Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

2008

Keyword

Articles 1 - 30 of 37

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การศึกษาขนาดปรากฏของฟันธรรมชาติหน้าบนในประชากรไทยกลุ่มหนึ่ง, อรพินท์ แก้วปลั่ง, วรางคณา ยรรยงเกษมสุข, อรทูล วิสิทธิ์ศิลป์ Sep 2008

การศึกษาขนาดปรากฏของฟันธรรมชาติหน้าบนในประชากรไทยกลุ่มหนึ่ง, อรพินท์ แก้วปลั่ง, วรางคณา ยรรยงเกษมสุข, อรทูล วิสิทธิ์ศิลป์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ หาค่าเฉลี่ยและศึกษาอิทธิพลของเพศและอายุต่อขนาดปรากฏของฟันธรรมชาติ 6 ที่หน้าบน วัสดุและวิธีการ สุ่มเลือกประชากรไทยช่วงอายุ 25-40 ปี จํานวน 80 คน เป็นชายและหญิงจํานวนเท่ากัน วัดความกว้างและความยาวของฟันหน้าบนใน 2 มิติจากแบบหล่อ วิเคราะห์สถิติเพื่อหาความสัมพันธ์ของค่า ที่ได้กับปัจจัยต่าง ๆ อันได้แก่ ระยะระหว่างฟันเขี้ยวหรือความกว้างของฟันซี่ถัดไปด้วยที เทสต์ที่ระดับความ เชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการทดลอง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศพบว่าค่าเฉลี่ยความกว้างในฟันหน้าบนตําแหน่งเดียวกันไม่มีความ แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ ยกเว้นในฟันเขี้ยวซ้าย เมื่อพิจารณาด้านขวากับซ้ายไม่ต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ค่าเฉลี่ยความกว้างของฟันตัดซี่กลางและฟันตัดซี่ข้างในทั้งสองเพศเป็น 8.7 + 0.6 และ 7.3 + 0.6 มม. ตามลําดับ สําหรับฟันเขี้ยวในเพศชายและหญิงมีค่า 8.2 + 0.6 และ 8.0 + 0.4 มม. ตามลําดับ ค่าเฉลี่ยความยาวพบ ความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญระหว่างเพศเฉพาะในฟันตัดซี่ข้างทั้งสองข้าง เมื่อพิจารณาด้านขวากับซ้ายไม่ ต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ค่าเฉลี่ยความยาวของฟันตัดซี่กลางและฟันเขี้ยวในทั้งสองเพศเป็น 9.8 + 0.9 และ 9.4 + 0.9 มม. ตามลําดับ ในขณะที่ค่าของฟันตัดข้างในเพศชายและหญิงเป็น 9.2 + 0.9 และ 8.5 + 0.9 มม. ตามลําดับ พบว่าค่าความกว้างของฟันตัดกลางบนมีค่าเป็นร้อยละ 24 ของความกว้างระหว่างปลายฟันเขี้ยวบนซ้าย-ขวาส่วนความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับความกว้างหรือความยาวปรากฏของฟันหน้าบนทุกซี่ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ สรุป ความกว้างของฟันตัดกลางบนมีค่าเป็นร้อยละ 24 ของความกว้างระหว่างปลายฟันเขี้ยวในทั้งสองเพศ และเพศมีอิทธิพลต่อขนาดปรากฏของฟันตัดซี่ข้างบนในขณะที่อายุไม่มีอิทธิพล (2 ทันต จุฬาฯ 2551:31:295-304)


ฤทธิ์ในการกําจัดเชื้อราแคนดิดาอัลบิแคนส์ในคลองรากฟันของสารผสมแคลเซียมไฮดรอกไซด์กับคลอร์เฮกซิดีน หรือ สแตนนัสฟลูออไรด์ในห้องปฏิบัติการ, ศิริเพ็ญ วนแสงสกุล, เฉลิมขวัญ ภู่วรวรรณ, ทิพาพรรณ เศรษฐศิริสมบัติ, กานต์นภัส ปีติอัครวัชร์ Sep 2008

ฤทธิ์ในการกําจัดเชื้อราแคนดิดาอัลบิแคนส์ในคลองรากฟันของสารผสมแคลเซียมไฮดรอกไซด์กับคลอร์เฮกซิดีน หรือ สแตนนัสฟลูออไรด์ในห้องปฏิบัติการ, ศิริเพ็ญ วนแสงสกุล, เฉลิมขวัญ ภู่วรวรรณ, ทิพาพรรณ เศรษฐศิริสมบัติ, กานต์นภัส ปีติอัครวัชร์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราแคนดิดาอัลบิแคนส์ของสารผสมแคลเซียมไฮดรอกไซด์กับ คลอร์เฮกซิดีนหรือสแตนนัสฟลูออไรด์ในห้องปฏิบัติการ วัสดุและวิธีการ ใช้วิธีการวัดผลการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราบนวุ้นอาหารเลี้ยงเชื้อ และทดสอบประสิทธิภาพ ในการฆ่าแคนดิดาของสารผสมเมื่อใช้เป็นยาใส่ในคลองรากฟันเป็นเวลา 7 วัน รวมทั้งวัดการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดด่างของสาร ผลการศึกษา สารผสมแคลเซียมไฮดรอกไซด์ทั้งสามชนิด (น้ํากลั่น คลอร์เฮกซิดีน สแตนนิสฟลูออไรด์) มีฤทธิ์ใน การยับยั้งการเจริญของแคนดิดาบนวุ้นอาหารเลี้ยงเชื้อไม่แตกต่างกันและมีคุณสมบัติเป็นด่างแก่ อย่างไรก็ตามสาร ผสมแคลเซียมไฮดรอกไซด์กับคลอร์เฮกซิดีน หรือ สแตนนิสฟลูออไรด์ มีฤทธิ์ในการลดปริมาณแคนดิดาในคลอง รากฟันมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญ สรุป แคลเซียมไฮดรอกไซด์ผสมคลอร์เฮกซิดีน และแคลเซียมไฮดรอกไซด์ผสมสแตนนิสฟลูออไรด์มีฤทธิ์ในการลดปริมาณเชื้อราในคลองรากฟัน (ว ทันต จุฬาฯ 2551:31:371-84)


ผลของสารเชื่อมยึดและระยะเวลาในการเก็บชิ้นงานต่อค่าความแข็งแรงดัดขวางของเรซินอะคริลิกเสริมเส้นใยแก้ว, ประภาพร หอมจันทร์จีรัง, อิศราวัลย์ บุญศิริ Sep 2008

ผลของสารเชื่อมยึดและระยะเวลาในการเก็บชิ้นงานต่อค่าความแข็งแรงดัดขวางของเรซินอะคริลิกเสริมเส้นใยแก้ว, ประภาพร หอมจันทร์จีรัง, อิศราวัลย์ บุญศิริ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารเชื่อมยึด 2 ชนิด และระยะเวลาการเก็บชิ้นงานต่อค่าความแข็งแรงตัดขวางของเรซินอะคริลิกเสริมเส้นใยแก้ว วัสดุและวิธีการ ชิ้นทดสอบขนาด 2x2x25 มิลลิเมตร สร้างขึ้นจากวัสดุเรซินอะคริลิกชนิดบ่มได้เองจํานวน 80 ชิ้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (ก) กลุ่มที่ไม่ได้เสริมเส้นใย (ข) กลุ่มที่ไม่ได้ปรับสภาพผิวเส้นใยแก้ว (ค) กลุ่มเสริม เส้นใยแก้วที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารเชื่อมยึดไซเลน และ (ง) กลุ่มเสริมเส้นใยแก้วที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสาร เชื่อมยึดไททาเนต โดยเส้นใยแก้วที่ใช้เสริมความแข็งแรงปริมาณร้อยละ 10 โดยปริมาตรถูกจัดวางให้ขนานตาม แนวยาวและอยู่ในตําแหน่งกึ่งกลางของชิ้นทดสอบ แต่ละกลุ่มทดลองถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยเพื่อเก็บชิ้นงานใน น้ํากลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน และ 30 วัน ก่อนนํามาทดสอบความแข็งแรงดัดขวางแบบ 3 จุด (ความเร็วในการเคลื่อนหัวกด 1 มม. ต่อนาที) จากนั้นศึกษาลักษณะพื้นผิวที่แตกด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด วิเคราะห์ค่าความแข็งแรงดัดขวางด้วยการทดสอบความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการศึกษา ค่าความแข็งแรงตัดขวางของแต่ละกลุ่มทดสอบต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดย กลุ่มที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารเชื่อมยึดไซเลนมีค่ามากกว่ากลุ่มที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารเชื่อมยึดไททาเนต กลุ่ม ที่ไม่ได้ปรับสภาพผิวเส้นใยแก้ว และกลุ่มที่ไม่ได้เสริมเส้นใยแก้ว ตามลําดับ และค่าความแข็งแรงดัดขวางของแต่ละ กลุ่มทดสอบที่แช่น้ํา 7 มีค่ามากกว่ากลุ่มที่แช่น้ํา 30 วัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) สรุป สารเชื่อมยึดสามารถเพิ่มค่าความแข็งแรงดัดขวางในเรซินอะคริลิกเสริมเส้นใยแก้ว และเวลาในการเก็บชิ้นงานมีผลต่อค่าความแข็งแรงดัดขวางของเรซินอะคริลิกเสริมเส้นใยแก้ว (ว ทันต จุฬาฯ 2551;31:349-58)


Bottle-Using Behaviors In A Group Of Bangkok Preschool Children, Keswadee Subsandee, Supaporn Chongvisal, Napaporn Kittitavornkul, Nantajit Wangprasertkul Sep 2008

Bottle-Using Behaviors In A Group Of Bangkok Preschool Children, Keswadee Subsandee, Supaporn Chongvisal, Napaporn Kittitavornkul, Nantajit Wangprasertkul

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To study the bottle-using behaviors in a group of preschool children in Bangkok, Thailand. Materials and methods The sample consisted of 970 preschool children aged 1-6 years old from one kindergarten in Bangkok. Parents/caregivers completed self-administered questionnaires including information related to demographic data, the childrenûs bottle using or weaning status and the parentsû attitudes towards bottle using. Results Out of 824 questionnaires returned (85%), 605 were valid (73.4%). Results showed that 58.2% (352/605) of children (age 2.6 ± 0.9 years) still used a feeding-bottle while 41.8% (253/605) already weaned from bottle (age 4.2 ± 1.2 years). The mean age …


Effect Of Acemannan On The Dentinsialophosphoprotein And Dentin Matrix Protein 1 Mrna Expressions In Primary Human Pulpal Cells, Pechanika Lardungdee, Pornpun Asvanit, Pasutha Thunyakitpisal Sep 2008

Effect Of Acemannan On The Dentinsialophosphoprotein And Dentin Matrix Protein 1 Mrna Expressions In Primary Human Pulpal Cells, Pechanika Lardungdee, Pornpun Asvanit, Pasutha Thunyakitpisal

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To investigate the effect of acemannan isolated from Aloe vera gel on the steady level of dentinsialophosphoprotein (DSPP) and dentin matrix protein 1 (DMP 1) mRNAs in primary human pulpal cells. Materials and methods Cells were treated with the designated concentrations of acemannan (0.25, 0.5 and 1 mg/ml) for 24 hours. The reverse transcription-polymerase chain reaction assays were used to investigate the effects of acemannan on the steady level of DSPP and DMP 1 mRNAs. Results At 24 hours of incubation, acemannan (0.5 mg/ml) significantly enhanced the expressions of DSPP and DMP 1 mRNA levels up to 1.93 and …


Effects Of Dental Radiation On The Expression Of Apoptotic-Related Genes In Primary Human Bone Cells, Sakarat Pramojanee, Prasit Pavasant, Soontra Panmekiate Sep 2008

Effects Of Dental Radiation On The Expression Of Apoptotic-Related Genes In Primary Human Bone Cells, Sakarat Pramojanee, Prasit Pavasant, Soontra Panmekiate

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To investigate the effects of dental radiation on the expression of apoptotic-related genes in primary human bone cells. Materials and methods Human bone cells were grown in 15% FBS-DMEM and irradiated with 0, 1, 2 doses of a periapical radiograph. The cytotoxicity of irradiation was investigated by MTT assay after 24 hours. The levels of apoptotic-related gene expressions, Bcl-2, Bax, Bad, Bcl-xL, caspase-3 were analyzed by reverse transcription polymerase chain reaction, four hours after irradiation. Results No cytotoxicity was observed at the time of 24 hours after dental irradiation. The results indicated that Bax and caspase-3 significantly decreased after …


การศึกษาคุณภาพน้ําทิ้งภายในคณะ ทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิบูลย์ เกิดโภคทรัพย์, ประเวศ เสรีเชษฐพงษ์, เอมอร เบญจวงศ์กุลชัย, สุพจน์ พัฒนะศรี, พิชญ รัชฎาวงศ์, วรรณดารา อินทรปัญญา, จันทรวรรณ ตันเจริญ Sep 2008

การศึกษาคุณภาพน้ําทิ้งภายในคณะ ทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิบูลย์ เกิดโภคทรัพย์, ประเวศ เสรีเชษฐพงษ์, เอมอร เบญจวงศ์กุลชัย, สุพจน์ พัฒนะศรี, พิชญ รัชฎาวงศ์, วรรณดารา อินทรปัญญา, จันทรวรรณ ตันเจริญ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิจัยคุณภาพน้ําทิ้ง ปริมาณโลหะหนัก และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัสดุทางทันตกรรม สารเคมี และวัตถุอันตราย ภายในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ ทั้งนี้ ผลที่ได้จากการวิจัย จะนํามาประกอบการตัดสินใจออกแบบระบบบําบัดน้ําเสีย รวมถึงกําหนดแนวทางการใช้ การ เก็บรักษา และการกําจัดสารเคมีและวัตถุอันตราย วัสดุและวิธีการ การดําเนินการวิจัยทําโดยการสุ่มตัวอย่างน้ําเสีย น้ําทิ้ง และน้ําดีจากอาคารต่างๆ จํานวน 10 จุด ในช่วงเวลาที่มีการเรียนการสอนภายในห้องปฏิบัติการและการให้บริการทางทันตกรรมหนาแน่นที่สุด เพื่อเป็น ตัวแทนในการศึกษา โดยมี 2 จุดที่มีการบําบัดน้ําเสียก่อนทิ้ง จากนั้นทําการวิเคราะห์ตัวอย่างเหล่านี้เพื่อตรวจวัด คุณภาพน้ําเสียและน้ําทิ้ง และปริมาณโลหะหนัก 3 ชนิด ได้แก่ แคดเมียม ตะกั่ว และปรอท ตามวิธีมาตรฐาน ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยปริมาณโลหะหนักและคุณภาพน้ําทิ้งของอาคารส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้นค่า เฉลี่ยปริมาณปรอทในน้ําทิ้งจากอาคารทันต 5 อาคารทันต 10 และอาคารทันต 15 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน รวมถึง ค่าเฉลี่ยปริมาณบีโอดี น้ํามันและไขมัน และของแข็งแขวนลอยทั้งหมดในน้ําทิ้งจากอาคารทันต 10 สูงกว่าเกณฑ์ มาตรฐาน ส่วนผลการวิเคราะห์น้ําดีของทุกอาคารอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สรุป จากการนําน้ําที่ไปใช้ในกิจกรรมด้านการเรียนการสอนภายในห้องปฏิบัติการ การทําวิจัย การให้บริการทาง ทันตกรรม และการอุปโภคบริโภค ทําให้น้ําทิ้งภายในคณะฯ มีปริมาณปรอท บีโอดี น้ํามันและไขมัน และของแข็ง แขวนลอยทั้งหมดปนเปื้อนอยู่จริง และเมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์น้ําเสียก่อนการบําบัดกับน้ําทิ้งหลังการ บําบัดพบว่า ค่าเฉลี่ยคุณภาพน้ําทิ้งดีขึ้น ส่วนค่าเฉลี่ยปริมาณโลหะหนักไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ เนื่องจาก ระบบบําบัดน้ําเสียที่มีอยู่ไม่ได้ออกแบบไว้เพื่อกําจัดโลหะหนัก (2 ทันต จุฬาฯ 2551:31:283-94)


การสลายในน้ําของวัสดุอุดฟันชั่วคราวชนิดซิงค์ออกไซด์แคลเซียมซัลเฟตที่พัฒนาใหม่, สุพัชรา บุณยวีย์, เจนจิรา ถิระวัฒน์, นิยม ธํารงค์อนันต์สกุล Sep 2008

การสลายในน้ําของวัสดุอุดฟันชั่วคราวชนิดซิงค์ออกไซด์แคลเซียมซัลเฟตที่พัฒนาใหม่, สุพัชรา บุณยวีย์, เจนจิรา ถิระวัฒน์, นิยม ธํารงค์อนันต์สกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาวัสดุอุดฟันชั่วคราวประเภทซิงค์ออกไซด์ แคลเซียมซัลเฟตให้มีการสลายในน้ําลดลง วัสดุและวิธีการ เตรียมวัสดุที่ทําการปรับเปลี่ยนอัตราส่วนขององค์ประกอบหลักระหว่างแคลเซียมซัลเฟตต่อซิงค์ ออกไซด์เป็น 4 สูตร และใช้เควิตเป็นกลุ่มควบคุม นําชิ้นตัวอย่างกลุ่มละ 20 ชิ้นไปทดสอบการสลายในน้ํา แล้วหา ค่าเฉลี่ยของการสลายในน้ําของแต่ละกลุ่ม วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยในแต่ละกลุ่มด้วยการเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดบอนเฟร์โรนิ ผลการศึกษา วัสดุอุดฟันชั่วคราวที่เตรียมขึ้นใหม่มีค่าเฉลี่ยร้อยละการสลายในน้ําเท่ากับ 8.884 + 0.789, 4.930 + 1.157, 3.629 + 1.039 และ 10,594 + 1.097 ในกลุ่มตัวอย่างของสูตรที่ 1 สูตรที่ 2 สูตรที่ 3 และสูตรที่ 4 ตามลําดับ ขณะที่เควิตเท่ากับ 13.455 + 1.185 วัสดุอุดฟันชั่วคราวที่เตรียมขึ้นใหม่ทุกสูตรมีการสลายในน้ําต่างกัน และน้อย กว่าเควิตอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) สรุป วัสดุอุดฟันชั่วคราวที่เตรียมขึ้นใหม่ทั้ง 4 สูตรสลายในน้ําน้อยกว่าเควิตอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (2 ทันต จุฬาฯ 2551:31:331-8)


ความทนแรงอัดและความทนแรงดัดของเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์, นัทธ์ชนัน วิทยเจียกขจร, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์ Sep 2008

ความทนแรงอัดและความทนแรงดัดของเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์, นัทธ์ชนัน วิทยเจียกขจร, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความทนแรงอัดและความทนแรงดัดของเชลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ และเปรียบเทียบกับเรซินซีเมนต์ที่ใช้ร่วมกับสารยึดติด วัสดุและวิธีการ ทดสอบความทนแรงอัดและความทนแรงดัดของเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ไลเอ็กซ์ยูร้อย แมกเต็ม และมัลติลิงค์สปรินท์ และเรซินซีเมนต์ที่ใช้ร่วมกับสารยึดติดผลิตภัณฑ์ แวริโอลิงค์ทู โดย ใช้การทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานนานาชาติทางทันตกรรม หมายเลข 9917/2003 และ 4049/2000 ตามลําดับวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา ซีเมนต์ทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์มีค่าเฉลี่ยความทนแรงอัดอยู่ระหว่าง 213.42 + 3.74 - 278.82 + 30.96 เมกะปาสคาล ค่าเฉลี่ยความทนแรงอัดของแวริโอลิงค์ทู มีค่าสูงสุดแต่ในทางสถิติไม่มีความแตกต่างกับไลเอ็กซ์ยู ร้อย และแมกเข็ม ส่วนมัลติลิงค์สปรินท์มีค่าเฉลี่ยความทนแรงอัดต่ําที่สุด และแตกต่างจากซีเมนต์ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยความทนแรงดัดของซีเมนต์ทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์มีค่าอยู่ระหว่าง 88.33 + 4.64 - 148.56 + 23.42 เมกะปาสคาล ความทนแรงดัดของแวรีโอลิงค์ทู สูงที่สุดแต่ไม่มีความแตกต่างจาก รีไลเอ็กซ์ยูร้อย และ มัลติลิงค์ สปรินท์ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วนแมกเข็มมีค่าเฉลี่ยความทนแรงดัดต่ําที่สุดและมีความแตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญกับซีเมนต์ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ยกเว้นกับผลิตภัณฑ์ร์ไลเอ็กซ์ยูร้อย สรุป เซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์เกือบทุกผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการศึกษานี้มีความทนแรงอัดและความทนแรงดัดใกล้เคียงเรซินซีเมนต์ที่ใช้ร่วมกับสารยึดติด โดยค่าดังกล่าวของทุกผลิตภัณฑ์สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานนานาชาติทางทันตกรรม (2 ทันต จุฬาฯ 2551:31:339-48)


ผลของยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่มีความเข้มข้น500 และ 1000 ส่วนในล้านส่วนต่อการเจริญ ของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดฟันผุ : การศึกษาใน ห้องปฏิบัติการ, วัชราภรณ์ ทัศจันทร์, พัชรา พิพัฒนโกวิท Sep 2008

ผลของยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่มีความเข้มข้น500 และ 1000 ส่วนในล้านส่วนต่อการเจริญ ของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดฟันผุ : การศึกษาใน ห้องปฏิบัติการ, วัชราภรณ์ ทัศจันทร์, พัชรา พิพัฒนโกวิท

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดฟันผุของยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 500 และ 1000 ส่วนในล้านส่วนที่มีจําหน่ายในประเทศไทย วัสดุและวิธีการ สเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ ATCC 25175 แลกโตเบซิลลัสเคชิไอ IFO 3533 และ สเตร็ปโต ค็อกคัสชอบรินัส OMZ 1762 ได้ถูกนํามาทดสอบกับยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 500 ส่วนในล้านส่วน 6 ชนิด และ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000 ส่วนในล้านส่วนอีก 6 ชนิด โดยนํายาสีฟันมาวิเคราะห์หาปริมาณฟลูออไรด์อิออน โดยฟลูออไรด์อิเล็กโทรดและนํามาทดสอบกับเชื้อแบคทีเรีย ด้วยวิธีการแพร่ในอาหารเลี้ยงเชื้อแบบหุ้น จากนั้นนํา มาวัดเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณที่ไม่มีเชื้อขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูปอิมเมจโปรพลัสรุ่น 4.5 และนํามา คํานวณหาพื้นที่และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูปเอสพีเอสเอสรุ่น 13ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา ผลการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียภายในกลุ่มยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 500 ส่วนในล้านส่วนไม่มีความแตกต่าง กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p > 0.05) ในทางตรงกันข้าม พบว่ากลุ่มยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000 ส่วนในล้านส่วนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 500 และ 1000 ส่วนในล้านส่วน พบว่ายาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000 ส่วนในล้านส่วนให้ผลในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย แตกต่างจากยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 500 ส่วนในล้านส่วนอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) สรุป ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000 ส่วนในล้านส่วนให้ผลในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียมากกว่ายาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 500 ส่วนในล้านส่วน และปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟันที่ละลายน้ําเป็นฟลูออไรด์อิออนมีความสัมพันธ์กับความ สามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (2 ทันต จุฬาฯ 2551;31:385-98)


ประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์และเชื้อแอกกริเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมิแทนส์ของสารอะลูมิเนียมคลอไรด์, ประเวศ เสรีเชษฐพงษ์, วัชราภรณ์ ทัศจันทร์, ศุภราภรณ์ กันทาสุวรรณ์, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล Sep 2008

ประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์และเชื้อแอกกริเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมิแทนส์ของสารอะลูมิเนียมคลอไรด์, ประเวศ เสรีเชษฐพงษ์, วัชราภรณ์ ทัศจันทร์, ศุภราภรณ์ กันทาสุวรรณ์, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารอะลูมิเนียมคลอไรด์ในการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ และ เชื้อแอกกรีเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ ในห้องปฏิบัติการ วัสดุและวิธีการ การศึกษานี้ใช้เทคนิคบรอทไดลูชันและไทม์คิล โดยเลี้ยงเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ในอาหารเหลวเลี้ยงเชื้อชนิดทริปติกซอยและเลี้ยงเชื้อแอกกริเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ในอาหารเหลวเลี้ยง เชื้อชนิดเบรนฮาร์ทอินฟิวชัน ที่มีความเข้มข้นของสารอะลูมิเนียมคลอไรด์ร้อยละ 0.05 0.1 0.2 0.3 0.4 และ 0.5 โดยมวลต่อปริมาตร ในตู้เพาะเลี้ยงเชื้อที่มีความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 5 อุณหภูมิ 37 องศา เซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง โดยจะเก็บตัวอย่างที่ 0.5 3 6 9 18 และ 24 ชั่วโมง ยืนยันผลด้วยการนับค่าจํานวน จุลินทรีย์ที่มีชีวิต โดยวิธีการเกลี่ยเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อ ผลการศึกษา ความเข้มข้นต่ําสุดของสารอะลูมิเนียมคลอไรด์ที่มีผลยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ และเชื้อแอกกรีเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ คือความเข้มข้นร้อยละ 0.2 และ 0.05 โดยมวลต่อปริมาตรตามลําดับ ความเข้มข้นต่ําสุดที่มีผลทําลายเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์และเชื้อแอกกริเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ คือ ความเข้มข้นร้อยละ 0.5 และ 0.2 โดยมวลต่อปริมาตร ตามลําดับ สําหรับระยะเวลาในการ ทําลายเชื้อพบว่า ปริมาณเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ลดลงจนเป็นศูนย์ เมื่อทดสอบด้วยสารอะลูมิเนียมคลอไรด์ ที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.5 โดยมวลต่อปริมาตร เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ส่วนปริมาณเชื้อแอกกริเกที่แบกเทอร์ แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ลดลงจนเป็นศูนย์ เมื่อทดสอบด้วยสารอะลูมิเนียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.2 โดย มวลต่อปริมาตร เป็นเวลาอย่างน้อย 9 ชั่วโมง สรุป สารอะลูมิเนียมคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 0.5 และ 0.2 โดยมวลต่อปริมาตร มีผลทําลายเชื้อสเตร็ป โตค็อกคัสมิวแทนส์และเชื้อแอกกริเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ตามลําดับ ขณะที่ความเข้มข้นของ สารอะลูมิเนียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.2 และ 0.05 โดยมวลต่อปริมาตร มีผลยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตค็อก คัสมิวแทนส์และเชื้อแอกกริเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ ตามลําดับ (ว ทันตจุฬาฯ 2551;31:399-406)


ความพึงพอใจและความรู้สึกของผู้ป่วยกระดูกขากรรไกรและใบหน้าภายหลังได้รับการบูรณะด้วยอวัยวะเทียมภายในช่องปาก, นิยม ธํารงค์อนันต์สกุล, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล Sep 2008

ความพึงพอใจและความรู้สึกของผู้ป่วยกระดูกขากรรไกรและใบหน้าภายหลังได้รับการบูรณะด้วยอวัยวะเทียมภายในช่องปาก, นิยม ธํารงค์อนันต์สกุล, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจและความรู้สึกของผู้ป่วยที่ถูกตัดขากรรไกรบนออกบางส่วนหลังได้รับ การบูรณะด้วยอวัยวะเทียมภายในช่องปาก ในด้านการใช้งาน ความสวยงาม และ ความมั่นใจ วัสดุและวิธีการ เป็นการตอบแบบสอบถามของผู้ป่วยจํานวน 25 รายที่ได้รับการผ่าตัดเอากระดูกขากรรไกรบน ออกบางส่วน โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ 1. ข้อมูลทั่วไป 2. ประวัติทางการแพทย์และทันตกรรม และ3. ความพึงพอใจและความรู้สึก ซึ่งประกอบด้วยการถอดและใส่อวัยวะเทียม การรับประทานอาหาร ความ แนบสนิท การพูด ความสวยงาม ความมั่นใจ และความท้อแท้หลังการได้รับการผ่าตัด โดยระดับความพึงพอใจ หรือความรู้สึกแบ่งเป็น 3 ระดับได้แก่ ต่ํา ปานกลาง และ สูง นําระดับความพึงพอใจหรือความรู้สึกของผู้ป่วย มาคิดเป็นร้อยละ ผลการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย เพศชาย 14 ราย เพศหญิง 11 ราย อายุเฉลี่ยเท่ากับ 42.0 + 3.7 ปี ผู้ป่วย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับครอบครัว ร้อยละ 32 ของผู้ป่วยที่เคยมีงานทําต้องกลายเป็นบุคคลว่างงานหลังเกิดความ พิการในช่องปาก ผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับการบูรณะเพื่อแก้ไขความพิการโดยใส่อวัยวะเทียม โดยชนิดของอวัยวะเทียม ที่ใส่ร้อยละ 64 เป็นฐานอะคริลิกเรซินส่วนที่เหลือเป็นชนิดฐานโลหะ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจสูง จนถึงปานกลางต่ออวัยวะเทียมที่ใส่ ในด้านการถอดใส่ การใช้รับประทานอาหารประเภทอ่อนนุ่ม การต้านรั่วซึม การออกเสียง ความสวยงาม และการเสริมบุคลิกภาพ แต่ผู้ป่วยบางรายที่มีความพึงพอใจระดับต่ําในบางเรื่อง และ บางรายที่รู้สึกท้อแท้ในชีวิตหลังได้รับการผ่าตัดและต้องการการคําแนะนําจากบุคลากรที่ให้การรักษา สรุป จากแบบสอบถามความพึงพอใจและความรู้สึกทั้ง 25 ข้อของผู้ป่วยเมื่อได้รับการบูรณะด้วยอวัยวะเทียม ภายในช่องปาก ส่วนมากให้ระดับความพึงพอใจที่ระดับสูง แต่มีบางข้อที่ผู้ป่วยให้ระดับความพึงพอใจที่ระดับต่ําซึ่งข้อมูลที่ได้นี้น่าจะเป็นประโยชน์ในการนํามาพัฒนาการรักษาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยของหน่วยบูรณะช่องปากและใบหน้า โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ (ว ทันต จุฬาฯ 2551;31:305-14)


การปรับข้ามวัฒนธรรมของดัชนีแบบอย่างความเป็นวิชาชีพสําหรับทันตแพทย์ไทย, ชาญชัย ให้สงวน Sep 2008

การปรับข้ามวัฒนธรรมของดัชนีแบบอย่างความเป็นวิชาชีพสําหรับทันตแพทย์ไทย, ชาญชัย ให้สงวน

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ดัชนีแบบอย่างความเป็นวิชาชีพสําหรับทันตแพทย์ไทยด้วยการปรับข้ามวัฒนธรรม และประเมินความทัดเทียมกันระหว่างดัชนีต้นฉบับกับดัชนีภาษาไทย วัสดุและวิธีการ นําดัชนีแบบอย่างความเป็นวิชาชีพมาผ่านกระบวนการปรับข้ามวัฒนธรรมตามแนวทางสากล อันประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ การแปลต้นฉบับเป็นภาษาไทย การรวบรวมร่างแปลฉบับต่างๆ เข้าเป็นฉบับร่าง รวม การแปลย้อนกลับ การประเมินผลการแปลและความทัดเทียมกันโดยคณะบุคคล และการทดสอบภาคสนาม โดยกลุ่มตัวอย่างทันตแพทย์ 13 คน ผลการศึกษา ดัชนีแบบอย่างความเป็นวิชาชีพได้ผ่านการแปลเป็นภาษาไทย และการปรับข้ามวัฒนธรรมโดยไม่ พบปัญหาสําคัญ ผลการประเมินความทัดเทียมโดยคณะบุคคล พบว่า ดัชนีฉบับภาษาไทยและดัชนีต้นฉบับมีความทัดเทียมกันทั้งในเชิงภาษา เชิงสังกัป และเชิงวัฒนธรรม การทดสอบภาคสนามพบว่า ข้อความในดัชนีมี ความชัดเจน และความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของระบบบริการทันตสุขภาพไทย สรุป ดัชนีแบบอย่างความเป็นวิชาชีพฉบับภาษาไทยได้รับการปรับข้ามวัฒนธรรมโดยผ่านการประเมินว่ามีความทัดเทียมกับดัชนีต้นฉบับ แต่ยังสมควรต้องมีการศึกษาคุณสมบัติของดัชนีในด้านความเที่ยงและความตรงก่อนที่จะนําไปใช้ประเมินความเป็นวิชาชีพของทันตแพทย์ไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2 ทันต จุฬาฯ 2557:37:315-30)


ผลของเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวของเดือยคอมโพสิตเสริมเส้นใยต่อความต้านทานการล้มเหลวในการบูรณะด้วยเดือยและแกนในฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟัน, สิริรัตน์ อนันตวิริยะพร, ปรารมภ์ ซาลิมี Sep 2008

ผลของเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวของเดือยคอมโพสิตเสริมเส้นใยต่อความต้านทานการล้มเหลวในการบูรณะด้วยเดือยและแกนในฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟัน, สิริรัตน์ อนันตวิริยะพร, ปรารมภ์ ซาลิมี

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้านทานการล้มเหลวในการบูรณะด้วยเดือยและแกนในฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟันด้วยการใช้เดือยคอมโพสิตเสริมเส้นใย เมื่อใส่เดือยในลักษณะเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวต่างกันใน คลองรากที่เตรียมไว้ขนาดเดียวกัน วัสดุและวิธีการ นําฟันตัดกลางบนจํานวน 30 ซี่ มาตัดส่วนตัวฟันออกให้เหลือความยาวราก 13 มิลลิเมตรและ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ทุกกลุ่มทําการรักษารากฟันด้วยวิธีแลทเทอรอลคอนเดนเซชั่นและทําการเตรียมช่องว่าง สําหรับใส่เดือยฟันยาว 8 มิลลิเมตร ด้วยหัวเจาะสําหรับเดือยขนาดกลาง (เบอร์ 2) ทําการบูรณะฟันด้วยเดือย คอมโพสิตเสริมเส้นใย (ผลิตภัณฑ์ดีที่ไลท์-โพสท์, บิสโก้, ฝรั่งเศส) โดยใช้เรซินซีเมนต์ (ผลิตภัณฑ์พานาเวียร์ เอฟ 2.0, คราเรย์, ญี่ปุ่น) ในการยึดร่วมกับการใช้เรซินคอมโพสิตในการสร้างแกนฟัน โดยกลุ่มที่ 1 ใช้เดือยฟันที่มีขนาดและ ความยาวพอดีกับผนังคลองรากฟัน (เบอร์ 2) กลุ่มที่ 2 ใช้เดือยฟันขนาดเล็กที่มีความยาวพอดีกับความยาวของ คลองรากฟัน แต่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าคลองรากฟัน (เบอร์ 1) และกลุ่มที่ 3 ใช้เดือยฟันที่มีขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลางใหญ่ (เบอร์ 3) โดยเมื่อใส่ลงในคลองรากฟันจะมีความยาวของเดือยสั้นกว่าความยาวของคลอง รากฟันแต่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางพอดีกับผนังคลองรากฟันส่วนต้น หลังจากนั้นนําฟันที่เตรียมไว้ในแต่ละกลุ่ม ยึดลงบล็อกยึดฟันที่ทําจากท่อพีวีซีโดยใช้อะครีลิกเรซินที่บ่มตัวได้ที่อุณหภูมิห้อง นําชิ้นตัวอย่างทั้งหมดไปทดสอบ ความต้านทานการล้มเหลวในการบูรณะด้วยเดือยและแกนด้วยเครื่องทดสอบสากล โดยวางชิ้นตัวอย่างทํามุม 90 องศา ระหว่างแนวแกนฟันกับหัวกด กดหัวทดสอบลงบนแกนฟันด้านลิ้นด้วยความเร็วหัวกด 2 มิลลิเมตร/นาที บันทึก แรงที่ทําให้เกิดความล้มเหลวในการบูรณะของชิ้นตัวอย่าง และนําผลค่าเฉลี่ยของแรงไปเปรียบเทียบทางสถิติด้วย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและวิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติบอนเฟอร์โรนีที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา ผลการทดสอบพบว่าค่าเฉลี่ยแรงด้านความล้มเหลวในการบูรณะด้วยเดือยและแกนและส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐานในแต่ละกลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 เท่ากับ 108.33 + 11.59 นิวตัน กลุ่มที่ 2 เท่ากับ 79.08 + 12.15 นิวตัน และในกลุ่มที่ 3 เท่ากับ 94.87 + 14.48 นิวตัน ซึ่งจากการเปรียบเทียบทางสถิติพบว่า กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 มีค่า …


Antibacterial Effect On Enterococcus Faecalis Of Erbium, Chromium: Yttrium-Scandium-Gallium-Garnet Laser Irradiation Compared To Two Irrigating Solutions In Root Canals Of Extracted Human Teeth, Thalerngsak Samaksamarn, Chantavat Sutthiboonyapan, Patchara Pipattanagovit, Oranart Matangkasombut May 2008

Antibacterial Effect On Enterococcus Faecalis Of Erbium, Chromium: Yttrium-Scandium-Gallium-Garnet Laser Irradiation Compared To Two Irrigating Solutions In Root Canals Of Extracted Human Teeth, Thalerngsak Samaksamarn, Chantavat Sutthiboonyapan, Patchara Pipattanagovit, Oranart Matangkasombut

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To compare the antibacterial effect of the erbium, chromium: yttrium-scandium-galliumgarnet (Er,Cr:YSGG) laser irradiation with two irrigating solutions in root canals of extracted human teeth. Materials and methods One hundred and twenty-five extracted single-rooted teeth were collected. The canals were then enlarged with K files to size 50 using crown-down technique and randomly assigned into four experimental groups of 30 teeth each and five teeth for sterility control group. After sterilization, all roots except the sterility control group were inoculated with 10 microlitres of a known concentration of Enterococcus faecalis ATCC29212 and incubated at 37 ÌC for 48 hours. The …


ผลของหัวขัดชนิดต่าง ๆที่มีต่อความหยาบผิวของเรซินคอมโพสิตชนิดนาโนฟิลล์, กานต์ พิพัฒน์ปัญญานุกูล, วิชญา วิศิษฐ์รัศมีวงศ์, วาสนา พัฒนพีระเดช May 2008

ผลของหัวขัดชนิดต่าง ๆที่มีต่อความหยาบผิวของเรซินคอมโพสิตชนิดนาโนฟิลล์, กานต์ พิพัฒน์ปัญญานุกูล, วิชญา วิศิษฐ์รัศมีวงศ์, วาสนา พัฒนพีระเดช

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของหัวขัดที่แตกต่างกัน 5 ชนิด ที่มีต่อความหยาบผิวของเรซินคอมโพสิตชนิดนาโนฟิลล์ วัสดุและวิธีการ ใส่เรซินคอมโพสิตฟิลเทกแซด 350 ลงในแม่พิมพ์ขนาด 5x4x2 มม. ปิดทับด้วยแผ่นไมลาร์ แล้วฉายแสงเป็นเวลา 40 วินาที จํานวน 120 ชิ้น แบ่งอย่างสุ่มเป็น 6 กลุ่มเท่า ๆ กัน กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม อีก 5 กลุ่มนําไปขัดด้วยหัวขัด 5 ชนิด ได้แก่ ซอฟเฟล็ก เอ็นฮานส์” โพโก” คอมโพเซฟ และ เจ็ทเบอร์ จากนั้นนําชิ้นตัวอย่างทั้งหมดไปทดสอบหาค่าความหยาบผิวด้วยเครื่องมือวัดความหยาบผิวและเลือกชิ้นตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนกลุ่มของหัวขัดแต่ละชนิด ไปประเมินด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด นําข้อมูลไป วิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวที่ระดับนัยสําคัญน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา เมื่อขัดด้วยซอฟเฟล็ก” พบว่าค่าที่ได้ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญและได้พื้น ผิวเรียบดีที่สุด ส่วนกลุ่มที่มีค่าแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญ โดยเรียงตามลําดับค่าความหยาบผิวจาก น้อยไปหามาก ได้แก่ โพโก เอ็นฮานส์” คอมโพเชฟ และ เจ็ทเบอร์ สรุป ความหยาบผิวของเรซินคอมโพสิตชนิดนาโนฟิลล์หลังการขัดขึ้นอยู่กับชนิดของหัวขัด โดยหัวขัดที่ให้ความ เรียบผิวดีที่สุด คือ ซอฟเฟล็ก (ว ทันต จุฬาฯ 2551;31:213-22)


การเปรียบเทียบแรงเสียดทานระหว่างเซลฟ์ไลเกตติ้งแบร็กเกตแบบไร้แรงสองชนิดและแบร็กเกตธรรมดา, บัณฑูร โชติวรรณพร, พรทิพย์ ชิวชรัตน์, นิรมล ชํานาญนิธิอรรถ May 2008

การเปรียบเทียบแรงเสียดทานระหว่างเซลฟ์ไลเกตติ้งแบร็กเกตแบบไร้แรงสองชนิดและแบร็กเกตธรรมดา, บัณฑูร โชติวรรณพร, พรทิพย์ ชิวชรัตน์, นิรมล ชํานาญนิธิอรรถ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบแรงเสียดทานระหว่างเซลฟ์ไลเกตติ้งแบร็กเกตแบบไร้แรง 2 ชนิด คือ ดามอน ทรีเอ็มเอ็กซ์ที่มีการออกแบบการยึดจับลวดแบบบานสไลด์และสมาร์ทคลิปที่มีคลิป 2 ข้างเพื่อยึดจับลวด และแบร์กเกตธรรมดาเจมินี่ที่มัดด้วยวงอีลาสโทเมอร์ วัสดุและวิธีการ เป็นการทดลองในสภาวะแอคทีฟที่แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 ตัวอย่าง โดยใช้ลวดเหล็กกล้าไร้สนิมขนาด 0.019 x 0.025 นิ้ว ที่มุมวิกฤต 3 องศา เคลื่อนผ่านร่องแบร็กเกตมาอ่านค่าแรง เสียดทานที่ได้จากเครื่องลอยด์ ยูนิเวอร์แซลเทสติ้ง แล้วทําการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทิศทางเดียวของค่า เฉลี่ยและเปรียบเทียบแบบพหุคูณของค่าเฉลี่ยแรงเสียดทานสถิตใน 3 กลุ่มด้วยการวิเคราะห์แทมเฮนที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ผลการศึกษา แบร็กเกตดามอนทรีเอ็มเอ็กซ์มีค่าเฉลี่ยแรงเสียดทานที่น้อยที่สุด (0.203 + 0.083 นิวตัน) รองลงมาเป็นสมาร์ทคลิป (0.297 + 0.074 นิวตัน) และแบร็กเกตธรรมดามีค่าเฉลี่ยแรงเสียดทานที่มากที่สุด (1.865 + 0.404 นิวตัน) จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแรงเสียดทานในทั้ง 3 กลุ่ม พบว่าทั้ง 3 กลุ่มมีความแตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุป ในสภาวะแอคทีฟ แบร็กเกตดามอนทรีเอ็มเอ็กซ์และแบร็กเกตสมาร์ทคลิปมีแรงเสียดทานน้อยกว่าแบร็กเกต ธรรมดาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และระหว่างเซลฟ์ไลเกตติ้งแบร็กเกตแบบไร้แรง 2 ชนิด พบว่าแบร็กเกตดามอน ทรีเอ็มเอ็กซ์ มีแรงเสียดทานที่น้อยกว่าแบร็กเกตสมาร์ทคลิปอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ว ทันต จุฬาฯ 2551;31:159-69)


ผู้ป่วยไทยกลุ่มหนึ่งที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับเนื่องจากทางเดินหายใจอุดกั้น, ฉัตรพล แจ่มศิริโรจน์รัตน์, ปาหนัน ศาสตรวาหา, ประกอบเกียรติ หิรัญวิวัฒน์กุล, สุกัลยา เลิศล้ํา, สมชาย เศรษฐศิริสมบัติ May 2008

ผู้ป่วยไทยกลุ่มหนึ่งที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับเนื่องจากทางเดินหายใจอุดกั้น, ฉัตรพล แจ่มศิริโรจน์รัตน์, ปาหนัน ศาสตรวาหา, ประกอบเกียรติ หิรัญวิวัฒน์กุล, สุกัลยา เลิศล้ํา, สมชาย เศรษฐศิริสมบัติ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินค่าพารามิเตอร์โดยการวิเคราะห์ภาพรังสีวัดศีรษะด้านข้างจากภาพรังสีในผู้ป่วยไทย กลุ่มหนึ่งที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับเนื่องจากทางเดินหายใจอุดกั้น (OSAS) ชนิดรุนแรงและที่นอนกรน วัสดุและวิธีการ กระทําการศึกษาในภาพรังสีศีรษะด้านข้างของผู้ป่วย 190 ราย ที่เข้ารับการรักษา ณ คลินิกโรค นอนกรน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2546 ถึง 2550 และใช้ค่าดัชนีการหายใจขัดข้อง (RDI) แบ่ง ผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีค่า RDI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ครั้ง/ชั่วโมง (กลุ่มนอนกรน) และกลุ่มที่มีค่า RDI มากกว่า หรือเท่ากับ 30 ครั้ง/ชั่วโมง (กลุ่ม OSAS ชนิดรุนแรง) เก็บข้อมูลทางประชากรศาสตร์และข้อมูลพารา มิเตอร์จํานวน 9 ค่าจากภาพรังสี แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที่สําหรับกลุ่ม ตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่สัมพันธ์กันที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา พารามิเตอร์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มนอนกรนกับกลุ่มที่มี OSAS ชนิด รุนแรง คือ SNA และ MP-H ในผู้ป่วยชาย และ UT-PhW และ MP-H ในผู้ป่วยหญิง สรุป ลักษณะภาพรังสีศีรษะด้านข้างของผู้ที่มี OSAS ชนิดรุนแรงแตกต่างจากของผู้ที่นอนกรน โดยผู้ป่วยชาย มีขากรรไกรบนที่อยู่ในตําแหน่งหลังกว่าปกติร่วมกับกระดูกไฮออยด์ที่อยู่ในตําแหน่งต่ํากว่าปกติ มีช่องว่างระหว่างปลายเพดานอ่อนกับผนังคอหอยด้านหลังที่แคบกว่าปกติร่วมกับกระดูกไฮออยด์ที่อยู่ในตําแหน่งต่ากว่าปกติส่วนผู้ป่วยหญิง (ว ทันต จุฬาฯ 2551;31:249-60)


กําลังแรงยึดแบบดึงระดับจุลภาคของเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ต่อเคลือบฟันหรือเนื้อฟัน, ยุทธนา คูวุฒิยากร, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์ May 2008

กําลังแรงยึดแบบดึงระดับจุลภาคของเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ต่อเคลือบฟันหรือเนื้อฟัน, ยุทธนา คูวุฒิยากร, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบค่ากําลังแรงยึดแบบดึงระดับจุลภาคบริเวณรอยต่อระหว่างเคลือบฟันหรือเนื้อฟันกับเรซินของเซลฟ์เอทซ์เรซินซีเมนต์ชนิดต่าง ๆ วัสดุและวิธีการ นําฟันกรามมนุษย์ที่สามมากรอตัดด้วยเข็มกรอกากเพชรความเร็วสูงให้ได้ผิวฟันที่เรียบ 2 กลุ่ม คือ เคลือบฟันและเนื้อฟัน ใช้ชิ้นเรซินคอมโพสิตมายึดติดกับผิวฟันที่กรอเตรียมไว้ด้วยเซลฟ์เอทช์เรซินซีเมนต์ คือ ผลิตภัณฑ์ พานาเวียเอฟ 2.0 และเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ รีไลเอกซ์ยู 100 แมคเซม และ มัลติลิงค์สปริน เก็บชิ้นทดลองไว้ในน้ํากลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง ตัดชิ้นทดลองให้เป็นชิ้น ทดสอบลักษณะนาฬิกาทราย นําไปทดสอบกําลังแรงยึดแบบดึงระดับจุลภาคที่ความเร็วหัวกด 1 มิลลิเมตรต่อนาที คํานวณค่าเฉลี่ยกําลังแรงยึดและเปรียบเทียบโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบความแตกต่าง ค่าเฉลี่ยแบบพหุคูณชนิดแทมแฮน และการทดสอบค่าที่หาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบ 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยกําลังแรงยึดกับเคลือบฟันของพานาเวียเอฟ 2.0 มีค่าสูงกว่ากําลังแรงยึดของไลเอกซ์ยู 100 แมคเซม และมัลติลิงค์สปริน อย่างมีนัยสําคัญ ค่าเฉลี่ยกําลังแรงยึดกับเนื้อฟันของพานาเวียเอฟ 2.0 ไม่แตกต่าง จากค่าเฉลี่ยกําลังแรงยึดของแมคเซม แต่จะสูงกว่าค่ากําลังแรงยึดของไลเอกซ์ยู 100 และมัลติลิงค์สปรินอย่างมี นัยสําคัญ โดยที่ค่าเฉลี่ยกําลังแรงยึดของมัลติลิงค์สปรินมีค่าต่ําที่สุด เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการยึดติดกับเคลือบฟัน และเนื้อฟันพบว่า พานาเวียเอฟ 2.0 และแมคเซมให้ค่าเฉลี่ยกําลังแรงยึดไม่ต่างกัน ส่วนไลเอกซ์ยู 100 และ มัลติลิงค์สปรินให้กําลังแรงยึดต่อเคลือบฟันที่สูงกว่าเนื้อฟันอย่างมีนัยสําคัญ สรุป การยึดติดกับเคลือบฟันหรือเนื้อฟันของเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์มีประสิทธิภาพน้อยกว่าการยึดติดของ เซลฟ์เอท เรซินซีเมนต์ที่มีการใช้ไพรเมอร์แรงยึดติดกับเคลือบฟันของเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์มีค่าไม่แตกต่างกันแต่แรงยึดติดกับเนื้อฟันแตกต่างกัน (2 ทันต จุฬาฯ 2551:31:201-12)


การเปรียบเทียบแรงเสียดทานสถิตระหว่างแบร็กเกตเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมและลวดทางทันตกรรมจัดฟันต่างชนิดที่มุมกระทําต่างกันในสภาวะเปียก การเปรียบเทียบแรงเสียดทานสถิตระหว่างแบร็กเกตเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมและลวดทางทันตกรรมจัดฟันต่างชนิดที่มุมกระทําต่างกันในสภาวะเปียก การเปรียบเทียบแรงเสียดทานสถิตระหว่างแบร็กเกตเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมและลวดทางทันตกรรมจัดฟันต่างชนิดที่มุมกระทําต่างกันในสภาวะเปียก, พรเพชร หรูจิตรวัฒนา, วัชระ เพชรคุปต์, ปิยารัตน์ อภิวัฒนกุล May 2008

การเปรียบเทียบแรงเสียดทานสถิตระหว่างแบร็กเกตเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมและลวดทางทันตกรรมจัดฟันต่างชนิดที่มุมกระทําต่างกันในสภาวะเปียก การเปรียบเทียบแรงเสียดทานสถิตระหว่างแบร็กเกตเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมและลวดทางทันตกรรมจัดฟันต่างชนิดที่มุมกระทําต่างกันในสภาวะเปียก การเปรียบเทียบแรงเสียดทานสถิตระหว่างแบร็กเกตเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมและลวดทางทันตกรรมจัดฟันต่างชนิดที่มุมกระทําต่างกันในสภาวะเปียก, พรเพชร หรูจิตรวัฒนา, วัชระ เพชรคุปต์, ปิยารัตน์ อภิวัฒนกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบขนาดของแรงเสียดทานสถิตระหว่างแบร็กเกตเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมและลวดในทาง ทันตกรรมจัดฟัน 4 ชนิด ในน้ําลายเทียมที่อุณหภูมิ 37 + 1 องศาเซลเซียส เมื่อมุมกระทําระหว่างแบร็กเกตและ ลวดในแนวใกล้กลาง-ไกลกลางเป็น 0 1 และ 2 องศา วัสดุและวิธีการ นําแบร็กเกตเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมชนิดเอดจ์ไวส์มาตรฐานสําหรับฟันเขี้ยวที่มีร่องขนาด 0.018 X 0.025 นิ้ว และลวด 4 ชนิดที่มีหน้าตัดขนาด 0.016 X 0.022 นิ้วเท่ากัน ได้แก่ ลวดเหล็กกล้าไม่เป็นสนิม ลวด นิกเกิลไทเทเนียมเซนทัลลอยแรงปานกลาง ลวดนิกเกิลไทเทเนียมเซนทัลลอยแรงมาก และลวดทีเอ็มเอ ฮันนีดิว มาทดสอบหาขนาดแรงเสียดทานสถิตโดยใช้เครื่องลอยด์ยูนิเวอร์แซลเทสติ้งมาชื่น ทําการวัดเมื่อมุมกระทําระหว่าง แบร็กเกตและลวดในแนวใกล้กลาง-ไกลกลางเป็น 0 1 และ 2 องศาในน้ําลายเทียมที่อุณหภูมิ 37 + 1 องศาเซลเซียส โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนสองจากนั้นเปรียบเทียบขนาดแรงเสียดทานสถิตระหว่างแบร็กเกตและลวดทางที่ระดับนัยสําคัญ .05 ผลการศึกษา จากการทดสอบความแตกต่างของขนาดแรงเสียดทานสถิตระหว่างแบร็กเกตและลวดทั้ง 4 ชนิด พบว่าไม่มีความความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อมุมกระทําระหว่างแบร็กเกตและลวดมีค่าเท่ากัน แต่จากการวิเคราะห์ลวดแต่ละชนิดเมื่อมุมกระทําแตกต่างกันพบว่าขนาดแรงเสียดทานสถิตมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อมุมกระทําเพิ่มขึ้นในลวดทุกชนิด แต่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของขนาดแรงเสียดทานสถิตเฉพาะเมื่อมุมกระทําเพิ่ม ขึ้นจาก 0 เป็น 2 องศา (ค่าพี = .004, 028, 2002 ตามลําดับ) ยกเว้นในลวดเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมที่ไม่พบความ แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของขนาดแรงเสียดทานสถิตเมื่อมุมกระทํามีค่าเพิ่มขึ้น สรุป แรงเสียดทานสถิตที่เกิดขึ้นในลวดทั้ง 4 ชนิด ไม่มีความแตกต่างกันเมื่อมุมกระทําระหว่างแบร์กเกตและลวดเท่ากัน แต่ขนาดแรงเสียดทานสถิตสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญเมื่อมุมกระทําระหว่างแบร็กเกตและลวดเพิ่มขึ้นจาก 0 เป็น 2 องศา ยกเว้นในกลุ่มลวดเหล็กกล้าไม่เป็นสนิม (ว ทันต จุฬาฯ 2551:31:169-78)


ส่วนประกอบทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยสองบริษัทผสมบิสมัตออกไซด์เปรียบเทียบกับไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ, ศิริขวัญ ศิริชัยวงศ์สกุล, อัญชนา พานิชอัตรา May 2008

ส่วนประกอบทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยสองบริษัทผสมบิสมัตออกไซด์เปรียบเทียบกับไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ, ศิริขวัญ ศิริชัยวงศ์สกุล, อัญชนา พานิชอัตรา

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติทางกายภาพของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาว ที่ผลิตในประเทศไทยสองบริษัทผสมกับบิสมัดออกไซด์ และไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ วัสดุและวิธีการ วิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีและขนาดอนุภาคของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศ ไทยผสมกับบิสมัยออกไซด์ และไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ โดยใช้เครื่องเอ็กซเรย์อนาไลติคัลไมโครสโคปโพรบ และเครื่อง วิเคราะห์ขนาดอนุภาค วิเคราะห์ลักษณะสัณฐานวิทยาของวัสดุโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด จากนั้นวัดความเป็นกรด-เบส ทุก 1 นาที เป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยใช้มาตรความเป็นกรด-เบส ที่มีเทมเพอร์ เรเจอร์คอมเพนเสทอิเล็กโทรด วัดความทึบรังสีของวัสดุ โดยนํามาเปรียบเทียบกับอลูมิเนียมสเต็ปเวดจ์ ตาม มาตรฐานไอเอสโอ 6876(2001) ส่วนเวลาแข็งตัววัดตามคําแนะนําของสมาคมวิจัยวัสดุแห่งสหรัฐอเมริกา ภายใต้ มาตรฐานไอเอสโอ 6876(2001) ความทนแรงอัดและความสามารถในการละลายวัดตามไอเอสโอ 9917-1(2003) และมาตรฐานเอดีเอหมายเลข 30 ตามลําดับ วิเคราะห์ผลการทดลองใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและสองทาง และการทดสอบที ผลการศึกษา ส่วนประกอบทางเคมี ขนาดอนุภาค และลักษณะสัณฐานวิทยาของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิต ในประเทศไทยทั้ง 2 บริษัท ผสมกับบิสมัดออกไซด์คล้ายกับไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ ความทึบรังสีของพอร์ตแลนด์ ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยทั้ง 2 บริษัทผสมกับบิสมัยออกไซด์มีค่ามากกว่าไวท์โปรรูทเอ็มทีเออย่างมีนัยสําคัญ (p < .05) ไวท์โปรรูดเอ็มทีเอ พอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยบริษัทที่ 1 และ 2 ผสมกับบิสมัย- ออกไซด์มีค่าความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 12.5 12.5 และ 12.6 ที่เวลา 23 24 และ 16 นาที ตามลําดับพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยบริษัทที่ 1 ผสมกับบิสมัดออกไซด์จะมีเวลาเริ่มต้นแข็งตัว และเวลา แข็งตัวเต็มที่น้อยสุด นอกจากนี้ยังมีความทนแรงอัดมากที่สุดหลังจาก 1 วัน (37.027 เมกกะปาสคาล) แต่ไวท์- โปรรูทเอ็มทีเอจะมีความทนแรงอัดมากที่สุดหลังจาก 21 วัน (449.686 เมกกะปาสคาล) และไม่มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญของตัวอย่างทั้งหมดในการทดสอบสภาพการละลายได้ที่ 1 7 และ 21 วัน (p > .05) สรุป พอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยทั้ง 2 บริษัทผสมกับบิสมัยออกไซด์ และไวท์โปรรูทเอ็มทีเอมี ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติทางกายภาพคล้ายกัน (ว ทันต จุฬาฯ 2551;31:145-58)


ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคมและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ปกครองต่อสภาวะโรคฟันผุเด็กอายุ 3 ปี กลุ่มหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร, ปรียา อรรถวานิช, ยุทธนา ปัญญางาม, ระวีวรรณ ปัญญางาม May 2008

ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคมและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ปกครองต่อสภาวะโรคฟันผุเด็กอายุ 3 ปี กลุ่มหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร, ปรียา อรรถวานิช, ยุทธนา ปัญญางาม, ระวีวรรณ ปัญญางาม

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคมและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ปกครองต่อสภาวะโรคฟันผุของเด็กอายุ 3 ปี วัสดุและวิธีการ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาเป็นเด็กอายุ 3 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครจํานวน 267 คน ซึ่งอยู่ใน สถานเลี้ยงดูเด็กของรัฐหรือของเอกชนในวันเวลาราชการ เด็กแต่ละคนได้รับการตรวจและบันทึกสถานภาพโรคฟันผุโดยใช้ดัชนีฟันผุถอนอุดของฟันน้ํานมตามเกณฑ์การตรวจขององค์การอนามัยโลก ส่วนผู้ปกครองของเด็ก จะตอบแบบสอบถามที่จัดทําขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม ได้แก่ ลักษณะครอบครัว ระดับการศึกษา ระดับรายได้ และอาชีพหลักของครอบครัว ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ ระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก จากนั้นทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคมและพฤติกรรมสุขภาพแต่ละตัวแปรกับค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดคิดเป็นซี่และเป็นด้านต่อคนโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเปียร์สัน และอธิบายความสัมพันธ์ของปัจจัยในภาพรวมที่มีผลต่อสภาวะโรคฟันผุโดย ใช้สถิติการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุแบบเป็นขั้นตอน ผลการศึกษา เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคมของครอบครัว ได้แก่ ลักษณะของครอบครัว ระดับการศึกษา ระดับรายได้ต่อครอบครัว และอาชีพหลักของครอบครัว กับค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดของเด็กทั้งที่คิด เป็นซี่ต่อคนและด้านต่อคน พบว่ามีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) เกือบทุกปัจจัย ยกเว้นปัจจัยด้านลักษณะ ครอบครัว ส่วนความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพของผู้ปกครอง ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กกับค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดของเด็ก พบว่ามีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) เกือบทุก ปัจจัยเช่นกัน ยกเว้นปัจจัยด้านทัศนคติกับค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดคิดเป็นด้านต่อคน สําหรับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ทางเศรษฐกิจ สังคม พบว่ามีเฉพาะปัจจัยด้านระดับการศึกษา ระดับรายได้ต่อครอบครัว และอาชีพหลักของ ครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ปกครองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนผลการ วิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุแบบเป็นขั้นตอน พบว่าปัจจัยพฤติกรรมด้านความรู้ของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพ ช่องปากเด็กร่วมกับระดับรายได้ต่อครอบครัว สามารถอธิบายความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดได้ดีกว่า ปัจจัยพฤติกรรมด้านความรู้เพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.01) โดยมีความสามารถในการ อธิบายคิดเป็นร้อยละ 9.5 (R = 0.095) สรุป ความรู้ของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กมีอิทธิพลเป็นปฏิภาคผูกผันกันกับการเกิดโรคฟันผุของเด็ก และหากผู้ปกครองมีระดับรายได้ที่สูงร่วมด้วย จะมีอิทธิพลมากยิ่งขึ้น (ว ทันต จุฬาฯ 2551;31:261-72)


ผลการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ของซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ที่ผสมเจลพอลิแซ็กคาไรด์จากเปลือกทุเรียน, สุธาภา ศรีอรุโณทัย, ไพบูลย์ เตชะเลิศไพศาล, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล, สุนันท์ พงษ์สามารถ May 2008

ผลการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ของซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ที่ผสมเจลพอลิแซ็กคาไรด์จากเปลือกทุเรียน, สุธาภา ศรีอรุโณทัย, ไพบูลย์ เตชะเลิศไพศาล, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล, สุนันท์ พงษ์สามารถ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ของซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ที่ผสมเจลพอลิแซ็กคาไรด์จากเปลือกทุเรียนในห้องปฏิบัติการ วัสดุและวิธีการ เตรียมสารกลุ่มทดลองโดยผสมเจลพอลิแซ็กคาไรด์จากเปลือกทุเรียนลงในส่วนผงของซีเมนต์ กลาสไอโอโนเมอร์ ในอัตราส่วนร้อยละ 4.76 7.50 9.09 และ 12.50 โดยน้ําหนักตามลําดับ นําส่วนผงที่เตรียมไว้ มาผสมกับส่วนเหลวตามอัตราส่วนและวิธีการที่บริษัทผู้ผลิตกําหนด ใส่ในแม่แบบทองเหลืองรูปทรงกระบอกที่มี เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตรและสูง 2 มิลลิเมตร เพื่อหล่อชิ้นงานจํานวน 6 ชิ้นต่อกลุ่ม โดยกลุ่มควบคุมลบ คือ กลุ่มที่ไม่ผสมเจลพอลิแซ็กคาไรด์จากเปลือกทุเรียน และกลุ่มควบคุมบวก คือ กลุ่มที่ผสมผงแอมพิซิลลินใน อัตราส่วนร้อยละ 4.76 โดยน้ําหนัก จากนั้นทําการทดสอบผลการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ด้วยเทคนิคบรอทไดลูชัน โดยนําชิ้นงานที่ได้ในกลุ่มต่าง ๆ ใส่ในอาหารเหลวเลี้ยงเชื้อชนิดทริปติเคสซอยบรอทที่มีเชื้อสเตร็ปโต ค็อกคัสมิวแทนส์จํานวน 1x10 ซีพียู/มล. บ่มในตู้เพาะเลี้ยงเชื้อที่มีความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ 5 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 8 และ 24 ชั่วโมง นํามานับค่าจํานวนแบคทีเรียที่มีชีวิต ด้วยวิธีการเกลี่ยเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลการศึกษา ที่ระยะเวลา 8 ชั่วโมง ซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ที่ผสมเจลพอลิแซกคาไรด์จากเปลือกทุเรียนใน อัตราส่วนร้อยละ 7.50 9.09 และ 12.50 มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติประมาณร้อยละ 15 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมลบ (P < 0.05) โดยที่ระยะเวลา 24 ชั่วโมง พบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ประมาณร้อยละ 5 ซึ่งไม่แตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญเมื่อเปรียบกับกลุ่มควบคุมลบ (P > 0.05) ในขณะที่ซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ในกลุ่มควบคุมลบ และซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ที่ผสมเจลพอลิแซกคาไรด์จากเปลือกทุเรียนในอัตราส่วนร้อยละ 4.76 ไม่มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ สรุป ซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ที่ผสมเจลพอลิแซกคาไรด์จากเปลือกทุเรียนอัตราส่วนร้อยละ 7.50 9.09 และ 12.50 มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อบ่มเป็นเวลา 8 ชั่วโมง (ว ทันต จุฬาฯ 2551:31:193-200)


Assessment Of Leakage Of Roots Filled With Epiphany® And Resilon® After Final Irrigation With 2% Chlorhexidine, Chureerat Kanchanakaew, Somsinee Pimkhaokham, Jeerus Sucharitakul May 2008

Assessment Of Leakage Of Roots Filled With Epiphany® And Resilon® After Final Irrigation With 2% Chlorhexidine, Chureerat Kanchanakaew, Somsinee Pimkhaokham, Jeerus Sucharitakul

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The purpose of this in vitro study was to compare the leakage of roots filled with Epiphany® and Resilon® after final irrigation with 2% chlorhexidine. Materials and methods Seventy single-rooted teeth were prepared using crown down technique and divided to three experimental groups of twenty samples each and positive and negative control groups of five samples each. In each experimental group, root canal was irrigated with 2.5% sodium hypochlorite and 17% EDTA then final irrigated with sterile water (group 1), 2% chlorhexidine (group 2) or 2.5% sodium hypochlorite followed by 2% chlorhexidine (group 3). The experimental groups were filled …


Acceptable Facial Profiles In Thai Non-Straight Profile Patients, Paega Jarungidanan, Kanok Sorathesn May 2008

Acceptable Facial Profiles In Thai Non-Straight Profile Patients, Paega Jarungidanan, Kanok Sorathesn

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective This study aimed to determine the acceptable facial profiles in non-straight profile patients. Gender difference was also considered to have an effect on the profiles. Orthodontists were also asked to find out the possible differences in patientsû facial profile preferences. Materials and methods The patientsû pre-treatment lateral cephalometric radiographs were traced. Soft tissue landmarks (G, A, Pgû) were marked and facial contour angles (FCA) were measured. Fifty-eight patients were selected by a purposive sampling method and divided into 3 groups: concave, straight, and convex profiles according to Thai norms. Nineteen orthodontists were included in this study as the gold …


การศึกษาผลกระทบของการกัดกร่อนที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ฟลูออไรด์ที่มีต่อค่าเฉลี่ยแรงเสียดทานสถิตระหว่างแบร็กเกตเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมและลวดโค้งชนิดต่างๆ, พินทุอร จันทรวราทิตย์, สมศักดิ์ เพิ่งประภากร May 2008

การศึกษาผลกระทบของการกัดกร่อนที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ฟลูออไรด์ที่มีต่อค่าเฉลี่ยแรงเสียดทานสถิตระหว่างแบร็กเกตเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมและลวดโค้งชนิดต่างๆ, พินทุอร จันทรวราทิตย์, สมศักดิ์ เพิ่งประภากร

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของขนาดแรงเสียดทานสถิตระหว่างแบร็กเกตเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมกับ ลวดเหล็กกล้าไม่เป็นสนิม และลวดเบตาไทเทเนียม ภายหลังจากที่ผ่านการแช่ในสารละลายที่ได้จากผลิตภัณฑ์ ฟลูออไรด์ 3 ชนิด วัสดุและวิธีการ นําแบร็กเกตเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมชนิดมาตรฐานของฟันเขี้ยวที่มัดติดกับลวดเหล็กกล้าไม่เป็นสนิม และลวดเบตาไทเทเนียม กลุ่มละ 25 ตัวอย่าง แช่ในสารละลายฟลูออไรด์ที่ได้จากการผสมน้ําลายเทียมกับยาสีฟัน ผสมฟลูออไรด์ น้ํายาบ้วนปากฟลูออไรด์ และเจลฟลูออไรด์ชนิดเคลือบ ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส วัดค่าแรง เสียดทานสถิตด้วยเครื่องลอยด์ยูนิเวอร์แซลเทสติ้งแมชชีน โดยใช้ตุ้มน้ําหนักขนาด 5 นิวตัน ดึงด้วยความเร็ว 0.1 มม./นาที เป็นระยะทาง 0.5 มม. ทําการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแรงเสียดทานสถิตระหว่างกลุ่มต่างๆ โดยใช้สถิติ วิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางที่ระดับนัยสําคัญ .05 ผลการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม มีเพียงกลุ่มเจลฟลูออไรด์ชนิดเคลือบเท่านั้นที่มีค่าเฉลี่ยแรง เสียดทานสถิตระหว่างแบร็กเกตและลวดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้งในกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ลวดเหล็กกล้า ไม่เป็นสนิม และลวดเบตาไทเทเนียม โดยมีค่าเท่ากับ .013 และ 2000 ตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างลวด ทั้ง 2 ชนิดที่ผ่านการแช่ในสารละลายเดียวกัน พบว่ามีเพียงกลุ่มยาสีฟันและเจลฟลูออไรด์ชนิดเคลือบเท่านั้นที่ค่าเฉลี่ยแรงเสียดทานสถิตของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ลวดเบตาไทเทเนียมมีค่ามากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ลวดเหล็กกล้า ไม่เป็นสนิมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยมีค่าพี่เท่ากับ 2003 และ 2004 ตามลําดับ สรุป การแช่แบร็กเกตเหล็กกล้าไม่เป็นสนิม ลวดเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมและลวดเบตาไทเทเนียมในสารละลายจากเจลฟลูออไรด์ชนิดเคลือบทําให้ค่าเฉลี่ยของแรงเสียดทานสถิตระหว่างแบร็กเกตและลวดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ว ทันต จุฬาฯ 2551:31:179-92)


ความเที่ยงตรงของแบบจําลองที่ได้จากวิธีพิมพ์รากเทียม 3 วิธี, กรเทพ สุขยุคล, ภาณุพงศ์ วงศ์ไทย May 2008

ความเที่ยงตรงของแบบจําลองที่ได้จากวิธีพิมพ์รากเทียม 3 วิธี, กรเทพ สุขยุคล, ภาณุพงศ์ วงศ์ไทย

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อหาวิธีพิมพ์รากเทียมที่มีความเที่ยงตรงสูงสุด โดยศึกษาจากความคลาดเคลื่อนของแบบจําลอง ที่ได้จากวิธีพิมพ์รากเทียม 3 วิธี เมื่อเปรียบเทียบกับแม่แบบ วัสดุและวิธีการ แบบจําลองจํานวน 30 ชิ้น ถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยใช้วิธีพิมพ์ คือ กลุ่มที่ 1 วิธีพิมพ์ดั้งเดิมที่ ระดับตัวหลัก กลุ่มที่ 2 วิธีพิมพ์โดยตรง และกลุ่มที่ 3 วิธีพิมพ์โดยตรงแบบเชื่อมตัวต่อยอดถ่ายทอดติดกับ ถาดพิมพ์ ทําการทดลองโดยสร้างแม่แบบที่มีรากเทียมฝังอยู่บนฐานโลหะสี่เหลี่ยม 2 ตัว ตัวหลักแต่ละตัวที่ติดอยู่ กับรากเทียมจะทําเครื่องหมายที่ขอบด้านบนเพื่อเป็นจุดอ้างอิง 3 จุด รวมเป็น 6 จุด ทําการพิมพ์ด้วยวัสดุพิมพ์ ซิลิโคน แอดดิชั่นแนล ด้วยวิธีต่าง ๆ แล้วนําไปเทแบบจําลองด้วยปูนหินชนิดที่ 4 จากนั้นนําแบบจําลองเหล่านี้ไป วัดระยะทางของจุดอ้างอิงที่มีการเบี่ยงเบนไปเมื่อเทียบกับแม่แบบ โดยใช้กล้องจุลทรรศน์สําหรับวัดขนาดที่ระดับ ความละเอียด 1/1000 มิลลิเมตร ซึ่งวัดในรูปพิกัด (x,y,z) เพื่อศึกษาทิศทางการเบี่ยงเบน และใช้ทฤษฎีปีทากอรัส เปลี่ยนพิกัดที่ได้เป็นระยะทางที่มีการเบี่ยงเบนไป แล้วจึงนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยสถิติ แทมเฮน ซึ่งแยกพิจารณาทีละจุดอ้างอิงทั้ง 6 จุด ผลการศึกษา แบบจําลองที่ได้จากวิธีพิมพ์ดั้งเดิมที่ระดับตัวหลัก มีการเบี่ยงเบนไปจากแม่แบบน้อยกว่าวิธีพิมพ์ โดยตรง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติทั้ง 6 จุด (p = 0.001, < 0.001, < 0.001, 0.002, 0.003, < 0.001 ตามลําดับ) และน้อยกว่าวิธีพิมพ์โดยตรงแบบเชื่อมตัวต่อยอดถ่ายทอดติดกับถาดพิมพ์ (p < 0.001) ส่วนวิธีพิมพ์โดยตรงทั้ง แบบที่ทําการเชื่อมและไม่เชื่อมตัวต่อยอดถ่ายทอดเข้ากับถาดพิมพ์นั้น แบบจําลองที่ได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัย สําคัญทางสถิติ (p = 0.446, 0.980, 0.212, 0.073, 0.08, 0.566 ตามลําดับ) สรุป วิธีพิมพ์ดั้งเดิมที่ระดับตัวหลัก จะให้แบบจําลองที่มีความเที่ยงตรงสูงที่สุด ส่วนวิธีพิมพ์โดยตรง การเชื่อมหรือไม่เชื่อมตัวต่อยอดถ่ายทอดเข้ากับถาดพิมพ์นั้นไม่มีผลกับความเที่ยงตรงของแบบจําลอง (ว ทันต จุฬาฯ 2551;31:223-34)


เครื่องสํารวจทางทันตกรรม: นวัตกรรมงานออกแบบ, วิเชฏฐ์ จินดาวณิค Jan 2008

เครื่องสํารวจทางทันตกรรม: นวัตกรรมงานออกแบบ, วิเชฏฐ์ จินดาวณิค

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบเครื่องสํารวจทางทันตกรรม ที่มีส่วนประกอบน้อยชิ้น และมีค่าใช้จ่ายการผลิตต่ําเพื่อเหมาะสมกับพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศไทย วัสดุและวิธีการ ศึกษาผลิตภัณฑ์นําเข้าเพื่อใช้เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ จากนั้นสังเคราะห์แบบและสร้างเครื่องกล โดยใช้วัสดุที่มีการขึ้นรูปมาก่อนประกอบกับปรัชญาการออกแบบที่ทําให้การผลิต และทํางานง่ายขึ้น การลด จํานวนชิ้นส่วนและลดชิ้นส่วนที่ต้องสร้างเป็นการจําเพาะทําให้ค่าใช้จ่ายการผลิตลดลงมาก ผลการศึกษา แบบที่นําเสนอสําหรับใช้เพื่อการเรียนการสอนและการใช้ข้างเก้าอี้ทําฟันนี้ เป็นการประยุกต์ใช้โครงสร้างที่มีพอลิเมอร์เป็นส่วนประกอบหลัก ราคาขายต่ํากว่าผลิตภัณฑ์นําเข้าที่ใช้งานอย่างเดียวกันประมาณสิบห้าเท่า สรุป นวัตกรรมการออกแบบเป็นการผลิตเครื่องมือกลทางทันตกรรมที่ชิ้นส่วนต่าง ๆ ส่วนใหญ่หาได้ในประเทศไทย การประดิษฐ์นี้เป็นหนึ่งในความพยายามอย่างยากลําบาก ที่ต่อกรกับการนําเข้าผลิตภัณฑ์ และอาจช่วยลด รายจ่ายของชาติที่ใช้ซื้อเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีปานกลาง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ น่าจะเป็นการกระตุ้นนักประดิษฐ์และผู้ใช้ ให้ประจักษ์ต่อค่าของงานใหม่ที่แตกต่าง อันทรงคุณต่อการพึ่งพาตนเองเพื่อมาตุภูมิ (ว ทันต จุฬาฯ 2551;31:1-10)


การรักษาคลองรากฟันในฟันตัดซี่ข้างซ้ายล่างที่มีรูเปิดของหนองทะลุใต้คาง : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, แววตา นาคะสิงห์ Jan 2008

การรักษาคลองรากฟันในฟันตัดซี่ข้างซ้ายล่างที่มีรูเปิดของหนองทะลุใต้คาง : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, แววตา นาคะสิงห์

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วยชายไทย อายุ 42 ปี มาโรงพยาบาลด้วยสาเหตุพบรูเปิดของหนองบริเวณใต้คางด้านซ้าย จากการวินิจฉัยพบว่าฟันตัดข้างซ้ายล่าง มีโพรงหนองรอบปลายรากชนิดเรื้อรัง จึงได้รับการรักษาคลองรากฟัน แบบเสร็จในหลายครั้ง จากการติดตามผลหลังการรักษาเป็นเวลา 6 เดือน ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ (ว ทันต จุฬาฯ 2551:31:115-24)


การวางแผนเลือกพื้นที่ปฏิบัติงานในกรอบเวลาระยะสั้นและระยะยาวของนิสิตทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชาญชัย ให้สงวน Jan 2008

การวางแผนเลือกพื้นที่ปฏิบัติงานในกรอบเวลาระยะสั้นและระยะยาวของนิสิตทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชาญชัย ให้สงวน

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบแบบแผนการเลือกพื้นที่ปฏิบัติงานในกรอบเวลาระยะสั้น และระยะยาวของนิสิตทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระบุปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแผนการเปลี่ยน พื้นที่ปฏิบัติงาน วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1 3 และ 6 จํานวน 258 คน ใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแผนการเลือกพื้นที่ปฏิบัติงานในกรอบเวลาระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ใช้สถิติถดถอยโลจิสติกแบบขั้นตอนเพื่อระบุปัจจัยทํานายที่มีความสัมพันธ์กับ การเปลี่ยนพื้นที่ปฏิบัติงาน ผลการศึกษา นิสิตทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่ร้อยละ 94.8 คิดจะปฏิบัติงานใช้ทุน แต่มี เพียงร้อยละ 34.8 ที่คิดจะอยู่ต่อในระบบราชการหลังใช้ทุนครบ 3 ปี นิสิตร้อยละ 91.6 วางแผนปฏิบัติงานใน กรอบเวลาระยะสั้นอยู่นอกพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แต่ในกรอบเวลาระยะยาว นิสิตส่วนใหญ่ร้อยละ 65.7 เลือกที่จะปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง 2 กรอบเวลา มีนิสิตร้อยละ 57.0 ที่แสดงความคงตัวของพื้นที่ปฏิบัติงาน และร้อยละ 43.0 แสดงแผนการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ผลการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก พบว่ามี 2 ปัจจัยทํานายที่มีความสัมพันธ์กับแผนการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปฏิบัติงาน คือ การมีภูมิลําเนาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และการวางแผนปฏิบัติงานระยะยาวอยู่ในภาคเอกชน สรุป การเลือกพื้นที่ปฏิบัติงานในกรอบเวลาระยะยาวมีแบบกระส่วนต่างจากกรอบเวลาระยะสั้นโดยนิสิตทันตแพทย์ส่วนใหญ่แสดงถึงความตั้งใจที่จะโยกย้ายเข้ามาปฏิบัติงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อันอาจสะท้อนให้ เห็นถึงการปรับตัวในระระยาวเพื่อคลี่คลายสภาวะการพลัดถิ่นฐานทางสังคม (2 ทันต จุฬาฯ 2551;31:87-102)