเพิ่มความสูงในแนวดิ่ง เพื่อให้มีเนื้อที่ทางด้านบดเคี้ยวสําหรับครอบฟัน และความยาวของตัวฟันที่เหมาะสมในการยึดอยู่ (Retention) ของครอบฟัน วิธีการรักษาใช้อุดครอบ ด้วยคอมโพสิต (Composite onlay) รวมกับซีเมนต์ชนิดเรซิน (Resin cement) ยึดติดแน่นบนตัวฟัน เพื่อประเมินว่ากล้ามเนื้อบดเคี้ยว ข้อต่อขากรรไกร และฟันธรรมชาติของผู้ป่วยไม่มีอาการใด ๆ และผู้ป่วยสามารถบดเคี้ยวอาหารได้ตามปรกติภายหลังเพิ่มมิติแนวดิ่งขณะสบฟัน จากนั้นจึงทําการบูรณะครอบฟันถาวรต่อไป