Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2017

Articles 1 - 30 of 88

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

บทบาทพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน, เกวลี เชียรวิชัย Jan 2017

บทบาทพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน, เกวลี เชียรวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบย่อยบทบาทหลักแต่ละด้านของบทบาทพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน โดยใช้เทคนิคเดลฟายในการรวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ผู้บริหารเชิงนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข นักวิชาการ/ผู้สอนหลักสูตร Care manager ผู้บริหารทางการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และผู้ปฏิบัติบทบาทพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในโรงพยาบาลชุมชน/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 18 คน การดำเนินงานวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบทบาทพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ในรอบที่ 1 มาวิเคราะห์เนื้อหาจัดหมวดหมู่เนื้อหาสาระในลักษณะเดียวกัน สร้างเป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่า 5 ระดับ ให้ผู้เชี่ยวชาญเขียนตอบระดับความสำคัญขององค์ประกอบย่อยในแต่ละข้อรายการ เพื่อนำมาคำนวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันคำตอบ และนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า บทบาทพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก และมีองค์ประกอบย่อยจำนวน 47 ข้อรายการ ได้แก่ 1) บทบาทผู้วางแผนการดูแล มีองค์ประกอบย่อยจำนวน 7 ข้อรายการ 2) บทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาล มีองค์ประกอบย่อยจำนวน 9 ข้อรายการ 3) บทบาทผู้ประสานงาน มีองค์ประกอบย่อยจำนวน 7 ข้อรายการ 4) บทบาทผู้นำ มีองค์ประกอบย่อยจำนวน 9 ข้อรายการ 5) บทบาทผู้ให้คำปรึกษา มีองค์ประกอบย่อยจำนวน 9 ข้อรายการ และ 6) บทบาทผู้พิทักษ์สิทธิ์ มีองค์ประกอบย่อยจำนวน 6 ข้อรายการ โดยพบว่าทั้ง 6 องค์ประกอบหลัก มีทุกองค์ประกอบย่อยจำนวน 47 ข้อรายการ มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด


ปัจจัยทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของแม่บ้านตำรวจในเขตกรุงเทพมหานคร, พรพิมล โสฬสกุลางกูร Jan 2017

ปัจจัยทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของแม่บ้านตำรวจในเขตกรุงเทพมหานคร, พรพิมล โสฬสกุลางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย เพื่อศึกษาอัตราการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และปัจจัยทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของแม่บ้านตำรวจในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ แม่บ้านตำรวจที่สามีทำงานสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 366 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากภรรยาข้าราชการตำรวจกองทะเบียนประวัติอาชญากร กองพิสูจน์หลักฐาน กองบังคับการตำรวจนครบาล 5 กองบังคับการตำรวจนครบาล 6 สถาบันนิติเวชวิทยา และ กองบังคับการอำนวยการ โรงพยาบาลตำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถาม 7 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก 3) แบบสอบถามเจตคติต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 4) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 5) แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค 6) แบบสอบถามการรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงของสามี และ 7) แบบสอบถามการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .87, 1.00, .85, 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .85, .89, .73 และ .81 ตามลำดับ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกมีค่า KR-20 เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยแบบไบนารี่โลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า 1) แม่บ้านตำรวจมีอัตราการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคิดเป็น ร้อยละ 45.6 2) ปัจจัยทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของแม่บ้านตำรวจประกอบด้วย 4 ปัจจัยคือ เจตคติต่อการตรวจคัดกรอง (OR=3.92) การสนับสนุนทางสังคม (OR=3.49) และความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก (OR=2.33) และการรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงของสามี (OR=.524) โดยสามารถทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ 22 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับปัจจัยด้านอายุ การคุมกำเนิด และการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค ไม่สามารถทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของแม่บ้านตำรวจได้


ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยภายหลังการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, วรันธร พรมสนธิ์ Jan 2017

ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยภายหลังการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, วรันธร พรมสนธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยภายหลังการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่มารับบริการที่แผนกตรวจโรคผู้ป่วยนอก ระบบโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 202 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน 5 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความกลัว 3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 4) แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และ 5) แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .83, 1.0, .86, และ .92 ตามลำดับ และผ่านการตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .89, .84, .85, และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยภายหลังการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน มีภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 45.5 มีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง คิดเป็นร้อยละ 13.4 และมีภาวะซึมเศร้าโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง คือ มีคะแนนภาวะซึมเศร้าเฉลี่ยเท่ากับ 90.79 (SD = 18.89) 2. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยภายหลังการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ประกอบด้วย 2 ตัวแปรได้แก่ ความกลัว (Beta = .617) และการสนับสนุนทางสังคม (Beta = -.294) สามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยภายหลังการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ คิดเป็นร้อยละ 73.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับตัวแปรระดับการศึกษาและความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยไม่สามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยภายหลังการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง, สุกัญญา คล้ายชู Jan 2017

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง, สุกัญญา คล้ายชู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต ประสบการณ์การมีอาการ และกลวิธีการจัดการกับอาการของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การมีอาการ แรงสนับสนุนทางสังคม และระดับความรุนแรงของผิวหนังถูกทำลายรอบสายระบายปัสสาวะ กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 95 คน ได้รับการคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะจากการลุกลามของมะเร็งในอุ้งเชิงกรานและได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนังตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป กลับมารับการติดตามอาการและเปลี่ยนสายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง ที่โรงพยาบาลตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล คุณภาพชีวิต ประสบการณ์การมีอาการและกลวิธีการจัดการกับอาการ แรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสังเกตระดับความรุนแรงของผิวหนังถูกทำลาย คุณภาพของเครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และเครื่องมือส่วนที่ 2-4 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .91, .91 และ .93 ตามลำดับ เครื่องมือชุดที่ 5 ผ่านการตรวจสอบความเท่าเทียมกันของแบบสังเกต ได้ค่าความที่ยงเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนังอยู่ในระดับปานกลาง (Mean= 66.34, SD=14.55) 2. ประสบการณ์การมีอาการมีความสัมพันธ์ทางลบ (r= -.54, p<.05) แรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวก (r= .27, p<.05) และระดับความรุนแรงของผิวหนังถูกทำลายมีความสัมพันธ์ทางลบ (r= -.35, p<.05) กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง 3. ประสบการณ์การมีอาการของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนังจำนวน 95 คน ที่พบมากในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา 5 อันดับแรก คือ ร้อยละ 50.5 มีอาการคันผิวหนังบริเวณที่ปิดพลาสเตอร์รอบสายระบาย รองลงมา คือ ร้อยละ 43.2 มีอาการท้องผูก ร้อยละ 36.8 มีอาการนอนไม่หลับหรือนอนหลับยาก ร้อยละ 36.8 รู้สึกเบื่ออาหาร และร้อยละ 33.7 มีอาการวิตกกังวล 4. กลวิธีการจัดการกับอาการ 5 อันดับแรกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับอาการเหล่านั้น คือ เช็ดผิวหนังรอบสายระบายด้วยแอลกอฮอล์เมื่อมีอาการคันผิวหนังบริเวณที่ปิด พลาสเตอร์รอบสายระบาย รับประทานยาระบายเมื่อมีอาการท้องผูก รับประทานยานอนหลับเมื่อมีอาการนอนไม่หลับหรือนอนหลับยาก เปลี่ยนประเภทอาหารเมื่อรู้สึกเบื่ออาหาร และ การเล่าให้ผู้อื่นฟังเมื่อวิตกกังวล


ผลของโปรแกรมการจัดการทางอารมณ์ต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภท, อาทิตยา นุ่มเนียม Jan 2017

ผลของโปรแกรมการจัดการทางอารมณ์ต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภท, อาทิตยา นุ่มเนียม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลองเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการทางอารมณ์ และเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการทางอารมณ์กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยจิตเภท อายุ 20-59 ปี มีอาการทางลบที่มารับบริการรักษาแผนกผู้ป่วยนอก ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ โดยได้รับการจับคู่ (matched pair) และการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลโดยใช้โปรแกรมการจัดการทางอารมณ์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการจัดการทางอารมณ์สำหรับพยาบาล แบบประเมินการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ป่วยจิตเภท แบบวัดอาการทางลบ และแบบประเมินทักษะการทำหน้าที่ เครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน แบบประเมินทักษะการทำหน้าที่ มีความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมการจัดการทางอารมณ์สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทหลังการทดลองในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการทางอารมณ์ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อิสริยาภรณ์ แสงสวย Jan 2017

การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อิสริยาภรณ์ แสงสวย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง อายุ เพศ รายได้ ระดับการศึกษา โรคร่วม ระยะเวลาหลังปลูกถ่ายไต ค่าความดันโลหิตซีสโตลิค ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค ค่าอัตราการกรองของไต (GFR) ค่ายูเรียไนโตรเจน (BUN) ค่าครีอะตินิน ค่าโคเลสเตอรอล ค่าไตรกลีเซอร์ไรด์ ค่าไขมันในเลือด (LDL) และ ค่าไขมันในเลือด (HDL) กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยภายหลังได้รับการปลูกถ่ายไต อายุระหว่าง 18-59 ปี ที่เข้ารับการรักษา ณ คลินิกปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและค่าผลลัพธ์ทางคลินิค และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไต ซึ่งประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม (2001) และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของเครื่องมือ มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบเป็นอิสระจากกัน (Independent sample t - test) และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน(one-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านพัฒนาการในระดับดีมากที่สุด (Mean=4.71,SD=0.53) 2) การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ค่าไขมันในเลือด (LDL) และค่าไขมันในเลือด(HDL) พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไต จำแนกตาม อายุ รายได้ โรคร่วม ระยะเวลาหลังปลูกถ่ายไต ค่าความดันโลหิตซีสโตลิค ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค ค่าอัตราการกรองของไต (GFR) ค่ายูเรียไนโตรเจน (BUN) ค่าครีอะตินิน ค่าโคเลสเตอรอล ค่าไตรกลีเซอร์ไรด์ พบว่า ไม่แตกต่าง (p>.05)


ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียน, อุไรวรรณ เที่ยงสมบูรณ์ Jan 2017

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียน, อุไรวรรณ เที่ยงสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยสหสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นพ่อแม่เด็กวัยเรียนโรคภูมิแพ้ทางจมูกจำนวน 213 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของเด็กวัยเรียนโรคภูมิแพ้ทางจมูก ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .90, .88, .80, .87 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) พฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียนโดยรวมถูกต้องเหมาะสม อยู่ในระดับสูง (X̅ = 150.87, S.D.= 3.21) 2) การรับรู้ความสามารถของตนเอง,การรับรู้ประโยชน์, การสนับสนุนด้านอารมณ์, การสนับสนุนด้านการประเมินเปรียบเทียบและประเมินค่า, การสนับสนุนด้านวัตถุ สิ่งของ การเงิน และแรงงาน, รายได้ และการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= .497, .403, .306, .279, .263, .237 และ .227 ตามลำดับ) ส่วนการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= -.361) 3) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (β= .351), การรับรู้ประโยชน์ (β= .311), รายได้ (β= .150) และ การรับรู้อุปสรรค (β= -.133) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียนได้ร้อยละ 36.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 (R2 = .367)


ผลของโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจและการออกกำลังกายแบบต้านแรงต่อภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในชุมชน, กรัยรัชช์ นาคขำ Jan 2017

ผลของโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจและการออกกำลังกายแบบต้านแรงต่อภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในชุมชน, กรัยรัชช์ นาคขำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบศึกษาสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง (two groups pretest-posttest design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจและการออกกำลังกายแบบต้านแรงต่อภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปทั้งชายและหญิงที่มีภาวะเปราะบาง อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งหนึ่งใน กรุงเทพมหานคร จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการจับคู่ในด้าน เพศ อายุและค่าดัชนีมวลกาย โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจตามแนวคิดของ Zimmerman (2000) และการออกกำลังกายแบบต้านแรงมาใช้ ในขณะที่กลุ่มควบคุมจะได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย โปรแกรมการสร้างพลังอำนาจและการออกกำลังกายแบบต้านแรงโดยใช้ดัมเบลล์เป็นอุปกรณ์ในการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐานและแบบสอบถามภาวะเปราะบาง ระยะเวลาดำเนินการวิจัยจนถึงเก็บรวบรวมข้อมูลสิ้นสุด 5 สัปดาห์ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุหลังการได้รับโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจและการออกกำลังกายแบบต้านแรงมีภาวะเปราะบางลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจและการออกกำลังกายแบบต้านแรงมีภาวะเปราะบางลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยน ต่อพฤติกรรมตอบสนองของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย, กัลยาลักษณ์ ไชยศิริ Jan 2017

ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยน ต่อพฤติกรรมตอบสนองของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย, กัลยาลักษณ์ ไชยศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมการตอบสนอง เนื่องจากระบบประสาทที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ และการขาดการกระตุ้นการสัมผัสจากมารดาที่ต่อเนื่อง การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษาสองกลุ่มที่ไม่เท่าเทียมกันวัดแบบอนุกรมเวลาเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการตอบสนองของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในมารดาครรภ์แรก ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยนและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงคือ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยที่เกิดจากมารดาครรภ์แรกที่ได้รับการรักษาในแผนกทารกแรกเกิดมีปัญหา โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมการเสริมพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยน 2) แบบประเมินพลังอำนาจของมารดา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 3) แบบประเมินพฤติกรรมการตอบสนองทารก มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (Two-Way Repeated Measure ANOVA ) และเมื่อพิจารณาวิเคราะห์พฤติกรรมการตอบสนองเป็นรายด้าน คือ การหลับตื่น และการเคลื่อนไหว พบว่า 1. พฤติกรรมการหลับตื่นของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกลุ่มทดลอง และทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมกลุ่ม Quiet sleep, Drowsy, Awake alert, Active awake และ Crying และไม่พบความแตกต่างในพฤติกรรมกลุ่ม Active sleep อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2. พฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกลุ่มทดลอง และทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมกลุ่ม Behavioral distress cues, No movement และ Smiles และไม่พบความแตกต่างในพฤติกรรมกลุ่ม Motor Activity อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.05


การศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, จิรณัฐ ชัยชนะ Jan 2017

การศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, จิรณัฐ ชัยชนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้บริหารฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ/เวชกรรมสังคมจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นักวิชาการจากสำนักการพยาบาลและสภาการพยาบาล อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว/การพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป/การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน/อนามัยชุมชน พยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลในทีมคลินิกหมอครอบครัว และพยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูง ด้านเวชปฏิบัติชุมชน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์เกี่ยวกับบทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างแบบสอบถาม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญแต่ละข้อรายการ ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐานค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และส่งแบบสอบถามกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิมยืนยันคำตอบ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์อีกครั้งเพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า บทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบ ด้วยบทบาท 4 บทบาท ดังนี้ 1) บทบาทด้านผู้ปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 15 บทบาทย่อย 2) บทบาทผู้สร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 บทบาทย่อย 3) บทบาทด้านผู้จัดการ และประสานงานสุขภาพชุมชน จำนวน 9 บทบาทย่อย 4) บทบาทด้านผู้พัฒนาคุณภาพการพยาบาลระดับปฐมภูมิ จำนวน 8 บทบาทย่อย


การศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ, ฉวีฉัตร โฉลกคงถาวร Jan 2017

การศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ, ฉวีฉัตร โฉลกคงถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ตำแหน่งงาน ประสบการณ์การทำงาน ประสบการณ์การอบรมความปลอดภัย และหน่วยงานที่ปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 378 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมความปลอดภัย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และทดสอบความเที่ยงด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน โดยการแจกแจงความถี่ร้อยละ และเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลโดยใช้สถิติ t-test และ Anova ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ อยู่ในระดับสูง ( X = 4.18, SD = 0.49) พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ แตกต่างกันตามตำแหน่งงาน ประสบการณ์การทำงาน ประสบการณ์การอบรมความปลอดภัย และหน่วยงานที่ปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


โปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน, เพ็ญพิไล โพธิ์ทะเล Jan 2017

โปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน, เพ็ญพิไล โพธิ์ทะเล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ตามแนวคิดการสอนแนะของ Parsloe และ Wray (2000) กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด จำนวน 50 ราย ได้รับการจับคู่ให้มีอายุและประสบการณ์การดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดคล้ายกัน แบ่งเป็นกลุ่มละ25 ราย กลุ่มทดลองได้รับการสอนแนะ 3 ครั้งในช่วง 3 วันก่อนการจำหน่ายและ โทรติดตาม เยี่ยมหลังการจำหน่าย 2 ครั้ง กลุ่มควบคุมได้รับการเตรียมความพร้อมในการดูแลทารกก่อนกลับบ้าน 7 วันก่อนการจำหน่ายตามปกติ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการสอนแนะและคู่มือการป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการเสียชีวิตอย่างกะทันหันในทารก และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาเพื่อป้องกันการตายอย่างกะทันหันในทารกและแบบสอบถามความมั่นใจในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหันในทารกเกิดก่อนกำหนด เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบสอบถามทั้ง 2 ชุด มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาเพื่อป้องกันการตายอย่างกะทันหันในทารก กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยจิตเภท, ทิพย์นภา จันทร์สว่าง Jan 2017

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยจิตเภท, ทิพย์นภา จันทร์สว่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบศึกษาสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองเพื่อเปรียบเทียบ 1) พฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรม การส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อน และ 2) พฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 40 ราย ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ที่เข้ารับการบริการแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีธัญญาโดยจับคู่ให้ทั้ง 2 กลุ่ม มีความใกล้เคียงกันด้านคะแนนการติดนิโคติน และสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 20 ราย กลุ่มควบคุม 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อน และแบบประเมินพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ เครื่องมือที่ใช้ทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน มีค่าความเที่ยงของแบบประเมินพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks test และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนแตกต่างจากไม่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .05 2) คะแนนพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน (p=0.08)


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชราของภาครัฐ, ประกายมาศ เนตรจันทร์ Jan 2017

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชราของภาครัฐ, ประกายมาศ เนตรจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชราภาครัฐ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร คือ อายุ เพศ โรคร่วม ภาวะซึมเศร้าและการสนับสนุนทางสังคม กับภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชราของภาครัฐ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 150 คน ด้วยวิธีการเลือกตามสะดวกจากบ้านพักคนชราของภาครัฐในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีทั้งเพศชายและเพศหญิง ทั้งหมด 3 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบประเมินภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมและแบบประเมินภาวะเปราะบางซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงของแบบประเมินภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมด้วยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .80, .83, .80 ตามลำดับ ส่วนแบบประเมินภาวะเปราะบางหาความเที่ยงด้วยวิธีใช้ผู้ประเมินร่วม (Inter-rater method) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล โดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์ระหว่าง อายุ เพศ โรคร่วม ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคมกับภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ โดยใช้สถิติ Binary Logistic Regression ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราของภาครัฐ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า มีภาวะเปราะบาง ร้อยละ 58.7 2. อายุ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราของภาครัฐ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยอายุที่เพิ่มขึ้น 1 ปี จะมีโอกาสเกิดภาวะเปราะบาง คิดเป็นร้อยละ 10 3. การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราของภาครัฐในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้สูงอายุที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะมีโอกาสเกิดภาวะเปราะบางลดลงร้อยละ 5


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม, ปองพล คงสมาน Jan 2017

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม, ปองพล คงสมาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาประเภทหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย การรับรู้อาการผู้ป่วย ทัศนคติต่อความตาย การปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อทางศาสนาที่เกี่ยวกับความตาย ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม กับความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม จำนวน 195 คน ที่เข้ามารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสัมพันธภาพกับผู้ป่วย 2) แบบสอบถามการรับรู้อาการผู้ป่วย 3) แบบสอบถามทัศนคติต่อความตาย 4) แบบสอบถามการปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อทางศาสนาที่เกี่ยวกับความตาย 5) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม และ 6) แบบสอบถามความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรง และความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ญาติผู้ดูแลร้อยละ 56.9 มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามโดยรวม อยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางสูง (X = 3.7, SD = 0.63) 2. การรับรู้อาการผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อทางศาสนาที่เกี่ยวกับความตาย ทัศนคติต่อความตาย และความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม มีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับ ความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม, พิชญากร บำรุงกิจ Jan 2017

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม, พิชญากร บำรุงกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ แผนกที่ปฏิบัติงาน การได้รับการฝึกอบรม ระยะเวลาที่ออกปฏิบัติงานภาวะภัยพิบัติ การได้รับการเสริมพลังอำนาจจากผู้บังคับบัญชา และการทำงานเป็นทีม กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม ประชากร ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการเสริมพลังอำนาจจากผู้บังคับบัญชา แบบสอบถามการทำงานเป็นทีม และแบบสอบถามความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .96, .96 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพ สังกัดกระทรวงกลาโหม อยู่ในระดับสูง ( X = 3.64, SD = 0.65 ) 2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การได้รับการฝึกอบรมมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (c2 = 9.821, C = .188) การได้รับการเสริมพลังอำนาจจากผู้บังคับบัญชามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง และการทำงานเป็นทีมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับ ความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .557 และ .838 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านแผนกที่ปฏิบัติงานและระยะเวลาที่ออกปฏิบัติงานภาวะภัยพิบัติ ไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็นของผู้สูงอายุโรคต้อหิน, ภารตี จันทรรัตน์ Jan 2017

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็นของผู้สูงอายุโรคต้อหิน, ภารตี จันทรรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็นของผู้สูงอายุโรคต้อหินและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็น ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ระดับความรุนแรงของโรคต้อหิน ภาวะซึมเศร้า ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การสนับสนุนทางสังคม และความร่วมมือในการรักษา กลุ่มตัวอย่างอายุ 60 ขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อหินที่มารับการตรวจรักษาที่คลินิกต้อหิน แผนกผู้ป่วยนอกจักษุโรงพยาบาลราชวิถี 72 คน และโรงพยาบาลรามาธิบดี 64 คน กลุ่มตัวอย่างได้จาการสุ่มแบบอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลากแบบไม่แทนที่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็น 3) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม 4) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 5) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และ 6) แบบประเมินความร่วมมือในการรักษา ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้เท่ากับ .809, .829, .819, .836 และ.871 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุโรคต้อหินมีคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็นโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 66.54, SD = 20.80) 2. ระดับการศึกษา ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การสนับสนุนทางสังคม และความร่วมมือในการรักษามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็นของผู้สูงอายุโรคต้อหินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .215, .288, .217, .171 ตามลำดับ) ระดับความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็นของผู้สูงอายุโรคต้อหินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.330) ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูงกับคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็นของผู้สูงอายุโรคต้อหินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.612) ส่วนอายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็นของผู้สูงอายุโรคต้อหินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อภาวะน้ำลายแห้งในผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสี, รุ่งนภา บุญมี Jan 2017

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อภาวะน้ำลายแห้งในผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสี, รุ่งนภา บุญมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบ Follow up study กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสี แผนกผู้ป่วยนอกรังสีรักษา โรงพยาบาลราชวิถี แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน ได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินภาวะน้ำลายแห้ง โดยมีค่าสัมประสิทธ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Independent T-test และสถิติ Repeated measures ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรงของภาวะน้ำลายแห้งโดยรวมรายข้อของกลุ่มควบคุมเท่ากับ 5.45 ค่าเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรงของภาวะน้ำลายแห้งโดยรวมรายข้อของกลุ่มทดลองเท่ากับ 1.03 และความรุนแรงของภาวะน้ำลายแห้งของผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสีกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05)


สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง, สโรชิน คมแท้ Jan 2017

สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง, สโรชิน คมแท้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi tecnique) ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน ประกอบด้วย กลุ่มแพทย์ที่รักษาด้วยออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy: HBOT) จำนวน 5 คน กลุ่มผู้บริหารการพยาบาลด้าน HBOT จำนวน 6 คน กลุ่มอาจารย์พยาบาลด้าน HBOT จำนวน 3 คน และกลุ่มพยาบาลที่ปฏิบัติงานด้าน HBOT จำนวน 6 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 รอบ คือ รอบที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญของสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ ความดันบรรยากาศสูง และรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ จัดทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น เพื่อสรุปเป็นสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง จำนวน 14 สมรรถนะ 2) ด้านการให้ความรู้ และการสื่อสาร จำนวน 10 สมรรถนะ 3) ด้านการจัดการความเสี่ยง จำนวน 9 สมรรถนะ และ 4) ด้านการพัฒนาคุณภาพ จำนวน 6 สมรรถนะ


ผลของโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่อความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย, สุวลักษ์ ภูอาษา Jan 2017

ผลของโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่อความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย, สุวลักษ์ ภูอาษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาสองกลุ่มแบบวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นในระยะก่อนและหลังการทดลอง 2) ความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติในระยะหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายที่มีความคิดฆ่าตัวตาย ซึ่งเข้ารับการรักษา ณ แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดตราด ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเลือก จำนวน 30 คน ได้รับการจับคู่ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่องอายุและเพศ และถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมการบำบัดแบบสั้นที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2) แบบประเมินความคิดฆ่าตัวตายฉบับภาษาไทย (SSI-Thai version 2014) และ 3) แบบประเมินความหวังของ Herth (1998) เครื่องมือชุดที่ 1 และ 3 ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 2 และ 3 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.81 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่ำกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่ำกว่าผู้ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Self-Care Of Older Persons Living With Diabetes In Vietnam: A Qualitative Study, Quyen Truong Thi Mai Jan 2017

Self-Care Of Older Persons Living With Diabetes In Vietnam: A Qualitative Study, Quyen Truong Thi Mai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to describe the meaning of "self-care" from the perspectives of older persons living with diabetes and explored the self-care behaviors of older persons living with diabetes. The qualitative method was applied in this study. Data were collected by in-depth interview of 16 older persons with Type 2 diabetes in Vietnam. In addition, field note and observation note were written on the reflections, ideas, and meaning of self-care and self-care practices during the data collection process. All data were analyzed by using content analysis method. The results of the study were reflected the self-care from the perspective of …


Factors Influencing On Nursing Care Quality Perceived By Professional Nurses In Government Hospitals, Kingdom Of Cambodia, Virya Koy Jan 2017

Factors Influencing On Nursing Care Quality Perceived By Professional Nurses In Government Hospitals, Kingdom Of Cambodia, Virya Koy

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This descriptive cross-sectional research design for causal modeling aimed to examine factors influencing on nursing care quality in government hospitals, Cambodia. The conceptual framework were modified from the Nurse Work Environment, Nurse Staffing, and Outcome Model and empirical studies. A multi-stage sampling was used for data collection, which conducted from October 2016 to April 2017. Three hundred and seventy five RNs represented twelve tertiary general hospitals were invited for the study. All of participants completed five questionnaires, including demographic data and nurse staffing, nurse practice environment, nursing work index, Copenhagen burnout inventory, Index work satisfaction, and Cambodian nursing care quality …


ผลของการให้การดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดโดยผู้ดูแลในครอบครัวต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง, เสาวนีย์ เปรมทอง Jan 2017

ผลของการให้การดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดโดยผู้ดูแลในครอบครัวต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง, เสาวนีย์ เปรมทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของการให้การดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดโดยผู้ดูแลในครอบครัวต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้แนวคิดฮิวแมนนิจูดของ Gineste & Marescotti (2008) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลในครอบครัวและผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะซึมเศร้า โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 44 คู่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 22 คู่ กลุ่มควบคุม 22 คู่ โดยการจับคู่เพศ อายุ ระดับความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ระดับภาวะซึมเศร้าและความสัมพันธ์ของผู้ดูแลในครอบครัวกับผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดโดยผู้ดูแลในครอบครัว ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองภายหลังได้รับการดูแลตามแนวคิดฮิวแมน-นิจูดโดยผู้ดูแลในครอบครัว ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวคิดฮิวแมน-นิจูดโดยผู้ดูแลในครอบครัว ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Factors Relating To Methamphetamine Relapse Risk Among Clients In The Substance Rehabilitation Center Of National Narcotics Boards In West Java, Indonesia, Gian Nurmaindah Hendianti Jan 2017

Factors Relating To Methamphetamine Relapse Risk Among Clients In The Substance Rehabilitation Center Of National Narcotics Boards In West Java, Indonesia, Gian Nurmaindah Hendianti

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this descriptive correlational research were to describe methamphetamine relapse risk and examine the relationship between self-efficacy, outcome expectancy, motivation, coping, emotional state, craving, social support, and methamphetamine relapse risk among methamphetamine users. The purposive sample of 165 who met the inclusion criteria were recruited from clients admitted to a primary phase treatment in the Substance Rehabilitation Center of National Narcotics Board in West Java, Indonesia. The research instruments were: 1) the demographic characteristic questionnaire, 2) Drug Taking Confidence Questionnaire, 3) Stimulant Effect Expectancy Questionnaire, 4) Stage of Change Readiness and Treatment Eagerness Scale version 8.0 for Drug, …


A Development Of Thai Moral Integrity Scale For Professional Nurses, Jinda Nunthawong Jan 2017

A Development Of Thai Moral Integrity Scale For Professional Nurses, Jinda Nunthawong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this study was to develop the Thai Moral Integrity Scale (TMIS), and to test its psychometric properties. The construct definition and content domains of the TMIS were developed through the intensive literature reviews and test the content validity by experts. This used to guide the conceptual framework in this instrument. The content validity was examined using the panel of five experts. The content validity index (S-CVI) was 1.00. The Moral Integrity Scale was consists 27 items with five Likert scale. The result of psychometric properties from 502 professional nurses by using exploratory factor analysis indicated that there …


Predicting Factors Of Recovery Among Persons With Major Depressive Disorder, Nusra Vorapatratorn Jan 2017

Predicting Factors Of Recovery Among Persons With Major Depressive Disorder, Nusra Vorapatratorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this descriptive research was to examine the causal relationship between strength self-efficacy, resourcefulness, purpose in life, social support, alcohol abuse, and recovery among persons with major depressive disorder (MDD). The conceptual framework was guided by Schlotfeldt's Health Seeking Model. 444 participants with MDD. who attended outpatient department, mental health and psychiatric clinics, and mental health and psychiatric division in eight hospitals from all part of Thailand participated in this study. The participants were obtained by simple random sampling. The research instruments included a personal data sheet, the Strength Self-Efficacy Scale, the Resourcefulness Scale, the Purpose in Life …


The Effect Of Uncertainty Management Program On Quality Of Life Among Vietnamese Women With Post Mastectomy, Xuan Ha Thi Nhu Jan 2017

The Effect Of Uncertainty Management Program On Quality Of Life Among Vietnamese Women With Post Mastectomy, Xuan Ha Thi Nhu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this study was to test the effect of the Uncertainty Management Program (UMP) on quality of life among Vietnamese women at 3-weeks post mastectomy. The quasi-experimental design with posttest only was conducted in 115 women with post mastectomy who were assigned in experimental group (n=57) and control group (n=58). The experimental group received the UMP and routine care while the control group received only routine care. Participants were assessed at 3-weeks post mastectomy using the modified Quality of Life Index Scale Vietnamese version with Cronbach's alpha coefficient of .81. It was found that at 3-weeks post-mastectomy, the …


การศึกษาการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนเขต 9 สังกัดกระทรวงสาธารณสุข, จิรายุทธ์ เชื้อตานาม Jan 2017

การศึกษาการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนเขต 9 สังกัดกระทรวงสาธารณสุข, จิรายุทธ์ เชื้อตานาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพในโรพยาบาลชุมชน เขต 9 สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และเพื่อเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติ จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน แผนกที่ปฏิบัติงาน ขนาดของโรงพยาบาล และการประชุมหลักสูตรด้านภัยพิบัติ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 364 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพใช้แนวคิดขององค์การอนามัยโลก (WHO),สภาการพยาบาลแห่งชาติ (ICN, 2009) และผลงานวิจัยของอรุณรัตน์ สิริภักดีกาญจน์ (2556) ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้ค่า CVI = 0.91 และทดสอบความเที่ยงตรงโดยการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One way ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน เขต 9 สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง(ค่าเฉลี่ย = 2.65 ) พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการวางแผนที่ส่งผลต่อสุขภาพชุมชน(ค่าเฉลี่ย = 3.00) รองลงมาคือ ด้านการจัดเตรียมฐานข้อมูลยานพาหนะ ระบบขนส่งต่อผู้ป่วยร่วมกับหน่วยงานและเครือข่าย(ค่าเฉลี่ย = 2.71) ด้านการจัดการทีมพยาบาลและการฝึกอบรม และด้านการจัดทำคู่มือ กระบวนการพยาบาลและแนวทางปฏิบัติเพื่อภาวะรับภัยพิบัติมีค่าเท่ากัน(ค่าเฉลี่ย = 2.70) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ คือด้านการประสานงาน การสื่อสาร และให้ความรู้ด้านภัยพิบัติ (ค่าเฉลี่ย = 2.34) 2. พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน เขต 9 ที่ปฏิบัติงานในแผนกที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินจะมีการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติที่แตกต่างจากแผนกอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนขนาดแตกต่างกัน และผ่านหรือไม่ผ่านการอบรมหรือประชุมหลักสูตรด้านภัยพิบัติ มีการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติไม่แตกต่างกัน


ประสบการณ์ของมารดาเด็กออทิสติกวัยเรียนที่รับรู้การถูกตีตรา, จิราภา ศรีรัตน์ Jan 2017

ประสบการณ์ของมารดาเด็กออทิสติกวัยเรียนที่รับรู้การถูกตีตรา, จิราภา ศรีรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความหมายและประสบการณ์ของมารดาเด็กออทิสติกวัยเรียนที่รับรู้การถูกตีตรา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา ผู้ให้ข้อมูลคือมารดาผู้ดูแลหลักของเด็กออทิสติกวัยเรียนที่มีอายุระหว่าง 6 - 12 ปี ซึ่งดูแลเด็กออทิสติกมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี และมีคะแนนการรับรู้การถูกตีตรามากกว่า 44 คะแนนขึ้นไป เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการบันทึกด้วยเทป จนข้อมูลอิ่มตัวจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 7 ราย นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ (verbatim transcriptions) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis) (Sandelowski, 2000) ผลการวิจัยพบว่า ความหมายของการรับรู้การถูกตีตราของมารดาเด็กออทิสติกวัยเรียน คือการที่มารดาซึ่งเป็นผู้ดูแลหลักของเด็กออทิสติกวัยเรียนนั้นมีประสบการณ์หรือได้รับปฏิกิริยาในแง่ลบต่างๆ ที่คนในสังคมแสดงออกมาถึงการปฏิเสธ ไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับ แบ่งแยกกีดกัน และรังเกียจเด็กออทิสติกวัยเรียนและมารดา จากอาการและพฤติกรรมไม่เหมาะสมของเด็กออทิสติกที่แสดงออกมา จนทำให้มารดาเกิดความรู้สึกเสียใจ น้อยใจ และอับอายในการถูกตีตราของลูกและตนเองในฐานะที่เป็นมารดาและผู้ดูแลหลัก ส่วนประสบการณ์ของมารดาเด็กออทิสติกวัยเรียนที่รับรู้การถูกตีตรานั้น ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก 15 ประเด็นย่อย คือ 1) ลูกเราแตกต่างจากเด็กคนอื่น คือ วุ่นวาย อยู่ไม่นิ่ง ร้องไห้ โวยวาย เมื่อถูกขัดใจ ทำร้ายตนเองและผู้อื่น และทำลายข้าวของ 2) การรับรู้การแสดงออกของคนในสังคม คือ การถูกจ้องมองเหมือนตัวประหลาด การถูกปฏิเสธ ไม่ยอมรับ การที่ลูกของตนเองถูกแกล้ง และการถูกต่อว่าว่าเลี้ยงลูกไม่ดี 3) ผลของการถูกรังเกียจ คือ เสียใจ น้อยใจ รู้สึกอับอาย เครียด โกรธ เหนื่อย ท้อ กังวล เป็นห่วงลูก และกลัวลูกถูกทำร้าย 4) การปรับตัวของมารดา คือ หลีกเลี่ยง ไม่พาลูกเข้าสังคม บอกคนอื่นว่าลูกเป็นเด็กพิเศษ ปล่อยวาง สนใจดูแลลูกให้ดีที่สุด และการลงโทษ ดุ ว่าลูกของตนเอง ผลการวิจัยในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์ของมารดาเด็กออทิสติกวัยเรียนที่รับรู้การถูกตีตรา ซึ่งสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และเป็นแนวทางสำหรับพยาบาลและทีมสุขภาพในการพัฒนาองค์ความรู้และการวางแผนการดูแลมารดาของเด็กออทิสติกวัยเรียน เพื่อบรรเทาและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในมารดา อันได้แก่ ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลของมารดาที่เกิดขึ้น รวมถึงนำไปสู่การสนับสนุนมารดาในการดูแลเด็กออทิสติกวัยเรียนที่มีประสิทธิภาพต่อไป


บทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย, จิณภัค เกิดกลิ่นหอม Jan 2017

บทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย, จิณภัค เกิดกลิ่นหอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย การวิจัยนี้ใช้เทคนิคแบบ Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มแพทย์อาชีวเวชศาสตร์จำนวน 4 คน ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มอาจารย์พยาบาลจำนวน 6 คน ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มผู้บริหารทางการพยาบาล และ/หรือคณะกรรมการสมาคมการพยาบาลอาชีวอนามัยแห่งประเทศไทย จำนวน 4 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการพยาบาลอาชีวอนามัยจำนวน 6 คน โดยวิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้ชี่ยวชาญเกี่ยวกับบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำมาสร้างเป็นแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของข้อคำถามแต่ละข้อที่เป็นบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย และขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ แล้วส่งแบบสอบถามกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า บทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย ประกอบด้วย 5 บทบาท ดังนี้ 1. ผู้ปฏิบัติการพยาบาลด้านอาชีวอนามัย เกี่ยวกับการดูแลคนทำงานตามกระบวนการพยาบาลด้านอาชีวอนามัย 2. ผู้ให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลด้านอาชีวอนามัย เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลแก่คนทำงานด้านสุขภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ด้านวิชาการแก่ฝ่ายการศึกษา 3. ผู้นิเทศงานด้านอาชีวอนามัย เกี่ยวกับให้การนิเทศงานด้านการพยาบาลอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมแก่นักศึกษาพยาบาลฝึกงานและพยาบาลจบใหม่ 4. ผู้จัดการงานอาชีวอนามัย เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานในแผนก การติดต่อประสาน งานกับบุคคลและหน่วยงานต่างๆ การสื่อสารความเสี่ยงให้แก่คนทำงานและประชาชนทั่วไป 5. ผู้พัฒนางานการพยาบาลอาชีวอนามัย เกี่ยวกับการนำผลการวิจัยมาปรับปรุงกระบวน การทำงานหรือการบริการด้านอาชีวอนามัย และการปฏิบัติตามมาตรฐานการพยาบาล