Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

Fluoride

Publication Year

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ฟลูออไรด์และคลอร์เฮกซีดีนลดปริมาณกรดแลคติกที่เกิดจากสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ในหลอดทดลอง, เกรียงไกร คุ้มไพโรจน์, ศิวพร สุขสว่าง, ทิพรัตน์ เมฆาอภิรักษ์ Jan 1999

ฟลูออไรด์และคลอร์เฮกซีดีนลดปริมาณกรดแลคติกที่เกิดจากสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ในหลอดทดลอง, เกรียงไกร คุ้มไพโรจน์, ศิวพร สุขสว่าง, ทิพรัตน์ เมฆาอภิรักษ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเข้มข้นของฟลูออไรด์และคลอร์เฮกซิดีน ที่เหมาะสมต่อการยับยั้งการ สร้างกรดแลคติกจากเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ (Streptococcus mutans) สายพันธุ์ KPSK-2 โดยใช้ฟลูออไรด์ และคลอร์เฮกซิดีน กลูโคเนตที่มีความเข้มข้นต่างๆ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอุปกรณ์ และวิธีการทดลอง การทดลองแบ่งตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุม กลุ่มทดสอบฟลูออไรด์ และกลุ่มคลอร์เฮกซิดีน ในกลุ่มควบคุมเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ถูกบ่มในกับอาหารเลี้ยงเชื้อ Todd Hewitt ส่วนกลุ่มทดสอบเติมฟลูออไรต์ให้มีความเข้มข้น 5, 10, 15 และ 20 ส่วนในล้านส่วนและคลอร์เฮกซิตีนให้มีความ เข้มข้น 0.07, 0.10, 0.50 และ 1.00 mg% ลงในหลอดเลี้ยงเชื้อตามลําดับ นําไปบ่มที่ 37 องศาเซลเซียส ใน 5% CO2 เป็นเวลา 48 ชั่วโมง เก็บเชื้อโดยนําไปปั้นที่ 3,000 รอบต่อนาที นําส่วนใสมาตรวจหากรดแลคติก ผลการทดลอง พบว่าการสร้างกรดแลคติกลดลงเมื่อมีความเข้มข้นของฟลูออไรด์และคลอร์เฮกซีนเพิ่มขึ้น โดยมี ความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ p<0.05 (ANOVA) บทสรุป จากการวิจัยนี้สรุปได้ว่า ยาอมบ้วนปากโซเดียมฟลูออไรด์ และหรือคลอร์เฮกซิดีน กลูโคเนตในความเข้มข้น ที่ต่ํา สามารถยับยั้งการสร้างกรดแลคติกของเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ในหลอดทดลองได้


การศึกษานอกร่างกายถึงกลไกการขนส่งฟลูออไรด์ ผ่านชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข, จีรศักดิ์ นพคุณ, ศานตี เตชาภิประณัย, ศิริพร โชติไพบูลย์พันธุ์ Jan 1991

การศึกษานอกร่างกายถึงกลไกการขนส่งฟลูออไรด์ ผ่านชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข, จีรศักดิ์ นพคุณ, ศานตี เตชาภิประณัย, ศิริพร โชติไพบูลย์พันธุ์

Chulalongkorn University Dental Journal

การดูดซึมฟลูออไรด์เกิดได้ทั้งในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก แต่กลไกการขนส่งฟลูออไรด์ผ่าน ชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ได้ทำการทดลองแสดงถึงอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลง สภาวะกรดด่างของสารละลาย และการเปลี่ยนแปลงปริมาณโซเดียม และคลอไรด์ไอออนที่อยู่ในสารละลาย ด้านผิวดูดซึม ต่อการขนส่งฟลูออไรด์ผ่านชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข โดยชั้นเซลล์ดูดซึมจะได้รับการแยก จากส่วนที่เป็นชั้นกล้ามเนื้อ และนำมาใส่ในเครื่องมือศึกษาการดูดซึมภายนอกร่างกาย สารละลายที่สัมผัสกับ ผิวเซลล์ดูดซึมจะได้รับการปรับสภาวะกรดด่างที่ 6.0 7.0 และ 8.0 ส่วนสารละลายที่สัมผัสด้านหลอดเลือด จะคงสภาวะกรดด่างที่ 7.5 ฟลูออไรด์จะถูกเติมลงไปในสารละลายด้านเซลล์ดูดซึม เพื่อให้ได้ความเข้มข้น 0.25 0.5 และ 1.0 มิลลิโมล หลังจากนั้น 30 นาทีจะนำสารละลายด้านหลอดเลือดไปหาปริมาณฟลูออไรด์ ผลการทดลองพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาวะกรดด่างระหว่าง 6.0-8.0 ไม่มีผลต่อการขนส่งของ ฟลูออไรด์ผ่านเซลล์ผนังลําไส้เล็ก การลดลงในความเข้มข้นของโซเดียมไอออนในสารละลายด้านดูดซึม และการเติมวาเบน (ouabain) ลงไปในสารละลายด้านหลอดเลือด จะมีผลให้การดูดซึมฟลูออไรด์ลดลง แต่ การขนส่งฟลูออไรด์เพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณคลอไรด์ไอออนในสารละลายด้านดูดซึมลดลง ผลการทดลองไม่มี ข้อมูลสนับสนุนสมมุติฐานที่มีผู้เสนอว่าการดูดซึมฟลูออไรด์ในลําไส้เล็กเกิดขึ้นในรูปการแพร่กระจายของ ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ แต่ข้อมูลที่ได้จากการทดลองชี้ให้เห็นว่าการดูดซึมของฟลูออไรด์จากลำไส้เล็ก น่าจะเกิดจากการแพร่กระจายของฟลูออไรด์ไอออน


การวิเคราะห์หาปริมาณฟลูออไรด์ทั้งหมดในยาสีฟัน โดยวิธี Acid Diffusion, ต่อถาวร จันทามงคล, บุญชัย พรหมยารัตน์, รังสรรค์ จิรังษีวัฒนา, จีรศักดิ์ นพคุณ Jan 1982

การวิเคราะห์หาปริมาณฟลูออไรด์ทั้งหมดในยาสีฟัน โดยวิธี Acid Diffusion, ต่อถาวร จันทามงคล, บุญชัย พรหมยารัตน์, รังสรรค์ จิรังษีวัฒนา, จีรศักดิ์ นพคุณ

Chulalongkorn University Dental Journal

การวิเคราะห์หาปริมาณฟลูออไรด์ทั้งหมดที่ผสมอยู่ในยาสีฟัน โดยวิธี acid diffusion ด้วยการใช้ กรดเพอร์คลอริก (4.6 M perchloric acid) เป็นตัวสกัดฟลูออไรด์ออกมาจากยาสีฟัน ที่อุณหภูมิปกติของห้องปฏิบัติการ โดยมี hexamethyldisiloxane เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา พบว่าวิธีการวิเคราะห์โดยวิธีนี้ สามารถสกัดฟลูออไรด์ ออกมาจากสารละลายที่ใช้ในการทดสอบได้ร้อยละ 95.1 ± 3.2 ของปริมาณฟลูออไรด์มาตรฐานที่เติมลงไปในสารละลาย ปริมาณยาสีฟันที่เหมาะสมที่จะนํามาใช้ในการวิเคราะห์โดยวิธีนี้เท่ากับ 0.5 กรัม จากการวิเคราะห์ หาปริมาณฟลูออไรด์ทั้งหมดในยาสีฟันจํานวน 11 ชนิด พบว่าปริมาณฟลูออไรด์ที่ผสมอยู่ในยาสีฟันที่ได้จากการวิเคราะห์โดยวิธี acid diffusion ส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ (P > 05) กับปริมาณฟลูออไรด์ที่คํานวณได้ จากน้ำหนักร้อยละของฟลูออไรด์ที่ผสมอยู่ในยาสีฟัน