Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

2005

Keyword

Articles 1 - 28 of 28

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การรักษาคลองรากฟันในผู้ป่วยจัดฟัน: รายงานผู้ป่วย, สุมาลี ส่งไพศาล Sep 2005

การรักษาคลองรากฟันในผู้ป่วยจัดฟัน: รายงานผู้ป่วย, สุมาลี ส่งไพศาล

Chulalongkorn University Dental Journal

ปัญหาหนึ่งที่พบมากในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องมือทันตกรรมจัดฟันชนิดติดแน่นคือ ความ ไม่เอาใจใส่ในการดูแลรักษาสุขภาพของช่องปาก ซึ่งนําไปสู่การเกิดโรคฟันผุ และในบางกรณีอาจจําเป็นต้องรักษา คลองรากฟัน ถ้าพื้นที่ใช้เป็นหลักยึดในการเคลื่อนฟันมีรอยโรครอบปลายรากฟันขนาดใหญ่ อาจมีผลต้องเปลี่ยนแผนการรักษาด้านทันตกรรมจัดฟัน นอกจากนี้ การรักษาคลองรากฟันในฟันเหล่านี้มีข้อควรพิจารณาที่ต้องวางแผน การรักษาร่วมกับทันตกรรมจัดฟัน และสําคัญอย่างยิ่งที่ต้องติดตามผลการรักษาจนแน่ใจว่าเกิดการหายอย่างสมบรูณ์ รายงานฉบับนี้กล่าวถึงผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 19 ปี ที่ใส่เครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่นและขาดการรักษาตามกําหนด นัดหมายเป็นเวลา 1 ปี ผู้ป่วยได้กลับมาหาทันตแพทย์อีกครั้งด้วยอาการปวดฟันกรามซี่ที่หนึ่งล่างซ้ายซึ่งเป็นฟันที่ ใช้เป็นหลักยึดในการเคลื่อนฟัน ตรวจพบฟันโยกและเหงือกบวม ภาพรังสีแสดงถึงเงาโปร่งรังสีขนาดใหญ่บริเวณ จุดแยกรากและรอบปลายรากฟัน หลังจากรักษาคลองรากฟันซี่นี้ไปแล้วเป็นระยะเวลา 6 เดือน ประเมินจากภาพ รังสีพบว่าเริ่มมีการหายของรอยโรค จึงอุดคลองรากฟันแล้วส่งผู้ป่วยกลับไปรักษาต่อทางด้านทันตกรรมจัดฟัน การ ประเมินผลจากภาพรังสีภายหลังการรักษาเป็นเวลา 1 ปี พบว่ามีการหายของพยาธิสภาพรอบรากฟัน และฟันซี่นี้ สามารถใช้เป็นหลักยึดสําหรับการเคลื่อนฟันทางทันตกรรมจัดฟันได้โดยไม่เกิดผลแทรกซ้อน


การปลูกถ่ายฟันให้ตนเองกับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน, ศิริชัย ธรรมชาติอารี, จินตนา ศิริชุมพันธ์ Sep 2005

การปลูกถ่ายฟันให้ตนเองกับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน, ศิริชัย ธรรมชาติอารี, จินตนา ศิริชุมพันธ์

Chulalongkorn University Dental Journal

การปลูกถ่ายฟันให้ตนเองเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ร่วมกับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในกรณีที่มีการขาดหายไปของฟันแท้ มีฟันฝังหรือฟันคุด การพิจารณาผู้ป่วยที่จะรับการปลูกถ่ายฟันต้องประเมินสภาพร่างกายที่ไม่เป็น ข้อห้ามสําหรับการผ่าตัด หน่อฟันที่จะปลูกถ่ายควรมีการสร้างความยาวรากฟันได้ประมาณสามในสี่ส่วน โดยไม่มี ความผิดปกติของรูปร่างรากฟัน และตําแหน่งที่จะปลูกถ่ายควรมีความหนาของกระดูกเบ้าฟันโดยรอบอย่างน้อย 0.5 มิลลิเมตร การปลูกถ่ายฟันสามารถกระทําได้หลายบริเวณ คือ บริเวณฟันตัด ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยและฟันกราม ซึ่งพบความสําเร็จถึงร้อยละ 50-97 ภายหลังการปลูกถ่ายฟันจะยึดฟันให้อยู่นิ่งเพื่อให้เนื้อเยื่อรอบฟันเกิดการซ่อมแซม ซึ่งกระทําได้หลายวิธี คือ การมัดด้วยลวด การใช้เครื่องยึดฟันอะคริลิก การยึดโดยใช้กรดกัดเคลือบฟันร่วมกับการ ใช้เรซินคอมโพสิต การใช้เครื่องมือทางทันตกรรมจัดฟันและการใช้วัสดุเย็บแผล ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดที่ ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ การติดเชื้อ การตายของเนื้อเยื่อในโพรงฟัน การละลายของรากฟันทั้งจากภายในและภายนอก สําหรับการหายของเนื้อเยื่อในโพรงฟันให้พิจารณาจากการตีบตันของเนื้อเยื่อในโพรงฟันในระยะเวลา 6 เดือนแรกหลังการปลูกถ่ายฟัน เนื่องจากการทดสอบความมีชีวิตของฟันด้วยกระแสไฟฟ้าในระยะเวลาดังกล่าวยังได้ผลไม่แน่นอนอย่างไรก็ตาม ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเคลื่อนฟัน ควรกระทําเมื่อมีการหายของเนื้อเยื่อปริทันต์และก่อนที่ เนื้อเยื่อในโพรงฟันจะเกิดการตีบตันทั้งหมด คือ ประมาณ 3-9 เดือนภายหลังการปลูกถ่ายฟัน และควรระมัดระวัง ในกรณีหมุนฟินที่มีหลายราก เพราะพบอัตราการตายของเนื้อเยื่อในโพรงฟันเพิ่มขึ้น


การคงอยู่ของฟลูออไรด์บนผิวเคลือบฟัน ภายหลังการเคลือบฟลูออไรด์เจล, พิเชียร อังจันทร์เพ็ญ, สุภัทรา อมาตยกุล, ศิริพร โชติไพบูลย์พันธุ์, ปรัชญา แหบคงเหล็ก, วรวัธน์ พุกจรูญ Sep 2005

การคงอยู่ของฟลูออไรด์บนผิวเคลือบฟัน ภายหลังการเคลือบฟลูออไรด์เจล, พิเชียร อังจันทร์เพ็ญ, สุภัทรา อมาตยกุล, ศิริพร โชติไพบูลย์พันธุ์, ปรัชญา แหบคงเหล็ก, วรวัธน์ พุกจรูญ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการคงอยู่ของฟลูออไรด์บนผิวเคลือบฟันภายหลังการเคลือบด้วยแอ ดูเล ฟอสเฟต ฟลูออไรด์เจล วัสดุและวิธีการ อาสาสมัครจํานวน 14 คน อายุระหว่าง 20 ถึง 22 ปี ได้รับการเคลือบฟันกรามน้อยซี่บนด้านแก้ม ด้วยแอซิดูเล ฟอสเฟตฟลูออไรด์เจลความเข้มข้นร้อยละ 1.23 เก็บตัวอย่างผิวเคลือบฟันบริเวณกึ่งกลางของฟัน กรามน้อย บนด้านแก้มโดยวิธีใช้กรดกัด ทั้งก่อนการเคลือบและหลังการเคลือบฟลูออไรด์เจลที่ 30 นาที 2, 4 และ 8 สัปดาห์ วัดความเข้มข้นของฟลูออไรต์และแคลเซียมในตัวอย่างผิวเคลือบฟันโดยใช้ฟลูออไรด์อิเล็กโตรดและเครื่อง อะคอมมิกแอบขอบขันสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิลคอกชนไซนต์แรงค์เทสท์ และฟรีดแมนเทสท์ ทีระดับนัยสําคัญ 05 ผลการศึกษา ปริมาณฟลูออไรด์บนผิวเคลือบฟันก่อนการเคลือบมีค่าเท่ากับ 2,1072498 ส่วนในล้านส่วน ภายหลังการเคลือบที่ 30 นาที 2, 4 และ 8 สัปดาห์ ปริมาณฟลูออไรต์บนผิวเคลือบฟันมีค่าเท่ากับ 6,5252699, 4,7512966, 2,906-863 และ 1,792-486 ส่วนในล้านส่วนตามลําดับ เมื่อวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าปริมาณฟลูออไรด์ บนผิวเคลือบฟันที่ 30 นาที, 2 และ 4 สัปดาห์ภายหลังการเคลือบฟลูออไรด์เจล แตกต่างกับปริมาณฟลูออไรด์บน ผิวเคลือบฟันก่อนการเคลือบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01) ไม่พบความแตกต่างระหว่างปริมาณฟลูออไรด์บน ผิวเคลือบฟันก่อนการเคลือบและที่ 8 สัปดาห์หลังการเคลือบ สรุป ฟลูออไรด์บนผิวฟันภายหลังการเคลือบฟันด้วยแอซิดูเลตฟอสเฟตฟลูออไรด์เจล สามารถคงอยู่ได้นานกว่า 4 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 4 สัปดาห์


ภาวะเหงือกโตจากยาแอมโลดิจีน : รายงานผู้ป่วย, พรมิตร ส่งไพศาล Sep 2005

ภาวะเหงือกโตจากยาแอมโลดิจีน : รายงานผู้ป่วย, พรมิตร ส่งไพศาล

Chulalongkorn University Dental Journal

ภาวะเหงือกโตที่เกิดจากยาเป็นผลหลังจากที่ได้รับยาบางชนิดเพื่อรักษาโรคทางระบบ ภาวะเหงือกโตเป็นปัญหาของผู้ป่วยในด้านการพูด การเคี้ยวอาหาร การขึ้นของฟันและความสวยงาม มีรายงานเหงือก โตจํานวนมากที่เกิดจากยาในกลุ่มของยาต้านแคลเซียมซึ่งใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคของหลอดเลือดหัวใจ แอมโลดี้ฟินเป็นยาชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มนี้ เป็นยาค่อนข้างใหม่ที่มีผลข้างเคียงน้อย รายงานฉบับนี้กล่าวถึงผู้ป่วยที่เกิดภาวะเหงือกโตจากยาแอมโลติฟัน การรักษาผู้ป่วยให้หายจากภาวะ เหงือกโตได้ด้วยการขูดหินน้ําลายและการควบคุมการเกิดคราบจุลินทรีย์ โดยไม่ต้องทําศัลยกรรมปริทันต์ร่วมด้วย ในระยะติดตามผลการรักษานาน 1 ปี


Chief Complaints, Dental Health Status And Dental Treatment Needs In Elderly Patients, Aree Jainkittivong, Vilaiwan Aneksuk, Robert P. Langlais Sep 2005

Chief Complaints, Dental Health Status And Dental Treatment Needs In Elderly Patients, Aree Jainkittivong, Vilaiwan Aneksuk, Robert P. Langlais

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The aims of this study were to investigate the principal oral complaints, dental health status and dental treatment needs in elderly patients. Materials and methods The study sample consisted of 484 dental patients who were 60 years of age and older. Interviews were conducted to identify the oral complaints whereas the dental health status and dental treatment needs were assessed by oral examination. Results There were 17 principal oral complaints identified; and the four leading problems were faulty prostheses (21.1%), pain or/and swelling (16.3%), tooth loss or inefficient chewing (16.1%), and broken teeth and restorations (11.6%). There were more …


Study Of Orthodontic Treatment Experiences Among First-Year Students At Chulalongkorn University, Chanchai Hosanguan, Suthean Umpronsirirat, Poowadis Kosonittikul Sep 2005

Study Of Orthodontic Treatment Experiences Among First-Year Students At Chulalongkorn University, Chanchai Hosanguan, Suthean Umpronsirirat, Poowadis Kosonittikul

Chulalongkorn University Dental Journal

Objectives Orth odontic uptake among adolescents appears to increase in Thai society. The purposes of this research were to assess the rate of fixed orthodontic treatment experiences among first-year students at Chulalongkorn University (CU) and to identify its associating factors. Materials and methods A cross-sectional survey was conducted on a stratified-clustered sample of 800 first-year CU students. About 635 completed questionnaires were returned, giving a 79.4% response rate. Results Approximately 32.8 % of subjects experienced fixed orthodontic treatment; divided into 20.6% with orthodontic treatment completed, 8.5% with undergoing orthodontic treatment, and 3.6% with orthodontic treatment discontinued. There were significant relationships …


Relations Of The Tooth Position And The Operation Time To The Complications After Surgical Removal Of Impacted Molars, Pairoje Sriaroon, Chunsuk Tunjalern, Yupapan Jamonniem, Supichaya Khameiam Sep 2005

Relations Of The Tooth Position And The Operation Time To The Complications After Surgical Removal Of Impacted Molars, Pairoje Sriaroon, Chunsuk Tunjalern, Yupapan Jamonniem, Supichaya Khameiam

Chulalongkorn University Dental Journal

Objectives To explore the relations of the positions of impacted mandibular third molar and the operation time to the complications after surgical removal of the impaction. Materials and methods Before surgery, all biostatistic data of the patients and radiographic assessment of the impacted tooth were recorded. From 84 healthy patients, 98 impacted teeth were surgically removed by the dental students in the fifth or the sixth year under a careful supervision of one oral and maxillofacial surgeon. The starting time was recorded at the commencement of an incision and the completion time when the gauze being bitten by the patient. …


Introduction To Cone Beam Computed Tomography For The Dental Practitioner, Marcel Noujeim, William D. Mcdavid, Robert P. Langlais Sep 2005

Introduction To Cone Beam Computed Tomography For The Dental Practitioner, Marcel Noujeim, William D. Mcdavid, Robert P. Langlais

Chulalongkorn University Dental Journal

Cone Beam Computed Tomography (Cone beam CT) is a rapidly expanding technology with an ever-increasing number of applications. Its many advantages have resulted in the rapid adoption by the dental profession worldwide. Every day, new innovations are reported in the literature as investigations in different dental specialties discover applications of the technology. As part of this evolutionary process, manufacturers are planning new models with a variety of innovative features. At the present time a number of new manufacturers are planning to introduce Cone Beam CT machines in the very near future while current manufacturers continue to compete among themselves in …


ลวดโลหะผสมนิกเกิล-ไทเทเนียมในทางทันตกรรมจัดฟัน, สิริโฉม สาตราวาหะ, วัชระ เพชรคุปต์ Sep 2005

ลวดโลหะผสมนิกเกิล-ไทเทเนียมในทางทันตกรรมจัดฟัน, สิริโฉม สาตราวาหะ, วัชระ เพชรคุปต์

Chulalongkorn University Dental Journal

ลวดโลหะผสมนิกเกิล-ไทเทเนียมมีคุณสมบัติที่เหมาะสําหรับเคลื่อนฟันในการจัดฟัน คือให้แรงน้อยและ ต่อเนื่อง หรือเรียกว่าคุณสมบัติยืดหยุ่นยิ่งยวด ลวดบางชนิดยังมีคุณสมบัติจํารูปอีกด้วย อย่างไรก็ดี ลวดชนิดนี้ยังมี ข้อด้อยบางประการ เช่น ราคาสูงและความสามารถในการขึ้นรูปต่ํา เป็นต้น ในปัจจุบันลวดในกลุ่มนี้มีให้เลือกหลายชนิด การเลือกใช้ลวดจึงจําเป็นต้องเข้าใจถึงกลสมบัติของลวดแต่ละชนิด บทความปริทัศน์ฉบับนี้จึงได้รวบรวมกลสมบัติของลวดโลหะผสมนิกเกิล-ไทเทเนียมแต่ละชนิด รวมทั้งผลของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการเลือกใช้ลวด


อิทธิพลของรสและอุณหภูมิของเครื่องดื่มชาเขียว ต่ออัตราการไหลของน้ําลาย, ระวีวรรณ ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม Sep 2005

อิทธิพลของรสและอุณหภูมิของเครื่องดื่มชาเขียว ต่ออัตราการไหลของน้ําลาย, ระวีวรรณ ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ศึกษาอิทธิพลของรสและอุณหภูมิของเครื่องดื่มชาเขียวต่ออัตราการไหลของน้ําลาย วัสดุและวิธีการ อาสาสมัครจํานวน 30 คน อายุ 20-22 ปี มีสุขภาพสมบูรณ์และไม่ใช้ยาทุกชนิดอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนเข้ารับการทดลอง ในวันแรก ทําการเก็บน้ําลายในระยะควบคุม โดยให้อาสาสมัครนั่งก้มหน้า ปล่อยน้ําลายให้ ไหลลงในภาชนะเป็นเวลา 10 นาที ในวันที่สองถึงเจ็ต ให้อาสาสมัครดื่มน้ําปราศจากแร่ธาตุ หรือเครื่องดื่มชาเขียว ที่มีอุณหภูมิ 5, 30 หรือ 50 องศาเซลเซียส ชนิดละ 300 มิลลิลิตร ตามลําดับ โดยใช้หลอดดูด แล้วเก็บน้ําลายใน ระยะทดลอง ด้วยวิธีการเติมเป็นเวลา 10 นาที คํานวณอัตราการไหลของน้ําลายทุกระยะเป็นมิลลิลิตร/นาที เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของอัตราการไหลของน้ําลายในระยะควบคุม หลังดื่มน้ํา กับหลังดื่มชาเขียว ที่อุณหภูมิต่างๆ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 หากพบมีนัยสําคัญจึงทดสอบหาคู่ ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยอัตราการไหลของน้ําลายระยะควบคุม เท่ากับ 0.47±0.27 มิลลิลิตร/นาที หลังการดื่มน้ําและ ชาเขียวที่มีอุณหภูมิ 5, 30 และ 50 องศาเซลเซียส เท่ากับ 0.67±0.25, 0.48±0.26, 0.51±0.24, 0.75±0.28, 0.56±0.32 และ 0.60±0.30 มิลลิลิตร/นาที ตามลําดับ อัตราการไหลของน้ําลายหลังดื่มน้ําที่มีอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียสสูงกว่า อัตราการไหลของน้ําลายในระยะควบคุมและหลังดื่มน้ําที่มีอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < .05) แต่ไม่แตกต่างจากภายหลังดื่มน้ําที่มีอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ นอกจากนี้ อัตราการไหลของน้ําสายหลังดื่มน้ําที่มีอุณหภูมิ 30 และ 50 องศาเซลเซียส ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติด้วย สําหรับอัตราการไหลของน้ําลายหลังดื่มชาเขียวที่มีอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส พบว่า สูงกว่าอัตราการไหลของ น้ําลายในระยะควบคุม และหลังดื่มชาเขียวที่มีอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) และอัตราการไหลของน้ําลายหลังดื่มชาเขียวที่มีอุณหภูมิ 30 และ 50 องศาเซลเซียสแตกต่างกันน้อยมากจนไม่ ปรากฏนัยสําคัญทางสถิติ เช่นเดียวกับผลการทดลองที่ได้จากการดื่มน้ํา อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบอัตราการ ไหลของน้ําลายหลังดื่มชาเขียวและหลังดื่มน้ําที่มีอุณหภูมิเท่ากัน พบว่า อัตราการไหลของน้ําลายหลังดื่มชาเขียว สูงกว่าหลังดื่มน้ําอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติทุกอุณหภูมิ (p < .05) ที่มีความแตกต่างกันทีละคู่ด้วยวิธีผลต่างอย่างมีนัยสําคัญน้อยที่สุดสรุป รสของเครื่องดื่มชาเขียวสามารถกระตุ้นให้น้ําลายมีอัตราไหลเพิ่มขึ้น และขาเขียวชนิดเป็นกระตุ้นให้น้ําลายมีอัตราไหลเพิ่มขึ้นได้มากกว่าชาเขียวชนิดร้อน


ไททาเนียมสําหรับฟันปลอมถอดได้, อาทร สุทธิวราภิรักษ์, แมนสรวง อักษรนุกิจ May 2005

ไททาเนียมสําหรับฟันปลอมถอดได้, อาทร สุทธิวราภิรักษ์, แมนสรวง อักษรนุกิจ

Chulalongkorn University Dental Journal

ไททาเนียมและโลหะผสมไททาเนียมได้ถูกนํามาใช้ในการทําโครงโลหะสําหรับฟันปลอมถอดได้เนื่องจาก มีสมบัติที่เหมาะสม ได้แก่ มีความแข็งแรงสูง น้ําหนักเบา ค่ามอดูลัสยืดหยุ่นต่ํา ความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง และมีความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อสูง อย่างไรก็ตาม การใช้งานฟันปลอมที่ทําจากโลหะไททาเนียมยังคงมีข้อจํากัด บางประการซึ่งเป็นสาเหตุที่ทําให้ไททาเนียมยังได้รับความนิยมน้อย ได้แก่ การหล่อแบบยาก การเปลี่ยนแปลงรูปร่าง อย่างถาวรของตะขอ การแยกตัวของฐานฟันปลอมเรซินออกจากโครงโลหะ การเปลี่ยนสีของผิวโลหะ รวมทั้ง ปัญหาการสึกของโลหะ บทความปริทัศน์นี้ได้บรรยายถึงสมบัติและการพัฒนาโลหะไททาเนียมเพื่อนํามาใช้ทํา โครงโลหะสําหรับฟันปลอมถอดได้ นอกจากนี้ ยังได้รวบรวมความแตกต่างระหว่างไททาเนียมและโลหะผสม ไททาเนียมเปรียบเทียบกับโลหะผสมโคบอลต์ โครเมียม ตลอดจนข้อได้เปรียบและข้อจํากัดในการนําโลหะไททาเนียม มาใช้ทําโครงโลหะฟันปลอมถอดได้ เพื่อเป็นแนวทางให้ทันตแพทย์สามารถพิจารณาเลือกใช้โลหะที่เหมาะสมสําหรับ ทําโครงโลหะฟันปลอมถอดได้ (ว ทันต จุฬาฯ 2548,28:155-66)


การศึกษาแบบแผนของการรักษาทางทันตกรรมของผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาลราชพิพัฒน์กรุงเทพมหานคร, ศิวพร สุขอร่าม May 2005

การศึกษาแบบแผนของการรักษาทางทันตกรรมของผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาลราชพิพัฒน์กรุงเทพมหานคร, ศิวพร สุขอร่าม

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนของการรักษาทางทันตกรรมของผู้ป่วยเด็กและประเภทของ หลักประกันทันตสุขภาพ วัสดุและวิธีการ เก็บข้อมูลชนิดของการรักษาจากแฟ้มบันทึกการรักษาผู้ป่วยเด็กที่เข้ามารับบริการที่กลุ่มงาน ทันตกรรม โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 รวมทั้งสิ้น 1,052 คน นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทําการ ทดสอบไคสแควร์ที่ระดับนัยสําคัญ .05 ผลการศึกษา ผู้ป่วยเด็กได้เพิ่มปริมาณขึ้นสูงสุดในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มมีโครงการหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้าทั้งในด้านปริมาณคนและปริมาณงาน อายุที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่พามาพบอยู่ในช่วงอายุ 4-9 ปี พฤติกรรม การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครอง มักมาพบทันตแพทย์เมื่อมีอาการ แบบแผนการรักษาทางทันตกรรม ส่วนใหญ่เป็นการรักษามากกว่าการป้องกัน (p < .001) ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีหลักประกันทันตสุขภาพแบบใด การรักษา ส่วนใหญ่คือการอุดฟันและการถอนฟัน สรุป แบบแผนการรักษาทางทันตกรรมของผู้ป่วยเด็กยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัดจากก่อนและหลังการมีโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ว ทันต จุฬาฯ 2548;28:145-54)


ผลของสารสกัดส่วนวุ้นและส่วนยางของว่านหางจระเข้ต่อการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้างกระดูกที่แยกจากไขกระดูกหนูแรทและเซลล์ไลน์สร้างกระดูกMc3t3-E1, วิจิตรา วิพิศมากูล, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล May 2005

ผลของสารสกัดส่วนวุ้นและส่วนยางของว่านหางจระเข้ต่อการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้างกระดูกที่แยกจากไขกระดูกหนูแรทและเซลล์ไลน์สร้างกระดูกMc3t3-E1, วิจิตรา วิพิศมากูล, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารสกัดส่วนวุ้นและส่วนยางของว่านหางจระเข้ที่มีต่อการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้าง กระดูกที่แยกจากไขกระดูกหนูแรทและเซลล์ไลน์สร้างกระดูก MC3T3-E1 วัสดุและวิธีการ เซลล์จะถูกทดสอบด้วยสารสกัดส่วนวุ้นและส่วนยางของว่านหางจระเข้ ที่ความเข้มข้นต่างๆ ในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่ปราศจากซีรัม เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นวัดผลต่อการเพิ่มจํานวนเซลล์ด้วยการสอบวิเคราะห์ เอ็มทีที และวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา สารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ ที่ระดับความเข้มข้น 10, 20 และ 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลกระตุ้นการเพิ่มจํานวนเซลล์สร้างกระดูกที่แยกจากไขกระดูกหนูแรท อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) ในขณะที่สารสกัดส่วนหุ้นของว่านหางจระเข้ที่ระดับความเข้มข้น 1, 5, 10, 20 และ 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผล กระตุ้นการเพิ่มจํานวนเซลล์ไลน์สร้างกระดูก MC3T3-E1 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) แต่สารสกัดส่วนยาง ของว่านหางจระเข้ ที่ระดับความเข้มข้น 20, 40 และ 60 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลลดจํานวนเซลล์สร้างกระดูกที่ แยกจากไขกระดูกหนูแรท และเซลล์ไลน์สร้างกระดูก MC3T3-E1 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) สรุป ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ ที่ความเข้มข้น 10-50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และ 1-50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ในการกระตุ้นการเพิ่มจํานวนเซลล์สร้างกระดูกที่ แยกจากไขกระดูกหนูแรทและเซลล์ไลน์สร้างกระดูก MC3T3-E1 ตามลําดับ แต่สารสกัดส่วนยางของว่านหางจระเข้ ที่ระดับความเข้มข้น 20-60 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลลดจํานวนเซลล์สร้างกระดูกที่แยกจากไขกระดูกหนูแรทและ เซลล์ไลน์สร้างกระดูก MC3T3-E1 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ว ทันต จุฬาฯ 2548;28:127-36)


ผลของยาโพรพราโนลอลต่อความเจ็บปวดในผู้ป่วยโรคข้อต่อขากรรไกร, กนกพร พะลัง, วีนัส เข็มขันธุ์, อภิญญา ศรีเลขะรัตน์, ลัคนา เหลืองจามีกร May 2005

ผลของยาโพรพราโนลอลต่อความเจ็บปวดในผู้ป่วยโรคข้อต่อขากรรไกร, กนกพร พะลัง, วีนัส เข็มขันธุ์, อภิญญา ศรีเลขะรัตน์, ลัคนา เหลืองจามีกร

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของยาโพรพราโนลอลซึ่งเป็นยาปิดกั้นเบต้าที่ไม่จําเพาะเจาะจง ในการลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยโรคข้อต่อขากรรไกร วัสดุและวิธีการ ศึกษาในผู้ป่วยโรคข้อต่อขากรรไกรที่มีความเจ็บปวดบริเวณใบหน้าและ/หรือข้อต่อขากรรไกร จํานวน 4 คน โดยผู้ป่วยรับประทานยาโพรพราโนลอลเป็นเวลา 2 สัปดาห์ (สัปดาห์แรกได้รับยาโพรพราโนลอล 20 มิลลิกรัมต่อวันและในสัปดาห์ที่สองได้รับยาโพรพราโนลอล 40 มิลลิกรัมต่อวัน) จากนั้นหยุดพักยา 2 สัปดาห์ และรับประทานยาลวง 2 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยบันทึกระดับความเจ็บปวด (ระดับความเจ็บปวดเฉลี่ย, ความเจ็บปวดสูงสุด, ความเจ็บปวดต่ําสุด และร้อยละของเวลาในช่วงที่ตื่นที่มีความเจ็บปวด) ในแบบฟอร์มที่ผู้วิจัยจัดไว้ให้ทุกวัน ทั้งนี้ ผู้ป่วยและผู้วิจัยไม่ทราบว่าผู้ป่วยได้รับยาชนิดใดในแต่ละช่วง การเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดระหว่างแต่ละช่วง ของการทดลองใช้การทดสอบเชิงผลรวมและลําดับที่แบบวิลคอกชน ผลการศึกษา ยาโพรพราโนลอล 40 มิลลิกรัมสามารถทําให้คะแนนความเจ็บปวดโดยรวมของผู้ป่วยลดลง ส่วนยา โพรพราโนลอล 20 มิลลิกรัมมิได้ทําให้คะแนนความเจ็บปวดโดยรวมของผู้ป่วยลดลง อย่างไรก็ตาม ไม่พบความ แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบคะแนนความเจ็บปวดระหว่างช่วงการใช้ยาโพรพราโนลอลกับยาลวง (p < .05) เมื่อสิ้นสุดการทดลองเจ้าหน้าที่ได้สอบถามถึงช่วงที่ผู้ป่วยคิดว่าตนเองได้รับยาโพรพราโนลอล ผลปรากฏว่าผู้ป่วยทุกคนสามารถระบุได้ถูกต้อง สรุป การทดลองเบื้องต้นในผู้ป่วย 4 คนที่ทําการศึกษา พบว่า ยาโพรพราโนลอลสามารถลดความเจ็บปวดในผู้ป่วย โรคข้อต่อขากรรไกรได้ แต่เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติกับยาลวงพบว่ามีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน (ว ทันต จุฬาฯ 2548;28:89-98)


ประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตคอกคัส มิวแทนส์ และเชื้อแอกติโนแบซิลลัส แอกติโนมัย-ซีเทมโคมิแทนส์ ของเจลโพลีแซกคาไรด์ที่สกัดจากเปลือกทุเรียน, ผกาวัลย์ มูสิกพงศ์, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล, สุนันท์ พงษ์สามารถ May 2005

ประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตคอกคัส มิวแทนส์ และเชื้อแอกติโนแบซิลลัส แอกติโนมัย-ซีเทมโคมิแทนส์ ของเจลโพลีแซกคาไรด์ที่สกัดจากเปลือกทุเรียน, ผกาวัลย์ มูสิกพงศ์, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล, สุนันท์ พงษ์สามารถ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเจลโพลีแซกคาไรด์ที่สกัดจากเปลือกทุเรียนในการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโต- คอกคัส มิวแทนส์ และเชื้อแอกติโนแบซิลลัส แอกติโนมัยซีเทมโคมิแทนส์ ในหลอดทดลอง วัสดุและวิธีการ ในการศึกษาครั้งนี้ใช้เทคนิคบรอทไดลูชัน และการวิเคราะห์แบบไทม์คิลล์ โดยเลี้ยงเชื้อ สเตร็ปโตคอกคัส มิวแทนส์ ในอาหารเหลวเลี้ยงเชื้อชนิดทริพติกซอยบรอท และเลี้ยงเชื้อแอกติโนแบซิลลัส แอกติโนมัยซีเทมโคมิแทนส์ ในอาหารเหลวเลี้ยงเชื้อชนิดเบรนฮาร์ทอินฟิวชัน ที่มีความเข้มข้นต่างๆ ของเจลโพลี- แซกคาไรด์สกัดจากเปลือกทุเรียน (1, 5, 10, 20 และ 35 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) ในตู้เพาะเลี้ยงเชื้อที่มีความเข้มข้น ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 5 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง วิเคราะห์ผลการยับยั้ง เชื้อโดยเก็บตัวอย่างทุกๆ 4 ชั่วโมง นํามานับค่าจํานวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิต โดยวิธีการเกลี่ยเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อ ผลการศึกษา ความเข้มข้นต่ําสุดของเจลโพลีแซกคาไรด์ที่สกัดจากเปลือกทุเรียน ที่มีผลยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตคอกคัส มิวแทนส์ และเชื้อแอกติโนแบซิลลัส แอกติโนมัยซีเทมโคมิแทนส์ คือ 20 และ 15 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลําดับ และความเข้มข้นต่ําสุดที่มีผลทําลายเชื้อสเตร็ปโตคอกคัส มิวแทนส์ และเชื้อแอกติโนแบซิลลัส แอกติโนมัยซีเทม- โคมิแทนส์ คือ 35 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ส่วนระยะเวลาในการทําลายเชื้อพบว่า ปริมาณเชื้อลดลงจนเป็นศูนย์ เมื่อ ทดสอบด้วยเจลโพลีแซกคาไรด์ที่ความเข้มข้น 35 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในอาหารเลี้ยงเชื้อเป็นเวลา 4 ชั่วโมง สรุป เจลโพลีแซกคาไรด์ที่สกัดจากเปลือกทุเรียน ความเข้มข้น 35 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลทําลายเชื้อสเตร็ปโต- คอกคัส มิวแทนส์ และเชื้อแอกติโนแบซิลลัส แอกติโนมัยซีเทมโคมิแทนส์ ขณะที่ความเข้มข้นของเจลโพลีแซกคาไรด์ ที่ความเข้มข้น 20 และ 15 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตคอกคัส มิวแทนส์ และเชื้อแอกติโนแบซิลลัส แอกติโนมัยซีเทมโคมิแทนส์ ตามลําดับ (ว ทันต จุฬาฯ 2548;28:137-44)


การสบฟันไขว้ซึ่งมีสาเหตุจากการเลื่อนไถลของขากรรไกรล่างขณะทําหน้าที่, รักษ์รัฐ สิทธิโชค, จินตนา ศิริชุมพันธ์ May 2005

การสบฟันไขว้ซึ่งมีสาเหตุจากการเลื่อนไถลของขากรรไกรล่างขณะทําหน้าที่, รักษ์รัฐ สิทธิโชค, จินตนา ศิริชุมพันธ์

Chulalongkorn University Dental Journal

การสบฟันไขว้ซึ่งมีสาเหตุจากการเลื่อนไถลของขากรรไกรล่างขณะทําหน้าที่ ไปทางด้านข้างและ/หรือทาง ด้านหน้า เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ การวินิจฉัยแยกโรคตั้งแต่ระยะเริ่มแรกมีความสําคัญ เพื่อให้สามารถวางแผน การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากเป็นความผิดปกติที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง หาก ไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของโครงสร้างกะโหลกศีรษะใบหน้าและขากรรไกร บทความปริทัศน์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมบทความที่เกี่ยวข้องและมีการเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ โดยศึกษา รายละเอียดในแง่ของลักษณะที่พบ การวินิจฉัย ระยะเวลาที่เหมาะสมในการรักษา วิธีการรักษา การคงสภาพ ตลอดจน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังการรักษา ทั้งในส่วนของการสูบไขว้ฟันหลังและ/หรือการสูบไขว้ฟันหน้า ที่เกิด จากการเลื่อนไถลของขากรรไกรล่างขณะทําหน้าที่ (ว ทันต จุฬาฯ 2548;28:167-78)


Sedation, Anxiolysis, And Analgesia Of Midazolam Orally Administered In Adult Patients Undergoing Surgical Removal Of Impacted Molars, Pairoje Sriaroon, Ratachai Samol, Watcharobon Sitisara, Suntharee Chaisen May 2005

Sedation, Anxiolysis, And Analgesia Of Midazolam Orally Administered In Adult Patients Undergoing Surgical Removal Of Impacted Molars, Pairoje Sriaroon, Ratachai Samol, Watcharobon Sitisara, Suntharee Chaisen

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To disclose the effects of midazolam in sedation, anxiolysis, and analgesia in healthy patients undergoing surgical removal of impacted mandibular third molars. Materials and methods Each of 40 healthy patients having left and right impacted mandibular third molars underwent surgical removal in separate visits. A randomized double-blind placebo controlled method was used for prescription of a 7.5 milligram of midazolam tablet. After oral administration of the drug and local anaesthesia, the impacted teeth were removed surgically in a standard fashion. By means of an observation and visual analogue scale, the clinical effects of midazolam on sedation, anxiolysis and analgesia …


3-Dimensional Radiographic Analysis For Orthodontics, John Huang, Axel Bumann, James Mah May 2005

3-Dimensional Radiographic Analysis For Orthodontics, John Huang, Axel Bumann, James Mah

Chulalongkorn University Dental Journal

This is a first of a kind attempt at a comprehensive three-dimensional orthodontic analysis based on Cone Beam CT data. It includes elements that are based in traditional orthodontic analyses which draws upon existing knowledge base, and it also includes novel approaches to the examination of volumetric 3-D perspective. The goal of this analysis is to extract pertinent details from the image volume and provide the orthodontist with clinical applications of this information. The orthodontist will then be able to better assess the patientûs malocclusion condition and develop enhanced diagnosis and treatment approaches.


อุบัติการณ์การเกิดถุงน้ําเดนติเจอรัสร่วมกับฟันคุดของฟันกรามซี่ที่สามล่าง, สุรินทร์ ตั้งสุภูมิ May 2005

อุบัติการณ์การเกิดถุงน้ําเดนติเจอรัสร่วมกับฟันคุดของฟันกรามซี่ที่สามล่าง, สุรินทร์ ตั้งสุภูมิ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ศึกษาอุบัติการณ์การเกิดถุงน้ําเดนติเจอรัสร่วมกับฟันคุดของฟันกรามซี่ที่สามล่าง ในกรณีที่ผ่าตัดเอาออกเพื่อป้องกันโรค วัสดุและวิธีการ ศึกษาจากพยาธิสภาพของเนื้อเยื่ออ่อนที่ยึดติดบริเวณคอฟันของฟันคุดของฟันกรามซี่ที่สามล่าง ซึ่งได้รับการผ่าออกจากผู้ป่วยจํานวน 90 ราย ผลการศึกษา อุบัติการณ์การเกิดถุงน้ําเดนเจอรัสร่วมกับฟันคุดของฟันกรามซี่ที่สามล่าง คิดเป็นร้อยละ 52.2 และถุงน้ําที่มีสภาพเทียบเคียงกับถุงน้ําเดนเจอรัส คิดเป็นร้อยละ 18.9 สรุป ฟันคุดของฟันกรามซี่ที่สามล่างควรได้รับการผ่าตัดออกเพื่อป้องกันมิให้เนื้อเยื่อรอบ ๆ คอฟันของฟันคุดมี พยาธิสภาพเกิดขึ้น (ว ทันต จุฬาฯ 2548;28:109-16)


ความสัมพันธ์ระหว่างค่าต่าง ๆ ของกระบอกตาและอวัยวะรอบช่องปากในประชากรไทยกลุ่มหนึ่ง, พรชัย จันศิษย์ยานนท์, พิรัตน์ การเที่ยง, แพรวไพลิน สมพีร์วงศ์ May 2005

ความสัมพันธ์ระหว่างค่าต่าง ๆ ของกระบอกตาและอวัยวะรอบช่องปากในประชากรไทยกลุ่มหนึ่ง, พรชัย จันศิษย์ยานนท์, พิรัตน์ การเที่ยง, แพรวไพลิน สมพีร์วงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าสัดส่วน และความสัมพันธ์ระหว่างค่าต่าง ๆ ของกระบอกตาและอวัยวะรอบช่องปาก ของตัวอย่างสุ่มประชากรไทยกลุ่มหนึ่ง วัสดุและวิธีการ ในการศึกษานี้ ได้วัดระยะซึ่งได้แก่ A: ระยะระหว่างรูม่านตา B: ระยะระหว่างหัวตา C: ระยะ ระหว่างหางตา D: ระดับความแตกต่างในแนวดิ่งของด้านหัวตาและหางตา E: ความกว้างของฐานจมูก F: ความกว้าง ของริมฝีปากขณะปกติ G: ความสัมพันธ์ระหว่างมุมปากและลิมบัสในแนวระนาบ และ H ความกว้างเฉลี่ยของ ฟันตัดกลางบนสองซี่ ในตัวอย่างสุ่มคนไทยจํานวน 117 คน หญิง 71 คน และชาย 46 คน) ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการ หาค่าเฉลี่ย และสัดส่วนระหว่างค่าต่างๆ ของกระบอกตาและอวัยวะรอบช่องปาก ใช้สถิติวิเคราะห์ที่ระดับนัยสําคัญ .05 เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศ ความแตกต่างระหว่างเชื้อชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างค่าต่างๆ ของ กระบอกตาและอวัยวะรอบช่องปาก โดยใช้สถิติการทดสอบที่ สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ตามลําดับ ผลการศึกษา ได้ค่าเฉลี่ยต่างๆ คือ A = 62.19±4.96 มิลลิเมตร B = 36.03±3.08 มิลลิเมตร C = 94.35±5.09มิลลิเมตร D = 4.17±1.45 มิลลิเมตร E = 39.56±3.02 มิลลิเมตร F = 50.164.25G = 2.42±1.75 มิลลิเมตรและ H = 8.58±0.50 มิลลิเมตร ได้สัดส่วนระหว่างค่าต่างๆ ของกระบอกตาและอวัยวะรอบช่องปาก พบค่าที่มี ความแตกต่างระหว่างเพศ ได้แก่ ค่า A, B, C, E และ F แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างเชื้อชาติ …


การรักษาลักษณะการสบฟันแบบคลาสทรีในระยะเริ่มแรก, ผกายพฤทธิ์ สุตังคานุ, พรทิพย์ ชิวชรัตน์ Jan 2005

การรักษาลักษณะการสบฟันแบบคลาสทรีในระยะเริ่มแรก, ผกายพฤทธิ์ สุตังคานุ, พรทิพย์ ชิวชรัตน์

Chulalongkorn University Dental Journal

การสบฟันแบบคลาสทรีเป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อยในคนไทย การเลือกใช้เครื่องมือและวิธีในการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันที่เหมาะสมขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ ลักษณะความผิดปกติ อายุ และลักษณะทางพันธุกรรม ของผู้ป่วย ดังนั้น ทันตแพทย์จึงควรมีความรู้ความสามารถที่จะจําแนกความผิดปกติที่สามารถให้การรักษาในระยะ เริ่มแรกได้ การเริ่มให้การรักษาในระยะเวลาที่เหมาะสมเป็นสิ่งสําคัญที่จะทําให้ประสบผลสําเร็จ และอาจจะช่วยลดความจําเป็นในการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร บทความนี้ได้นําเสนอสาเหตุและการจําแนกลักษณะการสบฟันแบบคลาสทรี ข้อบ่งชี้และข้อห้ามในการให้การรักษาในระยะเริ่มแรก รวมถึงวิธีและระยะเวลาที่เหมาะสม ในการให้การรักษาด้วยเครื่องมือชนิดต่าง ๆ (ว ทันต จุฬาฯ 2548,28:69-80)


ความชุกของฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งที่ขึ้นผิดตําแหน่งและปัจจัยที่เป็นสาเหตุ, นพปฎล จันทร์ผ่องแสง Jan 2005

ความชุกของฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งที่ขึ้นผิดตําแหน่งและปัจจัยที่เป็นสาเหตุ, นพปฎล จันทร์ผ่องแสง

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อสํารวจความชุกของการเกิดฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งที่ขึ้นผิดตําแหน่งในเด็กนักเรียนอายุ 7-10 ปีเขตกรุงเทพมหานครและเพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุ วัสดุและวิธีการ ออกตรวจสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนอายุ 7-10 ปี จํานวน 6,957 ราย ในโรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร รัฐบาล เอกชน เพื่อสํารวจความชุกของการเกิดฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งที่ขึ้นผิดตําแหน่งส่งแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้ผู้ปกครองของนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มควบคุมตอบคําถาม จากนั้นนําข้อมูลน้ําหนัก ส่วนสูง วันเดือนปีเกิดของทั้งสองกลุ่มไปประเมินภาวะการเจริญเติบโต นําข้อมูลจาก แบบสอบถาม และภาวะการเจริญเติบโตไปวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในการเกิดฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งที่ขึ้นผิดตําแหน่ง โดยใช้สถิติไคสแควร์ และสหสัมพันธ์เครเมอร์สวี ที่ระดับนัยสําคัญ .05 ผลการศึกษา ผลการวิจัยพบฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งขึ้นผิดตําแหน่งในเด็กจํานวน 41 ราย จากเด็กนักเรียน 6,957 ราย คิดเป็นความชุกร้อยละ 0.59 และพบว่าการเกิดฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งขึ้นผิดตําแหน่งมีความสัมพันธ์กับการมีปัญหา ในการบดเคี้ยวของเด็กในช่วงอายุ 2-6 ปี (p = .027) และสัมพันธ์กับภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก (p = .000) โดยพบมากในกลุ่มเด็กเตี้ยและในกลุ่มเด็กที่มีน้ําหนักค่อนข้างน้อย สรุป ความชุกในการเกิดฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งขึ้นผิดตําแหน่ง พบร้อยละ 0.59 และพบความสัมพันธ์ของการเกิด ฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งขึ้นผิดตําแหน่งกับปัจจัยปัญหาในการบดเคี้ยวอาหารของเด็กในช่วงอายุ 2-6 ปีและปัจจัยภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก (ว ทันต จุฬาฯ 2548;28:39-50)


พฤติกรรมการออกกําลังกายของนิสิตทันตแพทย์, ยุทธศักดิ์ เสียงฉ่ำ, รชฏ กลับประทุม, ภฑิตา ภูริเดช Jan 2005

พฤติกรรมการออกกําลังกายของนิสิตทันตแพทย์, ยุทธศักดิ์ เสียงฉ่ำ, รชฏ กลับประทุม, ภฑิตา ภูริเดช

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกําลังกายของนิสิตทันตแพทย์ และความสัมพันธ์ระหว่างนิสิต ทันตแพทย์ชั้นปีต่างๆกับเวลาที่มีสําหรับการออกกําลังกาย (2) เพื่อศึกษาความชุกของการปวดคอและปวดหลังของนิสิตทันตแพทย์ วัสดุและวิธีการ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองจากนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 1-6 คณะทันต แพทยศาสตร์ จุฬาฯ ปีการศึกษา 2548 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ผลการทดลอง นิสิตจํานวน 194 คน ตอบแบบสอบถาม คิดเป็นอัตราการตอบกลับเท่ากับ ร้อยละ 100 เป็นนิสิตชาย 57 คน หญิง 137 คน พบว่ามีนิสิตที่ออกกําลังกายเป็นประจําร้อยละ 14.4 โดยนิสิตปี 6 ออกกําลังกายมากที่สุด (ร้อยละ 27.3) และนิสิต ปี 3 ออกกําลังกายน้อยที่สุด (ร้อยละ 3.2) สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทําให้ไม่สามารถออกกําลังกายได้คือไม่มีเวลา (ร้อยละ 66) นอกจากนี้อาการปวดคอและปวดหลังยังพบได้ร้อยละ 43.8 และร้อยละ 47.4 ตามลําดับ ทั้งนี้ความถี่ในการ ออกกําลังกายของนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 1-6 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) นอกจากนี้เพศยังมี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกําลังกายอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) สรุป ชั้นปีการศึกษาต่างๆ กัน มีพฤติกรรมการออกกําลังกายแตกต่างกัน อาการปวดคอและปวดหลังพบได้ร้อยละ 43.8 และร้อยละ 47.4 ตามลําดับ นอกจากนี้นิสิตทันตแพทย์ชายจะมีความถี่และใช้เวลาในการออกกําลังกายสูงกว่า นิสิตทันตแพทย์หญิง (ว ทันต จุฬาฯ 2549;29:195-204)


Proliferative Verrucous Leukoplakia: A Literature Review, Ekarat Phattarataratip Jan 2005

Proliferative Verrucous Leukoplakia: A Literature Review, Ekarat Phattarataratip

Chulalongkorn University Dental Journal

This article presents proliferative verrucous leukoplakia (PVL), a distinct form of oral leukoplakia which exhibits aggressive behavior due to its high rates of recurrence and malignant transformation. It is a disease of unknown origin. The prevalence and distribution of this lesion are different from those of other forms of oral leukoplakia, and its clinical-pathologic appearance is varied, depending on the stage of development of the lesion. PVL is resistant to most kinds of therapy; therefore, the control of this disease is difficult, especially in the late course of disease in which multiple lesions usually occur. The early diagnosis of this …


การศึกษาเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กับการวิเคราะห์ด้วยมือ, ชาตรี ชะโยชัยชนะ, สมศักดิ์ เพิ่งประภากร Jan 2005

การศึกษาเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กับการวิเคราะห์ด้วยมือ, ชาตรี ชะโยชัยชนะ, สมศักดิ์ เพิ่งประภากร

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความแตกต่างของค่าระยะทางและค่ามุมที่วัดได้จากภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้าง ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูปสําหรับวิเคราะห์ภาพรังสีกะโหลกศีรษะ 5 โปรแกรม เปรียบเทียบกับการวิเคราะห์ด้วยมือตามเกณฑ์ของสไตเนอร์ และเกณฑ์ของริกเกทส์ วัสดุและวิธีการ เลือกกลุ่มตัวอย่างจากภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างของผู้ป่วยที่มารับการรักษาทางทันตกรรม จัดฟันที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จํานวน 32 คน อายุระหว่าง 11-27 ปี (เฉลี่ย 16.06 ปี) ฟันอยู่ในระยะฟันแท้ ไม่มีฟันคุดหรือพยาธิสภาพมาบังคับรากฟันหน้าและฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง นําภาพรังสีมา ลอกลาย และกําหนดจุดอ้างอิงตามวิธีการวิเคราะห์ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป 5 โปรแกรม คือ 1. Dentofacial planner 2. Quick-ceph image 3. RMO's Jiffy Orthodontic Evaluation 4. Compu-ceph 5. OTP รวมทั้ง วิเคราะห์ด้วยมือจากภาพลอกลาย วัดค่าระยะทางและค่ามุมตามเกณฑ์ของสไตเนอร์และเกณฑ์ของริกเกทส์ รวม 18 ตัวแปร เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวที่ระดับนัยสําคัญ 05 เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ จึงทดสอบแบบจับคู่พหุคูณตามวิธีของทุกย์ ผลการศึกษา พบความแตกต่างของค่า Pog-NB (มม.) ของโปรแกรม JOE และค่า U6-PTV (มม.), L1-APO (องศา) และ Facial axis (องศา) ของโปรแกรม Compu-ceph ซึ่งมีเพียง 4 ค่า จากค่าตัวแปรที่ใช้ทั้งหมด 18 ค่า สรุป โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูปทั้ง 5 โปรแกรม สามารถใช้ทดแทนการวิเคราะห์ด้วยมือได้ การเลือกใช้อุปกรณ์ สําหรับนําข้อมูลเข้าเครื่องควรพิจารณาความเหมาะสม ควรรู้วิธีการใช้โปรแกรมอย่างถูกต้องและควรมีความรู้ทางด้าน การวิเคราะห์ภาพรังสีของกะโหลกศีรษะ เช่น คํานิยามของจุดอ้างอิงที่ใช้และการกําหนดจุดให้ถูกต้อง ความแตกต่าง ที่พบจากการศึกษานี้เนื่องจากคํานิยามที่แตกต่างของจุดอ้างอิงของโปรแกรมสําเร็จรูปที่ใช้ และวิธีการวัดของโปรแกรม (ว ทันต จุฬาฯ 2548;28:29-38)


ผลของเครื่องดื่มชาเขียวชนิดปราศจากน้ำตาลและชนิดเติมน้ําตาล ต่ออัตราการไหลและ ความเป็นกรดด่างของน้ำลาย, ระวีวรรณ ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม, ยุทธนา ปัญญางาม Jan 2005

ผลของเครื่องดื่มชาเขียวชนิดปราศจากน้ำตาลและชนิดเติมน้ําตาล ต่ออัตราการไหลและ ความเป็นกรดด่างของน้ำลาย, ระวีวรรณ ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม, ยุทธนา ปัญญางาม

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอัตราการไหลและความเป็นกรดด่างของน้ําลายภายหลังการดื่มชาเขียว ชนิดปราศจากนํ้าตาล และชนิดเติมน้ําตาล วัสดุและวิธีการ อาสาสมัครจํานวน 50 คน อายุ 20-22 ปี มีสุขภาพสมบูรณ์และไม่ใช้ยาทุกชนิดอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนเข้ารับการทดลอง ในวันแรก ทําการเก็บน้ําลายในระยะพักเป็นเวลา 10 นาที โดยแบ่งการเก็บเป็น 3 ครั้งติดต่อกัน คือ ครั้งแรกเริ่มต้นเก็บน้ําลายครบ 1 นาที ครั้งที่สองเก็บต่อจาก 1 นาทีจนครบ 5 นาที และครั้งที่สามเก็บต่อจาก 5 นาทีจนครบ 10 นาที คํานวณอัตราการไหลของน้ําลายเป็นมิลลิลิตร/นาทีและวัดความเป็นกรดด่างของน้ําลายด้วย เครื่องวัดความเป็นกรดด่าง (pH meter, IQ125, USA.) ในวันที่สอง สาม และสี่ ให้อาสาสมัครดื่มน้ําปราศจาก แร่ธาตุ เครื่องดื่มชาเขียวสําเร็จรูปชนิดปราศจากน้ําตาล และชนิดเติมน้ําตาล ชนิดละ 250 มิลลิลิตร โดยใช้หลอดดูดเก็บน้ําลายและวิเคราะห์ด้วยวิธีการเดิม เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของอัตราการไหล และความเป็น กรดด่างของน้ําลายในระยะพัก หลังดื่มน้ํา หลังดื่มชาเขียวชนิดปราศจากน้ําตาล และชาเขียวชนิดเติมน้ําตาล ด้วย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 หากพบมีนัยสําคัญจึงทําการทดสอบหาคู่ที่มี ความแตกต่างกันทีละคู่ด้วยวิธีผลต่างอย่างมีนัยสําคัญน้อยที่สุด ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยอัตราการไหลของน้ําลายระยะพัก หลังการดื่มน้ํา หลังการดื่มชาเขียวปราศจากน้ําตาล และ ชาเขียวชนิดเติมนํ้าตาล เท่ากับ 0.40±0.15, 0.41±0.15, 0.48±0.26 และ 0.59±0.21 มล./นาที ตามลําดับ ค่าเฉลี่ย ความเป็นกรดด่างของน้ําลายในช่วงเวลาตั้งแต่ 0-1, 1-5 และ 5-10 นาที ในระยะพักเท่ากับ 7.20±0.40, 7.20±0.38 และ 7.2010.39 หลังดื่มน้ําเท่ากับ 7.21±0.40, 7.2010.38 และ 7.19±0.38 หลังดื่มชาเขียวปราศจากน้ําตาลเท่ากับ 7.71±0.39, 7.42±0.38 และ 7.41±0.49 …


ภาวะใส่ท่อช่วยหายใจลําบากในผู้ป่วยศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล: รายงานผู้ป่วย, จีรวรรณ จิระกิจจา Jan 2005

ภาวะใส่ท่อช่วยหายใจลําบากในผู้ป่วยศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล: รายงานผู้ป่วย, จีรวรรณ จิระกิจจา

Chulalongkorn University Dental Journal

การให้ยาระงับความรู้สึกทั่วไปสําหรับการทําศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล วิสัญญีแพทย์มีโอกาส พบปัญหาการช่วยหายใจ และการใส่ท่อช่วยหายใจลําบากได้เสมอ การประเมินสภาพทางเดินหายใจในระยะก่อนผ่าตัดและการเตรียมความพร้อมอย่างเหมาะสมทําให้การระงับความรู้สึกทําได้อย่างปลอดภัยปราศจากภาวะแทรกซ้อน รายงานผู้ป่วย 2 ราย ซึ่งได้รับการจัดการกับปัญหาใส่ท่อช่วยหายใจต่างกัน ผู้ป่วยรายที่ 1 เป็นชาย อายุ 16 ปี เข้ารับการผ่าตัดเสริมสร้างขากรรไกรล่างด้วยกระดูกเชิงกรานร่วมกับใช้แผ่นโลหะไททาเนียมตามกระดูกลักษณะกายวิภาคของใบหน้าที่บ่งบอกภาวะใส่ท่อช่วยหายใจลําบาก คือ ขากรรไกรล่างสั้น หลุบเข้าด้านใน และขยับลิ้นได้น้อย ซึ่งเกิดจากการผ่าตัดหลายครั้งก่อน เลือกใช้เทคนิคการใส่ท่อช่วยหายใจโดยใช้กล้องตรวจ กล่องเสียงชนิดท่อใยแก้วนําแสง ภายใต้การสูดดมยาสลบได้อย่างปลอดภัย ผู้ป่วยรายที่ 2 เป็นหญิง อายุ 75 ปี ได้รับ การวินิจฉัยเป็นลุควิกส์แองไจนา ต้องผ่าตัดเจาะระบายหนองออก ภายใต้การดมยาสลบ วิสัญญีแพทย์วางแผน ขั้นต้นจะทําการประเมินทางเดินหายใจ และใส่ท่อช่วยหายใจโดยวิธีไดเร็กต์ลาริงโกสโคปี หลังจากให้ยาสงบประสาท เข้าหลอดเลือดดํา ผู้ป่วยหมดสติร่วมกับทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นอย่างสมบูรณ์ ไม่สามารถช่วยการหายใจด้วย หน้ากากช่วยหายใจ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงต่ําลงมากร่วมกับชีพจรเต้นช้า ผู้ป่วยได้รับการ ผ่าหลอดลมคอฉุกเฉิน เพื่อเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจจนสัญญาณชีพกลับมาปกติ หลังผ่าตัดผู้ป่วยพื้นจาก ยาสลบ รู้สึกตัวดี แต่หายใจเองไม่เพียงพอจําเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ จึงย้ายผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อใน หออภิบาลผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลตํารวจ ผู้ป่วยกลับบ้านได้หลังจากเข้ารับการรักษานานเกือบ 2 เดือน เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจและหลอดเลือด (ว ทันต จุฬาฯ 2548;28:51-8)


การทําให้ผู้ป่วยสงบด้วยยาโพรพอฟอลในงานศัลยกรรมช่องปากผู้ป่วยนอก, จีรวรรณ จิระกิจจา, วัชรี จังศิริวัฒนธํารง, กอบสุข สมบัติเปี่ยม Jan 2005

การทําให้ผู้ป่วยสงบด้วยยาโพรพอฟอลในงานศัลยกรรมช่องปากผู้ป่วยนอก, จีรวรรณ จิระกิจจา, วัชรี จังศิริวัฒนธํารง, กอบสุข สมบัติเปี่ยม

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการให้ยาโพรพอฟอลหยดเข้าหลอดเลือดดํา เพื่อทําให้ผู้ป่วยสงบ ในผู้ป่วยนอกที่มารับการผ่าตัดเล็กของช่องปาก ในโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัสดุและวิธีการ ศึกษาผู้ป่วยจํานวน 50 ราย สภาพร่างกายอยู่ในระดับ 1 หรือ 2 ตามเกณฑ์ของสมาคม วิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย อายุระหว่าง 12-77 ปี มารับการผ่าตัดเล็กของช่องปากภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะที่ ทําให้ผู้ป่วยสงบผ่อนคลายโดยฉีดโพรพอฟอลขนาด 0.75-1.0 มก./กก. ทางหลอดเลือดดําเพื่อเริ่มนําให้สงบ แล้วตามด้วยการหยดเข้าหลอดเลือดดําแบบต่อเนื่องในอัตรา 3 มก./กก./ชม. ปรับอัตราการหยดยาในระหว่าง การผ่าตัดเพื่อรักษาระดับการสงบประสาทให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วย บันทึกความดันเลือด ชีพจร อัตราการหายใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ตลอดเวลาการผ่าตัด ประเมินคุณภาพการ สงบประสาท ภาวะเสียความจํา ความพึงพอใจของผู้ป่วย และผลข้างเคียงจากยา ผลการศึกษา ปริมาณยาโพรพอฟอลที่ใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดดําเพื่อนําสงบเฉลี่ย (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) 51.52 (11.35) มก. (21-75 มก.) ขนาดยาโพรพอฟอลที่ใช้ในการหยดเข้าหลอดเลือดดําแบบต่อเนื่องเฉลี่ย (ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน) 3.16 (0.58) มก./กก./ชม. (2.24-4.67 มก./กก./ชม.) ระยะเวลาในการผ่าตัดเฉลี่ย (ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน) 72.34 (32.03) นาที (17-150 นาที) ศัลยแพทย์ประเมินคุณภาพของการสงบประสาทอยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 84 ปานกลางร้อยละ 16 ผู้ป่วยร้อยละ 54 เกิดภาวะเสียความจําอย่างสมบูรณ์ต่อเหตุการณ์ขณะฉีดยาชา เฉพาะที่ ไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด พบกดการหายใจในผู้ป่วย 1 ราย ซึ่งเกิด หลังจากฉีดโพรพอฟอลเข้าหลอดเลือดดําเพื่อนําสงบ ผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่ อาการปวดขณะฉีดยาโพรพอฟอล พูดมากขึ้น คัน และปวดศีรษะ สรุป การให้โพรพอฟอลหยดทางหลอดเลือดดําแบบต่อเนื่อง อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการทําให้ผู้ป่วยสงบนอกจากการให้มีดาโซแลมฉีดทางหลอดเลือดดํา หรือการสูดดมไนตรัสออกไซด์ร่วมกับออกซิเจน แต่จําเป็นต้องมีการเฝ้าระวังเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะฉุกเฉินเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย (ว ทันต จุฬาฯ 2548;28:1-10)