Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

Demineralization inhibitory ability

Publication Year

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การยับยั้งการละลายแร่ธาตุจากผิวฟัน โดยวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินชนิดที่มีฟลูออไรด์ เป็นองค์ประกอบและชนิดดัดแปลงด้วยแก้ว, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์ Jul 1999

การยับยั้งการละลายแร่ธาตุจากผิวฟัน โดยวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินชนิดที่มีฟลูออไรด์ เป็นองค์ประกอบและชนิดดัดแปลงด้วยแก้ว, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษาในห้องปฏิบัติการนี้ ทําเพื่อประเมินความสามารถในการต้านทานการละลายแร่ธาตุออก จากผิวฟัน ของวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินชนิดที่มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบและชนิดดัดแปลงด้วยแก้ว โดยมีวัสดุ บูรณะคอมโพสิตเรซินที่ไม่มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบและวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซิน เป็นวัสดุควบคุมบวกและควบคุมลบตามลําดับ วัสดุและวิธีการ เตรียมโพรงฟัน ขนาดกว้าง 2 มิลลิเมตร ยาว 3 มิลลิเมตร ลึก 2.5 มิลลิเมตร บริเวณรอยต่อ ของเคลือบฟันกับซีเมนตัมบนด้านแก้ม (buccal surface) ของฟันกรามน้อยของมนุษย์ที่ถูกถอนออกมาและไม่มี การยุบนด้านแก้ม จํานวน 60 ซี่ แบ่งฟันโดยการสุ่มออกเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 10 ซี่ บูรณะฟันแต่ละกลุ่มด้วยวัสดุ Compoglass F, Dyract AP, Hytac Aplitip, Tetric, Photac-Fil Quick และ Silux Plux ตามวิธีที่บริษัทผู้ผลิต กําหนด นําฟันทั้งหมดมาแช่ใน demineralized solution (Synthetic polymer acidified gel pH 5.0) เป็นเวลา 10 วัน เพื่อให้เกิดการละลายแร่ธาตุบริเวณผิวฟันรอบๆ วัสดุบูรณะ นําฟันมาล้างให้สะอาด หุ้มด้วยเรซินชนิดใส และตัดฟันผ่านวัสดุบูรณะในแนวบดเคี้ยว-คอฟัน (occluso cervical) ให้ได้ชิ้นทดลองหนา 100 ±20 ไมครอน จํานวน 2 ชิ้นต่อ 1 ชิ้นฟันทดลอง วัดระยะความลึกของรอยผุจากผิวฟันที่บริเวณขอบโพรงฟันทางด้านบดเคี้ยวและ ด้านคอฟัน ด้วยเครื่อง stereomicroscope (Olympus, Japan) และ Image analysis System (LECO 1001, Canada) ผลการทดลอง ฟันกลุ่มที่บูรณะด้วย Photac-Fil Quick มีค่าความลึกเฉลี่ยของรอยผุที่ขอบโพรงฟันรอบวัสดุน้อย ที่สุด (P<0.05) ฟันกลุ่มที่บูรณะด้วย Silux Plus มีค่าความลึกเฉลี่ยของรอยผุที่ขอบโพรงฟันรอบวัสดุมากที่สุด (P<0.05) สําหรับกลุ่มของฟันที่บูรณะด้วยวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินชนิดที่มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบและชนิด ดัดแปลงด้วยแก้วปรากฏว่า ฟันกลุ่มที่บูรณะด้วย Compoglass F มีค่าความลึกเฉลี่ยของรอยผุที่ขอบโพรงฟันรอบวัสดุ น้อยที่สุด (P<0.05) ฟันกลุ่มที่บูรณะด้วย Hytac Aplitip มีค่าความลึกเฉลี่ยของรอยผุที่ขอบโพรงฟันรอบวัสดุ มากที่สุด (P<0.05) ฟันกลุ่มที่บูรณะด้วย Tetric มีค่าความลึกเฉลี่ยของรอยผุที่ขอบโพรงฟันด้านบดเคี้ยว ไม่แตก ต่างอย่างมีนัยสําคัญจากกลุ่มที่บูรณะด้วย Compoglass F และมีค่าความลึกเฉลี่ยของรอยผุที่ขอบโพรงฟันด้านคอฟัน ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญจากกลุ่มที่บูรณะด้วย Dyract AP (P>0.05) สรุป ความสามารถในการต้านทานการละลายแร่ธาตุออกจากฟันของวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินชนิดดัดแปลงด้วยแก้วแต่ละผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างกัน …


Demineralization Inhibitory Ability Of Tooth-Colored Restorative Materials, Chaiwat Maneenut May 1996

Demineralization Inhibitory Ability Of Tooth-Colored Restorative Materials, Chaiwat Maneenut

Chulalongkorn University Dental Journal

Demineralization inhibitory ability of a polyacid-modified composite resin (Dyract®) was evaluated and compared to those of a composite resin (Scotchbond MP/Silux Plus) and a resin-modified glass ionomer restorative cement (Fuji II LC). A synthetic polymer acidified-gel technique was used in producing artificial caries-like lesion around standard Class V restorations of these materials. Demineralized lesions developed around the margin of all restorations and the depth of lesions were significantly different among all materials (P<0.05). Zone of inhibitions were only found at the tooth/restoration interface of all Fuji II LC restorations. In this study, demineralization inhibitory ability of the polyacid-modified composite resin was inferior to that of the resin-modified glass ionomer restorative cement but was superior to that of the composite resin.