Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2018

Articles 1 - 30 of 64

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร, ดวงพร กุลภควา Jan 2018

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร, ดวงพร กุลภควา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างแบบประเมินซึ่งมี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์รายการสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดจากการทบทวนวรรณกรรมและสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญพยาบาลห้องผ่าตัด จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างข้อรายการสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โดยการกำหนดข้อรายการสมรรถนะและวิเคราะห์หาคุณภาพของข้อรายการสมรรถนะด้วยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.94 และทดสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 นำผลที่ได้ไปสร้างเป็นแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสมรรถนะ 6 ด้าน ข้อรายการสมรรถนะย่อย 36 ข้อ ระยะที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน ผู้วิจัยนำแบบประเมินที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน ประกอบด้วยพยาบาลห้องผ่าตัด 44 คนและพยาบาลผู้จัดการแผนกและพยาบาลหัวหน้าหน่วยแผนกห้องผ่าตัด 6 คน โดยใช้รูปแบบการประเมิน 360 องศา วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคและความสอดคล้องของการประเมินระหว่างพยาบาลห้องผ่าตัดประเมินตนเอง ประเมินโดยเพื่อนร่วมงานและประเมินโดยพยาบาลผู้จัดการแผนกและพยาบาลหัวหน้าหน่วยแผนกห้องผ่าตัดด้วยสถิติ Intraclass Correlation Coefficient ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น (r) เท่ากับ 0.98 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยรายด้านสมรรถนะหลัก 6 รายด้าน ข้อรายการสมรรถนะย่อย 36 ข้อ ดังนี้ 1) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลผ่าตัด มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 12 ข้อ 2) การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 8 ข้อ 3) การใช้และการจัดการเครื่องมือ อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 4 ข้อ 4) การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงและการแก้ปัญหาฉุกเฉิน มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 4 ข้อ 5) การสื่อสาร ติดต่อประสานงาน มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 4 …


การศึกษาการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ, พัชรินทร์ โชคสวัสดิ์ Jan 2018

การศึกษาการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ, พัชรินทร์ โชคสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ โดยใช้เทคนิคเดลฟายในการรวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงานวิจัยหรือผลงานที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ 6 คน ผู้บริหารทางการพยาบาล โรงพยาบาลตติยภูมิ 6 คน อาจารย์พยาบาล 4 คน และหัวหน้าหน่วยงานเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลตติยภูมิ 4 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ในรอบที่ 1 มาวิเคราะห์เนื้อหาจัดหมวดหมู่สาระในลักษณะเดียวกัน สร้างเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาระดับความสำคัญของรายการในแต่ละด้าน ในการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ ขั้นตอนที่ 3 นำความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน ความคิดเห็นอีกครั้ง แล้วนำข้อมูลมาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และสรุปองค์ประกอบในการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ ประกอบด้วย 6 ด้าน และมีรายการจำนวน 47 ข้อ ดังนี้ 1) การกำหนดค่านิยมในการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ข้อ 2) การขอรับการสนับสนุนด้านการสร้างเสริมสุขภาพจากสหวิชาชีพ จำนวน 4 ข้อ 3) การสื่อสารค่านิยมในการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 10 ข้อ 4) การกำหนดพฤติกรรรมการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 12 ข้อ 5) การเสริมแรงพฤติกรรมการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ข้อ 6) การสร้างความต่อเนื่องของการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ข้อ


การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ฐิติพร ถนอมบุญ Jan 2018

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ฐิติพร ถนอมบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะ และกำหนดเกณฑ์ตัดสินผลการประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างแบบประเมิน มี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์และวิเคราะห์ความสอดคล้องขององค์ประกอบและรายการสมรรถนะ โดยการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารและการปฏิบัติการพยาบาลในงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างแบบประเมิน โดยนำรายการพฤติกรรมมาสร้างเกณฑ์การประเมินระดับสมรรถนะด้วยเกณฑ์แบบรูบริค (Rubric) 5 ระดับ วิเคราะห์ความตรงตามเนื้อหาของแบบประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน วิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมินด้านความคงที่โดยประเมินพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน จำนวน 5 คน ประเมินโดยพยาบาลหัวหน้าหอ 1 คน และ พยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารและปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 5 คน และหาค่าความสอดคล้องภายใน โดยนำแบบประเมินไปใช้กับประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน จำนวน 63 คน ระยะที่ 2 การกำหนดเกณฑ์ตัดสินผลการประเมินสมรรถนะ โดยนำผลการประเมินที่ได้มากำหนดคะแนนจุดตัด โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและการปฏิบัติการพยาบาลด้านงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน จำนวน 10 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ประกอบด้วย 7 สมรรถนะ ข้อรายการสมรรถนะ 57 ข้อ ดังนี้ ด้านการคัดแยกอาการ (จำนวน 9 ข้อ) ด้านการฟื้นคืนชีพขั้นสูง (จำนวน 4 ข้อ) ด้านการปฏิบัติการพยาบาล (จำนวน 20 ข้อ) ด้านนิติเวชในงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน (จำนวน 5 ข้อ) ด้านการติดต่อสื่อสาร (จำนวน 5 ข้อ) ด้านการพัฒนาคุณภาพและการจัดการความรู้เชิงประจักษ์ (จำนวน 8 ข้อ) ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล (จำนวน 6 ข้อ) 2. การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน พบว่า แบบประเมินมีความตรงตามเนื้อหา …


การศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน, ฐาปนีย์ ชัยกุหลาบ Jan 2018

การศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน, ฐาปนีย์ ชัยกุหลาบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงบรรยายแบบ Delphi technique เพื่อศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์ การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน ที่เป็นฉันทามติ ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 21 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มอาจารย์และนักวิชาการ 2) กลุ่มผู้บริหาร ทางการพยาบาล 3) กลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนและ 4) กลุ่มแพทย์ เฉพาะทางสาขาโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเทคนิคเดลฟาย ประกอบด้วย แบบสอบถาม 3 ชุด โดยแบบสอบถามชุดที่ 1 เป็นแบบสัมภาษณ์เพื่อการศึกษาหาตัวชี้วัดผลลัพธ์ แบบสอบถามชุดที่ 2 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามในชุดที่ 1 นำมาสร้างแบบสอบถามมาตราประมาณค่า ให้กับผู้เชี่ยวชาญได้ให้ลำดับความสำคัญของแต่ละตัวชี้วัด และแบบสอบถามชุดที่ 3 เป็นแบบสอบถามที่แสดงข้อมูลป้อนกลับ ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ของแต่ละข้อรายการของตัวชี้วัดผลลัพธ์ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้ยืนยันคำตอบหรือเปลี่ยนแปลงคำตอบ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเห็นสอดคล้องกันว่า ตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน ประกอบด้วย 7 ด้าน 41 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ด้านความปลอดภัยของระบบประสาทและสมอง 6 ตัวชี้วัด 2) ด้านการเข้าถึงและประสิทธิภาพ ของการได้รับยาละลายลิ่มเลือด 5 ตัวชี้วัด 3) ด้านการประสานงานดูแลส่งต่อ 7 ตัวชี้วัด 4) ด้านความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติในการเข้ารับบริการ 6 ตัวชี้วัด 5) ด้านการตอบสนอง ด้านจิตใจของผู้ป่วยและญาติ 3 ตัวชี้วัด 6) ด้านการวางแผนจำหน่าย 8 ตัวชี้วัด และ 7) ด้านการดูแลต่อเนื่อง 6 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดผลลัพธ์มีค่าระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด(Med = 4.18 - 4.93, IR =0.59 - 1.29)


การศึกษาภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวาย, ภรณ์ทิพย์ คุณพูล Jan 2018

การศึกษาภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวาย, ภรณ์ทิพย์ คุณพูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวาย โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารทางการพยาบาล จำนวน 3 คน หัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 1 คน นักวิชาการ/อาจารย์บริหารพยาบาล จำนวน 4 คน และพยาบาลเจนวาย จำนวน 6 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวาย ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์สาระสำคัญแล้วนำมาสร้างแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของรายด้านย่อยของภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวายและนำมาคำนวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 จัดทำเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันคำตอบและนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวาย ประกอบด้วย 8 ด้าน และมีข้อรายการย่อย จำนวน 78 ข้อ ได้แก่ 1) ด้านคุณลักษณะของผู้นำ จำนวน 21 ข้อรายการ 2) ด้านวิสัยทัศน์ จำนวน 8 ข้อรายการ 3) ด้านการเสริมแรงบันดาลใจ จำนวน 12 ข้อรายการ 4) ด้านการบริการ จำนวน 6 ข้อรายการ 5) ด้านการพัฒนา จำนวน 11 ข้อรายการ 6) ด้านการบริหารความขัดแย้ง จำนวน 4 ข้อรายการ 7) ด้านการนิเทศ จำนวน 7 ข้อรายการ และ 8) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 9 ข้อรายการ โดยองค์ประกอบทั้ง 8 ด้าน พบว่ามีข้อรายการย่อย จำนวน 76 ข้อรายการ ที่มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด …


การพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง โรงพยาบาลตติยภูมิ, วรรนิษา มักมะยม Jan 2018

การพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง โรงพยาบาลตติยภูมิ, วรรนิษา มักมะยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูงโรงพยาบาลตติยภูมิ โดยใช้เทคนิค EDFR ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร จำนวน 19 คน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 รอบ คือ รอบที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างเป็นแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าความน่าจะเป็นของการพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง และรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ และจัดทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น เพื่อสรุปการพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง โรงพยาบาลตติยภูมิ ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง โรงพยาบาลตติยภูมิ ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการบริหารองค์กร จำนวน 8 ข้อ ได้แก่ กําหนดโครงสร้าง บทบาทหน้าที่และเส้นทางความก้าวหน้าของพยาบาลวิชาชีพที่มีศักยภาพสูงที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาพยาบาลวิชาชีพให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง เป็นต้น 2) ด้านการบริหารบุคลากร จำนวน 15 ข้อ ได้แก่ จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของพยาบาลวิชาชีพที่ต้องการพัฒนาความเชี่ยวชาญในสาขาที่ปฏิบัติงาน การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่พยาบาลวิชาชีพในเชิงสร้างสรรค์ เป็นต้น 3) ด้านการพัฒนาบุคลากร จำนวน 5 ข้อ ได้แก่ จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมหรือกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสมรรถนะสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่มีศักยภาพสูง สร้างวัฒนธรรมการสอนงานการปฏิบัติการพยาบาลในคลินิก โดยการพัฒนาพยาบาลวิชาชีพทุกระดับให้มีทักษะการสอนงาน และการสื่อสารทางบวก เป็นต้น


การบริหารพยาบาลรุ่นอายุแซดในทีมการพยาบาล:ประสบการณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐแห่งหนึ่ง, สุรีพร แซ่หนึง Jan 2018

การบริหารพยาบาลรุ่นอายุแซดในทีมการพยาบาล:ประสบการณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐแห่งหนึ่ง, สุรีพร แซ่หนึง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ในการบริหารพยาบาลรุ่นอายุแซดในทีมการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยของรัฐแห่งหนึ่ง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปรากฎการณ์วิทยาตีการความ ตามแนวคิดของ Martin Heidegger ผู้ให้ข้อมูลเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยที่มีประสบการณ์การบริหารพยาบาลรุ่นอายุแซดในหอผู้ป่วยไม่ต่ำกว่า 3 ปี จำนวน 12 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ van Manen (1990) ผลการศึกษา สามารถแบ่งเป็น 5 ประเด็นหลักและประเด็นย่อย ดังนี้ 1. ทำความเข้าใจเพื่อให้เข้าถึงพยาบาลรุ่นใหม่ในทีมการพยาบาล ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) ยอมรับในความแตกต่างของแต่ละบุคคล 1.2) อธิบายข้อข้องใจ โดยไม่ใช้วิธีการบังคับ และ 1.3) ใช้คำพูดเชิงบวกในการบอกถึงความผิดพลาด 2. จัดการกับการสื่อสารให้เข้าถึงพยาบาลรุ่นใหม่ ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย 2.1) ใช้หลากหลายช่องทางการสื่อสาร 2.2) สื่อสารให้กระชับ ชัดเจน มีเหตุผลและเป็นรูปธรรม 2.3) เปิดช่องทางให้ติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา 2.4) จัดลำดับความสำคัญของประเด็นที่ต้องการสื่อสาร และ 2.5) ตักเตือนหากใช้สื่อสังคมออนไลน์ไม่เหมาะสม 3. แก้ปัญหาการทำงานของพยาบาลรุ่นอายุแซด ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย 3.1) สร้างข้อตกลงร่วมกันผ่านการประชุมหน่วยงาน 3.2) ควบคุมและกำกับดูแลให้ทำงานอย่างมืออาชีพ 3.3) แก้ปัญหาทำงานไว แต่ไม่รอบคอบ ไม่ตรงต่อเวลา 3.4) มอบหมายพยาบาลรุ่นพี่ตรวจสอบการทำงานพยาบาลรุ่นน้อง และ 3.5) ปลูกฝังให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว 4. พัฒนาการทำงานของพยาบาลรุ่นอายุแซดในทีมการพยาบาล ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย 4.1) มอบหมายให้ฝึกงานกับพยาบาลพี่เลี้ยง 4.2) ทำงานเป็นตัวจริง แต่ยังทิ้งไม่ได้ ต้องให้รุ่นพี่ช่วยดูแล 4.3 ฝึกเป็นหัวหน้าเวร มีปัญหาอะไรปรึกษาหัวหน้าได้ตลอดเวลา 4.4) มอบหมายหน้าที่อื่นให้ เพื่อจะได้เพิ่มพูนทักษะในการทำงาน และ 4.5) เปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ ทำโครงการนวัตกรรมใหม่ๆ 5. การลดช่องว่างระหว่างวัยเพื่อบริหารพยาบาลรุ่นอายุแซด ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย 5.1) ปรับตัวให้เหมือนเป็นคนรุ่นเดียวกัน 5.2) …


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม, มะลิวรรณ กระโพธิ์ Jan 2018

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม, มะลิวรรณ กระโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม ได้แก่ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตาย ความเชื่อทางศาสนาพุทธเกี่ยวกับความตาย ภาระที่ค้างคา การรับรู้ความสามารถของตนเอง และสัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามวัยผู้ใหญ่ที่เข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรคมะเร็งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ จำนวน 212 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตาย แบบสอบถามความเชื่อทางศาสนาเกี่ยวกับความตาย แบบสอบถามภาระที่ค้างคา แบบสอบถามการรับรู้ในความสามารถของตนเอง แบบสอบถามสัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัว และแบบสอบถามการยอมรับความตาย ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .86, .72, .74, .74, .89 และ .70 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย และค่าสัมประสิทธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ 1. ผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามมีการยอมรับความตายในระดับสูง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ31.37 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.47 2. ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตาย ภาระที่ค้างคามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับการยอมรับความตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.61, r= -.39) ตามลำดับ 3. ความเชื่อทางศาสนาพุทธเกี่ยวกับความตายและการรับรู้ความสามารถของตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการยอมรับความตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .41, r =.38) ตามลำดับ และสัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการยอมรับความตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =.20)


ผลของโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ต่อการเสพแอมเฟตามีนของผู้ติดแอมเฟตามีน, วิสุดา มูลมี Jan 2018

ผลของโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ต่อการเสพแอมเฟตามีนของผู้ติดแอมเฟตามีน, วิสุดา มูลมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษา 2 กลุ่มแบบวัดซ้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) การเสพแอมเฟตามีนในผู้เสพแอมเฟตามีนซ้ำที่ได้รับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 2 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ 2) การเสพแอมเฟตามีนในผู้เสพแอมเฟตามีนซ้ำระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์กับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง/การดูแลตามปกติ 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เสพแอมเฟตามีนซ้ำจำนวน 40 คน ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดและเข้ารับการบำบัดรักษาในแผนกผู้ป่วยในบำบัดผู้ติดสุราและสารเสพติด โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการจับคู่ด้วยเพศ และคะแนนความรุนแรงของการเสพติดแอมเฟตามีน แล้วถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดฯ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินการเสพแอมเฟตามีน และ 4) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการควบคุมการเสพแอมเฟตามีน เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 3 ตรวจสอบความเที่ยงโดยวิธีทดสอบซ้ำพบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเท่ากับ .89 และเครื่องมือชุดที่ 4 พบค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบราคเท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated ANOVA) และทดสอบค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Planned Comparisons กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้เสพแอมเฟตามีนซ้ำในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ มีการเสพแอมเฟตามีนในระยะหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ ลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้เสพแอมเฟตามีนซ้ำในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ มีการเสพแอมเฟตามีนลดลงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ ทั้งในระยะหลังการทดลอง/การดูแลตามปกติ 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการผ่าตัดลดน้ำหนักของผู้ป่วยโรคอ้วน, ศิภาพันธ์ ลวสุต Jan 2018

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการผ่าตัดลดน้ำหนักของผู้ป่วยโรคอ้วน, ศิภาพันธ์ ลวสุต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการผ่าตัดลดน้ำหนักของผู้ป่วยโรคอ้วนภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง และเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการผ่าตัดลดน้ำหนักของผู้ป่วยโรคอ้วน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคอ้วนทั้งเพศชายและหญิง อายุ 18 – 59 ปี ภายหลังได้รับการผ่าตัดลดน้ำหนักที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน จับคู่ด้วยเพศ อายุ และชนิดการผ่าตัด กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดทฤษฎีการดูแลตนเองของ Orem ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ ระยะการให้ความรู้และการสนับสนุนภายหลังการผ่าตัดขณะอยู่โรงพยาบาล และระยะการให้การสนับสนุนเมื่อกลับบ้าน เก็บรวบรวมข้อมูล 8 สัปดาห์ ด้วยแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการผ่าตัดลดน้ำหนัก มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยโรคอ้วนภายหลังได้รับการผ่าตัดลดน้ำหนักกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง มีพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับดี (Mean = 4.13) 2. ผู้ป่วยโรคอ้วนภายหลังได้รับการผ่าตัดลดน้ำหนัก กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองมีพฤติกรรมการดูแลตนเอง (Mean = 4.13 ± SD = 0.25) ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (Mean = 3.68 ± SD = 0.31) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การศึกษาจิตวิญญาณในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ, อุบลรัตน์ ศักดิ์ทอง Jan 2018

การศึกษาจิตวิญญาณในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ, อุบลรัตน์ ศักดิ์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจิตวิญญาณในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรฝ่ายทรัพยากรบุคคลจำนวน 3 คน ผู้บริหารทางการพยาบาลจำนวน 4 คน ผู้บริหารองค์กรวิชาชีพจำนวน 3 คน นักวิชาการ/อาจารย์พยาบาลจำนวน 4 คน และพยาบาลระดับปฏิบัติการจำนวน 6 คน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับจิตวิญญาณในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างเป็นแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญของจิตวิญญาณในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ และขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จัดทำแบบสอบถามและส่งกลับให้ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิมยืนยันความคิดเห็น จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์อีกครั้งเพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า จิตวิญญาณในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านความเข้าใจในตัวตน จำนวน 12 ข้อ 2) ด้านความมีพลังจากภายใน จำนวน 12 ข้อ และ 3) ด้านทัศนคติที่ดีต่องาน จำนวน 16 ข้อ


ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มสุราในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ปาริฉัตร วันทะชัย Jan 2018

ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มสุราในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ปาริฉัตร วันทะชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การดื่มสุราในผู้ป่วยโรค ซึมเศร้า และ 2) ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มสุราในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ สถานภาพสมรส อายุที่เริ่มดื่มสุรา ประวัติการดื่มสุราในครอบครัว การใช้สารเสพติดร่วม ความรุนแรงของโรคซึมเศร้า ความเชื่อเกี่ยวกับการดื่มสุรา การเผชิญความเครียดด้านการมุ่งแก้สาเหตุของปัญหา และการเผชิญความเครียดด้านการจัดการกับอารมณ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีการดื่มสุรา ซึ่งเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และโรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์ จำนวน 180 คน ได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ชุด คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความรุนแรงของโรคซึมเศร้า 3) แบบประเมินความเชื่อเกี่ยวกับการดื่มสุรา 4) แบบวัดการเผชิญความเครียด และ 5) แบบประเมินการดื่มสุรา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงค่าพิสัย ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่มีการดื่มสุราโดยรวมอยู่ในระดับติด (ร้อยละ 87) 2. สถานภาพสมรส อายุที่เริ่มดื่มสุรา การใช้สารเสพติดอื่นร่วม ความรุนแรงของโรคซึมเศร้า ความเชื่อเกี่ยวกับการดื่มสุรา การเผชิญความเครียดด้านการมุ่งแก้สาเหตุของปัญหา และมีความสัมพันธ์กับการดื่มสุรา ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.378, -.449, .561, .492, -.452, และ -.376) 3. ประวัติการดื่มสุราในครอบครัว และการเผชิญความเครียดด้านการจัดการกับอารมณ์ไม่มีความสัมพันธ์กับการดื่มสุราในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า


Predicting Factors Of Preschooler's Parental Feeding Behaviors, Urban Thailand, Chollada Jongsomjitt Jan 2018

Predicting Factors Of Preschooler's Parental Feeding Behaviors, Urban Thailand, Chollada Jongsomjitt

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This descriptive correlational study aimed to identify the predicting factors and to examine direct and indirect relationships of preschoolers' parental feeding behaviors (PFB), urban Thailand. The conceptual framework was developed guided by Orem's self-care theory. A Multi-stage sampling was used to recruit 443 parents of preschoolers from 11 schools in Bangkok and city municipalities in all regions of Thailand. Six questionnaires demonstrated acceptable content and construct validity, and reliability were used to ask all participants to complete all questionnaires. Data were collected from November 2018 to May 2019. Most of the participants were mothers (71%). Half of them were aged …


Struggling To Live A New Normal Life Among Chinese Women After Losing The Only Child, Haiyan Wang Jan 2018

Struggling To Live A New Normal Life Among Chinese Women After Losing The Only Child, Haiyan Wang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Losing the only child was a destructive disaster that had destroyed Chinese women's life and health in all dimensions. However, there is no suitable theory or knowledge to guide nursing practice to these women. This study, thus, employed Glaserian grounded theory to discover substantive theory on the living process of Chinese women after losing the only child. Purposive sampling, snowball sampling, and theoretical sampling were used to recruited participants. Thirteen Chinese women who have lost the only child aged 50 to 68 years old recruited. Data were collected through in-depth interview, observation, and field notes. Data were analyzed by the …


การศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร, เชิดฉวี สุทธิรักษ์ Jan 2018

การศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร, เชิดฉวี สุทธิรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน ประกอบด้วย 4 กลุ่ม ประกอบด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร พยาบาลหัวหน้าศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการในศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร และอาจารย์พยาบาลผู้สอนหลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์เกี่ยวกับบทบาทพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ขั้นที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างแบบสอบถาม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นของข้อคำถามแต่ละข้อ ขั้นที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณด้วยค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และส่งแบบสอบถามกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันคำตอบอีกครั้ง จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า บทบาทพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ประกอบด้วย 4 บทบาท ดังนี้ 1) บทบาทด้านผู้ปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 14บทบาทย่อย 2) บทบาทด้านผู้ควบคุมดูแลเครื่องมือ และอุปกรณ์พิเศษ จำนวน 4 บทบาทย่อย 3) บทบาทด้านผู้ให้ความรู้ และให้คำปรึกษา จำนวน 7 บทบาทย่อย และ4)บทบาทด้านผู้พัฒนา และควบคุมคุณภาพบริการ จำนวน 5 บทบาทย่อย


ประสบการณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวในการดูแลทารกโรคปอดเรื้อรังที่บ้าน, เรณู ชมพิกุล Jan 2018

ประสบการณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวในการดูแลทารกโรคปอดเรื้อรังที่บ้าน, เรณู ชมพิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อบรรยายประสบการณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวในการดูแลทารกโรคปอดเรื้อรัง (Chronic Lung Disease: CLD) ที่บ้าน ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ดูแลในครอบครัวที่ทำหน้าที่หลักในการดูแลทารก CLD หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลไม่เกิน 2 ปี เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกร่วมกับการบันทึกเทป ข้อมูลอิ่มตัวจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 14 ราย นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีของ Colaizzi ผลการวิจัยพบว่าประสบการณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวในการดูแลทารกโรคปอดเรื้อรังที่บ้าน ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) ยากลำบากในการดูแล มียาหลายตัว ต้องให้ตรงเวลา ต้องสังเกตการหายใจอย่างใกล้ชิด หาทางช่วยเหลือเมื่อท้องผูก คิดหาวิธีป้อนนม ลดการแหวะและอาเจียน พยายามทำทุกทางให้ลูก/หลาน น้ำหนักขึ้น ทำอะไรไม่ถูกเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง และมีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแล 2) เหน็ดเหนื่อยเมื่อต้องดูแลลูก/หลานที่ไม่สบาย 3) หลากหลายความรู้สึกที่เกิดขึ้น ทั้งความรู้สึกที่เป็นทุกข์และความรู้สึกที่เป็นสุข และ 4) กำลังใจและความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง ที่มาจากการสร้างกำลังใจให้ตนเอง และการได้รับกำลังใจและความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง การวิจัยให้ข้อมูลเชิงลึกถึงการดูแลทารกแรกเกิด CLD ที่บ้าน ซึ่งมีความซับซ้อนและมีผลกระทบต่ออารมณ์และการเผชิญความเครียดของผู้ดูแล แต่ผู้ดูแลยังคงทำหน้าอย่างต่อเนื่องได้ด้วยกำลังใจที่ตนเองสร้างขึ้นรวมไปถึงกำลังใจและความช่วยเหลือจากคนรอบข้างที่ร่วมในปรากฏการณ์ของการดูแล การนำข้อมูลมาใช้วางแผนจำหน่ายจะช่วยเตรียมความพร้อมในการทำหน้าของผู้ดูแลให้สามารถรับมือกับปัญหาสุขภาพของทารกที่บ้านและลดการกลับเข้าโรงพยาบาลซ้ำ


ผลของการให้ข้อมูลผ่านไลน์ต่อความวิตกกังวลหลังผ่าตัดทำทวารเทียมในผู้สูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, ไพรัตน์ ศุกระศร Jan 2018

ผลของการให้ข้อมูลผ่านไลน์ต่อความวิตกกังวลหลังผ่าตัดทำทวารเทียมในผู้สูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, ไพรัตน์ ศุกระศร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดทำทวารเทียม ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 44 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับข้อมูลผ่านไลน์ โดยผู้วิจัยให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเป็นรายบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือในการคัดกรอง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง และเครื่องมือกำกับการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา สถิติทดสอบค่าทีและสถิติทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความวิตกกังวลหลังผ่าตัดทำทวารเทียมในผู้สูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หลังให้ข้อมูลผ่านไลน์ ต่ำกว่าก่อนให้ข้อมูล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความวิตกกังวลหลังผ่าตัดทำทวารเทียมในผู้สูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ระหว่างกลุ่มทดลองที่ให้ข้อมูลผ่านไลน์และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ พบว่า ความวิตกกังวลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคไม่ติดต่อ ต่อการเลิกบุหรี่ในข้าราชการทหารอากาศ, จตุพร เฉลิมเรืองรอง Jan 2018

ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคไม่ติดต่อ ต่อการเลิกบุหรี่ในข้าราชการทหารอากาศ, จตุพร เฉลิมเรืองรอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการเลิกบุหรี่ในข้าราชการทหารอากาศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อระหว่างกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อเลิกบุหรี่และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ณ กองเวชศาสตร์ป้องกัน กรมแพทย์ทหารอากาศ จำนวนทั้งสิ้น 60 คน โดยให้ 30 คนแรกเป็นกลุ่มควบคุม และ 30 คนหลังเป็นกลุ่มทดลอง เก็บข้อมูลในกลุ่มควบคุมจนครบแล้วจึงเก็บข้อมูลกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุมได้รับการแนะนำการเลิกบุหรี่แบบกระชับ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลการสูบบุหรี่ จากแบบสัมภาษณ์การเลิกบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติ Z ประเมินการเลิกบุหรี่จากการเลิกสูบบุหรี่ได้ติดต่อกันในช่วง 7 วัน โดยใช้แบบสัมภาษณ์การเลิกบุหรี่ ร่วมกับประเมินระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออก ผลการทดลองพบว่า ข้าราชการทหารอากาศในกลุ่มทดลองเลิกบุหรี่ได้ 6 คน ส่วนกลุ่มควบคุมเลิกสูบได้เพียง 1 คน การประเมินผลลัพธ์การเลิกบุหรี่ของข้าราชการทหารอากาศในสัปดาห์ที่ 9 พบว่าการเลิกบุหรี่ในกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคเพื่อเลิกบุหรี่สูงกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 20.0 และ ร้อยละ 3.3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p<.05)


ปัจจัยทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ, ชวนพิศ จุลศรี Jan 2018

ปัจจัยทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ, ชวนพิศ จุลศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ และศึกษาปัจจัยทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ จากปัจจัยด้าน อายุ ความเชื่อเกี่ยวกับความจำเป็นของยา ความกังวลเกี่ยวกับยา การรับรู้ความรุนแรงของโรค ความรู้ ภาวะซึมเศร้า และสัมพันธภาพกับแพทย์หรือพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ อย่างน้อย 3 เดือน อายุ 18-59 ปี มีระดับความรู้สึกตัวปกติ สามารถจัดยารับประทานได้ด้วยตนเอง และไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคทางจิตเวช ที่มารับบริการที่คลินิกโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลราชวิถี และสถาบันประสาทวิทยา รวม 130 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 9 ส่วน ได้แก่ 1) แบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทย (TMSE) 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบบันทึกข้อมูลทางด้านสุขภาพ 4) แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับยา 5) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง 6) แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง 7) แบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์หรือพยาบาล 8) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และ9) แบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยา ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.80, 1.00, 1.00, 1.00, 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ ส่วนที่ 4, 6, 7, 8 และ 9 มีค่าความสอดคล้องภายในจากการคำนวนค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ .78, .87, .78, .83 และ .74 ตามลำดับ ส่วนที่ 5 มีค่า KR-20 เท่ากับ .74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบร้อยละ 35.38 มีความร่วมมือในการรับประทานยา 2) ปัจจัยทำนายความร่วมมือในการรับประทานยา ประกอบด้วย 4 ตัวแปร ได้แก่ …


ผลของการพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอาการถอนยาในผู้ป่วยเด็กวิกฤตที่ใช้เครื่องช่วยหายใจต่ออาการต่างๆของการถอนยา, ทิพวรรณ เชษฐา Jan 2018

ผลของการพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอาการถอนยาในผู้ป่วยเด็กวิกฤตที่ใช้เครื่องช่วยหายใจต่ออาการต่างๆของการถอนยา, ทิพวรรณ เชษฐา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ อาการต่างๆของการถอนยาระหว่างผู้ป่วยเด็กวิกฤตที่มีภาวะหายใจล้มเหลวที่ใช้เครื่องช่วยหายใจได้รับการพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอาการถอนยาโดยใช้ทฤษฎีของนิวแมน กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ รวมทั้งสิ้น 34 คน และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มละ 17 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอาการถอนยา ที่ประกอบด้วย การบริหารยานอนหลับและยาแก้ปวด การสนับสนุนแบบแผนการนอนหลับ และการสัมผัสเพื่อความสุขสบาย ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลอาการต่างๆของการถอนยาด้วย Sophia Observation withdrawal Symptoms scale ซึ่งเป็นแบบประเมินต้นฉบับ มีความเที่ยงจากการสังเกตของผู้ช่วยผู้วิจัย ได้เท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติไคสแควร์(Chi-square-Test) สถิติ และ Fisher's Exact test ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเด็กวิกฤตที่มีภาวะหายใจล้มเหลวที่ใช้เครื่องช่วยหายใจกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอาการถอนยา มีสัดส่วนมีอาการต่างๆของการถอนยาน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย: เสียงสะท้อนจากพยาบาลวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง, ทิพวรรณ เทียนศรี Jan 2018

การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย: เสียงสะท้อนจากพยาบาลวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง, ทิพวรรณ เทียนศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อบรรยายการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยของพยาบาลวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาการตีความตามแนวคิดของ Heidegger ผู้ให้ข้อมูล คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำ Routine to Research (R2R) จำนวน 12 คน และผู้เกี่ยวข้องกับการทำ R2R ได้แก่ หัวหน้ากลุ่มงานมาตรฐาน และพัฒนาคุณภาพการพยาบาล จำนวน 1 คน หัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 3 คน และที่ปรึกษาการทำวิจัยและที่ปรึกษาด้านสถิติ จำนวน 3 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การบันทึกเทป การสังเกต และการบันทึกภาคสนาม นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ van Manen (1990) ผลการศึกษาการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย : เสียงสะท้อนจากพยาบาลวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง พบ 6 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. จากนโยบาย R2R นำมาสู่การปฏิบัติจริง ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) หัวหน้าหอผู้ป่วย ให้รับผิดชอบงาน R2R และ 1.2) พยาบาลสนใจรับอาสาทำ R2R ให้หน่วยงาน 2. เริ่มต้นค้นหาปัญหาในหน่วยงาน ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 2.1) ความบกพร่องในการดูแล นำมาแก้ไขให้บริการดีขึ้น 2.2) กิจกรรมบางอย่างทำไม่ทัน จึงคิดนวัตกรรมเข้ามาช่วย และ 2.3) เอกสารบันทึก ไม่ครบถ้วน จึงต้องการรื้อทำระบบใหม่ 3. หาสมาชิกทีมร่วมทำวิจัย ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 3.1) ใช้วิธีมอบหมายให้ร่วมทีม และ 3.2) ได้สมาชิกทีมด้วยความสมัครใจ 4. ดำเนินการพัฒนาการวิจัย ประกอบด้วย 9 ประเด็นย่อย ได้แก่ 4.1) เขียนโครงการงานวิจัย 4.2) ส่งโครงการให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ …


ผลของการให้ความรู้ต่อการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในบุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, นิรินธน์ ช่อมะลิ Jan 2018

ผลของการให้ความรู้ต่อการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในบุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, นิรินธน์ ช่อมะลิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง สองกลุ่มวัดผลภายหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในบุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (2) เปรียบเทียบการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในบุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่วัยผู้ใหญ่อายุ 18 - 59 ปี เข้ารับการส่องกล้องที่โรงพยาบาลสุรินทร์จำนวน 44 คน จัดเข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 22 คน และจับคู่ด้วยเพศ อายุ และระดับการศึกษา สำหรับกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ในการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ โปรแกรมการให้ความรู้ในการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 ระยะ จำนวน 4 ครั้ง ได้แก่ 1) ประเมินความต้องการการเรียนรู้ 2) วางแผนการเรียนรู้ 3) ให้ความรู้ และประเมินผลการสอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องใหญ่ มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.92 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่า Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ สามารถปฏิบัติตนภายหลังได้รับโปรแกรม มีจำนวน 2 ข้อ ที่ปฏิบัติได้น้อยที่สุดจำนวน 17 คนคิดเป็น ร้อยละ 77.3 และมีจำนวน 13 ข้อที่ปฏิบัติได้ 22 คน คิดเป็น ร้อยละ 100 2) การปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในบุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ มีการปฏิบัติตนดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกายต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า, ปรีดานันต์ ประสิทธิ์เวช Jan 2018

ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกายต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า, ปรีดานันต์ ประสิทธิ์เวช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกาย 2) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกายกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 40 คน โดยจับคู่ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่องเพศ และระยะเวลาของการเจ็บป่วย จากนั้นทำการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกาย ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกาย ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแนวคิดการออกกำลังกายของ Schuch et al (2015) และการสนับสนุนทางสังคมของ House (1981) 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และ เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ (WHOQOL–BREF–THAI) ฉบับภาษาไทย เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน มีค่าความเที่ยงวิเคราะห์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) เท่ากับ .89 และ .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกาย สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกาย สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยของนักศึกษาชายรักชาย, วิสุดา หมั่นธรรม Jan 2018

ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยของนักศึกษาชายรักชาย, วิสุดา หมั่นธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย เพื่อศึกษาความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัย และปัจจัยทำนายความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยของนักศึกษาชายรักชาย จากปัจจัยด้านทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชายรักชายที่กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาบัณฑิต และบัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กรุงเทพมหานคร จำนวน 182 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบส่งต่อ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามทัศนคติต่อการใช้ถุงยางอนามัย แบบสอบถามการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง แบบสอบถามการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และแบบสอบถามความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งได้ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .90, 1.00, .80 และ 1.00 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85, .93, .93 และ .73 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาชายรักชาย มีความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 4.01, SD = 1.32) ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยของนักศึกษาชายรักชาย ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ ทัศนคติต่อการใช้ถุงยางอนามัย (Beta = .356) และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (Beta =.245) โดยสามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยของนักศึกษาชายรักชายได้ ร้อยละ 29.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตาม การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมไม่สามารถทำนายความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยของนักศึกษาชายรักชายได้


ผลของโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด, สกาว ถิ่นนุช Jan 2018

ผลของโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด, สกาว ถิ่นนุช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัดครั้งแรกอายุ 1-5 ปี และเข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลตติยภูมิ 2 แห่ง จำนวน 44 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและควบคุม กลุ่มละ 22 ราย โดยการจับคู่ให้มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ในครอบครัวอยู่ในระดับเดียวกัน และมีจำนวนเท่ากันในทั้ง 2 โรงพยาบาล กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด, สื่อวิดิทัศน์, คู่มือการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัดที่บ้าน แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดและแบบวัดความรู้เรื่องการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัดเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยให้นวัตกรรมการพยาบาลในการวางแผนการจำหน่าย สำหรับการเตรียมความพร้อมก่อนการจำหน่ายกลับบ้านให้แก่ผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัดได้ เพื่อส่งเสริมความสามารถของผู้ดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นที่บ้าน


ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัวต่ออาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียน, สุชาวลี พันธ์พงษ์ Jan 2018

ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัวต่ออาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียน, สุชาวลี พันธ์พงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบอาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัว และเปรียบเทียบอาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กที่ออทิสติกอายุ 3-6 ปี จำนวน 40 คน และครอบครัวที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ โดยได้รับการจับคู่เพศ และการได้รับยาชนิดเดียวกัน จากนั้นจึงสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนเท่ากัน กลุ่มทดลองได้รับการเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัว เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินอาการรุนแรงของโรคออทิซึม แบบประเมินพลังอำนาจ โปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัว สำหรับพยาบาล และ คู่มือการดูแลเด็กออทิสติก สำหรับครอบครัว เครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของแบบประเมินอาการรุนแรงของโรคออทิซึม เท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. อาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียน หลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัว น้อยกว่า ก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. อาการออทิสติกหลังการทดลอง ของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัว ลดลงมากกว่า กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยครั้งนี้สนับสนุนว่า การใช้โปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัวช่วยให้อาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนลดลงได้


ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด, หยาดพิรุณ กุณโฮง Jan 2018

ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด, หยาดพิรุณ กุณโฮง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ทั้งเพศชายและหญิง อายุ 18-59 ปี ที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ณ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องอายุ ชนิดของโรคและระดับความวิตกกังวล แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 22 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญ (State Anxiety Inventory: From X-I) ของ Spielberger (1983) และแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด เครื่องมือทั้งสองชุดผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.92 และ 0.86 ตามลำดับ และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดหลังได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ประสบการณ์ชีวิตของบุตรชายที่เป็นผู้ดูแลบิดา มารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิง, อังคณา ศรีสุข Jan 2018

ประสบการณ์ชีวิตของบุตรชายที่เป็นผู้ดูแลบิดา มารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิง, อังคณา ศรีสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ของชีวิตบุตรชายที่เป็นผู้ดูแลบิดามารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาการตีความของ Martin Heidegger (1962) ผู้ให้ข้อมูล คือ บุตรชายที่มีประสบการณ์ในการดูแลบิดามารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิง และ/หรือมีภาวะสมองเสื่อมโดยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และบันทึกเทป ข้อมูลอิ่มตัวจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 ราย นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของ Van Manen (1990) ผลการวิจัย พบว่า ประสบการณ์ชีวิตของบุตรชายที่เป็นผู้ดูแลบิดามารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิง ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก คือ 1) ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการปรับสมดุลการทำงานให้เข้ากับการดูแล เมื่อรับบทบาทการเป็นผู้ดูแลส่งผลให้มีข้อจำกัดในการเข้าสังคมและมีเวลาส่วนตัวลดลง 2) ปรับตัว ปรับใจยอมรับบทบาทการเป็นผู้ดูแล โดยการมองโลกในแง่บวก ขจัดอารมณ์ความรู้สึกด้านลบ ต้องเข้าใจและยอมรับอาการแสดงของโรคในผู้สูงอายุมากขึ้น 3) การดูแลที่ทำได้ทั้งชายหญิง เมื่อบุตรชายผู้ดูแลสามารถปรับตัวได้ การดูแลง่าย ไม่ยาก และผู้ชายมีความแข็งแรงในการอุ้มพยุงแม้ไม่ถนัดงานละเอียดแต่สามารถดูแลได้ เพราะถ้าใส่ใจดูแลได้ทั้งชายหญิง 4) เรียนรู้วิธีการดูแล เนื่องจากช่วงแรกไม่มั่นใจในการดูแล จึงต้องวางแผนและปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลให้เหมาะสม และการขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เพื่อให้ภาระการดูแลลดลง และ 5) ความสุข ความทุกข์จากการเป็นผู้ดูแล ความสุข คือ การมีความสุข ภาคภูมิใจที่ได้ดูแล การได้ตอบแทนบุญคุณบิดามารดา และได้รับคำชื่นชมจากคนรอบข้าง ความทุกข์ คือ เหนื่อยและเครียดจากการดูแล และกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น จากผลการวิจัยนี้ นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานให้บุคลากรทางสุขภาพเข้าใจถึงประสบการณ์ของบุตรชายที่ให้การดูแลปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ และสามารถนำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนการดูแลให้แก่บุตรชายที่ในอนาคตอาจมีแนวโน้มในการรับบทบาทเป็นผู้ดูแลบิดามารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้น


ประสบการณ์การตีตราตนเองในผู้ติดแอลกอฮอล์, ศโรชา บุญยัง Jan 2018

ประสบการณ์การตีตราตนเองในผู้ติดแอลกอฮอล์, ศโรชา บุญยัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพ ตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาของ Husserl มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การตีตราตนเองในผู้ติดแอลกอฮอล์ ทั้งชายและหญิง อายุระหว่าง 20-59 ปี ที่เข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพแบบผู้ป่วยใน มากกว่า 1 ครั้ง ไม่มีโรคทางจิตเวชอื่นร่วมด้วย และไม่มีภาวะถอนพิษแอลกอฮอล์ รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบมีแนวทางการสัมภาษณ์ร่วมกับการบันทึกเสียง นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีของ Colaizzi จนข้อมูลอิ่มตัวจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 15 ราย ผลการวิจัยพบว่า ความหมายของการตีตราตนเองในผู้ติดแอลกอฮอล์ คือ ความคิด ความรู้สึกที่มีต่อตนเองว่าเป็นคนไม่ดีเพราะติดแอลกอฮอล์ การตีตราตนเองเริ่มจากการที่ตนเองต้องเผชิญกับปฏิกิริยาต่างๆ จากครอบครัวและสังคม แล้วนำปฏิกิริยาที่ตนเองได้รับรู้ให้เข้ามามีผลต่อความคิด ความรู้สึกภายในของตนเอง และสุดท้ายยอมรับว่าตนเองไม่ดีจริงตามที่คนอื่นว่า สำหรับประสบการณ์การตีตราตนเองในผู้ติดแอลกอฮอล์ ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ 1) การรับรู้มุมมองจากครอบครัวและสังคม 2) การยอมรับตนเองตามที่สังคมมอง และ 3) ผลกระทบจากการยอมรับ (การตีตราตนเอง) ผลการวิจัยครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์การตีตราตนเองในผู้ติดแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับพยาบาลและทีมสุขภาพในการพัฒนากระบวนการบำบัดรักษา และวางแผนการดูแลได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ติดแอลกอฮอล์ที่มีการตีตราตนเอง อันจะนำไปสู่การป้องกันการกลับดื่มซ้ำต่อไป


การมีชีวิตอยู่ของผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็งกลับเป็นซ้ำที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง, ทิพย์เกษร วรรณภักตร์ Jan 2018

การมีชีวิตอยู่ของผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็งกลับเป็นซ้ำที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง, ทิพย์เกษร วรรณภักตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาเชิงบรรยายของ Husserl มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายการมีชีวิตอยู่ของผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็งกลับเป็นซ้ำที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยคือ วัยรุ่นโรคมะเร็งที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อายุ 11-19 ปี ทั้งชายและหญิง ซึ่งทราบการวินิจฉัยโรคของตน ได้รับการรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัดอย่างน้อย 1 ปี รับรู้และได้รับการดูแลแบบประคับประคองแล้วอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 9 ราย เก็บข้อมูลการวิจัยโดยสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของ Colaizzi ผลการศึกษาพบว่าการมีชีวิตอยู่ของผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็งกลับเป็นซ้ำที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ประกอบไปด้วย 2 ประเด็นหลัก คือ 1) "ชีวิตที่อยู่กับมะเร็งกลับเป็นซ้ำ" ประกอบไปด้วย 3 ประเด็นย่อย คือ ทุกข์ทรมานกับโรคมะเร็งที่ซ้ำเติม หนักใจที่กลับเป็นซ้ำแต่ความหวังยังมี และยังวนเวียนอยู่กับการรักษา 2) "ชีวิตที่อยู่ต่อไป" ประกอบไปด้วย 3 ประเด็นย่อย คือ ชีวิตที่แตกต่างจากคนอื่น ชีวิตที่ต้องอยู่ดีมีความสุข และชีวิตที่อยู่บนขวัญกำลังใจเพื่อตัวเองและครอบครัว ผลการวิจัยสะท้อนถึงการมีชีวิตอยู่ของผู้ป่วยที่ผูกพันอยู่กับชีวิตสองส่วน คือ ชีวิตส่วนแรกที่อยู่กับมะเร็งที่กลับเป็นซ้ำซึ่งต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานจากโรคแม้จะอยู่อย่างหนักใจแต่ก็มีหวัง และชีวิตอีกส่วนที่มีแต่ข้อจำกัด แต่ก็ได้รับสิ่งทดแทนจากคนรอบข้างที่ช่วยให้กำลังใจมีชีวิตอยู่ต่อ ข้อค้นพบเหล่านี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผนการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ รวมถึงการวิจัยในอนาคตต่อไป