Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 28 of 28

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การให้การพยาบาลผู้ป่วยที่ผ่าตัดในช่องปากกระดูกแม็กซิลล่า และกระดูกใบหน้า, พิสมร รัชฎา Sep 1994

การให้การพยาบาลผู้ป่วยที่ผ่าตัดในช่องปากกระดูกแม็กซิลล่า และกระดูกใบหน้า, พิสมร รัชฎา

Chulalongkorn University Dental Journal

ในการดูแลผู้ป่วยทางด้านศัลยกรรมช่องปาก และแม็กซิลโลเฟเชียลนั้น จะต้องดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อให้การรักษาดําเนินไปด้วยดี ผู้ป่วยจะได้รับความปลอดภัยจากการผ่าตัดรักษาและเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด เจ้าหน้าที่พยาบาลในหน่วยงานที่รับผิดชอบทางด้านนี้ จึงจําเป็นจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการดูแลผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังผ่าตัดในช่องปากอย่างถูกต้องและแม่นยํานอกเหนือไปจากการผ่าตัดอย่างอื่น ทั่วไป


โปรแกรมคอมพิวเตอร์รายงานทันตสาธารณสุข (ตอนที่ 2), สันต์ อนันต์ชนะชัย Sep 1994

โปรแกรมคอมพิวเตอร์รายงานทันตสาธารณสุข (ตอนที่ 2), สันต์ อนันต์ชนะชัย

Chulalongkorn University Dental Journal

ปัจจุบันนี้ ได้มีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลายในงานด้านสาธารณสุข เราสามารถพบเครื่องคอมพิวเตอร์ในสถานบริการสาธารณสุขหลายแห่งโดยทั่วไป และในขณะเดียวกันเราก็พบว่า ปริมาณและความสําคัญของข้อมูลข่าวสารงานด้านทันตสาธารณสุขกําลังเพิ่มพูนขึ้นเช่นกัน ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้หน่วยงานภาคสาธารณสุขได้ เริ่มที่จะตระหนักถึงประโยชน์ของการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ได้ทราบมาก่อนแล้วแต่น่าเสียดายที่วิชาชีพทางด้านทันตสาธารณสุข ไม่ค่อยได้มีโอกาสฝึกฝนในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพหรือมีการตัดสินใจนําคอมพิวเตอร์มาช่วยงานของตน จุดประสงค์ของการเขียนบทความนี้ เพื่อยกตัวอย่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมหนึ่งที่ใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลในรายงานทันตสาธารณสุข โปรแกรมนี้ถูกประยุกต์ขึ้น โดยใช้คําสั่งจาก ดีเบสทรีพลัส และ ฟ็อกซ์เบส เวอร์ชั่น 2.10 ด้วยการใช้คําสั่งแบบง่าย ๆ และโครงสร้างโปรแกรม ที่ไม่ซับซ้อนทําให้โปรแกรมนี้ง่ายต่อการทําความเข้าใจ ไม่เฉพาะสําหรับผู้ที่เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ แต่ยังง่าย สําหรับผู้ที่กําลังฝึกหัดการเขียนโปรแกรมอยู่ด้วยเช่นกัน


ฟันปลอมชนิดคลุมทับบนฟันธรรมชาติ, ตระกล เมฆญารัชชนานนท์, โสภี ชาติสุทธิพันธ์, ภัทราวดี พงศ์พานิช Sep 1994

ฟันปลอมชนิดคลุมทับบนฟันธรรมชาติ, ตระกล เมฆญารัชชนานนท์, โสภี ชาติสุทธิพันธ์, ภัทราวดี พงศ์พานิช

Chulalongkorn University Dental Journal

ฟันปลอมชนิดคลุมฟันธรรมชาติเป็นหนึ่งในหลายทางเลือกสําหรับการรักษาทางทันตกรรม ฟันปลอมนี้ถูกจัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ฟันปลอมทั้งปากชนิดที่คลุมทับบนฟันธรรมชาติ และฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้ที่คลุมทับบนฟันธรรมชาติ บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณาเลือกผู้ป่วย ข้อดีและข้อเสียในการนํามาใช้งาน ตลอดจนการเลือกและเตรียมฟันหลัก การดูแลรักษาเพื่อให้การทําฟันปลอมประสบผลสําเร็จ รายงานนี้ จะกล่าวถึง บทความปริทัศน์ของฟันปลอมดังกล่าวพร้อมทั้งเสนอรายงานผู้ป่วย 1 รายที่ได้รับการรักษาด้วยฟันปลอมชนิดคลุมทับรากฟันธรรมชาติด้วย


การพัฒนาวิธีการตรวจและเพาะเชื้อจากคลองรากฟัน, บุญนิตย์ ทวีบูรณ์, รุ่งรวี กมลรุ่งวรากุล, สร้อยศิริ ทวีบูรณ์ Sep 1994

การพัฒนาวิธีการตรวจและเพาะเชื้อจากคลองรากฟัน, บุญนิตย์ ทวีบูรณ์, รุ่งรวี กมลรุ่งวรากุล, สร้อยศิริ ทวีบูรณ์

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงวิธีการตรวจเชื้อจากคลองรากฟันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าวิธีเดิมที่ปฏิบัติอยู่ในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยศึกษาการตรวจเชื้อจากคลองรากฟันซึ่งมีพยาธิสภาพที่ตรวจได้จากภาพถ่ายรังสีขนาดเล็กกว่าหรือเท่ากับ 4 มิลลิเมตรกลุ่มหนึ่ง และอีกกลุ่มหนึ่งพยาธิสภาพมีขนาดมากกว่า 4 มิลลิเมตร การตรวจหาเชื้อจะเก็บเชื้อจากคลองรากฟันที่มีการประเมินทางคลินิกแล้วว่าพร้อมที่จะทําการอุดได้ โดยแบ่งเป็น 3 วิธี วิธีที่ 1 เป็นวิธีที่ปฏิบัติอยู่คือ ใช้แท่งกระดาษซับปลอดเชื้อเก็บเชื้อในคลองรากแล้วนําไปเพาะเลี้ยงเชื้อในบรรยากาศปรกติ วิธีที่ 2 คือใช้กระบอกฉีดทูเบอร์คูลินดูดและฉีดน้ำเกลือปริมาตร 0.1 มิลลิลิตร ประมาณ 5 ครั้ง จากนั้นดูดน้ําเกลือกลับมา 0.05 มิลลิลิตร เพื่อนําไปเพาะเลี้ยงเชื้อ วิธีที่ 3 จะใช้แท่งกระดาษซับปลอดเชื้อซับน้ำเกลือที่เหลือในคลองรากจนแห้ง แล้วนําไปเพาะเลี้ยงเชื้อ วิธีที่ 2 และวิธีที่ 3 จะนํามาเพาะเลี้ยงเชื้อ ในบรรยากาศไร้ออกซิเจน จากการศึกษาพบว่าการตรวจเชื้อโดยวิธีที่ 3 มีแนวโน้มที่จะมีความไวสูงกว่าวิธีที่ 1 และ 2 แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ จึงควรได้มีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์สําหรับการตรวจเชื้อในคลองรากฟันต่อไป


เมลิออยโดสิสของกระดูกขากรรไกรล่าง, พลสิทธิ์ บัวศรี, ศุภผล เอี่ยมเมธาวี Sep 1994

เมลิออยโดสิสของกระดูกขากรรไกรล่าง, พลสิทธิ์ บัวศรี, ศุภผล เอี่ยมเมธาวี

Chulalongkorn University Dental Journal

บทรายงานผู้ป่วยโรค เมลิออยโดสิส (Melioidosis) ซึ่งแสดงภาวะในรูปลักษณะของกระดูกขากรรไกรล่างอักเสบเฉียบพลัน (Acute Osteomyelitis of mandible) รายแรกในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และยังไม่เคยพบรายงานของโรคนี้ที่เกิดขึ้นในช่องปากและกระดูกขากรรไกรในประเทศไทยเลย ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยได้ถูกต้องรวดเร็วและสามารถให้การรักษาอย่างเร่งด่วน แม้ว่าความรุนแรงของสภาวะการติดเชื้อของโรคจะทําลาย กระดูกขากรรไกรล่างไปอย่างรวดเร็วก็ตาม รายงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่เป็นตัวอย่างให้ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมพึงสังวรณ์ระวังอาการ ที่ไม่พึงประสงค์หรืออาการแทรกซ้อน ทําให้เกิดอาการร้ายแรงเกินกว่าจะคาดฝันได้


การทรงท่านั่งทํางานของทันตแพทย์, สุรินทร์ ตั้งสุภูมิ Sep 1994

การทรงท่านั่งทํางานของทันตแพทย์, สุรินทร์ ตั้งสุภูมิ

Chulalongkorn University Dental Journal

งานบริการทางทันตกรรมของทันตแพทย์ เป็นงานที่ต้องนั่งอยู่ในท่าหนึ่งท่าใดติดต่อกันเป็นเวลานาน งานต้องประณีต ละเอียดอ่อนเกือบตลอดช่วงของการรักษาผู้ป่วย มีการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงมีความจําเป็นที่จะต้องสนใจการทรงท่านั่งในการทํางานที่ถูกต้อง เหมาะสมและสมดุลในท่าที่ผ่อนคลาย ตะโพกตรง หลังตรง ไม่บิดตัว โน้มตัวไปข้างหน้าและศีรษะก้มลงเล็กน้อย ต้นแขนแนบชิดลําตัว หัวไหล่ตรงในลักษณะขนานกับพื้น ต้นขาวางราบบนฐานรองนั่งในแนวขนานกับพื้น ขาท่อนล่างทํามุมฉากกับต้นขาและเท้าทั้งสองวางราบบนพื้น ซึ่งสามารถช่วยลดความตึงเครียดและความเมื่อยล้าได้


การใช้ Lag Screw ในการรักษา กระดูกขากรรไกรล่างหักบริเวณ Symphysis, ปิยวัตร เขียงทอง Sep 1994

การใช้ Lag Screw ในการรักษา กระดูกขากรรไกรล่างหักบริเวณ Symphysis, ปิยวัตร เขียงทอง

Chulalongkorn University Dental Journal

กระดูกขากรรไกรล่างหักมีการรักษาได้หลายรูปแบบตั้งแต่การรักษาแบบอนุรักษ์, การใช้ลวดยึด, หรือการรักษาแบบใช้แผ่นโลหะและสกรู ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพความเหมาะสมต่าง ๆ ว่าจะใช้วิธีไหน บทรายงานนี้เป็นรายงาน ผู้ป่วย 1 รายที่ใช้ Lag screw เพื่อรักษากระดูกขากรรไกรล่างหักบริเวณsymphysis


การศึกษาระดับความรู้ด้านทันตสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักเรียนประถมศึกษา, ชื่นตา วิชชาวุธ, ระวีวรรณ ปัญญางาม Sep 1994

การศึกษาระดับความรู้ด้านทันตสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักเรียนประถมศึกษา, ชื่นตา วิชชาวุธ, ระวีวรรณ ปัญญางาม

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษานี้มีความมุ่งหมายในการหาข้อมูลด้านความรู้ทางทันตสุขภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษา พร้อมทั้งปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ เพื่อพัฒนางานทันตสาธารณสุขในโรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งพบว่าจากการทดสอบความรู้นักเรียนประถมศึกษาที่ผ่านการเรียนเรื่องทันตสุขภาพตามหลักสูตรครบทุกเรื่องแล้ว จํานวน 2,045 คน โดยใช้แบบทดสอบที่ผ่านการทดสอบเพื่อหาค่าอํานาจการจําแนกเรียบร้อยแล้ว พบว่ามีนักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 70.3 มีความรู้ระดับปานกลาง จํานวนร้อยละ 0.8, 10.8, 15.4 และ 2.7 มีความรู้ระดับดีมาก ดี ควรปรับปรุง และ ต้องปรับปรุงด่วนตามลําดับ สําหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคะแนนความรู้ทางทันตสุขภาพของนักเรียนนี้พบว่า กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตรได้แก่การสอนทันตสุขศึกษาโดยทันตบุคลากร และการจัดกิจกรรมรณรงค์ในโรงเรียน รวมถึงความร่วมมือของโรงเรียนสามารถอธิบายความแปรปรวนของคะแนนความรู้ทางทันตสุขภาพของนักเรียนเหล่านี้ ได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P ≤ 0.01)


ปะกิณกะ : การเคลื่อนที่ผิดปกติของอาร์ทิคิวล่าร์ดิสก์ในข้อต่อขากรรไกรจาก เอ็ม อาร์ ไอ, วิจิตรศักดิ์ โชลิตกุล Sep 1994

ปะกิณกะ : การเคลื่อนที่ผิดปกติของอาร์ทิคิวล่าร์ดิสก์ในข้อต่อขากรรไกรจาก เอ็ม อาร์ ไอ, วิจิตรศักดิ์ โชลิตกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


การศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้ซีแลนท์กับเด็ก 2 กลุ่มอายุในเวลา 3 ปี, ยุวดี สัมฤทธิเวช, ทรงยศ สงวนพงศ์ May 1994

การศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้ซีแลนท์กับเด็ก 2 กลุ่มอายุในเวลา 3 ปี, ยุวดี สัมฤทธิเวช, ทรงยศ สงวนพงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความสามารถการยึดติดที่สมบูรณ์ของสารซีแลนท์ต่อเด็กอายุ 6 ปีและ 8 ปี โดยทําการเคลือบหลุมร่องฟันกรามถาวรที่ขึ้นเต็มที่และยังไม่มีรอยผุ ด้วยสารซีแลนท์ที่แข็งตัวด้วยแสง จํานวนฟันที่เหลือตรวจที่ระยะ 3 ปี กลุ่มเด็ก 6 ปี 226 ซี่ กลุ่มเด็ก 8 ปี 283 ซี่ ผลปรากฏว่ากลุ่ม 6 ปี มีค่าความสมบูรณ์ของการยึดติดของสารซีแลนท์ดีกว่ากลุ่ม 8 ปี คือมีค่าร้อยละ 51.3 และร้อยละ 30.4 ตามลําดับ ส่วนการเกิดมีฟันผุหลังการเคลือบซีแลนท์แล้วหลุด กลุ่มเด็ก 6 ปี มีค่ามากกว่ากลุ่ม 8 ปี คือมีค่าร้อยละ 15.5 และ 6.4 ตามลําดับ จากการทดสอบทางสถิติแสดงว่าผลการเคลือบหลุมร่องฟันในเด็กอายุ 6 ปี และ 8 ปี แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.001)


การศึกษาระดับความลึกของฟันชนของฟันกรามล่างซี่ที่สามลักษณะมีซิโอแองกูลาที่มีผลกระทบต่อฟันกรามล่างซี่ที่สอง, แสงทิพย์ ญาณะจารี May 1994

การศึกษาระดับความลึกของฟันชนของฟันกรามล่างซี่ที่สามลักษณะมีซิโอแองกูลาที่มีผลกระทบต่อฟันกรามล่างซี่ที่สอง, แสงทิพย์ ญาณะจารี

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการวิเคราะห์ภาพรังสีถึงผลกระทบของฟันชนของฟันกรามล่างซี่ที่สามลักษณะมีซิโอแองกูลาจํานวน 265 ต่อฟันกรามล่างซี่ที่สองของผู้ป่วยจํานวน 197 คน มีอายุระหว่าง 25-34 ปี และ 35-60 ปี ซึ่งแบ่งตามระดับ ความลึกของฟันชนเป็น 2 ระดับ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ 1 ระดับความลึกของฟันชนของฟันกรามล่างซี่ที่สามเกิดผลกระทบต่อฟันกรามล่างซี่ที่สองไม่ต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p>0.05) ทั้งผลกระทบต่อ ตัวฟัน อวัยวะรองรับรากฟัน และตัวฟันกับอวัยวะรองรับรากฟันด้านไกลกลางของฟันกรามล่างซี่ที่สอง กลุ่มตัวอย่างที่ 2 พบว่าระดับความลึกที่สองของฟันชนของฟันกรามล่างซี่ที่สามเกิดผลกระทบต่อฟันกรามล่างซี่ที่สองได้มากกว่าความลึกระดับที่หนึ่งอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่ออวัยวะรองรับรากฟันด้านไกลกลาง ของฟันกรามล่างซี่ที่สอง


การทดสอบประสิทธิภาพของผ้าปิดปากและจมูก ที่ใช้ในทางทันตกรรม, สร้อยศิริ ทวีบูรณ์, บุญนิตย์ ทวีบูรณ์ May 1994

การทดสอบประสิทธิภาพของผ้าปิดปากและจมูก ที่ใช้ในทางทันตกรรม, สร้อยศิริ ทวีบูรณ์, บุญนิตย์ ทวีบูรณ์

Chulalongkorn University Dental Journal

ผ้าปิดปากและจมูกที่มีจําหน่ายในท้องตลาด 6 ชนิด และผ้าปิดปากและจมูกที่ทําด้วยผ้าจํานวนทั้งหมด 70 ตัวอย่าง ได้ถูกนํามาทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพการกรองจุลินทรีย์ โดยใช้การดูดอากาศที่มีละอองฝอยของเซอร์ราเตีย มาร์เซสเซนส์ ผ่านผ้าปิดปากและจมูกในอัตราเท่ากับการหายใจของคนปรกติ พบว่าผ้าปิดปากและจมูกมีประสิทธิภาพการกรองจุลินทรีย์แตกต่างกันตั้งแต่ร้อยละ 13-99 และสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม ค่าประสิทธิภาพการกรองจุลินทรีย์เป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาเลือกใช้ผ้าปิดปากและจมูก แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องคํานึงถึงด้วย เช่น ความกระชับ ปฏิกิริยาการแพ้ หรือ ราคา เป็นต้น


การสํารวจพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนกรุงเทพมหานครอายุ 12 ปี เขตราชเทวี, กรกมล หลักศิลา May 1994

การสํารวจพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนกรุงเทพมหานครอายุ 12 ปี เขตราชเทวี, กรกมล หลักศิลา

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาพฤติกรรมทันตสุขภาพ นักเรียนโรงเรียนกรุงเทพมหานคร อายุ 12 ปี เขตราชเทวี จํานวน 206 คน เป็นนักเรียนชาย 90 คน และนักเรียนหญิง 116 คน ซึ่งประกอบด้วยทัศนคติต่อสุขภาพช่องปาก วัดทัศนคติชนิดมี 3 ตัวเลือกระดับคะแนน 1 2 และ 3 เด็กนักเรียนกลุ่มนี้มีคะแนนทัศนคติบวกต่อสุขภาพทางช่องปาก เฉลี่ย 2.67 มีความรู้ทันตสุขภาพดีเฉลี่ย 8.42 คะแนน จาก 10 คะแนน นักเรียนหญิงมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อสุขภาพช่องปากและความรู้ทันตสุขภาพดีกว่านักเรียนชาย และแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น (P<0.05) ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดต่อซี่ ของเด็กนักเรียนกลุ่มนี้เท่ากับ 2.36 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ระหว่างคะแนนความรู้ทันตสุขภาพและค่าฟันผุ ถอน อุดต่อที่ โดยวิธีของเปียร์สัน นักเรียนหญิง นักเรียนชายและเด็กนักเรียนกลุ่มนี้มีค่าเท่ากับ 0.44, -0.25 และ -0.34 ตามลําดับ และมีความสัมพันธ์กันจริงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น (P<0.05) การดูแลสุขภาพในช่องปากของเด็กนักเรียนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะปฏิบัติตนได้ถูกต้อง


โปรแกรมคอมพิวเตอร์รายงานทันตสาธารณสุข (ตอนที่ 1), สันต์ อนันต์ชนะชัย May 1994

โปรแกรมคอมพิวเตอร์รายงานทันตสาธารณสุข (ตอนที่ 1), สันต์ อนันต์ชนะชัย

Chulalongkorn University Dental Journal

ปัจจุบันนี้ ได้มีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลายในงานด้านสาธารณสุข เราสามารถพบเครื่องคอมพิวเตอร์ในสถานบริการสาธารณสุขหลายแห่งโดยทั่วไป และในขณะเดียวกันเราก็พบว่า ปริมาณและความสําคัญของข้อมูลข่าวสารงานด้านทันตสาธารณสุขกําลังเพิ่มพูนขึ้นเช่นกัน ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้หน่วยงานภาคสาธารณสุขได้เริ่มที่จะตระหนักถึงประโยชน์ของการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมได้ทราบมาก่อนแล้ว แต่น่าเสียดายที่วิชาชีพทางด้านทันตสาธารณสุข ไม่ค่อยได้มีโอกาสฝึกฝนในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพหรือมีการตัดสินใจนําคอมพิวเตอร์มาช่วยงานของตน จุดประสงค์ของการเขียนบทความนี้ เพื่อยกตัวอย่างโปรแกรม คอมพิวเตอร์โปรแกรมหนึ่งที่ใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลในรายงานทันตสาธารณสุข โปรแกรมนี้ถูกประยุกต์ขึ้น โดยใช้คําสั่งจาก ดีเบสทรีพลัส และ ฟ็อกซ์เบส เวอร์ชัน 2.10 ด้วยการใช้คําสั่งแบบง่ายๆ และโครงสร้างโปรแกรมที่ไม่ซับซ้อนทําให้โปรแกรมนี้ง่ายต่อการทําความเข้าใจ ไม่เฉพาะสําหรับผู้ที่เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ใหม่ๆ แต่ยังง่ายสําหรับผู้ที่กําลังฝึกหัดการเขียนโปรแกรมอยู่ด้วยเช่นกัน


ฟลูโอซิโนโลน อเซทโทไนด์ ออราเบส ความเข้มข้น 0.1% ที่ผลิตเชิงอุตสาหกรรมกับการรักษา ไลเคน พลานัส ในช่องปาก, กอบกาญจน์ ทองประสม, ลัคนา เหลืองจามีกร May 1994

ฟลูโอซิโนโลน อเซทโทไนด์ ออราเบส ความเข้มข้น 0.1% ที่ผลิตเชิงอุตสาหกรรมกับการรักษา ไลเคน พลานัส ในช่องปาก, กอบกาญจน์ ทองประสม, ลัคนา เหลืองจามีกร

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการศึกษาผู้ป่วย 40 ราย ที่เป็นไลเคน พลานัส ในช่องปาก โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้รับการรักษาด้วยยาทาเฉพาะที่ชนิดฟลูโอซิโนโลน อเซทโทไนด์ ออราเบส 0.1% ที่เตรียมขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย FAO (I) ส่วนอีกกลุ่มได้รับยาชนิดเดียวกันเตรียมขึ้นโดยองค์การเภสัชกรรม แห่งประเทศไทย FAO (II) กลุ่มละ 20 ราย เท่ากัน พบว่าทั้งสองกลุ่มผู้ป่วยเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มประมาณ 50 ปี ตําแหน่งรอยโรคที่พบมากที่สุดคือบริเวณกระพุ้งแก้ม รองลงมาคือเหงือกรอยต่อระหว่างกระพุ้งแก้มกับเหงือก ลิ้น เพดานปาก และริมฝีปากตามลําดับ ส่วนการรักษาผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มใน ระยะเวลา 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ พบว่าจํานวนรอยโรคไลเคน พลานัสที่หายทั้งสองกลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P> 0.05) การศึกษาในครั้งนี้แสดงว่า ยาที่ผลิตในเชิงอุตสาหกรรมขององค์การเภสัชกรรมแห่งประเทศไทยสามารถนํามาใช้รักษาผู้ป่วย ไลเคนพลานัส ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่พบผลข้างเคียงทางคลินิก


หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่, สมพล เล็กเฟื่องฟู, สันต์ อนันต์ชนะชัย May 1994

หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่, สมพล เล็กเฟื่องฟู, สันต์ อนันต์ชนะชัย

Chulalongkorn University Dental Journal

การแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุขของชุมชนต่าง ๆ ในแต่ละประเทศ มีความแตกต่างกันไปตามสภาพปัญหาและลักษณะชุมชนนั้น แต่วิธีการซึ่งเหมือนกันประการหนึ่งที่หลายประเทศใช้แก้ปัญหาการขาดการได้รับบริการทันตกรรมของประชาชนก็คือการใช้หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่เป็นแนวทางหนึ่งที่ต้องใช้การวางแผนด้านการจัดวัสดุอุปกรณ์ บุคลากร งบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่ ทั้งยังอาจมีความแตกต่างตามองค์กรที่เป็นผู้บริหารหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่นั้น ๆ ว่าอยู่ในภาครัฐหรือภาคเอกชนอีกด้วย


ฟันปลอมเพื่อการปรับปรุงรูปหน้า, โสภี ชาติสุทธิพันธุ์, สุรกิจ วิสุทธิวัฒนากร May 1994

ฟันปลอมเพื่อการปรับปรุงรูปหน้า, โสภี ชาติสุทธิพันธุ์, สุรกิจ วิสุทธิวัฒนากร

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วยที่มีฟันหน้าบนยื่นเขยินมาก เมื่อปิดริมฝีปากแล้วจะยังมองเห็นฟันยื่นออกมานอกปากทั้งซี่ตําแหน่งของริมฝีปากบนขณะปิดปากอยู่บริเวณคอฟันหน้าบนและริมฝีปากล่างอยู่ใต้ฟันหน้าบน ได้วางแผนถอนฟันและตัดแต่งสันเหงือกสําหรับใส่ฟันปลอม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีรูปหน้าปกติ ภายหลังถอนฟันและผ่าตัดสันเหงือกแล้วใส่ฟันปลอมชนิดชั่วคราวทันที บุคลิกภาพและหน้าที่การงานของผู้ป่วยได้เปลี่ยนไปในทางที่ดี


การศึกษาอุบัติการของฟันกรามล่างซี่ที่สามที่คลินิกทันตกรรมอาคาร 5, แสงทิพย์ ญาณะจารี May 1994

การศึกษาอุบัติการของฟันกรามล่างซี่ที่สามที่คลินิกทันตกรรมอาคาร 5, แสงทิพย์ ญาณะจารี

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการศึกษาข้อมูลของฟันกรามล่างซี่ที่สามจํานวน 2186 ซี่ จากผู้ป่วย 1547 คน ที่คลินิกทันตกรรม อาคาร 5 เป็นระยะเวลา 5 ปี พบว่าเป็นฟันขึ้นปกติที่ใช้งานได้ร้อยละ 15.97 เป็นฟันขึ้นปกติที่มีข้อบ่งชี้ให้ถอนร้อยละ 10.57 ปี เป็นฟันชนหรือฟันคุดร้อยละ 73.46 สาเหตุของการผ่าตัดฟันชนหรือฟันคุดนี้ เป็นการผ่าตัดฟันที่ไม่มีอาการจํานวน 477 ซี่ หรือร้อยละ 29.70 ส่วนใหญ่เป็นการป้องกันการติดเชื้อ จํานวน 299 ซี่ หรือร้อยละ 18.62 พบมากที่สุดในผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 16-24 ปี และเป็นการผ่าตัดฟันที่มีอาการ จํานวน 1129 ปี หรือร้อยละ 70.30 พบมากที่สุดในผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 35-60 ปี และ 25-34 ปี ตามลําดับ สาเหตุที่สําคัญคือทําให้เกิดผลกระทบต่อฟันและอวัยวะปริทันต์ของฟันข้างเคียงพบ จํานวน 420 ซี หรือร้อยละ 26.15 นอกจากนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทําการผ่าตัดฟันและภายหลังทําการผ่าตัดฟันพบมากในผู้ป่วยสองกลุ่มหลังเช่นกัน ผลการศึกษานี้อาจใช้เป็นข้อมูลเพื่อพิจารณาการผ่าตัดฟันชนหรือฟันคุดของฟันกรามล่างซี่ที่สามในวัยหนุ่มสาว เพื่อเป็นการลดผลกระทบต่อฟันข้างเคียง และลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างทําการผ่าตัดฟัน หรือภายหลังทําการผ่าตัดฟันให้น้อยลง


สภาวะในช่องปากและขนาดของเพดานและฟันของซาไกเฉพาะกลุ่มในจังหวัดตรัง, สุนทร ระพิสุวรรณ May 1994

สภาวะในช่องปากและขนาดของเพดานและฟันของซาไกเฉพาะกลุ่มในจังหวัดตรัง, สุนทร ระพิสุวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการสํารวจในช่องปากของซาไก กลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัดตรัง 13 คน เพื่อศึกษาวิทยาทางระบาดของโรคฟันผุและโรคเหงือก พร้อมทั้งพิมพ์ปากศึกษาขนาดของเพดานปากและฟัน พบว่า เพดานปากของชนกลุ่มนี้ เป็นรูปพาราโบลิก มีลักษณะกว้างและยาว ความกว้างของเพดานปากส่วนหน้า มีค่าเท่ากับ 34.39 + 2.72 มม. และความกว้างส่วนหลังมีค่า 44.31 + 1.93 มม. ขนาดของฟันมีค่าใกล้เคียงกับฟันคนไทยภาคกลางและชนเผ่าผีตองเหลือง แต่จะไม่พบฟันคุดหรือปุ่มกระดูกบนเพดานปากหรือขากรรไกรล่าง ค่าความชุกของโรคฟันผุ (DMFT) เท่ากับ 7.25 ซี่ต่อคน, สภาพเหงือกมีหินปูนเกาะโดยรอบฟันเป็นส่วนใหญ่


ปะกิณกะ : บทคัดย่อเอกสาร May 1994

ปะกิณกะ : บทคัดย่อเอกสาร

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


รายงานผู้ป่วยเด็กออทิสติคและการจัดการทางทันตกรรม, ทิพวรรณ ธราภิวัฒนานนท์ Jan 1994

รายงานผู้ป่วยเด็กออทิสติคและการจัดการทางทันตกรรม, ทิพวรรณ ธราภิวัฒนานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

เด็กชายไทยอายุ 2 ปี 11 เดือน เข้ามารับการรักษาฟันน้ำนมหน้าตัดกลางบน 2 ซี่ ซึ่งผุลึก การซักประวัติและสังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติของเด็ก นําไปสู่การปรึกษากับจิตแพทย์ที่ทําการรักษาเด็ก ทําให้ทราบว่า เด็กเป็นออทิสซึม อันเป็นความผิดปกติทางด้านพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับสังคม อารมณ์และการสื่อภาษาอย่างรุนแรง ลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดคือ ไม่ยอมสบตา ไม่ชอบให้ใครมาอุ้มหรือเกี่ยวข้องด้วย ชอบอยู่คนเดียว เล่นกับตัวเอง ทําอะไรซ้ำ ๆ ไม่พูดหรือพูดก็เป็นภาษาแปลก ๆ รายงานนี้ได้ประมวลความรู้ประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับออทิสซึม และรายงาน การจัดการในเรื่องการบําบัดรักษาและป้องกันทางทันตกรรมของผู้ป่วยเด็กรายนี้ หากทันตแพทย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ นอกจากจะสามารถจัดการทางทันตกรรมของผู้ป่วยแล้ว ยังอาจช่วยส่งต่อผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติดังกล่าวให้ได้รับการตรวจวินิจฉัย รักษาและกระตุ้นพัฒนาการเสียตั้งแต่ระยะแรกได้ ทําให้เด็กสามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพ


การบรรเทาปัญหาการชดใช้ทุนของทันตแพทย์ผู้ทําสัญญา, สันต์ อนันต์ชนะชัย Jan 1994

การบรรเทาปัญหาการชดใช้ทุนของทันตแพทย์ผู้ทําสัญญา, สันต์ อนันต์ชนะชัย

Chulalongkorn University Dental Journal

โครงการทันตแพทย์ผู้ทําสัญญา เป็นโครงการที่รัฐบาลดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนทันตแพทย์ในเขตชนบท โดยกําหนดให้ทันตแพทย์ที่สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นไป เป็นทันตแพทย์ผู้ทําสัญญาที่ต้องทํางานให้รัฐบาลในพื้นที่ที่กําหนด เป็นเวลา 3 ปี อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การชดใช้ทุนเป็นเงิน 400,000 บาท ของทันตแพทย์คู่สัญญาเพื่อที่จะไม่ต้องเข้ารับราชการตามสัญญา และแนวโน้มการชดใช้ทุนดังกล่าวมีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกปี การพัฒนาความสามารถของอาจารย์ทันตแพทย์เป็นวิธีที่สําคัญประการหนึ่งในการ บรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว


ความสัมพันธ์ระหว่างขากรรไกรบนล่างในการปรับสภาพช่องปาก, พัชนี รุ่งเรืองอนันต์, อิศราวัลย์ บุญศิริ Jan 1994

ความสัมพันธ์ระหว่างขากรรไกรบนล่างในการปรับสภาพช่องปาก, พัชนี รุ่งเรืองอนันต์, อิศราวัลย์ บุญศิริ

Chulalongkorn University Dental Journal

ในการปรับสภาพช่องปากเพื่อการทําฟันปลอม ขั้นตอนที่จัดว่ามีความสําคัญ คือ การหาระยะระหว่างขากรรไกรบนล่าง ซึ่งมีหลายวิธี ได้แก่ การวัดระยะ การถ่ายภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้าง การตรวจคลื่นกล้ามเนื้อการพูดและใช้เสียง การดูลักษณะรูปหน้า การกลืน ตลอดจนสภาพพื้นที่เหลือในช่องปากซึ่งจะช่วยประกอบการประเมินว่า มีการสูญเสียความสัมพันธ์ระหว่างขากรรไกรบนล่างหรือไม่ เพราะการหาระยะระหว่างขากรรไกรบนล่างที่ผิดพลาด เมื่อสร้างฟันปลอมจะเกิดผลเสียต่อผู้ป่วย เช่น การเกร็งตัวและปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยว ปวดฟัน และข้อต่อขากรรไกรเป็นต้น


การรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยเด็กโรคลมชักที่มีภาวะปัญญาอ่อน-รายงานผู้ป่วย 2 ราย, ยุพดี เศวตวรรณ Jan 1994

การรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยเด็กโรคลมชักที่มีภาวะปัญญาอ่อน-รายงานผู้ป่วย 2 ราย, ยุพดี เศวตวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานการรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยเด็กลมชัก ที่มารักษาตัวในหอผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลและสถาบันประสาทวิทยาซึ่งเป็นลมชักชนิด แกรนด์มาล (Grand mal epilepsy) ร่วมกับ ปัญญาอ่อน (mental retardation) 2 ราย ผู้ป่วยรายที่ 1 มีระดับเชาว์ปัญญา (intelligence quotient) I.Q. ขนาดหนักมาก (profound) ไม่สามารถวัดได้ ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองไม่ได้ในทุก ๆ เรื่องไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา ทันตแพทย์จําเป็นต้องให้การรักษาทางทันตกรรมร่วมกับการดมยาสลบ ผู้ป่วยรายที่ 2 มีระดับเชาว์ปัญญาขนาดน้อย (mild) I.Q. 65 ร่วมกับมีปัญหาทางอารมณ์ได้รับการรักษาทางจิตบําบัด (psychotherapy) ก่อน ได้รับการรักษาทางทันตกรรม ผู้ป่วยทั้งสองรายได้รับยารักษาโรคลมชักก่อนการรักษาทางทันตกรรม ซึ่งประกอบด้วยการอุดฟัน ถอนฟัน และรักษาคลองรากฟันสําเร็จลุล่วงไปด้วยดี


คําแนะนําสําหรับผู้ป่วยฟันปลอมทั้งปาก, สรรพัชญ์ นามะโน Jan 1994

คําแนะนําสําหรับผู้ป่วยฟันปลอมทั้งปาก, สรรพัชญ์ นามะโน

Chulalongkorn University Dental Journal

ทันตแพทย์ต้องอธิบายให้คําแนะนําต่าง ๆ แก่ผู้ป่วยฟันปลอมทั้งปากเกี่ยวกับ ธรรมชาติของฟันปลอม ความรู้สึกครั้งแรกเมื่อเริ่มใส่ฟันปลอม น้ำลายออกมากในช่วงแรก ๆ การพูด การรับประทานอาหารด้วยฟันปลอม รสชาติอาหาร ความจําเป็นของการรับประทานอาหารให้ถูกส่วน การวางลิ้น การรักษาสุขภาพในช่องปาก การทําความสะอาดฟันปลอมให้ถูกวิธี อันตรายของการแก้ไขฟันปลอมด้วยตนเอง และความสําคัญของการกลับมาหาทันตแพทย์ เพื่อตรวจเช็คเป็นประจําเพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้และเข้าใจถึงวิธีการใช้งานฟันปลอมอย่างถูกวิธี เพื่อให้ผู้ป่วยใช้งานฟันปลอมได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ความรู้ทันตสุขภาพของผู้ติดเชื้อไวรัสเอดส์ในเรือนจํา, สุรินทร์ ตั้งสุภูมิ Jan 1994

ความรู้ทันตสุขภาพของผู้ติดเชื้อไวรัสเอดส์ในเรือนจํา, สุรินทร์ ตั้งสุภูมิ

Chulalongkorn University Dental Journal

ผู้ต้องขังชายที่ติดเชื้อไวรัสเอดส์จํานวน 180 คน ในเรือนจํากลางคลองเปรม ได้ตอบคําสัมภาษณ์จากแบบสอบถามเกี่ยวกับ ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรม ทางทันตสุขภาพของตนเอง ผลการวิจัยพบว่า ผู้ต้องขังกลุ่มดังกล่าว มีความรู้ที่ถูกต้องร้อยละ 50 ขึ้นไป มี 11 ใน 18 ข้อ ซึ่งประเด็นที่ตอบถูกเกินกว่าร้อยละ 90 ได้แก่ กรณีโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ ทําให้มีกลิ่นปากและสามารถป้องกันได้ ส่วนหินน้ำลายที่เกาะบนตัวฟันไม่ช่วยทําให้ฟันแข็งแรง ประเด็นที่มีความรู้น้อยที่สุดได้แก่ กรณีความหมายและผลของแผ่นคราบจุลินทรีย์บนฟัน นอกจากนั้นผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 32 เชื่อว่า การไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการบริการทางทันตกรรมมีโอกาสติดเชื้อไวรัสเอดส์ได้


การทดสอบความคงสภาพเมื่อใช้สารปรุงแต่งในตํารับยาอมบ้วนปากฟลูออไรด์, วนิดา แสงอลังการ, รัชชพิน ศรีสัจจลักษณ์ Jan 1994

การทดสอบความคงสภาพเมื่อใช้สารปรุงแต่งในตํารับยาอมบ้วนปากฟลูออไรด์, วนิดา แสงอลังการ, รัชชพิน ศรีสัจจลักษณ์

Chulalongkorn University Dental Journal

การทดสอบความคงสภาพของตํารับยาอมบ้วนปากฟลูออไรด์ 12 สูตร ที่มีสารกันบูดแตกต่างกันเมื่อนํามาปรุงแต่งให้มีสีและกลิ่นดังนี้ ; น้ำยาอมบ้วนปากสีเขียวซึ่งแต่งสีด้วย บิลเลี่ยน บลู/ทาร์ทราซีน (1 : 4) และแต่งกลิ่นด้วยส่วนผสมของเปปเปอร์มินท์ เมนทอล (1 ซีซี. : 0.5 กรัม) น้ำยาอมบ้วนปากสีชมพูซึ่งแต่งสีด้วยอัลลูราเรดและแต่งกลิ่นด้วยส่วนผสมของเอไนล์/ซินนามอน (3 ซีซี. : 1 ซีซี.) น้ำยาอมบ้วนปากสีเหลือง ซึ่งแต่งสีด้วยทาร์ทราซีนและแต่งกลิ่นด้วยส่วนผสมของเอไนส์/ซินนามอน/เมนทอล (1 ซีซี. : 1 ซีซี. : 0.5 กรัม) โดยความเข้มข้น ของสีและน้ำมันหอมระเหยที่ใช้แต่งกลิ่นในน้ำยาอมบ้วนปากเหล่านี้เท่ากับ 0.001 กรัม/100 ซีซี. และ 0.15 ซีซี. 100 ซีซี. ตามลําดับ ผลของการทดสอบพบว่าชนิดและปริมาณความเข้มข้นของสารปรุงแต่งที่ใช้นี้ไม่ทําให้ความ คงสภาพของตํารับยาอมบ้วนปากฟลูออไรด์ทั้ง 12 สูตรเปลี่ยนแปลง และเมื่อนําผลิตภัณฑ์ที่ปรุงแต่งเหล่านี้ไปศึกษา เปรียบเทียบความคงสภาพกับผลิตภัณฑ์ที่มีจําหน่ายในท้องตลาดพบว่าผลิตภัณฑ์ที่ปรุงแต่งขึ้นนี้มีคุณภาพดีพอ ๆ กับริช และลิสเตอร์มินท์ที่ผสมฟลูออไรด์


ผลของวิธีใช้กรดซิตริกทาบนผิวรากฟัน : นอกปาก, นวลฉวี หงษ์ประสงค์, นิตยา จินดาวิจักษ์, วีณา วุฒิทรัพย์ทวีสุข Jan 1994

ผลของวิธีใช้กรดซิตริกทาบนผิวรากฟัน : นอกปาก, นวลฉวี หงษ์ประสงค์, นิตยา จินดาวิจักษ์, วีณา วุฒิทรัพย์ทวีสุข

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานการวิจัยฉบับนี้ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้กรดซิตริกทาเบา ๆ และถูบนผิวเคลือบรากฟันที่ถูกเกลารากฟันแล้ว ใช้ฟันเขี้ยวที่ถูกถอนเนื่องจากโรคปริทันต์อักเสบจํานวน 8 ซี่ นํามาขูดหินน้ำลาย และเกลาราก ฟันให้เรียบ เพื่อนํามาเตรียมแผ่นผิวเคลือบรากฟัน โดยฟัน 1 ซี่ เตรียมได้ 2 แผ่น แยกไว้กลุ่มละ 1 แผ่น ในแต่ละกลุ่มจึงมี 8 แผ่นนํามากรอแบ่งครึ่งตามแนวตั้งเพื่อใช้เป็นกลุ่มควบคุมของแต่ละแผ่น ใช้กรดซิตริก pH 1 ทา เบา ๆ ในกลุ่มที่ 1 และถูแรง ๆ ในกลุ่มที่ 2 ทางด้านขวาของร่องที่แบ่งไว้ทิ้งไว้ 3 นาทีล้างน้ำให้สะอาด แล้ว นําไปแช่ไว้ในน้ำยาพาราฟอร์มาดีชัย 4% จากนั้นนําแผ่นผิวเคลือบรากฟัน ไปเตรียมตัวอย่างสําหรับตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด ประเมินผลของกรดซิตริกต่อจํานวนรูเปิดของเดนดินัล ทิวบูล โดยนับจํานวนเฉลี่ยของเดนตินัล ทิวบูลจากภาพถ่ายกําลังขยาย 5,000 เท่า แล้ววิเคราะห์ผลความแตกต่างของกลุ่มต่าง ๆ โดยใช้สติวเดนท์ ที่เทส จากผลการทดลองพบว่าในกลุ่มควบคุมจะมี สเมียร์ เลเยอร์ เหลืออยู่มากและมีรูเปิดของ เดนตินัล ทิวบูล เล็กน้อย ส่วนในกลุ่มทดลองจะพบว่าสามารถกําจัด สเมียร์ เลเยอร์ ได้ และยังทําให้รูเปิดของ เดนดินัล ทิวบูล มีจํานวนเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าการใช้วิธีการจะทําให้ได้จํานวนรูเปิดมากกว่าวิธีทาเบา ๆ แต่ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ แรงที่เกิดจากการถูจะทําให้ สเมียร์ เลเยอร์ ไปอุดตันรูเปิดของ เดนดินัล ทิวบูล บางส่วนได้ ในขณะที่การทาเพียงเบา ๆ จะทําให้พื้นผิวสะอาด และมีรูเปิดของ เดนดินัล ทิวบูล กว้างกว่า จากผลการทดลองจึงสรุปได้ว่า ในการใช้กรดซิตริกโดยวิธีการทาเบา ๆ ให้ผลที่ดีกว่าการถู