Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Mental and Social Health

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2018

Articles 1 - 21 of 21

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

พลังสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ต้องขังชาย ณ ทัณฑสถานเปิดบ้านเนินสูง จังหวัดปราจีนบุรี, อรพรรณ เกิดทวี Jan 2018

พลังสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ต้องขังชาย ณ ทัณฑสถานเปิดบ้านเนินสูง จังหวัดปราจีนบุรี, อรพรรณ เกิดทวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาพลังสุขภาพจิต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับพลังสุขภาพจิตของผู้ต้องขังชาย ณ ทัณฑสถานเปิดบ้านเนินสูง จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 185 คน โดยเครื่องมือที่ใช้มี 5 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานทั่วไป แบบสอบถามเกี่ยวกับพลังสุขภาพจิต แบบประเมินการเลี้ยงดู แบบประเมินแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินวิธีเผชิญความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Chi-square, independent samples t-test, Pearson product-moment correlation และ logistic regression analysis ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ต้องขังชายมีอายุเฉลี่ย 31.5 ปี มีระดับพลังสุขภาพจิตอยู่ในระดับปกติร้อยละ 74.6 อยู่ในระดับสูงร้อยละ 17.3 และอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 8.1 โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับพลังสุขภาพจิตได้แก่ ผู้ดูแลหลักในวัยเด็กและพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดู การมีผู้ที่เป็นแบบอย่างที่ดี การมีผู้ที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวในการดำเนินชีวิตทางบวก วิธีการเผชิญความเครียด และกิจกรรมยามว่างระหว่างอยู่ในทัณฑสถาน เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยทำนายตัวแปรพบว่า การขาดผู้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดพลังสุขภาพจิตต่ำ


ความชุกของการเห็นคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูในชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุข 19 วงศ์สว่าง, ธนพร ชื่นตา Jan 2018

ความชุกของการเห็นคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูในชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุข 19 วงศ์สว่าง, ธนพร ชื่นตา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการเห็นคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูในชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุข 19 วงศ์สว่าง รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเห็นคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูในชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุข 19 วงศ์สว่าง มีผู้เข้าร่วมงานวิจัยเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู (6 เดือน - 3 ปี) ทั้งสิ้น 88 คน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 - เดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย แบบสอบถามข้อมูลด้านการเจ็บป่วย แบบประเมินสมองเบื้องต้นที่ประเมินด้วย Thai Mental state Examination (TMSE) แบบประเมินความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน (Barthel Index of Activity of Daily Living) แบบวัดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิท ฉบับผู้ใหญ่ และแบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าน้อยสุด ค่ามากสุด และฐานนิยม และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงอนุมาณ ได้แก่ Chi - square , t - test , Mann - Whitney U test , สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด 88 คน มีอายุเฉลี่ยที่ 66.9 ปี เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันร้อยละ 73.9 และมีอาการป่วยมานานมากกว่า 2 ปี ร้อยละ 52.3 พบความชุกของการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำร้อยละ 40.9 ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ได้แก่ ระดับการศึกษา การมีปัญหาด้านการพูด / การออกเสียง / การสื่อสาร การมีปัญหาด้านการกลืน และคะแนนแบบประเมินสมองเบื้องต้นต่ำ และภาวะซึมเศร้าคิดเป็นร้อยละ 55.7 ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา การมีปัญหาด้านการพูด / …


ความสามารถในการฟื้นพลัง ภาวะซึมเศร้าและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, ฐิติพร แก้วมีศรี Jan 2018

ความสามารถในการฟื้นพลัง ภาวะซึมเศร้าและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, ฐิติพร แก้วมีศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทคัดย่อ: เพื่อที่จะศึกษาความสามารถในการฟื้นพลัง ภาวะซึมเศร้า และรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในการศึกษาครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างมี่ทั้งหมด 88 คนซึ่งได้ทำแบบสอบถามทั้งสิ้น 4 ชนิด คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามความสามารถในการฟื้นพลัง CD-RISC 3) แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า และ 4) แบบสอบถามรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ SPSS 22.0 โดยวิเคราะห์ในเรื่องของการหาค่าเฉลี่ยความสามารถในการฟื้นพลัง ความชุกของภาวะซึมเศร้า และรูปแบบการเลี้ยงดูของกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเลี้ยงดูกับความสามารถในการฟื้นพลัง และระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูกับภาวะซึมเศร้า จากการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยความสามารถในการฟื้นพลัง คือ 60.8 ขณะที่ความชุกภาวะซึมเศร้า พบที่ร้อยละ 40.9 นอกจากนี้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับการเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่มากที่สุด คือ ร้อยละ 47.7 และรองลงมาได้รับการเลี้ยงดูแบบตามใจ คือร้อยละ 35.2 จากการศึกษายังพบอีกว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการฟื้นพลังคือ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู โดยที่การเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่มีโอกาสจะมีความสามารถในการฟื้นพลังระดับสูงเป็น 35 เท่า เมื่อเทียบกับการเลี้ยงดูแบบเข้มงวด และอีกปัจจัยหนึ่งคือ ภาวะซึมเศร้า โดยที่ กลุ่มตัวอย่างที่ไม่พบภาวะซึมเศร้ามีโอกาสจะมีความสามารถในการฟื้นพลังระดับสูงเป็น 19 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่พบภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อชาตินักเรียนมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการฟื้นพลังอีกด้วย


ปัจจัยทางจิตสังคมของกลุ่มประชากรคนไร้บ้านที่มีโรคจิตเวชในเขตกรุงเทพมหานคร, ถิรนันท์ ช่วยมิ่ง Jan 2018

ปัจจัยทางจิตสังคมของกลุ่มประชากรคนไร้บ้านที่มีโรคจิตเวชในเขตกรุงเทพมหานคร, ถิรนันท์ ช่วยมิ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคจิตเวชกับสถานการณ์ก่อนและหลังภาวะไร้บ้านในกลุ่มประชากรคนไร้บ้าน และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตสังคมของคนไร้บ้านและการเปลี่ยนแปลงอาการของโรคจิตเวช กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มประชากรคนไร้บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 20 คน ซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากเครื่องมือวินิจฉัย โรคจิตเวช Mini International Neuropsychiatric (Thai version) (5.0) (M.I.N.I) รวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ตามหัวข้อคำถามที่สร้างขึ้น โดยมีเนื้อหาครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษา สัมภาษณ์เกี่ยวกับประวัติส่วนตัว สาเหตุสำคัญที่ทำให้ตัดสินใจไร้บ้าน ประวัติความเจ็บป่วยทางจิตเวชของคนไร้บ้านทั้งในอดีตและปัจจุบัน ปัจจัยทางจิตสังคมของคนไร้บ้านและการเปลี่ยนแปลงอาการจิตเวช การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาพบข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์โรคจิตเวชก่อนไร้บ้านและหลังภาวะไร้บ้าน สถานการณ์โรคจิตเวชก่อนไร้บ้าน พบ 4 โรค ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคติดสุราหรือสารเสพติด และโรคจิต สถานการณ์โรคจิตเวชในปัจจุบัน พบ 5 โรค ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคติดสุราหรือสารเสพติด โรคจิต และโรควิตกกังวล พบว่าโรคจิตเวชมีความสัมพันธ์กับสาเหตุของการไร้บ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชากรกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นคนไร้บ้านคือผู้ที่มีอาการจิตเวช ในระดับรุนแรง อาทิ โรคจิตหรือโรคอารมณ์สองขั้ว ซึ่งมีปัจจัยทางด้านสุขภาพจิตทับซ้อนกับปัญหาทางสังคม อันได้แก่ ปัญหาทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ความล้มเหลวของระบบการรักษาผู้ป่วยจิตเวช การสนับสนุนทางสังคม ทัศนคติทางลบ ความไม่รู้และไม่เข้าใจต่อผู้ป่วยจิตเวช ปัญหาเหล่านี้เป็นระเบิดเวลาที่จะสร้างปัญหาให้กับคุณภาพประชากรในอนาคตอย่างเลี่ยงไม่พ้น และพบปัจจัยจิตสังคมที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาการจิตเวช ดังนี้ ปัจจัยทางด้านสังคม 6 ด้าน ได้แก่ ปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านการงาน สภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในสังคม สุขภาพและความพิการ นโยบายจัดระเบียบคนไร้บ้านของภาครัฐ และการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมและบริการสาธารณสุข และ ปัจจัยทางด้านจิตใจ 3 ด้าน ได้แก่ ความสิ้นหวัง ความโดดเดี่ยว และความรู้สึกไร้ค่า ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้มแข็งในระดับชุมชน ไปจนถึงระดับนโยบายส่วนกลาง พัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาผู้ป่วยจิตเวช โดยเริ่มต้นได้จากการสร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับโรคจิตเวชให้กับคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดอคติ ทำให้เกิดความอาทร นำไปสู่ความช่วยเหลือของชุมชนที่จะมีต่อผู้ป่วยจิตเวชและครอบครัว เพื่อที่จะไม่ต้องแบกรับปัญหาและการแก้ไขสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ เพียงลำพัง เป็นการดีหากมีพื้นที่ในการฟื้นฟู ดูแล ผู้ป่วยจิตเวชที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ จะมีเพิ่มขึ้นและเป็นต้นแบบในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างรอบด้าน เป็นสิ่งที่ได้เริ่มขึ้นโดยชุมชนที่เข้มแข็งเป็นสำคัญ


ผลของโปรแกรมการฝึกการตระหนักรู้ในตนเองต่อระดับการรับรู้สติ 5 ด้านและความเครียดของผู้ป่วยมีความผิดปกติของการใช้สารกลุ่มแอมเฟตามีนที่เข้ารับการรักษาในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี, นพดล โสภณวรกิจ Jan 2018

ผลของโปรแกรมการฝึกการตระหนักรู้ในตนเองต่อระดับการรับรู้สติ 5 ด้านและความเครียดของผู้ป่วยมีความผิดปกติของการใช้สารกลุ่มแอมเฟตามีนที่เข้ารับการรักษาในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี, นพดล โสภณวรกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากปัญหาอัตราการกลับไปเสพสารเสพติดซ้ำของผู้เข้ารับการบำบัดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยสาเหตุหนึ่งเกิดจากการขาดการรับรู้ถึงความสามารถของตน ซึ่งการพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองเป็นอีกหนทางหนึ่งในการส่งเสริมการรับรู้ถึงความสามารถของตนอย่างเหมาะสม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกการตระหนักรู้ในตนเองของผู้ป่วยมีความผิดปกติของการใช้สารกลุ่มแอมเฟตามีน โดยเป็นการศึกษาเชิงกึ่งทดลอง แบบศึกษากลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดที่แผนกผู้ป่วยในของสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี จำนวน 40 คน ซึ่งเข้าร่วมโปรแกรมการฝึก 4 หัวข้อ ได้แก่ 1) การสังเกตและรับรู้ในตนเอง, 2) การฝึกปล่อยวางอารมณ์ รู้ทันความคิด, 3) การตระหนักรู้ในชีวิตประจำวัน และ 4) การวางแผนการดำเนินชีวิตในระยะยาวผ่านการมองหาคุณค่าของบุคคลรอบข้าง รวม 4 ครั้ง ในระยะเวลา 2 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลส่วนตัว 2) แบบวัดการรับรู้ของสติใน 5 ด้าน 3) แบบประเมินความเครียด กรมสุขภาพจิต ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมด้วยสถิติ pair t-test และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยค่าสหสัมพันธ์แบบ Pearson จากผลการศึกษาพบว่าหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมการรับรู้สติทั้งในภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการสังเกต ด้านการบรรยายเป็นคำพูด ด้านการรับรู้อิริยาบถ ด้านการไม่ตัดสิน ด้านการไม่ตอบสนองต่อความรู้สึกมีค่าคะแนนสูงขึ้น ในขณะที่ค่าคะแนนความเครียดลดลง โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ 0.001*, 0.113, 0.035*, 0.037*, 0.281, 0.049* และ 0.008* ตามลำดับ และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรและผลต่างของค่าคะแนนก่อน-หลังเข้าร่วมโปรแกรม ผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการฝึกมีประสิทธิภาพในการเพิ่มระดับการตระหนักรู้ในตนเองของผู้เข้าร่วม อีกทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยทั้งที่เคยและไม่เคยมีประสบการณ์การฝึกเจริญสติได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ในการช่วยลดปัญหาการกลับมาเสพสารเสพติดซ้ำในผู้เข้ารับการบำบัดรักษาในอนาคต


ภาวะวิตกกังวลของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่ศึกษาอยู่โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดในประเทศไทย, เพ็ญพิชชา เล็กศรัณยพงษ์ Jan 2018

ภาวะวิตกกังวลของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่ศึกษาอยู่โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดในประเทศไทย, เพ็ญพิชชา เล็กศรัณยพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางเพื่อศึกษาภาวะวิตกกังวลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะวิตกกังวลของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่ศึกษาอยู่โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดในประเทศไทย จำนวน 77 คน กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มมาด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ระยะเวลาการศึกษา ตั้งแต่ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 - มกราคม พ.ศ. 2562 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานทั่วไป และแบบประเมินภาวะวิตกกังวลสำหรับเด็ก ฉบับอักษรเบรลล์ (The State-Trait Anxiety Inventory for children) และสัมภาษณ์นักเรียนบางคนเพิ่มเติม ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 55.80) พิการทางการเห็นตั้งแต่กำเนิด (ร้อยละ 70.10) ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 88.30) ไม่มีสมาชิกในครอบครัวที่มีความพิการ (ร้อยละ 89.60) ศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 67.50) พักอาศัยอยู่ที่โรงเรียนเป็นประจำ (ร้อยละ 85.70) และครึ่งหนึ่งมีสถานภาพของบิดา-มารดาแยกกันอยู่ (ร้อยละ 50.65) พบความชุกของภาวะวิตกกังวล ประเภท State และประเภท Trait ในนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น ร้อยละ 33.80 และ ร้อยละ 45.50 ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล ประเภท State ได้แก่ การเรียน เพื่อน ค่าใช้จ่าย สิ่งแวดล้อม และความเครียด ส่วนปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลประเภท Trait ได้แก่ เพศ การเรียน ครอบครัว ความเครียด วิตกกังวล และหงุดหงิดง่ายกว่าเดิม สรุป พบความชุกของภาวะวิตกกังวลในนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นได้สูง และสัมพันธ์กับความวิตกกังวลต่อการเรียน เพื่อน ค่าใช้จ่าย ครอบครัว และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงควรตระหนักและสนับสนุนให้มีการประเมิน และดูแลทางจิตสังคมอย่างเหมาะสม เพื่อให้นักเรียน บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นได้มีสุขภาพจิตที่ดี


ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดอุบลราชธานี และความเกี่ยวข้อง ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว, จุฑาพร แต้ภักดี Jan 2018

ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดอุบลราชธานี และความเกี่ยวข้อง ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว, จุฑาพร แต้ภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross - sectional Descriptive Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 716 คน ซึ่งถูกเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ของจิตราภรณ์ ทองกวด ซึ่งพัฒนามาจากทฤษฏีของโกลแมน และแบบวัดการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว Chulalongkorn Family Inventory (CFI) นำเสนอโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติ t-test , One way ANOVA และ Multiple Linear Regression โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.93 ในขณะที่การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวอยู่ในระดับดีพอสมควร ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.11 ความสัมพันธ์ระหว่างความเห็นอกเห็นใจและการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p < 0.001) และมีความสัมพันธ์กับทุกด้านของการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวยกเว้นด้านการควบคุมพฤติกรรม และมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับปัจจัยเพศ ( p < 0.001) คะแนนเฉลี่ยสะสม ( p < 0.001) สถานะความสัมพันธ์ของบิดามารดา ( p = 0.03) และความสัมพันธ์ของนักเรียนกับมารดา ( p = 0.001) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวมีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นการช่วยให้ครอบครัวปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างแข็งแรงย่อมช่วยในการเสริมสร้างความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นให้กับเด็กได้


ความสุขเชิงอัตวิสัย การเห็นคุณค่าในตนเอง และทัศนคติที่มีต่อคู่จิ้นของสาววายในประเทศไทย, ณิณา ธนทัดนัททนน Jan 2018

ความสุขเชิงอัตวิสัย การเห็นคุณค่าในตนเอง และทัศนคติที่มีต่อคู่จิ้นของสาววายในประเทศไทย, ณิณา ธนทัดนัททนน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อคู่จิ้น การเห็นคุณค่าในตนเอง และความสุขเชิงอัตวิสัย รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของสาววายในประเทศไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในช่วงเดือนสิงหาคม 2561 จำนวน 1,745 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดทัศนคติที่มีต่อคู่จิ้นหรือคู่ชิปที่ชื่นชอบ แบบวัดระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง และแบบวัดระดับความสุขคนไทย (THI-15) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแคว์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 22.63 ปี ส่วนใหญ่มีความสุขเท่ากับคนทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 38.8 ในขณะที่ร้อยละ 34.1 มีความสุขมากกว่าคนทั่วไป และร้อยละ 27.1 มีความสุขน้อยกว่าคนทั่วไป กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นคุณค่าในตนเองในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 46.6 และส่วนใหญ่มีความคลั่งไคล้คู่จิ้นหรือคู่ชิปที่ชื่นชอบในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 70.5 โดยส่วนใหญ่ใช้เวลาในการติดตามคู่จิ้นหรือคู่ชิปน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 82.6 นอกจากนี้ยังพบว่า การเห็นคุณค่าในตนเองและความสุขเชิงอัตวิสัยนั้น มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง (R = 0.745, p < 0.001) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสุขเชิงอัตวิสัย ได้แก่ การมีแฟน การเปิดเผยตัวตนว่าเป็นสาววาย การไม่มีความเจ็บป่วยทางจิตเวชของตนเองและสมาชิกในครอบครัว ความคลั่งไคล้คู่จิ้นต่ำ และการเห็นคุณค่าในตนเองสูง โดยพบว่า การเห็นคุณค่าในตนเอง เป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถทำนายความสุขเชิงอัตวิสัยของสาววายในประเทศไทยได้ (R2 = 0.555) กล่าวโดยสรุปคือ สาววายในประเทศไทยส่วนใหญ่มีความคลั่งไคล้คู่จิ้นหรือคู่ชิปที่ชื่นชอบ การเห็นคุณค่าในตนเอง และความสุขเชิงอัตวิสัยในระดับปานกลาง การเห็นคุณค่าในตนเองนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถทำนายความสุขเชิงอัตวิสัย และทัศนคติที่มีต่อคู่จิ้นหรือคู่ชิปที่ชื่นชอบได้ ผลการศึกษาวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจ ให้การดูแลช่วยเหลือ และส่งเสริมสุขภาพจิตของสาววายในประเทศไทยอย่างเหมาะสมต่อไป


ความสุขในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กรและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ของพนักงานประจำ บริษัทแจ่มใสพับลิชชิ่ง, ยศพร ปัญจมะวัต Jan 2018

ความสุขในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กรและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ของพนักงานประจำ บริษัทแจ่มใสพับลิชชิ่ง, ยศพร ปัญจมะวัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงาน ระดับความผูกพันต่อองค์กร ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานประจำบริษัทแจ่มใสพับลิชชิ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานในบริษัทแจ่มใสพับลิชชิ่ง จำนวน 124 คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความสุขในการทำงาน แบบสอบถามความผูกพันต่อองค์กร และแบบสอบถาม PHQ9 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Independent sample t-test ,one way ANOVA, Spearman ‘s Correlation Coefficiency and Multiple Liner Regression และสถิติถดถอยพหุคูณ (Multiple Liner Regression) ด้วยวิธี Stepwise พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความสุขในการทำงานอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ50.8) มีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ64.5) ความสุขในการทำงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.788 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานได้แก่ ระดับการศึกษา สถานะภาพสมรส ความเพียงพอของรายได้ โรคประจำตัว ภาวะซึมเศร้า การได้รับคำชมจากผู้บังคับบัญชาและเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด ปัจจัยทำนายความสุขในการทำงานได้แก่ ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี การได้รับคำชมจากผู้บังคับบัญชาและเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด ผลวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลให้กับองค์กรเพื่อใช้ไปพัฒนาและเป็นแนวทางในการดูแล และเสริมสร้างความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรให้กับพนักงาน โดยกำหนดเป็นนโยบายและแผนงานในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรสู่ องค์กรที่มีความสุขและประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจมีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน


รูปแบบการเผชิญปัญหาและการรังแกกันในโรงเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี, รักษ์พล สุระขันธ์ Jan 2018

รูปแบบการเผชิญปัญหาและการรังแกกันในโรงเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี, รักษ์พล สุระขันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของกลุ่มประสบการณ์รังแกและการใช้รูปแบบการเผชิญปัญหาของกลุ่มประสบการณ์รังแกของกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (อายุ 12-15 ปี) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 376 คน โดยใช้ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม พ.ศ.2561 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, The revised Olweus bully/victim questionnaire และ แบบวัดการเผชิญปัญหาของวัยรุ่น (Adolescent Coping Scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ กลุ่มทั้งผู้รังแกและถูกรังแกร้อยละ 39.89,กลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องร้อยละ 30.59, กลุ่มผู้ถูกรังแกมีร้อยละ 23.67 และกลุ่มผู้รังแกร้อยละ 5.85 ทั้ง 4 กลุ่มมีรูปแบบการเผชิญปัญหาที่แตกต่างกันในแต่ละด้าน ด้านจัดการกับปัญหาโดยใช้ความสามารถของตนเอง กลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องมีคะแนนรูปแบบเผชิญปัญหาด้านนี้มากที่สุด, ด้านจัดการกับปัญหาโดยใช้แหล่งสนับสนุนอื่นๆและด้านหลีกเลี่ยงปัญหา กลุ่มผู้ถูกรังแกมีคะแนนรูปแบบการเผชิญปัญหาด้านนี้มากที่ รูปแบบการเผชิญปัญหาเป็นวิธีที่จะใช้จัดการกับความเครียดแต่ละคนมีรูปแบบที่เหมือนหรือต่างกัน อย่างไรก็ตามฐานข้อมูลเรื่องรูปแบบการเผชิญปัญหาของกลุ่มประสบการณ์รังแกในไทยและต่างประเทศยังมีไม่มากและการศึกษาที่ผ่านมายังพบข้อสรุปที่ทั้งเหมือนและแตกต่างกัน


ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคม ร่วมกับการใช้ยารักษาซึมเศร้า กับการใช้ยารักษาซึมเศร้าเพียงอย่างเดียวต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก จิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วนัสนันท์ จันทร์นิ่ม Jan 2018

ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคม ร่วมกับการใช้ยารักษาซึมเศร้า กับการใช้ยารักษาซึมเศร้าเพียงอย่างเดียวต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก จิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วนัสนันท์ จันทร์นิ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อย เฉลี่ยร้อยละ 12 พบความชุกชั่วชีวิต เกิดในเพศหญิงได้มาก กว่าชายและมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยรวมทั้งครอบครัว มีอาการสำคัญคือ 1)อาการด้านอารมณ์ 2)อาการทางกาย 3)ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว 4)อาการทางความคิด 5)อาการด้านสัมพันธภาพ การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีความบกพร่องของหน้าที่ทางสังคม จากการขาดทักษะทางสังคมที่จะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดการหลีกออกจากสังคมและมีอาการซึมเศร้าที่มากขึ้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคมร่วมกับการใช้ยารักษาซึมเศร้า เทียบกับการใช้ยารักษาซึมเศร้าเพียงอย่างเดียวในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ มาเข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก จิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental study) แบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial, RCT) ทำการคัดกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ (purposive sampling) ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (MDD) ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่แผนกผู้ป่วยนอก จิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อาสาสมัครจำนวน 42 คน ทำการสุ่มแบบบล็อก (block randomization) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 21 คนที่ได้รับโปรแกรม STTP และได้รับการรักษาตามปกติจากแพทย์ และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 21 คนที่ได้รับการรักษาตามปกติจากแพทย์เท่านั้น เก็บข้อมูลด้วย1) แบบสอบถามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล 2) แบบกรอกข้อมูลทางการแพทย์ 3) แบบประเมินอาการซึมเศร้า (BDI-II) และแบบประเมินหน้าที่ทางสังคม (SFQ) ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละและค่าเฉลี่ยและโดยปรับค่าเริ่มต้น (Baseline) แล้วนำมาทำการวัดสองครั้งด้วยสถิติ repeated-measures analysis of variance (ANOVA) เพื่อหาค่าความแตกต่างของค่าคะแนนในการวัดสัปดาห์ที่ 0 - 5 และสัปดาห์ที่ 0 - 10 แล้วนำมาวิเคราะห์การลดลงของคะแนนซึมเศร้า (BDI-II) ว่ามีการลดลงของคะแนนซึมเศร้ามากกว่ากันอย่างไรระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ p < 0.05 ผลการศึกษามีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 42 คนโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 21 คนไม่พบความแตกต่างของคะแนนซึมเศร้าเริ่มต้น (กลุ่มทดลอง = 34.52 + 13.07 และ กลุ่มควบคุม = 29.95 + 09.97) ทั้งสองกลุ่มได้รับยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม SSRIs เป็นหลักด้วยขนาดเทียบเท่ายา sertraline 50-100 มิลลิกรัมต่อวัน หลังจากคำนวนความแตกต่างจากค่าเริ่มต้นพบว่าค่าคะแนนซึมเศร้า BDI-II ระหว่างสองกลุ่มไม่พบว่ามีความแตกต่างทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม (P < 0.05) ส่วนของคะแนนหน้าที่ทางสังคม (SFQ) พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าคะแนนหน้าที่ทางสังคมที่แตกต่างจากเดิม ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างภายในกลุ่ม (p < 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่ามีความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 กลุ่ม (p < 0.01) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าไม่พบความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงของคะแนนซึมเศร้า ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แต่พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าคะแนนหน้าที่ทางสังคมที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในด้านความ สัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว ความสัมพันธ์ทางเพศ การเข้าสังคม และการใช้เวลาว่างของตนเอง ทำให้ผู้ป่วยลดการแยกตัวทางสังคม ส่งผลให้มีหน้าที่ทางสังคมที่ดีขึ้น


คุณภาพชีวิตของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา, วิพัตรา โตเต็มโชคชัยการ Jan 2018

คุณภาพชีวิตของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา, วิพัตรา โตเต็มโชคชัยการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยศึกษาในเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ช่วงอายุ 2 - 18 ปีบริบูรณ์ ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ณ สถาบันราชานุกูล กทม. โดยใช้การสอบถามจากผู้ปกครองของเด็ก จำนวน 424 คน ทำการศึกษาระหว่างเดือนพฤษภาคม 2562 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตเด็ก รุ่นที่ 4.0 (PedsQLTM 4.0) ฉบับรายงานของผู้ปกครอง (Parent Proxy-Report) พัฒนาและแปลเป็นฉบับภาษาไทยโดย Dr.James W Varni และทีมงาน เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ t-test, One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับต่ำ และเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต พบว่า เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 4 ปี ศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล มีระดับความรุนแรงของความบกพร่องทางสติปัญญามาก และได้รับการวินิจฉัยว่ามีความบกพร่องทางสติปัญญามามากกว่า 5 ปี มีคุณภาพชีวิตที่อยู่ในระดับต่ำ และพบว่าเศรษฐานะและการมีความขัดแย้งภายในครอบครัว มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผลการศึกษาเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการวางแผนการรักษา ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองหรือครู และดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดผลสูงสุดในการรักษา ส่วนปัจจัยต่าง ๆ ที่พบว่าสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตนั้น ควรได้รับการดูแลช่วยเหลือและเอาใจใส่เป็นพิเศษเพื่อช่วยให้เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญามีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น


ผลของการฝึกโปรแกรมทักษะทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการด้านลบเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามปกติ, ศิริลักษณ์ ปรมะ Jan 2018

ผลของการฝึกโปรแกรมทักษะทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการด้านลบเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามปกติ, ศิริลักษณ์ ปรมะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง (Experimental study) แบบ Randomized Control Study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคมในผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางด้านลบ ที่เข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการด้านลบจำนวน 23 คน แบ่งกลุ่มโดยการสุ่มอย่างง่าย ในกลุ่มทดลองผู้ป่วยได้รับการฝึกโปรแกรมทักษะทางสังคม จำนวน 8 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาตามปกติ จำนวน 15 คน โดยใช้เครื่องมือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินทางจิต Positive and Negative Syndrome Scale (PANSS – T) 3) แบบประเมินทักษะการทำหน้าที่ทางสังคม 4) โปรแกรมทักษะทางสังคม ผลการศึกษาพบว่า 1) ค่าคะแนนทดสอบทักษะทางสังคมในผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคมเพิ่มมากขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม (ค่าเฉลี่ยค่าคะแนนการทำหน้าที่ทักษะทางสังคมกลุ่มทดลอง ก่อนทดลอง = 96.5 หลังทดลอง = 117.88 กับ กลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง = 129.67 หลังทดลอง = 122.93, P<0.05) 2) ค่าคะแนนทดสอบทักษะทางสังคมในผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคมสูงกว่าก่อนได้รับการฝึกโปรแกรมทักษะทางสังคม (ค่าเฉลี่ยค่าคะแนนการทำหน้าที่ทักษะทางสังคมกลุ่มทดลอง ก่อนทดลอง = 96.5 หลังทดลอง = 117.88, P<0.05) แต่ไม่พบผลดังกล่าวในกลุ่มควบคุม


การวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผลของการพักรักษาในสถานบำบัดแบบระยะสั้นและระยะยาวในการบำบัดรักษาการใช้สารเมทแอมเฟตามีนในสถาบันธัญญารักษ์, พุทธิพงศ์ ประสาทพรศิริโชค Jan 2018

การวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผลของการพักรักษาในสถานบำบัดแบบระยะสั้นและระยะยาวในการบำบัดรักษาการใช้สารเมทแอมเฟตามีนในสถาบันธัญญารักษ์, พุทธิพงศ์ ประสาทพรศิริโชค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและประสิทธิผลของการพักรักษาในสถานบำบัดแบบระยะสั้น (ไม่เกิน 30 วัน) และระยะยาว (มากกว่า 30 วัน) ในการบำบัดรักษาการใช้สารเมทแอมเฟตามีน รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการหยุดใช้สารเสพติดได้นานกว่า 3 เดือนหลังเข้ารับการบำบัดรักษาภาวะติดสารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีนก่อนเข้ารับการรักษาครั้งปัจจุบันที่สถาบันธัญญารักษ์ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากงานวิจัย ก่อนหน้าที่ได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินกึ่งโครงสร้างของภาวะติดสารเสพติดและโรคพิษสุราเรื้อรัง (Semi-Structured Assessment for Drug Dependence and Alcoholism Thai version 2.0 SSADDA) จากผู้ที่กำลังเข้ารับการบำบัดรักษาภาวะติดสารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีนที่สถาบันธัญญารักษ์ เมื่อปี 2550 จนถึงปัจจุบัน ภายหลังจากคัดกรองกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเข้าและเกณฑ์การคัดออกของงานวิจัยแล้ว ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 614 คน คิดเป็นจำนวนครั้งในการเข้ารับการบำบัดรักษาภาวะติดสารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีนทั้งสิ้น 772 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ซึ่งได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และฐานนิยม จากนั้นวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผลของการพักรักษาในสถานบำบัดแบบระยะสั้นและระยะยาวในการบำบัดรักษาการใช้สารเมทแอมเฟตามีนโดยใช้การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ และหาความสัมพันธ์โดยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า การรักษาแบบระยะสั้นมีอัตราส่วนต้นทุนต่อประสิทธิผล อยู่ที่ 1,418.55 บาทต่อการรักษาแบบระยะสั้น 1 คอร์ส ในขณะที่การรักษาแบบระยะยาวมีอัตราส่วนต้นทุนต่อประสิทธิผล อยู่ที่ 13,753.05 บาทต่อการรักษาแบบระยะยาว 1 คอร์ส เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการบำบัดรักษากับผลของการบำบัดรักษา พบว่า การบำบัดรักษาภาวะติดสารเสพติดแบบระยะสั้นมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการหยุดใช้สารเสพติดได้นานเกินกว่า 3 เดือนหลังการบำบัดรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อทดสอบความสัมพันธ์กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการหยุดใช้สารเสพติดได้นานเกินกว่า 3 เดือน พบว่า ระดับการศึกษา การได้รับผลกระทบจากการใช้สารเสพติด และจำนวนวันการรักษาเฉลี่ยที่มากกว่า 30 วัน เป็น 3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการหยุดใช้สารเสพติดได้นานเกินกว่า 3 เดือนอย่างน้อย 1 ครั้ง หลังเข้ารับการบำบัดรักษาภาวะติดสารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีนของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การเห็นคุณค่าในตนเองและพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊คของคน Generation Y ในกรุงเทพมหานคร, กชพร ธัญญานุรักษา Jan 2018

การเห็นคุณค่าในตนเองและพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊คของคน Generation Y ในกรุงเทพมหานคร, กชพร ธัญญานุรักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเห็นคุณค่าในตนเองต่ำนำมาสู่ปัญหาอื่นๆทางสังคม รวมถึงปัญหาทางสุขภาพจิตของคนได้โดยง่าย ในปัจจุบัน เฟสบุ๊ค เป็นสื่อออนไลน์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกและในประเทศไทย ผู้วิจัยสนใจศึกษาในกลุ่มคน Generation Y ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการใช้และเข้าถึงเฟสบุ๊คมากที่สุด ทั้งนี้จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาเรื่องการเห็นคุณค่าในตนเองและพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊คของคน Generation Y ในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยตระหนักถึงปัญหานี้ว่าเป็นปัญหาใหญ่และสำคัญ ควรได้การดูแลแก้ไข และสนับสนุนการป้องกันกลุ่มเสี่ยงนี้ จึงเกิดหัวข้อวิจัยนี้ขึ้นเพื่อสนับสนุนและเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาในสังคมภายหน้า การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยใช้สถานที่ในการเก็บข้อมูลเป็นสถานีรถไฟฟ้าซึ่งเป็นที่นิยมของคน Generation Y และมีคนใช้มากที่สุด 5 สถานี ได้แก่ สยาม อโศก หมอชิต อนุสาวรีย์ และศาลาแดง โดยเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 จำนวน 285 คน โดยเป็นผู้ที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จนถึง พ.ศ. 2539 (ณ ปัจจุบัน มีอายุตั้งแต่ 22 ถึง 38 ปี) เป็นผู้ที่ใช้บริการเฟสบุ๊คในปัจจุบัน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสำรวจข้อมูลส่วนบุคคล, แบบสำรวจพฤติกรรมการใช้, แบบสอบถาม Bergen Facebook addiction scale ฉบับภาษาไทย (Thai-BFAS) และแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองในตนเองของ Rosenberg ฉบับปรับปรุง (Revised Thai RSES) วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละและความถี่ เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติไคสแควร์ สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ต้องการศึกษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า จากกลุ่มตัวอย่าง 285 คน ผู้ที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองระดับปานกลาง ร้อยละ 56.1 รองลงมาร้อยละ 32.3 มีการเห็นคุณค่าในตนเองระดับสูง และมีการเห็นคุณค่าในตนเองระดับต่ำ ร้อยละ 11.6 ตามลำดับ และพบผู้ที่ติดเฟสบุ๊ค ร้อยละ 17.5 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเห็นคุณค่าในตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ …


ความพึงพอใจในความสัมพันธ์แบบคู่รักและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จิรันธนิน เจริญธีระนันท์ Jan 2018

ความพึงพอใจในความสัมพันธ์แบบคู่รักและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จิรันธนิน เจริญธีระนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุผลของการทำวิจัย: การมีความสัมพันธ์แบบคู่รักเป็นขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในพัฒนาการของมนุษย์สำหรับวัยผู้ใหญ่ตอนต้นตามทฤษฎีพัฒนาการทางจิตสังคมของ Erikson ความสำเร็จในพัฒนาการลำดับขั้นนี้ จะนำไปสู่ความสามารถที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีพันธะสัญญาต่อกัน แต่หากล้มเหลว ก็จะนำไปสู่ความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างในใจ ซึ่งปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรักษาหรือยุติความสัมพันธ์ก็คือความพึงพอใจในความสัมพันธ์ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาในเรื่องนี้ โดยเลือกศึกษาในนิสิตที่มีอายุช่วง 21 – 22 ปี ซึ่งตรงกับช่วงเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้นตามทฤษฎีของ Erikson และมีการศึกษาว่ามักมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ โดยผลการศึกษาที่ได้ จะสะท้อนภาพรวมของนิสิตรวมถึงเป็นองค์ความรู้ใหม่แก่ผู้ที่สนใจศึกษาต่อยอดในอนาคตได้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในความสัมพันธ์กับคู่รักและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความพึงพอใจในความสัมพันธ์กับคู่รัก ของนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวอย่างและวิธีการศึกษา: ศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 จาก 10 คณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีคู่รักและมีระยะเวลาคบหาไม่ต่ำกว่า 1 เดือน คำนวณจำนวนตัวอย่างแบ่งตามเพศและกลุ่มสาขาวิชาที่นิสิตศึกษาอยู่ตามสัดส่วนประชากร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล มาตรวัดองค์ประกอบความรัก และมาตรวัดความพึงพอใจในความสัมพันธ์ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 433 คน มีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจในความสัมพันธ์ที่ 4.00 ± 0.57 (Likert scale 1 – 5) ส่วนใหญ่พึงพอใจอยู่ในระดับมาก 55.7% ระดับมากที่สุด 23.3% และระดับปานกลาง 20.5% จากการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์ความแปรปรวน พบปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ สถานภาพการพักอาศัย ระดับความพึงพอใจในชีวิต ระยะเวลาของความสัมพันธ์กับคู่รัก การเปิดเผยความสัมพันธ์ต่อเพื่อน และการเปิดเผยความสัมพันธ์ต่อครอบครัว จากการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่าสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจในชีวิต คะแนนองค์ประกอบความรักด้านความใกล้ชิด ความหลงใหล และความผูกมัด จากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุ พบตัวแปรทำนายคือ คะแนนองค์ประกอบความรักด้านความใกล้ชิด ความผูกมัด ระดับความพึงพอใจในชีวิต และระยะเวลาของความสัมพันธ์กับคู่รัก สรุปผลการศึกษา: การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มากกว่า 75% มีความพึงพอใจในความสัมพันธ์อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และมากกว่า 99% อยู่ในระดับปานกลางขึ้นไป นอกจากนี้ ได้อธิบายถึงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อค้นพบนี้สามารถนำไปใช้อ้างอิง และศึกษาต่อเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและป้องกันปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นได้


ผลของสุคนธบำบัดที่มีต่อความฝันที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติด ความรู้สึก 9 ด้านและเพื่อวัดคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยจากการใช้สารกลุ่มแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี, ชนิดา โรจน์จำนงค์ Jan 2018

ผลของสุคนธบำบัดที่มีต่อความฝันที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติด ความรู้สึก 9 ด้านและเพื่อวัดคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยจากการใช้สารกลุ่มแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี, ชนิดา โรจน์จำนงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบำบัดด้วยสุคนธบำบัดในผู้ป่วยจากการใช้สารกลุ่มแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี 20 คน โดยเป็นผู้ป่วยที่อยุู่ในช่วงฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและใจ เพื่อให้กลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข โดยเปรียบเทียบเมื่อไม่ได้รับการบำบัดด้วยสุคนธบำบัดกับเมื่อได้รับการบำบัดด้วยสุคนธบำบัด พบว่าน้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะลิมีผลต่อความรู้สึกทั้ง 9 ด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย ความรู้สึกถูกระตุ้น (stimulant) ความรู้สึกกังวล (anxious) ความรู้สึกหิว (hungry) ความรู้สึกมีอารมณ์พุ่งสูง (high) ความรู้สึกหวาดระแวง (paranoid) ความรู้สึกพูดไม่ออก (tongue-tied) ความรู้สึกแย่ (bad) ความรู้สึกกระสับกระส่าย (restless) และความรู้สึกอยากเสพสาร (craving) โดยมีคะแนนค่าเฉลี่ยความรู้สึกทั้ง 9 ด้านในวันที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยต่ำกว่าวันที่ไม่ได้รับน้ำมันหอมระเหยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า < 0.05 ทั้งนี้ในส่วนของการบันทึกความฝันที่เกี่ยวกับการใช้สารเสพติดในช่วงที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยมีคะแนนค่าเฉลี่ยต่ำกว่าวันที่ไม่ได้รับน้ำมันหอมระเหยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05 และการวัดคุณภาพการนอนหลับในช่วงที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยมีคะแนนค่าเฉลี่ยต่ำกว่าวันที่ไม่ได้รับน้ำมันหอมระเหยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า < 0.05 ดังนั้นการได้รับการบำบัดด้วยสุคนธบำบัดจึงน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนำไปใช้บำบัดเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยติดสารเสพติดได้


ความสัมพันธ์ของรูปแบบการเลี้ยงดูและพฤติกรรมการกล้าแสดงออกเพื่อปกป้องสิทธิ์ของตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3, นิราวัลย์ ฟองโหย Jan 2018

ความสัมพันธ์ของรูปแบบการเลี้ยงดูและพฤติกรรมการกล้าแสดงออกเพื่อปกป้องสิทธิ์ของตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3, นิราวัลย์ ฟองโหย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของรูปแบบการเลี้ยงดูและพฤติกรรมการกล้าแสดงออกเพื่อปกป้องสิทธิ์ของตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 184 คน เก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 โดยใช้แบบสอบถามรูปแบบการเลี้ยงดูของณริดา รัตนอัมพา และแบบทดสอบ How Assertive Am I? ของ University of Oxford 2015 ที่แปลเป็นภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ จำนวน ร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน คือ Chi-square และ Binary Logistic Regression Analysis ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการเลี้ยงดูของผู้ปกครองของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ส่วนใหญ่เป็นแบบผสมประชาธิปไตย อำนาจนิยม และตามใจ คิดเป็นร้อยละ 52.3 รองลงมาเป็นแบบผสมประชาธิปไตยและตามใจ คิดเป็นร้อยละ 24.1 แบบประชาธิปไตย คิดเป็นร้อยละ 17.8 และเป็นแบบผสมประชาธิปไตยและอำนาจนิยม คิดเป็นร้อยละ 5.7 ตามลำดับ ส่วนรูปแบบพฤติกรรมการกล้าแสดงออกเพื่อปกป้องสิทธิ์ของตนเองของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นแบบกล้าแสดงออก คิดเป็นร้อยละ 93.9 รองลงมาเป็นแบบไม่กล้าแสดงออก คิดเป็นร้อยละ 3.9 และแบบผสม คิดเป็นร้อยละ 2.2 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า รูปแบบการเลี้ยงดูและพฤติกรรมการกล้าแสดงออกเพื่อปกป้องสิทธิ์ของตนเอง มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และรูปแบบการเลี้ยงดูแบบผสม (ประชาธิปไตย อำนาจนิยม และตามใจ) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมกล้าแสดงออกเพื่อปกป้องสิทธิ์ของตนเอง นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าผู้ปกครองที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการเลี้ยงดูแบบผสม ข้อมูลที่ได้จากญาติ มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย และเด็กที่เป็นลูกคนเดียว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมกล้าแสดงออกเพื่อปกป้องสิทธิ์ของตนเอง


บุคลิกภาพและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, พัชราภา จตุพร Jan 2018

บุคลิกภาพและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, พัชราภา จตุพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยภาคตัดขวางเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบุคลิกภาพของผู้สูบบุหรี่ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูบบุหรี่ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพ ณ หน่วยเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จานวน 115 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือน เมษายน - พฤษภาคม พ.ศ.2562 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานทั่วไป แบบทดสอบประเมินภาวะเสพติดนิโคติน คือ แบบทดสอบ Fagerstrom Test for Nicotine Dependence ฉบับภาษาไทย และ ประเมินแบบทดสอบบุคลิกภาพ International Personality Item Pool (IPIP) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent sample t-test, และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างวิจัยส่วนใหญ่มีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นญาติสายตรงสูบบุหรี่ และมีคนใกล้ชิดที่สูบบุหรี่ ในหนึ่งปีที่ผ่านมากผู้เข้าร่วมวิจัยใช้ยาเสพติดที่นอกเหนือจากการสูบบุหรี่ ได้แก่ แอลกอฮอล์ ไม่พบผู้เข้าร่วมวิจัยใช้สารเสพติดชนิดร้ายแรง เช่น ยาบ้า ยาไอซ์ กัญชา ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน คะแนนเฉลี่ยการติดนิโคตินในกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนการติดนิโคตินที่ต่ำ จัดเป็นผู้ไม่ติดนิโคติน ส่วนคะแนนเฉลี่ยบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบในผู้สูบบุหรี่พบว่ามีด้านมั่นคงทางอารมณ์ (Emotion stability) ต่ำที่สุด รองลงมาคือด้านเข้าสังคม ชอบแสดงออก (Extraversion) และมีด้านเข้าใจ เห็นใจ (Agreeableness) สูงที่สุด


ความเครียดกับแรงสนับสนุนของพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวในจังหวัดกรุงเทพมหานคร, วรรชนก ปิ่นเจริญ Jan 2018

ความเครียดกับแรงสนับสนุนของพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวในจังหวัดกรุงเทพมหานคร, วรรชนก ปิ่นเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากพ่อแม่เลี้ยง เดี่ยวในจังหวัดกรุงเทพมหานครจำนวน 95ราย โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ซึ่งประกอบไป ด้วย 1.แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2.แบบวัดความเครียดสำหรับคนไทย (Thai Stress Test) 3.แบบสอบถามด้านปัจจัยทางสังคมและครอบครัว ดัดแปลงมาจาก The Personal Resource Questionnaire: PRQ Part II ของ Brand and Weinert วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ 1.วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา 2.วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด 3.คำนวณ สถิติเชิงอนุมานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับแรงสนับสนุนทางสังคมของพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว โดยใช้สถิติ Chi-square ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มประชากรส่วนใหญ่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว มีช่วงอายุ Mean±SD = 40.7±9.9 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช. รายได้เฉลี่ย10,001-20,000บาท อาศัยอยู่กับลูกของตนเอง การเป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่เกิดจากการหย่าร้าง พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่มี ความเครียดในระดับเล็กน้อย ร้อยละ68.4 ระยะเวลาการเป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวมีความสัมพันธ์กับความเครียด ด้านแรงสนับสนุนทางสังคมของพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ70.5 ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับแรงสนับสนุน ได้แก่ ด้านการได้รับความช่วยเหลือแนะนำ (P<0.002) ด้านความผูกพันใกล้ชิด (P<0.042)


ความชุกของปัญหาพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมายในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมที่คลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วราวดี เหมรัตน Jan 2018

ความชุกของปัญหาพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมายในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมที่คลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วราวดี เหมรัตน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุผลของการทำวิจัย: ปัญหาพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมายในผู้มีภาวะสมองเสื่อมเป็นปัญหา ที่ก่อให้เกิดผลเสียรุนแรง เช่น ทาให้เกิดการบาดเจ็บ สูญหายและอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดความ ทุกข์ใจให้กับครอบครัวและผู้ดูแล โดยขณะนี้ขาดข้อมูลการศึกษาปัญหาพฤติกรรมนี้ในประเทศไทย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมายในผู้ที่มี ภาวะสมองเสื่อมที่คลินิกโรคสมองเสื่อมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 95 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะสมองเสื่อม ชนิดใดชนิดหนึ่งและมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลด้านการเจ็บป่วย แบบ ประเมินพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมาย (RAWS-CV) แบบประเมินอาการทางประสาทจิตเวชศาสตร์ NPI-Q แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล แบบประเมินความสามารถเชิง ปฏิบัติดัชนีจุฬาเอดีแอล แบบทดสอบ TMSE และแบบประเมินภาระของผู้ดูแล (ZBI) คำนวณสถิติโดยใช้ โปรแกรม SPSS version 22 เพื่อหาสถิติเชิงพรรณนา คำนวณสถิติเชิงอนุมานโดยใช้ Logistic และ Linear regression เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่ญาติให้ประวัติว่ามีพฤติกรรมเดินไปมาอย่าง ไร้จุดหมายหรือพลัดหลง คิดเป็นร้อยละ 23.2 และมีพฤติกรรมดังกล่าวด้วยแบบประเมิน RAWS-CV ที่มีค่า คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 1 ถึงร้อยละ 82.1 โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมาย อย่างมีนัยสาคัญ ได้แก่ ระยะเวลาที่ป่วยมากกว่า 4 ปีขึ้นไป มีอาการประสาทหลอน เฉยเมยไม่สนใจสิ่งรอบตัว/ไร้ อารมณ์ ความไม่ยับยั้งชั่งใจ ส่วนปัจจัยที่พยากรณ์ค่าคะแนน RAWS-CV ได้แก่ ค่าคะแนนความรุนแรงของอาการ ทางจิตประสาทและพฤติกรรม ระดับความทุกข์ใจของผู้ดูแล มีอาการประสาทหลอน มีโรคประจำตัวอื่น ๆ มี ความอยากอาหารและการกินที่ผิดปกติ และการได้รับยา memantine สรุป: ประมาณ 1 ใน 4 ของกลุ่มตัวอย่างเคยมีประวัติปัญหาพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมายจาก การรายงานของผู้ดูแล ในขณะที่มากกว่า 4 ใน 5 ของกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมดังกล่าวจากแบบประเมินและ สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ดูแล การประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดพฤติกรรมนี้จะช่วยป้องกันให้ไม่เกิดการพลัดหลง หรือหายออกจากบ้านหรือเกิดอันตรายร้ายแรงกับผู้ป่วยได้ในภายหลัง