Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

Dental services

Publication Year

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ความคิดเห็นของผู้ป่วยใหม่เกี่ยวกับการบริการทางทันตกรรมในคลินิกรวม คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พรทิพย์ วตะกูลสิน, วาสนา พัฒนพีระเดช Jan 2000

ความคิดเห็นของผู้ป่วยใหม่เกี่ยวกับการบริการทางทันตกรรมในคลินิกรวม คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พรทิพย์ วตะกูลสิน, วาสนา พัฒนพีระเดช

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านความคิดเห็นของผู้ป่วยใหม่ที่มาติดต่อ เกี่ยวกับการบริการรักษาพยาบาลทางทันตกรรม ในคลินิกรวมคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัสดุและวิธีการ เก็บข้อมูลในผู้ป่วยใหม่ที่มาติดต่อเพื่อขอรับการรักษาทางทันตกรรมที่คลินิกรวมในระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 โดยใช้แบบสอบถามจํานวน 500 ฉบับ และนําข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีประเภทของคลินิกให้เลือก 3 ประเภท รวมทั้งไม่ทราบว่าแต่ละประเภทของคลินิก ผู้ให้การรักษาและเวลาในการมารับการรักษาแตกต่างกัน ผู้ป่วย ส่วนใหญ่คาดหวังว่าเมื่อมาติดต่อที่คลินิกรวมผู้ป่วยจะได้รับการรักษาเลย และเมื่อพิจารณาถึงความพึงพอใจของ ผู้ป่วยต่อระบบงานของคลินิกรวม ผู้ป่วยไม่พึงพอใจในด้านการเข้าคิวของการรักษา ส่วนในด้านช่วงเวลา ความถี่ ของเวลาในการมารับการรักษา ตลอดจนผู้ให้การรักษา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใจปานกลาง สรุป ผู้ป่วยใหม่ส่วนใหญ่ไม่ทราบเกี่ยวกับระบบงานในการบริการรักษาพยาบาลทางทันตกรรมในคลินิกรวม คณะ ทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนไม่ทราบถึงระบบงานทั่วๆ ไปของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ด้วย ซึ่งสาเหตุนี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้เกิดปัญหากับการทํางาน รวมทั้งผู้ป่วยและผู้เกี่ยวข้อง


ความต้องการการบําบัดรักษาทางทันตกรรมของข้าราชการผู้สูงอายุของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปรารมภ์ ซาลิมี, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, ดุษฎี ก่อก้องวิศรุต, สดใส วิโรจน์ศักดิ์ Jan 1999

ความต้องการการบําบัดรักษาทางทันตกรรมของข้าราชการผู้สูงอายุของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปรารมภ์ ซาลิมี, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, ดุษฎี ก่อก้องวิศรุต, สดใส วิโรจน์ศักดิ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวโน้มของความต้องการการบริการทางทันตกรรมในกลุ่มข้าราชการผู้สูงอายุของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนในการให้บริการแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีขึ้นในอนาคตที่หน่วยทันตกรรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิธีการศึกษา การวิจัยทําโดยการส่งแบบสอบถามจํานวน 686 ฉบับ ไปยังกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มในระหว่าง เดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 กลุ่มเป้าหมายกลุ่มแรกคือข้าราชการผู้สูงอายุ มีอายุ 55-60 ปี และ กลุ่มที่สองคือผู้ที่มีอายุ 60 ปี ไปแล้ว แบบสอบถามประกอบด้วย ประวัติส่วนบุคคล สภาพในช่องปาก และ การใช้ฟันปลอม สภาวะที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อขากรรไกร และการใช้บริการทําฟัน ข้อมูลที่ได้นํามารวบรวมและวิเคราะห์ด้วยวิธี chi-square ผลการศึกษาและสรุปผล จากการสํารวจมีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมาจํานวน 319 ฉบับ ผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 84 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 67 มีโรคประจําตัว ในขณะที่ร้อยละ 53 ใช้ยาเป็น ประจํา ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 52 มีจํานวนฟันธรรมชาติเหลืออยู่มากกว่า 10 ในขากรรไกรบน และ ร้อยละ 55 ในขากรรไกรล่าง นอกจากนี้ร้อยละ 50 ใช้ฟันปลอมบางส่วนแบบถอดได้ ในเรื่องสภาวะที่เกี่ยวข้อง กับข้อต่อขากรรไกร ข้าราชการอายุ 55-60 ปี จะมีอาการข้อต่อขากรรไกรมากกว่าข้าราชการเกษียณอายุ แต่ ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ (p>0.05) และพบว่าเพศหญิงมีอาการนี้มากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสําคัญ (p>0.05) ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 59 ไปรับบริการทางทันตกรรมที่โรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชน และข้าราชการอายุ 55-60 ปี มีความสะดวกที่จะรับบริการที่คณะทันตแพทยศาสตร์มากกว่าข้าราชการเกษียณอายุ การให้บริการทาง ทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุควรสอบถามถึงโรคประจําตัว และการใช้ยาซึ่งอาจจะมีผลเกี่ยวข้องกับการให้บริการ และควรมีการเตรียมการให้บริการในการใส่ฟันปลอมถอดได้หรือติดแน่นมากขึ้น