Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 30

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การให้การรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษาบริเวณศีรษะและลําคอ, วิทยา พัฒนพีระเดช, วาสนา พัฒนพีระเดช Sep 1996

การให้การรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษาบริเวณศีรษะและลําคอ, วิทยา พัฒนพีระเดช, วาสนา พัฒนพีระเดช

Chulalongkorn University Dental Journal

การให้การบําบัดทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็งบริเวณศีรษะและลําคอค่อนข้างลําบาก เนื่องจากรังสีทําให้เกิดมีอาการแทรกซ้อนค่อนข้างสูงกับตัวฟัน เนื้อเยื่อรอบรากฟันและกระดูก ขากรรไกร มีอุบัติการของการเกิดการผุของฟันและอวัยวะรอบรากฟันถูกทําลายเพิ่มมากขึ้น ถ้ามีการถอนฟันในตําแหน่งที่สัมผัสโดยตรงต่อรังสีจะมีการทําลายของกระดูกบริเวณนั้นตามมา การหายของแผลจะช้า การให้การบูรณะฟัน รักษาคลองรากฟัน การรักษาโรคปริทันต์ต้องทําด้วยความระมัดระวัง บทความนี้จะกล่าวถึงการให้การ รักษาโรคฟันแก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งบริเวณใบหน้าที่ได้รับการบําบัดโรคมะเร็งโดยการฉายรังสีเสร็จเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งข้อเสนอแนะบางประการในการดูแลรักษาผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีสุขภาพในช่องปากที่ดีซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายผู้ป่วยสมบูรณ์และแข็งแรง สามารถดํารงชีวิตได้ตามปกติ


ผลการรักษาประสาทฟันด้วยวิธีพัลโพโตมีในฟันกรามน้ำนม โดยใช้ ซิงค์ ออกไซด์ ยูจีนอล ซีเมนต์, มะลินี เพชรชาติ Sep 1996

ผลการรักษาประสาทฟันด้วยวิธีพัลโพโตมีในฟันกรามน้ำนม โดยใช้ ซิงค์ ออกไซด์ ยูจีนอล ซีเมนต์, มะลินี เพชรชาติ

Chulalongkorn University Dental Journal

การรักษาฟันน้ำนมที่ผุทะลุโพรงประสาท โดยวิธีพัลโพโตมี ด้วย ซิงค์ ออกไซด์ ยูจีนอล ซีเมนต์ ทําการศึกษาทางคลินิก และภาพถ่ายรังสี ในผู้ป่วยเด็กที่มาทําการบําบัดทางทันตกรรม ในกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลกลาง จํานวน 67 ราย อายุเฉลี่ย 6 ปี โดยเลือกศึกษาเฉพาะฟันกรามน้ำนมที่มีอาการผลึกใกล้ถึงโพรงประสาทหรือทะลุโพรงประสาทขนาดเล็ก ไม่มีการอักเสบบริเวณปลายรากฟัน จํานวน 122 ซี่ ติดตามผลระยะเวลา 12, 18 และ 24 เดือนตามลําดับ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ 96.7% และไม่น่าพอใจ 3.3%


Adenomatoid Odontogenic Tumor (Case Report), Surin Tangsuphoom Sep 1996

Adenomatoid Odontogenic Tumor (Case Report), Surin Tangsuphoom

Chulalongkorn University Dental Journal

The adenomatoid odontogenic tumor is one of those benign tumors which are formed in odontogenic tissue or originated from the epithelial lining of odontogenic cyst. This is a case report of a 12 years old Thai boy who visited a dentist with the enlargement at his left ala of the nose for 2 weeks. The clinical preoperative diagnosis was dentigerous cyst. Surgical enucleation was performed under general anesthesia. No recurrence has been found after surgical removal for a 20 month follow up period. The healing process was found to be satisfactory. The surgical tissue sample was sent for histopathological examination …


ผลการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสเตรปโตคอคคัสมิวแทนส์ ด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในการรักษาคลองรากฟัน, อัญชนา พานิชอัตรา, Ratanau-Bol K., Kunsi B. Sep 1996

ผลการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสเตรปโตคอคคัสมิวแทนส์ ด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในการรักษาคลองรากฟัน, อัญชนา พานิชอัตรา, Ratanau-Bol K., Kunsi B.

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการศึกษาถึงผลการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ ด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งใช้ในการรักษาคลองรากฟัน 4 ชนิด คือ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ผสมน้ำ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ ผสม ซี.เอ็ม.ซี.พี. ไวตาเพกซ์ และพัลป์เดนท์ โดยใช้จานเพาะเลี้ยงเชื้อผสมเลือด จํานวน 30 จาน เจาะหลุมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ม.ม. จํานวน 5 หลุม ในแต่ละจาน เพื่อใส่วัสดุทดสอบ 4 หลุม หลุมที่ 5 จะเป็นหลุมควบคุมนําจานเพาะเชื้อที่เตรียมแล้วไปอบในแคนเดิลจาร์ ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส แล้วนํามาวัดขอบเขตการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อในวันที่ 2,7 และ 14 ตามลําดับ พบว่าวัสดุทุกชนิดมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ได้โดยวัสดุทุกชนิดมีความแตกต่างกันในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ ยกเว้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง แคลเซียมไฮดรอกไซด์ผสมน้ำกับพัลป์เดนท์ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ และพบว่าแคลเซียมไฮดรอกไซด์ผสมซี.เอ็ม.ซี.พี. ให้ผลยับยั้งต่อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์มากที่สุด โดยที่ไวตาเพกซ์ให้ผลยับยั้งน้อยที่สุด ซึ่งในการทดลองนี้ได้เลือกใช้เชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ เนื่องจากเป็นเชื้อที่พบได้ในคลองรากฟันที่มีการติดเชื้อ และสามารถเพาะเลี้ยงได้ง่าย


การใส่ยาในคลองรากฟัน, สุจินดา วงศ์ศิริขจร, ปิยาณี พาณิชย์วิสัย Sep 1996

การใส่ยาในคลองรากฟัน, สุจินดา วงศ์ศิริขจร, ปิยาณี พาณิชย์วิสัย

Chulalongkorn University Dental Journal

เนื่องจากมีผู้ให้เหตุผลสนับสนุนและคัดค้านการใส่ยาในคลองรากฟัน บทความปริทัศน์นี้จะแสดงให้เห็นถึงข้อสรุปของการใส่ยาในคลองรากฟัน ซึ่งยังมีความจําเป็นอยู่ เนื่องจากมียาหลายชนิดที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้และยังไม่มียาชนิดใดมีคุณสมบัติตรงตามอุดมคติ การเลือกใช้ยาจึงควรพิจารณาตามคุณสมบัติที่ต้องการตามแต่กรณี ในการรักษาคลองรากฟันโดยทั่วไป คุณสมบัติหลักที่ต้องการ คือคุณสมบัติในการต้านจุลชีพ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ นับว่ามีความเหมาะสมมากที่สุดในขณะนี้ เนื่องจากมีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพที่ดีและออกฤทธิ์ได้นาน ช่วยละลายเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ยังกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อแข็ง และควบคุมการละลายรากฟันจากการอักเสบ กรณีที่ต้องการบรรเทาปวดหลังรักษานั้นยาในกลุ่มสเตียรอยด์สามารถลดปวดได้ในฟันเนื้อเยื่อในที่มีชีวิต


การรั่วซึมของซีเมนต์ชนิดต่าง ๆ และวัสดุอุดคอมโพสิตเรซิน, มรกต ตันติประวรรณ, นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์, น้องนุช พรมเอี้ยง Sep 1996

การรั่วซึมของซีเมนต์ชนิดต่าง ๆ และวัสดุอุดคอมโพสิตเรซิน, มรกต ตันติประวรรณ, นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์, น้องนุช พรมเอี้ยง

Chulalongkorn University Dental Journal

การทดลองนี้ได้ศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความสามารถต้านต่อการรั่วซึมบริเวณขอบของซีเมนต์ชนิดซิงก์ฟอสเฟตซีเมนต์ชนิดกลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ชนิดเรซินและวัสดุอุดคอมโพสิตเรซินชนิดก่อตัวด้วยแสง โดยใช้ฟันกรามแท้จํานวน 42 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างศึกษา ฟันแต่ละซี่ถูกกรอแต่งเป็นโพรงฟันประเภทที่ 2 (class II cavities) 4 โพรง ฟัน ภายใต้เครื่องควบคุมความขนาน (Milling machine, KaVo EWL) โดยมีความกว้าง ความลึกและความ สูง 2x1x3 มิลลิเมตรตามลําดับ โพรงฟัน 3 โพรงได้บูรณะด้วยชิ้นโลหะผสมเงินกับเพลลิเดียม แต่ละโพรงฟันยึด ด้วยซีเมนต์ชนิดซิงก์ฟอสเฟต ซีเมนต์ชนิดกลาสไอโอโนเมอร์ และซีเมนต์ชนิดเรซิน แบ่งฟันเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 21 ซี่ กลุ่มที่ 1 โพรงฟันที่เหลือไม่ใช้กรดกัดผิวฟันก่อนบูรณะด้วยวัสดุอุดคอมโพสิตเรซิน กลุ่มที่ 2 โพรงฟันที่เหลือ ใช้กรดกัดผิวฟันก่อนบูรณะด้วยวัสดุอุดคอมโพสิตเรซินนําตัวอย่างทั้งหมดไปผ่านกระบวนการ Thermocycling จํานวน 300 รอบ ที่อุณหภูมิ 5 และ 55 องศาเซลเซียส วัดความลึกของการรั่วซึมโดยวัดระยะทางที่สารละลายซิลเวอร์ไนเตรทแทรกซึมบนชิ้นตัดของตัวอย่างภายใต้กล้องจุลทรรศน์


การเปรียบเทียบการติดสีที่ผิวของคอมโพสิตเรซินชนิดแข็งตัวด้วยแสงภายหลังการขัดด้วยหัวขัดชนิดต่าง ๆ, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์, จารุวรรณ สุขนิวัฒน์ชัย, จิราพร ชีวาสุขถาวร Sep 1996

การเปรียบเทียบการติดสีที่ผิวของคอมโพสิตเรซินชนิดแข็งตัวด้วยแสงภายหลังการขัดด้วยหัวขัดชนิดต่าง ๆ, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์, จารุวรรณ สุขนิวัฒน์ชัย, จิราพร ชีวาสุขถาวร

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษาการติดสีเมทาลีนบลูที่ผิวของคอมโพสิตเรซินที่มีวัสดุอัดแทรกขนาดเล็ก ชนิดแข็งด้วยแสง (Silux Plus®) ภายหลังการขัดด้วยหัวขัดห้าชนิดได้แก่ หินขัดสีขาว หัวขัดกากเพชร หัวขัดคาร์ไบด์ ซอฟเลกซ์ดิสค์ และ ซอฟเลกซ์สตริป โดยมีคอมโพสิตเรซิน ซึ่งผิวสัมผัสเฉพาะกับไมลาร์เมทริกซ์เป็นกลุ่มควบคุม (control) พบว่า แต่ละกลุ่มของคอมโพสิตเรซินมีค่าเฉลี่ยของการติดสีที่ผิวภายหลังการขัดในระดับต่างกันจากน้อยไปหามากดังนี้ คือ กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ขัดด้วยซอฟเลกซ์ดิสค์ กลุ่มที่ขัดด้วยหัวขัดคาร์ไบด์ กลุ่มที่ขัดด้วยซอฟเลกซ์สตริป กลุ่มที่ขัดด้วยหัวขัดกากเพชร และกลุ่มที่ขัดด้วยหินขัดสีขาว จากการวิเคราะห์ค่าการติดสีทางสถิติพบว่า ไม่มีความแตกต่างของการติดสีระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ขัดด้วยซอฟเลกซ์ดิสค์อย่างมีนัยสําคัญ (p<0.05) และทั้งสองกลุ่มติดสีน้อยกว่ากลุ่มที่ขัดด้วยหินขัดสีขาว หัวขัดกากเพชร หัวขัดคาร์ไบด์ และซอฟเลกซ์สตริป อย่างมีนัยสําคัญ (p> 0.05) และไม่พบความแตกต่างของการติดสีระหว่างกลุ่มที่ขัดด้วยหินขัดสีขาว หัวขัดกากเพชร ซอฟเลกซ์สตริป และหัวขัดคาร์ไบด์ (p<0.05)


ฟันปลอมชั่วคราวใช้ระหว่างรักษาคลองรากฟัน, ปิยะวัฒน์ พันธุ์โกศล Sep 1996

ฟันปลอมชั่วคราวใช้ระหว่างรักษาคลองรากฟัน, ปิยะวัฒน์ พันธุ์โกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

ในการรักษาคลองรากฟันหน้าที่มีส่วนของฟันหักไปมากจนผู้ป่วยไม่อยากให้ใครเห็น ทันตแพทย์มักจะนิยมทําเป็นฟันปลอมถอดได้ชนิดบางส่วนฐานอคริลิกให้ผู้ป่วยใช้ ซึ่งก็มีข้อเสียและข้อจํากัดหลายอย่าง บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนําวิธีการสร้างฟันชั่วคราวชนิดติดแน่นแทนการทําฟันปลอมถอดได้ชนิดบางส่วนฐานอคริลิก ซึ่งอาจจะใช้ได้ในเกือบทุกกรณีฟันชั่วคราวชนิดนี้สามารถใช้ซี่ฟันพลาสติกหรือฟันครอบชั่วคราวสําเร็จรูปที่ทําด้วย โพลีคาร์บอเนตมาแต่งรูปให้เข้ากับช่องว่างอาจแต่งเติมเพื่อความแนบสนิทมากขึ้นด้วยอคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยตัวเองสีขาว แล้วยึดติดกับฟันข้างเคียงด้วยคอมโพสิตเรซิน ชนิดฉายแสง หรือในกรณีที่ฟันข้างเคียงจําเป็นต้องครอบฟันอยู่แล้วก็สามารถทําฟันปลอมชั่วคราวยึดติดกับฟันครอบชั่วคราวของฟันข้างเคียงไปด้วยเลยจะช่วยให้ฟันชั่วคราวนี้ติดแน่นแข็งแรงมากยิ่งขึ้น จากรายงานผู้ป่วยทั้ง 2 ราย สามารถทําฟันชั่วคราวได้ในระยะเวลาอันสั้นในคลีนิก ผู้ป่วยมีความพอใจ และทันตแพทย์ผู้รักษารากฟันก็ทํางานได้ง่ายขึ้นและมั่นใจยิ่งขึ้น


ความสัมพันธ์ของความรู้และการปฏิบัติงานด้านทันตสุขภาพของแม่ต่อลูกวัย 3 ปี กับสภาวะโรคฟันผุ ของลูกในเขตกรุงเทพมหานคร, นาถนรินทร์ หอสัจจกุล Sep 1996

ความสัมพันธ์ของความรู้และการปฏิบัติงานด้านทันตสุขภาพของแม่ต่อลูกวัย 3 ปี กับสภาวะโรคฟันผุ ของลูกในเขตกรุงเทพมหานคร, นาถนรินทร์ หอสัจจกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการปฏิบัติด้านทันตสุขภาพของแม่ที่มีต่อลูกกับสภาวะโรคฟันผุของลูก กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอนุบาลอายุ 3 ปี จํานวน 340 คนและมารดา ภายหลังการตรวจสภาวะโรคฟันผุในเด็กเหล่านี้แล้ว ให้มารดาตอบแบบสอบถามเพื่อวัดความรู้และการปฏิบัติด้านทันตสุขภาพของมารดาต่อลูก แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.) ข้อมูลทางเศรษฐกิจสังคมของแม่ 2.) ความรู้เกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพในเด็ก 3.) การปฏิบัติด้านทันตสุขภาพที่แม่มีต่อลูก ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของโรคฟันผุในเด็กกลุ่มนี้ ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 4.47 ที่ต่อคน แม่มีคะแนนความรู้ด้านทันตสุขภาพเฉลี่ย 5.38 ± 1.42 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน มีคะแนนการปฏิบัติด้านทันตสุขภาพเฉลี่ย 8.8 ± 2.2 คะแนน จากคะแนน เต็ม 13 คะแนน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยวิธีการของ Kendall's tau b และการแจกแจงความถี่แบบหลายทางและทดสอบไคสแควร์ พบว่า ความรู้สาเหตุของฟันผุ การดื่มน้ำอัดลม การรับประทานของว่างระหว่างมื้อข้าววันละมากกว่า 3 มื้อ การแปรงฟันวันละ 2-3 ครั้ง มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุ นอกจากนี้ยังพบว่า วุฒิการศึกษาและรายได้ต่อเดือนของแม่มีความสัมพันธ์กับสภาวะฟันผุของลูก


แรงยึดเฉือนระหว่างวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินกับเนื้อฟันของฟันที่ผ่านการฟอกสี, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์, ปรีดา พึ่งพาพงศ์, ธีระศักดิ์ ดำรงรุ่งเรือง Sep 1996

แรงยึดเฉือนระหว่างวัสดุบูรณะคอมโพสิตเรซินกับเนื้อฟันของฟันที่ผ่านการฟอกสี, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์, ปรีดา พึ่งพาพงศ์, ธีระศักดิ์ ดำรงรุ่งเรือง

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษานี้เปรียบเทียบแรงยึดเฉือนของคอมโพสิตเรซิน (Silux Plus) ที่มีต่อเนื้อฟันปกติ กับแรงยึดเฉือนของคอมโพสิตเรซินที่มีต่อเนื้อฟันที่ผ่านการฟอกสีด้วย 3.5% ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Britesmile ) หรือด้วย 10% คาร์บาไมด์เปอร์ออกไซด์ (Opalescence) เป็นเวลา 14 วัน ผลปรากฏว่า แรงยึดเฉือนในฟันปกติ มีค่าเฉลี่ย 5.41±2.51 MPa ส่วนแรงยึดเฉือนในฟันที่ฟอกสีด้วย 3.5% ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Britesmile) และในฟันที่ฟอกสีด้วย 10% คาร์บาไมด์เปอร์ออกไซด์ (Opalescence) มีค่าเฉลี่ย 5.25±1.81 MPa และ 3.39±1.04 MPa ตามลําดับ เมื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยแรงยึดเฉือนของทุกกลุ่มทดลองด้วย one-way ANOVA และ SNK multiple range test (a = 0.05) พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของค่าเฉลี่ยแรงยึดเฉือนระหว่างกลุ่มฟันที่ทดลองทั้งหมด (p>0.05)


การขยายคลองรากฟันที่โค้ง, อัญชนา พานิชอัตรา, สุมาลี ส่งไพศาล Sep 1996

การขยายคลองรากฟันที่โค้ง, อัญชนา พานิชอัตรา, สุมาลี ส่งไพศาล

Chulalongkorn University Dental Journal

จุดประสงค์หลักในการรักษาคลองรากฟัน คือการทําความสะอาดคลองรากฟันรวมทั้งเตรียมคลองรากฟัน ให้อยู่ในสภาพที่สามารถอุดได้แน่นและเต็ม ดังนั้นการเตรียมคลองรากฟันจึงเป็นขั้นตอนหนึ่งซึ่งสําคัญสําหรับการ รักษาคลองรากฟัน ซึ่งในคลองรากที่โค้งมักก่อให้เกิดปัญหาในการเตรียมคลองรากฟันมากกว่าคลองรากฟันที่ตรง บทความนี้จะกล่าวถึงลักษณะโค้งของคลองรากฟัน การทําความสะอาด ตกแต่งรูปร่างของคลองรากฟัน การขยายคลองรากฟันส่วนต้น วิธีการใช้เครื่องมือ เทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการเตรียมคลองรากฟันที่โค้ง การเปรียบเทียบเทคนิคต่าง ๆ รวมทั้งข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้และวิธีแก้ไข


The Effect Of Gamma-Ray Vulcanized Latex Gloves On The Setting Of Putty Poly(Vinyl Siloxane) Impression Materials., Chairat Wiwatwarrapan, Bow Bukkavesa, Chayagrit Siri-Upathum, Piriyathorn Suwanmala Sep 1996

The Effect Of Gamma-Ray Vulcanized Latex Gloves On The Setting Of Putty Poly(Vinyl Siloxane) Impression Materials., Chairat Wiwatwarrapan, Bow Bukkavesa, Chayagrit Siri-Upathum, Piriyathorn Suwanmala

Chulalongkorn University Dental Journal

Inhibition of the setting of putty poly(vinyl siloxane) impression materials has been reported when using latex gloves. The mechanism is from the free sulfur and its derivatives remained in the gloves reacted with chloroplatinic acid catalyst in the impression materials. This study was to evaluate the effect of gamma-ray and sulfur vulcanized latex gloves on the setting of 5 poly(vinyl siloxane) impression materials (Express, President, Elite, Provil, and Extrude). All putty impression materials were hand mixed without gloves, and with different types of latex gloves. The degree of setting of tested impression materials were investigated after setting with using a …


ความหนาของซีเมนต์ต่อการยึดติดและความแนบสนิทบริเวณขอบของครอบฟัน, มรกต ตันติประวรรณ, จันทร์ผล ผิวเรือง, พุทธกรอง รักษ์สันติกุล May 1996

ความหนาของซีเมนต์ต่อการยึดติดและความแนบสนิทบริเวณขอบของครอบฟัน, มรกต ตันติประวรรณ, จันทร์ผล ผิวเรือง, พุทธกรอง รักษ์สันติกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

ควบคุมความขนาน ให้มีลักษณะเหมือนกัน คือความสูง 3 มิลลิเมตร หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมมน แบ่งฟันที่กรอแต่งแล้วออกเป็นสี่กลุ่ม โดยกลุ่ม A ใช้ Die-spacer ความหนา 2 ชั้นเพื่อให้เป็นที่อยู่ของซีเมนต์ กลุ่ม B กลุ่ม C และกลุ่ม D ใช้ Die- spacer ความหนา 4 ชั้น 6 ชั้น และ 8 ชั้นตามลําดับ ครอบฟันโลหะซึ่งทําจากโลหะผสมเงินกับเพลลาเดียมทั้ง 52 ชิ้น ถูกนํามายึดติดบนตัวฟันด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดแคปซูล ในแต่ละกลุ่มนําชิ้นตัวอย่าง 3 ชิ้น ไปหาค่าเฉลี่ยความหนาของซีเมนต์ และนําชิ้นตัวอย่างอีก 10 ชิ้น ไปวัดความแนบบริเวณขอบของครอบฟันก่อนและหลังยึดด้วยซีเมนต์ โดยใช้เครื่อง Digimatic indicator บันทึกค่าเฉลี่ยความแตกต่างของความสูงของครอบฟัน วัดแรงดึงสูงสุดที่ใช้ดึงครอบฟันออกจากตัวฟัน ด้วยเครื่อง Lloyd Universal Testing Machine ค่าเฉลี่ยความแตกต่างของความสูงของครอบฟัน (ไมโครเมตร) ของกลุ่ม A = 24.33±14.87, B = 17.89±8.10, C = 13.40±8.74 และ D = 10.80±7.06 แรงดึงสูงสุด (นิวตัน) ของกลุ่ม A = 404.87±80.03, B = 387.57±126.48, C = 360.79±75.64 และ D=452.11±103.77 แล้ววิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ ANOVA และ Duncan Test และได้ผลว่าแรงดึงสูงสุดของแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p<0.05 แต่ความแนบ บริเวณขอบของครอบฟันระหว่างกลุ่มที่ทา Die-spacer หนา 2 ชั้นกับหนา 8 ชั้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p<0.05 จึงสรุปได้ว่าความหนาของซีเมนต์ที่ได้จากการใช้ Die-spacer 2-8 ชั้นให้ค่าแรงยึดติดของครอบฟันไม่แตกต่างกัน ในขณะที่การเพิ่มความหนาของ Die-spacer ช่วยครอบฟันที่ยึดด้วยซีเมนต์ให้มี ความแนบสนิทกับตัวฟันมากขึ้น


การปลูกฟันส่วนหน้าของขากรรไกรบนในเด็กปัญญาอ่อน โดยใช้วัสดุคอมโพสิตเรซิน ร่วมกับเดือยสําเร็จรูป, วิเวียน ศรีสุพรรณดิฐ May 1996

การปลูกฟันส่วนหน้าของขากรรไกรบนในเด็กปัญญาอ่อน โดยใช้วัสดุคอมโพสิตเรซิน ร่วมกับเดือยสําเร็จรูป, วิเวียน ศรีสุพรรณดิฐ

Chulalongkorn University Dental Journal

การตรวจรักษาผู้ป่วยเด็กในกลุ่มเป้าหมายพิเศษที่มีความพิการโดยเฉพาะบุคคลปัญญาอ่อนที่ได้รับอุบัติเหตุ จนมีการหลุดของฟันในบริเวณขากรรไกรบนส่วนหน้า ซึ่งเป็นงานที่เร่งด่วนอย่างมาก ในการที่จะประสบความสําเร็จในการรักษา เนื่องจากการให้ความร่วมมือกับเด็กขณะที่รับการรักษามีน้อยมาก ดังนั้นในการตรวจรักษาจะต้องใช้วิธีง่ายสะดวกและรวดเร็วที่สุดรวมทั้งจะต้องให้ผลในการรักษาที่ดี รายงานผู้ป่วย 1 รายเป็นเด็กปัญญาอ่อนที่อยู่ในโรงพยาบาลราชานุกูลได้รับอุบัติเหตุจากเพื่อน ซึ่งถือไม้กวาดโดยเอาปลายไม้กวาดกระแทกโดนฟันหน้าที่ #11 (ฟันตัดกลางบนขวา) หลุดกระเด็นหายไป ส่วนฟันหน้าที่ #21 (ฟันตัดกลางบนซ้าย) หลุดจากเป้าฟันแต่ยังติดอยู่บริเวณแผล โดยเนื้อเยื่อได้ ให้การรักษาด้วยการยึดฟันซี่หนึ่งบนซ้ายติดกับเดือยสําเร็จรูปให้ติดแน่นอยู่กับฟันถัดไป โดยใช้วัสดุประเภท คอมโพสิต เรซิน ชนิดที่ใช้กรดกัดผิวฟันและชนิดแข็งตัว ด้วยการฉายแสง โดยใช้เวลาในการติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งการรักษาครั้งนี้ได้ผลเป็นที่พอใจ


ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะฟันผุกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่างและการดูแลอนามัยในช่องปากของนักเรียน ชั้นประถมปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร, จารุวรรณ ตันกุรานันท์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล May 1996

ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะฟันผุกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่างและการดูแลอนามัยในช่องปากของนักเรียน ชั้นประถมปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร, จารุวรรณ ตันกุรานันท์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

การวิจัยนี้เป็นการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะโรคฟันผุกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่าง การดูแลอนามัยในช่องปาก ของเด็กนักเรียนประถมปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 592 คน จาก 18 โรงเรียนพบว่ามีอัตราชุกของโรคฟันผุร้อยละ 82.9 ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดเป็นซี่ ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (mean DMFT + SD) = 2.84 ± 2.21 จํานวนเงินที่ใช้ซื้ออาหารว่างมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ จํานวนเงินที่ได้รับมาโรงเรียนและความถี่ของการบริโภคอาหารว่าง (r = 0.5730, 0.1629 ที่ p< .001 ตามลําดับ) ค่าฟันผุถอนอุดเป็นด้าน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับจํานวนเงินที่ได้รับมาโรงเรียน และจํานวนเงินที่ใช้ซื้ออาหารว่าง (r = ที่ p < 0.05 ตามลําดับ) คะแนนการแปรงฟันมีความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามกับความถี่ของการบริโภคอาหารว่างและ จํานวนเงินที่ใช้ซื้ออาหารว่าง (r = 0.1036, -0.0918 ที่ p<0.05 ตามลําดับ) เมื่อจําแนกนักเรียนตามกลุ่มการแปรงฟัน และความถี่ของการบริโภคอาหารว่าง พบว่า นักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนการแปรงฟันต่ำที่สุดและความถี่ ของการบริโภคอาหารว่างสูงที่สุดมีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดสูงที่สุด (mean DMFS = 6.18) ในขณะที่นักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนการแปรงฟันสูงที่สุดและความถี่ของการบริโภคอาหารว่างต่ำที่สุด มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดต่ำที่สุด (mean DMFS = 3.50) แสดงว่าเด็กนักเรียนที่มีความถี่ของการบริโภคอาหารว่างสูงและคะแนนการแปรงฟันต่ำ มีแนวโน้มของการเป็นโรคฟันผุสูงกว่าเด็กนักเรียนที่มีความถี่ของการบริโภคอาหารว่างต่ำและคะแนนการแปรงฟันสูง และควรทําการศึกษาอย่างละเอียดต่อไป เพื่อให้ได้ผลชัดเจนมากขึ้น


เมทริกซ์เมแทลโลโพรทีเนส : ภาพรวมในปัจจุบัน, เอมอร เบญจวงศ์กุลชัย May 1996

เมทริกซ์เมแทลโลโพรทีเนส : ภาพรวมในปัจจุบัน, เอมอร เบญจวงศ์กุลชัย

Chulalongkorn University Dental Journal

เมทริกซ์เมแทลโลโพรทีเนส เป็นกลุ่มของเอนโดเพปที่เดสที่มีสังกะสีอยู่ในโมเลกุล ทําหน้าที่ย่อยสลายสารนอกเซลล์ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้ทางชีวเคมีเกี่ยวกับโครงสร้าง หน้าที่ การควบคุม การทํางาน การวิเคราะห์ ตลอดจนงานวิจัยในปัจจุบันและอนาคตของเอนไซม์กลุ่มนี้


การเกิดรอยผุซ้ำรอบวัสดุบูรณะคอฟัน: การศึกษาโดยใช้ระบบฟันผุจําลอง, ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์, ปรารถนา ดำรงเกียรติเวช, รักษ์รัฐ สิทธิโชค May 1996

การเกิดรอยผุซ้ำรอบวัสดุบูรณะคอฟัน: การศึกษาโดยใช้ระบบฟันผุจําลอง, ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์, ปรารถนา ดำรงเกียรติเวช, รักษ์รัฐ สิทธิโชค

Chulalongkorn University Dental Journal

การบูรณะฟันแควิตีแบบคลาสไฟว์ด้วยวัสดุคอมโพสิตเรซิน และ กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ มักจะประสบปัญหารอยรั่วตามขอบและนําไปสู่การเกิดรอยผุซ้ำรอบวัสดุบูรณะต่อไป การศึกษานี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัสดุบูรณะฟัน 2 ชนิด คือ คอมโพสิตเรซินซึ่งใช้ร่วมกับเดนทีนแอดฮีซิฟ และกลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ ถึงความสามารถของวัสดุในการต้านทานการเกิดรอยผุซ้ำโดยใช้ระบบฟันผุจําลอง โดยนําฟันกรามน้อยจํานวน 20 ซี่มาเตรียมแควิตี้แบบคลาสไฟว์ขนาด 2x3x1.5 มม แบ่งฟันเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 10 ซี่ กลุ่มแรก บูรณะด้วยคอมโพสิตเรซินยี่ห้อ Z-100 (3M) ร่วมกับเดนทีนแอดฮีซิฟ AllBond 2 (Bisco) กลุ่มหลังบูรณะด้วย กลาสไอโอโนเมอร์ยี่ห้อ Vitremer (3M) ตามคําแนะนําของบริษัทผู้ผลิต แล้วนําฟันทั้งหมดมาทายาทาเล็บโดยรอบโดยเว้นห่างจากขอบวัสดุ 1 มม. โดยรอบ หุ้มปลายรากด้วยขี้ผึ้งแล้วนําฟันทั้งหมดแช่ในน้ำยา Ten Cate Demineralizing Solution เป็นเวลา 1 สัปดาห์ แล้วนํามาล้างให้สะอาดแล้วตัดฟันตามแกนยาวซีละ 3 ส่วน นํามาตรวจหารอยผุที่เกิดขึ้นโดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงโพลาไรซ์ วัดความลึกหน่วยเป็นไมครอน จากผลการทดลองพบว่า กลาสไอโอโนเมอร์สามารถต้านทานการผุที่ผิวนอกของฟันได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับคอมโพสิตเรซิน และไม่พบรอยผุต่อที่ผนังแควิตในทั้งสองกลุ่ม ดังนั้น กลาสไอโอโนเมอร์อาจจะเหมาะสําหรับ สภาวะที่มีอัตราเสี่ยงต่อฟันผุสูง ขณะที่คอมโพสิตเรซินเหมาะสําหรับการบูรณะที่ต้องการความแข็งแรงและสวยงาม


อะมีโลบลาสติกไฟโบรมาในกระดูกขากรรไกรล่าง รายงานผู้ป่วย 1 ราย, เกษมศักดิ์ แก้วอิ่ม May 1996

อะมีโลบลาสติกไฟโบรมาในกระดูกขากรรไกรล่าง รายงานผู้ป่วย 1 ราย, เกษมศักดิ์ แก้วอิ่ม

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วยเด็กอายุ 10 ปี ที่มีเนื้องอกอะมีโลบลาสติกไฟโบรมาในกระดูกขากรรไกรล่างซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก โดยมีอาการบวมของกระดูกขากรรไกรล่างเล็กน้อย จากภาพรังสีพบมีลักษณะเงากระดูกโปร่งรังสี ลักษณะคล้ายถุงน้ำเดียวรอบปลายรากของฟันน้ำนม # 73 และ # 74 เชื่อมต่อกับเยื่อหุ้มฟัน # 33 ข้อแนะนําในการรักษาโดยการทําศัลยกรรมควักออก และต้องติดตามการรักษาเป็นเวลานาน ทั้งนี้เนื่องจากเกิดเป็นซ้ำได้สูง และเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งได้


การเพิ่มมิติแนวดิ่งขณะสบฟันโดยการบูรณะชั่วคราว ชนิดติดแน่น : รายงานผู้ป่วย, มรกต ตันติประวรรณ May 1996

การเพิ่มมิติแนวดิ่งขณะสบฟันโดยการบูรณะชั่วคราว ชนิดติดแน่น : รายงานผู้ป่วย, มรกต ตันติประวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วยฉบับนี้กล่าวถึง การเพิ่มมิติแนวดิ่งขณะสบฟันโดยใช้การบูรณะชั่วคราวชนิดติดแน่นในผู้ป่วยชายอายุ 21 ปี เป็นโรค amelogenesis imperfecta ซึ่งสูญเสียเคลือบฟัน และเนื้อฟัน ทางด้านบดเคี้ยวไปค่อนข้างมาก รวมทั้งสภาพเคลือบฟันที่เหลืออยู่รอบ ๆ ตัวฟันบาง และไม่แข็งแรง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาผู้ป่วยได้รับการรักษาการสึกกร่อนทางด้านบดเคี้ยว โดยใช้วัสดุอุดฟันทั้ง อะมัลกัม คอมโพสิต และกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ เพื่อคงสภาพมิติแนวดิ่งขณะสบฟันให้คงที่ และเพื่อรอเวลาให้โพรงเนื้อเยื่อฟันมีขนาดเหมาะสมที่จะสามารถครอบฟันถาวรได้ ทั้งนี้การทําครอบฟันในคนไข้รายนี้จําเป็นต้องเพิ่มความสูงในแนวดิ่ง เพื่อให้มีเนื้อที่ทางด้านบดเคี้ยวสําหรับครอบฟัน และความยาวของตัวฟันที่เหมาะสมในการยึดอยู่ (Retention) ของครอบฟัน วิธีการรักษาใช้อุดครอบ ด้วยคอมโพสิต (Composite onlay) รวมกับซีเมนต์ชนิดเรซิน (Resin cement) ยึดติดแน่นบนตัวฟัน เพื่อประเมินว่ากล้ามเนื้อบดเคี้ยว ข้อต่อขากรรไกร และฟันธรรมชาติของผู้ป่วยไม่มีอาการใด ๆ และผู้ป่วยสามารถบดเคี้ยวอาหารได้ตามปรกติภายหลังเพิ่มมิติแนวดิ่งขณะสบฟัน จากนั้นจึงทําการบูรณะครอบฟันถาวรต่อไป


ผลของสารฟอกสีฟันต่อการรั่วซึมตามขอบของแควิตี้คลาส V ที่บูรณะด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปรด้วยเรซิน, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์, บุญรัตน์ อำไพภิญโญกุล, ปนัดดา นิลดำ May 1996

ผลของสารฟอกสีฟันต่อการรั่วซึมตามขอบของแควิตี้คลาส V ที่บูรณะด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปรด้วยเรซิน, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์, บุญรัตน์ อำไพภิญโญกุล, ปนัดดา นิลดำ

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษานี้เปรียบเทียบการรั่วซึมตามขอบของแควิตี้คลาส V ในฟันที่บูรณะด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ ชนิดดัดแปรด้วยเรซิน (Fuji II LC) ตรงบริเวณ cementoenamel junction ด้าน buccal surface แล้วฟอกสีฟันด้วย Britesmile (3.5% ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์) หรือ Opalescence (10% คาร์บาไมด์เปอร์ออกไซด์) เป็น เวลา 14 วัน โดยมีฟันที่บูรณะและแช่ในน้ำลายเทียมเป็นกลุ่มควบคุม ภายหลังการฟอกสี นําฟันทั้งสามกลุ่มมาผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ (thermocycling) จํานวน 250 รอบ ที่อุณหภูมิ 55±2°C และ 5±2°C และ ทดสอบการรั่วซึมตามขอบของแควิตี้ด้วยการแช่ในสารละลายซิลเวอร์ไนเตรด เข้มข้น 50% โดยน้ำหนักเป็นเวลา 4 ชั่วโมง และใน x-ray developing solution อีก 4 ชั่วโมง เมื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยการรั่วซึมทางสถิติด้วย one-way ANOVA ที่ความเชื่อมั่น 95% (a= 0.05) ผลปรากฏว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของค่าเฉลี่ยการรั่วซึมบริเวณผนังแควิตี้ด้านบดเคี้ยว (occlusal wall) หรือบริเวณผนังแควิตี้ด้านใกล้เหงือก (gingival wall) ระหว่างกลุ่มทดลองทั้งหมด (p > 0.05)


การจําลองการสบฟันในกลอุปกรณ์ขากรรไกรจําลองชนิดปรับได้บางส่วน, วันทนี มุทิรางกูร, สีชมพู นรภูมิพิภัชน์ May 1996

การจําลองการสบฟันในกลอุปกรณ์ขากรรไกรจําลองชนิดปรับได้บางส่วน, วันทนี มุทิรางกูร, สีชมพู นรภูมิพิภัชน์

Chulalongkorn University Dental Journal

การวิจัยนี้เป็นการจําลองการสบฟันของอาสาสมัคร 65 คน ในกลอุปกรณ์ขากรรไกรจําลองHanau รุ่น H2-PR เพื่อศึกษาว่า การจําลองการสบฟันในกลอุปกรณ์ขากรรไกรจําลองชนิดปรับได้บางส่วนสามารถทําได้ในทุก ๆ ตําแหน่งของขากรรไกรหรือไม่ พบว่าทันตแพทย์ 2 คนสามารถตรวจและจําลองการสบฟันในตําแหน่งความสัมพันธ์ในศูนย์ได้ตรงกันมากกว่าตําแหน่งสบฟันอื่น ๆ การจําลองการสบฟันของอาสาสมัคร 13 คน (ร้อยละ 20) ทําได้ถูกต้องในทุกตําแหน่งของขากรรไกร ส่วนการจําลองการสบฟันของอาสาสมัครที่เหลือ 52 คน (ร้อยละ 80) พบว่ามีการสบฟันในตําแหน่งต่าง ๆ ของขากรรไกรคลาดเคลื่อนตั้งแต่ 1 ตําแหน่งถึงไม่ถูกเลย โดยตําแหน่งที่จําลอง คลาดเคลื่อนพบกระจายในทุกตําแหน่งของขากรรไกร และความคลาดเคลื่อนในการจําลองการสบฟันในตําแหน่งต่าง ๆ ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับความถูกต้องของการจําลองการสบฟันที่ตําแหน่งความสัมพันธ์ในศูนย์ การจําลองการสบฟันในตําแหน่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องเรียงลําดับได้ดังนี้ การสบดุลทั้งด้านซ้ายและขวาสามารถจําลองได้เหมือนในช่องปากมากที่สุด (ร้อยละ 87.7 และ 89.2) การสบยื่น (ร้อยละ 75.4) ความสัมพันธ์ในศูนย์ (ร้อยละ 73.8) การสบทํางานด้านซ้ายและขวา (ร้อยละ 66.1 และ 60.0) และการสบในศูนย์ (ร้อยละ 36.9) ทั้งนี้การใช้แผ่น โลหะบางตรวจจุดสบฟันเพื่อประเมินความถูกต้องของการจําลองการสบในศูนย์อาจไม่เหมาะสม


Demineralization Inhibitory Ability Of Tooth-Colored Restorative Materials, Chaiwat Maneenut May 1996

Demineralization Inhibitory Ability Of Tooth-Colored Restorative Materials, Chaiwat Maneenut

Chulalongkorn University Dental Journal

Demineralization inhibitory ability of a polyacid-modified composite resin (Dyract®) was evaluated and compared to those of a composite resin (Scotchbond MP/Silux Plus) and a resin-modified glass ionomer restorative cement (Fuji II LC). A synthetic polymer acidified-gel technique was used in producing artificial caries-like lesion around standard Class V restorations of these materials. Demineralized lesions developed around the margin of all restorations and the depth of lesions were significantly different among all materials (P<0.05). Zone of inhibitions were only found at the tooth/restoration interface of all Fuji II LC restorations. In this study, demineralization inhibitory ability of the polyacid-modified composite resin was inferior to that of the resin-modified glass ionomer restorative cement but was superior to that of the composite resin.


ปะกิณกะ May 1996

ปะกิณกะ

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


การตั้งฟันกรามล่างแท้ซี่ที่สองที่เป็นฟันชนด้วยเครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้, วิภาวรรณ ฤทธิ์ถกล Jan 1996

การตั้งฟันกรามล่างแท้ซี่ที่สองที่เป็นฟันชนด้วยเครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้, วิภาวรรณ ฤทธิ์ถกล

Chulalongkorn University Dental Journal

การเกิดฟันกรามแท้ซี่ที่สองที่เป็นฟันชน อาจมีสาเหตุได้หลายประการ การรักษาฟันกรามแท้ซี่ที่สองที่เป็นฟันชน และมีสภาวะความรุนแรงของฟันชนปานกลาง สามารถทําได้โดยอาศัยเครื่องมือทางทันตกรรมจัดฟันทั้งชนิดติดแน่นและชนิดถอดได้ รายงานผู้ป่วยนี้ ได้แสดงถึงวิธีการประยุกต์ใช้เครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้ ร่วมกับการใช้ยางเพื่อตั้งฟันกรามล่างแท้ซี่ที่สองที่มีลักษณะเป็นฟันชน ส่วนประกอบที่สําคัญที่ใช้ในการตั้งฟัน ได้แก่ การใช้ตะขอดัด 2 ตัว ร่วมกับการดึงยางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/8 นิ้ว แรง 3.5 ออนซ์ ภายหลังผู้ป่วยใช้เครื่องมือนี้ 8 สัปดาห์ ฟันกรามแท้ซี่ที่สองที่เป็นฟันชนนั้นสามารถขึ้นสู่ช่องปากได้ตามปกติ เครื่องมือจัดฟันชนิดนี้สามารถทําได้ง่ายและใช้ได้ผลดี ซึ่งทันตแพทย์ทั่วไปสามารถนําเทคนิคนี้มาใช้ในการรักษาได้ ถึงแม้ว่าจะมีอุปกรณ์ทางทันตกรรมเพียงบางชิ้นเท่านั้น


ผลของคลอร์เฮกซิดีนร่วมกับการฉีดล้างแบบมีแรงดัน ต่อคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบ, สุนทร ระพิสุวรรณ, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร Jan 1996

ผลของคลอร์เฮกซิดีนร่วมกับการฉีดล้างแบบมีแรงดัน ต่อคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบ, สุนทร ระพิสุวรรณ, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร

Chulalongkorn University Dental Journal

เพื่อเปรียบเทียบผลทางคลินิกของน้ำยาคลอร์เฮกซิดีนความเข้มข้นร้อยละ 0.03 และ 0.06 และน้ำยาควบคุม ร่วมกับการฉีดล้างช่องปากแบบมีแรงดัน ในการควบคุมการเกิดคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบ ในผู้ป่วย 10 คน ซึ่งฉีดน้ำยาวันละ 1 ครั้ง เสริมการแปรงฟัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ต่อน้ำยาแต่ละอย่าง มีระยะพัก 2 สัปดาห์ สําหรับการเปลี่ยนน้ำยา ผู้ป่วยทุกคนแปรงฟันโดยวิธีที่แปรงอยู่เดิม โดยใช้ยาสีฟันชนิดเดียวกัน ไม่มีการดูแลสุขอนามัยในช่องปากด้วยวิธีอื่น ผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการทําความสะอาดช่องปากให้มีดัชนีคราบจุลินทรีย์เท่ากับ 0 ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำยา ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจดัชนีคราบจุลินทรีย์ ดัชนีการมีเลือดออก ดัชนีดัดแปลงพีเอ็มเอและผลข้างเคียงก่อนและทุกสัปดาห์ของการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า การฉีดล้างช่องปากด้วยน้ำยาทั้งสามอย่าง สามารถลดคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) ในทุกสัปดาห์เมื่อเทียบกับก่อนการศึกษาและเมื่อสิ้นสุดการศึกษาไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P > 0.05) ระหว่างน้ำยาคลอร์เฮกซิดีนทั้งสอง ความเข้มข้น อาการไม่พึงประสงค์ของน้ำยาคลอร์เฮกซิดีนความเข้มข้นร้อยละ 0.03 น้อยกว่าความเข้มข้นร้อยละ 0.06 อย่างไรก็ตามพบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.05) สําหรับดัชนีคราบจุลินทรีย์และดัชนีดัดแปลงพีเอ็มเอ (ส่วนเหงือกสามเหลี่ยมระหว่างฟัน) ของน้ำยาคลอร์เฮกซิดีนทั้ง 2 ความเข้มข้นกับน้ำยาควบคุมจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า การฉีดล้างแบบมีแรงดันด้วยน้ำยาคลอร์เฮกซิดีนความเข้มข้นร้อยละ 0.03 จํานวน 400 มิลลิลิตรวันละ 1 ครั้ง เสริมการแปรงฟันตามปกติ เป็นวิธีที่เหมาะสมมากกว่าใช้คลอร์เฮกซิดีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.06 ในการลดคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า เครื่องฉีดล้างแบบมีแรงดันมีประสิทธิภาพ ในการควบคุมคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบโดยน้ำยาคลอร์เฮกซิดีนจะช่วยเสริมประสิทธิภาพ


ปัจจัยที่มีผลต่อความยาวใบหน้า, ไชยรัตน์ เฉลิมรัตนโรจน์ Jan 1996

ปัจจัยที่มีผลต่อความยาวใบหน้า, ไชยรัตน์ เฉลิมรัตนโรจน์

Chulalongkorn University Dental Journal

ความยาวใบหน้าเป็นเกณฑ์สําคัญประการหนึ่งในการวินิจฉัยความสวยงามของใบหน้า ในการวางแผนรักษาผู้ป่วยที่กําลังเจริญเติบโตทันตแพทย์จัดฟันต้องมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงความยาวใบหน้า บทความนําเสนอปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงความยาวใบหน้า ประกอบด้วย การเจริญเติบโตของใบหน้า การบําบัดทางทันตกรรมจัดฟันด้วยเครื่องมือประเภทต่าง ๆ กล้ามเนื้อบดเคี้ยว ทางเดินหายใจ และปัจจัยอื่น ๆ โดยทั่วไปปัจจัยดังกล่าวข้างต้นโดยเฉพาะการบําบัดทางทันตกรรมจัดฟันมักทําให้ความยาวใบหน้าเพิ่มขึ้น ซึ่งทําให้ผลการรักษาด้อยลงในผู้ป่วยที่มีโครงสร้างใบหน้ายาว แต่จะเป็นผลดีต่อผู้ป่วยโครงสร้างใบหน้าสั้น


การกระจายของโรคฟันผุและสภาพความรุนแรงของโรคปริทันต์ ในประชากรมีอายุ 30-70 ปี ของจังหวัดสกลนคร, สุนทร ระพิสุวรรณ, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร Jan 1996

การกระจายของโรคฟันผุและสภาพความรุนแรงของโรคปริทันต์ ในประชากรมีอายุ 30-70 ปี ของจังหวัดสกลนคร, สุนทร ระพิสุวรรณ, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการสุ่มสํารวจประชากรที่อยู่ในหมู่บ้านอําเภอรอบนอกของจังหวัดสกลนคร อายุ 30-70 ปี เพื่อหาความชุกของโรคฟันผุจําแนกตามซี่ฟันและสถานะของโรคปริทันต์ โดยตําแหน่งของฟัน จํานวน 165 คน, เป็นเพศหญิง 96 คน (58.18%) พบว่า 93.90% ของ periodontal sextant มีหินปูนเกาะรอบคอฟัน, ตําแหน่ง ฟัน #11 มีความชุกของการเกิดหินปูนเกาะสูงกว่าตําแหน่งอื่น (89.31%) ในแง่ของความต้องการบริการรักษา 36% ของประชากรศึกษาต้องการการบําบัดที่ค่อนข้างซับซ้อน ค่าเฉลี่ยของฟันผุ ถอน อุด เท่ากับ 5.48 ต่อคน โดยฟันกรามล่างซี่สุดท้าย มีเปอร์เซ็นต์การผุมากที่สุด (16.97%) และฟันกรามซี่สุดท้ายมีเปอร์เซ็นต์การถอนมากที่สุด (22.12%) ฟันกรามบนซี่แรกจะมีเปอร์เซ็นต์การผุมากกว่าฟันกรามล่างซี่แรก ค่าเฉลี่ยของความต้องการอุด และถอน เท่ากับ 2.93 ที่ต่อคน ฟันกรามโดยทั่วไปของคนกลุ่มนี้จะพบฟันสึกจนถึงชั้นเนื้อฟันทุกคน


ความสําเร็จของการรักษาคลองรากฟัน, จงกลวรรณ ตันโตทัย, แมนสรวง อักษรนุกิจ Jan 1996

ความสําเร็จของการรักษาคลองรากฟัน, จงกลวรรณ ตันโตทัย, แมนสรวง อักษรนุกิจ

Chulalongkorn University Dental Journal

ความสําเร็จของการบูรณะฟันที่จะทําต่อไปภายหลังจากที่ได้ทําการรักษาคลองรากฟันแล้วนั้น มีปัจจัยที่ต้องคํานึงถึงอยู่หลายประการด้วยกัน ปัจจัยที่สําคัญ คือ การเลือกใช้วัสดุอย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งในบทความ นี้ได้รวบรวมข้อสําคัญในขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งทันตแพทย์ผู้ที่จะทําการบูรณะฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากแล้วควรคํานึงถึงก่อนที่จะทําการบูรณะต่อไป เช่น การพิจารณาว่าฟันที่ได้ทําการรักษาคลองรากนั้นมีความสําเร็จหรือไม่ ผลของวัสดุอุดคลองรากฟันและซีเมนต์เคลือบคลองรากที่ใช้ต่อการแนบบริเวณปลายราก รวมทั้งผลของการเตรียมช่องว่างสําหรับเดือยและน้ำยาล้างคลองรากต่อการรั่วบริเวณปลายราก


Silica Coating Methods For Resin-To-Metal Bonding, W. Iramaneerat, R. Panichuttra Jan 1996

Silica Coating Methods For Resin-To-Metal Bonding, W. Iramaneerat, R. Panichuttra

Chulalongkorn University Dental Journal

In Dentistry, bonding between resin cement and metal alloy plays an important role in many clinical applications. From several studies, the failures at resin-metal interface are the most frequently reported. Numerous methods are available for bonding resin to alloy. The sillica coating methods have been developed to improve chemo - mechanical retention. Three different silica coating methods were described. The original Silicoater system is a pyrolytic deposition of an intermediate SiOx layer to the alloy surface. The Rocatec system is a tribochemical silica coating process, including two sandblasting steps to the alloy surface. The Silicoater MD system is a thermal …


The Curvature Of The Palatal Root Canal Of The Maxillary Molars In The Thai Population, Mettachit Nawachinda Jan 1996

The Curvature Of The Palatal Root Canal Of The Maxillary Molars In The Thai Population, Mettachit Nawachinda

Chulalongkorn University Dental Journal

The objective of this study was to determine the degree of curvature of the palatal canal of maxillary molar teeth in the Thai population. The degree of curvature of palatal canals of two hundred and fourteen maxillary molars were measured using Schneider's method. The results were; 95 teeth or 44.39% were 0°, and 119 teeth or 55.60% were curved to the buccal, the ratio straight: curved was 1:1.25, the mean of curvature was 15.39°, the most frequency of curvature was 20°-29°. At the 95% confidence interval the incidence of the buccal curvature of palatal canal is 48.3% to 61.7%.