Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 20 of 20

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การเจริญเติบโตของใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ของผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่, สมรตรี วิถีพร Jan 1990

การเจริญเติบโตของใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ของผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่, สมรตรี วิถีพร

Chulalongkorn University Dental Journal

เป็นที่ยอมรับว่า ความผิดปกติแต่กำเนิดและการทำศัลยกรรมมีผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของใบหน้า และกะโหลกศีรษะของผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ รายงานการศึกษาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่มีขากรรไกรบนผิดปกติทั้งในด้านขนาดและตำแหน่ง ขณะที่ข้อสรุปเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของฐาน กะโหลกและขากรรไกรล่างยังคงขัดแย้งกัน


ปกิณกะ : Dean Volker, Isra Yuktanandana Jan 1990

ปกิณกะ : Dean Volker, Isra Yuktanandana

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


ความต้องการทางทันตกรรมจัดฟันในเด็กไทยกลุ่มหนึ่ง, วัฒนะ มธุราสัย Jan 1990

ความต้องการทางทันตกรรมจัดฟันในเด็กไทยกลุ่มหนึ่ง, วัฒนะ มธุราสัย

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อประเมินความต้องการทางทันตกรรมจัดฟัน ในกลุ่มตัวอย่างเด็กไทยจำนวน 873 คน (ชาย 458 คน หญิง 415 คน) ซึ่งได้จากการสุ่มจากเด็กนักเรียนในอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดชลบุรีจำนวน 4 อำเภอ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดอายุ 12 - 14 ปี พัฒนาการอยู่ในระยะฟันแท้ และไม่เคยได้รับการบำบัดรักษาทาง ทันตกรรมจัดฟันมาก่อน ความต้องการทางทันตกรรมจัดฟันพิจารณาจากการสบฟันผิดปกติซึ่งตรวจพบทางคลินิกและจากหุ่นจำลองแบบฟันของกลุ่มตัวอย่างแต่ละราย ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 17.9 มีการสบฟันปกติ ร้อยละ 16.4 ต้องการการเฝ้าระวัง ร้อยละ 45.7 ต้องการ การบำบัดทางทันตกรรมจัดฟัน และร้อยละ 20 ต้องการการบำบัดเร่งด่วน


ลักษณะของขากรรไกรล่างภายหลังการบำบัดด้วยเครื่องมือโพรแทรคชัน เฮดเกียร์ ในผู้ป่วยโครงสร้างใบหน้าผิดปกติประเภทที่ 3, สมรตรี วิถีพร Jan 1990

ลักษณะของขากรรไกรล่างภายหลังการบำบัดด้วยเครื่องมือโพรแทรคชัน เฮดเกียร์ ในผู้ป่วยโครงสร้างใบหน้าผิดปกติประเภทที่ 3, สมรตรี วิถีพร

Chulalongkorn University Dental Journal

หลักการพื้นฐานในการบำบัดผู้ป่วยโครงสร้างใบหน้าผิดปกติประเภทที่ 3 ด้วยวิธีการทางทันตกรรมจัดฟัน คือ ควบคุมการเจริญเติบโตของขากรรไกรบนและล่างให้มีขนาดและทิศทางที่เหมาะสม เพื่อให้ความสัมพันธ์ ของขากรรไกรทั้งสองปกติ วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อประเมินขนาดและทิศทางการเจริญเติบโตของขากรรไกรล่างภายหลังการบำบัดด้วยเครื่องมือโพรแทรคชัน เฮดเกียร์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยโครงสร้างใบหน้าผิดปกติประเภทที่ 3 15 ราย (ชาย 6 ราย หญิง 9 ราย) อายุเฉลี่ย 10 ปี 6 เดือน ผู้ป่วยทั้งหมดมีครอสไบท์ฟันหน้า ขากรรไกรบนหลุบ ขากรรไกรล่างอื่น ได้ รับการบำบัดด้วยเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่น และเครื่องมือโพรแทรคชัน เฮดเกียร์ ระบบแรง 400 กรัม เพื่อดึง ขากรรไกรบนมาทางด้านหน้า และแรง 1,000 กรัมเพื่อรั้งขากรรไกรล่างไปทางด้านหลัง เป็นเวลา 12-14 ชั่วโมงต่อวัน การติดตามผลในระยะยาว แสดงให้เห็นว่า การสบฟันและโครงสร้างใบหน้าที่ดีขึ้นนั้นเป็นผลเนื่องจาก การเจริญเติบโตและการบำบัด โดยขากรรไกรล่างมีการเจริญเติบโตในแนวดิ่งและหมุนตามเข็มนาฬิกาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยปราศจากการคืนกลับภายหลังติดตามผลเป็นเวลา 2 ปี


ผลของการอมเกลือป่นต่อปริมาณการเกิดคราบจุลินทรีย์, นพดล ศุภพิพัฒน์, รัตน์ เสรีนิราช, หาญณรงค์ ลําใย Jan 1990

ผลของการอมเกลือป่นต่อปริมาณการเกิดคราบจุลินทรีย์, นพดล ศุภพิพัฒน์, รัตน์ เสรีนิราช, หาญณรงค์ ลําใย

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานการวิจัยที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้ทราบว่า การอมน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นร้อยละ 0.9 ร้อยละ 1 ไม่อาจป้องกันการเกิดคราบจุลินทรีย์ได้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะทราบผลของการอมเกลือป่นต่อ :- 1) ปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก 2) ปริมาณการเกิดคราบจุลินทรีย์ การทดลองที่ 1 เก็บน้ำลายจากอาสาสมัคร 10 คน โดยเก็บก่อนและหลังอมเกลือป่น 1 ช้อนชา ปาด และก่อนและหลังอมน้ำเปล่า นำน้ำลายที่เก็บได้ไปทำให้เจือจาง แล้วเพาะเลี้ยงเชื้อ ผลปรากฏว่า การ อมเกลือป่นสามารถลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในน้ำลายได้มากกว่าการอมน้ำ แสดงว่าเกลือป่นมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การทดลองที่ 2 ทำในอาสาสมัคร 19 คน มีเหงือกค่อนข้างปกติ ทุกคนต้องผ่านการทดสอบ 3 ช่วง คือ ช่วงอมน้ำเปล่า ช่วงอมเกลือ และช่วงอมน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซิดีน ส่วนจะเริ่มช่วงใดก่อนหลังเป็นไป ตามสุ่มตัวอย่าง ช่วงหนึ่ง ๆ จะเริ่มต้นทำการทดลองในวันจันทร์ โดยจะขูดและขัดผิวฟันให้สะอาด แล้วให้ อาสาสมัครงดเว้นการทำความสะอาดฟันโดยสิ้นเชิงจนถึงวันศุกร์ ระหว่างนั้นถ้าหากอมน้ำเปล่าก็มิได้จำกัด จำนวนครั้ง ถ้าหากอมเกลือก็จะให้อมเกลือป่นครั้งละ 1 ช้อนชาปาด เป็นเวลา 1 นาที วันละ 2 ครั้ง เช้า- ก่อนนอน ถ้าหากอมน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซิดีน 0.2% ก็ให้อมครั้งละ 10 มล. นาน 1 นาที วันละ 2 ครั้งเช่นกัน การประเมินปริมาณคราบจุลินทรีย์กระทำในวันศุกร์ ผลการทดลองปรากฏว่าเกลือป่นไม่สามารถลดปริมาณ การเกิดคราบจุลินทรีย์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้ง ๆ ที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย คงเนื่องมาจาก ความไม่สามารถคงอยู่ในปากได้นาน ส่วนน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซิดีน 0.2% สามารถลดปริมาณการเกิด คราบจุลินทรีย์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว


แนวโน้มในปัจจุบันของการรักษาประสาทฟัน ด้วยวิธีพัลโพโตมีในฟันน้ำนม, วัชราภรณ์ ทัศจันทร์ Jan 1990

แนวโน้มในปัจจุบันของการรักษาประสาทฟัน ด้วยวิธีพัลโพโตมีในฟันน้ำนม, วัชราภรณ์ ทัศจันทร์

Chulalongkorn University Dental Journal

ฟอร์โมครีซอลเป็นตัวยาที่นิยมใช้ในการรักษาประสาทฟันน้ำนมด้วยวิธีพัลโพโตมี เนื่องจากให้ผลสําเร็จทางคลินิกสูง ในปัจจุบันได้มีการวิจัยในสัตว์ทดลองและติดตามผลการรักษาในคนพบว่าฟอร์โมครีซอลสามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบร่างกายเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อในระดับหนึ่ง และยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีนซึ่งนำไปสู่การเกิดมะเร็งได้ จึงได้มีการวิจัยเพื่อหาตัวยาและวิธีการใหม่เพื่อทดแทนฟอร์โมครีซอล ตัวยาที่มีแนวโน้มจะนำมาใช้แทนในอนาคต อันใกล้นี้ได้แก่ กลูตาราลดีไฮด์ ส่วนวิธีอื่น ๆ ได้แก่อิเล็คโตรเซอเจอรี่ เลเซอร์ ฟรีสดรายด์โบน


ความรู้และทัศนคติของทันตแพทย์ไทยกลุ่มหนึ่ง ต่อการใช้ซีแลนต์, ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล Jan 1990

ความรู้และทัศนคติของทันตแพทย์ไทยกลุ่มหนึ่ง ต่อการใช้ซีแลนต์, ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

บทความวิจัยนี้ศึกษาถึงความรู้และทัศนคติต่อการใช้ซีแลนด์ โดยส่งแบบสอบถามไปยังทันตแพทย์ซึ่งเป็น สมาชิกของทันตแพทยสมาคมจำนวน 1,624 ฉบับ เมื่อเดือนกันยายน 2532 และได้รับแบบสอบถามตอบกลับมา 577 ฉบับในปลายตุลาคมปีเดียวกัน จากการวิเคราะห์ผลพบว่า 39.8% ของทันตแพทย์กลุ่มนี้ทำซีแลนด์เป็นประจำ และส่วนใหญ่ 45.2% ทำเป็นบางครั้งและน้อยครั้ง ทันตแพทย์ส่วนใหญ่มากกว่า 60% มีความรู้และตอบคำถามได้ ถูกต้อง 8 ประเด็น จาก 10 ประเด็น ยกเว้นในประเด็นที่ว่าฟันซึ่งเริ่มผุเล็กน้อยหากทำซีแลนต์ทับไว้ การผุจะไม่ ลุกลาม มีเพียง 30.3% ของทันตแพทย์กลุ่มนี้ที่มีความรู้ถูกต้องและในอีกประเด็นคือฟันที่ทำซีแลนด์แล้วหลุดไปจะผุ ง่ายกว่ากรณีที่ไม่เคยทำซีแลนต์ ทันตแพทย์ที่มีความรู้ถูกต้องมีจํานวน 53.4% ในเรื่องทัศนคติ มากกว่า 74% ของ ทันตแพทย์มีความเห็นในทางบวกต่อซีแลนด์ การศึกษาครั้งนี้ยังรายงานถึงความสัมพันธ์ระหว่างปีที่ทันตแพทย์จบการศึกษา สาขาของงานที่ทันตแพทย์ทำตลอดจนลักษณะงานกับความรู้และทัศนคติของการใช้ซีแลนด์


Archial Analysis As Applied To Thai Soft Tissue Profile, Smorntree Viteporn, Watana Mathurasai Jan 1990

Archial Analysis As Applied To Thai Soft Tissue Profile, Smorntree Viteporn, Watana Mathurasai

Chulalongkorn University Dental Journal

Archial analysis proposed by Viken Sassouni provides only information for skeletal and dental analyses. The objectives of the research were to propose the method of soft tissue profile analysis based upon the concept of archial analysis, to describe soft tissue profile alteration in Thai children and to scrutinize the difference within and between age groups. The sample comprised of 528 Bangkokian schoolchildren aged 8-18 years with normal occlusion and accep- table profile. The alteration of the soft tissue profile was scrutinized from individual lateral cephalogram by construction of three reference arcs comprising the anterior, middle and posterior arcs with 0 …


อุบัติการณ์โรคไคเลน พลานัสในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สมศรี โรจนวัฒน์ศิริเวช, สุริยา ภูยุทธานนท์, วิวัฒน์ ลี้ตระกูลนำชัย, วิทยา ซื่อสัตย์ Jan 1990

อุบัติการณ์โรคไคเลน พลานัสในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สมศรี โรจนวัฒน์ศิริเวช, สุริยา ภูยุทธานนท์, วิวัฒน์ ลี้ตระกูลนำชัย, วิทยา ซื่อสัตย์

Chulalongkorn University Dental Journal

ไลเคน พลานัส ของช่องปาก นับว่าเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งเพราะพบได้บ่อยและรอยโรคมีลักษณะ เปลี่ยนแปรได้หลายรูปแบบ โรคนี้โดยปกติมักเรื้อรังแต่ไม่ค่อยมีอาการรุนแรง อย่างไรก็ตามบางกรณีผู้ป่วยอาจ มีรอยโรคลุกลามกว้างขวาง หรือมีอาการเจ็บปวดมากทำให้เกิดปัญหาในการวินิจฉัยและการรักษา การศึกษานี้ จึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วย โรคไลเคน พลานัส ซึ่งวินิจฉัยได้จากการตัดเนื้อตรวจทางจุลพยาธิตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2510 ถึง 2531 รวมระยะเวลา 21 ปี มีจำนวนทั้งสิ้น 77 ราย เพื่อนำมาวิเคราะห์การกระจายของโรค ที่สัมพันธ์กับ เพศ อายุ ตำแหน่ง ระยะเวลาเป็นโรคก่อนมารับการรักษา รวมทั้งชนิดและการลุกลามของโรค โดยได้สรุปรวบรวมและวิจารณ์เปรียบเทียบข้อมูลเหล่านี้กับที่ได้จากการศึกษาของต่างประเทศซึ่งเคยมีรายงานไว้ เพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับทำการศึกษาโรคไลเคน พลานัส อย่างกว้างขวางในโอกาสต่อ ๆ ไป


ผลของฟลูออไรด์ต่อกระดูก, ไชยรัตน์ เฉลิมรัตนโรจน์ Jan 1990

ผลของฟลูออไรด์ต่อกระดูก, ไชยรัตน์ เฉลิมรัตนโรจน์

Chulalongkorn University Dental Journal

ฟลูออไรด์ถูกนำมาใช้ทางด้านทันตกรรมเพื่อป้องกันและลดอัตราฟันผุ จากรายงานเกี่ยวกับผลของ สารชนิดนี้ต่อกระดูกทั้งในด้านการเสริมสร้างและละลายกระดูก แสดงความเป็นไปได้ของการนำฟลูออไรด์มาใช้ ในการบำบัดทางทันตกรรมที่เกี่ยวกับกระดูกรองรับฟัน


กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ในทางทันตกรรมจัดฟัน, ภัสราภรณ์ สุนทรสัจ Jan 1990

กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ในทางทันตกรรมจัดฟัน, ภัสราภรณ์ สุนทรสัจ

Chulalongkorn University Dental Journal

ผลข้างเคียงของการใช้เครื่องมือทางทันตกรรมจัดฟันชนิดติดแน่นในผู้ป่วยที่มีทันตสุขภาพไม่ดีพอเป็น เวลานาน คือทำให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุ (demineralization) ของผิวเคลือบฟันและเกิดฟันผุได้ กลาสไอโอ โนเมอร์ซีเมนต์ เป็นวัสดุซึ่งใช้ในทางทันตกรรมบูรณะ มีคุณสมบัติบางประการที่เหมาะสมกับการบำบัด ทางทันตกรรมจัดฟัน โดยใช้เป็นวัสดุยึดปลอกโลหะรัดฟัน และแบรกเก็ต เนื่องจากมีการปลดปล่อยฟลูออไรด์- อิออนให้แก่ผิวเคลือบฟันเป็นเวลานาน จากการศึกษาในห้องทดลอง และทางคลินิก พบว่าการใช้กลาสไอ-โอโนเมอร์ซีเมนต์ยึดปลอกโลหะรัดฟันมีความแข็งแรงในการยึดติดที่ดี และช่วยลดอัตราการเกิดการสูญเสีย แร่ธาตุของผิวเคลือบฟันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการใช้กลาส ไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ในการยึด แบรกเก็ตนั้นมีรายงานการศึกษาไม่มาก ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความแข็งแรงของการยึดติด และสัดส่วนในการผสมที่ให้ความหนืดเหมาะสม


จุดบกพร่องภายในส่วนโยงใหญ่ของโครงโลหะฟันปลอมบางส่วนถอดได้, ประวัติ จีระศิริ, ยาหยีศรีเฉลิม ศิลปบรรเลง Jan 1990

จุดบกพร่องภายในส่วนโยงใหญ่ของโครงโลหะฟันปลอมบางส่วนถอดได้, ประวัติ จีระศิริ, ยาหยีศรีเฉลิม ศิลปบรรเลง

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการตรวจหาจุดบกพร่องภายใน (internal defects) ส่วนโยงใหญ่ (major connector) ของโครงโลหะ เหวี่ยงของฟันปลอมบางส่วนถอดได้ จากแลปเอกชนที่มีชื่อเสียง 2 แห่ง ซึ่งใช้วิธีหลอมโลหะโคบอลต์-โครเมียมแบบ เหนี่ยวนําไฟฟ้า (electric induction) และก๊าซออกซิอะเซทิลีน (oxy-acetylene gas) โดยนำชิ้นโลหะทั้งหมด มาตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรมใช้ความต่างศักย์ระหว่างขั้ว 70 kVp เวลาถ่าย 1.5 วินาที ใช้ ออกคลูซัลฟิล์ม ระยะห่างระหว่าง โฟกัสกับฟิล์ม 50 เซนติเมตร จากภาพรังสีพบจุดบกพร่องที่มีรูปร่าง ขนาด จำนวน แตกต่างกันไปในแต่ละชิ้น โครงโลหะซึ่งเกิดจากการหลอมแบบเหนี่ยวนำไฟฟ้า พบมีจุดบกพร่องเกิดขึ้นร้อยละ 18.96 เมื่อเทียบกับแบบใช้ก๊าซซึ่งพบถึงร้อยละ 43.33 สัดส่วนของจำนวนชิ้นที่มีจุดบกพร่องในส่วนโยงใหญ่ของโครงโลหะ เหวี่ยงของฟันปลอมบางส่วนถอดได้ ซึ่งใช้วิธีการหลอมโลหะโดยการเหนี่ยวนำไฟฟ้า แตกต่างกับการใช้ก๊าซออกซิ อะเซทิลีนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05)


โฟโตอีลาสติกในงานทันตแพทย์ ตอนที่ 1 : หลักการพื้นฐาน, รัชดาภรณ์ ศรีมานนท์ Jan 1990

โฟโตอีลาสติกในงานทันตแพทย์ ตอนที่ 1 : หลักการพื้นฐาน, รัชดาภรณ์ ศรีมานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

ความเค้นและความเครียดที่เกิดขึ้นจากแรงกระทำต่อวัตถุซึ่งหล่อจากสารไบรีฟรินเจน สามารถวิเคราะห์ได้โดยวิธีโฟโตอีลาสติก ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงการกระจายของความเค้นในวัตถุซึ่งมิได้มีรูปทรงเรขาคณิต เช่น กระดูกใบหน้า เป็นสิ่งจำเป็นในการออกแบบและการสร้างเครื่องมือ ซึ่งให้กําเนิดแรงที่มีขนาดและทิศทางเหมาะสมกับการตอบสนองทางชีวภาพในแต่ละบุคคล วัตถุประสงค์ของบทความ เพื่อนำเสนอหลักการพื้นฐานของโฟโตอีลาสติก เทคนิคซึ่งประกอบด้วย ลักษณะของแบบจำลอง วิธีวิเคราะห์ และเครื่องมือโพลาริสโคป


ปกิณกะ : J.F. Volker, My Beloved Father And Teacher: A Personal Memoir., Stitaya Sirisinha Jan 1990

ปกิณกะ : J.F. Volker, My Beloved Father And Teacher: A Personal Memoir., Stitaya Sirisinha

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


ปกิณกะ : Professor Dr. Joseph F. Volker, Whom I Knew, Vinai Sirichitra Jan 1990

ปกิณกะ : Professor Dr. Joseph F. Volker, Whom I Knew, Vinai Sirichitra

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


การติดเชื้ออย่างรุนแรงในกระดูกขากรรไกร, นิตยา เชาวน์ชูเวชช Jan 1990

การติดเชื้ออย่างรุนแรงในกระดูกขากรรไกร, นิตยา เชาวน์ชูเวชช

Chulalongkorn University Dental Journal

การติดเชื้ออย่างรุนแรงที่มีสาเหตุมาจากโรคฟันนั้นพบได้เสมอในกระดูกขากรรไกร บทความรายงานถึงผู้ป่วยซึ่งมีฟันผุทะลุประสาทและเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง โดยบรรยายถึงลักษณะทางคลินิกและการบำบัดอย่างละเอียด


ความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติแต่กำเนิดของฟันหน้าน้ำนมและฟันหน้าถาวร, สมรตรี วิถีพร, สิริสรรค์ ทับทิมโต, เพชราพร จางวนิชเลิศ, มลฤดี เจียรมงคลวุฒิ Jan 1990

ความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติแต่กำเนิดของฟันหน้าน้ำนมและฟันหน้าถาวร, สมรตรี วิถีพร, สิริสรรค์ ทับทิมโต, เพชราพร จางวนิชเลิศ, มลฤดี เจียรมงคลวุฒิ

Chulalongkorn University Dental Journal

บทความนำเสนอลักษณะทางคลินิกของความผิดปกติแต่กำเนิดในฟันหน้าน้ำนม ประกอบด้วย ฟันหาย ฟันเกิน และฟันคู่ ตลอดจนผลกระทบต่อฟันหน้าถาวรในผู้ป่วยเด็กไทย ซึ่งพบว่าฟันหน้าถาวรที่ขึ้นมาแทนที่ มักมีปัญหาในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น การตรวจขนาด รูปร่าง และจำนวนของฟันหน้าน้ำนมควรกระทำเป็น ปกติวิสัย ในกรณีที่พบความผิดปกติดังกล่าวในระยะฟันน้ำนม ควรซักประวัติและศึกษาภาพรังสีอย่างละเอียด เพื่อกำหนดแผนการบำบัดที่เหมาะสมในระยะฟันชุดผสม


ลวดบีตา-ติตาเนียมในทางทันตกรรมจัดฟัน, นิรมล อิฐรัตน์ Jan 1990

ลวดบีตา-ติตาเนียมในทางทันตกรรมจัดฟัน, นิรมล อิฐรัตน์

Chulalongkorn University Dental Journal

ลวดเป็นทันตวัสดุประเภทหนึ่ง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการบำบัดทางทันตกรรมจัดฟันโดยทำหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดของแรง ถ่ายทอดแรงไปยังตัวฟัน ตลอดจนควบคุมการเคลื่อนที่ของฟัน ในบรรดาลวดที่ใช้ ทางทันตกรรมจัดฟัน ลวดบีตา-ติตาเนียมจัดเป็นลวดประเภทหนึ่งที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการเคลื่อนฟัน กล่าวคือ มีสปริงแบคสูง โหลดดีเฟลกชันเรทต่ำ ดัดเป็นรูปร่างได้ดี และเชื่อมโดยกระแสไฟฟ้าได้ แต่มีข้อด้อย คือ มีความเสียดทานสูงมาก ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประกอบ และคุณสมบัติเป็นสิ่งจำเป็นในการเลือก ใช้ลวดให้เหมาะสมกับการบำบัดรักษาในแต่ละขั้นตอน วัตถุประสงค์ของบทความ เพื่อนำเสนอส่วนประกอบ และคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของลวดปิตา-ติตาเนียม รวมทั้งการนำไปใช้ในทางคลินิก


ปัญหาการใส่ฟันปลอมทั้งปาก, จินตนา ติยะแสงทอง, ปานพรหม ยามะรัต Jan 1990

ปัญหาการใส่ฟันปลอมทั้งปาก, จินตนา ติยะแสงทอง, ปานพรหม ยามะรัต

Chulalongkorn University Dental Journal

ในการใส่ฟันปลอมทั้งปากให้ผู้ป่วยนั้นมีปัญหาเกิดขึ้นมาก ในที่นี้จะกล่าวถึงปัญหาที่พบได้บ่อย ได้แก่ ปัญหาการยึดแน่นกับเนื้อเยื่อของฟันปลอม ผู้ป่วยใส่ฟันปลอมแล้วรู้สึกไม่สบาย ความรู้สึกคลื่นไส้ การออกเสียง ไม่ได้หรือไม่ชัดเจน นอกจากนั้น บทความนี้จะกล่าวถึงการวินิจฉัย อันจะนำไปสู่การแก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา


วัสดุเสริมฐานฟันปลอมอย่างนุ่ม, พาพร กวีวัชรนนท์, สุดจิตต์ ทองธรรมชาติ Jan 1990

วัสดุเสริมฐานฟันปลอมอย่างนุ่ม, พาพร กวีวัชรนนท์, สุดจิตต์ ทองธรรมชาติ

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.