Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Mental and Social Health

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2017

Articles 1 - 27 of 27

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง, อรกนก สังข์พระกร Jan 2017

ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง, อรกนก สังข์พระกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อหาความชุกของภาวะซึมเศร้า และศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง วิธีการศึกษา ศึกษาในพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 115 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม 6 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินสมองเบื้องต้น แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย แบบสอบถามเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตในช่วงหนึ่งปี แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการมีส่วนร่วมในสังคมของผู้สูงอายุ ใช้โปรแกรม SPSS เพื่อหาสถิติเชิงพรรณนา คำนวณสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้า ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง 115 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 62.6 มีอายุเฉลี่ย 68.8 ปี พบความชุกของภาวะซึมเศร้า คิดเป็นร้อยละ 35.6 แบ่งเป็นภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย ร้อยละ 33.0 และภาวะซึมเศร้าปานกลาง ร้อยละ 2.6 โดยปัจจัยส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ เพศชาย มีอายุมากกว่า 66 ปีขึ้นไป ระดับการศึกษาชั้นมัธยม รายได้ปัจจุบันน้อยกว่าเท่ากับ 10,000 บาท/เดือน รายได้ไม่เพียงพอและมีหนี้สิน จำนวนสมาชิกในครอบครัวน้อยกว่าเท่ากับ 2 คน ปัจจัยด้านการทำงานที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ตำแหน่งงานก่อนเกษียณอายุระดับน้อยกว่าเท่ากับซี 6 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพน้อยกว่าเท่ากับ 3 ล้านบาท รายได้ก่อนเกษียณอายุน้อยกว่าเท่ากับ 60,000 บาท/เดือน รายได้หลังเกษียณอายุน้อยกว่าเท่ากับ 10,000 บาท/เดือน ปัจจัยด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ มีโรคประจำตัวมากกว่า 2 โรค การเป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคต่อมลูกมากโต ได้รับยารักษาโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคต่อมลูกมากโต และปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ การมีเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตระดับสูง การสนับสนุนทางสังคมระดับต่ำ และการมีส่วนร่วมในสังคมระดับต่ำ จากการวิเคราะห์พหุสัมพันธ์พบว่าที่เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ได้แก่ อายุมากกว่า 66 ปี ขึ้นไป …


การศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดต่อการจัดกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ภัทราวรรณ พันธ์น้อย Jan 2017

การศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดต่อการจัดกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ภัทราวรรณ พันธ์น้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย จากศูนย์ Cognitive Fitness Center แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผ่านการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ และการคัดกรองโดยเก็บข้อมูลแบบทดสอบ Thai Mental state Examination (TMSE) ที่คะแนน ≥ 24 คะแนน และThe Montreal Cognitive Assessment (MOCA) ฉบับภาษาไทย ที่คะแนน ≤ 24 คะแนน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 20 คน เพื่อเข้าร่วมกลุ่มดนตรีบำบัดร่วมกับการจัดกิจกรรม แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองจำนวน 10 คน จะได้รับดนตรีบำบัดร่วมกับการจัดกิจกรรมควบคู่ไปกับการดูแลรักษาทางการแพทย์แบบปกติเป็นระยะเวลา12 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมจำนวน 10 คน จะได้รับการรักทางการดูแลแพทย์แบบปกติเพียงอย่างเดียว เป็นระยะเวลา12 สัปดาห์เท่ากัน จากนั้นทำการเก็บข้อมูลพื้นฐานทั่วไป และแบบวัดความวิตกกังวลโดยแบบทดสอบ State-Trait Anxiety Inventory (STAI) ใช้สถิติเชิงพรรณา, Non-parametric Wilcoxon signed Ranks test และ Generalized Estimating Equation (GEE) เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงก่อนการทดลอง ระดับความวิตกกังวลของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนการเปลี่ยนแปลงของความวิตกกังวลก่อนการทดลอง (ครั้งที่ 1) และหลังการทดลอง (ครั้งที่ 12) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และผลของเวลาในการใช้ดนตรีบำบัดต่อการจัดกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับดนตรีบำบัดจะมีค่าคะแนนความวิตกกังวล (State) ลดลงเท่ากับ 3.43 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.028) ส่วนจำนวนครั้งในการทดลองไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความเปลี่ยนแปลงของความวิตกกังวล (p = 0.403) และกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับดนตรีบำบัดจะมีค่าคะแนนความวิตกกังวล (Trait) ลดลงเท่ากับ 3.47 คะแนน แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p …


ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษาภายหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, กาญจนา ผิวงาม Jan 2017

ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษาภายหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, กาญจนา ผิวงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Study) โดยศึกษา ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง (Cross Sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิต ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพจิต และ ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัย หลังออกฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู ภายหลังการฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู ประชากรตัวอย่าง (Sample Population) คือ นักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ ม.สวนดุสิต ที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวนทั้งสิ้น 200 คน โดยใช้เครื่องมือได้แก่ 1) แบบสอบถามภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและประถมศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 2) แบบประเมินความพึงพอใจในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Descriptive Statistics, Chi-square test, T-Test และ Multiple Linear Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า1) ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาส่วนใหญ่ มีสุขภาพจิตปกติในด้านความเจ็บป่วยทางกายที่เป็นผลจากภาวะทางจิตใจ ร้อยละ 56 มีสุขภาพจิตปกติในด้านภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 85.5 มีสุขภาพจิตปกติในด้านความวิตกกังวล ร้อยละ 86.5 มีสุขภาพจิตปกติในด้านภาวะทางจิต ร้อยละ 95.5 และมีสุขภาพจิตปกติในด้านการทำหน้าที่ทางสังคม ร้อยละ 84 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตในด้านความเจ็บป่วยทางกายที่เป็นผลมาจากภาวะทางจิตใจ มี 6 ปัจจัย ด้านภาวะซึมเศร้า มี 7 ปัจจัย ด้านความวิตกกังวล มี 3 ปัจจัย ด้านภาวะทางจิต มี 4 ปัจจัย และด้านการทำหน้าที่ทางสังคม มี 1 ปัจจัย 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัย หลังออกฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู ภายหลังการฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู พบว่านักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษา มีความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X= 3.99, S.D. = …


ผลกระทบจากการใช้และความรุนแรงของการใช้สารเมทแอมเฟตามีนของผู้ใช้สารเมทแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบำบัดรักษาสารเสพติด, เกศสุภา จิระการณ์ Jan 2017

ผลกระทบจากการใช้และความรุนแรงของการใช้สารเมทแอมเฟตามีนของผู้ใช้สารเมทแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบำบัดรักษาสารเสพติด, เกศสุภา จิระการณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยภาคตัดขวางเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและความรุนแรงจากการใช้สารเมทแอมเฟตามีน รวมถึงหาความเที่ยงตรงของเครื่องมือวัดผลกระทบจากการใช้สารเสพติด (SOP) ฉบับที่ดัดแปลงภาษาไทย โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้สารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีน ที่เข้ารับการบำบัดรักษาด้วยปัญหาการใช้เมทแอมเฟตามีนที่สถาบันธัญญารักษ์ แบบผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอกที่เข้ารับการบำบัดรักษาไม่เกิน 1 สัปดาห์ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเลือกตามเกณฑ์ (Purposive sampling) จำนวน 106 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือน กรกฎาคม – กันยายน พ.ศ.2560 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานทั่วไป แบบประเมินผลกระทบจากการใช้สารเสพติด (SOP) แบบประเมินความรุนแรงในการใช้สารเสพติด (SDS) แบบสัมภาษณ์ Semi-Structured Assessment for Drug Dependence and Alcoholism (SSADDA) ฉบับภาษาไทย และแบบสัมภาษณ์เพื่อการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square, Fisher's exact test , t-test, One-way ANOV, การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า ผู้ใช้สารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีนส่วนใหญ่ที่เข้ารับการบำบัดมีระดับความรุนแรงของการติดสารอยู่ในระดับที่รุนแรง คิดเป็นร้อยละ 65.1 มีการติดสารเสพติดตามเกณฑ์ DSM-4 คิดเป็นร้อยละ 84.0 มีการใช้แอลกอฮอล์ก่อนเข้ามารับการรักษาคิดเป็นร้อยละ 51.9 ใช้ยาสูบหรือบุหรี่คิดเป็นร้อยละ 88.7 ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความรุนแรงในการติดสารเมทแอมเฟตามีน ได้แก่ การติดแอลกอฮอล์ในชีวิต และโรคที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ซึ่งระดับความรุนแรงของการติดสารมีความสัมพันธ์กับช่วงที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนจัดที่สุดในชีวิต และช่วงที่ใช้สารจัดที่สุดสามารถทำนายการเกิดความคิดฆ่าตัวตายและการติดแอลกอฮอล์ได้ โดยระดับความรุนแรงในการติดสารเมทแอมเฟตามีนมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ และคุณภาพชีวิตโดยรวม


แรงจูงใจในการทำงานและความเครียดจากการทำงานของนักกายภาพบำบัด ในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร, กมลทิพย์ รักวงศ์ภัทร Jan 2017

แรงจูงใจในการทำงานและความเครียดจากการทำงานของนักกายภาพบำบัด ในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร, กมลทิพย์ รักวงศ์ภัทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ เพื่อหาระดับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของแรงจูงใจในการทำงานและความเครียดจากการทำงานของนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร โดยเก็บข้อมูลจากนักกายภาพบำบัดที่ทำงานในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานครที่มีขนาดเตียง 200 เตียงขึ้นไป จำนวน 135 คน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2560 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ผู้เข้าร่วมการศึกษาตอบแบบสอบถาม 4 ชุด ได้แก่ 1)แบบสอบถามส่วนบุคคล 2)แบบสอบถามปัจจัยการทำงาน 3)แบบสอบถามแรงจูงใจในการทำงาน 4)แบบสอบถามความเครียดด้วยตนเอง ของกรมสุขภาพจิต นำเสนอปัจจัยส่วนบุคคล ระดับแรงจูงใจในการทำงาน ระดับความเครียดจากการทำงาน เป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและแรงจูงใจในการทำงาน ความเครียดจากการทำงาน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงาน ความเครียดจากการทำงาน และปัจจัยการทำงาน โดยใช้การทดสอบไคลสแควร์ และวิเคราะห์ความถดถอยลอจิสติก เพื่อหาปัจจัยทำนายแรงจูงใจในการทำงาน และความเครียดจากการทำงานของนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษา พบว่าแรงจูงใจในการทำงานของนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลาง และมีความเครียดจากการทำงานในระดับปกติ และจากการวิเคราะห์ปัจจัยทำนายแรงจูงใจในการทำงานระดับสูง คือ มีความเชี่ยวชาญที่มีใบรับรอง (p < 0.05) และมีปัจจัยการทำงานในระดับดี (p < 0.05) และปัจจัยทำนายความเครียดจากการทำงาน คือ ความมั่นคงในการทำงานในระดับน้อย (p < 0.05) มีบรรยากาศในการทำงานระดับน้อย (P < 0.05) และมีความร่วมมือในระดับต่ำ (p < 0.05) สรุป นักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานครมีแรงจูงใจในการทำงานระดับปานกลาง และแรงจูงใจในการทำงานระดับสูง มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ มีความเชี่ยวชาญที่ได้รับใบรับรอง และมีปัจจัยการทำงานที่ดี ความเครียดจากการทำงานของนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปกติ และปัจจัยของความเครียดจากการทำงาน คือ ความมั่นคงในการทำงานในระดับน้อย บรรยากาศในการทำงานในระดับน้อย และความร่วมมือในระดับต่ำ


ปัญหาสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในหญิงขายบริการ ที่มาขอรับความช่วยเหลือจากศูนย์ธารชีวิต พัทยา, จันธนา จันทร Jan 2017

ปัญหาสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในหญิงขายบริการ ที่มาขอรับความช่วยเหลือจากศูนย์ธารชีวิต พัทยา, จันธนา จันทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุผลของการทำวิจัย : จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าหญิงขายบริการที่เข้ามารับความช่วยเหลือจากศูนย์ธารชีวิต มีปัญหา ทางอารมณ์อย่างน้อย รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอย่างไรก็ดี การศึกษาโดยตรงถึงปัญหาสุขภาพจิตในในหญิงขายบริการยังไม่มีในประเทศไทย วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาถึงปัญหาสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในหญิงขายบริการที่มาขอรับความช่วยเหลือจากศูนย์ธารชีวิต-พัทยา ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยหญิงที่มาขอรับความช่วยเหลือ ณ ศูนย์ธารชีวิต พัทยา จำนวน 222 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งประกอบ ด้วย 1)แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป2)แบบสอบถาม General Heath Questionnaire ฉบับภาษาไทย (Thai GHQ-28) และ 3) แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม (Personal Resource Question, PRQ-85 Part II) วิเคราะห์ข้อมูลใช้ Univariate analysis (ได้แก่ T-test และ Chi-Square) และ Logistic-regression analysis เพื่อทดสอบ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิต ผลการศึกษา : พบความชุกของปัญหาสุขภาพจิต ร้อยละ 9 โดยปัจจัยเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อวิเคราะห์โดยวิธี Logistic regression analysis ได้แก่ ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ > 3 ครั้ง/สัปดาห์ (Adjusted OR = 4.226,95%CI =1.313 - 13.604, p = 0.016) ค่าคะแนนแรงสนับสนุนทางสังคมด้าน ความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด (Adjusted OR = 0.798, 95%CI =0.649 - 0.980, p = 0.031) และ ประวัติโรคทางจิตเวชเดิม (Adjusted OR = 18.852,95%CI =3.533-100.605, p = 0.001). สรุป : การศึกษาครั้งนี้พบความชุกของปัญหาสุขภาพจิตในหญิงขายบริการ …


ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตปริญญาตรีที่ได้รับทุนการศึกษาในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จารุชา บรรเจิดถาวร Jan 2017

ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตปริญญาตรีที่ได้รับทุนการศึกษาในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จารุชา บรรเจิดถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตปริญญาตรีที่ได้รับทุนการศึกษาในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิธีการศึกษา : รูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นิสิตปริญญาตรีที่ได้รับทุนการศึกษาในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 127 ราย โดยใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเอง 4 ชุด ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบประเมินความเครียด, แบบประเมินแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษา : พบว่านิสิตที่ได้รับทุนการศึกษามีความเครียดอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 54.3 ระดับปานกลาง ร้อยละ 35.5 และมีความเครียดในระดับสูงอยู่ที่ร้อยละ 10.2 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตที่ได้รับทุนการศึกษามี 5 ปัจจัย ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร การเห็นคุณค่าในตนเอง หลักสูตรที่ศึกษา ปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน และปัญหาความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว สรุป : นิสิตที่ได้รับทุนการศึกษาส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับต่ำ-ปานกลาง อย่างไรก็ตามมีเพียงร้อยละ 10.2 เท่านั้น ที่มีความเครียดในระดับสูง ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาต่อไป


ผลของกิจกรรมการจําแนกลักษณะของหินแม่น้ำต่อความสามารถในการทํางานของสมอง ด้านการบริหารจัดการในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย ในศูนย์ฝึกสมองโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, จินตพิชญ์ คล้ายจินดา Jan 2017

ผลของกิจกรรมการจําแนกลักษณะของหินแม่น้ำต่อความสามารถในการทํางานของสมอง ด้านการบริหารจัดการในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย ในศูนย์ฝึกสมองโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, จินตพิชญ์ คล้ายจินดา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากศึกษาพบว่ากิจกรรมทางความคิดสามารถป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้อย่างมีนัยสําคัญ และพบว่าการให้ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมได้ออกไปสัมผัสธรรมชาติ สามารถช่วยรักษาไว้ซึ่งทักษะประสาทสัมผัส ทําให้ผ่อนคลายและอารมณ์ดีขึ้นได้ ผู้วิจัยจึงสนใจนําธรรมชาติมาผสมผสานกับการออกแบบกิจกรรมฝึกสมอง โดยคาดหวังว่า นอกจากจะช่วยพัฒนาการทํางานของสมองได้ ยังจะเป็นโอกาสที่ผู้ฝึกจะได้สัมผัสและได้รับการบําบัดจากธรรมชาติไปด้วย เลือกศึกษาผลการทำงานของสมองด้าน Executive Function ในผู้ที่มีภาวะ MCI หลังจากได้ฝึกกิจกรรมการจําแนกลักษณะของหินแม่น้ำ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุ 24 คน จากแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล, แบบทดสอบสภาพสมองของไทย(TMSE), แบบประเมิน The Montreal Cognitive Assessment (MoCA), แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย(TGDS), แบบประเมิน Cambridge Neuropsychological Test Automated Battery (CANTAB), ชุดกิจกรรมฝึกสมองการจําแนกลักษณะของหินแม่น้ำ, แบบวัดความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรม ฝึกกิจกรรมในกลุ่มทดลองเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ แล้วจึงประเมินความสามารถของสมองอีกครั้ง ใช้สถิติเชิงพรรณนาอธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ใช้สถิติ Non-parametric Wilcoxon Signed Ranks test วิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการทดลอง และสถิติ Non-parametric Mann-Whitney test ทดสอบสมมติฐานภายในกลุ่มและวิเคราะห์ค่าความแตกต่างเฉลี่ย (Mean Difference) ของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม พบว่า การฝึกฝนกิจกรรมการจําแนกลักษณะของหินแม่น้ำ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับความสนใจ (Sustained attention)(RVP Mean latency (P=0.065)), (DMS B'' (P=0.076)), (DMS Errors correct color, simultaneous (P=0.073)) และ (DMS Prob error given error (P=0.051)) การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลทำให้ executive function ดีขึ้นได้ และข้อมูลแสดงถึงแนวโน้มที่ดีที่ผู้ฝึกได้รับจากการฝึกกิจกรรม (คะแนนรวมจากกิจกรรม (Total Score) ดีขึ้น (P=0.039) และคะแนนความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไปต่อการออกแบบสีและรูปภาพว่ามีขนาดเหมาะสม (P=0.056))


คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ณ คลินิกโลหิตวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ธัญญาเรศ สถาพร Jan 2017

คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ณ คลินิกโลหิตวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ธัญญาเรศ สถาพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุผลของการทำวิจัย : โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นโรคมะเร็งทางระบบโลหิตวิทยาที่พบได้บ่อยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ผู้ป่วยต้องเผชิญกับภาวะความเจ็บป่วยซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ในปัจจุบันการศึกษาคุณภาพชีวิตเฉพาะในผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในประเทศไทยยังมีอยู่อย่างจำกัด วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ณ คลินิกโลหิตวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการทำวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ณ แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกโลหิตวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2560 ถึง เมษายน พ.ศ.2561เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดคุณภาพชีวิต The Functional Assessment of Cancer Therapy-General Version 4 ฉบับภาษาไทย (FACT -G) 3) แบบสอบถามอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาไทย (Thai HADS) 4) แบบประเมินเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต (1-Year Life Stress Event Questionnaire) 5) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม (Social Support Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตโดยใช้สถิติ chi-square test และ Fisher’s exact test วิเคราะห์ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตโดยใช้สถิติ logistic regression ผลการศึกษา : ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 102 ราย อายุเฉลี่ย 56.22 ±16.12 ปี เป็นเพศหญิง จำวนวน 59 ราย (ร้อยละ 57.8) พบว่าส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง จำนวน 68 ราย (ร้อยละ 66.7) ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต ได้แก่ ระยะเวลาการเจ็บป่วย การอยู่ระหว่างรับการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาการเป็นแผลในช่องปาก หรือปากแห้งคอแห้งหลังได้รับยาเคมีบำบัด …


ภาวะสุขภาพจิตและสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสของหญิงในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ, ธัญญารัตน์ ใจเย็น Jan 2017

ภาวะสุขภาพจิตและสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสของหญิงในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ, ธัญญารัตน์ ใจเย็น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงภาวะสุขภาพจิตและสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสของหญิงในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานหญิงในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องสำอาง ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) จำกัด เขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 148 ราย โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งประกอบด้วย 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2. แบบวัดภาวะสุขภาพจิต(Depression Anxiety Stress Scales (DASS - 21))3. แบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส (The Dyadic Adjustment Scale (DAS)) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 22.0 ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะสุขภาพจิตอยู่ในระดับปกติ ทั้งนี้ พบว่ามีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 35.8 ภาวะวิตกกังวล ร้อยละ 45.6 ความเครียด ร้อยละ 27.2 และพบภาวะสุขภาพจิตร่วมทั้ง 3 ภาวะ ร้อยละ 17.6 ด้านคะแนนสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสอยู่ในระดับปานกลาง(ร้อยละ 89.1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ความสัมพันธ์กับญาติสามี ภาวะวิตกกังวล ได้แก่ การใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความซื่อสัตย์ของสามี และการถูกสามีใช้คำพูดดูถูกเหยียดหยาม และความเครียด ได้แก่ จำนวนชั่วโมงทำงานเฉลี่ยต่อวัน และการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าได้แก่ ความสัมพันธ์กับญาติฝ่ายสามี ปัจจัยทำนายภาวะวิตกกังวล ได้แก่ การใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ความรุนแรงทางวาจาของสามี ปัจจัยทำนายความเครียด ได้แก่ การใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปัจจัยทำนายสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส ได้แก่ อายุ สถานภาพเศรษฐกิจครอบครัว สามีเล่นการพนัน การใช้ความรุนแรงทางวาจา และภาวะซึมเศร้า กล่าวโดยสรุป กว่า 1 ใน 3 ของหญิงในโรงงานอุตสาหกรรมมีภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล และความเครียด ส่วนสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง โดยผลการศึกษาในครั้งนี้เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการและหน่วยบริการส่งเสริมสุขภาพตระหนักถึงความสำคัญในการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตและสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสรวมทั้งให้การช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป


คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่แผนกผู้ป่วยนอกสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, ธิติมา ณรงค์ศักดิ์ Jan 2017

คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่แผนกผู้ป่วยนอกสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, ธิติมา ณรงค์ศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่แผนกผู้ป่วยนอกสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับบริการตรวจรักษา ที่แผนกผู้ป่วยนอกสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 187 ราย โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามประเมินคุณภาพการนอนหลับ แบบสอบถามประเมินอาการซึมเศร้า Beck Depression Inventory II (BDI - II) แบบสอบถามประเมินความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ และแบบสอบถามประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตนด้านสุขวิทยาเกี่ยวกับการนอนหลับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย จำนวน ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์และสถิติการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 44.09 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 72.2 พบความชุกคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ร้อยละ 74.3 ประมาณหนึ่งในสามมีอาการซึมเศร้ารุนแรง ร้อยละ 37.4 และมีพฤติกรรมการปฏิบัติตนด้านสุขวิทยาเกี่ยวกับการนอนหลับระดับต่ำ ร้อยละ 39.6 มีความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับระดับสูง ร้อยละ 66.8 ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ ประวัติการสูบบุหรี่ ประวัติการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน ความเพียงพอของรายได้ การออกกำลังกาย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ความรุนแรงของอาการซึมเศร้า จำนวนยาต้านเศร้าที่ได้รับในปัจจุบัน ความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ พฤติกรรมการปฏิบัติตนด้านสุขวิทยาเกี่ยวกับการนอนหลับ นอกจากนี้พบว่าปัจจัยทำนายคุณภาพการนอนหลับ ได้แก่ ความรุนแรงของอาการซึมเศร้าระดับปานกลางหรือรุนแรง แสงสว่างในห้อง ความเชื่อทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับที่ระดับสูง การดื่มแอลกอฮอล์ และการมีรายได้ไม่เพียงพอ


การศึกษาคุณภาพชีวิตและสมดุลการทำงานในพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, พรรณชนก เดชสิงห์ Jan 2017

การศึกษาคุณภาพชีวิตและสมดุลการทำงานในพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, พรรณชนก เดชสิงห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุผลของการทำวิจัย : จากการศึกษาที่ผ่านมาในประเทศไทย พบว่าวิชาชีพพยาบาลมีอัตราออกจากงานและขาดแคลนบุคลากรตลอดมา จึงมีความสนใจที่จะศึกษาเพื่อค้นหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตและสมดุลการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตและสมดุลการทำงานในพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
วิธีการทำวิจัย : เก็บรวบรวมข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยจำนวน 348 ราย โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งประกอบด้วย 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน 2. แบบสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพชีวิต (WHOQOL-BREF-THAI) 3. แบบสอบถามความพึงพอใจในงาน ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน 4.แบบสอบถามความคิดลาออก โอนย้ายจากงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test และ One-Way ANOVA เพื่อทดสอบปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และใช้ Multiple Linear Regression เพื่อหาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตและสมดุลการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ผลการศึกษา : พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต มี 13 ปัจจัย ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา แผนก/ฝ่าย ตำแหน่ง ระยะเวลาร่วมงานกับโรงพยาบาล จำนวนเวรเฉลี่ยต่อเดือน ความเพียงพอของรายได้ โอกาสเรียนต่อปริญญาโท/เฉพาะทาง จำนวนชั่วโมงการนอนหลับ ความเพียงพอในการนอนหลับ สัดส่วนความสมดุลของชีวิตกับงานในความเป็นจริง ความคิดโอนย้าย และความคิดลาออก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสมดุลการทำงาน มี 6 ปัจจัย ได้แก่ ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางมาทำงาน ความเพียงพอของรายได้ ความเพียงพอในการนอนหลับ การใช้สิทธิ์วันหยุดประจำปี ความคิดโอนย้าย และความคิดลาออก
สรุป : ปัจจัยทำนายที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต คือ สัดส่วนความสมดุลของชีวิตกับงานในความเป็นจริง ความเพียงพอในการนอนหลับ ความคิดโอนย้าย ความเพียงพอของรายได้ โอกาสเรียนต่อปริญญาโท/เฉพาะทาง และความคิดลาออก ปัจจัยทำนายสมดุลการทำงาน คือ ความคิดโอนย้าย ความเพียงพอของรายได้ ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางมาทำงาน และความคิดลาออก
คำสำคัญ : คุณภาพชีวิต, พยาบาลวิชาชีพ, สมดุลการทำงาน


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านครอบครัวกับพฤติกรรมของเด็กออทิสติก กลุ่มที่มีระดับอาการน้อย ในโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์, วัชรพงษ์ ทรัพย์สิทธิกุล Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านครอบครัวกับพฤติกรรมของเด็กออทิสติก กลุ่มที่มีระดับอาการน้อย ในโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์, วัชรพงษ์ ทรัพย์สิทธิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของเด็กออทิสติกกลุ่มที่มีระดับอาการน้อย, เพื่อศึกษาปัจจัยด้านครอบครัวของเด็กออทิสติกกลุ่มที่มีระดับอาการน้อย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านครอบครัวกับพฤติกรรมของเด็กออทิสติกกลุ่มที่มีระดับอาการน้อย ที่มารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ เก็บข้อมูลจากผู้ดูแลหลักของเด็กออทิสติกกลุ่มที่มีระดับอาการน้อยช่วงอายุ 4 - 16 ปี ที่มารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก จำนวน 82 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 5 ส่วน 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2. แบบประเมินความสัมพันธ์ภายในครอบครัว 3. แบบสอบถามการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว 4. แบบวัดทัศนคติของบิดามารดาต่อการดูแลบุตรออทิสติก 5. แบบสอบถามประเมินพฤติกรรมเด็กออทิสติก วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานด้วย Independent sample t- test หรือ One-way ANOVA และวิเคราะห์พหุคูณด้วย Multiple linear regression analysis ผลการวิจัย พบว่า ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 82.9 ครอบครัวปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับดีพอสมควร ร้อยละ 74.4 บิดามารดามีทัศนคติต่อการดูแลบุตรออทิสติกในระดับปานกลาง ร้อยละ 68.3 เด็กมีพฤติกรรมด้านอารมณ์อยู่ในภาวะปกติ ร้อยละ 58.5 ด้านสมาธิภาวะปกติ ร้อยละ 52.4 ด้านความประพฤติภาวะปกติ ร้อยละ 63.4 ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนภาวะมีปัญหา ร้อยละ 65.9 พฤติกรรมเด็กรวม 4 ด้านภาวะปกติ ร้อยละ 46.3 ด้านสัมพันธภาพทางสังคมมีจุดแข็ง ร้อยละ 61.0 จากการวิเคราะห์โดย Stepwise linear regression ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมด้านความประพฤติในทางบวกของเด็กออทิสติกกลุ่มนี้คือ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวที่ดี ส่วนปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมโดยรวมในทางบวกคือ บิดามารดาเป็นผู้ดูแลหลัก และปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมโดยรวมในทางลบคือ การต้องได้รับการรักษาด้วยยา ผลการวิจัยครั้งนี้ สรุปได้ว่า การที่เด็กออทิสติกจะมีปัญหาพฤติกรรมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยทางด้านครอบครัว ผู้ดูแล ปัจจัยจากตัวเด็กออทิสติกและปัจจัยทางด้านการดูแลรักษาทางการแพทย์ ดังนั้นการดูแลหรือจัดการกับปัญหาพฤติกรรมของเด็กออทิสติกจึงควรมีการดูแลรักษาแบบองค์รวมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งกับครอบครัว และตัวเด็กเอง


ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยหญิงที่มารับการรักษา ณ คลินิกมีบุตรยาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, สุธาสินี วิมลนิตย์ Jan 2017

ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยหญิงที่มารับการรักษา ณ คลินิกมีบุตรยาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, สุธาสินี วิมลนิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยหญิงที่มารับการรักษา ณ คลินิกมีบุตรยาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยหญิงที่มารับการรักษา ณ คลินิกมีบุตรยากจำนวน 111 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งประกอบ ด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยของภาวะมีบุตรยาก แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า ของ Beck Depression Inventory - IA (BDI-IA) แบบวัดสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส ของ The Spinner Dyadic Adjustment Scale (DAS) แบบสอบถามความรู้สึกหลากหลายมิติเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางสังคม ของ A revised Thai version of Multidimentional Scale of Perceived Social Support (r-T-MSPSS) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ Univariate analysis (ได้แก่ t-test และ Chi-Square) เพื่อทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า และใช้ Multivariate Analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้หญิงกลุ่มนี้ ผลการศึกษาพบความชุกของภาวะซึมเศร้าอยู่ที่ ร้อยละ 21.6 โดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าเมื่อวิเคราะห์โดยวิธี Multivariate analysis 4 ปัจจัย ได้แก่ ความไม่เพียงพอของรายได้ การมีประวัติแท้งบุตร สาเหตุการมีบุตรยากจากการมีพังผืดในอุ้งเชิงกราน และการมีแรงสนับสนุนทางสังคมระดับต่ำ


ผลกระทบด้านร่างกาย จิตใจและพฤติกรรมของผู้ใช้ใบกระท่อมที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบำบัดรักษาสารเสพติด, สมฤดี เอี่ยมฉลวย Jan 2017

ผลกระทบด้านร่างกาย จิตใจและพฤติกรรมของผู้ใช้ใบกระท่อมที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบำบัดรักษาสารเสพติด, สมฤดี เอี่ยมฉลวย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาและความสำคัญ : กระท่อม (Mitragyna speciosa Korth.) ไม่เพียงแต่ใช้เป็นยารักษาโรคในการรักษาพื้นบ้านของไทย แต่ยังมีการนำมาใช้เป็นสารเสพติดมาเป็นระยะเวลานาน อย่างไรก็ตามกระท่อมถือเป็นสารเสพติดผิดกฎหมายในประเทศไทย วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลกระทบด้านร่างกาย จิตใจและพฤติกรรมของผู้ใช้ใบกระท่อม เพื่อศึกษารูปแบบวิธีการใช้และปัจจัยที่สัมพันธ์กับรูปแบบการใช้ใบกระท่อม เพื่อศึกษาความผิดปกติด้านการใช้ใบกระท่อม วิธีการศึกษา : ผู้ใช้ใบกระท่อมที่มารับบริการที่สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เป็นผู้ที่เคยใช้พืชกระท่อมเป็นส่วนหนึ่งของสารเสพติดในช่วงชีวิตใดก็ได้หรือใน 1 เดือนที่ผ่านมา รวมทั้งสิ้น 106 ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลจำนวน 6 แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Independent Samples t-Test, Chi-square และ Pearson's correlation ผลการศึกษา : พบผู้ใช้กระท่อมในรูปแบบน้ำต้มใบกระท่อมสี่คูณร้อยจำนวนเท่ากับร้อยละ 55.6 ประเภทเคี้ยวใบกระท่อม ร้อยละ 41.7 ผู้ใช้กระท่อมส่วนใหญ่ใช้สารเสพติดอื่น ๆ ร่วมด้วย ถึงแม้ว่าผู้ใช้กระท่อมแบบต้มใช้สารเสพติดอื่นร่วมมากกว่าผู้ใช้กระท่อมแบบเคี้ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001) แต่ผู้ใช้แบบเคี้ยวจะมีอาการปวดศีรษะ อาการข้ออักเสบ คลื่นไส้ ท้องผูก หรืออุจจาระแข็งมากกว่าการใช้แบบอื่นๆอย่างมีนัยสำคัญ สรุปผลการศึกษา : การศึกษานี้พบผู้ใช้กระท่อมส่วนใหญ่ใช้สารเสพติดอื่น ๆ ร่วม และพบอาการข้างเคียงจากการใช้กระท่อมทั้งแบบเคี้ยวและแบบน้ำต้มสี่คูณร้อย


ผลของศิลปะบำบัดต่อการเพิ่มระดับการเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองของอดีตผู้กระทำความผิดในมูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียน, จิรวรรณ แก้วสียงค์ Jan 2017

ผลของศิลปะบำบัดต่อการเพิ่มระดับการเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองของอดีตผู้กระทำความผิดในมูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียน, จิรวรรณ แก้วสียงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของศิลปะบำบัดต่อการเพิ่มระดับการเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองของอดีตผู้กระทำความผิดในมูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียน โดยเปรียบเทียบความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองภายในกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม ระหว่างก่อนและหลังได้รับศิลปะบำบัด และเปรียบเทียบความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 22 คน ถูกแบ่งกลุ่มโดยใช้วิธีการจัดแบ่งกลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มละ 11 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับศิลปะบำบัดจำนวน 10 กิจกรรม เป็นเวลา 10 สัปดาห์ (สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 ½ ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 15 ชั่วโมง) ส่วนกลุ่มควบคุมเข้าร่วมกิจกรรมของมูลนิธิฯ ตามเวลาปกติคือ ใช้เวลาตามอัธยาศัยในการอ่านหนังสือ และซ้อมดนตรี การศึกษานี้ใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิทธิ์ และแบบสอบถามการควบคุมตนเอง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ Fisher’s Exact test ,Wilcoxon signed ranks test และ Mann-Whitney test ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าอดีตผู้กระทำความผิดในกลุ่มทดลองหลังจากได้รับศิลปะบำบัดมีคะแนนเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ และมีคะแนนเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองเพิ่มสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุมพบว่ามีคะแนนเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองเมื่อสิ้นสุดการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองเล็กน้อย แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองเพิ่มสูงขึ้นหลังได้รับศิลปะบำบัด และมีคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองเพิ่มสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับศิลปะบำบัด


ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี, อำพร เนื่องจากนาค Jan 2017

ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี, อำพร เนื่องจากนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุผลของการทำวิจัย : โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขและผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ การศึกษาภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานพบว่ายังมีการศึกษาจำนวนน้อยในประเทศไทย วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี วิธีการทำวิจัย : เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 355 รายที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินอาการวิตกกังวล และอาการซึมเศร้าฉบับภาษาไทย แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบประเมินสภาพและการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ ฟิชเชอร์เอ็กเซ็ท การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 55.7 ปี ร้อยละ 60 เป็นเบาหวานมากกว่า 5 ปี ประมาณร้อยละ 25 มีการใช้สมุนไพร พบความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เท่ากับร้อยละ 20.8 การรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางเท่ากับร้อยละ 84.8 ปัจจัยที่พบความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุมากกว่า 50 ปี ไม่ได้ประกอบอาชีพ มีการใช้ชะเอม สภาพและการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวไม่ค่อยดี สรุป : การศึกษาครั้งนี้พบความชุกของภาวะซึมเศร้าถึง 1 ใน 5 ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และพบปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัวมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ผลการศึกษานี้น่าจะให้แนวทางที่เป็นประโยชน์ในการตระหนักถึงภาวะซึมเศร้าและให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2


สุขภาพจิตและระยะเวลาความสัมพันธ์ของชายรักชาย ณ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย, เอกเทพ ไมเกิ้ล Jan 2017

สุขภาพจิตและระยะเวลาความสัมพันธ์ของชายรักชาย ณ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย, เอกเทพ ไมเกิ้ล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชายรักชายเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเรื่องสุขภาพจิตเนื่องจากสภาพสังคมที่ไม่ยอมรับ, การเหยียดเพศ, แบ่งแยกเรื่องเพศ เกิดเป็นตราบาป การเปิดเผยรสนิยมทางเพศจึงเป็นความกดดันของกลุ่มชายรักชายให้ต้องปิดบังและไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองทางเพศได้ ก่อให้เกิดความเครียดความกดดัน จนอาจเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตได้ จากงานวิจัยในปัจจุบันเกี่ยวกับสุขภาพจิตของชายรักชายยังมีข้อมูลขัดแย้งกัน บางรายงานพบว่าชายรักชายมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่ารักต่างเพศ แต่บางงานวิจัยพบว่าไม่แตกต่างกัน ประเทศไทยมีสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะ แม้จะเปิดกว้างมากขึ้นในเรื่องชายรักชาย แต่ก็มีการกีดกันทางเพศอยู่ นอกจากนี้งานวิจัยด้านสุขภาพจิตของกลุ่มชายรักชายในประเทศไทยยังมีจำกัด งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสุขภาพจิตของชายรักชายว่าเป็นอย่างไรและมีปัจจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อสุขภาพจิต ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมั่นคง พึ่งพาได้เมื่อต้องการจะส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดี แต่งานวิจัยส่วนใหญ่ศึกษาความสัมพันธ์ในกลุ่มรักต่างเพศ จึงยังมีงานวิจัยจำกัดในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชายรักชาย งานวิจัยนี้จึงมีอีกจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของชายรักชายในประเทศไทย ทั้งระยะเวลาความสัมพันธ์ รูปแบบความสัมพันธ์ ทั้งยังวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตและระยะเวลาของความสัมพันธ์ในชายรักชายอีกด้วย งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ผ่านการพิจารณาจริยธรรมแล้วและได้ขอความยินยอมจากผู้เข้าร่วมวิจัย ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบสอบถามความรักสามเหลี่ยมของสเติร์นเบิร์ก, แบบสอบถามสุขภาพทั่วไปและแบบประเมินวัดดัชนีความสุขคนไทยในผู้เข้าร่วมชายรักชาย 106 คนในสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย และวิเคราะห์ผลด้วยสถิติร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, independent samples t - test, one - way ANOVA, Spearman correlation และ multiple linear regression จากการศึกษาพบว่า ชายรักชายมีอายุเฉลี่ย 27.6 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ชายรักชายร้อยละ 87.6 มีคะแนนแบบสอบถามสุขภาพทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปกติ และชายรักชายที่น่าจะมีความผิดปกติทางจิตเวชมีความผิดปกติด้านอาการวิตกกังวล และนอนไม่หลับมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรทั่วไปพบว่าสุขภาพจิตของชายรักชายไม่แตกต่างจากประชากรทั่วไป มีปัจจัยที่สัมพันธ์กับสุขภาพจิตเมื่อวัดด้วยแบบสอบถามสุขภาพทั่วไปคือ สถานภาพสมรสของบิดามารดาและจำนวนแฟนโดยชายรักชายที่เคยมีแฟนมาแล้ว 1-4 คนมีคะแนนที่ได้จากแบบสอบถามสุขภาพทั่วไปมากกว่าชายรักชายที่ไม่เคยมีแฟน และชายรักชายที่มีสถานภาพสมรสของบิดามารดาแบบบิดามารดาอยู่ด้วยกัน และบิดามารดาหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ มีคะแนนมากกว่าชายรักชายที่มีบิดาและ/หรือมารดาเสียชีวิต เรื่องความสัมพันธ์ของชายรักชาย พบว่าระยะเวลาความสัมพันธ์กับคนรักเฉลี่ย 26.5 เดือน รูปแบบความสัมพันธ์ส่วนใหญ่เป็นแบบความรักที่สมบูรณ์แบบ ส่วนปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลาความสัมพันธ์กับคนรักที่ยาวนาน คือ อายุ 28-36 ปีและรายได้ 38,001 - 54,000 บาท/เดือน สรุป ชายรักชายโดยทั่วไปมีสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์ปกติและไม่แตกต่างจากประชากรทั่วไปซึ่งมีความสัมพันธ์กับสถานภาพสมรสของบิดามารดาและจำนวนแฟน และมีระยะเวลาที่คบหากับคนรักเฉลี่ย 26.5 เดือน มีความสัมพันธ์กับอายุและรายได้การศึกษาฉบับนี้ทำให้เข้าใจสุขภาพจิตและความสัมพันธ์ของชายรักชาย อาจเป็นแนวทางศึกษาวิจัยการส่งเสริมสุขภาพจิตในกลุ่มชายรักชายต่อไป


การพัฒนาช่วงความสนใจและสมาธิของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเล่น, โอม สุขสมยศ Jan 2017

การพัฒนาช่วงความสนใจและสมาธิของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเล่น, โอม สุขสมยศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคสมาธิสั้นเป็นภาวะทางจิตเวชเด็กที่พบได้บ่อย เด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1เป็นวัยที่ต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงหลายด้าน และเริ่มเข้าสู่การเรียนเขียนอ่านอย่างแท้จริง สมาธิเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้เป็นอย่างมาก โรงเรียนมีบทบาทสำคัญในการสอน และดูแลเด็ก การใช้เทคนิคการบำบัดด้วยการเล่นมาประยุกต์จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมจึงมีความสำคัญ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมกิจกรรมการเล่นต่อช่วงความสนใจและสมาธิของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ณ โรงเรียนวัดสระแก้ว (รุ่งโรจน์ธนกุลอุปถัมภ์) จังหวัดอ่างทอง จำนวน 20 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกิจกรรมการเล่นที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องร่วมกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ส่วนในกลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมระบายสีภาพมันดาลา (Mandala) ซึ่งครูจะเป็นผู้ประเมินพฤติกรรมด้านสมาธิและความตั้งใจ โดยใช้แบบสำรวจพฤติกรรมเด็ก (TYC) โดยสมทรง สุวรรณเลิศ และวันชัย ไชยสิทธิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติ Mann - Whitney test และ Wilcoxon signed rank testผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนรวมของพฤติกรรมเชิงบวกในชั้นเรียนสูงขึ้น และคะแนนรวมของพฤติกรรมปัญหาด้านสมาธิลดลง แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โปรแกรมกิจกรรมการเล่นมีประโยชน์ในการเพิ่มพฤติกรรมเชิงบวก ช่วงความสนใจและสมาธิในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมในโรงเรียนได้ คำสำคัญ : สมาธิสั้น, เด็กวัยเรียน, การเล่นบำบัด


การรับรู้ความหมายในชีวิตและความเครียดของนิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กนกวรรณ พงสยาภรณ์ Jan 2017

การรับรู้ความหมายในชีวิตและความเครียดของนิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กนกวรรณ พงสยาภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุผลของการทำวิจัย : จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าคนที่มีการรับรู้ความหมายในชีวิตสามารถปรับตัวกับความเครียดได้ดีกว่าคนที่ไม่รู้ความหมายในชีวิต การรับรู้ความหมายในชีวิตของตนจึงมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพและการใช้ความสามารถอันแท้จริงที่บุคคลนั้นมี วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการรับรู้ความหมายในชีวิตและความเครียดของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี วิธีการทำวิจัย : เก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1 - 4 ในคณะครุศาสตร์ คณะจิตวิทยา และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 427 ราย โดยใช้1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2. แบบวัดการรับรู้ความหมายชีวิตฉบับภาษาไทย แปลโดย อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ ประกอบด้วย แบบวัดความมุ่งหวังในชีวิต และ แบบวัดแรงจูงใจค้นหาความหมายในชีวิต 3.แบบทดสอบความเครียดสวนปรุง ( ฉบับปรับปรุง ) โดยนายภควัต วงศ์ไทย 4. แบบสอบถามแหล่งความเครียด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ 1. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา 2. วิเคราะห์ปัจจัยเกี่ยวข้องกับการรับรู้ความหมายชีวิตและระดับความเครียด 3. ค่าปกติวิสัยโดยวิเคราะห์ค่าคะแนนเฉลี่ย ของการรับรู้ความหมายในชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษา : 1.นิสิตส่วนใหญ่มีความเครียดระดับต่ำ(ร้อยละ42.2)ถึงปานกลาง(ร้อยละ38.9) 2. นิสิตที่มีการรับรู้ความหมายในชีวิตระดับสูงมีเป็นจำนวนมากกว่านิสิตที่มีการรับรู้ความหมายในชีวิตระดับต่ำ โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความหมายในชีวิตได้แก่ ความเครียดต่ำ การสามารถเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้อย่างชัดเจน ตารางเรียนในแต่ละสัปดาห์เหมาะสม ไม่มีความขัดแย้งกับคนในครอบครัว พอใจสถานที่พักอาศัย และการมีกลุ่มเพื่อนหรือเพื่อนสนิท สรุป : นิสิตปริญญาตรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ มีการรับรู้ความหมายในชีวิตระดับสูง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนแนวทางการสร้างเสริมการรับรู้ความหมายในชีวิตแก่นิสิตผ่านทางการศึกษาและกิจกรรมต่างๆของมหาวิทยาลัยและให้การช่วยเหลือนิสิตกลุ่มที่มีความเครียดรุนแรงต่อไป


พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร, ฐานิดา ไชยนันทน์ Jan 2017

พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร, ฐานิดา ไชยนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัถตุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 435 คน ในเขตกรุงเทพมหานครที่ศึกษาในปีการศึกษา 2559 สถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้การลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ(Stratified Random Sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยแบบสอบถามสำหรับเด็กและแบบสอบถามสำหรับผู้ดูแลหลัก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยมีพฤติกรรมการใช้สื่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งมีจำนวนระยะเวลาของการใช้อินเทอร์เน็ตต่อสัปดาห์เท่ากับ 12 ชั่วโมง และระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตต่อวันเท่ากับ 2 ชั่วโมง ซึ่งเมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของเด็กกับพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของผู้ดูแลหลัก พบว่าระยะเวลาที่เด็กใช้อินเทอร์เน็ตมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ผู้ดูแลหลักใช้อินเทอร์เน็ต (ทั้งต่อสัปดาห์และต่อวัน),การกำหนดการใช้อินเทอร์เน็ตให้กับเด็ก และระยะเวลาที่ผู้ดูแลหลักกำหนดให้เด็กใช้อินเทอร์เน็ต โดยปัจจัยที่เป็นตัวทำนายพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กคือ การกำหนดการใช้อินเทอร์เน็ตให้กับเด็ก ,ระยะเวลาที่ผู้ดูแลหลักกำหนดให้เด็กใช้อินเทอร์เน็ต และอายุของเด็กสามารถทำนายจำนวนระยะเวลาที่เด็กใช้อินเทอร์เน็ตได้


อิสลามบำบัดสำหรับผู้ติดสารเสพติด, ณัฐนิชา กันซัน Jan 2017

อิสลามบำบัดสำหรับผู้ติดสารเสพติด, ณัฐนิชา กันซัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) โดยมีวิธีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ส่วนบุคคลเชิงลึก (In-depth Interview) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ติดสารเสพติดที่ผ่านการบำบัดแบบอิสลามบำบัด จำนวน 12 คน พี่เลี้ยงที่ปฏิบัติงานในอิสลามบำบัด จำนวน 2 คน ครูใหญ่ประจำอิสลามบำบัด จำนวน 1 คน และผู้ดูแลโครงการอิสลามบำบัด จำนวน 1 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบสโนว์บอลโดยคัดเลือกจากคนที่ผู้ติดสารเสพติดหรือพี่เลี้ยงแนะนำ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ซึ่งมีแนวคำถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองจากการทบทวนทฤษฎี และวรรณกรรมต่างๆ จากนั้นจึงนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบเพื่อปรับปรุงแก้ไข ผลการศึกษาพบว่า อิสลามบำบัดมีแนวคิดและหลักการสำคัญ 4 ประการ ดังนี้ 1) อิสลามบำบัดไม่ได้มุ่งเน้นการบำบัดสารเสพติดแต่มุ่งเน้นการพัฒนาความศรัทธาในศาสนาให้เพิ่มขึ้น เพราะความศรัทธาจะทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้ใช้สารเสพติด 2) การประกอบศาสนกิจจะทำให้ผู้ติดสารเสพติดลืมสารเสพติดได้ 3) การหายจากสารเสพติดไม่ได้มาจากความสามารถของมนุษย์แต่มาจากพระเจ้า และ 4) หลักการในศาสนาอิสลามเป็นหลักการที่สมบูรณ์สามารถแก้ไขทุกปัญหาได้ ผลการศึกษานี้ยังพบว่า อิสลามบำบัดสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อภาวะการติดสารเสพติด 4 ด้าน โดยแต่ละด้านมีปัจจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการติดสารเสพติดดังนี้ 1) ด้านศาสนา ได้แก่ การระลึกถึงพระเจ้า การละหมาด การถือศีลอด การเรียนรู้ศาสนาอิสลาม และการอยู่ในสังคมศาสนาอิสลาม 2) ด้านปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองว่าเป็นคนดีขึ้น การมีมุมมองและการจัดการความทุกข์ดีที่ขึ้น และการมีเป้าหมาย 3) ด้านปัจจัยครอบครัว ได้แก่ การรับรู้ความรักจากพ่อแม่ การตระหนักถึงโทษของสารเสพติดต่อพ่อแม่ และความรับผิดชอบต่อครอบครัว และ 3) ด้านปัจจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในปอเนาะ ได้แก่ การได้รับกำลังใจ คำแนะนำ ความอบอุ่น และการได้พูดคุยปรึกษากับพี่เลี้ยง ผู้ดูแลปอเนาะ และเพื่อนร่วมปอเนาะ


ปัญหาและความคาดหวังในชีวิตของวัยรุ่นตั้งครรภ์, นันทพร ปันต๊ะ Jan 2017

ปัญหาและความคาดหวังในชีวิตของวัยรุ่นตั้งครรภ์, นันทพร ปันต๊ะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาหรือผลกระทบที่ต้องเผชิญและความคาดหวังในชีวิตของวัยรุ่นตั้งครรภ์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ส่วนบุคคลเชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลคือวัยรุ่นตั้งครรภ์จำนวน 13 รายที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ แผนกสูติกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลการวิจัย พบว่าวัยรุ่นตั้งครรภ์มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงดี วัยรุ่นที่กำลังศึกษาอยู่ พบว่ามีความยากลำบากในการบอกผู้ปกครองเนื่องจากกลัวว่าผู้ปกครองจะผิดหวังในตนเอง วัยรุ่นที่มีงานทำแล้ว มีความรู้สึกยินดีต่อการตั้งครรภ์ เนื่องจากตนเองมีรายได้สามารถที่จะเลี้ยงดูตนเองและบุตรได้ ในวัยรุ่นที่กำลังศึกษาอยู่พบว่าได้รับการสนับสนุนให้ได้รับการศึกษาต่ออย่างต่อเนื่องแม้ตั้งครรภ์ ในวัยรุ่นที่ทำงานแล้ว พบว่าได้รับสวัสดิการสังคมจากรัฐบาล โดยสามารถลาคลอดได้เป็นระยะเวลา 90 วันโดยได้รับค่าจ้างเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของเงินเดือนและได้รับเงินสงเคราะห์เมื่อคลอดบุตรเป็นจำนวนเงิน 13,000 บาท วัยรุ่นตั้งครรภ์ 11 จาก 13 รายมีความตั้งใจที่จะกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา โดยแบบปกติมีครอบครัวเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนด้านค่าใช้จ่าย ส่วนในวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่ทำงานประจำ มีความตั้งใจที่จะกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาทางเลือก โดยต้องการศึกษาต่อเนื่องจากต้องการวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้นเพราะเชื่อว่าการมีโอกาสทางการศึกษาจะช่วยทำให้มีความก้าวหน้าทางอาชีพในอนาคต วัยรุ่นตั้งครรภ์จำนวน 7 รายไม่ต้องการความช่วยเหลือใดๆ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวที่ดีอยู่แล้ว แต่ 6 รายมีความต้องการด้านสังคมใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ต้องการความช่วยเหลือด้านการเงิน เป็นเงินช่วยเหลือรายเดือนในการเลี้ยงดูบุตรหลังคลอด (2) ต้องการคำแนะนำและการให้ความรู้ในการเลี้ยงเด็กแรกเกิด (3) ต้องการให้ประกันสังคมหรือเงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตรมีผลบังคับใช้ทันทีหลังคลอดโดยไม่ต้องสำรองเงินของตนเองออกไปก่อน ผลการวิจัยพบว่าวัยรุ่นตั้งครรภ์ในปัจจุบันมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษากับงานวิจัยในอดีต อันเนื่องมาจากในปัจจุบันได้มีพระราชบัญญัติอนามัยเจริญพันธุ์และการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่ส่งเสริมให้วัยรุ่นตั้งครรภ์สามารถศึกษาต่อในโรงเรียนต่อไปได้แม้อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือการได้รับสวัสดิการทางสังคมจากสถานที่ทำงานของตนเอง


ภาวะสุขภาพจิตและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน), ปณิตา บุญพาณิชย์ Jan 2017

ภาวะสุขภาพจิตและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน), ปณิตา บุญพาณิชย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิต ความเหนื่อยล้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพจิตและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งประเภทของตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ทั้งสิ้น 405 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ แบบประเมินภาวะสุขภาพจิต (DASS-21) แบบประเมินความเหนื่อยล้า (R-PFS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ไคสแควร์ ค่าความเสี่ยง และช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 การทดสอบค่าที การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณด้วยแบบจำลองลอจิสติก พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะสุขภาพจิตด้านซึมเศร้าอยู่ในระดับเล็กน้อย (ร้อยละ 16.3) ภาวะสุขภาพจิตด้านวิตกกังวลอยู่ในระดับเล็กน้อย (ร้อยละ 16.8) ภาวะสุขภาพจิตด้านความเครียดอยู่ในระดับเล็กน้อย (ร้อยละ 14.3) มีความเหนื่อยล้าอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60.8) เมื่อวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ความเหนื่อยล้าในระดับปานกลาง (ORadj = 12.18: 95%CI = 3.70 - 40.12), ความเหนื่อยล้าในระดับรุนแรง (ORadj = 20.50: 95%CI = 4.67 - 89.9), ปัญหาการนอนหลับ (ORadj = 1.14: 95%CI = 1.07 - 1.21) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล ได้แก่ ระดับการศึกษา (ORadj = 2.34: 95%CI = 1.25-4.36), ปัญหาสุขภาพ (ORadj = 1.98: 95%CI = 1.14-3.43), การสูบบุหรี่ (ORadj = 2.14: 95%CI = 1.03-4.47), ตำแหน่งที่บริการชั้นธุรกิจเที่ยวบินยุโรป (ORadj = 3.43: …


ความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของมารดาเด็กสมาธิสั้นที่แผนกผู้ป่วยนอก หน่วยจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, มนทิรา แสงฤทธิ์เดช Jan 2017

ความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของมารดาเด็กสมาธิสั้นที่แผนกผู้ป่วยนอก หน่วยจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, มนทิรา แสงฤทธิ์เดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลจากมารดาเด็กสมาธิสั้นที่แผนกผู้ป่วยนอก หน่วยจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 104 ราย โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งประกอบด้วย 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2. แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น 3. แบบวัดความเครียดสวนปรุง 4. แบบวัดพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของมารดาเด็กสมาธิสั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS version 22 เพื่อหาสถิติเชิงพรรณนา คำนวณสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้สถิติ Chi - square, t-test และ One-way ANOVA, Pearson's correlation coefficiency และวิเคราะห์การถดถอย Multiple Logistic Regression Analysis และ Linear Regression Analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายของความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียด ผลการศึกษาพบว่า มารดาเด็กสมาธิสั้นมีระดับความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 51.9 มีพฤติกรรมการเผชิญความเครียดหลักแบบมุ่งจัดการกับปัญหา คิดเป็นร้อยละ 91.3 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งจัดการกับปัญหา ได้แก่ อายุมารดา รายได้ครอบครัวต่อเดือน และความรู้ของมารดาเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งจัดการกับปัญหา ได้แก่ รายได้ครอบครัวต่อเดือน และความรู้ของมารดาเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น


ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ลลนา คันธวัฒน์ Jan 2017

ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ลลนา คันธวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบสื่อมิเดียโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแบบอำพรางฝ่ายเดียว โดยใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียเป็นวิธีการบำบัด มีผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดที่เข้ารับการรักษาที่สถาบันประสาทวิทยา กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 34 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียจํานวน 17 ราย และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการบำบัดตามปกติจํานวน 17 ราย โดยทําการประเมินทั้งก่อนและหลังใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียและเปรียบเทียบผลความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระหว่าง 2 กลุ่มทดลอง โดยใช้แบบประเมินความเครียดของผู้ดูแล แบบประเมินความคาดหวังความสามารถในการดูแล แบบประเมินความภาคภูมิใจในตนเองของผู้ดูแล เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความเครียดของผู้ดูแล คะแนนความคาดหวังความสามารถในการดูแล และคะแนนความภาคภูมิใจในตนเอง ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยมีคะแนนความเครียดลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.01) และมีคะแนนความคาดหวังความสามารถของผู้ดูแลและคะแนนความภาคภูมิใจในตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ทั้งหลังจบการบําบัดทันทีและหลังจบการบําบัด 1 เดือน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียสามารถลดความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยการศึกษาวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางให้กับสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียเพื่อลดความเครียดที่เกิดขึ้นกับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และให้เห็นถึงความสำคัญของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง


พลังสำรองของการรู้คิดของพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง, อมรรัตน์ สุขกุล Jan 2017

พลังสำรองของการรู้คิดของพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง, อมรรัตน์ สุขกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุผลของการทำวิจัย : เนื่องด้วยพนักงานเกษียณมีอายุตามช่วงวัยที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสี่ยง ด้านความบกพร่องของการรู้คิด สิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยปกป้อง คือ พลังสำรองของการรู้คิด ซึ่งการมีพลังสำรองของการรู้คิดในระดับสูงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเสื่อม ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาพลังสำรองของการรู้คิดในผู้สูงอายุไทย วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพลังสำรองของการรู้คิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 100 ราย มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มีค่าคะแนน TMSE มากกว่า 23 คะแนน และค่าคะแนน TGDS น้อยกว่า 13 คะแนน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป แบบสอบถามพลังสำรองของการรู้คิด (Cognitive Reserve Index questionnaire : CRIq) แบบประเมินภาวะสมองของคนไทย Thai Mental state Examination (TMSE) แบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุของไทย (Thai Geriatric Depression Scale : TGDS) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living Index) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันดัชนีจุฬาเอดีแอล (The Chula Activities of Daily Living Index) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS version 22 เพื่อหาสถิติเชิงพรรณนา คำนวณสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์การถดถอย Linear Regression Analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายของพลังสำรองของการรู้คิดและด้านกิจกรรมยามว่าง ผลการศึกษา : พบว่าพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวงมีพลังสำรองของการรู้คิดและกิจกรรมยามว่างอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 60.0 และ 44.0 ตามลำดับ ปัจจัยทำนายพลังสำรองของการรู้คิด ได้แก่ รายได้ก่อนเกษียณอายุ และคะแนนของแบบทดสอบ TMSE …