Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

Chlorhexidine

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซีดีนต่อเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ในน้ำลาย, อัจฉรา วัฒนสานติ์, สุภาพร เมฆวัน, วรรณวิมล อนวัชพันธุ์ Apr 1999

ผลของน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซีดีนต่อเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ในน้ำลาย, อัจฉรา วัฒนสานติ์, สุภาพร เมฆวัน, วรรณวิมล อนวัชพันธุ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซีดีนความเข้มข้นร้อยละ 0.1 และความเข้มข้นร้อยละ 0.2 มีน้ำเกลือ เป็นตัวควบคุม (control solution) ในการลดจํานวนเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ (SM) วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาในอาสาสมัครจํานวน 12 คน โดยใช้น้ำยาบ้วนปากทั้งสามชนิดในเวลาต่าง ๆ กัน ครั้งละหนึ่งสัปดาห์ และเว้นว่างหนึ่งสัปดาห์ ก่อนที่จะเปลี่ยนชนิดของยาบ้วนปาก ทั้งนี้อาสาสมัครและผู้ทดลองจะ ไม่ทราบว่ากําลังใช้ยาชนิดใด เมื่อไร (double-blind randomized crossover design) เพื่อทําการเพาะเชื้อ SM จากน้ำลาย ผลการศึกษาและสรุป จากการศึกษาพบว่า จํานวนเชื้อ SM ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ในกลุ่มที่ใช้คลอเฮกซีตีน ความเข้มข้น ร้อยละ 0.2 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาความเข้มข้นร้อยละ 0.1 (p = 0.0077) และกลุ่มที่ใช้น้ําเกลือ บ้วนปาก (p = 0.0033) แต่การใช้คลอเฮกซีนความเข้มข้นร้อยละ 0.1 ได้ผลไม่แตกต่างจากการใช้น้ำเกลือบ้วนปาก จึงสรุปผลจากการวิจัยว่าน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซีดีนความเข้มข้น ร้อยละ 0.2 เป็นน้ำยาบ้วนปากที่เหมาะสมในการใช้ เพื่อลดจํานวนเชื้อ SM กว่าน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซีดีน ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 และน้ำเกลือ


ฟลูออไรด์และคลอร์เฮกซีดีนลดปริมาณกรดแลคติกที่เกิดจากสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ในหลอดทดลอง, เกรียงไกร คุ้มไพโรจน์, ศิวพร สุขสว่าง, ทิพรัตน์ เมฆาอภิรักษ์ Jan 1999

ฟลูออไรด์และคลอร์เฮกซีดีนลดปริมาณกรดแลคติกที่เกิดจากสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ในหลอดทดลอง, เกรียงไกร คุ้มไพโรจน์, ศิวพร สุขสว่าง, ทิพรัตน์ เมฆาอภิรักษ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเข้มข้นของฟลูออไรด์และคลอร์เฮกซิดีน ที่เหมาะสมต่อการยับยั้งการ สร้างกรดแลคติกจากเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ (Streptococcus mutans) สายพันธุ์ KPSK-2 โดยใช้ฟลูออไรด์ และคลอร์เฮกซิดีน กลูโคเนตที่มีความเข้มข้นต่างๆ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอุปกรณ์ และวิธีการทดลอง การทดลองแบ่งตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุม กลุ่มทดสอบฟลูออไรด์ และกลุ่มคลอร์เฮกซิดีน ในกลุ่มควบคุมเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ถูกบ่มในกับอาหารเลี้ยงเชื้อ Todd Hewitt ส่วนกลุ่มทดสอบเติมฟลูออไรต์ให้มีความเข้มข้น 5, 10, 15 และ 20 ส่วนในล้านส่วนและคลอร์เฮกซิตีนให้มีความ เข้มข้น 0.07, 0.10, 0.50 และ 1.00 mg% ลงในหลอดเลี้ยงเชื้อตามลําดับ นําไปบ่มที่ 37 องศาเซลเซียส ใน 5% CO2 เป็นเวลา 48 ชั่วโมง เก็บเชื้อโดยนําไปปั้นที่ 3,000 รอบต่อนาที นําส่วนใสมาตรวจหากรดแลคติก ผลการทดลอง พบว่าการสร้างกรดแลคติกลดลงเมื่อมีความเข้มข้นของฟลูออไรด์และคลอร์เฮกซีนเพิ่มขึ้น โดยมี ความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ p<0.05 (ANOVA) บทสรุป จากการวิจัยนี้สรุปได้ว่า ยาอมบ้วนปากโซเดียมฟลูออไรด์ และหรือคลอร์เฮกซิดีน กลูโคเนตในความเข้มข้น ที่ต่ํา สามารถยับยั้งการสร้างกรดแลคติกของเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ในหลอดทดลองได้