Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Dental Journal

1980

Articles 1 - 22 of 22

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ทัศนคติของนิสิตทันตแพทย์ เรื่อง การประกอบวิชาชีพในอนาคต, สุภาพร กัณห์วานิช Sep 1980

ทัศนคติของนิสิตทันตแพทย์ เรื่อง การประกอบวิชาชีพในอนาคต, สุภาพร กัณห์วานิช

Chulalongkorn University Dental Journal

ทัศนคติของนิสิตทันตแพทย์ เรื่องการประกอบวิชาชีพในอนาคต ของนิสิต ทันตแพทย์ชั้นปีที่ 3 ถึง 6 ปีการศึกษา 2522 ของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จํานวน 170 คน เป็นชาย 70 คน หญิง 100 คน พบว่า ผู้ที่มีลําเนาเดิมอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีแนวโน้มที่จะประกอบวิชาชีพในอนาคตในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 62.89 ส่วนผู้ที่มีภูมิลําเนาเดิมในต่างจังหวัด มีแนวโน้มที่จะประกอบวิชาชีพในอนาคตในต่างจังหวัด ร้อยละ 45.83 และนิสิตได้แสดงความคิดเห็นเรื่องสิทธิพิเศษบางประการว่า ถ้าได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าว จะมีแนวโน้ม ร้อยละ 67.65 ที่จะออกไปประกอบวิชาชีพในต่างจังหวัด และแสดงความเห็นร้อยละ 71.18 ว่าควรมีการบังคับให้นิสิตออกปฏิบัติงานในหน่วยงานทันตกรรมในต่างจังหวัดเมื่อจบการศึกษาแล้วเป็นระยะเวลา 1 ปี


เข็มฉีดยาทางทันตกรรมหัก (รายงานผู้ป่วย), ไพศาล กังวลกิจ, เชื้อโชติ หังสสูต Sep 1980

เข็มฉีดยาทางทันตกรรมหัก (รายงานผู้ป่วย), ไพศาล กังวลกิจ, เชื้อโชติ หังสสูต

Chulalongkorn University Dental Journal

อุบัติการของการเกิดเข็มฉีดยาทางทันตกรรมหัก ปัจจุบันพบได้น้อยมาก ในรายงานฉบับนี้ ได้กล่าวถึงผู้ป่วย ซึ่งถูกส่งตัวมายังหน่วยฉุกเฉิน ภาควิชา ศัลยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เนื่องจากมีเข็มฉีดยาหักค้างอยู่ที่บริเวณ Pterygomandibular ข้างขวา หลังจากฉีดยาเพื่อถอนฟันกรามล่างด้านขวา และ ได้ให้การรักษาโดยการผ่าตัดเอาเข็มที่หักออก


Histoplasmosis (รายงานผู้ป่วย), ลัคนา เหลืองจามีกร, วิไลวรรณ อเนกสุข Sep 1980

Histoplasmosis (รายงานผู้ป่วย), ลัคนา เหลืองจามีกร, วิไลวรรณ อเนกสุข

Chulalongkorn University Dental Journal

Histoplasmosis เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Histoplasma capsulatum ที่พบได้ค่อนข้างยาก ที่น่าสนใจเพราะว่ามีอาการในช่องปาก และอาการทาง systemic คล้ายกับอาการในช่องปากของโรคอื่น ๆ เช่น carcinoma, leukemia, โรคนี้มีหลายชนิด จึงจําเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรคอย่างละเอียดจากรายผู้ป่วย 1 ราย ซึ่งส่งมาปรึกษาเกี่ยวกับแผลในช่องปากที่มีอาการทาง systemic ร่วมด้วย เมื่อได้รับการรักษาด้วย Amphotericin B. ก็ได้ผลดีไม่มีการ recurrence


การศึกษาเรื่อง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม เกี่ยวกับทันตสุขภาพ ของคนไทย 2 กลุ่ม, เพ็ญศรี สิทธิสมวงศ์, สุลักษณ์ ผลานุวงศ์ Sep 1980

การศึกษาเรื่อง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม เกี่ยวกับทันตสุขภาพ ของคนไทย 2 กลุ่ม, เพ็ญศรี สิทธิสมวงศ์, สุลักษณ์ ผลานุวงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษาเรื่อง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม เกี่ยวกับทันตสุขภาพ ของคนไทย 2 กลุ่ม ซึ่งมีระดับการศึกษาและเศรษฐานะต่างกัน ได้แก่ กลุ่มพนักงาน ของธนาคาร และกลุ่มคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มมีความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับทันตสุขภาพ ทันตแพทย์ และบริการทันตกรรมไม่แตกต่างกัน แต่มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมเกี่ยวกับจัดอันดับความต้องการ ชนิดของบริการ ทันตกรรม การไปพบทันตแพทย์ และการดูแลทันตสุขภาพของบุตร ซึ่งความแตกต่างนี้มีสาเหตุจากเศรษฐานะร่วมอยู่ด้วย


New Technique For Replacing Anterior Tooth(การใส่ฟันติดแน่นแบบใหม่), Petchara Techakumpuch Sep 1980

New Technique For Replacing Anterior Tooth(การใส่ฟันติดแน่นแบบใหม่), Petchara Techakumpuch

Chulalongkorn University Dental Journal

This is a report of a technique for replacing a missing anterior tooth through the utilization of a semiprecious cast metal framework coutaining porcelain or acrylic pontic with composite resin acid-etch bonding for attachment. Approximately 21 bridges have been placed success-fully about two years on variety of cases.


Abstract From Journals(ปกิณกะ : ย่อความจากวารสารต่างประเทศ) Sep 1980

Abstract From Journals(ปกิณกะ : ย่อความจากวารสารต่างประเทศ)

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


Abstract From Journals(ปกิณกะ : ย่อความจากวารสารต่างประเทศ) May 1980

Abstract From Journals(ปกิณกะ : ย่อความจากวารสารต่างประเทศ)

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


การซ่อมฟันปลอมที่แตกหัก, โสภี ชาติสุทธิพันธุ์ May 1980

การซ่อมฟันปลอมที่แตกหัก, โสภี ชาติสุทธิพันธุ์

Chulalongkorn University Dental Journal

การซ่อมฟันปลอมที่แตกหัก ถ้าทําด้วยอะคริลิค เรซิน ชนิดแข็งตัวที่อุณหภูมิปกติ จะลดการบิดงอของฟันปลอมนั้น เพราะไม่ต้องต้มฟันปลอมอีก ทั้งจะทําให้การสบฟันเหมือนเดิมไม่สูงขึ้นอันเกิดจากการบิดงอ การซ่อมฟันปลอมที่แตกหักควรตัดแต่งบริเวณหักให้กว้างมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และทําหน้าที่ตัดให้กว้างมากขึ้น เพื่อได้แนวกว้าง จะได้ยึดกันแน่นดี แต่ข้อสําคัญที่สุด ขอบ ๆ ควรมน เพื่อป้องกันแรงเค้นที่อาจเกิดขณะวัสดุแข็งตัว วิธีการซ่อมง่ายและได้อธิบายอย่างละเอียดโดย รูปภาพ และประหยัดเวลามาก


การรักษา Hemangioma ในช่องปากโดยใช้ Sclerosing Agent, สิทธิชัย ทัดศรี May 1980

การรักษา Hemangioma ในช่องปากโดยใช้ Sclerosing Agent, สิทธิชัย ทัดศรี

Chulalongkorn University Dental Journal

Sotradecol ได้ถูกนํามาใช้รักษา Hemangioma ตลอดจนโรคที่เกิดจากความ ผิดปกติของหลอดเลือดในช่องปาก โดยฉีดบริเวณที่เป็น ครั้งละ 0.2-0.5 ซี.ซี. ทุก 2 อาทิตย์ จนรอยโรค (Lesion) หายไป พบว่ายานี้ใช้สะดวก ผลข้างเคียงมี น้อยมากและการหายก็ปราศจากร่องรอยให้เห็น


Mucoepidermoid Carcinomaใน Minor Salivary Gland รายงานผู้ป่วย, สมศรี ตะยาภิวัฒนา, สมพร สวัสดิสรรพ์, วินัย ศิริจิตร May 1980

Mucoepidermoid Carcinomaใน Minor Salivary Gland รายงานผู้ป่วย, สมศรี ตะยาภิวัฒนา, สมพร สวัสดิสรรพ์, วินัย ศิริจิตร

Chulalongkorn University Dental Journal

Mucoepidermoid carcinoma โดยทั่วไปมักจะพบใน Major salivary gland และส่วนน้อยจะพบใน minor salivary gland ในรายงานเรื่องนี้ได้บรรยายถึงผู้ป่วย รายหนึ่งซึ่งมาด้วยอาการมีก้อนเนื้อนูนขึ้นที่บริเวณ retromolar area ของขากรรไกรล่างซ้ายและเจ็บ ซึ่งผลของการศึกษาจากภาพถ่ายรังสีและการตรวจทางจุลพยาธิวิทยาพบว่าเป็น Mucoepidermoid carcinoma


สุขภาพของทันตแพทย์ : ตอนที่ 2, เพ็ญศรี สิทธิสมวงศ์, สุลักษณ์ ผลานุวงศ์, สุภาพร กัณหวานิช May 1980

สุขภาพของทันตแพทย์ : ตอนที่ 2, เพ็ญศรี สิทธิสมวงศ์, สุลักษณ์ ผลานุวงศ์, สุภาพร กัณหวานิช

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานการศึกษาเรื่อง สุขภาพของทันตแพทย์ ตอนที่ 2 เกี่ยวกับการทํางาน ของทันตแพทย์พบว่า ทันตแพทย์ส่วนใหญ่ประกอบวิชาชีพทันทีหลังจากจบการศึกษา และทํางานมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน สาเหตุของการหยุดทํางานไปบ้าง ส่วนใหญ่ ได้แก่ การไปศึกษาต่อทั้งนอกและในประเทศ 70% ของทันตแพทย์ที่ตอบแบบ สอบถาม ทํางานโดยรับราชการและประกอบวิชาชีพส่วนตัวด้วย โดยลงมือทํางาน ทันตกรรมเอง ซึ่งใช้เวลาประมาณวันละ 8.7 ชั่วโมง และมีจํานวนคนไข้เฉลี่ย 20 คนต่อวัน นอกจากนั้นทํางานโดยรับราชการหรือประกอบวิชาชีพส่วนตัวเพียงอย่างเดียว โดยมีชั่วโมงการทํางานและจํานวนคนไข้น้อยกว่าผู้ประกอบอาชีพทั้งสองอย่าง ในการประกอบอาชีพส่วนตัวนั้น ส่วนใหญ่ทันตแพทย์ทํางานโดยลําพัง ไม่มี บุคลากรอื่นนอกจากผู้ช่วยทํางานบางอย่างเท่านั้น แต่การทําราชการ ส่วนใหญ่จะมีผู้ร่วมงานเป็นแพทย์และทันตแพทย์อื่น สถานที่ทํางานของทันตแพทย์มากกว่าครึ่ง หนึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีลักษณะเป็นตึกหรือตึกแถว ส่วนใหญ่ติดเครื่องปรับอากาศในคลินิคส่วนตัว และทันตแพทย์มีความเห็นว่าสถานที่ทํางานตั้งอยู่ในสภาวะอากาศเป็นพิษน้อย ในขณะทํางานสําหรับทันตแพทย์ที่รับราชการจะยืนมาก กว่านั่ง แต่ในคลินิคส่วนตัวส่วนใหญ่จะนั่งมากกว่ายืน และกว่าครึ่งของทันตแพทย์เดินทางมาทํางานโดยพาหนะส่วนตัว


การวิเคราะห์เนื้อที่ในฟันชุดผสม, Byron J. Round, จันทร์ทิพย์ มีศีล(แปล) May 1980

การวิเคราะห์เนื้อที่ในฟันชุดผสม, Byron J. Round, จันทร์ทิพย์ มีศีล(แปล)

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


Trigeminal Neuralgia และรายงานผู้ป่วย 1 ราย สาเหตุจาก Trauma, กอบกาญจน์ ทองประสม, พรรณี สุ่มสวัสดิ์ May 1980

Trigeminal Neuralgia และรายงานผู้ป่วย 1 ราย สาเหตุจาก Trauma, กอบกาญจน์ ทองประสม, พรรณี สุ่มสวัสดิ์

Chulalongkorn University Dental Journal

ผู้ป่วย Trigeminal neuralgia ที่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาจากคลินิค ตรวจพิเคราะห์ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2509 - 2523 ทั้งหมด 34 ราย ปรากฏว่าการเกิดโรคนี้แขนง mandibular และแขนง maxillary เกิดได้เท่า ๆ กัน Trigeminal neuralgia พบในหญิงมากกว่าชาย 2:1 เป็นด้านขวามากกว่าด้านซ้าย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอายุ ระหว่าง 40 - 60 ปี ผู้ป่วยรายที่มีอายุน้อยที่สุดอายุ 24 ปี มีประวัติจาก trauma


Oral Leukoplakia (รายงานผู้ป่วย), ลัคนา เหลืองจามีกร May 1980

Oral Leukoplakia (รายงานผู้ป่วย), ลัคนา เหลืองจามีกร

Chulalongkorn University Dental Journal

Oral Leukoplakia อาจพบได้ในช่องปากของผู้ป่วยที่มีการระคายเคืองสูง และสุขภาพภายในช่องปากไม่ดี ตลอดจนการมี systemic factors บางอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังรายงานผู้ป่วยรายนี้ เป็นชายไทยมาที่ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก เนื่องจากมีฝ้าหยาบหนาขึ้นที่กระพุ้งแก้มด้านในขยายกว้างและมีอาการตึง ๆ จากการตรวจทางคลินิคและจุลพยาธิวิทยา พบว่าเป็นการหนาตัวของเซลล์ในชั้นแกรนนูลาร์ (granular) และชั้นเคอราติน (keratin) ซึ่งเป็นลักษณะที่พบใน leukoplakia และอาจมีโอกาสจะเปลี่ยนเป็นเนื้อร้าย (Cancer) ได้ในเวลาต่อมา


Department Of Oral Surgery Faculty Of Dentisiry Chulalongkorn University(ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), Chuachot Hansasuta Jan 1980

Department Of Oral Surgery Faculty Of Dentisiry Chulalongkorn University(ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), Chuachot Hansasuta

Chulalongkorn University Dental Journal

เมื่อพุทธศักราช 2483 อันเป็นปีที่มีการจัดตั้งแผนกทันตแพทยศาสตร์ ขึ้นเป็นแผนกอิสระในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ยังไม่มีการแบ่งแยกเป็นภาควิชา ศัลยศาสตร์ ภาควิชานี้ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นแผนกวิชาหนึ่งในคณะทันตแพทยศาสตร์ เมื่อ พุทธศักราช 2486 ซึ่งเป็นปีที่ได้โอนคณะทันตแพทยศาสตร์เข้าร่วมอยู่ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อแรกเริ่มนั้น ผู้ทําหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนก คือ นายแพทย์ บัณเย็น ทวีพัฒน์ และนับแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันได้มีผู้ทําหน้าที่หัวหน้าแผนกสืบต่อกันมาอีก 5 ท่าน ได้แก่ นายแพทย์เล็ก ณ นคร นายแพทย์สมาน สมานะวณิชย์ ศาสตราจารย์พันโท สี สิริสิงห ศาสตราจารย์ทันตแพทย์บุญทรง สิงหทัต และรองศาสตราจารย์ทันตแพทย์เชื้อโชติ หังสสูต


ตะขอฟันซี่สุดท้าย, โสภี ชาติสุทธิพันธุ์ Jan 1980

ตะขอฟันซี่สุดท้าย, โสภี ชาติสุทธิพันธุ์

Chulalongkorn University Dental Journal

มีแต่เป็นภาษาอังกฤษ


เมตาโบลิซึมและหน้าที่ของเนื้อเยื่อยึดเหนี่ยวของช่องปาก, ศิริพร โชติไพบูลย์พันธุ์ Jan 1980

เมตาโบลิซึมและหน้าที่ของเนื้อเยื่อยึดเหนี่ยวของช่องปาก, ศิริพร โชติไพบูลย์พันธุ์

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


สิ่งควรทราบเกี่ยวกับเรื่องความเจ็บปวดที่ฟัน, วสันต์ ตันติวิภาวิน Jan 1980

สิ่งควรทราบเกี่ยวกับเรื่องความเจ็บปวดที่ฟัน, วสันต์ ตันติวิภาวิน

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


การพัฒนาครูแพทย์, ภูเก็ต วาจานนท์ Jan 1980

การพัฒนาครูแพทย์, ภูเก็ต วาจานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


สุขภาพของทันตแพทย์, เพ็ญศรี สิทธิสมวงศ์, สุลักษณ์ ผลานุวงศ์, สุภาพร กัณหวานิช Jan 1980

สุขภาพของทันตแพทย์, เพ็ญศรี สิทธิสมวงศ์, สุลักษณ์ ผลานุวงศ์, สุภาพร กัณหวานิช

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานการศึกษาประวัติส่วนตัวของทันตแพทย์เป็นส่วนหนึ่งของ การศึกษาเรื่องสุขภาพของทันตแพทย์ โดยการใช้แบบสอบถามส่งไปทางไปรษณีย์ ซึ่งได้รับตอบกลับมา 41.21 % หรือ 333 ฉบับ จากการสํารวจพบว่า ทันตแพทย์ 333 คน แบ่งเป็นชาย 114 คน และหญิง 219 คน ส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ยอยู่ใน ระหว่าง 35-44 ปี เป็นทันตแพทย์ที่สมรสแล้วมากกว่าโสด อาชีพของคู่สมรส ส่วนใหญ่คือรับราชการ ทันตแพทย์ที่สมรสแล้วส่วนใหญ่มีบุตรเฉลี่ยครอบครัวละ 2 คน เป็นบุตรชายมากกว่าบุตรหญิง ทันตแพทย์ส่วนใหญ่จบการศึกษาภายในประเทศ


ภัยของสารตะกั่วจากสิ่งแวดล้อม, ยุทธนา ปัญญางาม Jan 1980

ภัยของสารตะกั่วจากสิ่งแวดล้อม, ยุทธนา ปัญญางาม

Chulalongkorn University Dental Journal

ตะกั่วเป็นธาตุที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร และยังเกิดเป็นพิษต่อร่างกายได้ ถ้าถูกสะสมอยู่ในร่างกายปริมาณสูง ๆ ในปัจจุบันมีการนําเอาสารตะกั่วมาใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งในรูปของสารตะกั่วโดยตรง และที่แปรรูปแล้ว จึงได้มีรายงานเกี่ยวกับพิษของสารตะกั่วต่อชุมชนเสมอ ๆ บทความนี้มุ่งที่จะกระตุ้นเตือนให้เห็นถึงภยันตรายจากพิษของสารตะกั่วที่มีแนวโน้ม จะเกิดขึ้นได้มากในชุมชนใหญ่ ๆ ของ ประเทศไทยอันเนื่องจากมีองค์ประกอบที่ส่งเสริมหลายชนิด ทั้งการนํามาใช้โดย ปราศจากการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ การดูดซึม การกระจาย และการขับถ่าย จากร่างกายตลอดจนถึงความเกี่ยวข้องของสารตะกั่วในด้านวงการทันตแพทย์ด้วย


Abstract From Journals(ปกิณกะ : ย่อความจากวารสารต่างประเทศ), Sompol Lekfuangfu Jan 1980

Abstract From Journals(ปกิณกะ : ย่อความจากวารสารต่างประเทศ), Sompol Lekfuangfu

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.