Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 23 of 23

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ความรู้ทันตสุขภาพของมารดาตั้งครรภ์กลุ่มหนึ่ง, ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล Sep 1991

ความรู้ทันตสุขภาพของมารดาตั้งครรภ์กลุ่มหนึ่ง, ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

มารดาตั้งครรภ์จำนวน 303 คน ที่มารับบริการจากแผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ ได้ตอบคำสัมภาษณ์จากแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ทางทันตสุขภาพของตนเองในระยะตั้งครรภ์และผลที่อาจมีต่อทันตสุขภาพของบุตรในครรภ์ รวมทั้งการดูแลป้องกันทันตสุขภาพของบุตรในระยะหลังคลอด แล้ว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยไคสแควร์และการทดสอบอัตราส่วนที่ระดับนัยสําคัญ α = 0.05 พบว่ามารดาที่ตอบถูกต้อง 50% ขึ้นไป มี 11 จาก 23 ข้อ ประเด็นที่มีความรู้ถูกต้องน้อยที่สุดคือเพียง 1.3% ทราบว่าลูกจะแปรงฟันให้ สะอาดได้เองเมื่ออายุ 7-8 ปี 14.2% มีความรู้ถูกต้องว่ามารดาตั้งครรภ์มีปัญหาเหงือกและฟันไม่ใช่เป็น เพราะฟันแม่เสียแคลเซียมไปสร้างฟันให้ลูก 24.7% ไม่เห็นด้วยว่าระยะตั้งครรภ์มารดามีปัญหาเหงือกและ ฟันเพราะเกิดจากการรับประทานอาหารไม่ครบหมวดหมู่ ประเด็นที่มีความรู้ถูกต้องมากที่สุดคือ 97% เห็นด้วยว่าการ แปรงฟัน ทำเพื่อกำจัดคราบเชื้อโรคในช่องปาก และ 91.7% มีความรู้ถูกต้องว่าฟันลูกในครรภ์จะสร้าง ได้สมบูรณ์หากมารดารับประทานอาหารครบหมวดหมู่และได้สัดส่วน ความรู้ที่ถูกต้องบางประเด็นสัมพันธ์กับ ระดับการศึกษา จำนวนบุตร แต่ไม่สัมพันธ์กับอายุของมารดา การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าทันตแพทย์ควร ให้ทันตสุขศึกษาแก่มารดาตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นเป็นกลุ่มพิเศษ


Three Currently Used Direct Retainers In Distal Extension Removable Partial Dentures, Mansuang Arksornnukit Sep 1991

Three Currently Used Direct Retainers In Distal Extension Removable Partial Dentures, Mansuang Arksornnukit

Chulalongkorn University Dental Journal

Success of removable partial denture treatment depends upon several factors. One of the factors is the selection of direct retainer. There are many direct retainers available for selection. This article reviews the currently accepted direct retainer of choice in distal extension removable partial denture. Each clasp assemble is reviewed. The relevant studies are also included.


การรักษาการปวดปลายประสาทเส้นที่ 5 ด้วยความเย็น (Management Of Trigeminal Neuralgia By Cryotherapy), สิทธิชัย ทัดศรี Sep 1991

การรักษาการปวดปลายประสาทเส้นที่ 5 ด้วยความเย็น (Management Of Trigeminal Neuralgia By Cryotherapy), สิทธิชัย ทัดศรี

Chulalongkorn University Dental Journal

ผลการศึกษา การใช้ความเย็นจี้รักษาอาการปวดปลายประสาทเส้นที่ 5 จำนวน 21 ราย พบค่าเฉลี่ย ระยะหายไปของความเจ็บปวด ในปลายประสาท mental 14 เดือน ปลายประสาท infraorbital 17 เดือน ปลายประสาท long buccal 18 เดือน และปลายประสาท lingual 5 เดือน การรับความรู้สึกของปลายประสาท ทั้งหมดจะกลับคืนภายใน 2 เดือน โดยไม่มีอาการแทรกซ้อนจากการผ่าตัดรักษาด้วยวิธีนี้เลย


การเจริญเติบโตของขากรรไกรบนภายหลังการบำบัดทางทันตกรรม จัดฟันก่อนการทำศัลยกรรมในทารกปากแหว่ง เพดานโหว่ด้านเดียว, สมรตรี วิถีพร, ปองใจ วิรารัตน์ Sep 1991

การเจริญเติบโตของขากรรไกรบนภายหลังการบำบัดทางทันตกรรม จัดฟันก่อนการทำศัลยกรรมในทารกปากแหว่ง เพดานโหว่ด้านเดียว, สมรตรี วิถีพร, ปองใจ วิรารัตน์

Chulalongkorn University Dental Journal

ข้อสรุปถึงผลของการบบำบัดทางทันตกรรมจัดฟันก่อนการทำศัลยกรรมต่อการเจริญเติบโตของขากรรไกรบนของผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ขัดแย้งกัน เนื่องจากการศึกษาส่วนใหญ่กระทำในผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัด ทางทันตกรรมจัดฟันก่อนการทำศัลยกรรมร่วมกับการปลูกกระดูก ในระยะแรก วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของขากรรไกรบนภายหลังการบำบัดทางทันตกรรมจัดฟันก่อนการทําศัลยกรรม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยทารกปากแหว่งเพดานโหว่ด้านเดียว 30 ราย (ชาย 15 ราย หญิง 15 ราย) ( ซึ่งได้รับการบําบัดทางทันตกรรมจัดฟันก่อนการทำศัลยกรรมตั้งแต่แรกเกิด การเปลี่ยนแปลงของขากรรไกรบน ศึกษาจากหุ่นจำลองแบบฟัน 3 ระยะ ประกอบด้วย หุ่นจําลองแบบฟันก่อนการบำบัด ก่อนการเย็บปากแหว่ง และก่อนการเย็บเพดานโหว่ ผลการวิจัยแสดงว่า ก่อนการเย็บปากแหว่ง (อายุเฉลี่ย 7.5 ± 2.4 เดือน) ความกว้างและความยาวของ ขากรรไกรบนมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ช่องโหว่บริเวณสันเหงือกแคบลง ก่อนการเย็บ เพดานโหว่ (อายุเฉลี่ย 17.5 ± 2.7 เดือน) ช่องโหว่บริเวณสันเหงือกแคบลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสรุปการบำบัดทางทันตกรรมจัดฟันก่อนการทำศัลยกรรมทำให้ช่องโหว่บริเวณสันเหงือกแคบลงด้วยการควบคุมให้ สันเหงือกทั้งสองชิ้นเจริญเติบโตไปในทิศทางที่กำหนด


การทดสอบยาฆ่าเชื้อโดยใช้ลูกน้ำ, ประเสริฐ ทรงกิตติคุณ Sep 1991

การทดสอบยาฆ่าเชื้อโดยใช้ลูกน้ำ, ประเสริฐ ทรงกิตติคุณ

Chulalongkorn University Dental Journal

การใช้ลูกน้ำเพื่อทดลองหาประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อ 6 ชนิด คือ Dettol, Chlorinated soda, 4-Chlorophenol, Lysol, Iodine และ Ethyl alcohol ด้วยวิธีทดลองที่ง่ายและประหยัด การทดลองเปรียบเทียบ ใช้ Phenol coefficient ผลการทดลองพบว่า Iodine มี Phenol coefficient สูงที่สุด คือ 90.9 รองลงมาคือ Dettol 37.9 บทความอธิบายวิธีทํา ประโยชน์ และข้อคิดในการทำวิจัยนี้


ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อบริการของภาควิชาทันตกรรม สำหรับเด็กคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ตรีสุคนธ์ มาลีแก้ว Sep 1991

ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อบริการของภาควิชาทันตกรรม สำหรับเด็กคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ตรีสุคนธ์ มาลีแก้ว

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้มารับบริการของภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองที่พาเด็กมารักษาโรคฟัน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2533 ถึงเดือนมกราคม 2534 จำนวน 200 คน โดยผ่านการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการให้บริการทางด้านต่าง ๆ ของภาควิชาฯ ผลการวิจัยพบว่า มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ตอบแบบสอบถามพอใจในบริการทําบัตร สําหรับบริการนัด ร้อยละ 58.8 ให้ความเห็นว่าระยะเวลาที่รอคิวนาน ร้อยละ 57 คิดว่าช่วงของการนัดแต่ละครั้งไม่ห่างเกินไป และร้อยละ 74 ตอบว่าได้รับบริการตรงเวลานัด สําหรับบริการด้านจ่ายยาร้อยละ 70.5 มีความคิดเห็นว่า ไม่ ต้องใช้เวลารอนานในการรับยา มากกว่าร้อยละ 90 เห็นว่าเหมาะสมดีแล้ว ร้อยละ 68 เห็นว่าควรจะบริการ ผู้ป่วยจรให้มากขึ้น จากข้อมูลผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขการให้บริการในภาควิชาฯ เพื่อให้การ บริการผู้ป่วยมีประสิทธิภาพสูงขึ้น


การเลือกใช้วัสดุบูรณะฟันชั่วคราวในการปิดคลองรากฟัน, วีระ เลิศจิราการ Sep 1991

การเลือกใช้วัสดุบูรณะฟันชั่วคราวในการปิดคลองรากฟัน, วีระ เลิศจิราการ

Chulalongkorn University Dental Journal

ในการรักษาคลองรากฟัน จำเป็นต้องใช้วัสดุบูรณะฟันชั่วคราวทั้งในระหว่างและหลังการรักษาเสร็จวัสดุที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น ซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์ ซิงค์ออกไซด์ยูจินอล เควิท ไออาร์เอ็ม และ ทีอีอาร์เอ็ม ซึ่งแต่ละชนิดมีข้อดีและข้อด้อยแตกต่างกัน การตัดสินใจเลือกใช้วัสดุใดจึงควรพิจารณาถึงสมบัติเหล่านี้ โดยเฉพาะ ความแนบสนิทที่ป้องกันการรั่วซึมได้และวิธีการใช้ที่ถูกต้อง


ปัญหาที่เกิดจากการใช้กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ในทางคลินิก, ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์, นงวิภา พุฒิภาษ Sep 1991

ปัญหาที่เกิดจากการใช้กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ในทางคลินิก, ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์, นงวิภา พุฒิภาษ

Chulalongkorn University Dental Journal

กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์เป็นวัสดุที่มีคุณค่าในงานทางทันตกรรมบูรณะ เนื่องจากมีการยึดติดทางเคมี ต่อผิวฟัน และยังสามารถปล่อยฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ ได้มีความพยายามที่จะปรับปรุงวัสดุนี้ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งทาง ด้านความแข็งแรง ความสวยงาม และความง่ายในการใช้งาน อย่างไรก็ดี กลาสไอโอโนเมอร์ก็ยังต้องการความ ระมัดระวังอย่างสูงในการนํามาใช้งานทางคลินิกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


ทัศนคติที่เปลี่ยนไปของทันตแพทย์ผู้ทำสัญญารุ่นที่ 1 ของกระทรวงสาธารณสุข, สุวิน วิสุทธิสิน, สุณี ผลดีเยี่ยม May 1991

ทัศนคติที่เปลี่ยนไปของทันตแพทย์ผู้ทำสัญญารุ่นที่ 1 ของกระทรวงสาธารณสุข, สุวิน วิสุทธิสิน, สุณี ผลดีเยี่ยม

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อประเมินทัศนคติที่เปลี่ยนไปของทันตแพทย์ผู้ทําสัญญารุ่นที่ 1 ของกระทรวงสาธารณสุข หลังจากที่ทำงานไปแล้ว 9 เดือน ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทำงานไปช่วงหนึ่ง ทัศนคติต่อคุณลักษณะของทันตแพทย์เปลี่ยนแปลงไปในทางบวก ขณะที่ทัศนคติต่อวิชาชีพและการทำงานในชนบทเปลี่ยนแปลงไปในทางลบมากขึ้น


โลหะผสมที่ใช้ทำฟันติดแน่นชนิดพอร์ซเลนเชื่อมกับโลหะ, สดใส ตรีรัตนบุตร, ศรีวรพงษ์ พงษ์สถิตย์ May 1991

โลหะผสมที่ใช้ทำฟันติดแน่นชนิดพอร์ซเลนเชื่อมกับโลหะ, สดใส ตรีรัตนบุตร, ศรีวรพงษ์ พงษ์สถิตย์

Chulalongkorn University Dental Journal

ครอบฟันและสะพานฟันชนิดพอร์ซเลนเชื่อมกับโลหะนั้นต้องมีโลหะเป็นโครงเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับพอร์ซเลน คุณสมบัติของโลหะที่ใช้ควรมีความแข็งแรง ความแนบของขอบครอบฟัน ความแข็งผิวใกล้เคียง กับฟันธรรมชาติ การติดสีและการกัดกร่อนน้อย โลหะผสมที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด โลหะผสมชนิดที่มีทอง หรือพัลลาเดียมเป็นพื้นฐาน จะให้คุณสมบัติที่ดีแต่ราคาค่อนข้างสูง ต่างกับโลหะผสมชนิดที่มีนิเกิลหรือโลหะ พื้นฐานเป็นส่วนผสม ซึ่งราคาถูกกว่ามากแต่คุณสมบัติยังไม่ดีพอ


ผู้ป่วยไม่ได้ใส่ฟันปลอมเพราะแพ้อคริลิกเรซิน, โสภี ชาติสุทธิพันธุ์, วีระชัย ธรรมวานิช May 1991

ผู้ป่วยไม่ได้ใส่ฟันปลอมเพราะแพ้อคริลิกเรซิน, โสภี ชาติสุทธิพันธุ์, วีระชัย ธรรมวานิช

Chulalongkorn University Dental Journal

อคริลิก เรซินเป็นวัสดุที่ทำให้ระคายเคืองหรือเกิดการแพ้ได้ ผู้ป่วยหญิงอายุ 53 ปี สภาพในช่องปาก สูญเสียฟันหน้าบน ฟันหลังบนและล่างมานานนับ 10 ปี ประวัติทางการแพทย์มีรายงานตั้งแต่ พ.ศ. 2513 ว่า แพ้ยาทุกชนิด แพ้วิตามินทุกชนิด ในปัจจุบันนี้มีสุขภาพร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง มีอาการแน่นหน้าอกและปวด ศีรษะจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเสมอ ๆ ประวัติทางทันตกรรม แพ้ยาชา แพ้อคริลิก เรซิน บทความนี้ ได้รายงานขั้นตอนวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ จนสามารถทำฟันปลอมใส่ให้ผู้ป่วยได้


ค่ามุมแนวเคลื่อนคอนดายล์จากการบันทึกการสบยื่น, ประดิษฐ์ เรืองรองรัตน์, ยาหยีศรีเฉลิม ศิลปบรรเลง May 1991

ค่ามุมแนวเคลื่อนคอนดายล์จากการบันทึกการสบยื่น, ประดิษฐ์ เรืองรองรัตน์, ยาหยีศรีเฉลิม ศิลปบรรเลง

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการศึกษามุมแนวเคลื่อนคอนดายล์ในกลุ่มตัวอย่าง 40 คน โดยใช้ขี้ผึ้งแผ่นสีชมพูบันทึกการสบฟัน ขณะที่ขากรรไกรล่างสบยื่นตรงออกมา 4 ม.ม. นํารอยบันทึกมาปรับและวัดหาค่ามุมแนวเคลื่อนคอนดายล์ใน เครื่องแสดงการสบฟันชนิดปรับได้บางส่วนของ Dentatus ได้ค่าเฉลี่ยมุมทางขวาเท่ากับ 43.4 ± 10.60 องศา ทางซ้ายเท่ากับ 42.60 ± 9.72 องศา ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของชาวสวีเดนที่กำหนดไว้ คือ 40 องศา มุม แนวเคลื่อนคอนดายล์ข้างขวาสัมพันธ์กับข้างซ้าย (p < 0.05) แต่มุมแนวเคลื่อนคอนดายล์ทั้งสองข้างไม่สัมพันธ์ กับเพศและอายุ (p > 0.05)


การศึกษาเปรียบเทียบความมันกลม และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของขนแปรงสีฟันเด็ก, ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล, รุจิรา เพื่อนอัยกา May 1991

การศึกษาเปรียบเทียบความมันกลม และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของขนแปรงสีฟันเด็ก, ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล, รุจิรา เพื่อนอัยกา

Chulalongkorn University Dental Journal

แปรงสีฟันเด็กที่จําหน่ายในประเทศไทย 15 ชนิด ชนิดละ 10 ด้าม ได้ถูกนำมาศึกษาโดยสุ่มขนแปรง 10 เส้น จากแปรงแต่ละด้ามมาประเมินปริมาณของความมนกลมและวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางจากฟิล์มซึ่งถ่าย จากกล้องจุลทรรศอิเล็คตรอนชนิดส่องกราด ที่กำลังขยาย 50 เท่าพบว่าที่ระดับความเชื่อมั่น α= 0.05 แปรง สีฟัน Gum มีค่าสัดส่วนของความมนกลมสูงสุด (89.7%) และ Dent® 78 ต่ำสุด (0%) โดยผู้วิจัยทั้ง 2 คน จะอ่านผลตรงกัน 92% ( α = 0.05) และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแปรงสีฟันทั้งหมดจัดเป็นชนิดอ่อน (soft) สำหรับเด็กโดยค่าสูงสุดคือ Viceroy® (0.005 นิ้ว) จนถึงต่ำสุด Jordan baby® (0.002 นิ้ว) จากการแบ่ง ระดับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและค่าสัดส่วนของความมนกลมเป็น 3 ระดับ (สูง กลาง ต่ำ) สามารถจำแนก แปรงสีฟันทั้ง 15 ชนิด เป็น 4 กลุ่ม โดยเรียงลำดับจากกลุ่ม 1 ซึ่งเป็นกลุ่มที่น่าจะเหมาะสมที่สุดในการนำไป ใช้คือ Gum® Reach, Kodomo ® กลุ่ม 2 : Viceroy®, Victory®, Colgate child® Colgate junior®, Oral-B®, Jordan junior® กลุ่ม 3 : Dent 78®, Jordan baby® กลุ่ม 4 Softex® แปรงสีฟัน ที่อยู่ก้ำกึ่งระหว่างกลุ่ม 1 และ 2 คือ Premium ระหว่างกลุ่ม 2 และ …


ความเครียดในกลุ่มนิสิตทันตแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุนีย์ จรัสพรสาธิต, วราณี วังกังวาน, นวลฉวี หงษ์ประสงค์ May 1991

ความเครียดในกลุ่มนิสิตทันตแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุนีย์ จรัสพรสาธิต, วราณี วังกังวาน, นวลฉวี หงษ์ประสงค์

Chulalongkorn University Dental Journal

ในสังคมปัจจุบัน ความเป็นอยู่และสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไป ทำให้สภาพจิตใจของคนในสังคมค่อนข้าง เครียด ในด้านการศึกษา การแข่งขันค่อนข้างสูงโดยเฉพาะการเรียนทันตแพทย์ ได้มีการวิจัยพบว่า นิสิตทันตแพทย์ จะมีความเครียดตั้งแต่เริ่มสอบเข้า ดังนั้น ในการศึกษานี้จึงต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับความเครียด ซึ่งเกิดขึ้นใน นิสิต 3 กลุ่มคือ ก่อนขึ้นคลินิก คลินิก และหลังปริญญา โดยการเปรียบเทียบความเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่ม และหาความสัมพันธ์ของความเครียดที่เกิดขึ้นกับปัจจัยร่วมที่เกี่ยวข้อง โดยการใช้ Test Anxiety Inventory (TAI) ของ Spielberger เป็นการวัดความเครียดและออกแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยร่วม ได้แก่ ประวัติ ส่วนตัว ประวัติทางการแพทย์ การสูบบุหรี่ ลักษณะที่อยู่อาศัย รายได้ของครอบครัว การเรียนการสอนในวิชา ทันตแพทย์ การจัดเวลาเรียน อาจารย์ที่ปรึกษา และกลุ่มบุคลากรพยาบาล และวิเคราะห์ข้อมูลโดย SPSS PC ซึ่งพบว่าความเครียดของนิสิตทันตแพทย์กลุ่มก่อนคลินิกมีค่าเฉลี่ย 25.44 ±12.15 คลินิก 23.16 ± 9.86 และ หลังปริญญา 20.97 ± 9.87 และทั้ง 3 กลุ่มมีค่า Stress index เฉลี่ย 23.44 ± 10.83 ซึ่งไม่พบความแตกต่างของ ระดับความเครียดในทั้ง 3 กลุ่ม แต่ในกลุ่มก่อนคลินิกและคลินิกพบว่า นิสิตทันตแพทย์มี Stress index สูงกว่าค่าเฉลี่ยถึงร้อยละ 40 นอกจากนั้นยังพบว่า นิสิตมีความเครียดจะสูบบุหรี่ และอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่ไม่สะดวก นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยร่วมที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดที่เกิดขึ้นกับนิสิตทันตแพทย์ได้แก่ การจัดเวลาในการเรียนโดยเฉพาะวิชาทางคลินิก การเตรียมตัวของนิสิตในด้านการเรียน และความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันของนิสิตทันตแพทย์กับบุคลากรพยาบาล ซึ่งผลจากการวิจัยนี้น่าจะมีประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้นิสิตมีความเครียดน้อยลงและมีคุณภาพมากขึ้น


การศึกษาเปรียบเทียบความยึดแน่นของสารไออาร์เอ็ม(Irm) กับอมัลกัมในฟันกรามน้ำนมสำหรับงานทันตสาธารณสุข, สายจิต วิสุทธิสิน, พรพรรณ ลีวัธนะ May 1991

การศึกษาเปรียบเทียบความยึดแน่นของสารไออาร์เอ็ม(Irm) กับอมัลกัมในฟันกรามน้ำนมสำหรับงานทันตสาธารณสุข, สายจิต วิสุทธิสิน, พรพรรณ ลีวัธนะ

Chulalongkorn University Dental Journal

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความยึดแน่นของสาร ไออาร์เอ็ม กับอมัลกัม ภายหลัง 6 เดือน ในฟันกรามน้ำนมของเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3-5 ปี จากสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน ศูนย์บริการสาธารณสุข 19 วงศ์สว่าง และโรงเรียนอนุบาลศักดิ์สงวนวิทยาพบว่า ความยึดแน่นของสาร ไออาร์เอ็ม ด้อยกว่าอมัลกัม สำหรับ การบูรณะฟันกรามน้ำนมที่มีรอยผุด้านบดเคี้ยวด้านเดียว หรือมีรอยผุด้านข้างด้วย แต่จากภาพถ่ายรังสีฟันที่บูรณะ ด้วยสารไออาร์เอ็มแล้ว ถึงแม้จะคงอยู่หรือหลุดไปก็ไม่มีการผุเกิดขึ้นใหม่


การเรียงฟันปลอมในขากรรไกรที่มีความสัมพันธ์ต่างกัน, นิพัทธ์ สมศิริ, ปานพรหม ยามะรัต May 1991

การเรียงฟันปลอมในขากรรไกรที่มีความสัมพันธ์ต่างกัน, นิพัทธ์ สมศิริ, ปานพรหม ยามะรัต

Chulalongkorn University Dental Journal

การเรียงฟันเป็นขั้นตอนสำคัญประการหนึ่งในการทำฟันปลอมทั้งปากให้ประสบความสำเร็จ เนื่องจากความสัมพันธ์ของขากรรไกรบนและล่างในผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างกัน การเรียงฟันโดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ ของขากรรไกรบนและล่างย่อมทำให้ฟันปลอมนั้นหลวมและมีประสิทธิภาพลดลง บทความนี้ได้รวบรวมรายงาน ซึ่งกล่าวถึงวิธีการเรียงฟันสำหรับผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ของขากรรไกรบนและล่างประเภทต่าง ๆ


โฟโตอีลาสติกในงานทันตแพทย์ ตอนที่ 2 โฟโตอีลาสติก เทคนิคและงานวิจัยทางทันตแพทย์, รัชดาภรณ์ ศรีมานนท์ Jan 1991

โฟโตอีลาสติกในงานทันตแพทย์ ตอนที่ 2 โฟโตอีลาสติก เทคนิคและงานวิจัยทางทันตแพทย์, รัชดาภรณ์ ศรีมานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

โฟโตอีลาสติก เทคนิค ได้เข้ามามีบทบาทต่องานวิจัยทางทันตแพทย์โดยแสดงให้เห็นผลของแรงที่กระทำต่อโครงสร้างซึ่งต้องการศึกษา ในลักษณะของรูปแบบความเค้นเมื่อแบบจำลองนั้นสร้างขึ้นจากสาร ไบรีฟรินเจน ทั้งนี้เพราะงานวิจัยทางคลินิกซึ่งศึกษาโดยเทคนิคนี้สามารถควบคุมตัวแปรเกินที่เกี่ยวข้องกับความแตกต่างระหว่างผู้ป่วยแต่ละรายได้ บทความนี้นำเสนอตัวอย่างงานวิจัยทางทันตแพทย์ซึ่งวิเคราะห์โดย โฟโตอีลาสติก เทคนิค


รอยโรคมิวโคซีลในช่องปาก : รายงานผู้ป่วย, สมพงษ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์ Jan 1991

รอยโรคมิวโคซีลในช่องปาก : รายงานผู้ป่วย, สมพงษ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วยซึ่งมีรอยโรคลักษณะเป็นตุ่มมนกลมที่ริมฝีปากล่าง เป็นเวลา 2 เดือน โดยไม่มีอาการ เจ็บปวด ผลตรวจทางจุลพยาธิวิทยาซึ่งวินิจฉัยเป็นรอยโรคมิวโคซีล การผ่าตัดด้วยวิธีควักรอยโรค และต่อมน้ำลายข้างเคียง ภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะตำแหน่ง เป็นวิธีการที่ใช้ในการบำบัดเพื่อป้องกันการกลับเป็นใหม่


การศึกษานอกร่างกายถึงกลไกการขนส่งฟลูออไรด์ ผ่านชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข, จีรศักดิ์ นพคุณ, ศานตี เตชาภิประณัย, ศิริพร โชติไพบูลย์พันธุ์ Jan 1991

การศึกษานอกร่างกายถึงกลไกการขนส่งฟลูออไรด์ ผ่านชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข, จีรศักดิ์ นพคุณ, ศานตี เตชาภิประณัย, ศิริพร โชติไพบูลย์พันธุ์

Chulalongkorn University Dental Journal

การดูดซึมฟลูออไรด์เกิดได้ทั้งในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก แต่กลไกการขนส่งฟลูออไรด์ผ่าน ชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ได้ทำการทดลองแสดงถึงอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลง สภาวะกรดด่างของสารละลาย และการเปลี่ยนแปลงปริมาณโซเดียม และคลอไรด์ไอออนที่อยู่ในสารละลาย ด้านผิวดูดซึม ต่อการขนส่งฟลูออไรด์ผ่านชั้นเซลล์ผนังลำไส้เล็กของสุนัข โดยชั้นเซลล์ดูดซึมจะได้รับการแยก จากส่วนที่เป็นชั้นกล้ามเนื้อ และนำมาใส่ในเครื่องมือศึกษาการดูดซึมภายนอกร่างกาย สารละลายที่สัมผัสกับ ผิวเซลล์ดูดซึมจะได้รับการปรับสภาวะกรดด่างที่ 6.0 7.0 และ 8.0 ส่วนสารละลายที่สัมผัสด้านหลอดเลือด จะคงสภาวะกรดด่างที่ 7.5 ฟลูออไรด์จะถูกเติมลงไปในสารละลายด้านเซลล์ดูดซึม เพื่อให้ได้ความเข้มข้น 0.25 0.5 และ 1.0 มิลลิโมล หลังจากนั้น 30 นาทีจะนำสารละลายด้านหลอดเลือดไปหาปริมาณฟลูออไรด์ ผลการทดลองพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาวะกรดด่างระหว่าง 6.0-8.0 ไม่มีผลต่อการขนส่งของ ฟลูออไรด์ผ่านเซลล์ผนังลําไส้เล็ก การลดลงในความเข้มข้นของโซเดียมไอออนในสารละลายด้านดูดซึม และการเติมวาเบน (ouabain) ลงไปในสารละลายด้านหลอดเลือด จะมีผลให้การดูดซึมฟลูออไรด์ลดลง แต่ การขนส่งฟลูออไรด์เพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณคลอไรด์ไอออนในสารละลายด้านดูดซึมลดลง ผลการทดลองไม่มี ข้อมูลสนับสนุนสมมุติฐานที่มีผู้เสนอว่าการดูดซึมฟลูออไรด์ในลําไส้เล็กเกิดขึ้นในรูปการแพร่กระจายของ ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ แต่ข้อมูลที่ได้จากการทดลองชี้ให้เห็นว่าการดูดซึมของฟลูออไรด์จากลำไส้เล็ก น่าจะเกิดจากการแพร่กระจายของฟลูออไรด์ไอออน


ภาวะโรคปริทันต์และการรักษาที่จำเป็นในนักเรียนประถมศึกษาอายุ 12 ปี สังกัดกรุงเทพมหานคร, สุคนธ์ บรมธนรัตน์, วารุณี อารีราษฎร์ Jan 1991

ภาวะโรคปริทันต์และการรักษาที่จำเป็นในนักเรียนประถมศึกษาอายุ 12 ปี สังกัดกรุงเทพมหานคร, สุคนธ์ บรมธนรัตน์, วารุณี อารีราษฎร์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อประเมินภาวะโรคปริทันต์และการรักษาที่จําเป็นโดยใช้ดัชนี CPITN ในเด็กนักเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร อายุ 12 ปีด้วยดัชนี CPITN จำนวน 720 คน (หญิง 356 คน ชาย 364 คน) เป็นนักเรียนในเขตรอบนอก 412 คน และเป็นนักเรียนในเขตรอบใน 308 คน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นโรคปริทันต์ร้อยละ 100 โดยร้อยละ 92.5 มีภาวะโรคปริทันต์ สูงสุดที่ระดับ 2 (มีหินน้ำลาย) ร้อยละ 6.53 มีภาวะโรคปริทันต์สูงสุดที่ระดับ 1 (มีเลือดออก) ร้อยละ 0.97 มีภาวะโรคปริทันต์สูงสุดที่ระดับ 3 (ร่องลึกปริทันต์ลึก 4-5 มม.) และไม่พบภาวะโรคปริทันต์สูงสุดที่ระดับ 4 (ร่องลึกปริทันต์ลึกมากกว่า 6 มม.) ในนักเรียนทุกคน เมื่อเปรียบเทียบการเกิดโรคปริทันต์ ระหว่างนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ทุกภาวะโรคปริทันต์ แต่เมื่อเปรียบเทียบการเกิดโรคปริทันต์ระหว่างนักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่รอบนอกและ เขตพื้นที่รอบใน พบว่านักเรียนในเขตพื้นที่รอบนอก มีภาวะโรคปริทันต์ระดับ 3 มากกว่านักเรียนในเขตพื้นที่รอบใน (P<0.05) ส่วนความจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาโรคปริทันต์ พบว่านักเรียนทั้งหมดต้องได้รับการแนะนำการรักษา อนามัยช่องปาก และร้อยละ 93.44 จำเป็นต้องได้รับการขูดหินน้ำลาย


ค่ามุมแนวเคลื่อนคอนดายล์ในผู้ป่วยกลุ่มหนึ่ง, ยาหยีศรีเฉลิม ศิลปบรรเลง Jan 1991

ค่ามุมแนวเคลื่อนคอนดายล์ในผู้ป่วยกลุ่มหนึ่ง, ยาหยีศรีเฉลิม ศิลปบรรเลง

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเบื้องต้นในการหาค่าเฉลี่ยมุมแนวเคลื่อนคอนดายล์ในผู้ป่วยไทยกลุ่มหนึ่ง จากภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างของผู้ป่วย 64 ราย อายุ 20-40 ปี ได้ทำการสำรวจและวัดมุมแนวเคลื่อนคอนดายล์ซึ่งเกิดจากความเอียงของแอ่งกลิ่นอยด์ทำกับระนาบแฟรงเฟิร์ต พบว่า ค่าเฉลี่ยมุมแนวเคลื่อนคอนดายล์ ในผู้ป่วยที่ทำการศึกษาเท่ากับ 60.88 ± 7.88 องศา ซึ่งแตกต่างจากค่าเฉลี่ยของชาวตะวันตกที่กำหนดไว้ คือ 30-40 องศา


โอดอนโทเจนนิกเคอราโทซิสต์ที่เกิดหลายแห่ง ในกระดูกขากรรไกร : รายงานผู้ป่วย, สิทธิพร กาญจนพล Jan 1991

โอดอนโทเจนนิกเคอราโทซิสต์ที่เกิดหลายแห่ง ในกระดูกขากรรไกร : รายงานผู้ป่วย, สิทธิพร กาญจนพล

Chulalongkorn University Dental Journal

ผู้ป่วยเด็กชายอายุ 11 ปีมารับการรักษาที่โรงพยาบาลปทุมธานี ด้วยอาการมีหนองไหลจากขอบ เหงือกของฟันซี่ # 33 หลังจากเคยได้รับการรักษาโอดอนโทเจนิกเคอราโทซิสต์ในกระดูกขากรรไกรบนขวา ด้วยวิธีมาร์ซูเปียไลเซชัน เมื่อ 3 ปีที่แล้ว จากภาพถ่ายรังสี และผลการตรวจจุลพยาธิวิทยา สามารถวินิจฉัย เป็นโอดอนโทเจนิกเคอราโทซิสต์ในกระดูกขากรรไกรบนที่เกิดใหม่หลังจากการรักษา ส่วนกระดูกขากรรไกรล่างเป็นโอดอนโทเจนิกเคอราโทซิสต์เช่นเดียวกัน ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีการควักออกหมดในกระดูก ขากรรไกรบน และวิธีมาร์ซูเปียไลเซชันในกระดูกขากรรไกรล่าง ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจภายหลังจาก ติดตามผู้ป่วยนาน 2 ปี


การติดเชื้อบริเวณช่องว่างเท็มพอรอล, เกษมศักดิ์ แก้วอิ่ม Jan 1991

การติดเชื้อบริเวณช่องว่างเท็มพอรอล, เกษมศักดิ์ แก้วอิ่ม

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วย 1 ราย อายุ 35 ปี ที่มีอาการติดเชื้อบริเวณช่องว่างเท็มพอรัลภายหลังการถอนฟันกรามบนซี่สุดท้าย พร้อมอธิบายขั้นตอนการวินิจฉัยและการรักษา