Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 21 of 21

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของแคลเซียมและความเป็นกรดของนมต่อการแตกตัวของฟลูออไรด์, พรศรี ปฏิมานุเกษม, ยุทธนา ปัญญางาม, ชนัญญา เกษประเสริฐ, พธู สุระประเสริฐ Sep 2002

ผลของแคลเซียมและความเป็นกรดของนมต่อการแตกตัวของฟลูออไรด์, พรศรี ปฏิมานุเกษม, ยุทธนา ปัญญางาม, ชนัญญา เกษประเสริฐ, พธู สุระประเสริฐ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการแตกตัวของฟลูออไรด์ที่เติมลงในนมชนิดธรรมดา นมชนิดแคลเซียมสูง และนม เปรี้ยวซึ่งมีความเป็นกรดสูง วัสดุและวิธีการ สุ่มผลิตภัณฑ์นมที่มีจําหน่ายในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ นมธรรมดา นมแคลเซียมสูง และนมเปรี้ยว จํานวน 10, 5 และ 11 ผลิตภัณฑ์ ตามลําดับ วัดความเป็นกรด-ด่างและปริมาณฟลูออไรด์ตั้งต้นในตัวอย่างนม โดยใช้พีเอชอีเล็คโทรดและฟลูออไรด์อิเล็คโทรด แบ่งนมจํานวน 100 มล เติมฟลูออไรด์ 0.5 มก แล้ววัดปริมาณ ฟลูออไรด์และคํานวณร้อยละของปริมาณฟลูออไรด์ไอออนอิสระที่ปล่อยออกมา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยปริมาณฟลูออไรด์และค่าเฉลี่ยร้อยละของปริมาณฟลูออไรต์ไอออนอิสระที่ปล่อยออกมาระหว่างนมแต่ละชนิดด้วยการ วิเคราะห์ความแปรปรวนที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา นมธรรมดา นมแคลเซียมสูง และนมเปรี้ยว มีค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 6,470 + 0.086, 6.676 + 0.125 และ 3.869 + 0.121 และมีปริมาณฟลูออไรด์ตั้งต้นเท่ากับ 0.108 ± 0.034, 0.157 ± 0.149 และ 0.314 + 0.140 ส่วนในล้านส่วน ตามลําดับ ภายหลังการเติมฟลูออไรต์ 0.5 มก พบว่านมธรรมดา นมแคลเซียมสูง และ นมเปรี้ยวมีค่าเฉลี่ยร้อยละของปริมาณฟลูออไรด์ไอออนอิสระที่ปล่อยออกมาเท่ากับ 21.36 + 6.67, 13.43 + 10.94 และ 25.70 + 12.78 ตามลําดับ การทดสอบทางสถิติ พบว่า นมแคลเซียมสูงมีร้อยละของปริมาณฟลูออไรด์ไอออน อิสระที่ปล่อยออกมาน้อยกว่านมธรรมดาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่นมเปรี้ยวมีร้อยละของปริมาณ ฟลูออไรด์ไอออนอิสระที่ปล่อยออกมาไม่แตกต่างจากนมธรรมดาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สรุป ผลิตภัณฑ์นมชนิดแคลเซียมสูงมีผลทําให้ฟลูออไรด์ที่เติมลงไปแตกตัวได้น้อยลง ในขณะที่ความเป็นกรดของนมไม่มีผลต่อการแตกตัวของฟลูออไรด์


ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ที่ระดับค่าความเป็นกรด-ด่างที่แตกต่างกันในห้องปฏิบัติการ, อังสนา ใจแน่น, เมตตจิตต์ นวจินดา, รัตน์ เสรีนิราช Sep 2002

ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ที่ระดับค่าความเป็นกรด-ด่างที่แตกต่างกันในห้องปฏิบัติการ, อังสนา ใจแน่น, เมตตจิตต์ นวจินดา, รัตน์ เสรีนิราช

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาว่าที่ระดับค่าความเป็นกรด-ด่างและระยะเวลาเท่าใดของแคลเซียมไฮดรอกไซด์จึงจะ สามารถฆ่าเชื้อ 4 ตัวได้ วัสดุและวิธีการ เตรียมแคลเซียมไฮดรอกไซด์ผสมกับน้ํากลั่นให้ได้ระดับค่าความเป็นกรด-ด่าง 12.5, 12.0, 11.5, 10.5, 9.5, 8.5 และ 7.5 ใส่ลงไปในหลอดที่เตรียมเชื้อทั้ง 4 ตัวคือ เชื้อเอนเทอโรคอคคัส ฟิคัลลิส, เชื้อ แอคติโนมัยชีส วิสโคซุส, เชื้อสแตฟฟีโลคอคคัส ออเรียสและเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ ที่มีความเจือจาง เท่ากับแมคฟาแลนด์นัมเบอร์ 1 ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง เมื่อครบ 10 นาที, 30 นาที, 1 ช.ม., 6 ซ.ม., 24 ซ.ม., 48 ซ.ม. และ 72 ซ.ม. นําสารในหลอด ใส่ในอาหารเลี้ยงเชื้อ 2 หลอดทุก ๆ ระดับค่าความเป็นกรด-ด่าง โดยมี น้ําเกลือเป็นตัวควบคุม นําอาหารเลี้ยงเชื้อเข้าตู้อบ 37°C เป็นเวลา 48 ช.ม. แล้วอ่านผลโดยดูจากความขุ่น ถ้าขุ่น แสดงว่ามีการเจริญของเชื้อ ทําซ้ํา 3 ครั้ง ตอนที่ 2 เตรียมแคลเซียมไฮดรอกไซด์ให้ได้ค่าความเป็นกรด-ด่าง เหมือนในตอนแรก นําเชื้อที่เจือจางแล้ว ใส่ลงไปในสารที่เตรียมไว้ อ่านค่าความเป็นกรด-ด่างตามเวลาที่เปลี่ยน ไปเหมือนตอนแรก ทําการทดลองซ้ํา 3 ครั้งนํามาหาค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา เชื้อทั้ง 4 ตัวสามารถถูกทําลายโดยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่ระดับค่าความเป็นกรด-ด่าง 12.5 โดย ค่าเฉลี่ยการลดลงของความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้นที่ 12.5 มีความแตกต่างจากกลุ่มอื่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (Repeated-Measures ANOVA ที่ p0.00) ส่วนค่าความเป็นกรด-ด่างที่ต่ํากว่า 10 ไม่สามารถทําลายเชื้อตัวใดได้เลย โดยใช้เวลาในการสัมผัสกับแคลเซียมไฮดรอกไซด์แตกต่างกัน เชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ ใช้เวลา 30 นาที เชื้อแอคติโนมัยชีส วิสโคซุส …


เทคนิคการทําครอบฟันรับฟันปลอมบางส่วนถอดได้ชนิดโครงโลหะชุดเดิม, อรพินท์ แก้วปลั่ง Sep 2002

เทคนิคการทําครอบฟันรับฟันปลอมบางส่วนถอดได้ชนิดโครงโลหะชุดเดิม, อรพินท์ แก้วปลั่ง

Chulalongkorn University Dental Journal

หลายครั้งทันตแพทย์มีความจําเป็นที่จะต้องทําครอบฟันหรือทําครอบฟันใหม่ให้แก่ฟันหลักของชิ้นงาน ฟันปลอมบางส่วนถอดได้ชนิดโครงโลหะชิ้นเดิม ปัญหาที่พบมักได้แก่การที่ผู้ป่วยปฏิเสธที่จะทิ้งชิ้นงานฟันปลอม เดิมให้แก่ทันตแพทย์ระหว่างการสร้างครอบฟันและความยากของขบวนการที่จะทําครอบฟันเพื่อให้มีรายละเอียดเข้ากันได้ดีกับชิ้นงานฟันปลอมเดิม บทปริทัศน์วรรณกรรมได้นําเสนอเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา ดังกล่าว บางเทคนิคทําขั้นตอนบางส่วนนอกช่องปากและใช้เวลาปรับแต่งในคลินิกเพิ่มเติม บางเทคนิคทําการแต่ง โดยตรงในช่องปาก และบางเทคนิคอาจอาศัยทั้งสองวิธีการ รายละเอียด ข้อดี ข้อด้อยของแต่ละวิธีการได้อธิบายไว้เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ทันตแพทย์ในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุดให้กับผู้ป่วย


การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารต่างๆ ที่ใช้ในการดึงเกลือแร่, วิจิตรา วิพิตมากูล, จุลจักร ตั้งยิ่งยง, สุชีรา พงษ์พันธ์ Sep 2002

การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารต่างๆ ที่ใช้ในการดึงเกลือแร่, วิจิตรา วิพิตมากูล, จุลจักร ตั้งยิ่งยง, สุชีรา พงษ์พันธ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารที่ใช้ดึงเกลือแร่ 3 ชนิด คือ เอทิลีน ไตเอมีน เตตรา อะซิติก แอซิด (อีดีทีเอ) กรดฟอร์มิก และกรดไนตริกฟอร์มาลีน โดยพิจารณาจากระยะเวลาที่ใช้ ราคา วิธีการเตรียมสาร และการสูญเสียของเนื้อเยื่อ วัสดุและวิธีการ ใช้ฟันกรามใหญ่ที่สาม จํานวน 12 ซี่ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ดึงเกลือแร่โดยใช้อีดีทีเอ กลุ่ม ที่ 2 ใช้กรดฟอร์มิก และกลุ่มที่ 3 ใช้กรดไนตริกฟอร์มาลีน เปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ดึงเกลือแร่จนสมบูรณ์ซึ่ง ตรวจสอบโดยวิธีการใช้สารเคมี เปรียบเทียบราคาของสารแต่ละชนิดและศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อฟัน หลังจากถูกดึงเกลือแร่ ผลการศึกษา กรดไนตริก ฟอร์มาลีนดึงเกลือแร่จากฟันได้เร็วที่สุดคือ 102.0 ชั่วโมง รองลงมาคือ กรดฟอร์มิก 148.5 ชั่วโมง และ อีดีทีเอ 696.8 ชั่วโมง การเปรียบเทียบราคาต่อขบวนการ คือ อีดีทีเอ 395.43 บาท กรดฟอร์มิก 89.10-148.50 บาท และกรดไนตริกฟอร์มาลีน 21.17-30.26 บาท กรดไนตริกฟอร์มาลีนเป็นสารเพียงชนิดเดียว ที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนสีและเกิดการสูญเสียเนื้อเยื่อฟัน สรุป กรดไนตริกฟอร์มาลีนใช้เวลาน้อยที่สุดในการดึงเกลือแร่และมีราคาถูกที่สุดแต่มีข้อเสีย คือ อาจทําให้มีการ สูญเสียเนื้อเยื่อฟัน กรดฟอร์มิกซึ่งใช้เวลามากกว่า และมีราคาสูงกว่า เหมาะสมในการใช้งานด้านบริการ เนื่องจาก ไม่ทําให้เกิดการสูญเสียเนื้อเยื่อ แต่อีดีทีเอไม่เหมาะในการใช้งานด้านบริการเพราะใช้เวลานานมากและมีราคาสูง


ความสัมพันธ์ระหว่างการปรากฏของกระดูกทอรัส ที่เพดานปาก และที่ขากรรไกรล่างกับจํานวนฟัน ในคนไทยกลุ่มหนึ่ง, วันดี อภิณหสมิต, ดอลลี่ เมธาธราธิป, สมพร สวัสดิสรรพ์, สุชาติ กาลวสุกุล Sep 2002

ความสัมพันธ์ระหว่างการปรากฏของกระดูกทอรัส ที่เพดานปาก และที่ขากรรไกรล่างกับจํานวนฟัน ในคนไทยกลุ่มหนึ่ง, วันดี อภิณหสมิต, ดอลลี่ เมธาธราธิป, สมพร สวัสดิสรรพ์, สุชาติ กาลวสุกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการปรากฏของกระดูกทอรัสที่เพดานปาก (TP) และที่ขากรรไกรล่าง (TM) กับจํานวนฟันในคนไทยกลุ่มหนึ่ง วัสดุและวิธีการ ท่าการตรวจช่องปากคนไทย จํานวน 1,350 คน ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสํารวจการปรากฏของ TP และ TM ร่วมกับการบันทึกจํานวนฟัน เพศ และอายุ แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 4 กลุ่ม อายุ คือ 13-19, 20-29, 30-39, 40-49, 50-59 และ 60 ปีขึ้นไป ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปรากฏของ กระดูกทอรัสทั้งสองกับจํานวนฟันด้วยการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างจํานวนฟันของคนที่พบและไม่พบ กระดูกทอรัสทั้งสอง วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติทดสอบแมนน์ วิทนีย์ยู ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา พบว่าค่าเฉลี่ยของจํานวนฟันบนในคนที่พบและไม่พบ TP ไม่แตกต่างกัน (p = 0.974) ส่วน ค่าเฉลี่ยของจํานวนฟันล่างในคนที่พบ TM มีค่ามากกว่าคนที่ไม่พบ TM (p = 0.001) เมื่อศึกษาในแต่ละเพศ ปรากฏว่าเฉพาะในเพศชายเท่านั้นที่ค่าเฉลี่ยของจํานวนฟันล่างในคนที่พบ TM มีค่ามากกว่าคนที่ไม่พบ TM (p = 0.010) ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าจํานวนฟันที่สูญเสียไปในเพศชายที่พบ TM น้อยกว่าในเพศชายที่ไม่พบ TM (p = 0.010) เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุปรากฏว่าค่าเฉลี่ยของจํานวนฟันบนแตกต่างกันในคนที่พบและไม่พบ TP เฉพาะในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ในขณะที่เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ค่าเฉลี่ยของจํานวนฟันล่างในคนที่พบ TM มีค่า มากกว่าคนที่ไม่พบ TM (p < 0.05) ยกเว้นในกลุ่มอายุ 40-49 ปี สรุป พบความสัมพันธ์ระหว่างการปรากฏของกระดูกทอรัสที่ขากรรไกรล่างกับจํานวนฟันล่างในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และในเพศชาย


การบูรณะฟันแท้แบบเฉพาะกาลในเด็กที่เป็น อะมิโลเจเนซิส อิมเพอร์เฟกตา : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, บังอร จิระเกียรติ์ Sep 2002

การบูรณะฟันแท้แบบเฉพาะกาลในเด็กที่เป็น อะมิโลเจเนซิส อิมเพอร์เฟกตา : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, บังอร จิระเกียรติ์

Chulalongkorn University Dental Journal

อะมิโลเจเนซิส อิมเพอร์เฟกตา เป็นกลุ่มของความผิดปกติทางด้านพันธุกรรมที่มีผลต่อการสร้างเคลือบ ฟันน้ํานมและฟันแท้ ความผิดปกติเกิดเฉพาะที่เนื้อเยื่อชั้นเอ็กโตเดิร์ม รายงานผู้ป่วยนี้อธิบายถึงลักษณะความ ผิดปกติของฟันที่ตรวจพบทางคลินิก ลักษณะภาพรังสี ผลของการวินิจฉัย และการรักษาแบบเฉพาะกาลในฟันแท้ ของเด็กชายไทยอายุ 9 ปี ซึ่งกระทําโดยมีวัตถุประสงค์หลักของการรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยในรายนี้คือ เพื่อ ป้องกันถึงการสูญเสียของเนื้อเยื่อโครงสร้างฟันจากความผิดปกติดังกล่าว และทําให้การบดเคี้ยวมีประสิทธิภาพดี รวมทั้งทําให้เกิดความสวยงามของใบหน้าและช่องปาก


อิทธิพลของน้ํายาทําความสะอาดฟันปลอม ต่อคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุปรับสภาพเนื้อเยื่อ, รําไพ โรจนกิจ, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล, พนารัตน์ ขอดแก้ว May 2002

อิทธิพลของน้ํายาทําความสะอาดฟันปลอม ต่อคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุปรับสภาพเนื้อเยื่อ, รําไพ โรจนกิจ, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล, พนารัตน์ ขอดแก้ว

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุปรับสภาพเนื้อเยื่อ เมื่อทําความสะอาดด้วยน้ํายาทําความ สะอาดฟันปลอมตามคําแนะนําของบริษัทผู้ผลิต และแช่วัสดุในน้ําประปาตลอดเวลาในระยะเวลา 3 สัปดาห์ วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาวัสดุปรับสภาพเนื้อเยื่อ 4 ชนิด (โค ซอฟท์ ดูรา คอนดิชั่นเนอร์ ทรูซอฟท์ และ วิสโค เจล) โดยใช้น้ํายาทําความสะอาดฟันปลอม 3 ชนิด (โพลิเดนท์ สเตอราเดนท์ และคลื่น อะ เดนท์) ทําชิ้น ทดสอบรูปดัมเบลล์ตามมาตรฐาน ไอเอสโอ 37 ทั้งหมด 520 ชิ้น แบ่งเป็น 52 กลุ่ม ตามวัสดุปรับสภาพเนื้อเยื่อ น้ํายาทําความสะอาดฟันปลอม และระยะเวลาในการแช่ ทําการวัดสีของชิ้นทดสอบในวันเริ่มต้นและวันครบรอบ ระยะเวลาทดสอบ ด้วยเครื่องอัลตราสแกน เอ็กซ์ ซี แล้วนํามาคํานวณหาค่าการเปลี่ยนแปลงของสี ทดสอบความ แข็งผิวของวัสดุด้วยเครื่องดูโรมิเตอร์ แบบ เอ ทดสอบค่าแรงดึงสูงสุดของวัสดุด้วยเครื่องทดสอบสากลลอยด์ รุ่น แอลอาร์ 10 เค นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เพื่อหาความ แตกต่างระหว่างกลุ่ม และวิเคราะห์อิทธิพลของน้ํายาทําความสะอาดฟันปลอม น้ําประปา และระยะเวลาในการแช่ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง แล้วหาความแตกต่างระหว่างคู่ด้วยการเปรียบเทียบเชิงซ้อน Duncan 's New Multiple Range Test ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการทดลอง พบการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุปรับสภาพเนื้อเยื่อทั้งในกลุ่มควบคุมที่แช่วัสดุ ในน้ําประปาตลอดเวลา และกลุ่มทดลองที่ทําความสะอาดด้วยน้ํายาทําความสะอาดฟันปลอม ตามคําแนะนําของ บริษัทผู้ผลิต และตามด้วยการแช่วัสดุในน้ําประปาตลอดเวลา โดยการเปลี่ยนสีในระยะเวลาศึกษา 3 สัปดาห์ อยู่ ในระดับที่ยอมรับได้ทางคลินิก ค่าความแข็งผิวของวัสดุเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาโดยมีค่าสูงสุดในสัปดาห์ที่สาม ค่าแรงดึงสูงสุดเพิ่มขึ้นจากวันเริ่มต้นการทดลองจนมีค่ามากที่สุดในสัปดาห์ที่ 1, 2 หรือ 3 ตามชนิดของวัสดุ สรุป วัสดุปรับสภาพเนื้อเยื่อทุกชนิดที่ศึกษามีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพ โดยเกิดการเปลี่ยนสี ค่าความ แข็งผิวและค่าแรงดึงสูงสุดของวัสดุ ในระดับที่แตกต่างกัน เนื่องจากอิทธิพลของน้ํายาทําความสะอาดฟันปลอม น้ำ ประปา และระยะเวลาในการแช่


ผลของการบ่มตัวภายใต้ความดันต่อกําลังตัดขวาง ของอะคริลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมี, ไพจิตร หัมพานนท์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล, กุลลี ทองปุสสะ, ณวรรณวดี แก้วผลึก May 2002

ผลของการบ่มตัวภายใต้ความดันต่อกําลังตัดขวาง ของอะคริลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมี, ไพจิตร หัมพานนท์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล, กุลลี ทองปุสสะ, ณวรรณวดี แก้วผลึก

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมี ในสภาวะปกติที่อุณหภูมิห้องกับในสภาวะภายใต้ความดัน วัสดุและวิธีการ ทําแท่งชิ้นทดสอบขนาด 10x65x2.5 มิลลิเมตร โดยใช้อะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมี จํานวน 3 ผลิตภัณฑ์ คือ เกทซ์ (Getz) ทาคิลอน (Takilon) พาลาเพรส Palapress เมื่อทําการบ่มตัวด้วยสภาวะปกติ ที่อุณหภูมิห้อง และการบ่มตัวด้วยสภาวะภายใต้ความดัน เปรียบเทียบกับอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน เมลิโอเดนท์ (Meliodent) นําชิ้นทดสอบไปทดสอบค่ากําลังตัดขวางและความสามารถดัดงอก่อนหักโดยเครื่องทดสอบ สากล (Lloyd Universal testing machine รุ่น LR 10K) นําผลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและวิธีทดสอบ แบบตันแคน มัลติเปิล เรนจ์ ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา ในสภาวะปกติอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน Meliodent มีค่ากําลังตัดขวางและค่าความ สามารถดัดงอก่อนหักสูงกว่าอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมีอย่างมีนัยสําคัญ การบ่มตัวภายใต้ความดัน โดยใช้หม้ออัดความดันทําให้อะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมี Getz มีค่าความแข็งแรงตัดขวางสูงขึ้น ใกล้เคียงกับอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน Meliodent ในขณะที่การบ่มตัวของอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัว ด้วยปฏิกิริยาเคมี Takilon ภายใต้ความดันไม่ทําให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ นอกจากนี้การบ่มตัวภายใต้ ความดันไม่ทําให้ค่าความสามารถดัดงอก่อนหักของอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมีสูงขึ้น สรุป การบ่มตัวภายใต้ความดันของอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมี ทําให้ความแข็งแรงของอะครีลิกเรซิน สูงขึ้นเฉพาะบางผลิตภัณฑ์ และไม่ทําให้ทุกผลิตภัณฑ์ในการทดสอบนี้มีความยืดหยุ่นดีขึ้น


การตกผลึกปิดท่อเนื้อฟันของสารลดการเสียวฟันที่ผสมในยาสีฟัน, ศิริพร โชติไพบูลย์พันธุ์, สุภัทรา อมาตยกุล, ชฎา รัตนาวิวัฒน์พงศ์, ชลิดา นาคเลขา, ปิยะนุช ชาญช่างเหล็ก May 2002

การตกผลึกปิดท่อเนื้อฟันของสารลดการเสียวฟันที่ผสมในยาสีฟัน, ศิริพร โชติไพบูลย์พันธุ์, สุภัทรา อมาตยกุล, ชฎา รัตนาวิวัฒน์พงศ์, ชลิดา นาคเลขา, ปิยะนุช ชาญช่างเหล็ก

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ จากทฤษฎีการเคลื่อนไหวของน้ําที่ใช้อธิบายการเกิดอาการเสียวฟัน ถ้าสามารถลดอัตราการไหลของ ของเหลวในท่อเนื้อฟัน โดยทําให้มีการตกผลึกของสารมาปิดท่อเนื้อฟันจะสามารถลดการเสียวฟันได้ งานวิจัยนี้จึง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตกผลึกปิดท่อเนื้อฟันของสารลดการเสียวฟันที่ผสมในยาสีฟันชนิดต่าง ๆ วัสดุและวิธีการ ฟันกรามใหญ่จํานวน 24 ซี่ นํามาตัดตามแนวแกนของฟันให้ถึงขั้นเนื้อฟัน แบ่งกลุ่มตัวอย่างฟัน ออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ตัวอย่าง คือกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้รับการแปรงฟัน อีก 5 กลุ่มทดลองจะได้รับการแปรงฟันทุก วัน วันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันแต่ละชนิด คือชนิดที่ 1 ไม่มีสารลดการเสียวฟันเป็นส่วนผสม ชนิดที่ 2 มีสารลดการ เสียวฟันคือ 5 % โปแตสเซียมไนเตรต และ 0.45 % แสตนนิสฟลูออไรต์ ชนิดที่ 3 มีสารลดการเสียวฟันคือ 5 % โปแตสเซียมไนเตรต และ 0.80 %. โซเดียมไมในฟลูออโรฟอสเฟต ชนิดที่ 4 มีสารลดการเสียวฟันคือ 5 % โปแตสเซียม - ไนเตรต และ 0.24 % โซเดียมฟลูออไรด์ ชนิดที่ 5 มีสารลดการเสียวฟันคือ 10 % สตรอนเซียมคลอไรด์โดย แต่ละกลุ่มทดลองจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ กลุ่มที่ได้รับการแปรงเป็นเวลา 2 สัปดาห์ (กลุ่มละ 2 ตัวอย่าง) และ 4 สัปดาห์ (กลุ่มละ 2 ตัวอย่าง) นําตัวอย่างฟันไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เพื่อศึกษาขนาด ปริมาณ และลักษณะของผลึก ผลการศึกษา พบว่าในกลุ่มทดลองมีการตกผลึกปิดท่อเนื้อฟันและรอบ ๆ ท่อเนื้อฟัน โดยยาสีฟันแต่ละชนิดมีผล ทําให้เกิดการตกผลึกที่แตกต่างกันทั้งขนาด ปริมาณและลักษณะของผนึก พบว่ายาสีฟันชนิดที่ 2, 3, 4 …


ความสามารถในการแยกความเอียงของระนาบสบฟัน จากระนาบตาดําในบุคลากรวิชาชีพทันตแพทย์, ชัยสุรัติ ถกลภักดี, ญาดา วชิรศรีสุนทรา, สรรพัชญ์ นามะโน May 2002

ความสามารถในการแยกความเอียงของระนาบสบฟัน จากระนาบตาดําในบุคลากรวิชาชีพทันตแพทย์, ชัยสุรัติ ถกลภักดี, ญาดา วชิรศรีสุนทรา, สรรพัชญ์ นามะโน

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษาครั้งนี้ต้องการทราบว่า ประสบการณ์ด้านวิชาชีพทันตแพทย์และเพศในบุคลากรวิชาชีพ ทันตแพทย์มีผลต่อความสามารถในการแยกความเอียงระหว่างระนาบตาดํา ออกจากระนาบการสบฟันหน้าบน หรือไม่ ผลของการศึกษาจะเป็นแนวทางในการจัดทําระนาบของแท่นกัด วัสดุและวิธีการ ทําการเก็บข้อมูลจากนิสิตชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 6 อาจารย์และทันตแพทย์ ในคณะทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรวมทั้งสิ้น 150 คน โดยให้กลุ่มทดลองดูรูปภาพตัวอย่างซึ่งแต่ละรูปจะมีความเอียง ระหว่างระนาบของตาดํา กับเส้นที่ลากระหว่างมุมปากทั้งสองข้างต่างกัน รูปละ 10 วินาที และตอบคําถามในแต่ละ รูปว่า ระนาบของตาดําขนานกับเส้นที่ลากระหว่างมุมปากทั้งสองข้างหรือไม่ นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดย ใช้ one-way ANOVA และ two sample independent t-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา พบว่าความสามารถในการแยกความเอียงระหว่าง ระนาบของตาดํากับเส้นที่ลากระหว่างมุมปากทั้ง สองข้าง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญระหว่างกลุ่มการทดลอง สรุป ประสบการณ์และเพศ ไม่มีผลต่อการแยกความเอียงระหว่างระนาบตาดําและระนาบการสบฟันหน้าบน ใน บุคลากรวิชาชีพทันตแพทย์


ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นของภาพรังสีพานอรามิก ในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุรีรัตน์ ธนกิจยิ่งยง, วิเวียน รมณีอุทยาน, สุนทรา พันธ์มีเกียรติ May 2002

ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นของภาพรังสีพานอรามิก ในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุรีรัตน์ ธนกิจยิ่งยง, วิเวียน รมณีอุทยาน, สุนทรา พันธ์มีเกียรติ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาความถี่ของข้อผิดพลาดของภาพรังสีพานอรามิก และหาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอายุและเพศของผู้ป่วยกับชนิดของความผิดพลาดที่เกิดขึ้น วัสดุและวิธีการ ศึกษาย้อนหลังของภาพรังสีพานอรามิกที่มีคุณภาพผิดพลาดจํานวน 53 ภาพที่ถ่ายในคลินิกรังสีวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยมีทันตแพทย์ที่ มีประสบการณ์ทางรังสีวิทยาอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป 2 คนเป็นผู้ทําการประเมินภาพรังสี และบันทึกถึงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นผลการศึกษา พบว่าจํานวนภาพรังสีที่มีคุณภาพผิดพลาดจํานวน 53 ภาพคิดเป็นร้อยละ 2.01 ของภาพรังสีของ ผู้ป่วยทั้งหมดจํานวน 2642 ภาพ พบว่าข้อผิดพลาดจะเกิดจากการจัดตําแหน่งของผู้ป่วยโดยพบว่าผิดพลาดจาก การจัดตําแหน่งในแนวดิ่งมีมากที่สุดร้อยละ 22.64 รองลงมาคือข้อผิดพลาดในการจัดตําแหน่งในแนวหน้าหลังร้อย ละ 16.98 และความเข้มของภาพต่ําเกินไปร้อยละ 16.98 พบข้อผิดพลาดจะเกิดในกลุ่มอายุ 16-30 ปี ร้อยละ 41.51 มากที่สุด ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเรื่องเพศและอายุกับชนิดของข้อผิดพลาดนั้นจะไม่มีความสัมพันธ์กันแต่อย่างใดสรุป ข้อผิดพลาดของภาพรังสีพานอรามิกส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในขั้นตอนของการถ่ายภาพรังสีมากกว่าในขบวนการล้างฟิล์มและองค์ประกอบทางการถ่ายภาพรังสี และเพศกับอายุของผู้ป่วยซึ่งควรมีการศึกษาเรื่องนี้ต่อไปในกลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อหาวิธีการแก้ไขปรับปรุงไม่ให้เกิด ข้อผิดพลาดดังกล่าว


ผลของการสูญเสียความชื้นและการดูดซับน้ำต่อ ความแข็งแรงของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกเรซิน ชนิด บ่มตัวด้วยความร้อนและชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมี, ไพจิตร หัมพานนท์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล, กุสลี ทองปุสสะ, นันทยา สามยอด, พรทิพา อุ่นมี May 2002

ผลของการสูญเสียความชื้นและการดูดซับน้ำต่อ ความแข็งแรงของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกเรซิน ชนิด บ่มตัวด้วยความร้อนและชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมี, ไพจิตร หัมพานนท์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล, กุสลี ทองปุสสะ, นันทยา สามยอด, พรทิพา อุ่นมี

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการเปลี่ยนแปลงของน้ําหนักและเปรียบเทียบความแข็งแรงของวัสดุฐานฟันปลอม อะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน และชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมี เมื่อมีการสูญเสียความชื้นและการดูด ซับน้ําหลังจากสูญเสียความชื้นในระยะเวลาต่างๆ กัน วัสดุและวิธีการ ทําชิ้นทดสอบโดยใช้อะครีลิกเรซิน (Howmedica) ชนิดบ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมีและชนิดบ่มตัวด้วย ความร้อนขนาด 10x65x2.5 มิลลิเมตร ชนิดละ 50 ชิ้น นําชิ้นทดสอบชนิดละ 25 ขึ้นไปทดสอบการสูญเสีย ความชื้นด้วยเครื่องดูดสุญญากาศที่ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง 7 ชั่วโมง และ 14 ชั่วโมง ตามลําดับ และอีก 25 ชิ้น ไปทดสอบการดูดซับน้ําโดยนําไปดูดความชื้นก่อนเป็นเวลา 7 ชั่วโมงแล้วจึงนําไปแช่น้ําที่ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 6 ชั่วโมง 1 วัน และ 8 วัน ตามลําดับ แล้วนําไปหาอัตราการเปลี่ยนแปลงของน้ําหนักและหาค่ากําลังตัดขวางรวมทั้ง ค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักโดยเครื่องทดสอบสากล (Lloyd Universal testing machine รุ่น LR 10 K) จาก นั้นท่าการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ แมนวิทนีย์ ยู เทสต์ (Mann-whitney U test) และคริสคัลวัลลิส เทสต์ (Kruskal- Wallis test) ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติจากการสูญเสียความชื้นและการดูดซับน้ําของอะครีลิกเรซินทั้งสองชนิด พบว่า อะครีลิกเรซินชนิดนุ่มตัวด้วยปฏิกิริยาเคมีมีการเปลี่ยนแปลงน้ําหนักได้มากกว่าชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน และยังมีค่ากําลังตัดขวางรวมทั้งมีความสามารถในการดัดงอก่อนหักน้อยกว่าอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยความร้อนอย่างมีนัยสําคัญ การสูญเสียความชื้นของอะครีลิกเรซินทั้งสองชนิดจะทําให้ค่ากําลังตัดขวางเพิ่มขึ้นและมีค่า ความสามารถในการดัดงอก่อนหักลดลง แต่หากมีการสูญเสียความชื้นก่อนแล้วนําไปแช่น้ําเพื่อให้มีการดูดซับน้ำเข้าไป จะทําให้มีค่ากําลังตัดขวางลดลงและมีค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ อะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวปฏิกิริยาเคมีมีอัตราการดูดซับน้ํามากกว่าอะครีลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน


อัตราการหลั่งของน้ําลาย และค่าความเป็นกรดด่างของน้ำลายภายหลังการกระตุ้นด้วยการเคี้ยวหมากฝรั่ง, อารีย์ เจนกิตติวงศ์, ชลธิชา พิพิธพัฒนากร, นิศา จิตติวัฒนพงศ์, หทัยชนก เจริญพงศ์ May 2002

อัตราการหลั่งของน้ําลาย และค่าความเป็นกรดด่างของน้ำลายภายหลังการกระตุ้นด้วยการเคี้ยวหมากฝรั่ง, อารีย์ เจนกิตติวงศ์, ชลธิชา พิพิธพัฒนากร, นิศา จิตติวัฒนพงศ์, หทัยชนก เจริญพงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการหลั่งน้ําลายและค่าความเป็นกรดด่างของน้ําลายภายหลัง การกระตุ้นด้วยการเคี้ยวหมากฝรั่ง วัสดุและวิธีการ การทดสอบทําในกลุ่มอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี 16 คน โดยใช้หมากฝรั่งที่มีจําหน่ายในตลาด ประเทศไทย 5 ชนิด ได้แก่ หมากฝรั่งเคล็ท สละไซเตอร์ เดนทีน บลูเบอรี่ เดนทีน เมนโทลิปตัส ล็อตเต บลูเบอรี่ และล็อตเต้ คูลมินท์ บันทึกอัตราการหลั่งน้ําลายและค่าความเป็นกรดด่างของน้ําลายระยะที่ไม่ได้รับการกระตุ้น และระยะกระตุ้นจากการเคี้ยวหมากฝรั่งแต่ละครั้ง ผลการศึกษา อัตราการหลั่งน้ําลายภายหลังการกระตุ้นด้วยการเคี้ยวหมากฝรั่งทุกชนิดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.001) โดยอัตราการหลั่งน้ําลายเพิ่มขึ้นประมาณ 5-7 เท่า หมากฝรั่งเดนทีน บลูเบอรี่ กระตุ้นน้ําลายได้มาก ที่สุด รองลงมาคือหมากฝรั่ง เคล็ท สละไซเดอร์ หมากฝรั่งทุกชนิดเพิ่มความเป็นกรดของน้ําลายระยะกระตุ้นอย่าง มีนัยสําคัญ โดยหมากฝรั่งเดนทีน บลูเบอรี่ เพิ่มความเป็นกรดในน้ําลายมากที่สุด (21.1%) รองลงมาคือ หมากฝรั่ง เคล็ท สละไซเดอร์ (18.3%) และเพิ่มมากกว่าหมากฝรั่งอีก 3 ชนิดอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.001) สรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งมีประโยชน์ในการกระตุ้นการหลั่งน้ําลาย แต่หมากฝรั่งทุกชนิด ที่ใช้ในการทดสอบเพิ่มความเป็นกรดในน้ําลาย ดังนั้นจึงไม่เหมาะที่จะแนะนําให้ใช้หมากฝรั่งที่มีน้ําตาลกระตุ้น น้ําลายในผู้ป่วยที่มีอาการปากแห้ง


ผลของสารสกัดจากส่วนวุ้นและส่วนยางจาก ว่านหางจระเข้ต่อการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้างเส้นใย ที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อเหงือกและเซลล์สร้างเคอราตินในห้องปฏิบัติการ, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล, ดำรง ดำรงค์ศรี, นฤมล เจริญเวชธรรม, สุภีพันธุ์ บุณยรัตนสุนทร, สุรีรัตน์ อุดมกิจธนสาร Jan 2002

ผลของสารสกัดจากส่วนวุ้นและส่วนยางจาก ว่านหางจระเข้ต่อการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้างเส้นใย ที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อเหงือกและเซลล์สร้างเคอราตินในห้องปฏิบัติการ, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล, ดำรง ดำรงค์ศรี, นฤมล เจริญเวชธรรม, สุภีพันธุ์ บุณยรัตนสุนทร, สุรีรัตน์ อุดมกิจธนสาร

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากว่านหางจระเข้ที่มีต่อการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้างเส้นใยและเซลล์ สร้างเคอราติน CCL-25 วัสดุและวิธีการ เซลล์ถูกทดสอบด้วยสารสกัดจากส่วนวุ้นและส่วนยางที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีนต่าง ๆ กัน เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นจํานวนเซลล์จะถูกคํานวณโดยวิธีการย้อมเซลล์ด้วยสีเมทิลีนบลู และผลการทดลองจะถูกวิเคราะห์ทางสถิติแบบ One-way Analysis of Variance ผลการศึกษา สารสกัดจากส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีนตั้งแต่ 1-50 ไมโครกรัมต่อ มิลลิลิตร สามารถกระตุ้นการเพิ่มจํานวนเซลล์สร้างเส้นใยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติแต่ไม่มีผลต่อเซลล์สร้างเคอราติน ส่วนสารสกัดจากส่วนยางที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีน 20-400 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถกระตุ้นการเพิ่ม จํานวนเซลล์ของเซลล์สร้างเส้นใย ในขณะที่ความเข้มข้นของโปรตีนในสารสกัดจากส่วนยางของว่านหางจระเข้ที่ 20 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร กระตุ้นการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้างเคอราติน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุป สารสกัดจากส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีน 1-50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และสาร สกัดจากยางที่ระดับความเข้มข้น 20-400 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถกระตุ้นการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้างเส้นไย


การให้บริการทางทันตกรรมในคลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุวิมล ปิติพานิช, มลิวรรณ วงศ์สิทธาจารย์ Jan 2002

การให้บริการทางทันตกรรมในคลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุวิมล ปิติพานิช, มลิวรรณ วงศ์สิทธาจารย์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อสํารวจข้อมูลของผู้ป่วยที่มารับบริการทางทันตกรรมในคลินิกทันตกรรมบริการ คณะทันต แพทยศาสตร์ จุฬาฯ และนําไปกําหนดเป็นนโยบายและวางแผนการให้บริการที่เหมาะสม และสอดคล้องกับ ความต้องการของผู้ป่วย วัสดุและวิธีการ การศึกษาทําโดยสํารวจจากแฟ้มประวัติและรายงานบันทึกการรักษาของผู้ป่วย ในช่วง 6 เดือน ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2542 จํานวน 6,354 ราย นําข้อมูลการให้บริการทางทันตกรรมที่ได้มา คํานวณเป็นร้อยละ และเปรียบเทียบความแตกต่างของชนิดการให้บริการแบ่งตามช่วงอายุและเพศ ผลการทดลองและสรุป พบว่าการให้บริการทางทันตกรรมที่มากที่สุด คือ การอุดฟันคิดเป็นร้อยละ 40.84 การ ขูดหินน้ําลายและรักษาโรคปริทันต์คิดเป็นร้อยละ 23.17 และการบําบัดรักษาเร่งด่วนคิดเป็นร้อยละ 13.95 แสดงว่าผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับโรคฟันผุและโรคปริทันต์มากที่สุด และผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมาหาทันตแพทย์เมื่อปวด จึงควรรณรงค์เรื่องทันตกรรมป้องกันและให้ผู้ป่วยมารับการตรวจฟันทุก 6 เดือน


การติดตามและพัฒนาความรู้ทางการรักษา คลองรากฟันของทันตแพทย์ไทยกลุ่มหนึ่ง, วีระ เลิศจิราการ, ภควัตร ชาคริยานุโยค, วิชชา พิชิตพิเชษฐกุล, ชาญชัย สุนพคุณศรี Jan 2002

การติดตามและพัฒนาความรู้ทางการรักษา คลองรากฟันของทันตแพทย์ไทยกลุ่มหนึ่ง, วีระ เลิศจิราการ, ภควัตร ชาคริยานุโยค, วิชชา พิชิตพิเชษฐกุล, ชาญชัย สุนพคุณศรี

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา เปรียบเทียบขั้นตอน ในการรักษาคลองรากฟันของทันตแพทย์ไทยกลุ่มหนึ่งที่ปฏิบัติอยู่ ในปัจจุบัน กับขั้นตอนที่ปฏิบัติขณะที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนทันตแพทย์ วัสดุและวิธีการ ส่งแบบสอบถาม 600 ชุด ไปยังกลุ่มทันตแพทย์ไทยทั่วประเทศโดยการสุ่ม (Convenience Sampling) จากรายชื่อสมาชิกของทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และทําการเปรียบเทียบข้อมูลในสมัยเรียน กับในปัจจุบันที่ปฏิบัติในทางคลินิก ผลการศึกษา พบว่าทันตแพทย์ในประเทศไทยกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามมีวิธีการรักษาคลองรากฟันในปัจจุบัน แตกต่างจากวิธีการรักษาคลองรากฟันที่ใช้ปฏิบัติกันในขณะศึกษาอยู่ในโรงเรียนทันตแพทย์ในระดับปริญญาตรี อย่างมีนัยสําคัญ (P<0.001) ทั้งในขั้นตอนการล้างคลองรากฟันและการใส่ยาในคลองรากฟัน รวมทั้งพบว่ามี ทันตแพทย์ถึง 91.95% ซึ่งติดตามพัฒนาความรู้ใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา สรุป ทันตแพทย์ในประเทศไทยกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามมีการติดตามและพัฒนาความรู้อยู่ตลอดเวลา จากการฟัง บรรยายต่าง ๆ ซึ่งจัดโดยสมาคม ชมรม หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การจัดอบรมระยะสั้น มีความ สําคัญต่อการพัฒนาความรู้ของทันตแพทย์ในปัจจุบัน


การรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วย ซิสเท็มมิกสเคลอโรซิส : รายงานผู้ป่วย, สุวิมล ปิติพานิช Jan 2002

การรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วย ซิสเท็มมิกสเคลอโรซิส : รายงานผู้ป่วย, สุวิมล ปิติพานิช

Chulalongkorn University Dental Journal

ซิสเท็มมิกสเคลอโรซิส จัดเป็นความผิดปกติที่เกิดจากภูมิต้านเนื้อเยื่อตนเอง รอยโรคที่พบในความผิดปกติ นี้คือมีภาวะพังผืดขึ้นในหลายอวัยวะ เป็นผลให้ผู้ป่วยเกิดความบกพร่องของสภาพร่างกายและการทํางานของ อวัยวะที่เกิดความผิดปกติเหล่านั้น ซิสเท็มมิกสเคลอโรซิสที่เกิดขึ้นกับอวัยวะของช่องปากในผู้ป่วยมักทําให้เกิด ปัญหาเกี่ยวกับสุขอนามัยในช่องปาก แต่การรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยกระทําได้ยาก เนื่องจากช่องปากที่แคบ เล็กกว่าปกติ บทวิทยาการนี้เป็นการรายงานผู้ป่วยด้วยโรคซิสเท็มมิกสเคลอโรซิส ซึ่งผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับโรคฟันผุ โรคเหงือกอักเสบและการใส่ฟันปลอมที่ไม่พอดีกับช่องปาก ในบทวิทยาการจะได้กล่าวถึงลักษณะอาการของโรคใน ผู้ป่วย วิธีดําเนินการรักษาทางด้านทันตกรรม การทําความเข้าใจกับผู้ป่วยถึงปัญหาที่ผู้ป่วยประสบจากการเกิดโรค และความสําคัญของการรักษาอนามัยของช่องปาก นอกจากนี้ยังบรรยายถึงปริทัศน์วรรณกรรมของโรคซิสเท็มมิกสเคลอโรซิสอย่างละเอียดไว้ด้วย


The Distribution Of Severe Periodontitis In Urban (Bangkok) And Rural (Payao Province) High Risk To Stress Group Of Thai Population, Varaporn Buatongsri, Yupin Songpaisan, Naulchavee Hongprasong, Pratheep Phantumvanit, Nigel Clarke Jan 2002

The Distribution Of Severe Periodontitis In Urban (Bangkok) And Rural (Payao Province) High Risk To Stress Group Of Thai Population, Varaporn Buatongsri, Yupin Songpaisan, Naulchavee Hongprasong, Pratheep Phantumvanit, Nigel Clarke

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The purpose of this study was to compare the periodontal status of rural and urban Thai population who were at high risk in stress. Materials and Methods The cross-sectional study for severe periodontal destructive condition was carried out in over 35 years old Thai population. All first, second molars and central incisors of the total 1167 rural farmers from 4 villages in Payao province and 654 urban bank employees and secondary school teachers in Bangkok were examined using CPITN index. Only those having at least one tooth with CPITN score 4 received a full month examination and answered questionnaires …


การรักษาฟันเดนซ์อีแวกจิเนทัสในฟันกรามน้อย ซี่ที่ 2 ล่างขวา ซึ่งมีรอยโรคในช่องปากร่วมด้วย : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, ผ่องผุด หาญนรเศรษฐ์ Jan 2002

การรักษาฟันเดนซ์อีแวกจิเนทัสในฟันกรามน้อย ซี่ที่ 2 ล่างขวา ซึ่งมีรอยโรคในช่องปากร่วมด้วย : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, ผ่องผุด หาญนรเศรษฐ์

Chulalongkorn University Dental Journal

ฟันเดนซ์อีแวกจิเนทัสเป็นฟันที่มีความผิดปกติของผิวเคลือบฟัน ซึ่งมีลักษณะเป็นปุ่มนูนยื่นออกมาจาก ผิวเคลือบฟัน มักพบว่าเนื้อเยื่อในฟันตายเพราะปุ่มฟันหักทําให้ แบคทีเรียแทรกซึมเข้าไปได้ ก่อให้เกิดพยาธิสภาพ ที่ปลายรากฟันและอาจทําให้มีรอยโรคในช่องปากร่วมด้วย โดยทั่วไปมักจะเกิดในฟันที่ปลายรากฟันยังไม่ปิด ใน รายงานนี้แสดงผลการรักษาคลองรากฟันเดนซ์อีแวกจีเนทัสในฟันกรามน้อยที่ 2 ล่างขวาซึ่งมีรอยโรคในช่องปาก ร่วมด้วย โดยใช้ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ เพื่อกระตุ้นให้มีการเสริมสร้างการปิดที่ปลายรากฟัน และอุดคลองรากฟัน ด้วยวิธี Lateral condensation จากการติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน พบว่ามีการสร้างกระดูกที่บริเวณ ปลายรากฟัน ฟันใช้งานได้ดี ไม่มีรอยโรค หรือพยาธิสภาพเกิดขึ้นใหม่


รอยโรคไลเคนนอยด์ที่สัมพันธ์กับวัสดุอุดอมัลกัม : รายงานผู้ป่วย 2 ราย, มลิวรรณ วงศ์สิทธาจารย์, สุชาดา วัฒนบุรานนท์ Jan 2002

รอยโรคไลเคนนอยด์ที่สัมพันธ์กับวัสดุอุดอมัลกัม : รายงานผู้ป่วย 2 ราย, มลิวรรณ วงศ์สิทธาจารย์, สุชาดา วัฒนบุรานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วยหญิงวัยกลางคน 2 รายที่มีรอยโรคไลเคนนอยด์ที่บริเวณเยื่อเมือกกระพุ้งแก้มที่สัมผัสกับ วัสดุอุดอมัลกัม การเกิดของโรคเป็นแบบค่อยๆ ดําเนินไป รอยโรคมีลักษณะเป็นฝ้าสีขาวมีอาการปวดแสบปวด ร้อนเมื่อรับประทานอาหารรสจัด การรักษาด้วยการรื้อวัสดุอุดอมัลกัมออก แล้วเปลี่ยนเป็นวัสดุคอมโพสิตเรซิน พบว่ารอยโรคและอาการปวดแสบปวดร้อนหายไป จากการติดตามผลการรักษาเป็นระยะ ๆ เป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน ไม่พบรอยโรคปรากฏอีกเลย


ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อประสิทธิภาพของฟันปลอมบางส่วนถอดได้ข้างเดียวชนิดโครงโลหะ, ร่าโพ โรจนกิจ Jan 2002

ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อประสิทธิภาพของฟันปลอมบางส่วนถอดได้ข้างเดียวชนิดโครงโลหะ, ร่าโพ โรจนกิจ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบถึงความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อประสิทธิภาพของฟันปลอมบางส่วนถอดได้ข้างเดียวชนิด โครงโลหะ ที่ใช้ทดแทนฟันกรามที่ขาดหายไป 1-2 ซี่ ว่าช่วยในการบดเคี้ยวได้เพียงใด และเป็นข้อมูลประกอบการ ตัดสินใจสําหรับทันตแพทย์ที่จะเลือกทําฟันปลอมชนิดนี้ให้แก่ผู้ป่วย วัสดุและวิธีการ จัดส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ จํานวน 150 ชุด ให้กับผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ฟันปลอมบางส่วน ถอดได้ข้างเดียวชนิดโครงโลหะ ที่ผู้วิจัยเป็นผู้ทําให้ แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบ แบบสอบถาม ข้อมูลทางทันตกรรมของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพของ ฟันปลอมที่ใช้อยู่ และสรุปความเห็นในการเลือกชนิดของฟันปลอมในอนาคตของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยนํามา วิเคราะห์เป็นอัตราร้อยละ และหาความสัมพันธ์ของความพึงพอใจรวมทั้งหมดกับความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ ของ ชิ้นฟันปลอมทางสถิติด้วยเปียร์สัน ไค สแควร์ (Pearson Chi-square test) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (α = 0.05) ผลการศึกษา แบบสอบถามส่งกลับมาและสามารถนํามาวิเคราะห์ได้ 121 ชุด โดยระดับความรู้ของผู้ตอบแบบ สอบถามเฉลี่ยอยู่ในระดับปริญญาตรี มีอายุเฉลี่ย 50.5 ปี และรายได้เฉลี่ย 30,966 บาทต่อเดือน จํานวนชิ้นงาน ฟันปลอมบางส่วนถอดได้ข้างเดียวที่ผู้ตอบแบบสอบถามใส่อยู่มีทั้งหมด 166 ชิ้น โดยผู้ป่วยมีความพอใจประสิทธิภาพ ของฟันปลอมในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี และความพึงพอใจในภาพรวมทั้งหมดต่อชิ้นฟันปลอม มีความสัมพันธ์ กันกับความพอใจในด้านต่าง ๆ ของชิ้นฟันปลอมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (α = 0.05) เมื่อทดสอบด้วยเปียร์สัน ได สแควร์ และผู้ป่วยถึงร้อยละ 62 เลือกที่จะใส่ฟันปลอมแบบเดิมในกรณีที่เลือกทําฟันปลอมใหม่ในอนาคต สรุป ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อประสิทธิภาพของฟันปลอมบางส่วนถอดได้ข้างเดียวชนิดโครงโลหะอยู่ในเกณฑ์ดี และถึงแม้จะให้เลือกชนิดของฟันปลอมในอนาคต ผู้ป่วยส่วนมากยังตัดสินใจที่จะใช้ฟันปลอมชนิดนี้ต่อไป ดังนั้นจึงน่า จะเป็นทางเลือกหนึ่งของทันตแพทย์ที่จะทําฟันปลอมชนิดนี้ให้แก่ผู้ป่วยได้ในกรณีที่เหมาะสม