Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

CAI

Publication Year

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การเปรียบเทียบวิธีการสอน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับการใช้ ภาพนิ่ง แผ่นใส และเอกสาร ประกอบการสอน, มรกต ตันติประวรรณ May 1998

การเปรียบเทียบวิธีการสอน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับการใช้ ภาพนิ่ง แผ่นใส และเอกสาร ประกอบการสอน, มรกต ตันติประวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 2 เรื่องชนิดและส่วนประกอบของฟันปลอม โดยการสอน 3 วิธีคือ 1. การสอนโดยใช้ภาพนิ่ง แผ่นใส และเอกสาร เป็นสื่อประกอบการสอน 2. การสอนโดยใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์เป็นสื่อประกอบการสอน 3. การเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยตนเอง วัสดุและวิธีการ แบ่งนิสิตอาสาสมัคร ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2539 จํานวน 69 คน ตามแต้มเฉลี่ยสะสม ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 23 คน กลุ่มที่ 1 เรียนโดยใช้แผ่นใส ภาพนิ่ง และเอกสาร เป็นสื่อประกอบการสอน กลุ่มที่ 2 เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อประกอบการสอน กลุ่มที่ 3 นิสิตเรียนด้วยตนเองโดยใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทั้ง 3 กลุ่มใช้เวลาในการเรียน 30 นาที จากนั้นทําแบบทดสอบ 20 นาที ใช้ค่าสถิติการ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) วิเคราะห์คะแนนสอบที่ระดับนัยสําคัญ p<0.05 กลุ่มที่ 2 และ 3 ทําแบบทดสอบเพื่อประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และทัศนคติที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผล ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนสอบในกลุ่มที่ 1 2 และ 3 คือ 20.39 + 3.27 21.17 : 2.57 และ 20.91 + 3.42 ตามลําดับ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติของคะแนนสอบระหว่างกลุ่ม (p = 0.6871) นิสิตร้อยละ 95 ของกลุ่มที่ 2 และ 3 พอใจการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และต้องการ ให้มีบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มขึ้น สรุป การเรียนการสอนในหัวข้อเรื่อง ชนิดและส่วนประกอบของฟันปลอม พบว่านิสิตชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยมีบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อประกอบการสอน ให้ผลคะแนนสอบไม่แตกต่างจากการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรียนด้วยตนเอง กับการใช้แผ่นใส ภาพนิ่ง และเอกสารเป็นสื่อประกอบการสอน นิสิตส่วนใหญ่สนใจและพอใจกับ วิธีการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทันตกายวิภาคศาสตร์ ของนิสิตทันตแพทย์ที่ได้รับ และไม่ได้รับการเสริมด้วยคอมพิวเตอร์, สุขนิภา วิชัยเฉลิมวงศ์, สุปราณี วิเชียรเนตร Jan 1993

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทันตกายวิภาคศาสตร์ ของนิสิตทันตแพทย์ที่ได้รับ และไม่ได้รับการเสริมด้วยคอมพิวเตอร์, สุขนิภา วิชัยเฉลิมวงศ์, สุปราณี วิเชียรเนตร

Chulalongkorn University Dental Journal

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ผลของการเรียนวิชาทันตกายวิภาคศาสตร์ของนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับและไม่ได้รับการเสริมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาทันตกายวิภาคศาสตร์ นิสิตอาสาสมัครที่เข้าร่วมในโครงการนี้ เป็นนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2535 จํานวน 85 คน ซึ่งการศึกษาวิจัยนี้ประกอบด้วย 2 หัวข้อวิจัย งานวิจัยแรกเป็นการเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการเสริมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนฯ กับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการสอนเสริม ศึกษาในนิสิตที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมใกล้เคียงกัน จํานวน 27 คู่ ส่วนงานวิจัยที่ 2 เป็นการประเมินความก้าวหน้าและความเข้าใจในบทเรียนของนิสิตก่อนและหลังการเสริมด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนฯ โดยมีนิสิตเข้าร่วมโครงการ 51 คน ภายหลังจากรวบรวมคะแนนสอบมาหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนํามาทดสอบความแตกต่างของค่ามัชฌิมเลขคณิตโดยใช้การทดสอบค่าเฉลี่ยพบว่า งานวิจัยที่ 1 คะแนนของกลุ่มทดลองสูงกว่าคะแนนของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .001 และงานวิจัย ที่ 2 พบว่าคะแนนภายหลังได้รับการเสริมด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนฯ สูงกว่าก่อนได้รับการเสริมอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ .001


การยอมรับและทัศนคติของนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 2 ต่อการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อการเรียนรู้วิชาทันตกายวิภาคศาสตร์ด้วยตนเอง, สุปราณี วิเชียรเนตร, สุขนิภา วิชัยเฉลิมวงศ์ Jan 1993

การยอมรับและทัศนคติของนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 2 ต่อการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อการเรียนรู้วิชาทันตกายวิภาคศาสตร์ด้วยตนเอง, สุปราณี วิเชียรเนตร, สุขนิภา วิชัยเฉลิมวงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อการศึกษาซึ่งช่วยในการสอนทันตกายวิภาคศาสตร์สําหรับนิสิตทันตแพทย์ ชั้นปีที่สอง ช่วยเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น การศึกษาวิชาทันตกายวิภาคศาสตร์ด้วยการบรรยาย เพียงอย่างเดียวไม่น่าสนใจ ผู้เรียนค่อนข้างเบื่อและขาดความกระตือรือล้น เนื่องจากเนื้อหาวิชามีรายละเอียดมาก ดังนั้นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะช่วยให้นิสิตสามารถเรียนรู้และทบทวนได้ด้วยตนเองและศึกษาเป็นกลุ่ม โดยปฏิบัติตามคู่มือการใช้ จากแบบสอบถามของนิสิตชั้นปีที่ 2 ที่ได้ใช้บทเรียนนี้จํานวน 73 คน ร้อยละ 95.5 พอใจโปรแกรมนี้ เนื่องจากช่วยในการศึกษาด้วยตนเองและประหยัดเวลา ร้อยละ 77.4 ต้องการให้มีบทเรียนลักษณะเดียวกันนี้ ในวิชาอื่น ๆ