Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

2010

Keyword

Articles 1 - 22 of 22

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

องค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยที่มีบิสมัทออกไซด์เมื่อผสมด้วย แคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลส, ปุณยวีร์ วีระโสภณ, อัญชนา พานิชอัตรา Sep 2010

องค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยที่มีบิสมัทออกไซด์เมื่อผสมด้วย แคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลส, ปุณยวีร์ วีระโสภณ, อัญชนา พานิชอัตรา

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยที่มีบิสมัยออกไซด์เมื่อผสมกับแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลส เปรียบเทียบกับ พอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่มีบิสมัยออกไซด์ผสมด้วยน้ํากลั่น และไวท์โปรรูทเอ็มทีเอผสมด้วยน้ํากลั่น วัสดุและวิธีการ เตรียมพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยจากสองบริษัทที่มีบิสมัทออกไซด์ผสมด้วย น้ํากลั่นหรือของเหลวที่มีสารเร่งการแข็งตัว (สารละลายที่มีร้อยละ 5 ของแคลเซียมคลอไรด์ และร้อยละ 1 ของ เมททิลเซลลูโลส) และไวท์โปรรูทเอ็มทีเอผสมด้วยน้ํากลั่น กลุ่มละ 10 ตัวอย่าง ตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมี ของซีเมนต์ที่แข็งตัวแล้วด้วยการวิเคราะห์การเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์ ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราด วัดความเป็นกรดด่าง ระยะเวลาแข็งตัว ความทึบรังสี ความทนแรงอัด และสภาพละลายได้ วิเคราะห์ผลการทดลองด้วยสถิติความแปรปรวนแบบทางเดียว (p < 0.05) ผลการศึกษา ไวท์โปรรูทเอ็มทีเอผสมด้วยน้ํากลั่นและพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่มีบิสมัยออกไซด์ผสมด้วยน้ํากลั่นหรือผสมด้วยแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลสมีองค์ประกอบทางเคมีคล้ายคลึงกัน ยกเว้นไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ จะมีผลึกละเอียด โดยไม่พบอนุภาคขนาดใหญ่ และมีอนุภาคของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ปะปนอยู่เล็กน้อย ความเป็นกรดด่างของซีเมนต์ทุกชนิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรก ไวท์โปรรูทเอ็มทีเอจะมีความเป็นด่างสูงที่สุด(12.07) เมื่อซีเมนต์แข็งตัวเต็มที่ พอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่ผสมด้วยแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลสจะมีความเป็นด่างสูงกว่าพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่ผสมด้วยน้ํากลั่นอย่างมีนัยสําคัญ ซีเมนต์ที่ผสมด้วยแคลเซียมคลอไรด์และเมท ทิลเซลลูโลสจะมีเวลาการก่อตัวที่สั้นกว่า แต่มีความทนแรงอัดที่ 27 วันสูงกว่าซีเมนต์กลุ่มที่ผสมน้ํากลั่นอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ ซีเมนต์ที่ผสมด้วยแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลสมีสภาพละลายได้มากกว่าไวท์โปรรูท เอ็มทีเอในวันแรกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ แต่เมื่อผ่านไป 21 วัน ซีเมนต์ทั้ง 5 กลุ่มมีสภาพละลายได้ไม่แตกต่างกัน สรุป พอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยที่มีบิสมัยออกไซด์เมื่อผสมด้วยแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลสจะมีระยะเวลาการแข็งตัวที่น้อยกว่า แต่มีความทนแรงอัดสูงกว่าไวท์โปรรูทเอ็มทีเอซีเมนต์ที่ผสมด้วยน้ํากลั่น มีสภาพละลายได้ที่ 21 วัน และความทึบรังสีไม่แตกต่างจากไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ มีความเป็นด่างต่ํากว่าไวท์โปรรู เอ็มทีเอเล็กน้อย ซึ่งคุณสมบัติทางกายภาพโดยรวมของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่ผสมด้วยแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลสมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเพื่อนํามาใช้แทนไวท์โปรรูทเอ็มทีเอได้ในอนาคต ( ทันต จุฬาฯ 2553;33:207-20)


ความชุกของนิสัยเคี้ยวข้างเดียวในผู้ป่วยจัดฟัน, พรทิพย์ ชิวชรัตน์, นิรมล ชํานาญนิธิอรรถ, รักพร เหล่าสุทธิวงษ์, อัจฉรา นันทะแสง, เอกชัย ภูบาลี Sep 2010

ความชุกของนิสัยเคี้ยวข้างเดียวในผู้ป่วยจัดฟัน, พรทิพย์ ชิวชรัตน์, นิรมล ชํานาญนิธิอรรถ, รักพร เหล่าสุทธิวงษ์, อัจฉรา นันทะแสง, เอกชัย ภูบาลี

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อหาความชุกของนิสัยเคี้ยวข้างเดียวและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับนิสัยเคี้ยวข้างเดียวในคนไทยกลุ่มสบ ฟันปกติ และกลุ่มผู้ป่วยจัดฟัน วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มผู้ป่วยจัดฟัน จากภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 100 คน (ชาย 41 คน หญิง 59 คน) และกลุ่มสบฟันปกติ ซึ่งเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 100 คน (ชาย 45 คน หญิง 55 คน) เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามเกี่ยวกับนิสัยการเคี้ยว ใช้สถิติเชิง พรรณนาเพื่อหาความชุกของนิสัยเคี้ยวข้างเดียว และการทดสอบไคสแควร์เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับนิสัยเคี้ยวข้างเดียว ผลการศึกษา ความชุกของนิสัยเคี้ยวข้างเดียวในกลุ่มผู้ป่วยจัดฟัน (ร้อยละ 51) สูงกว่าในกลุ่มสบฟันปกติ (ร้อยละ 28) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในกลุ่มผู้ป่วยจัดฟัน ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติเมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับนิสัยเคี้ยวข้างเดียว 10 ปัจจัย (p > 0.05) แต่ในกลุ่มสบฟันปกติพบความ สัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการปวดข้อต่อขากรรไกรกับนิสัยเคี้ยวข้างเดียว (p < 0.05) สรุป ความชุกของนิสัยเคี้ยวข้างเดียวในกลุ่มผู้ป่วยจัดฟันสูงกว่ากลุ่มสบฟันปกติ และไม่พบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับนิสัยเคี้ยวข้างเดียวในผู้ป่วยจัดฟัน ในขณะที่พบความสัมพันธ์ของการปวดข้อต่อขากรรไกรกับนิสัยเคี้ยวข้างเดียวใน กลุ่มสบฟันปกติ (ว ทันต จุฬาฯ 2553;33:155-62)


ประสิทธิภาพของฟลูออไรด์เฉพาะที่ชนิดวันที่ผลิตในประเทศในการต้านทานการเกิดรอยผุเทียม, ฉันท์ทิพย์ สุขสาโรจน์, สุภาภรณ์ จงวิศาล Sep 2010

ประสิทธิภาพของฟลูออไรด์เฉพาะที่ชนิดวันที่ผลิตในประเทศในการต้านทานการเกิดรอยผุเทียม, ฉันท์ทิพย์ สุขสาโรจน์, สุภาภรณ์ จงวิศาล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการยับยั้งการเกิดรอยผุเทียมบนผิวเคลือบฟันของแอซิดูเลเตดฟอสเฟต ฟลูออไรด์ชนิดลุ้นความเข้มข้นร้อยละ 1.23 ที่ผลิตในประเทศ เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่นําเข้าจากต่างประเทศ วัสดุและวิธีการ ศึกษาในฟันกรามน้อยจํานวน 36 ซี่ ซึ่งถูกถอนจากการจัดฟัน แบ่งฟันออกเป็น 3 กลุ่มตามชนิด ของฟลูออไรด์เฉพาะที่ชนิดขึ้นที่ศึกษาคือ กลุ่มที่ 1 พาสคาล กลุ่มที่ 2 ซียู เจล และกลุ่มที่ 3 60-เซคันด์ เจล กลุ่มละ 12 ซี่ แต่ละซี่แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นส่วนควบคุมไม่ใช้สารใด ๆ อีกส่วนเป็นส่วนทดลองทาฟลูออไรด์ เฉพาะที่ชนิดวันที่ศึกษาตามคําแนะนําของบริษัทผู้ผลิต (กลุ่ม 1 และ 2 เคลือบ 4 นาที กลุ่ม 3 เคลือบ 1 นาที) จากนั้นนําไปทําให้เกิดรอยผุเทียมด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาวะความเป็นกรดและด่าง เป็นเวลา 7 วัน แล้วจึงตัด ฟันในแนวแก้ม-ลิ้น นํามาส่องด้วยกล้องโพลาไรซ์ แล้ววัดความลึกรอยผุเทียมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์โฟโต้ชอป เวอร์ชั่น 7 ผลการศึกษา ความลึกรอยผุเทียมของส่วนควบคุมและส่วนทดลองในกลุ่มที่ 1 มีค่าเท่ากับ 89.81+ 8.58 และ 27.55 + 9.16 ไมโครเมตร กลุ่มที่ 2 มีค่าเท่ากับ 83.46 + 16.45 และ 27.04 + 9.14 ไมโครเมตร และกลุ่มที่ 3 มีค่าเท่ากับ 86.78 + 16.12 และ 28.58 + 9.55 ไมโครเมตร ตามลําดับ วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความลึกรอยผุเทียม เฉลี่ยของส่วนทดลองและส่วนควบคุมในแต่ละกลุ่ม ด้วยสถิติการทดสอบที่สําหรับกลุ่มตัวอย่างที่สัมพันธ์กันที่ระดับ นัยสําคัญ 0.05 และระหว่างส่วนทดลองทั้ง 3 กลุ่มด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับนัยสําคัญ …


ประสิทธิภาพของสื่อทันตสุขศึกษาเพื่อ การเรียนรู้ด้วยตนเองสําหรับผู้ดูแลเด็ก, พรพรรณ อัศวาณิชย์, อุมาพร คงสกุล, พจนา พงษ์พานิช, สุมิตร สูอําพัน, รุจิรา เพื่อนอัยกา Sep 2010

ประสิทธิภาพของสื่อทันตสุขศึกษาเพื่อ การเรียนรู้ด้วยตนเองสําหรับผู้ดูแลเด็ก, พรพรรณ อัศวาณิชย์, อุมาพร คงสกุล, พจนา พงษ์พานิช, สุมิตร สูอําพัน, รุจิรา เพื่อนอัยกา

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสื่อทันตสุขศึกษาเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองสําหรับ ผู้ดูแลเด็ก วัสดุและวิธีการ สื่อจัดทําขึ้นในรูปแบบวีดิทัศน์และแผ่นพับ มีเนื้อหาครอบคลุมถึงลักษณะของฟันผุในเด็กเล็ก ลักษณะของฟันที่สะอาด อาหารที่ทําให้เกิดฟันผุ วิธีการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันสําหรับเด็กก่อนวัยเรียน อาสา สมัครในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 275 คน จัดแบ่งตามภูมิลําเนาเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กใน เขตกรุงเทพมหานครจํานวน 77 คน อายุเฉลี่ย 35.8 + 9.5 ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดชุมพรจํานวน 113 คน อายุเฉลี่ย 35.0 + 8.7 และผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดเชียงรายจํานวน 85 คน อายุเฉลี่ย 28.2 + 5.0 ภายหลังการดูสื่อหนึ่งครั้ง ทําการทดสอบความรู้ทางทันตสุขศึกษาด้วยแบบทดสอบชนิดปรนัยแบบ คู่ขนานก่อนและหลังการใช้สื่อจํานวน 15 ข้อ ทําการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยโปรแกรม เอสพีเอสเอส เวอร์ชั่น 11.5 โดยใช้การทดสอบที่ สําหรับกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มแบบจับคู่ที่ระดับความเชื่อมั่นทาง สถิติร้อยละ 95 ผลการศึกษา สื่อมีประสิทธิภาพ 81/73 ประสิทธิผล 0.524 ผู้ดูแลเด็กได้คะแนนความรู้ทางทันตสุขศึกษาก่อน การใช้สื่อเฉลี่ย 8.6 + 2.1 (ร้อยละ 57.5) และได้คะแนนหลังการใช้สื่อเฉลี่ย 12.0 + 2.0 (ร้อยละ 79.7) โดย ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดชุมพร และจังหวัดเชียงรายได้คะแนนความรู้ทาง ทันตสุขศึกษาก่อนการใช้สื่อเฉลี่ย 8.3 + 1.7 (ร้อยละ 55.1) 9.6 + 1.9 (ร้อยละ 64.1) และ 7.6 + 2.0 (ร้อยละ 50.9) ตามลําดับ โดยที่ได้คะแนนหลังการใช้สื่อเฉลี่ย 11.9 + 2.1 (ร้อยละ 79.4) 12.4 + …


The Relationship Between Vertical And Horizontal Dimensions Of Interproximal Embrasure And The Presence Of Interdental Papilla In Maxillary Anterior Teeth, Suphot Tamsailom, Thanaporn Torsricharoen, Benjaporn Thanaratikul Sep 2010

The Relationship Between Vertical And Horizontal Dimensions Of Interproximal Embrasure And The Presence Of Interdental Papilla In Maxillary Anterior Teeth, Suphot Tamsailom, Thanaporn Torsricharoen, Benjaporn Thanaratikul

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective This study aimed to determine the relationships between the vertical and horizontal dimensions of interproximal embrasure and the presence of interdental papilla in the maxillary anterior teeth of healthy periodontal young adults. Materials and methods One hundred and thirty-three interproximal sites of maxillary anterior teeth of 31 third year dental students of the Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University who had healthy periodontal status, ages between 19-21 years, were examined. The presence or absence of the interdental papilla was clinically determined. Periapical radiographs were taken on each subject using individual plastic stent with 3.17 mm metal ball for reference and …


Dental Pulp Responses To Pulp Capping Materials And Bioactive Molecules, Kajohnkiart Janebodin, Orapin V. Horst, Thanaphum Osathanon Sep 2010

Dental Pulp Responses To Pulp Capping Materials And Bioactive Molecules, Kajohnkiart Janebodin, Orapin V. Horst, Thanaphum Osathanon

Chulalongkorn University Dental Journal

An ideal treatment outcome of pulpal exposure during restorative procedures is to regain the primary structure of tubular dentin as well as maintain the vitality and healthiness of the dental pulp. Presumably this gold standard result requires pulp capping materials with antibacterial, anti-inflammatory, and dentin-pulp tissue regenerative properties. Various capping materials have been used in dentistry but none have been able to predictably induce the regeneration of underlying tubular dentin. Recently, potentially applicable tissue engineering strategies using scaffolds containing growth factors were introduced with promising results for dentin regeneration in animals, and similar approaches have been shown to be successful …


ผลของกรดแอสคอร์บิกต่อสมบัติบางประการของยิปซัมชนิดที่สี่ที่ดัดแปรด้วยพอลิอะคริลาไมด์, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์, ณัฐวดี เหลี่ยมเจริญ Sep 2010

ผลของกรดแอสคอร์บิกต่อสมบัติบางประการของยิปซัมชนิดที่สี่ที่ดัดแปรด้วยพอลิอะคริลาไมด์, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์, ณัฐวดี เหลี่ยมเจริญ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงผลของกรดแอสคอร์บิกที่มีต่อกําลังแรงอัด เวลาแข็งตัว และการขยายตัวเนื่องจากการแข็งตัวของยิปซัมชนิดที่สี่ที่ดัดแปรด้วยพอลิอะคริลาไมด์ วัสดุและวิธีการ ในการทดลองนี้ได้ใช้ยิปซัมชนิดที่สี่ในปริมาณร้อยละ 97.5 และอะคริลาไมด์ร้อยละ 2.5 และใน การทดลองจะแบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มการทดลอง 5 กลุ่มซึ่งใส่โปแทสเซียมเปอร์ซัลเฟตในปริมาณที่คงที่ คือ 0.005 โมลาร์ และใส่ปริมาณของกรดแอสคอร์บิกที่แตกต่างกันคือ 0.005 0.013 0.026 0.052 และ 0.105 โมลาร์ ตามลําดับ การทดสอบกําลังแรงอัด เตรียมชิ้นตัวอย่างรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร สูง 20 มิลลิเมตร กลุ่มละ 15 ชิ้นตัวอย่าง ทําการทดสอบค่ากําลังแรงอัด ด้วยเครื่องทดสอบสากลอินสตรอน รุ่น 8872 อัตราเร็วของการเคลื่อนที่ของหัวกด 1 มิลลิเมตรต่อนาที ที่เวลา 1 ชั่วโมง 24 ชั่วโมงและ 48 ชั่วโมง ภายหลังการผสม ทําการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีบอนเฟอโรนี ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 การทดสอบเวลาแข็งตัว ทําการทดสอบ ด้วยเครื่องทดสอบระยะเวลาการก่อตัวชนิดเข็มไวแคท กลุ่มละ 5 ชิ้นตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ สถิติไคสแควร์ ด้วยวิธีมอนติคาร์โล ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 การทดสอบการขยายตัวเนื่องจากการแข็งตัว ใช้เครื่องเอ็กเทนโซมิเตอร์ อ่านค่าการขยายตัวที่เวลา 120 นาทีภายหลังจากทําการผสมแล้วนําค่าที่ได้มาคํานวณ เป็นค่าร้อยละของการขยายตัวเนื่องจากการแข็งตัว และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยวิธีอินดีเพนเด้นท์แซมเปิลที่เทสและวันแซมเปิลทีเทส ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ผลการศึกษา จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ใส่กรดแอสคอร์บิก 0.026 โมลาร์ มีค่ากําลังแรงอัดมากที่สุดในทุก ช่วงเวลา โดยที่เวลา 1 และ 24 ชั่วโมง มีค่ามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) นอกจากนี้กลุ่มที่ใส่ กรดแอสคอร์บิก 0.026 โมลาร์ มีระยะเวลาก่อตัวสั้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) แม้ว่าจากผล การทดสอบการขยายตัวเนื่องจากการแข็งตัว จะไม่พบความแตกต่างระหว่างอย่างมีนัยสําคัญระหว่างกลุ่มนี้กับ กลุ่มควบคุม แต่ค่าการขยายตัวเนื่องจากการแข็งตัวมีค่าน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ สรุป ในการปรับปรุงคุณภาพให้กับยิปซัมชนิดที่สี่ด้วยพอลิอะคริลาไมด์ ปริมาณกรดแอสคอร์บิกที่เหมาะสม 0.026 โมลาร์ที่สุดในการกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาคือ (ว ทันต จุฬาฯ 2553;33:197-206)


ความล้าเบี่ยงเบนของตะขอโลหะผสมโคบอลต์-โครเมียมที่นํากลับมาใช้ซ้ํา, เกศินี พัฒนเจริญ, ภาณุพงศ์ วงศ์ไทย Sep 2010

ความล้าเบี่ยงเบนของตะขอโลหะผสมโคบอลต์-โครเมียมที่นํากลับมาใช้ซ้ํา, เกศินี พัฒนเจริญ, ภาณุพงศ์ วงศ์ไทย

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณสมบัติและความต้านทานต่อการล้าของตะขอโอบฟันโลหะผสมโคบอลต์-โครเมียมที่นําโลหะเก่ากลับมาใช้ซ้ําในอัตราส่วนผสมของโลหะเก่าและโลหะใหม่โดยน้ําหนักที่แตกต่างกัน วัสดุและวิธีการ ชิ้นงานตัวอย่างตะขอโอบฟันที่ทําจากโลหะผสมโคบอลต์ โครเมียมจํานวนชิ้น ถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ชิ้น โดยกลุ่มที่ 1 ทําจากโลหะใหม่ทั้งหมด กลุ่มที่ 2 ทําจากโลหะใหม่ร้อยละ 50 ผสมกับโลหะ เก่าร้อยละ 50 และกลุ่มที่ 3 ทําจากโลหะเก่าทั้งหมด โดยโลหะเก่าที่ใช้ผ่านการหลอมมาแล้ว 1 ครั้งเท่านั้น ชิ้นงาน ตัวอย่างกลุ่มละ 10 ชิ้น ถูกนํามาทดสอบการงอ โดยให้แรงจนกระทั่งชิ้นงานหัก และทําการบันทึกค่าคุณสมบัติ ต่างๆที่สนใจ ส่วนชิ้นงานตัวอย่างที่เหลือกลุ่มละ 5 ชิ้น จะถูกนํามาทดสอบความต้านทานต่อการล้า โดยให้แรง ที่ทําให้เกิดการเบนออกของชิ้นงานเป็นระยะ 0.25 มม. ซ้ําๆ เพื่อจําลองการดีดตัวของตะขอโอบฟันเข้าออกจาก ส่วนคอดของฟันหลักในขณะถอดใส่ฟันปลอม จนกระทั่งชิ้นงานเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างถาวรเป็น ระยะ 0.1 มม. ในแนวดิ่ง ทําการบันทึกจํานวนรอบของการให้แรง จากนั้นนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยสถิติแบบแอลเอสดี ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยของแรงที่จุดคราก ค่ามอดูลัสยืดหยุ่น และแรงที่ทําให้ชิ้นงานเบนออกไปเป็นระยะ 0.25 มม. ของตะขอที่ทําจากโลหะใหม่ทั้งหมดไม่แตกต่างกับตะขอที่ทําจากโลหะใหม่ร้อยละ 50 ผสมกับโลหะเก่าร้อยละ 50 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ แต่มีค่าสูงกว่าตะขอที่ทําจากโลหะเก่าทั้งหมดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ตะขอที่ทําจากโลหะใหม่ทั้งหมดมีความต้านทานต่อการล้าเฉลี่ย (8,457 รอบ) สูงกว่าชิ้นงานตะขอที่ทําจากโลหะ ใหม่ร้อยละ 50 ผสมกับโลหะเก่าร้อยละ 50 (5,479 รอบ) และสูงกว่าชิ้นงานตะขอที่ทําจากโลหะเก่าทั้งหมด (2,880 รอบ) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ตามลําดับ (p < 0.05) สรุป การนําโลหะผสมโคบอลต์ โครเมียมกลับมาใช้ซ้ําในอัตราส่วนผสมของโลหะเก่าที่มากขึ้น มีผลทําให้ คุณสมบัติต่างๆ และความต้านทานต่อการล้าของตะขอโลหะเหวี่ยงลดลง (ว ทันต จุฬาฯ 2553;33:185-196)


อิทธิพลความเป็นกรด-ด่างต่อลักษณะเฉพาะบนพื้นผิวคอมเมอร์เชียลลีย์เพียวไททาเนียมที่เตรียมโดยวิธีแอโนไดเซชัน, วรรณกาญจน์ กาญจนมา, วิริทธิ์พล ศรีมณีพงศ์, ดุจฤทัย พงษ์เก่า คะชิมา May 2010

อิทธิพลความเป็นกรด-ด่างต่อลักษณะเฉพาะบนพื้นผิวคอมเมอร์เชียลลีย์เพียวไททาเนียมที่เตรียมโดยวิธีแอโนไดเซชัน, วรรณกาญจน์ กาญจนมา, วิริทธิ์พล ศรีมณีพงศ์, ดุจฤทัย พงษ์เก่า คะชิมา

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบลักษณะและโครงสร้างผลึกของชั้นออกไซด์บนผิวคอมเมอร์เชียลลีย์เพียวไททาเนียมทั้งก่อนและหลังการปรับสภาพผิวด้วยวิธีแอโนไดเซชัน เมื่อใช้สารละลายที่มีความเป็นกรด-ด่างต่างกัน วัสดุและวิธีการ งานวิจัยนี้ศึกษาในโลหะคอมเมอร์เชียลลีย์เพียวไททาเนียมเกรด 2 ที่ไม่ผ่านและผ่าน กระบวนการแอโนไดเซชัน ที่ความต่างศักย์ 20 โวลต์ เป็นเวลา 15 นาที ในสารละลาย 3 ชนิด คือ กรดฟอสฟอริก โซเดียมฟลูออไรด์ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ แทนสภาวะกรด กลาง และด่างตามลําดับ งานวิจัยนี้ศึกษาลักษณะ และโครงสร้างผลึกของชั้นออกไซด์โดยใช้โปรไฟโลมิเตอร์ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เอกซเรย์ ดิฟแฟรกชัน และค่ามุมสัมผัส วิเคราะห์ความแตกต่างของความขรุขระพื้นผิวและค่ามุมสัมผัสระหว่างกลุ่มทาง สถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์และเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบแทมเฮน และบอนเฟอร์โรเน ผลการศึกษา พบว่ากระบวนการแอโนไดเซชันในสารละลายโซเดียมฟลูออไรด์จะให้ความขรุขระพื้นผิว (0.078 + 0.014 ไมโครเมตร) และค่ามุมสัมผัส (16.75 + 3.24 องศา) น้อยกว่าโซเดียมไฮดรอกไซด์ กรดฟอสฟอริก และ กลุ่มที่ไม่ผ่านกระบวนการแอโนไดเซชันอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) สรุป โลหะไททาเนียมที่ผ่านกระบวนการแอโนไดเซชันในสารละลายโซเดียมฟลูออไรด์ให้สมบัติความขรุขระพื้นผิวน้อยที่สุดแต่ให้ค่าความชอบน้ําสูงสุด (2 ทันต จุฬาฯ 2553;33:67-76)


ผลของสารคู่ควบไซเลนแบบขวดเดียวและแบบสองขวดต่อความแข็งแรงยึดไมโครเทนไซล์ระหว่างวัสดุเรซินคอมโพสิตกับเดือยฟันสําเร็จรูปเรซินคอมโพสิตเสริมเส้นใย, กุลภพ สุทธิอาจ, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์ May 2010

ผลของสารคู่ควบไซเลนแบบขวดเดียวและแบบสองขวดต่อความแข็งแรงยึดไมโครเทนไซล์ระหว่างวัสดุเรซินคอมโพสิตกับเดือยฟันสําเร็จรูปเรซินคอมโพสิตเสริมเส้นใย, กุลภพ สุทธิอาจ, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารคู่ควบไซเลนแบบขวดเดียวและแบบสองขวดต่อความแข็งแรงยึดระหว่างวัสดุ เรซินคอมโพสิตกับเดือยฟันสําเร็จรูปเรซินคอมโพสิตเสริมเส้นใย 4 ผลิตภัณฑ์ วัสดุและวิธีการ เตรียมเดือยฟันสําเร็จรูปดีที่ไลท์โพสต์ เอฟอาร์ซีโพสเทค อีซีโพสต์ และอินโนโพสต์คอมแพค อย่างละ 12 แท่ง สุ่มแบ่งเดือยฟันแต่ละผลิตภัณฑ์ออกเป็น 2 กลุ่ม ตามรูปแบบสารคู่ควบไซเลนที่ใช้เตรียมผิว คือ สารคู่ควบไซเลนแบบขวดเดียวโมโนบอนด์เอส และสารคู่ควบไซเลนแบบสองขวดพอร์ซเลนไลเนอร์เอ็ม จะได้กลุ่ม ทดลองทั้งหมด 8 กลุ่ม สร้างตัวอย่างทรงกระบอกโดยใช้วัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดบ่มตัวด้วยแสงล้อมรอบเดือยฟัน สําเร็จรูปแต่ละแท่ง นําตัวอย่างที่ได้ไปตัดเป็นแท่งสําหรับการทดสอบไมโครเทนไซล์ กลุ่มละ 18 แท่ง ดึงชิ้น ตัวอย่างด้วยเครื่องทดสอบสากลจนชิ้นงานแตกหัก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจําแนก ทางเดียวและการการทดสอบที-เทสท์ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา สารคู่ควบไซเลนแบบสองขวดพอร์ซเลนไลเนอร์เอ็มให้ค่าความแข็งแรงยึดไมโครเทนไซล์สูงกว่า แบบขวดเดียวโมโนบอนด์เอสอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) สําหรับเดือยฟันสําเร็จรูปทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ ชนิดผลิตภัณฑ์ของเดือยฟันสําเร็จรูปมีผลอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) ต่อค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดไมโครเทนไซล์ ระหว่างวัสดุเรซินคอมโพสิตกับเดือยฟันสําเร็จรูป ตัวอย่างทุกชิ้นที่ผ่านการทดสอบมีรูปแบบการแตกหักบริเวณผิวรอยต่อ สรุป สารคู่ควบไซเลนแบบสองขวดให้ค่าความแข็งแรงยึดไมโครเทนไซล์สูงกว่าสารคู่ควบไซเลนแบบขวดเดียวอย่างมีนัยสําคัญในเดือยฟันสําเร็จรูปทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ (ว ทันต จุฬาฯ 2553;33:99-108)


การสึกของกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ภายหลัง การแปรง, พีรพงศ์ กุประดิษฐ์, วาสนา พัฒนพีระเดช, จารุพรรณ อุ่นสมบัติ May 2010

การสึกของกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ภายหลัง การแปรง, พีรพงศ์ กุประดิษฐ์, วาสนา พัฒนพีระเดช, จารุพรรณ อุ่นสมบัติ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบปริมาตรที่สูญหายและความลึกเฉลี่ยของการสึกจากการแปรงของกลาสไอโอโน เมอร์ซีเมนต์ชนิดดั้งเดิม 2 ชนิด (ดีแทคฟิลพลัสแอพลิแคปและฟูจินายจีพีแคปซูล) กับเรซินมอดิฟายด์กลาสไอโอ โนเมอร์ซีเมนต์ 2 ชนิด (ดีแทคเอ็นวันฮันเดรดและฟูจิทแอลซีแคปซูล) ในห้องปฏิบัติการ วัสดุและวิธีการ เตรียมชิ้นตัวอย่าง 128 ชิ้นในแบบหล่อโลหะ แบ่งเป็น 4 กลุ่มเท่า ๆ กันตามชนิดของวัสดุที่ใช้ ทดสอบคือดีแทคฟิลพลัสแอพลิแคป ฟูจินายจีพีแคปซูล ดีแทคเอ็นวันฮันเดรด และฟูจิทแอลซีแคปซูล ใช้เครื่องวัด ความหยาบผิวโปรไฟโลมิเตอร์ วัดปริมาตรที่สูญหายและความลึกเฉลี่ยของแต่ละชิ้นตัวอย่าง แปรงชิ้นตัวอย่างด้วย เครื่องแปรงอัตโนมัติ โดยใช้ชิ้นตัวอย่าง 8 ชิ้นต่อการแปรง 1 ครั้ง จํานวนรอบในการแปรง 20,000 รอบ ความเร็ว แปรง 90 รอบต่อนาที แรงกด 150 กรัม ร่วมกับสารละลายยาสีฟัน วัดความแตกต่างของปริมาตรที่สูญหายและ ความลึกเฉลี่ยที่เปลี่ยนแปลงของแต่ละชิ้นตัวอย่างภายหลังการแปรง ข้อมูลถูกวิเคราะด้วยสถิติครูสคัล วัลลิส ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา ค่าปริมาตรที่สูญหายและความลึกเฉลี่ยที่เกิดขึ้นภายหลังการแปรงของดีแทคฟิลพลัสแอพลิแคปมี ความแตกต่างจากคีแทคเอ็นวันฮันเดรด ฟูจีทูแอลซีแคปซูลและฟูจินายจีพีแคปซูล อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p = 0.003 0.005 และ 0.031 ตามลําดับ) แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระหว่างฟูจินายจีพีแคปซูล กับดีแทคเอ็นวันฮันเดรด หรือฟูจิทแอลซีแคปซูล สรุป ดีแทคฟิลพลัสแอพลิแคปมีการสึกที่แตกต่างจากเรซินมอดิฟายด์กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ทั้งสองชนิด (ดี แทคเอ็นวันฮันเดรดและฟูจีทูแอลซีแคปซูล) และกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดดั้งเดิมอีกชนิดหนึ่ง (ฟูจินายจีพีแคปซูล) (ว ทันต จุฬาฯ 2553;33:119-30)


ผลของควันบุหรี่และสารทําความสะอาดฟันเทียมต่อความแข็งผิวและสีของผิวเคลือบเรซินอะคริลิก, ณัฐวรรธน์ ปลื้มสําราญ, รุ่งอรุณ อภินันทน์, พนารัตน์ ขอดแก้ว, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล May 2010

ผลของควันบุหรี่และสารทําความสะอาดฟันเทียมต่อความแข็งผิวและสีของผิวเคลือบเรซินอะคริลิก, ณัฐวรรธน์ ปลื้มสําราญ, รุ่งอรุณ อภินันทน์, พนารัตน์ ขอดแก้ว, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของควันบุหรี่และสารทําความสะอาดฟันเทียมที่มีต่อสีและความแข็งผิวของเรซินอะคริลิก ที่ใช้และไม่ใช้สารเคลือบผิว วัสดุและวิธีการ เตรียมชิ้นงานเรซินอะคริลิกขนาด 15x15x3 มิลลิเมตร จํานวน 200 ชิ้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดย เตรียมผิวแตกต่างกัน ได้แก่ เรซินอะคริลิกที่ขัดด้วยแท่งไขขัดมันเพื่อใช้เป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มที่เคลือบผิวด้วย บอสเวิร์ธเกลซ พาลาซีล และพลาควิต ทําการวัดสีและความแข็งผิวก่อนและหลังจากอบควันบุหรี่ หลังจากนั้น แบ่งชิ้นงานแต่ละกลุ่มให้เป็น 5 กลุ่มย่อย สําหรับการแช่ในน้ําและสารทําความสะอาดฟันเทียมสี่ชนิด คือโบนีพลัส ฟิตตี้เดนท์ โพลิเดนต์ และสเตอราเดนต์ แล้ววัดสีและความแข็งผิวอีกครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้การ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง สําหรับวิเคราะห์ผลต่างของ สีภายหลังอบควัน และภายหลังแช่สารทําความสะอาดฟันเทียมตามลําดับ โดยใช้การเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบแทมเฮน และใช้การทดสอบผลต่างค่าเฉลี่ยแบบจับคู่ในการวิเคราะห์ความแข็งผิว ทดสอบที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา หลังจากอบควันบุหรี่เรซินอะคริลิกที่ใช้สารเคลือบผิวทุกกลุ่มมีการติดสีน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ ในขณะที่การแช่ในสารละลายใด ๆ ไม่มีผลต่อการติดสี ยกเว้นกลุ่มควบคุมเมื่อแช่ในน้ํา จะมีการเปลี่ยนสีมากอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สําหรับค่าความแข็งผิวพบว่าสารเคลือบผิวพลาดวิตให้ความแข็งผิวสูง ที่สุด ขณะที่สารเคลือบผิวบอสเวิร์ธเกลซให้ความแข็งผิวต่ําที่สุด และเมื่อนําชิ้นตัวอย่างมาอบควันบุหรี่และแช่สารทําความสะอาดฟันเทียมแล้ว กลุ่มที่ใช้สารเคลือบผิวทุกกลุ่มรวมทั้งกลุ่มควบคุมมีความแข็งผิวเปลี่ยนแปลง ยกเว้นกลุ่มที่เคลือบด้วยพาลาซีลที่มีค่าความแข็งผิวไม่แตกต่างจากตอนเริ่มต้น สรุป การอบควันบุหรี่ทําให้เรซินอะคริลิกที่ขัดด้วยแท่งไขขัดมันมีการติดสีมากกว่ากลุ่มที่ใช้สารเคลือบผิวแช่สารทําความสะอาดฟันเทียมทุกชนิดในทุกกลุ่มที่ใช้สารเคลือบผิว ให้ผลการติดสีไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้สารเคลือบผิวทําให้ความแข็งผิวของเรซินอะคริลิกเปลี่ยนแปลงทั้งก่อนและหลังจากแช่สารทําความสะอาดฟันเทียมด้วย (ว ทันต จุฬาฯ 2553;33:77-88)


Shear-Peel Bond Strength Of Metal Bracket To Porcelain Surface Treated With 1.23% Acidulated Phosphate Fluoride Gel, Suchon Vatarugegrid, Smorntree Viteporn May 2010

Shear-Peel Bond Strength Of Metal Bracket To Porcelain Surface Treated With 1.23% Acidulated Phosphate Fluoride Gel, Suchon Vatarugegrid, Smorntree Viteporn

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The purpose of this study was to compare the shear-peel bond strength of metal bracket to the prepared porcelain surface with two different surface preparations; silane and 1.23% acidulated phosphate fluoride (APF) gel. Materials and methods The samples were comprised of 60 porcelain disks (diameter 10 mm, thickness 4 mm). All were unglazed with green stones and then were randomly assigned into 2 groups (30 specimens each). Group 1 (control), the porcelain surface was prepared with silane. Group 2, the porcelain surface was etched with 1.23% APF gel for 10 minutes. A central incisor metal bracket was bonded to …


Preliminary Study Of Effects Of A Standardized Extract Of Centella Asiatica Eca 233 On Minor Aphthous Ulcers, Chalandakorn Ruengprasertkit, Naulchavee Hongprasong, Boonyong Tantisira, Mayuree H. Tantisira May 2010

Preliminary Study Of Effects Of A Standardized Extract Of Centella Asiatica Eca 233 On Minor Aphthous Ulcers, Chalandakorn Ruengprasertkit, Naulchavee Hongprasong, Boonyong Tantisira, Mayuree H. Tantisira

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The present pilot study aimed to investigate the effects of a standardized extract of Centella asiatica ECa 233 on an oral paste form on minor recurrent aphthous ulceration (MiRAU). Materials and methods A randomized, single-blind, placebo controlled trial was conducted on 24 eligible subjects with MiRAU and randomly divided into four groups: 0.05, 0.10 and 0.20% ECa 233 paste and placebo oral paste. On entry to the trial at day 0, subjects were instructed to apply the oral paste three times per day (after breakfast and lunch and at bedtime) for 10 days or until the ulcer was completely …


ความก้าวหน้าของงานวิจัยวิศวกรรมเนื้อเยื่อฟัน:บทวิจารณ์, ธนภูมิ โอสถานนท์ May 2010

ความก้าวหน้าของงานวิจัยวิศวกรรมเนื้อเยื่อฟัน:บทวิจารณ์, ธนภูมิ โอสถานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

วิศวกรรมเนื้อเยื่อของฟันทั้งเพื่อใช้ในการปลูกถ่ายทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป เป็นเทคนิคที่ถูกคาดหวังที่จะใช้ในการรักษาในคลินิกในอนาคต แม้ว่าในปัจจุบันยังมีข้อจํากัดอยู่มากในแง่ของคุณสมบัติทั้งทางกายภาพและชีวภาพที่จะพัฒนาการสร้างฟันขึ้นในห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์นี้ แต่อย่างไรก็ตามได้มีรายงานวิจัย เกี่ยวกับการวิศวกรรมเนื้อเยื่อของฟันที่น่าสนใจตีพิมพ์ลงในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences USA บ่งบอกถึงศักยภาพของนักวิทยาศาสตร์ในการพัฒนางานด้านนี้ให้สามารถใช้ได้จริงในอนาคตบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปสาระสําคัญและวิจารณ์งานวิจัยนี้ เพื่อให้ทราบถึงความก้าวหน้าของงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อของฟันในปัจจุบัน (2 ทันต จุฬาฯ 2553;33:143-48)


ผลของสารปรับสภาพพื้นผิวที่มีต่อความแข็งแรงดัดขวางของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกเรซินที่ผ่านการซ่อมแซม, นงลักษณ์ ธัญญะกิจไพศาล, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์ May 2010

ผลของสารปรับสภาพพื้นผิวที่มีต่อความแข็งแรงดัดขวางของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกเรซินที่ผ่านการซ่อมแซม, นงลักษณ์ ธัญญะกิจไพศาล, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลของสารปรับสภาพผิวหน้าของฐานฟันปลอมอะครีลิกเรซินชนิดบ่มด้วยความร้อนเมื่อซ่อมด้วยอะครีลิกเรซินชนิดบ่มด้วยตัวเอง โดยพิจารณาจากค่าความแข็งแรงดัดขวาง วัสดุและวิธีการ เตรียมชิ้นงานอะครีลิกเรซินชนิดบ่มด้วยความร้อนตามมาตรฐาน ISO 1567 จํานวน 60 ชิ้น แบ่งเป็น 6 กลุ่มดังนี้ กลุ่มควบคุมบวก (กลุ่ม 1) กลุ่มควบคุมลบ (กลุ่ม 2) และกลุ่มทดลอง 4 กลุ่ม (กลุ่ม 3-6) โดยนํากลุ่ม 2 และกลุ่มทดลอง มาตัดตรงกลางให้ได้หน้าตัดเฉียง 45 องศา โดยกลุ่ม 2 ไม่ทําการปรับสภาพผิวหน้า และกลุ่ม 3-6 ทําการปรับสภาพผิวหน้าโดย กลุ่ม 3 และ 4 ใช้ส่วนเหลวของยูนิฟาสไทรเอด เป็นเวลา 5 และ 180 วินาที ตามลําดับ กลุ่ม 5 และ 6 ใช้สารเมทิลอะซิเตต และเมทิลฟอร์เมต เป็นเวลา 15 วินาที จากนั้นซ่อม ด้วยอะครีลิกเรซินชนิดบ่มด้วยตัวเอง ทดสอบความแข็งแรงดัดขวาง ด้วยเครื่องทดสอบสากล ใช้สถิติวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียวและเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยทูคีย์ ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 จากนั้นนําชิ้นงานมาจําแนกลักษณะการแตกหัก ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงตัดขวางของกลุ่ม 1 และกลุ่ม 3-6 มีค่ามากกว่ากลุ่ม 2 อย่างมีนัยสําคัญ กลุ่ม 5 และ 6 มีค่าความแข็งแรงดัดขวางมากกว่ากลุ่ม 3 อย่างมีนัยสําคัญ เมื่อพิจารณาลักษณะการแตกหักพบว่า กลุ่ม 5 และ 6 พบการแตกหักแบบเชื่อมแน่นทั้งหมด สรุป การปรับสภาพผิวหน้าด้วยสารเมทิลอะซิเตต และเมทิลฟอร์เมต ให้ค่าความแข็งแรงดัดขวางที่สูง เมื่อนํามา ช่อมฐานฟันปลอม (ว ทันต จุฬาฯ 2553;33:89-98)


การศึกษาย้อนหลังเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพทางเทคนิคของการรักษาพลเพคโตมีในฟันน้ํานม, อรอุมา คงทวีเลิศ, บุษยรัตน์ สันติวงศ์, ไพโรจน์ หลินศวนนท์ Jan 2010

การศึกษาย้อนหลังเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพทางเทคนิคของการรักษาพลเพคโตมีในฟันน้ํานม, อรอุมา คงทวีเลิศ, บุษยรัตน์ สันติวงศ์, ไพโรจน์ หลินศวนนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพทางเทคนิคของการอุดคลองรากฟันน้ํานม และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพทางเทคนิคของการอุดคลองรากฟันน้ํานม วัสดุและวิธีการ เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังซึ่งเก็บข้อมูลจากระเบียนประวัติทางทันตกรรมของผู้ป่วยเด็ก 166 คน ที่ได้รับการรักษาพลเพคโตมี จากภาควิชาทันตกรรมสําหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ทําการศึกษาโดยบันทึกข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลการรักษาพลเพคโตมี ประเมินการละลายของรากฟันจากพยาธิสภาพจากภาพรังสีก่อนการรักษา ความยาวและ ความแน่นของวัสดุอุดคลองรากฟัน ซึ่งพิจารณาจากภาพรังสีการขุดคลองรากฟันภายหลังรักษาทันที วิเคราะห์ ด้วยสถิติวิเคราะห์ความแบบพหุปัจจัยเพื่อหาปัจจัยร่วมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพทางเทคนิคของการอุดคลองรากฟันถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี ผลการศึกษา การศึกษานี้พบว่า วัสดุอุดอยู่ในระดับสั้นกว่าปลายรากฟัน ร้อยละ 45.9 ระดับพอดีปลายรากฟันร้อยละ 22.9 และระดับที่เป็นปลายรากฟัน ร้อยละ 31.2 ฟันที่มีการละลายของรากฟันจากพยาธิสภาพมีโอกาสใน การอุดเป็นปลายรากฟันเป็น 6.2 เท่าของพื้นที่ไม่มีการละลายของรากฟันจากพยาธิสภาพ การอุดคลองรากฟัน ด้วยวัสดุไวตาเพ็กซ์มีโอกาสในการอุดเกินเป็น 2.2 เท่า ของวัสดุซิงค์ออกไซด์ยูจีนอล สรุป การประเมินคุณภาพทางเทคนิคการขุดคลองรากฟันน้ํานมของนิสิตทันตแพทย์ พบว่าส่วนใหญ่อุดคลองรากฟันได้สั้นหรือเกินมากกว่าอุดพอดี นอกจากนั้นการศึกษานี้ยังพบว่าการละลายภายนอกรากฟันจากพยาธิสภาพ และชนิดของวัสดุอุดคลองรากฟัน มีอิทธิพลต่อคุณภาพทางเทคนิคของการอุดคลองรากฟัน (ว ทันต จุฬาฯ 2553;33:41-50)


ผลของการปนเปื้อนสารห้ามเลือดต่อการรั่วซึมระดับจุลภาคในการบูรณะฟันที่ใช้สารยึดติดระบบเซลฟ์เอทช์ 2 ชนิด, อัจฉราวรรณ ธรรมพาเลิศ, มุรธา พานิช Jan 2010

ผลของการปนเปื้อนสารห้ามเลือดต่อการรั่วซึมระดับจุลภาคในการบูรณะฟันที่ใช้สารยึดติดระบบเซลฟ์เอทช์ 2 ชนิด, อัจฉราวรรณ ธรรมพาเลิศ, มุรธา พานิช

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการรั่วซึมระดับจุลภาคที่ผนังด้านบดเคี้ยวและผนังด้านเหงือกของโพรงฟันชนิด คลาสไฟว์ที่บูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตโดยใช้สารยึดติดระบบเซลฟ์เอทช์ 2 ชนิด ระหว่างกลุ่มโพรงฟันที่ปนเปื้อน สารห้ามเลือดและไม่ล้างน้ํา กลุ่มที่โพรงฟันปนเปื้อนสารห้ามเลือดและล้างน้ํา กับกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการปนเปื้อนสารห้ามเลือด วัสดุและวิธีการ เตรียมโพรงฟันคลาสไฟว์ในฟันกรามน้อยบนของมนุษย์จํานวน 70 ซี่ ให้ผนังด้านบดเคี้ยวอยู่บน เคลือบฟันและผนังด้านเหงือกอยู่บนเคลือบรากฟัน สุ่มแบ่งฟันทั้งหมดเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ซี่ โดยเตรียมผิวฟัน 3 ลักษณะคือ กลุ่มที่ไม่มีการปนเปื้อนสารห้ามเลือด กลุ่มปนเปื้อนสารห้ามเลือดและไม่ล้างน้ํา และกลุ่มปนเปื้อน สารห้ามเลือดและล้างน้ํา ทําการบูรณะฟันด้วยเรซินคอมโพสิตโดยใช้สารยึดติดก่อนการบูรณะ 2 ชนิด คือ เคลียร์ ฟิลเอสอีบอนด์และเคลียร์ฟิลไตรเอสบอนด์ กลุ่มที่ไม่ใช้สารยึดติดเป็นกลุ่มควบคุมเชิงลบ หลังบูรณะนําชิ้นงาน ทั้งหมดมาผ่านกระบวนการเทอร์โมไซคลิงก่อนทดสอบการรั่วซึมระดับจุลภาคด้วยการแช่ใน 50% ซิลเวอร์ไนเตรต เป็นเวลา 24 ชั่วโมง อ่านผลคะแนนการรั่วซึมทั้งผนังด้านบดเคี้ยวและผนังด้านเหงือก เปรียบเทียบการรั่วซึมระดับ จุลภาคด้วยสถิตินอนพาราเมตริกครัสคาล วัลลิส การเปรียบเทียบพหุคูณ และสถิติแมนวิทนีย์ ยู เทสท์ ผลการศึกษา การรั่วซึมระดับจุลภาคที่ผนังด้านบดเคี้ยวของกลุ่มที่ใช้เคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ซึ่งมีการปนเปื้อนสาร ห้ามเลือดแล้วล้างน้ําและไม่ล้างน้ําไม่มีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุม (p = 0.5555) ส่วนการปนเปื้อนสารห้าม เลือดที่ผนังด้านเหงือกโดยไม่ผ่านการล้างน้ํามีการรั่วซึมมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p = 0.0001) สําหรับกลุ่มที่ใช้เคลียร์ฟิลไตรเอสบอนด์พบว่าการปนเปื้อนสารห้ามเลือดโดยไม่ผ่านการล้างน้ํามีการรั่วซึมที่ผนังด้านบดเคี้ยวและผนังด้านเหงือกมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p = 0.0006 และ p = 0.0001 ตามลําดับ)สรุป การใช้สารยึดติดเคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ และเคลียร์ฟิลไตรเอสบอนด์ในการบูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตเมื่อมี การปนเปื้อนสารห้ามเลือดโดยไม่ทําการล้างน้ําจะให้ค่าการรั่วซึมมากกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มปนเปื้อนสารห้าม เลือดที่ทําการล้างน้ํายกเว้นที่ผนังด้านบดเคี้ยวของกลุ่มที่ใช้เคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ที่การปนเปื้อนไม่มีผลต่อการรั่วซึม (ว ทันต จุฬาฯ 2553;33:15-24)


ผลของการเคลือบฟันกรามล่างแท้ซี่ที่สองที่ขึ้นเพียงบางส่วนด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ต่อเชื้อมิวแทนส์สเตรปโตคอคไคและฟลูออไรด์ในแผ่นคราบจุลินทรีย์, ณัฐฐา ไร่ทิม, บุษยรัตน์ สันติวงศ์ Jan 2010

ผลของการเคลือบฟันกรามล่างแท้ซี่ที่สองที่ขึ้นเพียงบางส่วนด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ต่อเชื้อมิวแทนส์สเตรปโตคอคไคและฟลูออไรด์ในแผ่นคราบจุลินทรีย์, ณัฐฐา ไร่ทิม, บุษยรัตน์ สันติวงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันกลาสไอโอโนเมอร์ต่อปริมาณ ฟลูออไรด์และระดับปริมาณเชื้อมิวแทนส์ สเตรปโตคอคไค ในคราบจุลินทรีย์ ในฟันกรามล่างแท้ที่กําลังขึ้น วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ฟันกรามล่างแท้ซี่ที่สองที่ขึ้นสู่ช่องปากเพียงบางส่วน จํานวน 45 4 ของเด็กอายุ 10 – 13 ปี ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดฟันผุ ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ โดยทําการ เก็บตัวอย่างคราบจุลินทรีย์ก่อนการเคลือบหลุมร่องฟัน หลังการเคลือบหลุมร่องฟัน ในวันที่ 7 วันที่ 14 และ วันที่ 28 เพื่อวัดปริมาณฟลูออไรด์ในตัวอย่างคราบจุลินทรีย์ด้วยวิธีโมดิฟายด์ ไมโครดิฟฟิวชัน และวัดระดับปริมาณเชื้อ มิวแทนส์ สเตรปโตคอคไค ด้วยชุดตรวจสําเร็จรูปข้างเก้าอี้ เดนโตเคลาท์ เอสเอ็ม สตริป มิวแทนส์ ผลการศึกษา ปริมาณฟลูออไรด์ในคราบจุลินทรีย์หลังการเคลือบหลุมร่องฟันด้วยกลาสไอโอโนเมอร์สูงกว่าก่อน การเคลือบหลุมร่องฟันอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) โดยพบว่าปริมาณฟลูออไรต์ในวันที่ 7 มีค่าสูงสุดแล้วค่อย ๆ ลดลงตามลําดับ และมีการลดลงของระดับปริมาณเชื้อมิวแทนส์ สเตรปโตคอคไค หลังการเคลือบหลุมร่องฟันเมื่อ เปรียบเทียบกับก่อนการเคลือบหลุมร่องฟัน (p < 0.0001) สรุป การเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามล่างแท้ซี่ที่สองที่ขึ้นสู่ช่องปากเพียงบางส่วนด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ ทําให้ มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณฟลูออไรด์และลดลงของระดับปริมาณเชื้อมิวแทนส์ สเตรปโตคอคไค ในคราบจุลินทรีย์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ว ทันต จุฬาฯ 2553;33:31-40)


การซ่อมแซมเซรามิกในช่องปาก, รังรอง แสงสุวอ, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์, จารุพรรณ อุ่นสมบัติ Jan 2010

การซ่อมแซมเซรามิกในช่องปาก, รังรอง แสงสุวอ, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์, จารุพรรณ อุ่นสมบัติ

Chulalongkorn University Dental Journal

เซรามิกเป็นวัสดุชนิดหนึ่งที่นิยมใช้สําหรับบูรณะฟัน แม้ว่าจะเป็นวัสดุที่มีความสวยงามและแข็งแรง แต่เซรามิกก็ การรื้อชิ้นงานเซรามิกเดิมเพื่อสร้างชิ้นงานใหม่อาจไม่เป็นที่ต้องการสําหรับผู้ป่วยเพราะต้องใช้ เวลาและค่าใช้จ่าย จึงมีการเสนอแนะวิธีการซ่อมแซมด้วยเรซินคอมโพสิตเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาเชิงร้าวหรือแตกบินได้อนุรักษ์หรือเพื่อแก้ปัญหาฉุกเฉินทางคลินิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่เกิดการแตกปืนในตําแหน่งที่เกี่ยวข้องกับ ความสวยงาม บทความปริทัศน์นี้จะกล่าวถึงการซ่อมแซมเซรามิกในช่องปาก ในหัวข้อต่าง ๆ คือ ชนิดและองค์ ประกอบของเซรามิก วัสดุที่นํามาใช้ในการซ่อมแซม การเตรียมพื้นผิวและกลไกการยึดติด วิธีการซ่อมแซม ความ แข็งแรงการยึดติด และอัตราการอยู่รอดของการซ่อมแซม (ว ทันต จุฬาฯ 2553;33:51-66)


The Effect Of Marginal Recession Around Anterior Maxillary Implants On The Esthetic Satisfaction Assessed By The Patient And The Clinician, Supreda Suphanantachat, Ketsuda Thovanich, Kanokwan Nisapakultorn Jan 2010

The Effect Of Marginal Recession Around Anterior Maxillary Implants On The Esthetic Satisfaction Assessed By The Patient And The Clinician, Supreda Suphanantachat, Ketsuda Thovanich, Kanokwan Nisapakultorn

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The purpose of this study was to assess and compare patientsûand cliniciansû judgments of the esthetic outcome of single-tooth anterior maxillary implants. In addition, the effect of facial marginal recession on the rating of esthetic outcomes was evaluated. Materials and methods Thirty patients restored with single-tooth anterior maxillary dental implants from the Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University were recruited for the study. The patients were asked to rate their satisfaction on four esthetic and four lifestyle-related variables using visual analog scale (VAS). Six clinicians, including 2 periodontists, 2 orthodontists and 2 prosthodontists, were given the clinical photograph of these …


การศึกษากําลังแรงยึดเฉือนผิวปอกของวัสดุยืดทางทันตกรรมจัดฟันที่ยึดแบร็กเก็ตซึ่งได้รับการเป่าทรายกับผิวเคลือบฟันเปรียบเทียบกับแบร็กเก็ตใหม่, กรพินท์ มหาทุมะรัตน์, แพรวพรรณ มาสู่, วรฤทัย ฐิติรุ่งเรือง, เสาวรัตน์ เนียมสวน Jan 2010

การศึกษากําลังแรงยึดเฉือนผิวปอกของวัสดุยืดทางทันตกรรมจัดฟันที่ยึดแบร็กเก็ตซึ่งได้รับการเป่าทรายกับผิวเคลือบฟันเปรียบเทียบกับแบร็กเก็ตใหม่, กรพินท์ มหาทุมะรัตน์, แพรวพรรณ มาสู่, วรฤทัย ฐิติรุ่งเรือง, เสาวรัตน์ เนียมสวน

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบค่ากําลังแรงยึดเฉือนผิวปอกของวัสดุยึดทางทันตกรรมจัดฟันที่ยึดแบร็กเก็ตกับผิว เคลือบฟัน ระหว่างกลุ่มแบร็กเก็ตที่ถูกเป่าทรายและติดซ้ํา กับกลุ่มแบร็กเก็ตใหม่ วัสดุและวิธีการ นําแบร็กเก็ตใหม่จํานวน 30 ตัวอย่างมายึดติดโดยตรงบนผิวฟันกรามน้อยบนด้วยวัสดุยึดทาง ทันตกรรมจัดฟันชนิดบ่มตัวเอง ทําการทดสอบเพื่อวัดค่ากําลังแรงยืดเฉือนผิวปอกสูงสุดของวัสดุ ขณะแบร็กเก็ตหลุดหลังจากนั้นนําแบร็กเก็ตมาทําความสะอาดฐานด้วยการเป่าทราย กําจัดเศษวัสดุที่ติดอยู่บนผิวฟันด้วยหัวคาร์ไบด์ กรอช้า และยึดติดด้วยวิธีเดิมที่ผิวฟันซี่เดิมซ้ําอีก 2 ครั้ง ทําการทดสอบเพื่อวัดค่ากําลังแรงยึดเฉือนผิวปอกสูงสุด ขณะแบร็กเก็ตหลุดเมื่อติดแบร็กเก็ตซ้ําครั้งที่ 1 และ 2 ตามลําดับ ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยกําลังแรงยึดเฉือนผิวปอกสูงสุดในกลุ่มแบร็กเก็ตใหม่ แบร็กเก็ตที่ติดครั้งที่ 1 และ 2 มีค่าเป็น 12.64 + 5.22 เมกะปาสคาล 4.14 + 1.29 เมกะปาสคาล และ 1.46 + 0.98 เมกะปาสคาล ตามลําาดับ และพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ระหว่างกลุ่มแบร็กเก็ตใหม่กับกลุ่ม แบร็กเก็ตที่ติดครั้งที่ 1 และระหว่างกลุ่มแบร็กเก็ตที่ติดครั้งที่ 1กับกลุ่มแบร็กเก็ตที่ติดครั้งที่ 2 สรุป ในการยึดติดแบร็กเก็ตโดยตรงบนผิวเคลือบฟันด้วยวัสดุยึดทางทันตกรรมจัดฟันชนิดบ่มตัวเอง การติด แบร็กเก็ตที่ถูกเป่าทรายที่ผิวฟันซี่เดิม จะได้ค่ากําลังแรงยึดเฉือนผิวปอกลดลง (ว ทันต จุฬาฯ 2553;33:25-30)