Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 26 of 26

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การเปรียบเทียบการวัดความสูญเสียการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ด้วยเรดิโอวิสิโอกราฟฟี กับออโทเมตต์โพรบ นอกปาก, นวลฉวี หงษ์ประสงค์ Sep 1993

การเปรียบเทียบการวัดความสูญเสียการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ด้วยเรดิโอวิสิโอกราฟฟี กับออโทเมตต์โพรบ นอกปาก, นวลฉวี หงษ์ประสงค์

Chulalongkorn University Dental Journal

ค่าความสูญเสียการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีในการวิเคราะห์และทํานายโรคปริทันต์ เรดิโอวิสิโอกราฟฟี่ (อาร์วีจี) เป็นเครื่องมือถ่ายภาพรังสีในปาก ซึ่งให้ภาพโดยตรงบนจอสามารถขยายภาพให้ได้รายละเอียดมากขึ้น และสามารถต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเก็บข้อมูลทางภาพรังสีไว้ใช้ในงานวิจัยต่อไปได้ด้วย ส่วนออโทเมตช์โพรบ เป็นเครื่องมือวัดร่องลึกปริทันต์ หรือค่าความสูญเสียการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ด้วยไฟฟ้า ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่า เป็นเครื่องมือที่วัดได้แม่นยํามากกว่าโพรบที่วัดด้วยมือธรรมดา ดังนั้นการทดลองนี้จึงต้องการตรวจสอบความแม่นยําในการวัดความสูญเสียการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ด้วยภาพรังสีซึ่งถ่ายจากเครื่องอาร์วีจี เมื่อเปรียบเทียบกับการวัดด้วยออโทเมตด์โพรบ นอกปาก การทดลอง ทําโดยสร้างบล็อกฟันที่เรียงฟันกรามน้อยและกรามใหญ่เหมือนฟันในปาก 4 ซี่ บล็อกที่ใช้เป็นส่วนผสมของขี้เลื่อยไม้กับปูนปลาสเตอร์ซึ่งให้ความทึบและเงาเหมือนกระดูกเมื่อถ่ายภาพรังสี สร้างรอยโรคของกระดูกที่ถูกทําลายเป็นร่องลึกทางด้านข้างของฟันจํานวน 20 รอยโรคในฟัน 5 บล็อก ถ่ายภาพรังสีด้วยอาร์วีจี และเก็บภาพรังสีในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่ออ่านค่าความสูญเสียการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ ด้วยโปรแกรมสําเร็จรูป แล้ววัดค่าความสูญเสียการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ทั้งยี่สิบรอยโรคด้วยออโทเมตต์โพรบ นํามาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าความยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ที่ได้จากเครื่องมือทั้งสองชนิดด้วย paired-t test. พบว่า ค่าที่วัดได้ด้วยอาร์วีจีจะค่อนข้างสูงกว่าค่าที่วัดด้วยออโทเมตต์โพรบ แต่ค่าที่วัดได้ทั้งสองวิธีไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ จึงเห็นได้ว่า การใช้อาร์วีจีเก็บภาพรังสี และนํามาวัดค่าความสูญเสียการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์จะทําได้ผลแม่นยํา และสะดวกกว่าการใช้เครื่องมือชนิดอื่น นอกจากนั้นอาร์วีจียังมีประโยชน์เป็นสื่อความเข้าใจ และยอมรับของผู้ป่วยปริทันต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจนํามาใช้ในศัลยกรรมปริทันต์ หรือศัลยกรรมปลูกรากเทียมเพื่อดูรายละเอียดของกระดูกในบริเวณที่ทํางาน


การทดสอบความคงสภาพของตํารับ ยาอมบ้วนปากฟลูออไรด์, วนิดา แสงอลังการ, สุนีย์ ศรีอ่อนรอด Sep 1993

การทดสอบความคงสภาพของตํารับ ยาอมบ้วนปากฟลูออไรด์, วนิดา แสงอลังการ, สุนีย์ ศรีอ่อนรอด

Chulalongkorn University Dental Journal

ยาอมบ้วนปากฟลูออไรด์จํานวน 12 สูตรที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพของสารกันบูดแล้วถูกนําไป ทดสอบความคงสภาพทางด้านเคมี ฟิสิกส์ โดยวิธีการเร่งภายใต้อุณหภูมิ 30° ซ. 40° ซ. และ 50° ซ. เป็นเวลานาน 4 สัปดาห์ เมื่อตรวจวิเคราะห์ดูการเปลี่ยนแปลงทุก 1 สัปดาห์ผลการทดลองพบว่า ความร้อนไม่ทําให้ความเข้มข้นของฟลูออไรด์อิออนเปลี่ยนแปลงในทุกสูตรที่ใช้ทดลอง แต่ความร้อนที่อุณหภูมิ 50° ซ. ทําให้ค่าความหนืดและสภาพความเป็นกรด-ด่างของตํารับยาลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.05) แสดงว่าสูตรยาอมบ้วนปาก ฟลูออไรด์ทั้ง 12 สูตร เมื่อได้รับความร้อนที่อุณหภูมิ 50° ซ. ไม่มีความคงสภาพทางฟิสิกส์ หากต้องการให้ตํารับยาคงสภาพพบว่าควรปรับปรุงสูตรโดยเติมสารที่มีคุณสมบัติเป็นบัฟเฟอร์ เช่น ฟอสเฟตบัฟเฟอร์ และควรปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างไว้ที่ประมาณ 6-7


การกําจัดคราบจุลินทรีย์ แผลจากปลายขนแปรง และการกระแทกของแปรงสีฟัน 4 ชนิด ในกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่, ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล, ภารณี เดชจิตอนันต์, วริษฐา ลิ้มบุญภิวัฒน์ Sep 1993

การกําจัดคราบจุลินทรีย์ แผลจากปลายขนแปรง และการกระแทกของแปรงสีฟัน 4 ชนิด ในกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่, ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล, ภารณี เดชจิตอนันต์, วริษฐา ลิ้มบุญภิวัฒน์

Chulalongkorn University Dental Journal

นิสิตทันตแพทย์อายุ 17-20 ปี จํานวน 28 คน มีฟันอย่างน้อย 24 ซี่ และสุขภาพช่องปากสมบูรณ์ ได้รับการสอนวิธีแปรงฟันแบบมอดิฟายด์แบส (modified Bass) วันละ 2 ครั้ง แต่ละคนจะใช้แปรงสีฟัน 4 ชนิด (Research-D, Premium, GUM #411, Dental-C) แต่ละชนิดเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผู้วิจัยวัดดัชนีคราบจุลินทรีย์ ปริมาณแผลที่ผิวเหงือกจากปลายขนแปรง และแผลจากการกระแทกก่อนและหลังการแปรงทุกสัปดาห์ และทําการวิเคราะห์โดยวิธี Kruskal-Wallis I way ANOVA ที่ระดับนัยสําคัญ 0.10 หลังเสร็จสิ้นการแปรง 4 เดือน กลุ่มทดลองตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นจากการใช้แปรงทั้ง 4 ชนิด ผลของการศึกษาพบว่าแปรงสีฟัน Premium ซึ่งมีราคาต่ำสุด มีประสิทธิภาพในการกําจัดคราบจุลินทรีย์สูงสุด ในขณะที่ไม่มีความแตกต่างของปริมาณแผลที่เกิดจากปลายขนแปรง 4 ชนิด และแผลจากการกระแทกของหัวแปรงพบมากที่สุดจาก GUM #411 กลุ่มทดลองมีความคิดเห็นว่าแปรงสีฟันที่รู้สึกว่าใช้ถนัดมือดีที่สุด ขนแปรงนุ่มที่สุด และไม่รู้สึกเจ็บเหงือกจากขนแปรงคือ Research-D แปรงที่รู้สึกว่าเข้าได้ทั่วถึงดีที่สุดคือ Premium และแปรงที่รู้สึกว่าไม่กระแทกเหงือกและกระพุ้งแก้มคือ Premium และ GUM #411


การจําแนกชนิดของพรีซิชันแอตแทซเมนต์, สุจิตรา ลีลามะลิ, วิเชฏฐ์ จินดาวณิค Sep 1993

การจําแนกชนิดของพรีซิชันแอตแทซเมนต์, สุจิตรา ลีลามะลิ, วิเชฏฐ์ จินดาวณิค

Chulalongkorn University Dental Journal

พรีซิชันแอตแทชเมนต์เริ่มนํามาใช้ในปี ค.ศ. 1841 โดยมีข้อดีในเรื่องของความสวยงาม เพราะไม่ปรากฏให้เห็นแขนตะขอ รวมทั้งมีการกระจายแรงไปตามแนวแกนฟัน และต้านแรงด้านข้างได้ดี มีการออกแบบพรีซิชันแอตแทชเมนต์ที่ใช้ร่วมกับฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้หลายชนิด เพื่อให้เหมาะกับฟันที่เหลือในสภาวะต่าง ๆ กัน ซึ่งสามารถจําแนกชนิดของตัวยึดได้หลายวิธีด้วยกัน เช่นจําแนกตามการผลิต ตามความสัมพันธ์กับฟันหลัก หรือตามการเคลื่อนที่ขณะใช้งาน บทความนี้จําแนกชนิดของพรีซิชันแอตแทชเมนต์ ตามความสัมพันธ์กับฟันหลัก อนึ่งพรีซิชันแอตแทชเมนต์เป็นตัวยึดที่มีคุณสมบัติน่าสนใจชนิดหนึ่ง ถึงแม้ว่าในขณะนี้การใช้อาจจะยังไม่แพร่หลายในประเทศไทย


การผิดนัดทําฟันของผู้ใช้บริการที่คลินิกทันตกรรมนอกเวลา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุนทร ระพิสุวรรณ, ศุลีพร ธีระเจตกูล, สิริวรรณ ตันจันทร์พงศ์ Sep 1993

การผิดนัดทําฟันของผู้ใช้บริการที่คลินิกทันตกรรมนอกเวลา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุนทร ระพิสุวรรณ, ศุลีพร ธีระเจตกูล, สิริวรรณ ตันจันทร์พงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

จากแบบสอบถามซึ่งจัดทําขึ้นเพื่อการศึกษาปัจจัยที่ทําให้ผู้ใช้บริการทันตกรรมที่คลินิกนอกเวลาของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผิดนัด พบว่า 76.1% เป็นคนโสด 39.5% มีอาชีพรับราชการ 78% มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท ปัจจัยที่ทําให้ต้องผิดนัด ได้แก่ติดธุระอื่นที่จําเป็นกว่า 51.4% ปัญหาจราจรติดขัด 46.50% ช่วงการนัดห่างกันนานเกินไป 25% ลืมการนัดหมาย 22% การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พบว่า อายุกับเหตุผลติดธุระอื่นที่จําเป็น รายได้กับช่วงการนัดหมายที่ห่างนานเกินไป ปัญหาการเงินกับระยะเวลาที่ใช้การรักษามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < .01)


ฟันรูปโชเวลของชนกลุ่มน้อยเผ่าซาไก จังหวัดตรัง, ชัยวัฒน์ ปิ่นน้อย Sep 1993

ฟันรูปโชเวลของชนกลุ่มน้อยเผ่าซาไก จังหวัดตรัง, ชัยวัฒน์ ปิ่นน้อย

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษาฟันรูปโชเวลของชนกลุ่มน้อยเผ่าซาไก ซึ่งอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านคลองตุง ตําบลปะเหลียน จังหวัดตรัง จํานวน 13 คน 45 ซีฟัน จากแบบพิมพ์ฟัน พบฟันรูปโชเวล จําแนกตามวิธี Hrdlicka's classification และ Dahlberg's Plaque P.1. ได้ 55.5 เปอร์เซนต์ จากการศึกษาพบว่าใกล้เคียงกับชาวเมลานีเซียน ฟิจิ นิวกินี อเมริกันนิโกร แสดงว่าชนชาติเหล่านี้มีสายพันธุ์เดียวกัน หรือมีบรรพบุรุษเดียวกัน


การเปรียบเทียบปัจจัยซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคไลเคน-พลานัสในช่องปากชนิดอีโรซีฟและไม่อีโรซีฟ, กอบกาญจน์ ทองประสม, ดวงพร ศุภประดิษฐ์, นฤมล ภววรพันธุ์ Sep 1993

การเปรียบเทียบปัจจัยซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคไลเคน-พลานัสในช่องปากชนิดอีโรซีฟและไม่อีโรซีฟ, กอบกาญจน์ ทองประสม, ดวงพร ศุภประดิษฐ์, นฤมล ภววรพันธุ์

Chulalongkorn University Dental Journal

ศึกษาผู้ป่วย OLP จํานวน 50 ราย โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอีโรซีฟ และกลุ่ม ไม่อีโรซีฟ จากการตรวจทางคลินิก และการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ช่วงอายุที่พบบ่อยประมาณ 40-60 ปี ระยะเวลาของการเกิดโรคมีตั้งแต่ 4-168 เดือน บริเวณที่พบรอยโรคในช่องปากมากที่สุดคือ กระพุ้งแก้ม รองลงมาคือ เหงือก ลิ้น ริมฝีปาก เพดานปาก และพื้นช่องปาก ตามลําดับจากการเปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม พบว่ากลุ่มอีโรซีฟ และไม่อีโรซีฟ ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องของเพศจํานวนผู้ป่วย ตําแหน่งที่พบ ระยะเวลาของการเกิดโรค นอกจากนี้ยังได้ทําการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของปัจจัย ต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคไลเคนพลานัส เช่น โรคของระบบ การแพ้ การใช้ยา วัสดุอุดฟัน ครอบฟัน และฟันปลอมชนิดถอดได้ พบว่าทั้งหมดนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไลเคนพลานัส ในช่องปากทั้งสองชนิดอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ (P>0.05)


สภาวะโรคฟันผุและการใส่ฟันปลอมของผู้ป่วยทันตกรรม ในภาคใต้ของประเทศไทย, สุนันท์ จันทรัตน์, ยุทธนา ปัญญางาม Sep 1993

สภาวะโรคฟันผุและการใส่ฟันปลอมของผู้ป่วยทันตกรรม ในภาคใต้ของประเทศไทย, สุนันท์ จันทรัตน์, ยุทธนา ปัญญางาม

Chulalongkorn University Dental Journal

จากรายงานการศึกษาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของสภาวะโรคฟันผุในแต่ละพื้นที่ของประเทศ ไทย ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้จึงต้องการทราบสภาวะโรคฟันผุและการใช้ฟันปลอมของผู้ป่วยที่ใช้บริการของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในภาคใต้ของประเทศไทย ประชากรกลุ่มตัวอย่างอายุ 12 ปี 18 ปี 35-54 ปีและ 55 ปีขึ้นไป จํานวน 800 คน ซึ่งสุ่มมาจากผู้ป่วยกลุ่มงานทันตกรรมในโรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลสงขลา และโรงพยาบาลปัตตานี กลุ่มอายุละ 200 คน ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดของแต่ละกลุ่มเท่ากับ 5.67, 8.61, 12.00 และ 18.68 ต่อคน ตามลําดับ สําหรับค่าเฉลี่ยของฟันที่ถอนของแต่ละกลุ่มแม้จะสูงถึง 0.16, 0.94, 5.85 และ 14.38 ที่ต่อคน แต่ค่าเฉลี่ยของจํานวนฟันปลอมที่ใส่ทดแทนค่อนข้างต่ำมาเพียง 0, 0.11, 0.91 และ 1.18 ต่อคน ตามลําดับเท่านั้น จากการเปรียบเทียบการใส่ฟันปลอมระหว่างบริเวณฟันหน้า และฟันหลังโดยการทดสอบสัดส่วน พบว่าสัดส่วน ของจํานวนฟันปลอมที่ใส่ต่อฟันที่ถอนไปของฟันหน้าสูงกว่าฟันหลังอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) ยกเว้นใน บริเวณขากรรไกรล่างของกลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไปเท่านั้น สรุปได้ว่าประชาชนกลุ่มนี้มีปัญหาด้านสุขภาพในช่องปากสูงมาก และมีความต้องการบริการทันตกรรมทั้งด้านการรักษา และฟื้นฟูสภาพโดยการใส่ฟันปลอมมากด้วย


การสบฟันผิดปกติภายหลังการถอนฟันกรามถาวรล่างซี่แรก, ไชยรัตน์ เฉลิมรัตนโรจน์ May 1993

การสบฟันผิดปกติภายหลังการถอนฟันกรามถาวรล่างซี่แรก, ไชยรัตน์ เฉลิมรัตนโรจน์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อรายงานการสบฟันผิดปกติ ซึ่งประกอบด้วย ตำแหน่งฟันผิดปกติ การเรียงตัวของฟันผิดปกติ และความสัมพันธ์ระหว่างฟันบนล่างผิดปกติ ภายหลังการถอนฟันกรามถาวรล่างซี่แรก เพียงซี่เดียว กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยแบบจําลองฟันผู้ป่วย 30 ราย (หญิง 22 ราย ชาย 8 ราย) ซึ่งได้รับการ ถอนฟันกรามถาวรล่างซี่แรกเพียงที่เดียว มีการสบของฟันกรามถาวรซี่แรกและฟันเขี้ยวในด้านที่ไม่ถูกถอนฟัน เป็นประเภทที่ 1 และไม่เคยได้รับการบำบัดทางทันตกรรมจัดฟันมาก่อน ทำการศึกษาการสบฟันผิดปกติ ที่พบในขากรรไกรบนและล่างด้านที่ถูกถอนฟัน ผลการวิจัย พบว่าการถอนฟันกรามถาวรล่างซี่แรกโดยไม่ได้ใส่ฟันทดแทนทำให้เกิดการสบฟันผิดปกติ บริเวณฟันข้างเคียง ดังนั้นการถอนฟันกรามถาวรล่างควรกระทำในรายที่เหมาะสม และมีการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการสบฟันผิดปกติ


ความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างใบหน้ากับขอบเขตรูปร่าง ของฟันหน้ากลางบนสำหรับใช้เป็นแนวทางในการเลือกฟันหน้า, ศุภบูรณ์ บุรณเวช, สุชาติ ตั้งจิตดำรงรัตน์, มณีพรรณ กิมทอง, วีณา ลีลาพรรณ May 1993

ความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างใบหน้ากับขอบเขตรูปร่าง ของฟันหน้ากลางบนสำหรับใช้เป็นแนวทางในการเลือกฟันหน้า, ศุภบูรณ์ บุรณเวช, สุชาติ ตั้งจิตดำรงรัตน์, มณีพรรณ กิมทอง, วีณา ลีลาพรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

วิธีการหลายวิธีได้ถูกแนะนำเพื่อใช้ในการเลือกรูปร่างฟันหน้าสำหรับฟันปลอมทั้งปาก Williams เชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างของใบหน้าและรูปร่างของฟันหน้ากลางบนสามารถนำมาใช้ในกระบวนการ และวิธีการเลือกฟันหน้า วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างใบหน้าจริง และรูปร่างใบหน้าที่แลเห็นกับขอบเขตรูปร่างฟันหน้ากลางบน ผลการวิจัยพบว่ารูปร่างใบหน้าและขอบเขต รูปร่างฟันหน้ากลางบนซ้ายและขวามีลักษณะไม่เหมือนกันเป็นส่วนมาก (ใบหน้าจริง 82.95% ใบหน้า ที่แลเห็น 75%)


ไทเทเนียมกับงานทันตกรรมรากเทียม, อุไรรัตน์ อัคราทิตย์, รัชภาส พานิชอัตรา May 1993

ไทเทเนียมกับงานทันตกรรมรากเทียม, อุไรรัตน์ อัคราทิตย์, รัชภาส พานิชอัตรา

Chulalongkorn University Dental Journal

ไทเทเนียม เป็นธาตุที่รู้จักและถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์มานานกว่า 20 ปี เนื่องจากมีคุณสมบัติ ที่เหมาะสมหลายประการ คือ มีระดับไบโอคอมแพทบิลิตี (biocompatibility) สูง มีความแข็งแรง ความทนทาน ต่อการสึกกร่อน ปัจจุบันโลหะไทเทเนียมนำมาใช้ในงานทันตกรรมรากเทียมกันอย่างแพร่หลาย การติดตาม ผลในระยะยาวไม่พบอันตรายใด ๆ ที่เกิดจากการฝังโลหะไทเทเนียมในร่างกาย ต่อมามีการเสริมคุณสมบัติ ของไทเทเนียมโดยการผสมกับโลหะชนิดอื่น ๆ เช่น อลูมิเนียม วานาเดียม ในความเข้มข้นต่าง ๆ เพื่อให้ได้ คุณสมบัติทางฟิสิกส์และกลศาสตร์ที่ต้องการ เช่น น้ำหนักเบา แข็งแรง และมีความทนทานต่อความล้าและ การสึกกร่อน โลหะผสมที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ Ti-6Al-4V โลหะผสมชนิดนี้แม้ว่าจะได้รับการตรวจสอบแล้วว่า มีความปลอดภัย แต่การศึกษาถึงผลที่มีต่อร่างกายในระยะยาวมีจำกัด ทันตแพทย์ควรมีความรู้ และความ เข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติพื้นฐานของโลหะอย่างถ่องแท้ก่อนการเลือกใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย


Unknown Particles And Red Blood Cells Associated With Oral Lichen Planus By Scanning Electron Microscopy, Kobkan Thongprasom, Prakob Buranasin May 1993

Unknown Particles And Red Blood Cells Associated With Oral Lichen Planus By Scanning Electron Microscopy, Kobkan Thongprasom, Prakob Buranasin

Chulalongkorn University Dental Journal

Eight biopsy specimens were obtained from buccal and palatal mucosa of patients with atrophic and erosive lichen planus. This investigation studied the morphological changes of the surface and cross sectional layer of oral lichen planus in ultrastructure. The results showed that the surface epithelia had many desquamative cells and disconnected microrugues. The round particles were diameter about 5-36 μ. with the red blood cells from the top layer which could not be identified with certainty. Some of them either invaded the epithelium or embedded into the center of the cells which showed various kinds of destruction epithelium at the nuclei. …


สันเหงือกด้านใกล้ลิ้น : ตำแหน่งที่วางส่วนโยงหลัก, โสภี ชาติสุทธิพันธุ์, นำชัย สุขสันติสกุลชัย May 1993

สันเหงือกด้านใกล้ลิ้น : ตำแหน่งที่วางส่วนโยงหลัก, โสภี ชาติสุทธิพันธุ์, นำชัย สุขสันติสกุลชัย

Chulalongkorn University Dental Journal

ผลการศึกษาลักษณะของสันเหงือกด้านใกล้ลิ้น จากแบบหล่อ 100 แบบหล่อของนิสิตทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าร้อยละ 70 มีระยะจากคอฟันหน้าถึงเนื้อยึดลิ้นมากกว่า 7 มิลลิเมตร ความยาวเฉลี่ย ตามแนวระนาบจากด้านไกลกลางของฟัน # 35 ถึง # 45 เท่ากับ 47.7 มิลลิเมตร ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.6 ความลาดเอียงของสันเหงือกด้านใกล้ลิ้นบริเวณกึ่งกลางขากรรไกรเมื่อทำมุมกับแนวสบฟัน มีขนาดมุม 51-60 องศา ร้อยละ 42 และขนาดมุม 61-70 องศา ร้อยละ 23 พบปุ่มกระดูกที่สันเหงือกบริเวณนี้ ร้อยละ 30 และร้อยละ 67 มีส่วนโค้งแนวฟันเป็นรูปรี ค่าต่าง ๆ ที่รายงานนี้ใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการวางตำแหน่งและเลือกชนิดของส่วนโยงหลักสำหรับฟันปลอมล่าง


รอยโรคในช่องปากที่พบในผู้ป่วยเรื้อนกวาง, มัณฑารพ ชัยมุสิก May 1993

รอยโรคในช่องปากที่พบในผู้ป่วยเรื้อนกวาง, มัณฑารพ ชัยมุสิก

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วย 1 ราย ซึ่งมีรอยโรคในช่องปากร่วมกับเรื้อนกวางของผิวหนัง จากลักษณะทางคลินิก ของรอยโรคในช่องปากคล้ายกับไลเคนพลานัส ผลจากการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางจุลพยาธิวิทยา เป็นเพียง การอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุช่องปากเท่านั้น เนื่องจากเรื้อนกวางในช่องปากมีลักษณะทางคลินิกที่แตกต่างกัน หลายรูปแบบและไม่มีลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา ดังนั้นการวินิจฉัยจึงไม่สามารถชี้ชัดได้ การเกิดรอยโรคในช่อง ปากร่วมกับเรื้อนกวางในผู้ป่วยรายนี้ อาจแสดงให้เห็นว่าได้พบรอยโรคเรื้อนกวางในช่องปาก ซึ่งพบได้ยากและยังไม่ เคยปรากฏในรายงานผู้ป่วยคนไทยมาก่อน


การกำจัดน้ำตาลกลูโคส และคุณสมบัติความเป็นบัฟเฟอร์ของน้ำลาย ในกลุ่มที่มีฟันผุมาก และกลุ่มที่มีฟันผุน้อย, ยุทธนา ปัญญางาม, ดลฤดี แก้วสวาท, อรพินธ์ อัจฉรานุกูล May 1993

การกำจัดน้ำตาลกลูโคส และคุณสมบัติความเป็นบัฟเฟอร์ของน้ำลาย ในกลุ่มที่มีฟันผุมาก และกลุ่มที่มีฟันผุน้อย, ยุทธนา ปัญญางาม, ดลฤดี แก้วสวาท, อรพินธ์ อัจฉรานุกูล

Chulalongkorn University Dental Journal

โรคฟันผุเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน ได้แก่ ฟัน จุลินทรีย์ และสภาพแวดล้อมภายในช่องปากที่เหมาะสม ซึ่งคุณสมบัติของน้ำลายก็เป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมภายในช่องปาก ดังนั้นงาน วิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติการกำจัดน้ำตาลกูลโคส (glucose clearance) และคุณสมบัติ ความเป็นบัฟเฟอร์ของน้ําลาย (buffer capacity) ระหว่างกลุ่มที่มีฟังผุน้อย (low-caries group) และกลุ่มที่ มีฟันผุมาก (high-caries group) โดยสุ่มตัวอย่างแบบความบังเอิญตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ (purposive accidental sampling) จากนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ชั้นปีที่ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 19-22 ปี จํานวน 20 คน (หญิง 14 คน, ชาย 6 คน) แบ่งกลุ่มตามค่าดัชนีซี่ฟันผุถอนอุด (DMFT) ออกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มที่ มีฟันผุน้อย (DMFT <3) จำนวน 10 คน (หญิง 6 คน, ชาย 4 คน) และกลุ่มที่มีฟันผุมาก (DMFT > 8) จำนวน 10 คน (หญิง 8 คน, ชาย 2 คน) ทำการศึกษาคุณสมบัติความเป็นบัฟเฟอร์ของน้ำลาย โดยไทเทรตตัวอย่างน้ำลายด้วยกรดไฮโดรคลอริก 0.05 นอร์มัล (normal, N) และศึกษาการกำจัดน้ำตาลกลูโคสของน้ำลายโดยวัดความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคส ในตัวอย่างน้ำลายที่เวลา 1, 3, 5, 7, 9 และ 11 นาทีหลังจากอมสารละลายกลูโคส 50% นาน 2 นาที นําข้อมูล มาวิเคราะห์ทางสถิติหาความแตกต่างของคุณสมบัติความเป็นบัฟเฟอร์และการกำจัดน้ำตาลกลูโคสของน้ำลาย ด้วยการทดสอบค่าที (T-test) ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณเฉลี่ยของกรดไฮโดรคลอริกที่ใช้ไทเทรตตัวอย่างน้ำลายจนมีสภาพ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 5 ในกลุ่มที่มีฟันผุน้อยเท่ากับ 0.860 มล. และในกลุ่มที่มีฟันผุมากเท่ากับ 0.704 มล. โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) สําหรับการศึกษาการกำจัดน้ำตาลกลูโคส ของน้ำลายพบว่าค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของน้ำตาลกลูโคสในตัวอย่างน้ำลายของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองมีควา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ที่เวลา 3, 5 และ 7 นาที ในขณะที่เวลา 9 และ 11 นาที มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย และไม่พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ


สีของพอร์ซเลนครอบฟันหน้า, ภัทรพร สิทธิพันธุ์, โกเมศ สัมฤทธิเวช May 1993

สีของพอร์ซเลนครอบฟันหน้า, ภัทรพร สิทธิพันธุ์, โกเมศ สัมฤทธิเวช

Chulalongkorn University Dental Journal

สีของพอร์ซเลน นับเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้งานทางทันตกรรมประดิษฐ์ไม่ประสบผลสำเร็จ สีของพอร์สเลนที่เคลือบบนโครงโลหะขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น โลหะผสม ส่วนโครงสร้าง สีฉาบปิดโลหะ เนื้อพอร์ซเลน เคลือบฟันพอร์ซเลน ลักษณะพื้นผิว จำนวนครั้งและอุณหภูมิในการเผา บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสีของพอร์ซเลน และปัญหาของการเทียบสีฟันในคลินิก รวมทั้งความเข้าใจ ในศาสตร์แห่งสีซึ่งจะทำให้ทันตแพทย์สามารถเลือกสีฟันได้อย่างถูกต้อง


ฟันปลอมไร้เพดาน, ศุภบูรณ์ บุรณเวช Jan 1993

ฟันปลอมไร้เพดาน, ศุภบูรณ์ บุรณเวช

Chulalongkorn University Dental Journal

ฟันปลอมไร้เพดานเป็นชนิดหนึ่งของฟันปลอมทั้งปากบนที่ทําการดัดแปลงโดยตัดส่วนเพดานของฐาน ฟันปลอมออก ฟันปลอมชนิดนี้จะพิจารณาสร้างให้แก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถใส่ฟันปลอมทั้งปากแบบปกติได้ โดยเฉพาะในรายที่มีปุ่มกระดูกกลางเพดานขนาดใหญ่ และไม่สามารถทําการผ่าตัด บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบาย ถึงวิธีการสร้างฟันปลอมไร้เพดานสําหรับผู้ป่วยที่มีปุ่มกระดูกกลางเพดาน


ความสัมพันธ์ของฟันคู่หน้าและฟันเขี้ยวกับอินไซซีฟแบบพิลลา, โสภี ชาติสุทธิพันธ์, อิศราวัลย์ บุณศิริ, ภาณุพงศ์ วงศ์ไทย Jan 1993

ความสัมพันธ์ของฟันคู่หน้าและฟันเขี้ยวกับอินไซซีฟแบบพิลลา, โสภี ชาติสุทธิพันธ์, อิศราวัลย์ บุณศิริ, ภาณุพงศ์ วงศ์ไทย

Chulalongkorn University Dental Journal

อินไซซีฟแพบพิลลาเป็นตําแหน่งทางกายวิภาคศาสตร์ที่มีความสําคัญเป็นที่ยอมรับในการกําหนดตําแหน่งของฟันคู่หน้า จึงเป็นสิ่งที่น่าศึกษาเพื่อหาข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน เพื่อใช้เป็นการกําหนดตําแหน่งฟันหน้าของคนไทยในการทําฟันปลอม จากการศึกษาแบบหล่อสภาพช่องปากจํานวน 510 แบบ พบว่าอินไซซีฟแพบพิลลา มีรูปร่าง 7 แบบคือ แพร์ หยดน้ำ รูปไข่ สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม กลม และรูปร่างไม่แน่นอน รูปแพร์ มีมากที่สุดถึง 32.75% จากการศึกษาแบบหล่อที่คัดแล้วจํานวน 360 แบบ ระยะจากจุดท้ายของอินไซซีฟแพบพิลลาถึงปลายฟันคู่หน้ามีค่าเฉลี่ย 11.093 มม. และกําหนดใช้ระยะของจุดนี้ได้ตั้งแต่ 10.932 มม. ถึง 11.254 มม. ด้วยระดับความเชื่อมั่น 95% ระยะจากจุดสุดท้ายของอินไซซีฟแพบพิลลาถึงจุดที่ยื่นที่สุดด้าน เลเบียลของฟันคู่หน้ามีค่าเฉลี่ย 12.114 มม. และกําหนดใช้ได้ตั้งแต่ 11.959 มม. ถึง 12.269 มม. ที่ระดับความ เชื่อมั่น 95% ระยะจุดสุดท้ายของอินไซซีฟแพบพิลลาถึงแนวฟันเขี้ยวตัดกับเส้นกลางเพดานมีค่าเฉลี่ย 2.055 มม. ระยะจากเขี้ยวขวาถึงเขี้ยวซ้ายมีค่าเฉลี่ย 35.457 มม. โดยมีค่ากําหนดตั้งแต่ 35.246 มม. ถึง 35.667 มม. ภายใต้ระดับความเชื่อมั่น 95% ความสูงจากปลายฟันคู่หน้าถึงด้านท้ายของอินไซซีฟแพบพิลลามีค่าเฉลี่ย 7.088 มม. และกําหนดค่าได้ตั้งแต่ 6.943 มม. ถึง 7.233 มม. ค่าที่ได้เหล่านี้สามารถหาความสัมพันธ์เป็นสมการได้เมื่อนําไปหาระยะต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นเครื่องช่วยกําหนดแนวและความสูงของแท่งขี้ผึ้งที่ใช้เป็นแนวในการเรียงฟันหน้า


บทบาทของยาอมฆ่าเชื้อต่อสเทรปโทคอกคัสมิวแทนส์ในการทําให้เกิดกรด, พวงเพ็ชร เดชะประทุมวัน, ทวิช กาญจนบุตร Jan 1993

บทบาทของยาอมฆ่าเชื้อต่อสเทรปโทคอกคัสมิวแทนส์ในการทําให้เกิดกรด, พวงเพ็ชร เดชะประทุมวัน, ทวิช กาญจนบุตร

Chulalongkorn University Dental Journal

ในการทดลองเพื่อศึกษาการยับยั้งการเกิดกรดของสเทรปโทคอกคัส มิวแทนส์กับน้ำตาลที่เป็นส่วน ประกอบของยาอม 6 ชนิด ที่มียาระงับเชื้อ โดยนํายาอมมาเพาะกับเชื้อสเตรปโทคอกคัส มิวแทนส์ แล้ววัด pH ในชั่วโมงที่ 1, 3, 6 และ 24 ตามลําดับ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมที่มีแบคทีเรียอย่างเดียวและกลุ่มควบคุมที่มีน้ำตาลกับกลุ่มทดลองที่มียาอมอย่างเดียว และกลุ่มทดลองที่มียาอมและน้ำตาล พบว่ามี pH ลดลง ชัดเจนในชั่วโมงที่ 3 โดยที่กลุ่มควบคุมจะมี pH ต่ำกว่ากลุ่มทดลอง นอกจากพวกที่มียาระงับเชื้อเป็น amyl meta cresol ซึ่งกลุ่มทดลองมี pH ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งอาจเป็นเพราะเหตุ 2 ประการ คือ ยาตัวนั้นไม่ระงับ เชื้อสเตรปโทคอกคัส มิวแทนส์ และยานั้นมีปริมาณน้ำตาลสูงกว่าอย่างอื่นที่นํามาทดลอง


สมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรม, เกรียงไกร คุ้มไพโรจน์ Jan 1993

สมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรม, เกรียงไกร คุ้มไพโรจน์

Chulalongkorn University Dental Journal

การแพทย์แผนโบราณในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีการใช้สมุนไพรมาตลอด ทางด้านทันตกรรมมีการใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน รักษาเหงือกอักเสบ ป้องกันโรคฟันผุ รวมทั้งเป็นยาสมานแผลในช่องปาก มีสมุนไพรหลายชนิดที่ใช้อยู่และศึกษากันต่อ ๆ มาเช่น น้ำมันกานพลู แต่ยังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดซึ่งน่าสนใจที่จะวิจัยหาเหตุผลและนํามาใช้เป็นยาทางทันตกรรม


การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทันตกายวิภาคศาสตร์ ของนิสิตทันตแพทย์ที่ได้รับ และไม่ได้รับการเสริมด้วยคอมพิวเตอร์, สุขนิภา วิชัยเฉลิมวงศ์, สุปราณี วิเชียรเนตร Jan 1993

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทันตกายวิภาคศาสตร์ ของนิสิตทันตแพทย์ที่ได้รับ และไม่ได้รับการเสริมด้วยคอมพิวเตอร์, สุขนิภา วิชัยเฉลิมวงศ์, สุปราณี วิเชียรเนตร

Chulalongkorn University Dental Journal

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ผลของการเรียนวิชาทันตกายวิภาคศาสตร์ของนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับและไม่ได้รับการเสริมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาทันตกายวิภาคศาสตร์ นิสิตอาสาสมัครที่เข้าร่วมในโครงการนี้ เป็นนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2535 จํานวน 85 คน ซึ่งการศึกษาวิจัยนี้ประกอบด้วย 2 หัวข้อวิจัย งานวิจัยแรกเป็นการเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการเสริมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนฯ กับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการสอนเสริม ศึกษาในนิสิตที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมใกล้เคียงกัน จํานวน 27 คู่ ส่วนงานวิจัยที่ 2 เป็นการประเมินความก้าวหน้าและความเข้าใจในบทเรียนของนิสิตก่อนและหลังการเสริมด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนฯ โดยมีนิสิตเข้าร่วมโครงการ 51 คน ภายหลังจากรวบรวมคะแนนสอบมาหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนํามาทดสอบความแตกต่างของค่ามัชฌิมเลขคณิตโดยใช้การทดสอบค่าเฉลี่ยพบว่า งานวิจัยที่ 1 คะแนนของกลุ่มทดลองสูงกว่าคะแนนของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .001 และงานวิจัย ที่ 2 พบว่าคะแนนภายหลังได้รับการเสริมด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนฯ สูงกว่าก่อนได้รับการเสริมอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ .001


วิธีการพิมพ์ปากแบบหุบปาก : ทางลัดในการสร้างฟันปลอมทั้งปาก, ศุภบูรณ์ บุรณเวช Jan 1993

วิธีการพิมพ์ปากแบบหุบปาก : ทางลัดในการสร้างฟันปลอมทั้งปาก, ศุภบูรณ์ บุรณเวช

Chulalongkorn University Dental Journal

วิธีการพิมพ์ปีกแบบหุบปากคือ วิธีการพิมพ์ปากในขณะที่ผู้ป่วยกัดสบในท่าความสัมพันธ์ที่ศูนย์กลาง การพิมพ์ปากวิธีนี้สามารถลดจํานวนครั้งในการทํางานทางคลินิก วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่ออธิบายถึง วิธีการสร้างฟันปลอมทั้งปากแบบหุบปาก คําแนะนําและข้อควรระวังต่าง ๆ เพื่อลดความยุ่งยากในการปฏิบัติงานในคลินิกและในห้องปฏิบัติการ


ฟันปลอมสําหรับผู้ป่วยที่มีฟันสึกมากผิดปกติ, โสภี ชาติสุทธิพันธ์, ศรีวรพงษ์ พงษ์สถิตย์, นิพัทธ์ สมศิริ Jan 1993

ฟันปลอมสําหรับผู้ป่วยที่มีฟันสึกมากผิดปกติ, โสภี ชาติสุทธิพันธ์, ศรีวรพงษ์ พงษ์สถิตย์, นิพัทธ์ สมศิริ

Chulalongkorn University Dental Journal

ผู้ป่วยชายมีสุขภาพจิตผิดปกติ ได้ใช้กระดาษทรายขัดถูฟันถาวรที่เหลืออยู่ในช่องปากทั้งบนและล่าง จนสึกมากทุก ๆ ซี่ ผู้ป่วยเสียวฟันแม้ขณะอยู่เฉย ๆ และจะเสียวมากขึ้นเมื่อดื่มน้ำและบดเคี้ยวอาหาร ได้พิจารณาเลือกฟันปลอมที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยอย่างมีขั้นตอน ผู้ป่วยพอใจกับฟันปลอมภายหลังใส่ฟันปลอมแล้วสุขภาพจิตของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างรวดเร็ว


การถอนฟันคุดกรามล่างซี่ที่ 3 ชนิดโผล่พ้นเหงือกบางส่วน : รายงานการถอนในผู้ป่วย 4 แบบ, ฉลองศรี ตวันฉาย Jan 1993

การถอนฟันคุดกรามล่างซี่ที่ 3 ชนิดโผล่พ้นเหงือกบางส่วน : รายงานการถอนในผู้ป่วย 4 แบบ, ฉลองศรี ตวันฉาย

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วยจํานวน 4 รายในการถอนฟันคุดกรามล่างซี่ที่ 3 ชนิดฟันโผล่พ้นเหงือกบางส่วน โดยวางแผนการตัดฟัน พร้อมกับใช้หัวกรอฟันความเร็วสูงร่วมกับหัวกรอฟันความเร็วธรรมดา พบว่านอกจาก จะทํางานได้รวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังลดความกลัวของผู้ป่วยลงอย่างมากด้วย


น้ำยาบ้วนปากกับการยับยั้งการสร้างกรดของสเทรปโทคอกคัสมิวแทนส์, พวงเพ็ชร เดชะประทุมวัน, ทวิช กาญจนบุตร Jan 1993

น้ำยาบ้วนปากกับการยับยั้งการสร้างกรดของสเทรปโทคอกคัสมิวแทนส์, พวงเพ็ชร เดชะประทุมวัน, ทวิช กาญจนบุตร

Chulalongkorn University Dental Journal

ความมุ่งหมายของการทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลการระงับการเกิดกรดในแบคทีเรีย ของยาอมบ้วนปากโซเดียมฟลูออไรด์ 0.05 เปอร์เซ็นต์ น้ำยาบ้วนปากลิสเตอรีน น้ำยาบ้วนปากสเปเชียล และน้ำยาบ้วนปาก คลอเฮกซิดีนกลูโคเนต 0.2 เปอร์เซ็นต์ โดยนําน้ำยาบ้วนปากแต่ละชนิดในปริมาตร 0.5 มิลลิลิตร มาทดลองกับแบคทีเรียสเทรปโทคอกคัส มิวแทนส์ ดูผลการเกิดกรด โดยการวัด pH ที่ชั่วโมงที่ 1, 3, 6 และ 24 ตามลําดับ พบว่าผลการทดลองยาบ้วนปากคลอเฮกซิดีนกลูโคเนตเท่านั้นที่สามารถระงับการสร้างกรดของสเตรปโทคอกคัส มิวแทนส์ ทั้งที่ทดลองกับยาบ้วนปากคลอเฮกซิดีนอย่างเดียว และยาบ้วนปากที่มี 0.5 กรัม ซูโครส และการออกฤทธิ์นั้นนานเกิน 24 ชั่วโมง


การยอมรับและทัศนคติของนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 2 ต่อการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อการเรียนรู้วิชาทันตกายวิภาคศาสตร์ด้วยตนเอง, สุปราณี วิเชียรเนตร, สุขนิภา วิชัยเฉลิมวงศ์ Jan 1993

การยอมรับและทัศนคติของนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 2 ต่อการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อการเรียนรู้วิชาทันตกายวิภาคศาสตร์ด้วยตนเอง, สุปราณี วิเชียรเนตร, สุขนิภา วิชัยเฉลิมวงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อการศึกษาซึ่งช่วยในการสอนทันตกายวิภาคศาสตร์สําหรับนิสิตทันตแพทย์ ชั้นปีที่สอง ช่วยเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น การศึกษาวิชาทันตกายวิภาคศาสตร์ด้วยการบรรยาย เพียงอย่างเดียวไม่น่าสนใจ ผู้เรียนค่อนข้างเบื่อและขาดความกระตือรือล้น เนื่องจากเนื้อหาวิชามีรายละเอียดมาก ดังนั้นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะช่วยให้นิสิตสามารถเรียนรู้และทบทวนได้ด้วยตนเองและศึกษาเป็นกลุ่ม โดยปฏิบัติตามคู่มือการใช้ จากแบบสอบถามของนิสิตชั้นปีที่ 2 ที่ได้ใช้บทเรียนนี้จํานวน 73 คน ร้อยละ 95.5 พอใจโปรแกรมนี้ เนื่องจากช่วยในการศึกษาด้วยตนเองและประหยัดเวลา ร้อยละ 77.4 ต้องการให้มีบทเรียนลักษณะเดียวกันนี้ ในวิชาอื่น ๆ