Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

Attrition

Publication Year

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

แนวโน้มของผู้ป่วยฟันสึกกลุ่มหนึ่งในคลินิกบัณฑิตศึกษาทันตกรรมประดิษฐ์, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, สุภิดา อนุสสรนิติสาร, ปรีวันท์ จันทรเวช, เทวฤทธิ์ สมโคตร Jan 1999

แนวโน้มของผู้ป่วยฟันสึกกลุ่มหนึ่งในคลินิกบัณฑิตศึกษาทันตกรรมประดิษฐ์, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, สุภิดา อนุสสรนิติสาร, ปรีวันท์ จันทรเวช, เทวฤทธิ์ สมโคตร

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่พบมากในผู้ป่วยที่มาขอรับบริการใส่ฟันในคลินิก ทันตกรรมประดิษฐ์บัณฑิตศึกษา ซึ่งได้แก่ฟันสึก โดยศึกษาตําแหน่งฟันสึก รูปแบบการเกิดฟันสึก ความรุนแรง ของฟันสึก และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของฟันสึก วิธีการศึกษา การศึกษานําร่องทําโดยสํารวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาทางทันตกรรมประดิษฐ์ จากแบบหล่อ ศึกษาจํานวน 159 ราย แล้วสุ่มเลือกศึกษาแบบหล่อศึกษาของผู้ป่วยที่มีฟันสึกมากที่จําเป็นต้องรักษาโดยการ ฟื้นฟูสภาพช่องปากจํานวน 57 ราย ที่มาขอรับบริการในคลินิกบัณฑิตศึกษา ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะ ทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างปีพุทธศักราช 2534-2540 เพื่อศึกษาตําแหน่งของฟันสึก รูปแบบการเกิดฟันสึก ระดับความรุนแรงของฟันลึก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของฟันสึก และบันทึกลงในแบบบันทึกข้อมูลที่ออกแบบโดยผู้วิจัยการศึกษาดูเฉพาะการสึกของฟันด้านบดเคี้ยวหรือบริเวณปลายฟันด้านริมฝีปากหรือข้างแก้มไปยังด้านลิ้น เกณฑ์วัดความรุนแรงของฟันสึกใช้ดัชนีวัดความรุนแรงของ ฟันสึกของ Johansson การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ non-parametric ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS ผลการศึกษาและสรุป พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 92.98 มีฟันสึกในฟันหน้าและฟันหลังทั้งขากรรไกรบนและล่าง จํานวนร้อยละ 5.26 มีฟันสึกเฉพาะฟันหน้าทั้งขากรรไกรบนและล่าง ฟันล่างมีระดับความรุนแรงของฟันสึกสูง กว่าฟันบน ฟันหน้าสึกรุนแรงกว่าฟันหลัง ทั้งขากรรไกรบนและล่างอย่างมีนัยสําคัญ (p>0.005) ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มที่เริ่มพบฟันสึกรุนแรง และผู้ป่วยเพศชายมีระดับความรุนแรงของฟันสึกสูงกว่าเพศ หญิงอย่างมีนัยสําคัญ (p>0.05) นอกจากนี้จํานวนฟันคู่สบยังมีสหสัมพันธ์กับความรุนแรงของฟันสึก กลุ่มที่มี ฟันคู่สบในฟันหลังเหลือมากกว่า 6 คู่ มีระดับความรุนแรงของฟันสึกน้อยกว่ากลุ่มที่มีฟันคู่สบในฟันหลังเหลือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คู่ อย่างมีนัยสําคัญ (p>0.05)


การกระจายของโรคฟันผุและสภาพความรุนแรงของโรคปริทันต์ ในประชากรมีอายุ 30-70 ปี ของจังหวัดสกลนคร, สุนทร ระพิสุวรรณ, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร Jan 1996

การกระจายของโรคฟันผุและสภาพความรุนแรงของโรคปริทันต์ ในประชากรมีอายุ 30-70 ปี ของจังหวัดสกลนคร, สุนทร ระพิสุวรรณ, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการสุ่มสํารวจประชากรที่อยู่ในหมู่บ้านอําเภอรอบนอกของจังหวัดสกลนคร อายุ 30-70 ปี เพื่อหาความชุกของโรคฟันผุจําแนกตามซี่ฟันและสถานะของโรคปริทันต์ โดยตําแหน่งของฟัน จํานวน 165 คน, เป็นเพศหญิง 96 คน (58.18%) พบว่า 93.90% ของ periodontal sextant มีหินปูนเกาะรอบคอฟัน, ตําแหน่ง ฟัน #11 มีความชุกของการเกิดหินปูนเกาะสูงกว่าตําแหน่งอื่น (89.31%) ในแง่ของความต้องการบริการรักษา 36% ของประชากรศึกษาต้องการการบําบัดที่ค่อนข้างซับซ้อน ค่าเฉลี่ยของฟันผุ ถอน อุด เท่ากับ 5.48 ต่อคน โดยฟันกรามล่างซี่สุดท้าย มีเปอร์เซ็นต์การผุมากที่สุด (16.97%) และฟันกรามซี่สุดท้ายมีเปอร์เซ็นต์การถอนมากที่สุด (22.12%) ฟันกรามบนซี่แรกจะมีเปอร์เซ็นต์การผุมากกว่าฟันกรามล่างซี่แรก ค่าเฉลี่ยของความต้องการอุด และถอน เท่ากับ 2.93 ที่ต่อคน ฟันกรามโดยทั่วไปของคนกลุ่มนี้จะพบฟันสึกจนถึงชั้นเนื้อฟันทุกคน