Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

Composite resin

Publication Year

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

In Vitro Caries Inhibition Of Tooth-Colored Restorative Materials, Chaiwat Maneenut Jan 1997

In Vitro Caries Inhibition Of Tooth-Colored Restorative Materials, Chaiwat Maneenut

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


การเปรียบเทียบการติดสีที่ผิวของคอมโพสิตเรซินชนิดแข็งตัวด้วยแสงภายหลังการขัดด้วยหัวขัดชนิดต่าง ๆ, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์, จารุวรรณ สุขนิวัฒน์ชัย, จิราพร ชีวาสุขถาวร Sep 1996

การเปรียบเทียบการติดสีที่ผิวของคอมโพสิตเรซินชนิดแข็งตัวด้วยแสงภายหลังการขัดด้วยหัวขัดชนิดต่าง ๆ, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์, จารุวรรณ สุขนิวัฒน์ชัย, จิราพร ชีวาสุขถาวร

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษาการติดสีเมทาลีนบลูที่ผิวของคอมโพสิตเรซินที่มีวัสดุอัดแทรกขนาดเล็ก ชนิดแข็งด้วยแสง (Silux Plus®) ภายหลังการขัดด้วยหัวขัดห้าชนิดได้แก่ หินขัดสีขาว หัวขัดกากเพชร หัวขัดคาร์ไบด์ ซอฟเลกซ์ดิสค์ และ ซอฟเลกซ์สตริป โดยมีคอมโพสิตเรซิน ซึ่งผิวสัมผัสเฉพาะกับไมลาร์เมทริกซ์เป็นกลุ่มควบคุม (control) พบว่า แต่ละกลุ่มของคอมโพสิตเรซินมีค่าเฉลี่ยของการติดสีที่ผิวภายหลังการขัดในระดับต่างกันจากน้อยไปหามากดังนี้ คือ กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ขัดด้วยซอฟเลกซ์ดิสค์ กลุ่มที่ขัดด้วยหัวขัดคาร์ไบด์ กลุ่มที่ขัดด้วยซอฟเลกซ์สตริป กลุ่มที่ขัดด้วยหัวขัดกากเพชร และกลุ่มที่ขัดด้วยหินขัดสีขาว จากการวิเคราะห์ค่าการติดสีทางสถิติพบว่า ไม่มีความแตกต่างของการติดสีระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ขัดด้วยซอฟเลกซ์ดิสค์อย่างมีนัยสําคัญ (p<0.05) และทั้งสองกลุ่มติดสีน้อยกว่ากลุ่มที่ขัดด้วยหินขัดสีขาว หัวขัดกากเพชร หัวขัดคาร์ไบด์ และซอฟเลกซ์สตริป อย่างมีนัยสําคัญ (p> 0.05) และไม่พบความแตกต่างของการติดสีระหว่างกลุ่มที่ขัดด้วยหินขัดสีขาว หัวขัดกากเพชร ซอฟเลกซ์สตริป และหัวขัดคาร์ไบด์ (p<0.05)


แรงยึดเฉือนระหว่างวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินกับเนื้อฟันของฟันที่ผ่านการฟอกสี, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์, ปรีดา พึ่งพาพงศ์, ธีระศักดิ์ ดำรงรุ่งเรือง Sep 1996

แรงยึดเฉือนระหว่างวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินกับเนื้อฟันของฟันที่ผ่านการฟอกสี, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์, ปรีดา พึ่งพาพงศ์, ธีระศักดิ์ ดำรงรุ่งเรือง

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษานี้เปรียบเทียบแรงยึดเฉือนของคอมโพสิตเรซิน (Silux Plus) ที่มีต่อเนื้อฟันปกติ กับแรงยึดเฉือนของคอมโพสิตเรซินที่มีต่อเนื้อฟันที่ผ่านการฟอกสีด้วย 3.5% ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Britesmile ) หรือด้วย 10% คาร์บาไมด์เปอร์ออกไซด์ (Opalescence) เป็นเวลา 14 วัน ผลปรากฏว่า แรงยึดเฉือนในฟันปกติ มีค่าเฉลี่ย 5.41±2.51 MPa ส่วนแรงยึดเฉือนในฟันที่ฟอกสีด้วย 3.5% ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Britesmile) และในฟันที่ฟอกสีด้วย 10% คาร์บาไมด์เปอร์ออกไซด์ (Opalescence) มีค่าเฉลี่ย 5.25±1.81 MPa และ 3.39±1.04 MPa ตามลําดับ เมื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยแรงยึดเฉือนของทุกกลุ่มทดลองด้วย one-way ANOVA และ SNK multiple range test (a = 0.05) พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของค่าเฉลี่ยแรงยึดเฉือนระหว่างกลุ่มฟันที่ทดลองทั้งหมด (p>0.05)


Demineralization Inhibitory Ability Of Tooth-Colored Restorative Materials, Chaiwat Maneenut May 1996

Demineralization Inhibitory Ability Of Tooth-Colored Restorative Materials, Chaiwat Maneenut

Chulalongkorn University Dental Journal

Demineralization inhibitory ability of a polyacid-modified composite resin (Dyract®) was evaluated and compared to those of a composite resin (Scotchbond MP/Silux Plus) and a resin-modified glass ionomer restorative cement (Fuji II LC). A synthetic polymer acidified-gel technique was used in producing artificial caries-like lesion around standard Class V restorations of these materials. Demineralized lesions developed around the margin of all restorations and the depth of lesions were significantly different among all materials (P<0.05). Zone of inhibitions were only found at the tooth/restoration interface of all Fuji II LC restorations. In this study, demineralization inhibitory ability of the polyacid-modified composite resin was inferior to that of the resin-modified glass ionomer restorative cement but was superior to that of the composite resin.