Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 27 of 27

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ขนาดของฟันหลัง ความกว้าง และความลึกของ เพดานปาก/ขากรรไกรล่าง ในคนไทสี่กลุ่ม : การศึกษาเบื้องต้น, สุนทร ระพิสุวรรณ, ชัยวัฒน์ ปิ่นน้อย Sep 1997

ขนาดของฟันหลัง ความกว้าง และความลึกของ เพดานปาก/ขากรรไกรล่าง ในคนไทสี่กลุ่ม : การศึกษาเบื้องต้น, สุนทร ระพิสุวรรณ, ชัยวัฒน์ ปิ่นน้อย

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ของการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบ (1) ขนาดของฟันหลัง (2) ความกว้างและความลึกของเพดาน ปากและขากรรไกรล่าง ของคนไทสี่เชื้อสาย ได้แก่ ผู้ไท มลายู เขมร และจีน วัสดุและวิธีการ ประชากรศึกษาได้แก่ คนไท 90 คน จากสี่เชื้อสาย ได้แก่ มลายู 19 คน เขมร 25 คน ผู้ไท 25 คน และ จีน 21 คน มีการสบฟันปกติและได้รับการสุ่มตัวอย่างมาแล้วดําเนินการพิมพ์ปากด้วยผงพิมพ์ปากและเทปูน ชนิดแข็งและวัดแบบฟันด้วยดีไวเดอร์ชนิดวัดได้ละเอียด 0.1 มม. บริเวณความกว้างและความหนาของฟัน รวมทั้งความ กว้างและความลึกของขากรรไกรบนและล่าง ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยขนาดของฟันหลังคนไทเชื้อสายผู้ไทจะมีความกว้างและความหนาน้อยกว่าของกลุ่มคนไท เชื้อสายเขมรและมลายูอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติแต่เมื่อเทียบกับกลุ่มจีนแล้วแม้จะมีขนาดเล็กกว่าแต่ไม่แตกต่างกัน ทางสถิติ ขณะเดียวกันความลึกของเพดานปากของคนไทจะสั้นกว่าของคนเขมรและมลายูอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และความกว้างของเพดานปากและขากรรไกรล่างตรงตําแหน่งฟันซี่ที่ห้าและหกในคนผู้ไทจะขยายมากกว่ากลุ่มอื่น อย่างเห็นได้ชัด สรุป ขนาดของฟันหลังคนไทเชื้อสายผู้ไทจะมีขนาดเล็กกว่าฟันของคนไทเชื้อสายเขมร มลายู และจีน ทํานองเดียวกัน ความลึกของเพดานปากก็จะสั้นกว่าด้วย แต่ความกว้างของเพดานปากและขากรรไกรบริเวณฟันกรามน้อยซี่ที่สอง และฟันกรามซี่แรกจะมีเปอร์เซ็นต์การขยายมากกว่า ทําให้รูปเพดานปากของผู้ไทจะเป็นรูปเกือกม้าค่อนข้างชัดเจน


ผลของเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์ต่อเซลล์สร้าง เส้นใยจากเหงือกและเอ็นยึดปริทันต์, ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ, ประสิทธิ์ ภวสันต์ Sep 1997

ผลของเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์ต่อเซลล์สร้าง เส้นใยจากเหงือกและเอ็นยึดปริทันต์, ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ, ประสิทธิ์ ภวสันต์

Chulalongkorn University Dental Journal

เราได้ศึกษาถึงผลของเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์ที่มีต่อเซลล์เพาะเลี้ยงจากเหงือกและจากเอ็นยึดปริทันต์ ผลจากการทดลองพบว่าเซลล์ทั้งสองชนิดสามารถตอบสนองต่อเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบของโปรตีนที่เซลล์สร้างขึ้น เมื่อวิเคราะห์ด้วยเทคนิคอิเล็กโตรโฟเรซิส เซลล์ที่สัมผัสกับเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์จะสร้างโปรตีนใหม่ที่มีน้ําหนักโมเลกุลราว 52 - 55 กิโลดาลตัน ซึ่งไม่พบในกลุ่มควบคุม และยังพบการสร้างโปรตีนที่มีน้ำหนักโมเลกุลมากกว่า 200 กิโลดาลตันเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนด้วย เมื่อทําการศึกษาเพิ่มเติมด้วยเทคนิคเวสเทอร์นอนาไลซิสพบว่า หนึ่งในโปรตีนที่เซลล์สร้างเพิ่มขึ้นคือ ไฟโบรเนกทิน การเพิ่มขึ้นของโปรตีนทั้งสองชนิดนี้สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านซึ่งแสดงว่าเซลล์ที่เลี้ยงบนเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์จะมีการสะสมของเมทริกซ์นอกเซลล์เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าเซลล์เพาะเลี้ยงสามารถตอบรับต่อ สัญญาณจากไฮดรอกซีอาปาไทต์ และตอบสนองโดยการเพิ่มการสร้างไฟโบรเนกทินเพื่อช่วยในการยึดเกาะของเซลล์กับเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์


ความรู้สึกกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการ ทันตกรรมของคนกรุงเทพฯ เฉพาะกลุ่ม, สุนทร ระพิสุวรรณ, ภฑิตา ภูริเดช, ศุลีพร ธีรเจตกูล Sep 1997

ความรู้สึกกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการ ทันตกรรมของคนกรุงเทพฯ เฉพาะกลุ่ม, สุนทร ระพิสุวรรณ, ภฑิตา ภูริเดช, ศุลีพร ธีรเจตกูล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. ต้องการศึกษาระดับความกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการทันตกรรมของคนไทย กลุ่มที่มารับบริการทันตกรรมที่คลินิกนอกเวลาของคณะทันแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. ศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกกลัวและกังวลใจ วัสดุและวิธีการ ประชากรศึกษาที่นํามาวิเคราะห์มีจํานวน 650 คน มีอายุตั้งแต่ 15 ปี จนถึง 76 ปี ซึ่งได้มาใช้ บริการทันตกรรมที่คลินิกนอกเวลาและถูกสุ่มอย่างเป็นระบบ ได้รับการแจกแบบสอบถามที่ประกอบด้วยคําถามด้านประชากรศาสตร์และคําถามของ The Corah's Dental Anxiety Scale ผลการศึกษา พบว่า 10.6 เปอร์เซ็นต์ของประชากรศึกษาไม่แสดงความกลัวและกังวลใจต่อการมาใช้บริการทันตกรรม, 30.7 เปอร์เซ็นต์ กลัวปานกลาง และ 8.8 เปอร์เซ็นต์ กลัวมากจนถึงมากที่สุด ค่าเฉลี่ยของคะแนนความกลัว และ กังวลใจต่อการใช้บริการทันตกรรม (DAS) เท่ากับ 8.30 13.24 เพศหญิงมีความกลัวและกังวลใจมากกว่าเพศ ชาย คนหนุ่มสาวและวัยรุ่นมีความกลัวมากกว่าผู้สูงอายุ ความเจ็บปวดจากการได้เคยใช้บริการทันตกรรมครั้งแรก จะมีผลต่อความรู้สึกกลัวและกังวลใจ (p<0.001) สรุป 1. ระดับความกลัวและกังวลใจของประชากรศึกษากลุ่มนี้เท่ากับ 8.3043.24 2. อายุ, เพศ,ประสบการณ์ความเจ็บปวดจากการรับบริการทันตกรรมครั้งแรกมีผลต่อความกลัวและกังวลใจ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ


การเลือกสีฟันโดยใช้แหล่งกําเนิดแสงชนิดต่าง ๆ, สุภิดา อนุสสรนิติสาร, กสิน ลิมปิสุต, สมผล วชิรยนเสถียร Sep 1997

การเลือกสีฟันโดยใช้แหล่งกําเนิดแสงชนิดต่าง ๆ, สุภิดา อนุสสรนิติสาร, กสิน ลิมปิสุต, สมผล วชิรยนเสถียร

Chulalongkorn University Dental Journal

การใช้แสงที่ได้มาจากแหล่งกําเนิดแสงชนิดต่าง ๆ กันอาจทําให้ได้ผลการเลือกสีฟันที่แตกต่างกัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแสงจากแหล่งกําเนิดแสงชนิดต่าง ๆ วัตถุประสงค์ ได้แก่ แสงธรรมชาติเวลากลางวัน แสงจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ และแสงจากหลอดไฟเทียบสีฟัน เพื่อดูว่าแหล่ง กําเนิดแสงชนิดใดเหมาะที่จะใช้เลือกสีฟันสําหรับคลินิกทันตกรรม นอกจากนี้ยังศึกษาถึงการรับรู้เกี่ยวกับสีฟันของ นิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 3 ซึ่งเป็นชายหญิงอยู่ในช่วงอายุ 19-21 ปี วิธีการศึกษา การทดสอบทําโดยเลือกนิสิตจํานวน 50 คน จัดเป็นคู่ และให้ในแต่ละคู่สลับกันทําการเทียบสีฟัน โดยใช้แผงเทียบสีฟันจํานวน 2 ชุด คือชุดที่ใช้ทดสอบและชุดที่ใช้เป็นตัวเทียบ ทําการเทียบสีฟันภายใต้แสงจากแหล่ง กําเนิดแสงชนิดต่าง ๆ ได้แก่ แสงธรรมชาติเวลากลางวัน แสงฟลูออเรสเซนต์ และแสงจากหลอดไฟเทียบสีฟันบันทึกผล การเทียบสีฟันของนิสิตแต่ละคน จากนั้นนํามาให้คะแนนและรวบรวมคะแนนเพื่อนํามาวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีสถิติชนิด แพร์ที่เทสต์ ผลการทดลองและสรุป ผลการทดสอบปรากฏว่าที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 แสงฟลูออเรสเซนต์ให้ผลการเทียบสีฟัน ไม่แตกต่างกับแสงธรรมชาติ แต่แสงจากหลอดไฟเทียบสีฟันให้ผลในการเทียบสีฟันแตกต่างกับแสงธรรมชาติ และแสงฟลูออเรสเซนต์ให้ผลในการเทียบสีฟันแตกต่างกับแสงจากหลอดไฟเทียบสีฟัน ส่วนประสิทธิภาพการรับรู้สีฟันของ นิสิต ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง (ร้อยละ 50-70) ไม่ว่าจะทําการเทียบสีฟันภายใต้แหล่งกําเนิดแสงชนิดใด แต่ถ้าใช้แสงไฟประดิษฐ์แทนแสงธรรมชาติแล้วพบว่า นิสิตกลุ่มที่มีการรับรู้สีฟันต่ําจะมีการรับรู้สีฟันดีขึ้น ส่วนนิสิต กลุ่มที่มีการรับรู้สีฟันอยู่ในขั้นที่จะมีการรับรู้สีฟันต่ําลงเมื่อใช้แสงไฟประดิษฐ์แทนแสงธรรมชาติ ในการเลือกสีฟัน


การกระตุ้นการสร้างเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเทสในเซลล์สร้างเส้นใยจากโพรงฟันของมนุษย์ โดย 1,25 ไดไฮดรอกซีไวตามินดี 3 และทรานส์ฟอร์มมิงโกร๊ทแฟกเตอร์เบตา, ประสิทธิ์ ภวสันต์, ปิยมาศ สำเร็จกาญจนกิจ Sep 1997

การกระตุ้นการสร้างเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเทสในเซลล์สร้างเส้นใยจากโพรงฟันของมนุษย์ โดย 1,25 ไดไฮดรอกซีไวตามินดี 3 และทรานส์ฟอร์มมิงโกร๊ทแฟกเตอร์เบตา, ประสิทธิ์ ภวสันต์, ปิยมาศ สำเร็จกาญจนกิจ

Chulalongkorn University Dental Journal

ในการศึกษาครั้งนี้ เราพบว่าเซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อของโพรงฟันสามารถสร้างเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส ซึ่งแสดงถึงความสามารถของเซลล์เหล่านี้ในการเปลี่ยนสภาพไปเป็นเซลล์คล้ายเซลล์สร้างเนื้อฟันได้หากได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสม นอกจากนี้ เรายังพบว่าเซลล์สร้างเส้นใยจากโพรงฟัน สามารถตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วย 1,25 ไดไฮดรอกซีไวตามินดี 3 โดยการเพิ่มค่าการทํางานของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเทศถึง 2 เท่าภายในเวลา 2 วัน แสดงให้เห็นว่า สารตัวนี้น่าที่จะมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสภาพไปทําหน้าที่เฉพาะอย่างของเซลล์จากโพรงฟัน และเมื่อเราทําการกระตุ้นเซลล์ชนิดนี้ด้วย 1,25 ไดไฮดรอกซีไวตามินดี 3 และทรานส์ฟอร์มมิ่งโกรทแฟกเตอร์เบตาพร้อม ๆ กัน ผลปรากฏว่าค่าการทํางานของเอนไซม์นี้ยิ่งเพิ่มสูงมากขึ้นถึง 10 เท่าในเวลา 3 วัน โดยที่การกระตุ้นเซลล์ด้วยทรานส์ฟอร์มมิงโกรทแฟกเตอร์เบตาเพียงอย่างเดียวไม่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเทสแต่อย่างไร ซึ่งจากผลการทดลองทั้งหมดนี้ ได้บ่งชี้ถึงคความเป็นไปได้ในการที่สารทั้งสองตัวนี้จะมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการสร้างเนื้อฟันโดยการควบคุมการเปลี่ยนสภาพไปทําหน้าที่เฉพาะอย่างของเซลล์สร้างเส้นใยในโพรงฟัน


การรักษาคลองรากฟันของฟันกรามล่างซี่ที่สองซึ่งมีคลองราก และรูเปิดคลองรากรูปอักษร C, วนิดา เรืองไพโรจน์ Sep 1997

การรักษาคลองรากฟันของฟันกรามล่างซี่ที่สองซึ่งมีคลองราก และรูเปิดคลองรากรูปอักษร C, วนิดา เรืองไพโรจน์

Chulalongkorn University Dental Journal

คลองราก และรูเปิดคลองรากรูปอักษร C ในฟันกรามล่างเป็นหนึ่งในความแปรปรวนจากลักษณะกายวิภาคปกติของคลองรากฟัน ซึ่งทําให้ขั้นตอนในการรักษาคลองรากฟันมีความยากลําบากในการทําความสะอาดคลองรากขยายคลองราก และอุดคลองรากฟัน บทความนี้เป็นการนําเสนอรูปแบบและขั้นตอนการรักษาคลองรากฟันกรามล่างซี่ที่สองซึ่งมีคลองรากและรูเปิดคลองรากรูปอักษร C ในผู้ป่วย 2 ราย โดยใช้แคลเซียมไฮดรอกไซด์ เป็นยาใส่ในคลองรากฟัน และอุดคลองรากฟันด้วยกัตตาเปอร์ชา โดยวิธีแลเทอรัลคอนเดนเซชั่น ติดตามผลการรักษาในเวลา 2 ปี


ผลของการฉีดยาชาเฉพาะที่สกัดเส้นประสาทอินฟีเรียอัลวีโอลาต่อตําแหน่งในศูนย์ของขากรรไกรล่าง, วันทนี มุทิรางกูร, ฮาญารี ดาราฉาย, วรรณฤดี ลิ้มศรีเจริญ Sep 1997

ผลของการฉีดยาชาเฉพาะที่สกัดเส้นประสาทอินฟีเรียอัลวีโอลาต่อตําแหน่งในศูนย์ของขากรรไกรล่าง, วันทนี มุทิรางกูร, ฮาญารี ดาราฉาย, วรรณฤดี ลิ้มศรีเจริญ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฉีดยาชาเฉพาะที่สกัดเส้นประสาทอินฟีเรียอัลวีโอลา ข้างหนึ่งต่อตําแหน่งในศูนย์ของขากรรไกรล่าง วัสดุและวิธีการ ศึกษาในหนุ่มสาวที่มีสุขภาพดี 10 คน โดยการสังเกตจุดสบฟันในศูนย์บนเครื่องมือระนาบการ สบฟันที่มีการกรอปรับแต่งให้มีความเข้มของจุดสบฟันที่เท่ากันตลอดขากรรไกร ก่อนและขณะตัวอย่างมีความรู้สึกขา ผลการทดลอง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ สําหรับจุดสบตําแหน่งสบถอยหลังของตัวอย่างทั้งหมด แต่มีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นสําหรับจุดสบฟันเร็วในศูนย์ขณะรู้สึกชา ตัวอย่าง 6 คนมีจุดสบฟันเร็วในศูนย์เข้าใกล้จุดสบตําแหน่งสบถอยหลัง และตัวอย่างอีก 4 คนมีจุดสบฟันในศูนย์ที่ไม่คงที่ สรุป การฉีดยาชาเฉพาะที่สกัดเส้นประสาทอินฟีเรียอัลวีโอลาข้างหนึ่งมีผลต่อการสบฟันเร็วในศูนย์ แต่ไม่มีผลต่อการสบฟันในตําแหน่งถอยหลัง


ลักษณะทางกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนของเหงือกบวมโต เนื่องจากยาไดแลนติน, นพดล ศุภพิพัฒน์, นวลฉวี หงษ์ประสงค์, สมพร สวัสดิสรรพ์ Sep 1997

ลักษณะทางกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนของเหงือกบวมโต เนื่องจากยาไดแลนติน, นพดล ศุภพิพัฒน์, นวลฉวี หงษ์ประสงค์, สมพร สวัสดิสรรพ์

Chulalongkorn University Dental Journal

ไดแลนตินเป็นยาที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการป้องกันและรักษาอาการชักในผู้ป่วยด้วยโรคลมชัก ผลข้างเคียงที่สําคัญอันหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ใช้ยานี้คือ ทําให้เกิดการบวมโตของเหงือก งานวิจัยนี้เป็นการศึกษา ลักษณะโดยละเอียดของเหงือกบวมโตในผู้ป่วยที่ใช้ยาไดแลนตินเปรียบเทียบกับเนื้อเยื่อเหงือกปกติโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดทรานสมิชชั่น ผลการศึกษาพบว่าเนื้อเยื่อทั้งสองชนิดประกอบไปด้วยเซลล์ไฟโบรบลาสท์และเส้นใย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเส้นใยคอลลาเจนจํานวนมาก องค์ประกอบทั้งสองนี้ในเหงือกบวมโตมีลักษณะคล้ายกับที่พบในเหงือก ปกติ แต่พบว่าปริมาณและความหนาแน่นของเส้นใยคอลลาเจนในเหงือกบวมโตมีมากกว่าในเหงือกปกติ


Current Thinking On Post And Core System And Other Options For Restoration Of The Endodontically Treated Tooth, Leevairoj Chalermpol Sep 1997

Current Thinking On Post And Core System And Other Options For Restoration Of The Endodontically Treated Tooth, Leevairoj Chalermpol

Chulalongkorn University Dental Journal

In the past few decades, there are the controversies in the proper treatment of the teeth after receiving endodontic treatment. The solutions seem to be concluded. This review of literature summarized the current thinking on post and core system, also the options for restoration of the endodontically treated teeth. Many concepts have been collected from the articles published by 1997. Many ideas have been given and may be useful for the reader to choose the proper techniques and materials when restoring the endodontically treated teeth.


คุณภาพชีวิตของนิสิตทันตแพทย์จุฬาฯ, สุนทร ระพิสุวรรณ, ศุลีพร ธีระเจตกูล, ภฑิตา ภูริเดช May 1997

คุณภาพชีวิตของนิสิตทันตแพทย์จุฬาฯ, สุนทร ระพิสุวรรณ, ศุลีพร ธีระเจตกูล, ภฑิตา ภูริเดช

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษานี้ต้องการศึกษาถึงคุณภาพชีวิตของนิสิตทันตแพทย์จุฬาฯ และปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อความวิตกกังวลและเครียดระหว่างที่ศึกษาเล่าเรียน วัสดุและวิธีการ ใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยคําถามยี่สิบข้อที่สร้างขึ้นและนําไปทดสอบแล้วส่งให้นิสิตทันตแพทย์ จุฬาฯ จํานวน 497 คน ตอบ สาระของคําถามจะประกอบด้วยคําถามทางด้านประชากรศาสตร์ คําถามเกี่ยวกับ ระดับอารมณ์ความเครียดและกังวลใจและสภาวะของสุขภาพ สาเหตุที่ทําให้นิสิตมีอารมณ์เครียดวิตกกังวล ผลการศึกษา คุณภาพชีวิตของนิสิตทันตแพทย์อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ค่อยมีความสุข 62.9 เปอร์เซ็นต์มีอารมณ์ที่ เบื่อหน่ายการเรียนและการฝึกปฏิบัติงานในคลินิกและแลบ 64.2 เปอร์เซ็นต์มีความวิตกกังวล ยิ่งศึกษาในชั้นปีที่สูง ขึ้นความวิตกกังวลมีมากขึ้น สาเหตุของความวิตกกังวลและเครียดของนิสิตมาจาก 1) การเรียนที่หนักและขาดเวลา พักผ่อน 2) บรรยากาศการเข้าหาอาจารย์และท่าทีที่แสดงออกของอาจารย์ 3) ปริมาณงานที่ได้รับและต้องทําให้ ครบเกณฑ์ 4) การสอบและเกรด นิสิตที่เรียนและเล่นกีฬาจะมีอารมณ์เครียดน้อยกว่านิสิตที่เรียนอย่างเดียวโดยไม่เล่นกีฬา (P=0.000)สรุป นิสิตทันตแพทย์มีความเครียดและวิตกกังวลค่อนข้างมาก กว่าครึ่งหนึ่งของนิสิตมีความรู้สึกที่เบื่อหน่ายการเรียน ฉะนั้นการจัดการเรียนการสอนควรจะต้องมีการวางแผนและบริหารจัดการให้ดี ควรมีการจัดการเรื่องการให้คําปรึกษา ช่วยเหลือนิสิตในยามที่มีปัญหาด้านการเรียนทฤษฎีและปฏิบัติ


กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์และเรซินซีเมนต์ ในงานทันตกรรมประดิษฐ์, ประพิณ เปี่ยมพริ้ง, รำไพ โรจนกิจ, แมนสรวง อักษรนุกิจ May 1997

กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์และเรซินซีเมนต์ ในงานทันตกรรมประดิษฐ์, ประพิณ เปี่ยมพริ้ง, รำไพ โรจนกิจ, แมนสรวง อักษรนุกิจ

Chulalongkorn University Dental Journal

บทความนี้จะได้กล่าวถึงลูกทิ่งเอเจนต์ สองชนิดที่ใช้ในงานทันตกรรมประดิษฐ์ ได้แก่ กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ และเรซินซีเมนต์ ที่มีการนํามาใช้สําหรับวัตถุประสงค์ทั่วไปคือ ใช้ยึดครอบและสะพานฟันแบบเดิม แทนซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์ และสําหรับเฉพาะงานได้แก่ การใช้ยึดพอร์ซเลนและคอมโพสิตเรซินที่บ่มตัวนอกปากในการบูรณะฟัน การทําฟันปลอมติดแน่นที่ใช้เรซินยึดโดยพิจารณาถึงคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ ของซีเมนต์ทั้งสองชนิดนี้ ได้แก่ คุณสมบัติทางชีวภาพความแข็งแรงของซีเมนต์ ความหนาของชั้นซีเมนต์ การยึดอยู่กับโครงสร้างของฟัน โลหะที่ใช้ในทางทันตกรรม คอมโพสิทเรซิน และพอร์ซเลน คําแนะนําและข้อควรระวังในการใช้การพิจารณาเลือกใช้ ซึ่งโดยมากมักอ้างอิงถึงซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์


การเปรียบเทียบแรงยึดเกาะของฐานฟันปลอมอะคริลิก ที่ระดับความคอดต่าง ๆ กันของฟันและแรงยึดเกาะของตะขอลวดดัด, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล, ปิยะวัฒน์ พันธุ์โกศล, รพีพรรณ คงพิทักษ์สกุล, สุธาสินี เปรมอิสระกูล May 1997

การเปรียบเทียบแรงยึดเกาะของฐานฟันปลอมอะคริลิก ที่ระดับความคอดต่าง ๆ กันของฟันและแรงยึดเกาะของตะขอลวดดัด, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล, ปิยะวัฒน์ พันธุ์โกศล, รพีพรรณ คงพิทักษ์สกุล, สุธาสินี เปรมอิสระกูล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงยึดเกาะของฐานฟันปลอมอะคริลิกที่ระดับความคอดต่าง ๆ กันของฟัน และแรงยึดเกาะของตะขอลวดดัด วัสดุและวิธีการ โดยนําฟันกรามน้อยบนที่ 2 และฟันกรามใหญ่บนที่ 1 ฝังลงในแบบจําลองปลาสเตอร์สโตน ทําการพิมพ์ซ้ํา โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ หาแรงยึดเกาะที่ระดับความคอด 0.03 นิ้ว 0.02 นิ้ว 0.01 นิ้วและ ระดับเส้นสํารวจ ส่วนกลุ่มที่ 4 หาแรงยึดเกาะของตะขอลวดดัด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร ที่ระดับความ คอด 0.02 นิ้ว ของฟันกรามใหญ่ชี้ที่ 1 ทดสอบหาค่าแรงยึดเกาะโดยใช้ เครื่องลอยด์ยูนิเวอร์ซัลเทสติ้ง รุ่น แอลอาร์ 10 เค (Lloyd Universal Testing Machine Model LR 10 K) ผลการทดลองและสรุป เมื่อวิเคราะห์ค่าแรงยึดเกาะทางสถิติโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับความ เชื่อมั่น 0.05 และวิธีดันแคนนิวมัลติเพิลเรนจ์ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 พบว่าในฟันซี่เดียวกันแรงยึดเกาะที่ระดับความคอดต่าง ๆ กันจะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ โดยที่ระดับความคอด 0.03 นิ้ว ให้แรงยึดเกาะสูงสุดรองลง มาคือที่ระดับส่วนคอด 0.02 นิ้ว 0.01 นิ้วและที่เส้นสํารวจตามลําดับ และที่ระดับความคอดเดียวกันในฟันต่าง ๆ กัน แรงยึดเกาะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ โดยฐานฟันปลอมที่ครอบคลุมทั้งฟันกรามน้อยซี่ที่ 2 และฟันกรามใหญ่ ที่ 1 ให้แรงยึดเกาะสูงสุด รองลงมาคือฐานฟันปลอมที่ครอบคลุมฟันกรามใหญ่ที่ 1 และฐานฟันปลอมที่ครอบคลุม ฟันกรามน้อยที่ 2 ตามลําดับ ส่วนที่ระดับเส้นสํารวจไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญในฟันกรามน้อยที่ 2 และ ฟันกรามใหญ่ที่ 1 แต่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญในกลุ่มที่ครอบคลุมฟันทั้ง 2 ซี่ ส่วนกลุ่มตะขอลวดดัด ให้แรงยึดเกาะของฐานฟันปลอมน้อยกว่าแรงยึดเกาะของฐานฟันปลอมที่ได้จากระดับความคอด 0.03 นิ้ว 0.02 นิ้ว และ …


โรคพิษสารตะกั่วเรื้อรัง, อรนุช บุญรังสิมันตุ์ May 1997

โรคพิษสารตะกั่วเรื้อรัง, อรนุช บุญรังสิมันตุ์

Chulalongkorn University Dental Journal

การวินิจฉัยโรคพิษสารตะกั่วเรื้อรัง ในคนงานหญิงที่ทํางานในโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยเส้นตะกั่วโดยพบที่เหงือก ผู้ป่วยมิได้มีลักษณะอาการที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในภาวะที่เป็นพิษ สารตะกั่วเป็นพิษได้ถูกทบทวนขึ้นมาจากจุดหนึ่งของระบาดวิทยา สรีระพยาธิวิทยา ลักษณะอาการในช่องปาก อาการทางคลินิก และ วิธีการวินิจฉัย ทันตแพทย์ ควรได้ตระหนักถึง การเพิ่มอุบัติการที่จะเกิดจากสารตะกั่วเป็นพิษในผู้ป่วยเหล่านี้ การวินิจฉัยต้องแยกออกจากโรคเหงือกอักเสบ เม็ดสี และ การเปลี่ยนสีเนื่องจากอมัลกัม การวินิจฉัยที่แน่นอนได้จากการซักประวัติการใช้ยา และการวิเคราะห์


การตรวจหาไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่ผลิตจากเชื้อจุลินทรีย์ชนิดเดี่ยว ๆ ที่มีอยู่ในช่องปากจํานวน 33 ชนิด โดยวิธีเฮชทูเอสบรอท เฮชซีเอ็ม, จินตกร คูวัฒนสุชาติ May 1997

การตรวจหาไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่ผลิตจากเชื้อจุลินทรีย์ชนิดเดี่ยว ๆ ที่มีอยู่ในช่องปากจํานวน 33 ชนิด โดยวิธีเฮชทูเอสบรอท เฮชซีเอ็ม, จินตกร คูวัฒนสุชาติ

Chulalongkorn University Dental Journal

วิธี H2S-broth-HCM เป็นวิธีที่ใช้สําหรับตรวจหาไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่ผลิตจากเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากพวกที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโตได้ดีวิธีหนึ่ง เป็นวิธีที่ง่ายและไม่สิ้นเปลือง เหมาะสําหรับการทดสอบที่ไม่รีบด่วน ต้องการทราบผลทันทีว่าเชื้อผลิตไฮโดรเจนซัลไฟด์ออกมาได้หรือไม่ เพราะการตรวจหาไฮโดรเจนซัลไฟด์โดยวิธีนี้ จะทราบผลการผลิตไฮโดรเจนซัลไฟด์ของเชื้อได้ภายหลังจากได้ถ่ายเชื้อที่ต้องการทดสอบลงไปใน H2S- broth-HCM ผ่านไปแล้ว 10 วัน ซึ่งเชื้อที่ผลิตไฮโดรเจนซัลไฟด์ออกมาได้น้อยจะทําให้หลอด H2S-broth-HCM เปลี่ยนเป็นสีน้ําตาลอ่อน ๆ ส่วนเชื้อที่ผลิตไฮโดรเจนซัลไฟด์ออกมาจํานวนมาก หลอด H2S-broth-HCM จะเปลี่ยนเป็นสีดําทั่วทั้งหลอด)


ปริมาณฟลูออไรด์ที่หลุดออกจากกลาสไอโอโนเมอร์ซิเมนต์ชนิดดัดแปรด้วยเรซิน และคอมโพสิตเรซินชนิดดัดแปรด้วยกรดพอลิ, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์, โบว์ พุกกะเวส, ปาริชาต ชินพงสานนท์, มะลิ พลานุเวช May 1997

ปริมาณฟลูออไรด์ที่หลุดออกจากกลาสไอโอโนเมอร์ซิเมนต์ชนิดดัดแปรด้วยเรซิน และคอมโพสิตเรซินชนิดดัดแปรด้วยกรดพอลิ, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์, โบว์ พุกกะเวส, ปาริชาต ชินพงสานนท์, มะลิ พลานุเวช

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ : การวิจัยนี้มุ่งศึกษาเปรียบเทียบปริมาณฟลูออไรด์ที่หลุดออกจากกลาสไอโอโมเมอร์ซิเมนต์ชนิด ดัดแปรด้วยเรซิน (Fuji II LC, GC. International Corp., Japan) และคอมโพสิตเรซินชนิดดัดแปรด้วยกรด พอล (Dyract, De Trey Dentsply, Germany) ในเวลาต่าง ๆ กัน วัสดุและวิธีการ : ใช้แผ่นตัวอย่างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ม.ม. ความสูง 2 ม.ม. แช่ในน้ำปราศจากไอออน ปริมาตร 5 ม.ล. เป็นเวลา 1 3 7 14 2 และ 30 วัน หลังจากนั้นนําน้ำที่ได้มาวัดปริมาณฟลูออไรด์โดยใช้เครื่อง pH/ISE meter ปรากฏว่าค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของปริมาณฟลูออไรต์ที่ปลดปล่อยออกจากวัสดุอุด Fuji II LC มีค่า 4.34 ±1.15 7.01±0.44 9.29±1.72 15.57±3.04 22.16±1.95 และ 26.31±1.78 ส่วนใน ล้านส่วน ตามลําดับ ส่วนค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของปริมาณฟลูออไรต์ที่ปลดปล่อยออกจากวัสดุอุด Dyract มีค่า 2.61±0.81 3.91±1.18 4.08±1.14 5.91±1.65 8.21±3.00 และ 8.94±3.21 ส่วนในล้านส่วนตาม ลําดับ นําผลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของปริมาณฟลูออไรด์ที่ปลดปล่อยออกจาก วัสดุอุด Fuji II LC และ Dyract ในระยะเวลาต่าง ๆ ภายใน 30 วัน ด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง เดียว (ANOVA) ทวี (Tukey) และค่าที (t-test) ที่ระดับนัยสําคัญ p < 0.05 ผล : ปริมาณฟลูออไรด์ที่ปลดปล่อยออกจากวัสดุ Fuji II LC ในแต่ละช่วงที่วัดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัย สําคัญทางสถิติ (p < 0.05) และปริมาณฟลูออไรด์ที่ปลดปล่อยออกจากวัสดุ Fuji II LC มีค่ามากกว่าปริมาณ ฟลูออไรด์ที่ปลดปล่อยออกจากวัสดุ Dyract ในช่วงเวลาที่เดียวกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการหลุดออกของฟลูออไรด์จากวัสดุทั้ง 2 ชนิดจะลดลงอย่างรวดเร็วใน 3 วันแรก หลังจากนั้นอัตราการปล่อยฟลูออไรด์จะช้าลงอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น สรุป : กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดดัดแปรด้วยเรซินปลดปล่อยฟลูออไรด์ปริมาณมากกว่าคอมโพสิตเรซิน ชนิดติดแปรด้วยกรดโพลิอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05)


คุณประโยชน์ของเครื่องเฟซโบว์ในงานทางด้านทันตกรรมประดิษฐ์, สิทธิเดช นิลเจริญ, ศุภบูรณ์ บุรณเวช May 1997

คุณประโยชน์ของเครื่องเฟซโบว์ในงานทางด้านทันตกรรมประดิษฐ์, สิทธิเดช นิลเจริญ, ศุภบูรณ์ บุรณเวช

Chulalongkorn University Dental Journal

ทันตแพทย์ส่วนใหญ่เมื่อสําเร็จการศึกษาไปแล้วมักจะไม่ค่อยได้ใช้เครื่องเฟซโบว์ในการทํางานด้านทันตกรรมประดิษฐ์ เพราะไม่ได้เข้าใจและเห็นถึงคุณประโยชน์ที่แท้จริงของเครื่องมือนี้ วัตถุประสงค์ของบทความฟื้นวิชานี้เพื่อจะอธิบายถึงเหตุผลและความจําเป็นในการใช้เครื่องเฟซโบว์อย่างถูกต้อง เพื่อช่วยให้ชิ้นงานทันตกรรมประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นมามีความถูกต้องใกล้เคียงกับสภาพการใช้งานของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการแก้ไขชิ้นงานทันตกรรมประดิษฐ์ในช่องปากให้น้อยลง เนื้อหาของบทความฟื้นวิชานี้จะกล่าวถึงประวัติและความเป็นมาของการใช้เครื่องมือนี้ในการทํางานทางด้านทันตกรรมประดิษฐ์ ชนิดของเครื่องเฟซโบว์ การใช้ตําแหน่งของจุดและระนาบอ้างอิงต่าง ๆ ในการบันทึก รวมไปถึงการชี้ให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของการใช้เครื่องมือนี้ในการทํางานทันตกรรมประดิษฐ์ เมื่อได้อ่านบทความชื้นวิชานี้แล้วทันตแพทย์ทั่วไปสามารถเข้าใจถึงเหตุผลและความจําเป็นในการใช้เครื่องเฟซโบว์ในการทํางานทางด้านทันตกรรมประดิษฐ์ และสามารถนําไปปฏิบัติหรือดัดแปลงได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายได้ต่อไป


การเปรียบเทียบคุณภาพในการอุดคลองรากฟันแบบเทอร์มาฟิลเทคนิคกับ แลทเทอรัลคอนเดนเซชัน, ปิยาณี พาณิชย์วิสัย, อภิรดี ศรีประไหม, รติมา คล้ายมุข May 1997

การเปรียบเทียบคุณภาพในการอุดคลองรากฟันแบบเทอร์มาฟิลเทคนิคกับ แลทเทอรัลคอนเดนเซชัน, ปิยาณี พาณิชย์วิสัย, อภิรดี ศรีประไหม, รติมา คล้ายมุข

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ มีจุดประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพในการอุดคลองรากฟันแบบเทอร์มาฟิลเทคนิคกับแลทเทอรัลคอนเดนเซซัน วัสดุและวิธีการ โดยนําฟันกรามน้อยที่มีรากตรงรากเดียวจํานวน 24 ซี่ มาขยายคลองรากฟันโดยวิธีสเต็ปแบค ด้วยไฟล์ชนิดเค ฟันที่เลือกใช้ในการทดลองจะมีความยาวในการทํางานและความกว้างของรูเปิดปลายรากฟันที่ ใกล้เคียงกัน (เส้นผ่าศูนย์กลาง ≤ 0.02 มม.) ฟันจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกอุดด้วยวิธีแลทเทอรัลคอนเดนเซชั่น กลุ่มที่สองอุดด้วยเทอร์มาฟิลเทคนิค โดยมีกลุ่มควบคุมบวกและกลุ่มควบคุมลบ กลุ่มละ 2 ซี่ ผลการทดลองและสรุป จากผลการทดลองใช้ x2 ทดสอบการไหลเกินรูเปิดปลายรากฟันของซีลเลอร์และกัตตา เปอร์ชา พบว่าการอุดด้วยวิธีแลทเทอรัลคอนเดนเซชันกับเทอร์มาฟิลเทคนิคมีการไหลเกินรูเปิดปลายรากฟันไม่แตกต่าง กันอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) และเมื่อใช้ t-test ทดสอบคุณภาพของภาพถ่ายรังสีในแนวด้านใกล้กลาง-ไกลกลาง และด้านใกล้แก้ม ด้านใกล้ลิ้น ระดับการซึมผ่านของสีที่รูเปิดปลายรากฟันโดยดูผ่านกล้องสเตอริโอไมโครสโคปและ เวลาที่ใช้ในการอุด พบว่าคุณภาพของภาพถ่ายรังสีและระดับการซึมผ่านของสีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) ระหว่างการอุดด้วยวิธีแลทเทอรัลคอนเดนเซชันกับเทอร์มาฟิลเทคนิค แต่เวลาที่ใช้ในการอุดด้วยเทอร์มาฟิล เทคนิค (2.72 min) น้อยกว่าแลทเทอรัลคอนเดนเซชัน (9.97 min) อย่างมีนัยสําคัญ (P < 0.05) จากผลการทดลองและการคํานวณค่าทางสถิติจึงสรุปได้ว่า เทอร์มาฟิลเทคนิคเป็นวิธีการอุดคลองรากฟันที่ใช้เวลาน้อยกว่าและมีคุณภาพของการขุดคลองรากฟันไม่แตกต่างจากวิธีแลทเทอรัลคอนเดนเซชันในคลองรากตรงรากเดียว


อุบัติการณ์ของมะเร็งในช่องปากจากแปดสถาบันในกรุงเทพมหานครระหว่างปี พ.ศ. 2527-2536), สุรศักดิ์ ชี้รัตน์, ชญาน์ทิพ ศรีรัฐ, นิรมล เฉลิมชัยรัตนกุล May 1997

อุบัติการณ์ของมะเร็งในช่องปากจากแปดสถาบันในกรุงเทพมหานครระหว่างปี พ.ศ. 2527-2536), สุรศักดิ์ ชี้รัตน์, ชญาน์ทิพ ศรีรัฐ, นิรมล เฉลิมชัยรัตนกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ในการศึกษา ความมุ่งหมายการศึกษานี้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลของมะเร็งในช่องปากแปดสถาบันของ กรุงเทพมหานครในรอบ 10 ปี ที่สัมพันธ์ ความชุก เพศ ช่วงอายุ ตําแหน่ง และชนิดของมะเร็ง ในช่องปากเพื่อ เปรียบเทียบกับการศึกษาวิจัยต่าง ๆ ที่ผ่านมา วัสดุและวิธีการ ใช้ข้อมูลจากแปดสถาบันของกรุงเทพมหานคร โดยรวบรวมจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการ วินิจฉัยทางพยาธิวิทยาว่าเป็นมะเร็งในช่องปาก ระหว่างปี พ.ศ. 2527-2536 นําข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อหาความสัมพันธ์ของมะเร็งในช่องปากกับความชุก เพศ ช่วงอายุ ตําแหน่ง และชนิดของมะเร็งในช่องปาก ผลการวิจัย พบมะเร็งในช่องปากทั้งหมด 3,446 ราย จากประชากร 24,511,885 คน หรือเท่ากับอัตราการเกิด มะเร็งในช่องปาก 14 รายต่อประชากร 100,000 คน เกิดในเพศชาย 1,734 ราย ในเพศหญิง 1,712 ราย ไม่พบ ความแตกต่างในการเกิดมะเร็งในช่องปากระหว่างเพศทั้งสอง (p > 0.01) พบอุบัติการณ์มะเร็งในช่องปากสัมพันธ์ และชนิดของมะเร็งในช่องปากอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.01) โดยพบมะเร็งในช่องปากเกิดสูงสุดในช่วงอายุ ปี และลิ้นเป็นตําแหน่งที่พบมะเร็งเกิดมากที่สุดในช่องปาก โดยพบ 831 ราย (ร้อยละ 23.92) มะเร็ง ในช่องปากส่วนมากเป็นคาร์ซิโนมา (ร้อยละ 97.2) สความส เซลล์ คาร์ซิโนมา เป็นมะเร็งในช่องปากที่พบมาก ที่สุด โดยพบ 3,011 ราย (ร้อยละ 86.4) ช่วงอายุ 61-70 สรุป อุบัติการณ์ของมะเร็งในช่องปากจากการศึกษานี้มีอัตราการเกิด 14 ราย ต่อประชากร 100,000 คน เกิดได้ เท่ากันทั้งสองเพศ ช่วงอายุ ตําแหน่ง สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งในช่องปากอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และลิ้นเป็น ตําแหน่งที่พบมะเร็งเกิดขึ้นมากที่สุด สความัสเซลล์คาร์ซิโนมาเป็นมะเร็งในช่องปากที่เกิดขึ้นมากที่สุด


Shock-Absorbing Concepts For Osseointegrated Prostheses, Sompop Bencharit, Root Chumdermpadetsuk, Piyawat Phankoso May 1997

Shock-Absorbing Concepts For Osseointegrated Prostheses, Sompop Bencharit, Root Chumdermpadetsuk, Piyawat Phankoso

Chulalongkorn University Dental Journal

Natural teeth and root form implants are compared from anatomical, physiological and materialmechanical aspects. PDL provides the natural dentition the stress distribution mechanism that is lacking in implants. Functions of the PDL include hydrodynamic vascular system, suspensory mechanism of the collagen fiber, and proprioceptive response. Physiologic mobility in the natural tooth is an adaptive response, while in implant excessive mobility is considered pathological. Material properties and designs of implants are largely different from natural teeth and their surrounding tissue. These factors are contributing to the crestal stress concentration found in implant. Two methods to overcome the problem associated with the …


The Role Of Hox Genes In Head Development, Prasit Pavasant Jan 1997

The Role Of Hox Genes In Head Development, Prasit Pavasant

Chulalongkorn University Dental Journal

During embryogenesis, cells of pharyngeal arches (branchial arches) contribute to the formation of orofacial structures, including structures of pharynx and larynx. The fate of these cells in pharyngeal arches has already been destined before they migrate from their origin to the areas of pharyngeal arch. Based on results from Drosophila in which special groups of gene regulte the body pattern in chronological manner, it has been suggested that similar mechanism may also take place during vertebrate development. Using chromosome mapping, its turns out that both Drosophila and vertebrate share similar mechanism of body pattern regulation. A group of these regulatory …


Evaluation Of Flexural Strength Of Materials For All-Ceramic Restorations, Kanchana Kanchanatawewat, Russell A. Giordano, Richard L. Pober, Dan Nathanson Jan 1997

Evaluation Of Flexural Strength Of Materials For All-Ceramic Restorations, Kanchana Kanchanatawewat, Russell A. Giordano, Richard L. Pober, Dan Nathanson

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


In Vitro Caries Inhibition Of Tooth-Colored Restorative Materials, Chaiwat Maneenut Jan 1997

In Vitro Caries Inhibition Of Tooth-Colored Restorative Materials, Chaiwat Maneenut

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


The Effect Of Gamma-Ray Vulcanized Latex Gloves On The Setting Of Light Body Poly(Vinyl Siloxane) Impression Materials, Chairat Wiwatwarrapan, Bow Bukkavesa, Chayagrit Siri-Upathum, Piriyathorn Suwanmala Jan 1997

The Effect Of Gamma-Ray Vulcanized Latex Gloves On The Setting Of Light Body Poly(Vinyl Siloxane) Impression Materials, Chairat Wiwatwarrapan, Bow Bukkavesa, Chayagrit Siri-Upathum, Piriyathorn Suwanmala

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


Overbite Depth Indicator In Thai Adolescents: A Measurement Related To Anterior Open-Bite, Sirima Charoenpone Jan 1997

Overbite Depth Indicator In Thai Adolescents: A Measurement Related To Anterior Open-Bite, Sirima Charoenpone

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


Swine Vallate Papilla, Nualnoi Wechbanjong, Sitthi S. Srisopark, Wandee Apinhasmit Jan 1997

Swine Vallate Papilla, Nualnoi Wechbanjong, Sitthi S. Srisopark, Wandee Apinhasmit

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


Assessment Of The Medical Status In A Dental School Patient Population, Aree Jainkittivong, Wannaporn Siriwatana Jan 1997

Assessment Of The Medical Status In A Dental School Patient Population, Aree Jainkittivong, Wannaporn Siriwatana

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


Cervical Enamel Projections Related To Furcation Involvement, Varunee Kerdvongbundit, Piyawat Phankosol Jan 1997

Cervical Enamel Projections Related To Furcation Involvement, Varunee Kerdvongbundit, Piyawat Phankosol

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.