Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

2001

Articles 1 - 24 of 24

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของการปรับสภาพผิวต่อความแข็งแรงพันธะเฉือนของพอร์ซเลนที่มีลูไซท์ปริมาณสูงกับอะลูมินัสพอร์ซเลน, กาญจนา กาญจนทวีวัฒน์, บุญเลิศ กู้เกียรติตระกูล Sep 2001

ผลของการปรับสภาพผิวต่อความแข็งแรงพันธะเฉือนของพอร์ซเลนที่มีลูไซท์ปริมาณสูงกับอะลูมินัสพอร์ซเลน, กาญจนา กาญจนทวีวัฒน์, บุญเลิศ กู้เกียรติตระกูล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนของพอร์ซเลนที่มีลูไซท์ปริมาณสูง ยึดติดกับอะลูมินัสพอร์ซเลนด้วยเรซินซีเมนต์ ภายใต้การปรับสภาพผิวต่างกัน วัสดุและวิธีการ เตรียมแผ่นกลมพอร์ซเลนที่มีลูไซท์ปริมาณสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5.5 มม. หนา 1 มม. จํานวน 300 ชิ้น แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 60 ชิ้น มีการปรับสภาพดังนี้ คือ แบบ A) ไม่ปรับสภาพผิว เป็นกลุ่มควบคุม แบบ B) ขัดเรียบด้วยกระดาษซิลิกอนคาร์ไบด์ แบบ C) กรอด้วยเข็มกรอกากเพชรชนิดหยาบ แบบ D) กัดด้วย กรดไฮโดรฟลูออริก เป็นเวลา 5 นาที และแบบ E) กัดด้วยเจลเอพีเอฟ เป็นเวลา 10 นาที จากนั้นเตรียมแผ่นกลม อะลูมินัสพอร์ซเลน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 มม. หนา 1.5 มม. อย่างละ 300 ชิ้น แล้วแบ่งเป็น 6 กลุ่ม ๆ ละ 50 ชิ้น มีการปรับสภาพผิว ดังนี้ คือกลุ่ม 1) แบบ A กลุ่ม 2) แบบ B กลุ่ม 3) แบบ C กลุ่ม 4) เป่าทรายด้วยผง อะลูมิเนียมออกไซด์ เป็นเวลา 20 วินาที กลุ่ม 5) แบบ D และกลุ่ม 6) แบบ E จากนั้นนําแผ่นกลมอะลูมินัส พอร์ชเลนฝังในอะครีลิกเรซินใสเพื่อเป็นที่ยึดจับ แล้วยึดกับแผ่นกลมพอร์ชเลนที่มีลูไซท์ปริมาณสูงด้วยเรซินซีเมนต์ ภายใต้แรงกด 200 กรัม …


การยับยั้งขบวนการผลิตกรดแลกติกและ โพลีแซคคาไรด์ของเชื้อสเตร็พโตคอคคัสมิวแทนส์ โดยสารสกัดจากใบชา, เกรียงไกร คุ้มไพโรจน์, มาลี แซ่ก๊วย, วิธวรรณ แผ้วชนะ, อโนชา ชื่อสุวรรณ, อมรรัตน์ อิงคเศรษฐ์ Sep 2001

การยับยั้งขบวนการผลิตกรดแลกติกและ โพลีแซคคาไรด์ของเชื้อสเตร็พโตคอคคัสมิวแทนส์ โดยสารสกัดจากใบชา, เกรียงไกร คุ้มไพโรจน์, มาลี แซ่ก๊วย, วิธวรรณ แผ้วชนะ, อโนชา ชื่อสุวรรณ, อมรรัตน์ อิงคเศรษฐ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัถตุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากใบชาที่ความเข้มข้นต่างๆ ต่อการยับยั้งการสร้างโพลีแซคคาไรด์และกรด แลกติกของเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ สายพันธุ์ KPSK-2 ในหลอดทดลองเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม เพื่อนํา ข้อมูลนี้ไปเป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันโรคฟันผุ วัสดุและวิธีการ การทดลองแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดสอบเลี้ยงเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อทอด ซีเวต (Todd Hewitt) ที่เดิม 4% กลูโคส และมีสารสกัดจากใบชา (4.5 กรัม ในน้ํา 100 มิลลิลิตร) ความเข้มข้น 50.0, 33.3, 25.0, 20.0, 16.7 และ 14.2% โดยปริมาตร กลุ่มควบคุมเลี้ยงเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อทอด อีเวต ที่เติมน้ํากลั่นแทน สารสกัดจากใบชา นําไปบ่มที่ 37 องศาเซลเซียสใน 5% คาร์บอนไดออกไซด์เป็นเวลา 48 ชั่วโมง เก็บเชื้อโดยนํา ไปปั่นที่ 3,000 รอบต่อนาที นําส่วนใสมาตรวจหาปริมาณโพลีแซคคาไรด์และปริมาณกรดแลกติก ผลการศึกษา โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยอะโนวา (ANOVA) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% พบว่าสารสกัดจากใบชา ที่ความเข้มข้นต่างๆ สามารถยับยั้งการสร้างโพลีแซคคาไรด์และกรดแลกติกของแบคทีเรียได้อย่างมีนัยสําคัญ (p<0.05) ยกเว้นสารสกัดจากใบชาที่ความเข้มข้น 14.2% ที่ไม่สามารถยับยั้งการสร้างกรดแลกติกได้ แต่สารสกัดจากใบชาทุก ความเข้มข้นที่ได้ทําในการทดลองนี้ ยับยั้งการสร้างโพลีแซคคาไรด์ของแบคทีเรียได้อย่างไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนผลต่อการสร้างกรดแลกติกพบว่ามีความแตกต่างกันในทุกความเข้มข้นโดยเมื่อความเข้มข้นของสารสกัด เพิ่มขึ้น การสร้างกรดแลกติกจะค่อย ๆ ลดลง สรุป สารสกัดจากใบชาทีความเข้มข้นที่เหมาะสมสามารถยับยั้งการสร้างโพลีแซคคาไรด์และกรดแลกติกของแบคทีเรีย จากเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ในหลอดทดลองได้


วัสดุฉาบฐานชนิดนุ่ม และวัสดุปรับสภาพผิวเนื้อเยื่อ, อรพินท์ แก้วปลั่ง Sep 2001

วัสดุฉาบฐานชนิดนุ่ม และวัสดุปรับสภาพผิวเนื้อเยื่อ, อรพินท์ แก้วปลั่ง

Chulalongkorn University Dental Journal

ทันตแพทย์ได้มีการใช้วัสดุฉาบฐานชนิดนุ่มและวัสดุปรับสภาพผิวเนื้อเยื่อในงานทันตกรรมมาเป็นเวลานาน หลายทศวรรษ อาจกล่าวได้ว่าวัสดุเหล่านี้มีคุณสมบัติอ่อนนุ่ม คืนตัว และมีสภาพยืดหยุ่นที่ดี โดยจะก่อตัวเป็นชั้น กันกระแทกระหว่างฐานฟันปลอมอะคริลิกกับเนื้อเยื่อที่รองรับข้างใต้ โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งวัสดุนี้ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกเป็นวัสดุฉาบฐานชนิดนุ่มแบบชั่วคราวซึ่งรวมถึงวัสดุปรับสภาพผิวเนื้อเยื่อซึ่งโดยพื้นฐาน แล้วมักจะประกอบไปด้วยพอลิเอทิลเมทาคริเลต เอสเทอร์หอมและเอทิลแอลกอฮอล์ ในกลุ่มที่สองเป็นพวกวัสดุฉาบ ฐานชนิดนุ่มแบบกึ่งถาวรอันมีองค์ประกอบโดยพื้นฐานจําพวกซิลิโคนหรืออะคริลิกเรซิน ได้มีการศึกษาและพัฒนาถึงคุณสมบัติที่มีประโยชน์ของวัสดุนี้ในงานวิจัยหลายด้าน ในบทความนี้ประสงค์ที่จะกล่าวทบทวนถึงประวัติความ เป็นมา คุณสมบัติที่สําคัญ ข้อบ่งชี้ในการใช้ตลอดจนงานวิจัยในระยะนี้ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุกลุ่มนี้โดยเฉพาะเกี่ยวกับ ด้านการดูดซับและกระจายแรงสู่เนื้อเยื่อที่รองรับข้างใต้


ความต้องการของประชาชนที่มารับการรักษาของโรงพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุชาดา วัฒนบุรานนท์, ผ่องผุด หาญนรเศรษฐี Sep 2001

ความต้องการของประชาชนที่มารับการรักษาของโรงพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุชาดา วัฒนบุรานนท์, ผ่องผุด หาญนรเศรษฐี

Chulalongkorn University Dental Journal

ศึกษาความต้องการของประชาชนที่มารับการรักษาทางทันตกรรมของโรงพยาบาลคณะทันตแพทย ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนําผลที่ได้ไปใช้ในการวางแผนและพัฒนางานด้านบริการทางทันตกรรมของ คลินิกทันตกรรมบริการ โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้มีประสิทธิภาพต่อไป วัสดุและวิธีการ ศึกษาจากแฟ้มประวัติผู้ป่วย และจากใบคําบอกกล่าวสําคัญของประชาชนที่มารับการตรวจและ รักษาที่คลินิกทันตกรรมบริการ โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 จํานวน 11,533 ราย ซึ่งเป็นประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 13-60 ปีขึ้นไป ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มอายุช่วง 21-30 ปี เป็นกลุ่มอายุที่มารับการรักษาทางทันตกรรมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 28.2 และจํานวนประชาชนที่มารับการรักษาจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยประชาชนเพศหญิงจะมารับการรักษา มากกว่าเพศชาย เป็นอัตราส่วน 2:1 และอาชีพของประชาชนส่วนใหญ่ที่มารับการรักษา คือ อาชีพอิสระหรือเอกชน คิดเป็นร้อยละ 37.9 สําหรับความต้องการในการรักษาส่วนใหญ่คือ การอุดฟันคิดเป็นร้อยละ 26.0 การขูดหิน น้ําลายหรือรักษาโรคปริทันต์ คิดเป็นร้อยละ 24.7 ตามลําดับ สรุป ความต้องการในการรักษาทางทันตกรรมของประชาชนยังมีอยู่ ดังนั้นจึงควรให้การบริการรักษาทางทันตกรรม เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการบูรณะฟัน และการรักษาโรคเหงือก


การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ ผู้ช่วยทันตแพทย์และคนงานคลินิกทันตกรรม กองทันตสาธารณสุข สํานักอนามัยกรุงเทพมหานคร, กรกมล หลักศิลา Sep 2001

การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ ผู้ช่วยทันตแพทย์และคนงานคลินิกทันตกรรม กองทันตสาธารณสุข สํานักอนามัยกรุงเทพมหานคร, กรกมล หลักศิลา

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในคลินิกทันตกรรมของผู้ช่วยทันตแพทย์และคนงาน การจัดการ นี้ได้แก่ การแยกทิ้ง การเก็บรวบรวม การเคลื่อนย้าย การรับรู้ความเสี่ยงอันตรายที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติของผู้ช่วย และความมีเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์ที่จําเป็นต้องใช้ วัสดุและวิธีการ ใช้การสัมภาษณ์และการสังเกต ผู้ช่วยทันตแพทย์และคนงานคลินิกทันตกรรม 65 แห่ง กอง ทันตสาธารณสุข สํานักอนามัย กรุงเทพมหานคร จํานวน 130 คน เป็นผู้ช่วยทันตแพทย์และคนงานเท่ากันอย่างละ 65 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้น คําถามทางด้านประชากรศาสตร์ ประเภทของมูลฝอยติดเชื้อ และการ ปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ผลการศึกษา ผู้ช่วยทันตแพทย์และคนงานมีคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของมูลฝอยติดเชื้อร้อยละ 91.28 และ 88.08 คะแนนไม่มีความแตกต่างที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 กลุ่มศึกษาส่วนใหญ่แยกทิ้งมูลฝอยติดเชื้อ ชนิดไม่มีคมได้ถูกต้อง กลุ่มศึกษาส่วนน้อยแยกทิ้งมูลฝอยติดเชื้อมีคม การรวบรวมและการเคลื่อนย้ายมูลฝอยติด เชื้อไม่เหมาะสม สรุป แม้ว่าคะแนนความเข้าใจประเภทของมูลฝอยติดเชื้อของกลุ่มศึกษาค่อนข้างสูง แต่การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ยังไม่เหมาะสม ซึ่งจะทําให้เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติและสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาได้เสนอแนะแนวทางการจัดการ มูลฝอยติดเชื้อของคลินิกทันตกรรม 3 ด้าน คือ การอบรมให้ความรู้ผู้ปฏิบัติ การมีอุปกรณ์ที่เพียงพอและเหมาะสม มีการปรับปรุงแก้ไขและการนิเทศงานเพื่อให้สามารถดําเนินการจัดการมูลฝอยติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การให้ความสวยงามในฟันที่รักษาคลองรากฟัน, พรรณอุษา ตั้งงามสกุล, ปรารมภ์ ซาลิมี Sep 2001

การให้ความสวยงามในฟันที่รักษาคลองรากฟัน, พรรณอุษา ตั้งงามสกุล, ปรารมภ์ ซาลิมี

Chulalongkorn University Dental Journal

การเปลี่ยนสีของฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟันแล้วเป็นปัญหาด้านความสวยงามปัญหาหนึ่งโดย เฉพาะในฟันหน้า การเปลี่ยนสีนี้อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการด้วยกัน แต่ปัญหานี้สามารถป้องกันและแก้ไขได้ บทความนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมวิธีการและวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการบูรณะฟันที่รักษาคลองรากฟันเพื่อความ สวยงาม โดยพิจารณาจากหลักการและเหตุผลในการใช้ของแต่ละวิธี ได้แก่ การฟอกสีฟัน การบูรณะฟันเดือย รวม ทั้งวิธีการบูรณะครอบฟันเซรามิกร่วมกับการใช้เดือยและแกนฟันเซรามิก


การศึกษาความสัมพันธ์ของจุดอ้างอิงต่าง ๆบริเวณแนวกลางของแบบฟันบน กับแนวกลางฟันหน้าบน, พรทิพย์ ชิวชรัตน์, นิรมล ชำนาญนิธิอรรถ, ชัยศรี ธัญพิทยากุล, ธีรา ธรรมวาสี, ปิยะรัตน์ เฉลิมสุขสันต์ Sep 2001

การศึกษาความสัมพันธ์ของจุดอ้างอิงต่าง ๆบริเวณแนวกลางของแบบฟันบน กับแนวกลางฟันหน้าบน, พรทิพย์ ชิวชรัตน์, นิรมล ชำนาญนิธิอรรถ, ชัยศรี ธัญพิทยากุล, ธีรา ธรรมวาสี, ปิยะรัตน์ เฉลิมสุขสันต์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของจุดอ้างอิงต่าง ๆ บริเวณแนวกลางของแบบฟันบน กับแนวกลางฟัน หน้าบนในผู้ป่วยที่มีการเบี่ยงเบนของแนวกลางฟันหน้าบนไปจากแนวกลางใบหน้า วัสดุและวิธีการ ศึกษาในแบบฟันของผู้ป่วยที่มารับการตรวจที่ภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จํานวน 60 ราย ที่มีแนวกลางของฟันหน้าบนไม่ตรงกับแนวกลางของใบหน้า โดยวัด ระยะตั้งฉากจากจุดอ้างอิง 3 จุดที่อยู่บริเวณแนวกลางของแบบฟันบน ได้แก่ เนื้อยึดริมฝีปากบน จุดกึ่งกลางของ อินไซซีฟ แพพิลล่า และจุดกึ่งกลางของรูที่คู่ที่ 2 มายังเส้นสมมติแนวกลางของขากรรไกรบนที่ได้จากเส้นที่ลากผ่าน จุดกึ่งกลางของไฟเวียพาสาติใน กับจุดหน้าสุดบนมีเตียน พาลาดิน ราเฟ ก่อนที่จะเอียงขึ้นไปเป็นระนาบเอียงบน สันกระดูกเบ้าฟัน เปรียบเทียบกับระยะตั้งฉากจากแนวกลางฟันหน้าบน มายังแนวกลางของขากรรไกรบน ผลการศึกษา จากการวิเคราะห์ทางสถิติ โดยใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ที่ระดับนัยสําคัญ 0.01 พบว่าแนว กลางฟันหน้าบน มีความสัมพันธ์กับตําแหน่งของเนื้อยึดริมฝีปากบน และอินไซซีฟ แพพิลล่า แต่ไม่สัมพันธ์กับ ตําแหน่งของจุดกึ่งกลางของรูที่คู่ที่ 2 สรุป ในบรรดาจุดอ้างอิงบริเวณแนวกลางขากรรไกรบน ได้แก่ เนื้อยึดริมฝีปากบน จุดกึ่งกลางของอินไชซีฟ แพพิลล่า และจุดกึ่งกลางของรูที่คู่ที่ 2 ตําแหน่งจุดกึ่งกลางของรูที่คู่ที่ 2 เป็นตําแหน่งที่มีการเบี่ยงเบนตามแนวกลาง ฟันหน้าบนน้อยที่สุด จึงน่าจะเป็นจุดอ้างอิงที่สามารถนํามาใช้กําหนดแนวกลางขากรรไกรบนในการวิเคราะห์แบบฟันได้


ความยาวส่วนโค้งแนวฟันที่ต้องการสําหรับการปรับระดับโค้งสปี, พรทิพย์ ชิวชรัตน์, กรพินท์ มหาทุมะรัตน์, กัญญา หิรัญภาณุพงศ์, ทศพร ปิยะกุลวรวัฒน์, รุ่งอรุณ อภินันทน์ Sep 2001

ความยาวส่วนโค้งแนวฟันที่ต้องการสําหรับการปรับระดับโค้งสปี, พรทิพย์ ชิวชรัตน์, กรพินท์ มหาทุมะรัตน์, กัญญา หิรัญภาณุพงศ์, ทศพร ปิยะกุลวรวัฒน์, รุ่งอรุณ อภินันทน์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส่วนโค้งแนวฟันที่ต้องการกับความลึกของโค้งสปี ในการปรับ ลดระดับโค้งสปี วัสดุและวิธีการ กระทําโดยการปรับฟันล่างในเตนโตฟอร์มให้มีความลึกของโค้งสปีเพิ่มขึ้นจากระดับปกติทั้งหมด 11 ระดับ ตั้งแต่ 1.55 ถึง 6.95 มิลลิเมตร วัดความยาวส่วนโค้งแนวฟันที่ปรากฏจริงจากแบบจําลองศึกษาที่พิมพ์ จากเดนโตฟอร์มที่ปรับระดับความลึกของโค้งสปีแต่ละระดับ นํามาลบออกจากผลรวมของค่าความกว้างในแนว ใกล้กลางไกลกลางของฟันทุกซี่ในขากรรไกรล่าง ได้เป็นค่าความยาวส่วนโค้งแนวฟันที่ต้องการสําหรับความลึกของโค้งสปีแต่ละระดับ ผลการศึกษา พบความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส่วนโค้งแนวฟันที่ต้องการกับความลึกของโค้งสปีเป็นสมการเส้น ตรง Y = 0.820 X -1.376 สรุป ผลการศึกษานี้สามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์แบบจําลองศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวินิจฉัยและ การวางแผนการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน


ภาวะเลือดออกง่ายหยุดยากกับงานทันตกรรม, อำไพวรรณ จวนสัมฤทธิ์ May 2001

ภาวะเลือดออกง่ายหยุดยากกับงานทันตกรรม, อำไพวรรณ จวนสัมฤทธิ์

Chulalongkorn University Dental Journal

งานทันตกรรมในผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายหยุดยากต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างทันตแพทย์และแพทย์ผู้รักษา กลไกการห้ามเลือดที่ผิดปกติเกี่ยวกับหลอดเลือด เกล็ดเลือด และปัจจัยการแข็งตัวของเลือดก่อให้เกิดอาการแสดง ออกของภาวะเลือดออกง่ายที่แตกต่างกัน ดังนั้น การซักประวัติ ตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ เหมาะสม จะช่วยให้การวินิจฉัยสาเหตุภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก ซึ่งจะนํามาสู่การรักษาที่จําเพาะ รวมทั้งการให้ ส่วนประกอบของเลือดทดแทน การรักษาเฉพาะที่ด้วย dental splint และกาวไฟบริน ช่วยลดภาวะเลือดออกและลด การให้ส่วนประกอบของเลือดในผู้ป่วย อย่างไรก็ตามการไฟบรินชนิดสําเร็จรูปเป็นสินค้าจากต่างประเทศที่มีราคาแพง เมื่อเปรียบเทียบกับกาวไฟบรินที่เตรียมจากไครโอปริซิเตทผงและธร้อมบิน (100 ยูนิต/มล.) ดังนั้น dental splint และกาวไฟบริน เป็นการรักษาเฉพาะที่ในงานทันตกรรม ลดภาวะเลือดออก ลดการรับ ส่วนประกอบของเลือดในผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายหยุดยาก หรืออาจไม่ต้องใช้ส่วนประกอบของเลือดเลย


การสํารวจข้อมูลของผู้ป่วยในโครงการบริการ ทางทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุโดยไม่คิดมูลค่า เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนม์พรรษาครบ 6 รอบ, ปรารมภ์ ซาลิมี, สุภิดา อนุสสรนิติสาร, จริยา พรสุมาลี, พุฒิพร มงคลชาติ, วริศา เธียรธนู May 2001

การสํารวจข้อมูลของผู้ป่วยในโครงการบริการ ทางทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุโดยไม่คิดมูลค่า เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนม์พรรษาครบ 6 รอบ, ปรารมภ์ ซาลิมี, สุภิดา อนุสสรนิติสาร, จริยา พรสุมาลี, พุฒิพร มงคลชาติ, วริศา เธียรธนู

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลของผู้ป่วยสูงอายุในโครงการการบริการทางทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุโดยไม่คิดมูลค่าเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนม์พรรษาครบ 6 รอบ และนําไปเป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการจัดเตรียมการให้บริการทันตกรรมผู้สูงอายุของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัสดุและวิธีการ ท่าการเก็บข้อมูลโดยการสํารวจเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการฯ จํานวน 647 ราย ซึ่งมีอายุ ตั้งแต่ 60-88 ปี เกี่ยวกับ ประวัติทางการแพทย์ อาการสําคัญ สิ่งที่ตรวจพบทางคลินิก และการไปรับการรักษา ตามภาควิชาต่าง ๆ แล้วนําาข้อมูลมาวิเคราะห์ ผลการศึกษา จากผู้ป่วยที่สํารวจได้จํานวน 647 ราย (ขาย 300 ราย และหญิง 347 ราย) ผู้ป่วยช่วงอายุที่มารับ การรักษามากที่สุดคือ 60-64 ปี (ร้อยละ 41.0) ผู้ป่วยที่มารับการรักษาส่วนใหญ่ต้องการมาตรวจสุขภาพช่องปาก โดยไม่ระบุปัญหา (ร้อยละ 74.5) รองลงมาคือมีอาการเคี้ยวอาหารไม่สะดวกต้องการมาใส่ฟันปลอม (ร้อยละ 19.5) จากลักษณะที่ตรวจพบทางคลินิกพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคปริทันต์มากที่สุด (ร้อยละ 43.7) รองลงมาคือฟันผุและสันเหงือก ว่าง (ร้อยละ 34.0 เท่ากัน) จากประวัติทางการแพทย์พบว่าสองในสามของผู้ป่วยเป็นโรคทางระบบ (ร้อยละ 68.9) ผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด (ร้อยละ 21.6) รองลงมาคือ เบาหวาน และ โรคหัวใจ (ร้อยละ 9.9 และ 9.7 ตามลําดับ) และพบว่าผู้ป่วยไปรับการรักษาจากภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์มากที่สุด (ร้อยละ 76.5) รองลงมาคือภาควิชาทันตกรรมหัตถการและปริทันตวิทยา (ร้อยละ 53.3 และ 50.7 ตามลําดับ) สรุปผู้ป่วยสูงอายุในโครงการนี้ส่วนใหญ่ต้องการการรักษาเกี่ยวกับการใส่ฟันปลอม รักษาฟันผุและรักษาโรคปริทันต์ ตามลําดับ การให้การรักษาแก่ผู้สูงอายุควรให้ความสําคัญในการสอบถามเกี่ยวกับโรคประจําตัวทางระบบและเพื่อระมัดระวังในการให้การรักษา


การศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติทางกายภาพ ของจุฬารูทคะแนลซีลเลอร์ และ โพรโคซอลซีลเลอร์, สมไชย ลิ้มสมบัติอนันต์, วัชรี พีระวณิชกุล May 2001

การศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติทางกายภาพ ของจุฬารูทคะแนลซีลเลอร์ และ โพรโคซอลซีลเลอร์, สมไชย ลิ้มสมบัติอนันต์, วัชรี พีระวณิชกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบหาคุณสมบัติทางกายภาพที่สําคัญบางประการ ของจุฬารูทคะแนลซีลเลอร์ และเปรียบเทียบคุณสมบัติดังกล่าวกับโพรโคชอลซีลเลอร์ วัสดุและวิธีการ จุฬารูทคะแนลซีลเลอร์ ได้ถูกนํามาทดสอบหาคุณสมบัติทางกายภาพพื้นฐานที่สําคัญบางประการ อันได้แก่ ความข้น เวลาก่อตัว ความทนต่อแรงอัด ความหนาของฟิล์ม และ การละลายตัว โดยยึดถือวิธีการ ทดสอบตามมาตรฐานสากล ISO 6876 และ Revised ANSI/ADA Specification No.30 ผลการศึกษา คุณสมบัติทางกายภาพของจุฬารูทคะแนลซีลเลอร์ที่ได้จากการทดสอบ มีค่าเฉลี่ยดังนี้คือ ความข้น เท่ากับ 27.57 มม. เวลาก่อตัวเท่ากับ 49 ชั่วโมง 38 นาที ความทนต่อแรงอัด เท่ากับ 1.189 เมกกะปาสคาล ความหนาของฟิล์ม เท่ากับ 0.104 มม. และการละลายตัวในน้ํากลั่น เท่ากับ 7.57 % ในขณะที่โพรโคชอล ซีลเลอร์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 30.94 มม. 12 ชั่วโมง 33 นาที 5.998 เมกกะปาสคาล 0.148 มิลลิเมตร และ 2.53% ตามลําดับ ซึ่งค่าดังกล่าวในแต่ละคุณสมบัติของซีลเลอร์ทั้งสองชนิด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุป คุณสมบัติทางกายภาพของจุฬารูทคะแนลซีลเลอร์ เมื่อเปรียบเทียบกับโพรโคชอลซีลเลอร์ เป็นดังนี้คือ มี ความข้นมากกว่า เวลาก่อตัวนานกว่าประมาณสี่เท่า ความทนต่อแรงอัดน้อยกว่าประมาณห้าเท่า ความหนา ของฟิล์มน้อยกว่า และมีการละลายตัวในน้ํากลั่นมากกว่าประมาณสามเท่า


ระนาบการสบฟันของฟันหน้าบนเมื่อมองด้านหน้าตรงในนิสิตทันตแพทย์ไทยกลุ่มหนึ่ง, เจนวิทย์ เชาว์ปฏิภาณ, โฆสิต เพ็ญสุขใจ, ชุตินาฏ อินทกนก, สรรพัชญ์ นามะโน May 2001

ระนาบการสบฟันของฟันหน้าบนเมื่อมองด้านหน้าตรงในนิสิตทันตแพทย์ไทยกลุ่มหนึ่ง, เจนวิทย์ เชาว์ปฏิภาณ, โฆสิต เพ็ญสุขใจ, ชุตินาฏ อินทกนก, สรรพัชญ์ นามะโน

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ในงานทันตกรรมประดิษฐ์ การเรียงฟันหน้าบนควรจะเรียงให้มีระนาบการสบฟันของฟันหน้าบน (เมื่อ มองด้านหน้าตรง) ขนานกับเส้นระหว่างรูม่านตาทั้งสองข้าง แต่ในความเป็นจริงระนาบการสบฟันของฟันหน้าบน อาจไม่ขนานกับแนวเส้นดังกล่าวก็เป็นได้ ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงต้องการทราบความสัมพันธ์ของเส้นระหว่างรู ม่านตาทั้งสองข้างกับระนาบของการสบฟันหน้าในฟันธรรมชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการเรียงฟันหน้าบนในผู้ป่วย ฟันปลอมทั้งปากให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด วัสดุและวิธีการเก็บข้อมูลจากนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ไม่ได้จัดฟันโดยแบ่งเป็นชาย 16 คนเป็นหญิง 29 คน โดยใช้กล้องดิจิตอลถ่ายภาพเฉพาะใบหน้าด้านหน้าตรง ให้เห็นรูม่านตาทั้งสองข้างพร้อม กับระนาบฟันหน้าซึ่งได้มาจากการให้นิสิตกลุ่มตัวอย่างกัดไม้ส้ม จากนั้นจึงเก็บภาพถ่ายที่ได้ลงในคอมพิวเตอร์และ ทําการวัดมุมโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วจึงนําผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่ามุมที่เกิดจากการเบี่ยงเบนของเส้นที่ลากระหว่างรูม่านตาทั้งสองข้างจากระนาบแนวนอนและมุมที่เกิดจากการเบี่ยงเบนของระนาบการสบฟันจากระนาบแนวนอน ในกลุ่มนิสิตทันตแพทย์ไทยกลุ่มหนึ่งมีความ แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสําคัญ (P<0.05) สรุป เส้นที่ลากระหว่างรูม่านตาทั้งสองข้างของกลุ่มตัวอย่างไม่ขนานกับระนาบการสบฟันของฟันหน้าบนเมื่อมอง ด้านหน้าตรง


การเปรียบเทียบผลการระงับปวดของยา Ibuprofen และ Mefenamic Acid หลังผ่าตัดฟันคุด, วนิดา เตชาวัฒนวิศาล, วรรณวลี เจริญกุล, วลีรัตน์ ศุกรวรรณ, วัชรียา ทองรัตนาศิริ, วิธูวรรณ แผ้วชนะ, สมชาย เศรษฐศิริสมบัติ May 2001

การเปรียบเทียบผลการระงับปวดของยา Ibuprofen และ Mefenamic Acid หลังผ่าตัดฟันคุด, วนิดา เตชาวัฒนวิศาล, วรรณวลี เจริญกุล, วลีรัตน์ ศุกรวรรณ, วัชรียา ทองรัตนาศิริ, วิธูวรรณ แผ้วชนะ, สมชาย เศรษฐศิริสมบัติ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เปรียบเทียบผลการระงับปวดหลังผ่าตัดถอนฟันคุดของยาแก้ปวดประเภท NSAIDs 2 ชนิด คือ ibuprofen และ mefenamic acid และวิธีบริหารยาใน 2 ลักษณะ คือ รับประทานเป็นช่วงเวลาอย่างสม่ําเสมอหลัง การผ่าตัด และรับประทานเมื่อปวด วัสดุและวิธีการ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองจํานวน 40 ราย ที่เข้ารับ การผ่าตัดเพื่อถอนฟันคุด #38 หรือ 148 ชนิดที่ตัวฟันบางส่วนโผล่เหนือเหงือกโดยนิสิตชั้นปีที่ 5 และได้รับยา แก้ปวดในรูปแบบต่าง ๆ กันหลังการผ่าตัด โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน นัดผู้ป่วยกลับมาตรวจ 1 สัปดาห์ ภายหลังการผ่าตัดเพื่อตัดไหมและให้ตอบแบบสอบถามอาการปวดภายหลังผ่าตัด และนับจํานวนยาแก้ปวดที่เหลือแล้วนําข้อมูลที่ได้มาทําการเปรียบเทียบด้วยวิธีการทางสถิติ โดยใช้วิธี one-way ANOVA ผลการศึกษา ยา mefenamic acid และยา ibuprofen มีปริมาณยาที่เหลือเฉลี่ยไม่ต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ และเมื่อ เปรียบเทียบวิธีบริหารยาที่แตกต่างกันพบว่าวิธีการรับประทานยาทุก 4 ชั่วโมงของยาทั้ง 2 ชนิดจะเหลือปริมาณยาเฉลี่ยต่อคนมากกว่าการรับประทานยาเมื่อปวด สรุป แนะนําให้จ่ายยา ibuprofen โดยวิธีให้รับประทานทุก 6 ชั่วโมง หลังจากการผ่าตัดฟันคุดเนื่องจากยา ibuprofen มีผลไม่พึงประสงค์ของยาน้อยกว่าและมีราคาถูกกว่ายา mefenamic acid แต่ให้ผลในการระงับปวดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ


คอลลาเจนชนิดที่ I : การสร้างและการควบคุม, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล May 2001

คอลลาเจนชนิดที่ I : การสร้างและการควบคุม, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล

Chulalongkorn University Dental Journal

คอลลาเจนชนิดที่ I เป็นโปรตีนชนิดเส้นใยแบบไม่ละลาย ที่พบมากที่สุดในกระดูก เนื้อฟัน ผิวหนังแท้และ เอ็นกล้ามเนื้อ ในบทความปริทัศน์นี้ จะเน้นถึงกลไกการสร้างและการควบคุมคอลลาเจนชนิดที่ 1 ซึ่งประกอบไปด้วย กระบวนการถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อสร้างสายอาร์เอ็นเอนํารหัส การเคลื่อนย้ายสายอาร์เอ็นเอนรหัสจากนิวเคลียสไปสู่ไซโทพลาสซึม, การแปลสัญญาณของนิวคลีโอไทด์บนอาร์เอ็นเอนํารหัสไปเป็นสายคอลลาเจน และ การปรับปรุงสายคอลลาเจนเพื่อให้เหมาะสมกับการทํางาน การมีส่วนเกี่ยวข้องของนิวเคลียร์โปรตีน อาทิเช่น Spl, CAT binding protein (CBF), NF-I และ NP/NMP4 ในการควบคุมการถอดรหัสพันธุกรรม รวมทั้งการศึกษาที่นําไป สู่แนวความคิดที่เสนอว่าเซลล์ของแต่ละเนื้อเยื่อมีการสร้างและควบคุมคอลลาเจนชนิดที่ 1 ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ความรู้ที่ได้จึงอาจนํามาประยุกต์ใช้ในการป้องกันการเกิดโรคเช่น ภาวะเกิดพังผืด ภาวะกระดูกพรุน และโรคปริทันต์อักเสบ


ผลของการขัดแต่งที่มีต่อกําลังดัดขวาง ของเฟลด์สปาติกพอร์ซเลน, วรางคณา บุตรดี, กาญจนา กาญจนทวีวัฒน์ May 2001

ผลของการขัดแต่งที่มีต่อกําลังดัดขวาง ของเฟลด์สปาติกพอร์ซเลน, วรางคณา บุตรดี, กาญจนา กาญจนทวีวัฒน์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของการขัดแต่งวิธีต่าง ๆ ต่อกําลังตัดขวางของเฟลด์สปาติกพอร์ซเลน วัสดุและวิธีการ เตรียมแห่งพอร์ซเลนขนาด 2.0x1.5x25 มม. ตาม ASTM C 1161-90 จํานวน 135 ชิ้น เผาที่อุณหภูมิ 920 องศาเซลเซียส ภายใต้สุญญากาศ จากนั้นนํามาแบ่งด้วยการสุ่ม เป็น 9 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ชิ้น กลุ่มที่ 1 ไม่ได้ รับการขัดแต่ง เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 เคลือบผิว ที่อุณหภูมิ 910 องศาเซลเซียส ในอากาศ กลุ่มที่ 3-9 ได้รับ การปรับสภาพผิวให้ได้มาตรฐาน ก่อนรับการปรับผิววิธีอื่น โดยการขัดด้วยกระดาษซิลิกอนคาร์ไบด์ ในสภาวะที่เปียก กลุ่มที่ 4 กลุ่มเคลือบทับ ที่อุณหภูมิ 890 องศาเซลเซียส ในอากาศ กลุ่มที่ 5 กรอด้วยหัวกรอกากเพชร ขนาด 100 และ 40 ไมครอน ด้วยเครื่องกรอความเร็วสูง 120,000 รอบ/นาที โดยมีน้ําช่วยระบายความร้อน กลุ่มที่ 6-9 ขัด ด้วยเครื่องกรอความเร็วช้า 7,000 รอบ/นาที ในสภาวะแห้ง - กลุ่มที่ 6 ขัดด้วยหัวขัดยางซิลิโคนร่วมกับหัวขัดผ้า สักหลาดรูปแผ่นกลมฝังกากเพชรไว้ภายใน กลุ่มที่ 7 ขัดด้วยหัวขัดกระดาษทรายรูปแผ่นกลมร่วมกับหัวขัดผ้า สักหลาดรูปแผ่นกลมฝังกากเพชรไว้ภายใน กลุ่มที่ 8 ขัดด้วยหัวขัดยางซิลิโคนร่วมกับครีมกากเพชรขัดพอร์ซเลน และกลุ่มที่ 9 ขัดด้วยหัวขัดกระดาษทรายรูปแผ่นกลมร่วมกับครีมกากเพชรขัดพอร์ซเลน พอร์ซเลนในแต่ละกลุ่ม ไปวัดค่ากําลังตัดขวาง (MPa) ด้วยเครื่องทดสอบทั่วไปและเปรียบเทียบโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบ ทิศทางเดียว (one way ANOVA ที่ p ≤ 0.05) และการทดสอบทูกี …


ผลกระทบของการร่วมจ่ายในสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการต่อการใช้บริการ ทันตกรรมของผู้ป่วยในคลินิกนอกเวลา, ชาญชัย โห้สงวน, นิรมล ดีประเสริฐกุล, บุษกร สายสอน, เบญจวรรณ เลิศปันณะพงษ์ May 2001

ผลกระทบของการร่วมจ่ายในสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการต่อการใช้บริการ ทันตกรรมของผู้ป่วยในคลินิกนอกเวลา, ชาญชัย โห้สงวน, นิรมล ดีประเสริฐกุล, บุษกร สายสอน, เบญจวรรณ เลิศปันณะพงษ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบของการร่วมจ่ายในสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ต่อพฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรม ของผู้ป่วยในคลินิกทันตกรรมนอกเวลาราชการ วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยอายุระหว่าง 18-60 ปี ที่มาใช้บริการทันตกรรมในคลินิกบริการทันตกรรม พิเศษ โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างเดือนมกราคม-เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลผู้ป่วยจํานวน 468 ราย แบ่งเป็นกลุ่มข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 209 ราย และ กลุ่มอาชีพเอกชน 259 ราย ทําการวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรมระหว่างผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ผลการศึกษา อัตราการใช้บริการทันตกรรม รวมทั้งจํานวนค่าใช้จ่ายทางทันตกรรมในปี พ.ศ. 2541 เทียบกับปี พ.ศ. 2540 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งในกลุ่มข้าราชการและกลุ่มอาชีพเอกชน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วย กลุ่มข้าราชการใช้บริการทันตกรรมลดลงในประเภทการอุดฟัน (p = 0.045) และการขูดหินน้ําลาย (p = 0.023) และ ยังพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ป่วยในด้านผลกระทบของการร่วมจ่ายใน สวัสดิการรักษาพยาบาลต่อการใช้บริการทันตกรรม (p < 0.001) สรุป การร่วมจ่ายในสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ อาจมีส่วนส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรม ของผู้ป่วยกลุ่มข้าราชการในคลินิกบริการทันตกรรมพิเศษ


วิธีบูรณะฟันสั้น, สุวิทย์ ลิมป์ปัทมปาณี, อิศราวัลย์ บุญศิริ Jan 2001

วิธีบูรณะฟันสั้น, สุวิทย์ ลิมป์ปัทมปาณี, อิศราวัลย์ บุญศิริ

Chulalongkorn University Dental Journal

ฟันสึกอย่างรุนแรงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ตัวฟันสั้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ทันตแพทย์พบได้บ่อย การตัดสินใจ ในการวางแผนการรักษาและขั้นตอนการบูรณะค่อนข้างสลับซับซ้อน บทความนี้นําเสนอถึงสาเหตุที่ทําให้เกิดตัวฟัน สั้น ตําแหน่งที่เกิดในช่องปาก ระดับความรุนแรงของการสึกของฟันและปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการวางแผน การรักษา รวมทั้งแนวทางเลือกในการบูรณะฟันสั้นด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อการเพิ่มการยึดอยู่ของครอบฟันตัวอย่างเช่น การเพิ่มความยาวของตัวฟันด้วยการทําศัลย์ปริทันต์ การดึงฟันด้วยแรงทางทันตกรรมจัดฟันตลอดจนการเพิ่มมิติ ในแนวดิ่งใบหน้าด้วยการบูรณะฟันชนิดติดแน่นหรือชนิดถอดได้ และอธิบายถึงข้อพิจารณาการให้การบําบัดรักษาที่เหมาะสมในแต่ละราย


การประเมินทัศนคติของนิสิตนักศึกษาทันตแพทย์ไทยต่อผู้ป่วยสูงอายุ, ชาญชัย โห้สงวน Jan 2001

การประเมินทัศนคติของนิสิตนักศึกษาทันตแพทย์ไทยต่อผู้ป่วยสูงอายุ, ชาญชัย โห้สงวน

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินทัศนคติของนิสิตนักศึกษาทันตแพทย์ไทยต่อผู้ป่วยสูงอายุ และเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดมิติต่างๆ ของทัศนคติต่อผู้สูงอายุ วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตนักศึกษาทันตแพทย์จากคณะทันตแพทยศาสตร์ 4 สถาบัน แบ่งเป็นชั้นปีที่ 1 จํานวน 188 คน และชั้นปีที่ 6 จํานวน 138 คน ใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองเก็บข้อมูลทางด้านทัศนคติ ต่อผู้สูงอายุในมิติต่างๆ คือ ภาพลักษณ์ทั่วไปต่อผู้สูงอายุ ทัศนคติเชิงความชอบต่อผู้สูงอายุทั่วไป ทัศนคติต่อผู้ป่วย สูงอายุ และทัศนคติด้านความมุ่งมั่นก่อพฤติกรรม ใช้การวิเคราะห์ปัจจัยศึกษาคุณสมบัติของตัวชี้วัดทัศนคติ และเปรียบเทียบทัศนคติระหว่างกลุ่มนิสิตนักศึกษาทันตแพทย์ด้วยสถิตินอนพาราเมตริก ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างนิสิตนักศึกษาทันตแพทย์ไทยมีทัศนคติในเชิงบวกต่อผู้ป่วยสูงอายุ ทั้งทัศนคติเชิงความ ชอบและทัศนคติด้านความมุ่งมั่นต่อพฤติกรรม โดยนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 6 มีระดับทัศนคติเชิงความชอบต่อผู้ป่วย สูงอายุในระดับที่เป็นบวกมากกว่านิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 อย่างมีนัยสําคัญ (P<0.001) แต่มีระดับทัศนคติด้าน ความมุ่งมั่นก่อพฤติกรรมในระดับที่เป็นบวกน้อยกว่านิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 อย่างมีนัยสําคัญ (P = 0.03) สรุป นิสิตนักศึกษาทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์ทางคลินิกแสดงระดับทัศนคติต่อผู้ป่วยสูงอายุแตกต่างไปจากนิสิตนักศึกษาที่ยังไม่มีประสบการณ์ทางคลินิก


วัสดุบูรณะแบบเซรามิคทั้งซี่, เฉลิมพล ลี้ไวโรจน์ Jan 2001

วัสดุบูรณะแบบเซรามิคทั้งซี่, เฉลิมพล ลี้ไวโรจน์

Chulalongkorn University Dental Journal

ปัจจุบันพอร์ซเลนหรือเซรามิคได้ถูกพัฒนาให้มีความแข็งแรงพอที่จะนํามาใช้ในงานบูรณะฟันแบบ เซรามิคทั้ง อีกทั้งยังมีความสวยงามสูง สามารถเลียนแบบความเป็นธรรมชาติของฟันมนุษย์ได้ บทความนี้ได้ บรรยายถึงวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการพัฒนาพอร์ซเลนให้มีความแข็งแรงสูงพอที่จะรองรับแรงต่าง ๆ ในช่องปาก และ สรุปข้อบ่งใช้ของเซรามิคแต่ละระบบให้เหมาะสมกับงานทางทันตกรรมรวมทั้งการเลือกใช้ซีเมนต์ยึดครอบฟันเซรามิค เพื่อเป็นแนวทางสําหรับการปฏิบัติงานของทันตแพทย์


การศึกษาความต้านทานต่อการลอกออกเมื่อยึดซิลิโคน อิลาสโตเมอร์เข้ากับแผ่นโพลิยูรีเทนที่ขึ้นรูปจากโพลิยูรีเทนเหลว ด้วยการทาสารไพรเมอร์ 3 ชนิด, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล, จารุวรรณ จิรทองคำโชติ, นิรินทร์ รัตนภพ, สิริมา ลิ่มชัยชะนะ Jan 2001

การศึกษาความต้านทานต่อการลอกออกเมื่อยึดซิลิโคน อิลาสโตเมอร์เข้ากับแผ่นโพลิยูรีเทนที่ขึ้นรูปจากโพลิยูรีเทนเหลว ด้วยการทาสารไพรเมอร์ 3 ชนิด, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล, จารุวรรณ จิรทองคำโชติ, นิรินทร์ รัตนภพ, สิริมา ลิ่มชัยชะนะ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้านทานต่อการลอกออกเมื่อยึดซิลิโคน อิลาสโตเมอร์ เข้ากับแผ่นโพลียูรีเทนที่ขึ้นรูป จากโพลียูรีเทนเหลว ด้วยการทาสารไพรเมอร์ 3 ชนิด คือ 1205 เอส-2260 และเซ-4040 วัสดุและวิธีการ ขึ้นรูปแผ่นโพลียูรีเทนจากโพลียูรีเทนเหลวโดยใช้เบ้าหล่อยิปซัมเป็นแม่แบบ แบ่งการทดสอบออก เป็น 4 กลุ่มๆ ละ 30 ชิ้น โดย 3 กลุ่มแรก ทาไพรเมอร์ แต่ละชนิดได้แก่ ไพรเมอร์ 1205 เอส-226 และ เอ-4040 ตามลําดับ และกลุ่มที่เหลือเป็นกลุ่มควบคุม อัดทับแผ่นโพลียูรีเทนของแต่ละกลุ่มด้วยซิลิโคน อิลาสโตเมอร์ ชนิด ไตรอะซีทอกซีไซเลน แล้วตัดขึ้นทดสอบให้มีขนาดตาม เอเอสทีเอ็ม ดี 1876-72 และทดสอบค่าแรงต้านทานต่อ การลอกออก โดยใช้เครื่องวัดลอยด์ รุ่น แอลอาร์ 10 เค ตามข้อกําหนด เอเอสทีเอ็ม ดี 1876-72 ผลการศึกษา พบว่าแผ่นโพลียูรีเทนที่ทาด้วยไพรเมอร์ เอส-2260 เอ-4040 และกลุ่มควบคุมไม่เกิดการยึดติดระหว่าง แผ่นโพลียูรีเทนกับซิลิโคน อิลาสโตเมอร์ ส่วนในกลุ่มที่ทาด้วยไพรเมอร์ 1205 มีค่าของแรงยึดระหว่างโพลียูรีเทน กับซิลิโคนสูงจนเกิดการฉีกขาดในเนื้อซิลิโคน อิลาสโตเมอร์ สรุป ไพรเมอร์ 1205 สามารถใช้เป็นสารยึดแผ่นโพลียูรีเทนที่ขึ้นจากโพลียูรีเทนเหลวให้ติดกับซิลิโคน อิลาสโตเมอร์ ชนิดไตรอะซีทอกซิไซเลน เพื่อประโยชน์ในการประดิษฐ์อวัยวะเทียมได้


ความชุกของโรคฟันผุในเด็กอายุ 2-12 ปี ที่มารับการรักษาที่คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2537-2542, วัชราภรณ์ ทัศจันทร์, ปริยกมล ถาวรนันท์ Jan 2001

ความชุกของโรคฟันผุในเด็กอายุ 2-12 ปี ที่มารับการรักษาที่คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2537-2542, วัชราภรณ์ ทัศจันทร์, ปริยกมล ถาวรนันท์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดระหว่างฟันน้ํานมและฟันถาวร กับอายุและเพศของเด็กที่มารับการรักษาที่ภาควิชาทันตกรรมสําหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย ในช่วงปี พ.ศ. 2537-2542 และนํามาเปรียบเทียบกับการศึกษาในปี 2536 วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาย้อนหลังโดยบันทึกค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดของเด็กอายุ 2-12 ปี จํานวน 1,650 คน ที่เข้ามารับการตรวจทางคลินิก และได้รับการถ่ายภาพรังสีชนิดไบท์วิ่งที่ภาควิชาทันตกรรมสําหรับเด็ก คณะทันต แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงปี พ.ศ. 2537-2542 แล้วนําค่าเฉลี่ยที่ได้ไปวิเคราะห์โดยใช้สถิติชนิด ที-เทสต์ ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดของฟันน้ํานมเป็นซี่ คน และด้าน/คน ของเด็กอายุ 2-6 ปี ในช่วงปี พ.ศ. 2537- 2542 ลดลงจาก 7.93 เป็น 6.38 คน และ 19.53 เป็น 15.53 ด้าน/คน ยกเว้นค่าเฉลี่ยฟันผุถอนชุดเป็นด้าน/คน ในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งมีค่าสูงขึ้น ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดของฟันถาวรเป็น คน และด้าน/คน ของเด็กอายุ 7-12 ปี ใน ช่วงปี พ.ศ. 2537-2542 ลดลงจาก 3.26 เป็น 2.54 คน และ 5.55 เป็น 3.96 ด้าน/คน เมื่อนํามาเปรียบเทียบ กับผลการศึกษาในปี พ.ศ. 2536 พบว่าค่าเฉลี่ยเหล่านี้มีค่าสูงขึ้นยกเว้นค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดของฟันน้ำนมเป็นซี่ คน ในปี พ.ศ. 2542 และค่าเฉลี่ยของฟันถาวรในปี พ.ศ. 2540 และ 2542 ความแตกต่างระหว่างเพศไม่มีความสัมพันธ์ กับค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดของฟันน้ํานมและฟันถาวร อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p>0.05) ยกเว้นค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุต ของฟันน้ํานมเป็นคน ในปี พ.ศ. 2538 และ …


Different Surface Topography Of Dental Implant, Viritpon Srimaneepong Jan 2001

Different Surface Topography Of Dental Implant, Viritpon Srimaneepong

Chulalongkorn University Dental Journal

In order to achieve the osseointegration, the surface of endosseous is considered as one factor determining the formation of bone-implant interface. Commercially pure (Cp) titanium implant has been widely to restore the missing teeth, however, nowadays there are many different surface treated implants in dentistry. They have shown the various clinical success and failure rates. Although the high success rate of using Cp machined titanium umplant is well documented, the rough surface implant has also been shown to have a crucial role on the osseointegration. Rough surface can be created by coating with hydroxyapatite, titanium or by removing titanium surface …


การกระตุ้นการทํางานของ Mmp-2 โดยสารหลังจาก แบคทีเรียที่เพาะเลี้ยงจากร่องลึกปริทันต์, เกษรา ปัทมพันธุ์, ธนธร ทั่งทอง, ธนภูมิ โอสถานนท์, วรภัทร หลิ่วจุลัสจรรย์, จินตกร คูวัฒนสุชาติ, ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ, ประสิทธิ์ ภวสันต์ Jan 2001

การกระตุ้นการทํางานของ Mmp-2 โดยสารหลังจาก แบคทีเรียที่เพาะเลี้ยงจากร่องลึกปริทันต์, เกษรา ปัทมพันธุ์, ธนธร ทั่งทอง, ธนภูมิ โอสถานนท์, วรภัทร หลิ่วจุลัสจรรย์, จินตกร คูวัฒนสุชาติ, ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ, ประสิทธิ์ ภวสันต์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การทดลองครั้งนี้ต้องการศึกษาผลของสารหลังจากแบคทีเรียที่เพาะเลี้ยงได้จากร่องลึกปริทันต์ของผู้ป่วย ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน ที่มีต่อการกระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ MMP-2 จากเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อเหงือก ของมนุษย์ วัสดุและวิธีการ แบคทีเรียจากร่องลึกปริทันต์ของผู้ป่วยถูกเพาะเลี้ยงในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนเป็นเวลา 5 วัน สาร หลังจากแบคทีเรียทั้งที่ผ่านและไม่ได้ผ่านการต้ม ถูกนําไปกระตุ้นเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อเหงือกของมนุษย์เป็น เวลา 48 ชั่วโมงในสภาวะที่ไม่มีซีรัม ระดับความเป็นพิษต่อเซลล์จะวัดด้วยเทคนิค MTT assay ส่วนการกระตุ้น การทํางานของเอนไซม์จะวัดโดยเทคนิค Zymography ในอีกการทดลองหนึ่ง การกระตุ้นเซลล์ด้วยสารหลังจาก แบคทีเรียจะทําในสภาวะที่มีหรือไม่มี actinomycin D และ cycloheximide เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ผลการศึกษา สารหลังจากแบคทีเรียในระดับที่ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ ทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านการต้ม สามารถกระตุ้น การทํางานของ MMP-2 ผลของการกระตุ้นจะแปรผันตามความเข้มข้นของสารหลั่งที่ใช้ ผลของสารหลั่งในการกระตุ้น MMP-2 จะถูกยับยั้งได้ด้วย cycloheximide แต่ไม่ยับยั้งด้วย actinomycin D สรุป สารหลังจากแบคทีเรียจากร่องลึกปริทันต์ของผู้ป่วย สามารถกระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ MMP-2 จากเซลล์ เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อเหงือกของมนุษย์ โดยการกระตุ้นนี้ไม่ต้องการการสร้าง mRNA ใหม่แต่ต้องการการสร้างโปรตีนใหม่


ผลของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่ตกค้าง ต่อการรั่วซึมปลายราก, คุณเมตตจิตต์ นวจินดา, พีรยา ภูอภิชาติดํารง Jan 2001

ผลของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่ตกค้าง ต่อการรั่วซึมปลายราก, คุณเมตตจิตต์ นวจินดา, พีรยา ภูอภิชาติดํารง

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่ตกค้างในคลองรากฟัน ที่มีต่อการเกิดการรั่วซึมที่บริเวณ ปลายรากฟัน ภายหลังการขุดคลองรากฟันนาน 30 และ 40 วัน วัสดุและวิธีการ การศึกษานี้ได้ทําการทดสอบการรั่วซึมด้วยการใช้สี และนํามาผ่านขั้นตอนการทําฟันใสเพื่อวัด ผลในห้องปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างเป็นฟันถอนจากคนที่มีคลองรากฟันเดียว รากตรง จํานวน 60 ซี่ ขยายคลองราก ฟันถึงเครื่องมือขยายขนาด 40 จากนั้นทําการขยายโดยวิธีสเตปแบคถึงเครื่องมือขยายขนาด 60 ได้มีการแบ่งกลุ่ม ตัวอย่างเป็น 2 กลุ่มแบบสุ่ม คือ กลุ่ม 1 เป็นกลุ่มทดลองที่ใช้แคลเซียมไฮดรอกไซด์ใส่ในคลองรากฟัน และแบ่งเป็น อีก 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่ม A (15 ) ภายหลังการขุดคลองรากฟันเก็บฟันไว้นาน 30 วัน กลุ่ม C (15 ) ภายหลัง การอุดคลองรากฟันเก็บฟันไว้นาน 60 วัน กลุ่ม II เป็นกลุ่มควบคุมที่มีการแบ่งเป็นอีก 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่ม B (15 ) ภายหลังการอุดคลองรากฟันเก็บฟันไว้นาน 30 วัน กลุ่ม D (15 ) ภายหลังการขุดคลองรากฟันไว้นาน 60 วัน แล้วน้าฟันมาทดสอบการรั่วซึมบริเวณปลายรากฟันด้วยการซึมของสีอินเดียนอิงค์ แล้วนํามาผ่านขั้นตอนการ ทําฟันใส วัดระยะการซึมสีเป็นแบบเชิงเส้นผ่านกล้องสเตอริโอนําข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ระหว่างกลุ่มที่ใช้แคลเซียมไฮดรอกไซด์และกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ (p>0.01) ทั้งในกรณีที่ทดสอบการรั่วซึมภายหลังการขุดคลองรากฟันแล้วนาน 30 วัน และ 60 วัน สรุป การใช้แคลเซียมไฮดรอกไซด์ใส่ในคลองรากฟัน ไม่มีผลต่อการรั่วซึมที่บริเวณปลายราก หลังจากขุดคลองราก พันนาน 30 และ 60 วัน