Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

Dental fear

Publication Year

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การศึกษาระดับความกลัวและกังวลใจของนิสิตจุฬาฯ ต่อการใช้บริการทางทันตกรรม, สุนทร ระพิสุวรรณ, ขวัญศิริ เปล่งสมบัติ, วิชุลดา พุนทิกาพัทธ์, ศุลีพร ธีระเจตกูล Jan 1999

การศึกษาระดับความกลัวและกังวลใจของนิสิตจุฬาฯ ต่อการใช้บริการทางทันตกรรม, สุนทร ระพิสุวรรณ, ขวัญศิริ เปล่งสมบัติ, วิชุลดา พุนทิกาพัทธ์, ศุลีพร ธีระเจตกูล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการศึกษา ศึกษาเปรียบเทียบระดับความกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการทางทันตกรรมและ ปัจจัยเกี่ยวข้อง ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสาขาต่าง ๆ วัสดุและวิธีการ ประชากรศึกษาที่นํามาวิเคราะห์มีจํานวน 660 คน ได้รับการแจกแบบสอบถามที่ประกอบด้วย คําถามด้านประชากรศาสตร์ และคําถามของ The Carah's Dental Anxiety Scale ผลการศึกษา พบว่า ร้อยละ 8.6 ของประชากรศึกษาไม่แสดงความกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการทางทันตกรรม ค่าเฉลี่ยของคะแนนความกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการทันตกรรม (DAS score) เท่ากับ 8.51± 3.27 เพศหญิง นิสิตในคณะต่างกันจะมีความกลัวและกังวลใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ มีความกลัวและกังวลใจมากกว่าเพศชายทางสถิติ (P≤0.001) และประสบการณ์ในการใช้บริการทันตกรรมครั้งแรกในชีวิตมีผลต่อความกลัวและกังวลใจของ กลุ่มนี้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P≤0.001)สรุป 1. ระดับความกลัวและกังวลใจของประชากรศึกษากลุ่มนี้เท่ากับ 8.51 ± 3.27 2. เพศ, กลุ่มคณะและประสบการณ์ในการใช้บริการทันตกรรมครั้งแรกมีผลต่อความกลัวและกังวลใจอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติ


ความรู้สึกกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการ ทันตกรรมของคนกรุงเทพฯ เฉพาะกลุ่ม, สุนทร ระพิสุวรรณ, ภฑิตา ภูริเดช, ศุลีพร ธีรเจตกูล Sep 1997

ความรู้สึกกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการ ทันตกรรมของคนกรุงเทพฯ เฉพาะกลุ่ม, สุนทร ระพิสุวรรณ, ภฑิตา ภูริเดช, ศุลีพร ธีรเจตกูล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. ต้องการศึกษาระดับความกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการทันตกรรมของคนไทย กลุ่มที่มารับบริการทันตกรรมที่คลินิกนอกเวลาของคณะทันแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. ศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกกลัวและกังวลใจ วัสดุและวิธีการ ประชากรศึกษาที่นํามาวิเคราะห์มีจํานวน 650 คน มีอายุตั้งแต่ 15 ปี จนถึง 76 ปี ซึ่งได้มาใช้ บริการทันตกรรมที่คลินิกนอกเวลาและถูกสุ่มอย่างเป็นระบบ ได้รับการแจกแบบสอบถามที่ประกอบด้วยคําถามด้านประชากรศาสตร์และคําถามของ The Corah's Dental Anxiety Scale ผลการศึกษา พบว่า 10.6 เปอร์เซ็นต์ของประชากรศึกษาไม่แสดงความกลัวและกังวลใจต่อการมาใช้บริการทันตกรรม, 30.7 เปอร์เซ็นต์ กลัวปานกลาง และ 8.8 เปอร์เซ็นต์ กลัวมากจนถึงมากที่สุด ค่าเฉลี่ยของคะแนนความกลัว และ กังวลใจต่อการใช้บริการทันตกรรม (DAS) เท่ากับ 8.30 13.24 เพศหญิงมีความกลัวและกังวลใจมากกว่าเพศ ชาย คนหนุ่มสาวและวัยรุ่นมีความกลัวมากกว่าผู้สูงอายุ ความเจ็บปวดจากการได้เคยใช้บริการทันตกรรมครั้งแรก จะมีผลต่อความรู้สึกกลัวและกังวลใจ (p<0.001) สรุป 1. ระดับความกลัวและกังวลใจของประชากรศึกษากลุ่มนี้เท่ากับ 8.3043.24 2. อายุ, เพศ,ประสบการณ์ความเจ็บปวดจากการรับบริการทันตกรรมครั้งแรกมีผลต่อความกลัวและกังวลใจ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ