Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Pediatric Dentistry and Pedodontics

Chulalongkorn University

2018

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

The Effect Of Disking Technique On Proximal Caries Of Primary Upper Incisors In Tribal Preschool Children Attending Child Development Centers Of Mae Fah Luang District, And Doi Tung Development Project, Chiang Rai, Niwat Thanaboonyang Jan 2018

The Effect Of Disking Technique On Proximal Caries Of Primary Upper Incisors In Tribal Preschool Children Attending Child Development Centers Of Mae Fah Luang District, And Doi Tung Development Project, Chiang Rai, Niwat Thanaboonyang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Aim: To evaluate the effect of disking technique and resin modified glass ionomer cement (RMGI) restoration on proximal caries of primary upper incisors in tribal preschool children, aged 3-5 years, attending child development centers of Doi Tung Development Project, Chiang Rai. Methods: Twenty tribal preschool children were enrolled in this match-paired design study. Twenty-six proximal carious surfaces were randomized for RMGI restoration (control group), and 26 proximal carious surfaces were randomized for disking technique (experimental group). Fluoride varnish was applied in both groups after treatment. At 6-month interval, the treatment success was evaluated including retention of restoration, marginal integrity, no …


ประสิทธิภาพของซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในการคืนแร่ธาตุในรอยผุชั้นเนื้อฟัน: การวิจัยเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการ, กันตพร คุณพนิชกิจ Jan 2018

ประสิทธิภาพของซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในการคืนแร่ธาตุในรอยผุชั้นเนื้อฟัน: การวิจัยเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการ, กันตพร คุณพนิชกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ในการคืนแร่ธาตุในรอยผุชั้นเนื้อฟันของฟันน้ำนม การศึกษานี้เป็นการศึกษาในห้องปฏิบัติการโดยใช้ชิ้นฟันตัวอย่างจากฟันกรามน้ำนมที่มีรอยผุตามธรรมชาติชั้นเนื้อฟันจำนวน 36 ชิ้น วัดความหนาแน่นแร่ธาตุของรอยผุเริ่มต้นด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีคอมพิวเตอร์ระดับไมโครเมตรแล้วนำมาคำนวณความลึกรอยผุและความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ย แบ่งชิ้นฟันเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ทา Saforide® (Toyo Seiyaku Kesei, Japan) กลุ่มที่ 2 ทา Advantage ArrestTM (Elevate Oral Care, USA) และกลุ่มที่ 3 ทาน้ำปราศจากไอออน (กลุ่มควบคุม) นำไปผ่านกระบวนการสลับกรด-ด่างโดยใช้เชื้อแบคทีเรียเพื่อจำลองสภาวะในช่องปากเป็นเวลา 5 วัน จากนั้นนำมาวัดความหนาแน่นแร่ธาตุหลังการทดลองด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีคอมพิวเตอร์ระดับไมโครเมตร คำนวณความลึกรอยผุ ความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยและร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุหลังการทดลอง ผลการทดลองพบว่าชิ้นฟันตัวอย่างกลุ่มที่ทา Saforide® และ Advantage ArrestTM มีความลึกรอยผุหลังการทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.033 และ 0.021 ตามลำดับ) และมีความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยหลังการทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.002 และ 0.002 ตามลำดับ) พบว่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุระหว่างกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันแต่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) สรุปได้ว่า Saforide® และ Advantage ArrestTM มีประสิทธิภาพในการคืนแร่ธาตุในรอยผุชั้นเนื้อฟันของฟันน้ำนมใกล้เคียงกัน


การวิเคราะห์การเรืองแสงเชิงปริมาณด้วยการใช้แสงกระตุ้นในบริเวณชิดแถบรัดฟันซึ่งยึดด้วยซีเมนต์, ชวลิต เพียรมี Jan 2018

การวิเคราะห์การเรืองแสงเชิงปริมาณด้วยการใช้แสงกระตุ้นในบริเวณชิดแถบรัดฟันซึ่งยึดด้วยซีเมนต์, ชวลิต เพียรมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของซีเมนต์ชนิดซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์ (ZC) ซิงค์โพลีคาร์บอกซิเลตซีเมนต์ (ZPC) กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดดั้งเดิม (GI) เรซินมอดิฟายด์กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดผงและน้ำ (RMGI-P/L) เรซินมอดิฟายด์กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดสองหลอด (RMGI-P/P) และโพลีแอซิดมอดิฟายด์คอมโพสิตเรซิน (PMCR) ต่อการยับยั้งการสูญเสียแร่ธาตุที่ผิวเคลือบฟันบริเวณขอบของแถบรัดฟัน เป็นการศึกษาในห้องปฏิบัติการโดยใช้ฟันกรามน้อยแท้ของมนุษย์จำนวน 70 ซี่ ทำการขัดผิวเคลือบฟัน และสร้างช่องหน้าต่างทดลองบริเวณกึ่งกลางของด้านไกลกลางขนาด 1 x 2 ตารางมิลลิเมตร แบ่งฟันเป็น 7 กลุ่ม เพื่อยึดด้วย; (1) ZC (Zinc Cement Improved®), (2) ZPC (Hy-Bond Polycarboxylate Cement®), (3) GI (Hy-Bond Glasionomer CX®), (4) RMGI-P/L (GC Fuji Ortho LC®), (5) RMGI-P/P (GC Fuji Ortho Band Paste Pak®), (6) PMCR (Ultra Band-Lok®) และ (7) กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ยึดแถบรัดฟัน (Control) จากนั้นจำลองภาวะอุณหภูมิร้อนเย็นในช่องปาก 24 ชั่วโมง และภาวะการสูญเสียและคืนกลับแร่ธาตุ 21 วัน ทำการรื้อแถบรัดฟันและกำจัดซีเมนต์ก่อนนำชิ้นงานทั้งหมดวัดค่าร้อยละการสูญเสียฟลูออเรสเซนส์บริเวณช่องหน้าต่างทดลอง (∆F), ค่าร้อยละการสูญเสียฟลูออเรสเซนส์สูงสุดบริเวณช่องหน้าต่างทดลอง (∆Fmax) ค่าพื้นที่ที่เกิดการสูญเสียฟลูออเรสเซนส์ (Area) และปริมาตรของเคลือบฟันที่สูญเสียแร่ธาตุ (∆Q) ด้วยเทคนิควิเคราะห์การเรืองแสงเชิงปริมาณด้วยการใช้แสงกระตุ้นชนิดดิจิตอล จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Kruskal-Wallis test พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ∆F, ∆Fmax, Area และ ∆Q ของซีเมนต์แต่ละกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) เมื่อหาความแตกต่างทางสถิติในแต่ละคู่โดยใช้สถิติ Pairwise comparisons ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ย ∆F, ∆Fmax, Area และ ∆Q เมื่อจับคู่เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม Control:PMCR, ZP:ZPC, ZP:GI, ZP:RMGI-P/L, ZP:RMGI-P/P, ZPC:GI, ZPC:RMGI-P/L, ZPC:RMGI-P/P, GI:RMGI-P/L, GI:RMGI-P/P, RMGI-P/L:RMGI-P/P และ RMGI-P/L:PMCR แต่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อจับคู่เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม Control:ZP, Control:ZPC, Control:GI, Control:RMGI-P/L และ Control: RMGI-P/P, PMCR:ZC, PMCR:ZPC, PMCR:GI และ PMCR:RMGI-P/P การศึกษาในครั้งนี้พบว่าฟันซึ่งยึดแถบรัดฟันด้วย ZC, ZPC, GI และ RMGI-P/P ไม่เกิดการสูญเสียแร่ธาตุที่ผิวเคลือบฟันบริเวณขอบของแถบรัดฟัน ส่วนกลุ่ม RMGI-P/L, PMCR และกลุ่มควบคุมเกิดการสูญเสียแร่ธาตุที่ผิวเคลือบฟัน โดยที่กลุ่ม RMGI-P/L เกิดการสูญเสียแร่ธาตุน้อยกว่ากลุ่มควบคุม แต่กลุ่ม PMCR เกิดการสูญเสียแร่ธาตุไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม