Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

2007

Keyword

Articles 1 - 27 of 27

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Tongue Lesions: Prevalence And Association With Gender, Age And Health-Affected Behaviors, Aree Jainkittivong, Vilaiwan Aneksuk, Robert P. Langlais Sep 2007

Tongue Lesions: Prevalence And Association With Gender, Age And Health-Affected Behaviors, Aree Jainkittivong, Vilaiwan Aneksuk, Robert P. Langlais

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The aims of this study were to assess the prevalence of tongue lesions and to relate their occurrence to gender, age and health-affected behaviors in a group of Thai dental patients. Materials and methods One thousand and six hundred Thai dental patients, dividing into three age groups were clinically examined for tongue lesions. Information regarding smoking and drinking habits was collected from the interview. Results Among the 1600 subjects, 83.3% had at least one tongue lesion, with a prevalence of 87% for men and 80.9% for women (P = .002). The three most common tongue lesions were coated tongue …


ศาสตร์และศิลป์ของการบูรณะฟันด้วยวัสดุเซรามิก, สายใจ ตัณฑนุช, วาสนา พัฒนพีระเดช Sep 2007

ศาสตร์และศิลป์ของการบูรณะฟันด้วยวัสดุเซรามิก, สายใจ ตัณฑนุช, วาสนา พัฒนพีระเดช

Chulalongkorn University Dental Journal

วัสดุบูรณะฟันที่ดีควรจะมีสีและคุณสมบัติเหมือนฟันธรรมชาติ มีความเข้ากันได้ดีทางชีวภาพ ทนทาน ต่อการกัดกร่อนและเป็นฉนวน ปัจจุบัน มีการใช้วัสดุบูรณะเซรามิกซึ่งเป็นวัสดุที่มีสีเหมือนฟันธรรมชาติเป็นวัสดุ บูรณะฟันกันมากขึ้น เนื่องจากมีการพัฒนาทางด้านการผลิตร่วมกับการพัฒนาวัสดุระบบยึดติด ทําให้การบูรณะด้วยเซรามิกมีความแข็งแรงและมีคุณสมบัติดียิ่งขึ้น บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุบูรณะเซรามิกระบบ ต่าง ๆ ตามการพัฒนา เริ่มตั้งแต่ระบบเซรามิกชนิดผงกับน้ําแบบดั้งเดิม เซรามิกชนิดหล่อ เซรามิกชนิดอัดความดัน เซรามิกชนิดอินฟิลเตรด และเซรามิกชนิดแมคซีนเนเบิล รวมทั้งขั้นตอนการลองชิ้นงาน การเตรียมเพื่อการยึดติดและการยึดติดวัสดุบูรณะเซรามิกกับฟันในคลินิก เพื่อเป็นข้อมูลให้ทันตแพทย์สามารถเลือกใช้งานทางคลินิกได้อย่างเหมาะสม (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:325-36)


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียด ในหน้าที่การงานของทันตแพทย์ไทย, ชาญชัย ให้สงวน Sep 2007

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียด ในหน้าที่การงานของทันตแพทย์ไทย, ชาญชัย ให้สงวน

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ความเครียดในการทํางานมีผลกระทบต่อคุณภาพบริการและความตั้งใจโยกย้ายงานของทันตบุคลากร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเครียดในการทํางานของทันตแพทย์ไทยและระบุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วัสดุและวิธีการ แบบแผนการวิจัยเป็นการสํารวจภาคตัดขวาง ดําเนินการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบจาก ทันตแพทย์ทั่วประเทศ ใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์รวม 2 รอบ มีทันตแพทย์ส่งแบบสอบถามกลับคืน ซึ่งเป็น ทันตแพทย์ที่ยังปฏิบัติงานอยู่ จํานวน 733 คน ประเมินความเครียดของการทํางานทันตกรรมในรอบปี พ.ศ. 2547 ด้วยดัชนีความเครียดในหน้าที่การงาน ใช้เทคนิควิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอนประเมินปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับระดับความเครียดในการงาน ผลการศึกษา ทันตแพทย์ร้อยละ 31.7 มีความเครียดในการทํางานทันตกรรมตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไป ผลการ วิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับปริมาณงานและความตั้งใจโยกย้ายงานมีความสัมพันธ์ เชิงบวกกับระดับความเครียดในทุกแบบจําลอง ขณะที่ความพึงพอใจต่อหน้าที่การงานมีความสัมพันธ์เชิงลบในทุก แบบจําลอง การปฏิบัติงานในภาคเอกชนมีความสัมพันธ์กับทุกมิติย่อยของดัชนีความเครียด แต่มีทิศทางทั้งบวก และลบ ปัจจัยอื่นที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียด คือ จํานวนชั่วโมงปฏิบัติงาน และรายได้ สรุป การศึกษานี้ยืนยันถึงระดับความเครียดที่มีอยู่สูงในวิชาชีพทันตแพทย์ โดยเฉพาะในภาครัฐ แบบจําลอง ความเครียดสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของตัวแปรทั้งระดับปัจเจกบุคคลและระดับองค์กร (ว ทันต จุฬาฯ 2550;302255-68)


สารพอลิแซ็กคาไรด์เจลสกัดจากเปลือกทุเรียน: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนและแอกกริเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมิแทนส์, ทัศนี สลัดยะนันท์, นวลฉวี หงษ์ประสงค์, สุนันท์ พงษ์สามารถ, วันดี อภิณหสมิต, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล Sep 2007

สารพอลิแซ็กคาไรด์เจลสกัดจากเปลือกทุเรียน: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนและแอกกริเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมิแทนส์, ทัศนี สลัดยะนันท์, นวลฉวี หงษ์ประสงค์, สุนันท์ พงษ์สามารถ, วันดี อภิณหสมิต, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์เจลจากเปลือกทุเรียนต่อเชื้อสเตร็ปโต ค็อกคัสมิวแทนส์ และเชื้อแอกกรีเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ ซึ่งมีส่วนในการก่อโรคฟันผุ และโรค ปริทันต์อักเสบ ตามลําดับ วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาโดยการเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ สายพันธุ์ ATCC 25175 และเชื้อแอกกรีเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ สายพันธุ์ ATCC 43718 ในอาหารเลี้ยงเชื้อ ชนิดน้ําที่มีสารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์เจลจากเปลือกทุเรียน ความเข้มข้นต่าง ๆ (50 100 และ 150 มก./มล.) เป็น เวลา 1 5 10 20 30 และ 60 นาที นําไปเลี้ยงต่อในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดวุ้นเป็นเวลา 48 ชั่วโมง แล้วจึงนับจํานวน เชื้อแบคทีเรียที่มีชีวิต เปรียบเทียบกับคลอร์เฮกซิตีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 และอาหารเลี้ยงเชื้อที่ไม่ใส่สารสกัด ผลการศึกษา ในเวลา 1 นาที สารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์จากเปลือกทุเรียนที่ความเข้มข้น 150 มก./มล. และ คลอร์เฮกซิดีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ และเชื้อแอกกรีเกทแบกเทอร์ แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ ในขณะที่สารสกัดที่ความเข้มข้น 100 มก./มล. มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์และยับยั้งเชื้อแอกกริเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ ตามลําดับ ส่วนสารสกัดที่ความเข้มข้น 50 มก./มล. มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งสองชนิด ในเวลา 60 นาที สรุป ในเวลา 1 นาที สารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์เจลจากเปลือกทุเรียนที่ความเข้มข้น 100 และ 150 มก./มล. สามารถฆ่าเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ และเชื้อแอกกรีเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ ตามลําดับแสดงให้เห็นว่าสารสกัดชนิดนี้อาจพัฒนาเป็นสารออกฤทธิ์หลักในผลิตภัณฑ์ทางทันตกรรมเพื่อควบคุมโรคฟันผุและโรคปริทันต์อักเสบ (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:235-44)


ความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการตรวจและส่งต่อ ผู้ป่วยนอก ณ จุดเดียว, กนกพร พะลัง, พรพรรณ พิบูลย์รัตนกิจ, วรินทรา อุตตมะปัญญา, ธนิต เจริญรัตน์, พรรณทิพย์ ดงไพบูลย์, รติชนก นันทนีย์, Ratichanok Nantanee Sep 2007

ความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการตรวจและส่งต่อ ผู้ป่วยนอก ณ จุดเดียว, กนกพร พะลัง, พรพรรณ พิบูลย์รัตนกิจ, วรินทรา อุตตมะปัญญา, ธนิต เจริญรัตน์, พรรณทิพย์ ดงไพบูลย์, รติชนก นันทนีย์, Ratichanok Nantanee

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อระบบการตรวจ และส่งต่อผู้ป่วยนอก ณ จุดเดียวในผู้ป่วย อาจารย์ นิสิต และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัสดุและวิธีการ ให้อาจารย์ นิสิตชั้นปีที่ 5 และ 6 เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับระบบการตรวจและส่งต่อผู้ป่วยนอก ทั้งหมด รวมถึงผู้ป่วยที่ต้องการรับการรักษากับนิสิตทันตแพทย์จํานวน 393 คนตอบแบบสอบถามปลายเปิด และ ปลายปิด รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้ป่วย 50 คนโดยใช้แบบสอบถามสําหรับผู้ป่วยชุดเดียวกัน ในช่วงระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2548 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะแนะนําผู้อื่นมารักษากับทางคณะฯ (ร้อยละ 97) โดยส่วนใหญ่พอใจ ที่ได้รับการตรวจหลายครั้งจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา (ร้อยละ 93) และพอใจกับการได้รับการถ่ายภาพ รังสีพานอรามิกโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (ร้อยละ 94) สําหรับนิสิตคิดว่าระบบการตรวจ และส่งต่อผู้ป่วยนอก ณ จุดเดียวดีกว่าระบบเดิม (ร้อยละ 59) อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่เกิดความสับสนกับข้อสรุปของอาจารย์ผู้ควบคุม จากภาควิชาต่าง ๆ ในการวางแผนการรักษา (ร้อยละ 64.5) ส่วนอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ พึงพอใจในระบบเดิม โดยพบว่าการรับภาระที่หนักขึ้นและบรรยากาศในการทํางานของอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง มีความสัมพันธ์กับความเครียดที่สูงขึ้น อาจารย์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 57) ที่เกี่ยวข้องกับระบบโดยตรงเห็นว่า ควรมีการปรับปรุงระบบการตรวจและส่งต่อผู้ป่วยนอก ณ จุดเดียว สรุป ภายใต้ข้อจํากัดของงานวิจัย ผู้ป่วยและนิสิตส่วนใหญ่พอใจกับระบบการตรวจ และส่งต่อผู้ป่วยนอก ณ จุดเดียว แต่อาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องพอใจกับระบบเดิม (2 ทันต จุฬาฯ 2550;30:313-24)


การวิเคราะห์เสียงสระ 5 เสียง ในอาสาสมัครชายไทย, นิยม ธํารงค์อนันต์สกุล, พนารัตน์ ขอดแก้ว, สรพล สัลละพันธ์, Hisashi Taniguchi, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล Sep 2007

การวิเคราะห์เสียงสระ 5 เสียง ในอาสาสมัครชายไทย, นิยม ธํารงค์อนันต์สกุล, พนารัตน์ ขอดแก้ว, สรพล สัลละพันธ์, Hisashi Taniguchi, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ค่าความถี่สั่นพ้องที่ 1 และ ที่ 2 ของสระ 5 เสียงได้แก่ อะ อิ อุเอะ โอะ และคํานวณ ค่าช่วงกว้างที่สุดระหว่างความถี่สั่นพ้องที่ 1 และระหว่างความถี่สั่นพ้องที่ 2 ในอาสาสมัครชายไทยที่ไม่มีความพิการในช่องปาก วัสดุและวิธีการ บันทึกเสียงสระ 5 เสียงได้แก่ อะ อิ อุ เอะ โอะ ของอาสาสมัครจากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จํานวนทั้งสิ้น 67 คน ด้วยเครื่องบันทึกระบบดิจิทัล วิเคราะห์ เสียงสระทั้ง 5 เสียงของแต่ละคนด้วยโปรแกรมมัลติ-สปช 3700 และด้วยวิธีการเข้ารหัสการทํานายแบบเชิงเส้น เพื่อหาความถี่สั่นพ้องที่ 1 และที่ 2 จากนั้นคํานวณค่าช่วงกว้างที่สุดระหว่างความถี่สั่นพ้องที่ 1 และระหว่าง ความถี่สั่นพ้องที่ 2 ตามลําดับ ผลการศึกษา ค่าความถี่สั่นพ้องที่ 1 และที่ 2 ของสระทั้ง 5 เสียงของอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่าง กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ เมื่อรวมข้อมูลทั้งสองกลุ่มเข้าด้วยกันพบว่าค่าเฉลี่ยความถี่สั่นพ้องที่ 1 และที่ 2 มีค่าสูงที่สุดอยู่ที่เสียง อะ (706.17 เฮิร์ทซ์) และ อิ (2011.16 เฮิร์ทซ์) ตามลําดับ ส่วนค่าต่ําที่สุดของความถี่ สั่นพ้องที่ 1 และที่ 2 อยู่ที่เสียง อุ (282.94 เฮิร์ทซ์) และ โคะ (914.98 เฮิร์ทซ์) ตามลําดับ คํานวณช่วง ความกว้างที่สุดระหว่างความถี่สั่นพ้องที่ 1 และระหว่างความถี่สั่นพ้องที่ 2 ของเสียงสระทั้ง 5 เสียงจะมีค่าเท่ากับ 423.23 เฮิร์ทซ์ และ 1096.18 เฮิร์ทซ์ …


ประสิทธิภาพของการดื่มน้ํา การเคี้ยวฝรั่ง หรือการเคี้ยวแตงกวา ในการลดภาวะกลิ่นปากเหม็นชั่วคราวภายหลังการรับประทานกระเทียม, จินตนา ศิริชุมพันธ์, สุคนธา เจริญวิทย์, กมล จรัลนามศิริ, ธนิตย์ เชียรจรัสวงศ์ Sep 2007

ประสิทธิภาพของการดื่มน้ํา การเคี้ยวฝรั่ง หรือการเคี้ยวแตงกวา ในการลดภาวะกลิ่นปากเหม็นชั่วคราวภายหลังการรับประทานกระเทียม, จินตนา ศิริชุมพันธ์, สุคนธา เจริญวิทย์, กมล จรัลนามศิริ, ธนิตย์ เชียรจรัสวงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการดื่มน้ํา การเคี้ยวฝรั่ง หรือการเคี้ยวแตงกวา ในการลดภาวะกลิ่นปาก เหม็นชั่วคราวที่เกิดขึ้นภายหลังการรับประทานกระเทียม วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่าง 12 คน (ชาย 6 คน หญิง 6 คน อายุ 18-20 ปี) ทดลองโดยการดื่มน้ํา เดี๋ยวฝรั่ง หรือเคี้ยวแตงกวา ภายหลังการรับประทานกระเทียม โดยให้กลุ่มควบคุมรับประทานกระเทียมเพียงอย่างเดียววัดระดับความเข้มข้นของไอระเหยของสารประกอบซัลเฟอร์ในช่องปากด้วยเครื่องฮาลิมิเตอร์ โดยวัดก่อนการรับ ประทานกระเทียม และที่เวลา 0 และ 30 นาทีหลังการทดลอง คํานวณระดับความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นหลังการ รับประทานกระเทียมและหลังการทดลอง แล้วเปรียบเทียบระดับความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการเปรียบเทียบพหุคูณ ที่ระดับนัยสําคัญ .05 ผลการศึกษา ที่เวลา 0 นาทีหลังการทดลอง การดื่มน้ํา การเคี้ยวฝรั่ง หรือการเคี้ยวแตงกวา สามารถลดระดับ ความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นภายหลังการรับประทานกระเทียมได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ค่า เท่ากับ 022 008 และ 010 ตามลําดับ) ส่วนที่เวลา 30 นาทีหลังการทดลอง ระดับความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นของทุกกลุ่มทดลองไม่แตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับกลุ่มควบคุม สรุป การดื่มน้ํา การเคี้ยวฝรั่ง หรือการเคี้ยวแตงกวาทันทีภายหลังการรับประทานกระเทียม มีประสิทธิภาพในการลดภาวะกลิ่นปากเหม็นชั่วคราวที่เกิดจากการรับประทานกระเทียม (2 ทันต จุฬาฯ 2550:30:245-54)


ปริมาณและคุณภาพงานของนิสิตในคลินิกทันตกรรมสําหรับเด็ก: การเปรียบเทียบ 1 ปีและ 15 ปี หลังจากปรับเปลี่ยนระบบการเรียนการสอนและการประเมิน, ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล, มีนมาส ศรีวิลัย, วิลัมภา ฉัตรธนะกุล Sep 2007

ปริมาณและคุณภาพงานของนิสิตในคลินิกทันตกรรมสําหรับเด็ก: การเปรียบเทียบ 1 ปีและ 15 ปี หลังจากปรับเปลี่ยนระบบการเรียนการสอนและการประเมิน, ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล, มีนมาส ศรีวิลัย, วิลัมภา ฉัตรธนะกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบปริมาณและคุณภาพงานของนิสิตปี 6 ในการปฏิบัติงานทันตกรรมสําหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนการสอนและประเมินผล 1 ปี และ 15 ปี วัสดุและวิธีการ ศึกษาข้อมูลจากใบบันทึกการปฏิบัติงาน ของนิสิตทันตแพทย์ปี 6 ปีการศึกษา 2529 และ 2544 จํานวน 62 คู่ ที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมใกล้เคียงกัน บันทึกข้อมูลในแบบบันทึก วิเคราะห์ เปรียบเทียบปริมาณและ คุณภาพงานโดยรวม แยกตามชนิดงานและปีการศึกษาว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ โดยใช้สถิติวิเคราะห์ มันน์วิตนียูและแบบทดสอบค่าทีที่ระดับนัยสําคัญ .05 ผลการศึกษา ปริมาณงานเฉลี่ยของนิสิตปี 6 ปีการศึกษา 2529 เท่ากับ 128.83 เครดิต ในขณะที่ปีการศึกษา 2544 เท่ากับ 144.44 เครดิต พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระหว่างทั้งสองกลุ่ม (p <.05) โดยคะแนน คุณภาพเฉลี่ยปีการศึกษา 2529 เท่ากับ 84.63 และปีการศึกษา 2544 เท่ากับ 81.35 พบว่ามีความแตกต่างอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติ (p <.05) สรุป หลังจากใช้การประเมินระบบใหม่เป็นเวลา 15 ปี ปริมาณงานของนิสิตปีที่ 6 เพิ่มขึ้น ขณะที่คะแนนคุณภาพ ลดลง แต่ยังจัดอยู่ในระดับคุณภาพเดียวกัน ทั้งนี้อาจเนื่องจากวิธีการให้คะแนนคุณภาพที่ปรับเปลี่ยนไป (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:303-12)


Cdna Cloning And Nucleotide Sequencing Of Human Connective Tissue Growth Factor Obtained From Primary Pulpal Fibroblasts, Pasutha Thunyakitpisal Sep 2007

Cdna Cloning And Nucleotide Sequencing Of Human Connective Tissue Growth Factor Obtained From Primary Pulpal Fibroblasts, Pasutha Thunyakitpisal

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To clone human connective tissue growth factor (hCTGF) from pulpal fibroblasts. Materials and methods Primary human pulpal fibroblasts were isolated from pulpal tissues. The reverse transcriptase-PCR assay was used to amplify the cDNA of hCTGF. The amplified PCR products were ligated into the TOPO R cloning vector and transformed into competent bacteria cells. The putative clones were bidirectionally sequenced to analyze nucleotide sequence and compare with hCTGF cDNA sequence references. Results From RT-PCR reaction, expression of CTGF mRNA was detected in human pulpal fibroblast. Through bi-directional sequencing analysis, nucleotide sequence of our hCTGF has 100% homology to the hCTGF …


Survey Of Opinions On Competencies Standard In Dentistry For New Dental Graduates, Janejira Thirawat Sep 2007

Survey Of Opinions On Competencies Standard In Dentistry For New Dental Graduates, Janejira Thirawat

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To assess the opinions of full-time faculty staffs in clinical departments and dental practitioners on competencies standard in Dentistry for new dental graduates of Chulalongkorn University Material and methods This survey is a cross-sectional descriptive study. The subjects were all 101 full-time faculty staffs in 10 clinical departments of Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University and 276 random sample of dental practitioners currently practiced both in governmental and/or in private sectors in Thailand. Competency statements of clinical competencies from competency standards of 3 dental schools in the United States of America were adapted, translated and used to construct a questionnaire. …


Root Canal Treatment Of The Three-Canalled Maxillary Second Premolar: A Case Report, Parichart Tangkrisanakajorn May 2007

Root Canal Treatment Of The Three-Canalled Maxillary Second Premolar: A Case Report, Parichart Tangkrisanakajorn

Chulalongkorn University Dental Journal

This article is a case report of conventional endodontic therapy for a left maxillary second premolar with three root canals. The incidence of three canals at the apex of the maxillary second premolar has been reported to be 0.3-1.0%. This anatomical variation of root canal system can be challenging in endodontic treatment. The patient was 44 year-old female that needed the root canal treatment on tooth # 25 with three canals. Therefore, thorough knowledge of the root canal anatomy and its variation, careful interpretation of the preoperative radiographs and access cavity modification are essential for enhancing intracanal preparation, disinfection and …


ความแข็งแรงดัดขวางสองแกนของวัสดุออลเซรามิกสองชนิดที่ความหนาของโครงสร้างชั้นต่าง ๆ กัน, ปวริศา ธรรมวานิช, ปรารมภ์ ชาลินี May 2007

ความแข็งแรงดัดขวางสองแกนของวัสดุออลเซรามิกสองชนิดที่ความหนาของโครงสร้างชั้นต่าง ๆ กัน, ปวริศา ธรรมวานิช, ปรารมภ์ ชาลินี

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบความแข็งแรงตัดขวางสองแกนของวัสดุอินซีแรมและวัสดุไอพีเอสเอมเพรส 2 ที่มีอัตราส่วนความหนาของชั้นคอร์ต่อวีเนียร์แตกต่างกัน โดยวิธีทดสอบหาความแข็งแรงดัดขวางสองแกน วัสดุและวิธีการ ทําการขึ้นรูปชิ้นทดสอบเซรามิกอินซีแรมและไอพีเอสเอมเพรส 2 เป็นแผ่นกลมขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลาง 15 มิลลิเมตร หนา 1.2 มิลลิเมตร ตามคําแนะนําของบริษัทผู้ผลิตชนิดละ 50 ชิ้น แต่ละชนิดแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ชิ้น ตามอัตราความหนาของส่วนคอร์ต่อวีเนียร์ 1:0 2:1 1:1 1:2 และ 0:1 ตามลําดับ นําชิ้น ตัวอย่างทั้งหมดมาทดสอบหาความแข็งแรงดัดขวางสองแกนตามมาตรฐาน ISO 6872 ปี ค.ศ. 1995 โดยใช้เครื่อง ทดสอบสากลด้วยความเร็วหัวกด 1 มิลลิเมตร/นาที ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของอินซีแรมตามอัตราส่วนคอร์ต่อวีเนียร์จากมากไปน้อยของ อินซีแรม กลุ่มที่ 1 - 5 มีค่า 433.1 + 68.4, 338.9 + 22.6, 294.4 + 15.2, 259.9 + 14.5 และ 56.6 + 10.5 เมกะปาสกาล ตามลําดับ สําหรับกลุ่มของวัสดุไอพีเอสเอมเพรส 2 กลุ่มที่ 6-10 มีค่า 288.3 + 44.6, 246.3 + 28.2, 266.73 + 23.22, 226.6 + 26.4 และ 68.6 + 5.5 เมกะปาสกาล ตามลําดับ จากการวิเคราะห์ข้อมูลทาง สถิติโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการทดสอบแบบแทมเฮน พบว่าอินซีแรมทั้งชิ้นมีค่าความแข็งแรง ดัดขวางสองแกนสูงกว่าแบบที่เคลือบวีเนียร์ โดยเมื่อความหนาของชั้นคอร์ลดลง ค่าความแข็งแรงดัดขวางสองแกน จะลดลงตามลําดับอย่างมีนัยสําคัญ (p …


โพรไบโอติกส์คืออะไร?, จินตกร คูวัฒนสุชาติ May 2007

โพรไบโอติกส์คืออะไร?, จินตกร คูวัฒนสุชาติ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์เพื่อทบทวนคําจํากัดความของโพรไบโอติกส์ และคําจํากัดความของจุลินทรีย์ที่จัดว่าเป็นโพรไบโอติกส์ ที่มาของข้อมูล ค้นหาจากการทดลองทางคลินิก และงานวิเคราะห์ผลงานย้อนหลังที่เกี่ยวกับโรคเด็กที่ใช้ โพรไบโอติกส์ รวมทั้งบทความปริทัศน์ที่เกี่ยวกับโรคเด็กที่ใช้โพรไบโอติกส์ สรุปงานที่ค้นคว้า วารสารทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องโพรไบโอติกส์เพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด ในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา มีการค้นหากลไกการทํางานของมันจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าโพรไบโอติกส์สามารถแข่งกันเพื่อความอยู่รอด กับจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคได้ สามารถทําให้สภาพแวดล้อมในลําไส้มีความเป็นกรดที่เกิดจากผลิตผลที่มันผลิตออกมา สามารถเผชิญและปรับการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันและการอักเสบทั้งที่เป็นตําแหน่งเฉพาะที่กับที่เป็น ทั้งระบบได้ จากการศึกษาทางคลินิก และการศึกษาผลงานวิจัยย้อนหลัง แสดงให้เห็นว่า โพรไบโอติกส์ช่วยป้องกัน โรคท้องร่วงอย่างรุนแรง และโรคท้องร่วงที่เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะได้ และยังลดอุบัติการณ์ของการเกิดผิวหนัง อักเสบเหตุภูมิแพ้ได้ สรุป คําว่าโพรไบโอติกส์มีการนํามาใช้กับเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 โดยจัดให้เป็นจุลินทรีย์มีชีวิต ที่ให้เสริมเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยการไปทําให้ความสมดุลของจุลินทรีย์ในลําไส้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มันมีความ จําเป็นที่ว่า คําจํากัดความของโพรไบโอติกส์ในปัจจุบัน อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนต่อไป เพื่อจะได้ช่วยให้สามารถ เลือกโพรไบโอติกส์ในแต่ละสถานะการณ์ในการป้องกันและรักษาโรคในทางคลินิกได้อย่างถูกต้อง สําหรับการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของโพรไบโอติกส์ทางด้านสุขอนามัยช่องปาก มีน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับโพรไบโอติกส์ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร ดังเช่นเรื่องโพรไบโอติกส์ที่เกี่ยวกับกลิ่นปาก และที่เกี่ยวกับเรื่องฟันผุเป็นต้นบทความนี้อาจจุดประกายให้มีการศึกษาเกี่ยวกับแง่มุมทางด้านนี้มากขึ้นในอนาคต (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:205-18)


ผลของผงขัดที่ผสมในยาสีฟันต่อการสึกของซี่ฟันเทียมอะคริลิก, อรพินท์ แก้วปลั่ง, ปราณปรียา ใจธีรภาพกุล, ณัฐกาญจน์ ภาคยวงศ์, รจน์สุพรรณ แจ้งเจนกิจ, สาวิตร ทองสุข May 2007

ผลของผงขัดที่ผสมในยาสีฟันต่อการสึกของซี่ฟันเทียมอะคริลิก, อรพินท์ แก้วปลั่ง, ปราณปรียา ใจธีรภาพกุล, ณัฐกาญจน์ ภาคยวงศ์, รจน์สุพรรณ แจ้งเจนกิจ, สาวิตร ทองสุข

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการสึกของฟันเทียมอะคริลิกภายหลังการแปรงร่วมกับ ยาสีฟันประเภทต่างๆ และเป็นแนวทางแนะนําผู้ป่วยในการยืดอายุการใช้งานฟันเทียมจากการทําความสะอาด ซี่ฟันเทียมนั้น วัสดุและวิธีการ นําฟันหน้าเทียมอะคริลิก จํานวน 30 แผง มาแบ่งเป็น 5 กลุ่มตามชนิดของยาสีฟันที่ใช้ขัด กลุ่มละ 6 แผงคือ กลุ่มที่ 1 ยาสีฟันควบคุมการเกิดคราบหินน้ําลาย กลุ่มที่ 2 ยาสีฟันลดคราบจุลินทรีย์ กลุ่มที่ 3 ยาสีฟันป้องกันฟันผุ กลุ่มที่ 4 ยาสีฟันทําให้ฟันขาว กลุ่มที่ 5 ยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน นําแต่ละซี่ฟันเทียมไป ชั่งน้ําหนักก่อนแปรงด้วยเครื่องชั่งดิจิทัล จากนั้นยึดแต่ละซี่ฟันด้วยพลาสเตอร์หิน วัดความหยาบพื้นผิวก่อนแปรง ด้วยเครื่องโปรไฟโลมิเตอร์ แล้วจึงนําไปแปรงร่วมกับยาสีฟันในแต่ละกลุ่มด้วยเครื่องแปรงฟัน จํานวน 20,000 รอบ โดยแปรงครั้งละ 8 จนครบทุกซี่ จากนั้นนําฟันมาชั่งน้ําหนักและวัดความหยาบพื้นผิวหลังแปรง นําค่าเฉลี่ย ของผลต่างในแต่ละกลุ่มที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติด้วย ครูสคัล-วาลิส ผลการศึกษา การสึกของฟันเทียมอะคริลิกหลังจากแปรงร่วมกับยาสีฟันที่มีคุณสมบัติต่างกัน มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.05) และพบว่าซี่ฟันเทียมที่แปรงร่วมกับยาสีฟันที่ทําให้ฟันขาวมีการสึกของฟัน มากที่สุด (∆Wwh= 4.10 ± 0.27 mg, ∆Rawh = 0.261 ± 0.064 ไมโครเมตร) สรุป ซี่ฟันเทียมอะคริลิกเมื่อแปรงร่วมกับยาสีฟันที่มีผงขัดมากหรือผงขัดหยาบ เช่น ยาสีฟันทําให้ฟันขาวนั้นจะ ทําให้มีการสึกของฟันมากที่สุด ดังนั้นเพื่อลดการหายไปของน้ําหนักเฉลี่ยของซี่ฟันเทียมและความหยาบพื้นผิว ฟันควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาสีฟันดังกล่าวข้างต้นกับฟันอะคริลิกมากที่สุด (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:157-68)


สมบัติทางกายภาพของวัสดุเคลือบหลุม ร่องฟันทีเสริมเส้นใยวีสเกอร์, อสมา ปาลเดชพงศ์, สุชิต พูลทอง May 2007

สมบัติทางกายภาพของวัสดุเคลือบหลุม ร่องฟันทีเสริมเส้นใยวีสเกอร์, อสมา ปาลเดชพงศ์, สุชิต พูลทอง

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่เสริมเส้นใยอีสเตอร์ของสารไคโตซาน วัสดุและวิธีการ ทําการทดสอบความแข็งและค่ามอดูลัสของสภาพยืดหยุ่นของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันพรีโวแคร์ (คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ไทย) และวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันพรีโวแคร์ที่เสริมเส้นใย วีสเกอร์ไคโตซานในปริมาณร้อยละ 3.3 5.0 และ 6.5 โดยน้ําหนัก โดยเครื่องทดสอบความแข็งในระดับนาโน (UMIS, ออสเตรเลีย) หลังจากนั้นนําวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันพรีโวแคร์และวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันพรีโวแคร์ที่มี สารไคโตซานในปริมาณร้อยละ 3.3 โดยน้ําหนัก มาทดสอบมาตรฐานไอเอสโอ 6874:1988 ของวัสดุเคลือบ หลุมร่องฟันชนิดเรซินในเรื่องความลึกของการแข็งตัวและความหนาของชั้นผิวที่ไม่แข็งตัว ทําการวิเคราะห์ ความแตกต่างของความแข็งและค่ามอดูลัสของสภาพยืดหยุ่นของวัสดุที่ทดสอบ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มของวัสดุที่นํามาทดสอบมาตรฐานไอเอสโอโดยการใช้สถิติอินดิเพนท์เดนท์ แซมเปิล ที- เทส ผลการศึกษา วัสดุพรีโวแคร์ที่มีสารไคโตซานในปริมาณร้อยละ 3.3 5.0 และ 6.5 โดยน้ําหนัก มีค่าความแข็ง ที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญกับกลุ่มควบคุม จึงเลือกวัสดุพรีโวแคร์ที่มีสารไคโตซานร้อยละ 3.3 มาทดสอบตามมาตรฐานไอเอสโอ ซึ่งพบว่าไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องค่าความลึกของการแข็งตัวและความหนา ของชั้นผิวที่ไม่แข็งตัวของวัสดุพรีโวแคร์และวัสดุพรีโวแคร์ที่มีสารไคโตซานร้อยละ 3.3 โดยน้ําหนัก สรุป วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่เสริมเส้นใยอีสเตอร์ของสารไคโตซานไม่ทําให้ความแข็งของวัสดุลดลง และมีคุณสมบัติผ่านมาตรฐานไอเอสโอ 6874:1988 (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:129-40)


ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิลําเนาและพื้นที่ ปฏิบัติงานของบัณฑิตทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชาญชัย ให้สงวน May 2007

ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิลําเนาและพื้นที่ ปฏิบัติงานของบัณฑิตทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชาญชัย ให้สงวน

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอิทธิพลของภูมิลําเนาที่มีต่อพื้นที่ปฏิบัติงานของบัณฑิตทันตแพทย์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัสดุและวิธีการ ดําเนินการสํารวจกลุ่มตัวอย่างบัณฑิตทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่สําเร็จการศึกษา ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา จํานวน 1,289 คน ซึ่งถูกคัดเลือกด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ ภูมิลําเนาและพื้นที่ปฏิบัติงานด้วยแบบสอบถามทางไปรษณีย์ มีทันตแพทย์ส่งแบบสอบถามกลับคืนซึ่งเป็น ทันตแพทย์ที่ยังปฏิบัติงานอยู่ 375 คน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิลําเนากับพื้นที่ปฏิบัติงานโดยควบคุม ตัวแปรอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยสถิติแมนเทล-แฮนเซลไคสแควร์ ผลการศึกษา บัณฑิตทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ร้อยละ 60.5 มีภูมิลําเนาในกรุงเทพมหานคร พบว่าภูมิลําเนามีความสัมพันธ์กับพื้นที่ปฏิบัติงานอย่างมีนัยสําคัญ ทันตแพทย์จากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานตรงตามภูมิลําเนาของตน ส่วนทันตแพทย์จากภูมิภาคอื่นมีการกระจายตัวแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มหนึ่งเลือกกลับไปปฏิบัติงานในภูมิลําเนาเดิม แต่อีกกลุ่มหนึ่งมุ่งเข้ากรุงเทพมหานคร หลังจากที่ได้ควบคุม อิทธิพลของตัวแปรอื่นที่เกี่ยวข้องแล้ว พบว่าทันตแพทย์จากต่างจังหวัดมีความน่าจะเป็นสูงกว่า 2.79 เท่าตัวที่จะ ปฏิบัติงานนอกพื้นที่จังหวัดภูมิลําเนา เมื่อเทียบกับผู้ที่มีภูมิลําเนาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สรุป การศึกษานี้บ่งชี้ว่าภูมิลําเนาเป็นปัจจัยกําหนดที่สําคัญประการหนึ่งในการเลือกพื้นที่ปฏิบัติงานของบัณฑิต ทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่การพัฒนานโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาการกระจายโดยอิงเกณฑ์ภูมิลําเนา ควรคํานึงถึงปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:103-16)


การติดตามผลการรักษาผู้ป่วยเท็มโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ที่ยุติการรักษา, วันทนี มุทิรางกูร, ประภาพร หอมจันทร์จีรัง, สัจจพร พรรคอนันต์ May 2007

การติดตามผลการรักษาผู้ป่วยเท็มโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ที่ยุติการรักษา, วันทนี มุทิรางกูร, ประภาพร หอมจันทร์จีรัง, สัจจพร พรรคอนันต์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อติดตามผลการรักษาและหาสาเหตุที่ผู้ป่วยเท็มโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ (ทีเอ็มดี) ยุติการรักษา วัสดุและวิธีการ ใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์ส่งไปยังผู้ป่วยที่เอ็มดีที่มารับการรักษาที่คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ยุติการรักษาไป 316 คน ผลการศึกษา มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมาจํานวน 77 คน (อัตราการตอบกลับร้อยละ 24.3) เป็นชาย 17 คน (ร้อยละ 22.1) หญิง 60 คน (ร้อยละ 77.9) โดยกลุ่มนี้มี 58 คน (ร้อยละ 75.3) เป็นผู้มารับการรักษาด้วย อาการมากกว่าหนึ่งอย่าง และมีเสียงข้อต่อขากรรไกรขณะอ้า-หุบปากเป็นอาการสําคัญอันดับแรกที่ต้องการ รักษา (ร้อยละ 31.1) ผู้ป่วยทุกคนได้รับการรักษาเชิงอนุรักษ์โดยใช้เฝือกสบฟันเป็นหลัก พบว่า 1. หลังจากยุติการ รักษา ผู้ป่วยยังมีอาการอยู่ 55 คน (ร้อยละ 71.4) โดยอาการที่ยังคงมีไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญจากก่อน รักษา ยกเว้นอาการอ้าปากจํากัด (p = 0.013) มีผู้ที่ต้องการรักษาต่อ 43 คน (ร้อยละ 78.2) และผู้ที่ไม่ต้องการ รักษาต่อ 12 คน (ร้อยละ 21.8) 2. เหตุผลที่ทําให้ผู้ป่วยยุติการรักษาไปมีดังนี้ รู้สึกทนอาการที่มีอยู่ได้ (ร้อยละ 37.7) คิดว่าอาการนั้นรักษาไม่หาย (ร้อยละ 32.5) ไม่สะดวกมารับการรักษาในเวลาราชการ (ร้อยละ 31.2) ไม่สะดวกในการเดินทาง (ร้อยละ 26.0) ไม่ได้รับการติดต่อ (ร้อยละ 20.8) และอื่น ๆ สรุป การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ป่วยที่เอ็มดีอาจยังมีอาการอยู่ภายหลังยุติการรักษาไป และมีเหตุผลหลายประการ ที่เป็นสาเหตุของการยุติการรักษา (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:117-28)


การกระจายตัวเชิงพื้นที่และความคิดเห็นต่อการเลือกพื้นที่ปฏิบัติงานของบัณฑิตทันตแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้นโยบายทันตแพทย์ใช้ทุนและนโยบายหลักประกัน, ชาญชัย ให้สงวน May 2007

การกระจายตัวเชิงพื้นที่และความคิดเห็นต่อการเลือกพื้นที่ปฏิบัติงานของบัณฑิตทันตแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้นโยบายทันตแพทย์ใช้ทุนและนโยบายหลักประกัน, ชาญชัย ให้สงวน

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสถานการณ์การกระจายตัวเชิงพื้นที่ของบัณฑิตทันตแพทย์ แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยภายใต้นโยบายทันตแพทย์ใช้ทุนและนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเพื่อประเมินปัจจัยที่มีส่วนสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกพื้นที่ปฏิบัติงาน วัสดุและวิธีการ ใช้แบบแผนการวิจัยเชิงสํารวจภาคตัดขวาง สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบจากบัณฑิตทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่สําเร็จการศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2518-2547 ใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์รวม 2 รอบ เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ปฏิบัติงานและปัจจัยที่มีส่วนในการตัดสินใจเลือกพื้นที่ปฏิบัติงาน มีทันตแพทย์ ส่งแบบสอบถามกลับคืน 375 คน เปรียบเทียบการกระจายตัวระหว่างทันตแพทย์ 3 กลุ่ม ซึ่งแบ่งกลุ่มตามปีที่ สําเร็จการศึกษาให้สอดคล้องกับระยะเวลาดําเนินการตามนโยบายทั้งสอง ดังนี้ กลุ่มที่ 1: พ.ศ. 2518-2531 กลุ่มที่ 2: พ.ศ. 2532-2543 และกลุ่มที่ 3: พ.ศ. 2544-2547 ผลการศึกษา โดยรวมแล้ว บัณฑิตทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมากกว่าครึ่งปฏิบัติงานในกรุงเทพมหานคร ทันตแพทย์กลุ่มที่ 2 ซึ่งสําเร็จการศึกษาหลังมีนโยบายทันตแพทย์ใช้ทุนและได้ผ่านพ้นระยะเวลาผูกพันไปแล้ว มี สัดส่วนที่กระจายตัวออกต่างจังหวัดมากขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ 1 ซึ่งสําเร็จการศึกษาก่อนมีนโยบายดังกล่าว แบบแผน การกระจายตัวตามภูมิภาคต่าง ๆ มีความผันแปรค่อนข้างสูง ทันตแพทย์กลุ่มที่ 3 มีสัดส่วนที่ตั้งใจจะโยกย้ายงาน ออกนอกพื้นที่ปฏิบัติงานเดิมค่อนข้างสูง ปัจจัยที่มีน้ําหนักความสําคัญสูงสุด 3 ลําดับแรกต่อการตัดสินใจเลือกพื้นที่ ปฏิบัติงานเป็นปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การมีการคมนาคมเดินทางได้สะดวก เป็นภูมิลําเนาเดิม และมีโอกาสทํารายได้ดี สรุป การศึกษานี้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของนโยบายแห่งรัฐและปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลกระทบต่อการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของบัณฑิตทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:85-102)


ฟันเทียมติดแน่นชนิดเรซินบอนด์, พรรณอุษา ตั้งงามสกุล, ปรารมภ์ ซาลิมี May 2007

ฟันเทียมติดแน่นชนิดเรซินบอนด์, พรรณอุษา ตั้งงามสกุล, ปรารมภ์ ซาลิมี

Chulalongkorn University Dental Journal

ฟันเทียมติดแน่นชนิดเรซินบอนด์เป็นการใส่ฟันเชิงอนุรักษ์วิธีหนึ่ง ซึ่งมีข้อดีหลายประการเมื่อเทียบ กับฟันเทียมติดแน่นแบบสัญนิยม อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่มักพบได้มากสําหรับฟันเทียมชนิดนี้คือการหลุด ของชิ้นงาน จึงมีการพัฒนาเทคนิคต่าง ๆ เพื่อเพิ่มการยึดติด ได้แก่ การออกแบบโครงโลหะ การกรอแต่ง ฟัน องค์ประกอบของการยึดด้วยเรซินซีเมนต์ ซึ่งได้แก่การเลือกชนิดของโลหะผสม การปรับสภาพผิวโลหะ รวมทั้งวิธีการดัดแปลงการใช้ฟันเทียมชนิดนี้เพื่อให้ประสบผลสําเร็จทางคลินิกที่มากขึ้นในแบบต่าง ๆ เช่นการใช้หลักยึดข้างเดียวหรือการใช้วัสดุเรซินเสริมเส้นใยหรือใช้เซรามิกแทนโลหะผสมเพื่อความสวยงาม เพิ่มขึ้น จุดประสงค์ของบทความนี้เพื่อรวบรวมปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่ออายุการใช้งานทางคลินิกของ ฟันเทียมติดแน่นชนิดเรซินบอนด์ การดัดแปลงการออกแบบหรือวัสดุ รวมทั้งข้อดีข้อด้อยของแต่ละวิธีการเพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ทันตแพทย์ในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย (ว ทันต จุฬาฯ 2550:30:189-204)


ผลของฟลูออไรด์เฉพาะที่ต่อการคืนกลับแร่ ธาตุของรอยโรคจุดขาวจําลองในฟันน้ํานม, ศิวพร สุขสว่าง, วัชราภรณ์ ทัศจันทร์, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์ May 2007

ผลของฟลูออไรด์เฉพาะที่ต่อการคืนกลับแร่ ธาตุของรอยโรคจุดขาวจําลองในฟันน้ํานม, ศิวพร สุขสว่าง, วัชราภรณ์ ทัศจันทร์, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาในห้องปฏิบัติการถึงประสิทธิภาพของฟลูออไรด์เฉพาะที่ 3 ชนิด ได้แก่ แอซิดเลตเทดฟอสเฟตฟลูออไรด์เจลความเข้มข้นร้อยละ 1.23 ฟลูออไรด์วานิชความเข้มข้นร้อยละ 0.1 และ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 0.11 ในการส่งเสริมการคืนกลับของแร่ธาตุบนรอยโรคจุดขาวจําลอง ที่ผิวเคลือบฟันด้านเรียบในฟันน้ํานม วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาในฟันกรามน้ํานมจํานวน 30 ซี่ ตัดแบ่งครึ่งในแนวแก้ม-ลิ้นเป็น 30 คู่ เพื่อเป็น ชิ้นควบคุมและชิ้นทดลอง นําไปทําให้เกิดรอยโรคจุดขาวจําลอง แล้วแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คู่ คือ กลุ่มที่ 1 ชิ้นทดลองทาแอซิดูเลตเทดฟอสเฟตฟลูออไรด์เจล 4 นาที กลุ่มที่ 2 ชิ้นทดลองทาฟลูออไรด์วานิช 1 นาที และกลุ่มที่ 3 ชิ้นทดลองแช่ในฟองยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ วันละ 2 ครั้ง นําฟันทุกกลุ่มไปผ่านกระบวนการจําลอง การเปลี่ยนแปลงสภาวะความเป็นกรดด่างในช่องปาก เป็นเวลา 14 วัน จากนั้นนํามาคํานวณพื้นที่รอยโรคจุดขาว จําลองด้วยกล้องจุลทรรศน์แสงโพลาไรส์ ผลการศึกษา พบว่าพื้นที่รอยโรคจุดขาวจําลองในชิ้นทดลองและชิ้นควบคุมของทั้งสามกลุ่มทดลองมีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.01) โดยพื้นที่รอยโรคจุดขาวจําลองในชิ้นทดลองของทั้งสาม กลุ่มลดลงในขณะที่ชิ้นควบคุมมีพื้นที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติในการลดพื้นที่รอยโรคจุดขาวจําลองของฟลูออไรด์เฉพาะที่แต่ละชนิด (p > 0.22) โดยที่พื้นที่รอยโรคจุด ขาวจําลองเริ่มต้นของฟลูออไรด์เฉพาะที่ทั้งสามกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p > 0.17) สรุป ฟลูออไรด์เฉพาะที่ทั้งสามชนิดมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการคืนกลับแร่ธาตุของรอยโรคจุดขาว ในฟันน้ํานม (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:169-80)


โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนตามหลักการสุขภาพแบบองค์รวมและชุมชนมีส่วนร่วม, สุดาดวง เกรันพงษ์, วนิดา นิ้วสุวรรณ Jan 2007

โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนตามหลักการสุขภาพแบบองค์รวมและชุมชนมีส่วนร่วม, สุดาดวง เกรันพงษ์, วนิดา นิ้วสุวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อดําเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากตามหลักการสุขภาพองค์รวมและการมีส่วนร่วมของ ชุมชน และเพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการและการประเมินผลโครงการในขั้นตอนต่าง ๆ วิธีการ งานวิจัยเชิงปฏิบัติการระยะเวลาหนึ่งปีในโรงเรียนอนุบาลหมู่บ้านเด็กสานรัก ดําเนินโครงการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ เตรียมความพร้อม สํารวจปัญหา ดําเนินการ (ประกอบด้วย ขั้นปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ ประเมิน ผลลัพธ์ของงานสร้างเสริมสุขภาพ และผลลัพธ์ทางสุขภาพระดับกลาง) และสรุป การเก็บข้อมูลและการประเมินผล ใช้วิธีการเชิงคุณภาพร่วมกับเชิงปริมาณ โดยใช้แบบบันทึก การสัมภาษณ์ สังเกตการณ์ และวิเคราะห์โภชนาการ ของเด็ก (สารอาหาร กลุ่มอาหาร และน้ําตาล) เปรียบเทียบก่อนและหลังดําเนินโครงการ ผลการศึกษา เด็กส่วนใหญ่มีฟันผุ ด้อยพัฒนาการเจริญเติบโต แปรงฟันด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสม โภชนาการของ โรงเรียนยังขาดความสมดุลและครบถ้วนตามเกณฑ์ ทีมผู้วิจัยและทางโรงเรียนได้ร่วมพัฒนาโครงการย่อย 2 โครงการ คือ “โภชนาการแบบองค์รวม” และ “แปรงฟันด้วยกันก่อนอาบน้ํา” ที่ประกอบด้วยมาตรการทาง สังคมและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งสามารถปรับปรุงโภชนาการของเด็กได้อย่างชัดเจนโดยเฉพาะการลดปริมาณ น้ําตาลลงได้ถึงร้อยละ 80 และปรับปรุงการแปรงฟันของเด็กทุกคนตอนเช้าและเย็นให้สม่ําเสมอและบ้วนน้ําเพียง หนึ่งครั้งได้ ร้อยละของเด็กที่แปรงฟันได้นาน 2 นาทีเพิ่มขึ้นจาก 6.4 เป็น 63.3 โดยใช้วิธีแปรง 12 จังหวะที่พี่เลี้ยง เป็นต้นความคิด สรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงการนําหลักการเรื่องสุขภาพแบบองค์รวมและการมีส่วนร่วมของชุมชนมาใช้ในการดําเนินงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก โครงการสามารถปรับปรุงโภชนาการและนิสัยการแปรงฟันของเด็กได้ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางสําหรับการผนวกการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากให้เป็นส่วนหนึ่งในการดําเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพได้ (ว ทันต จุฬาฯ 2550:30:11-28)


การเตรียมผิวเคลือบฟันและความแข็งแรงในการยึดแบรกเกตทางทันตกรรมจัดฟัน, วีระวัฒน์ ฉวีวานิชยกุล, ศิริมา เพ็ชรดาชัย Jan 2007

การเตรียมผิวเคลือบฟันและความแข็งแรงในการยึดแบรกเกตทางทันตกรรมจัดฟัน, วีระวัฒน์ ฉวีวานิชยกุล, ศิริมา เพ็ชรดาชัย

Chulalongkorn University Dental Journal

บทความนี้จะกล่าวถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อความแข็งแรงในการยึดแบรกเกตทางทันตกรรมจัดฟัน เช่น การเตรียมผิวเคลือบฟัน การใช้สารไพรเมอร์ที่เป็นกรด การใช้สารไพรเมอร์ที่ต้านทานความชื้น เพื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงในการยึดระหว่างการใช้วัสดุและวิธีการที่ต่าง ๆ กัน เพื่อสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในทางคลินิก (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:73-83)


ฟันผุแอบแฝงบนด้านบดเคี้ยวของฟันกรามแท้:รายงานผู้ป่วย, นิรมล ใจซื่อ Jan 2007

ฟันผุแอบแฝงบนด้านบดเคี้ยวของฟันกรามแท้:รายงานผู้ป่วย, นิรมล ใจซื่อ

Chulalongkorn University Dental Journal

ฟันผุแอบแฝงบนด้านบดเคี้ยวของฟันกรามแท้ใช้อธิบายถึงฟันผุที่พบในชั้นเนื้อฟันซึ่งด้านบดเคี้ยวถูก วินิจฉัยทางคลินิกว่าไม่เป็นฟันผุหรือมีรอยผุปริมาณน้อย ๆ เนื่องจากด้านบดเคี้ยวของฟันมีลักษณะผุเพียงเล็กน้อยไม่เป็นโพรงฟัน หรือมีเพียงการสูญเสียแร่ธาตุเพียงเล็กน้อยบนผิวเคลือบฟัน แต่สามารถตรวจพบเงาดําภายใน ชั้นเนื้อฟันจากภาพรังสีไบท์วิ่ง รายงานฉบับนี้ได้ตรวจพบฟันผุแอบแฝงในผู้ป่วย 2 ราย ที่การตรวจช่องปากทาง แต่มีรอยผุขนาดใหญ่ซึ่งตรวจพบได้จากภาพรังสีไบท์วิ่ง และการรักษารอยโรคเหล่านั้นอย่างเหมาะสม โดยรอยโรคไม่ลุกลามจนเป็นอันตรายต่อโพรงในฟัน ซึ่งทําให้คลินิกพบรอยยุบนด้านบดเคี้ยวของฟันเพียงเล็กน้อยสามารถป้องกันการสูญเสียฟันและไม่ต้องมีการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:61-72)


Antibacterial Activity Of Mangosteen Pericarp Extract Against Cariogenic Streptococcus Mutans, Kitti Torrungruang, Piraporn Vichienroj, Suchada Chutimaworapan Jan 2007

Antibacterial Activity Of Mangosteen Pericarp Extract Against Cariogenic Streptococcus Mutans, Kitti Torrungruang, Piraporn Vichienroj, Suchada Chutimaworapan

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The purpose of this study was to examine the antibacterial activity of extract from mangosteen pericarp against Streptococcus mutans, bacteria associated with dental plaque formation and caries development. Materials and methods Bacterial strains used in this study were S. mutans ATCC 25175 and KPSK2. Antibacterial activity was expressed as minimum inhibitory concentration (MIC) and minimum bactericidal concentration (MBC). The rates at which bacteria were killed were also determined by exposure to the extract at 2x and 4x MBC for varying time periods. Results The extract was effective against both strains of S. mutans. The MIC and MBC for the …


Validity, Reliability And Factorial Structure Of The Job Stress Inventory For Thai Dentists, Chanchai Hosanguan Jan 2007

Validity, Reliability And Factorial Structure Of The Job Stress Inventory For Thai Dentists, Chanchai Hosanguan

Chulalongkorn University Dental Journal

Objectives: No instrument for assessing dentistsû job stress has been developed in Thailand. The objectives of this study were to describe the development of a Job Stress Inventory (JSI), a new self-report measure, and to assess its reliability, validity and factorial structure. Methods: A systematic random sample of 733 practicing dentists in Thailand was sent a mailed questionnaire that included the JSI and other questions. The JSI consisted of 30 items in a 5-point Likert format; a higher score reflected a higher level of job stress. Reliability was assessed by Cronbachûs alpha internal consistency coefficients. Construct validity was examined by …


ถุงน้ําเดนเจอรัสร่วมกับฟันตัดซี่ข้างและ ฟันเขี้ยวบนซ้าย : รายงานผู้ป่วย, สุรินทร์ ตั้งสุภูมิ Jan 2007

ถุงน้ําเดนเจอรัสร่วมกับฟันตัดซี่ข้างและ ฟันเขี้ยวบนซ้าย : รายงานผู้ป่วย, สุรินทร์ ตั้งสุภูมิ

Chulalongkorn University Dental Journal

บทความนี้เป็นรายงานผู้ป่วยหนึ่งรายที่มีถุงน้ําเดนเจอรัส เกิดร่วมกับฟันตัดซี่ข้างบนซ้ายและฟันเขี้ยว บนซ้าย ผู้ป่วยรายนี้เป็นเด็กชายไทย อายุ 8 ปี ซึ่งมีอาการบวมตึงที่กระดูกขากรรไกรบนด้านซ้าย บริเวณกระดูก เบ้าฟันตั้งแต่ฟันตัดกลางบนซ้ายจนถึงฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งบนซ้าย และได้รับการรักษาโดยถอนฟันน้ํานมที่เป็นฟันตัดขี่ข้างบนซ้าย ฟันน้ํานมที่เป็นฟันเขี้ยวบนซ้าย และผ่าตัดควักถุงน้ําออกทั้งหมดพร้อมกับถอนฟันตัด ข้างบนซ้าย ซึ่งลอยอยู่ในถุงน้ําและฟันเขี้ยวบนซ้ายซึ่งยึดติดกับผนังของถุงน้ํา ไม่พบการกลับเป็นซ้ําของถุงน้ํา หลังติดตามผลเป็นเวลา 1 ปี เมื่อตรวจทางภาพรังสี ถุงน้ําเดนเจอรัสในผู้ป่วยรายนี้ น่าจะมีสาเหตุจากการกระจาย การติดเชื้อเรื้อรังของฟันน้ํานม การรักษาการติดเชื้อของฟันน้ํานมด้วยการรักษาโพรงประสาทฟัน หรือการถอนฟันจะสามารถควบคุมมิให้เกิดถุงน้ําของฟันแท้ที่อยู่ใต้ฟันน้ํานมนั้นได้ (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:43-50)


ฟันคุดในฟันกรามแท้ล่างซี่ที่สอง : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, นิรมล ใจซื่อ Jan 2007

ฟันคุดในฟันกรามแท้ล่างซี่ที่สอง : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, นิรมล ใจซื่อ

Chulalongkorn University Dental Journal

ฟันคุดในฟันกรามแท้ล่างซี่ที่สองพบได้ไม่บ่อยแต่เมื่อตรวจพบมักมีปัญหายุ่งยากในการรักษาซึ่งสิ่งสําคัญคือการวินิจฉัยและการรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทําได้ เพราะการรักษาในระยะที่ช้าเกินไปมักจะมีความยุ่งยากจากการ สบฟันที่ผิดปกติทําให้ต้องใช้เวลานานในการรักษา ทั้งยังอาจทําให้ฟันที่เหลืออยู่มีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวลดลงรายงานนี้กล่าวถึงผู้ป่วยหนึ่งรายที่มีฟันคุดในฟันกรามแท้ล่างซ้ายซี่ที่สองซึ่งได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดนําฟันคุดออกเพื่อให้ฟันกรามแท้ล่างที่สามขึ้นมาแทนที่และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ (2 ทันต จุฬาฯ 2550;30:51-60)