Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Chulalongkorn University

1999

ทักษะชีวิต

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะชีวิต ต่อพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร, นรลักขณ์ เอื้อกิจ, วรัตนา สุขวัฒนานันท์ Jan 1999

ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะชีวิต ต่อพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร, นรลักขณ์ เอื้อกิจ, วรัตนา สุขวัฒนานันท์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ใน วัยเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จํานวน 101 คน แบ่งออกเป็นกลุ่ม ทดลอง 51 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 50 คน นักเรียนในกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการพัฒนา ทักษะชีวิต 5 แผน โดยประยุกต์แนวคิดทักษะชีวิตขององค์การอนามัยโลก และ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยกำหนดสถานการณ์จำลองและใช้เทคนิคกระบวนการกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย การบรรยายนำสั้น ๆ การระดมสมอง การอภิปรายกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ การแสดงบทบาทสมมติ การฝึกทักษะ การสาธิต เพื่อให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเรื่องความรู้ ความเข้าใจเกี่ยว กับการมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม ความตระหนักในตนเอง ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการ แก้ปัญหา ทักษะการปฏิเสธ ตลอดจนการมีพฤติกรรมการป้องกันตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการมีเพศ สัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Student's t-test และ Paired samples t-test พบว่าภายหลังการทดลอง 1 สัปดาห์ นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม ความตระหนักในตนเอง ทักษะการ ตัดสินใจ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการปฏิเสธ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงการ มีเพศสัมพันธ์สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงควรพิจารณานำโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนไป ประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนร่วมกับการจัดกิจกรรมเสริมอื่นๆ