Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Specialties

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2018

Articles 1 - 10 of 10

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

The Pharmacokinetic Model Of 18f-Fdopa In Pet Brain Imaging For Early Parkinson’S Disease, Wirunpatch Buratachwatanasiri Jan 2018

The Pharmacokinetic Model Of 18f-Fdopa In Pet Brain Imaging For Early Parkinson’S Disease, Wirunpatch Buratachwatanasiri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Parkinson’s disease (PD) symptom usually appears when over half of all dopaminergic neurons have died. Early detection and treatment approach are; therefore, very important. The 18F-FDOPA PET scan is extensively examined to differentiate the normal and pathological dopamine metabolism in the human brain. The purpose of this study was to investigate the transfer rate constants of 18F-FDOPA in PET brain imaging based on compartmental model in early Parkinson’s disease. The retrospective data from five early PD patients who underwent 18F-FDOPA PET brain scan at King Chulalongkorn Memorial Hospital (KCMH) were collected. After 18F-FDOPA was administered intravenously, PET images were acquired …


Dosimetric Comparison Between Using Daily Cone Beam Ct And Planning Ct In Volumetric Modulated Arc Therapy Technique For Prostate Cancer Therapy, Julaluck Chanayota Jan 2018

Dosimetric Comparison Between Using Daily Cone Beam Ct And Planning Ct In Volumetric Modulated Arc Therapy Technique For Prostate Cancer Therapy, Julaluck Chanayota

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The variations of shape and size of organs inside, especially bladder and rectum, in prostate cancer patient are mainly factors of external beam radiation therapy that may impact to disease control and normal tissue toxicity. The purpose of this study was to investigate the dosimetric comparison between using daily CBCT and planning CT in Volumetric modulated arc therapy (VMAT) technique for prostate cancer therapy. The HU and electron density between CBCT and planning CT were verified by using Catphan® 600 phantom. Treatment planning system was verified by dose distribution comparison between plans on CBCT and planning CT images of Anthropomorphic …


ผลการตอบสนองของเทคนิคการฟื้นฟูสมรรถภาพกายแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างเทคนิคหะฐะโยคะกับเทคนิคฟีฟ่า 11+ ภายหลังการออกกำลังกายส่วนขาด้วยระดับความหนักสูงสุดในนักกีฬาฟุตบอลชาย, พรรัตน์ จันทรังษี Jan 2018

ผลการตอบสนองของเทคนิคการฟื้นฟูสมรรถภาพกายแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างเทคนิคหะฐะโยคะกับเทคนิคฟีฟ่า 11+ ภายหลังการออกกำลังกายส่วนขาด้วยระดับความหนักสูงสุดในนักกีฬาฟุตบอลชาย, พรรัตน์ จันทรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของเทคนิคการฟื้นฟูสมรรถภาพกายแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างเทคนิคหะฐะโยคะกับเทคนิคฟีฟ่า 11+ และเทคนิคพื้นฐานภายหลังการออกกำลังกายส่วนขาด้วยระดับความหนักสูงสุดในนักกีฬาฟุตบอลชาย โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครนักฟุตบอลเพศชาย อายุ 18-29 ปี ที่มีระดับการแข่งขันอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยหรือสโมสรฟุตบอลต่างๆ จำนวน 59 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเทคนิคพื้นฐาน (n=20) กลุ่มหะฐะโยคะ (n=20) และกลุ่มฟีฟ่า 11+ (n=19) กำหนดให้อาสาสมัครทุกคนได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายกระตุ้นการล้าของขาด้วยการปั่นจักรยาน Wingate ที่ความหนัก 7.5% ของน้ำหนักตัว จำนวน 3 รอบ หลังจากนั้นจะแบ่งกลุ่มเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นระยะเวลา 20 นาที ซึ่งจะได้รับการทดสอบสมรรถภาพทุกๆ 5 นาที ได้แก่ อัตราการเต้นของชีพจร ระดับความล้าของกล้ามเนื้อ ค่าแลคเตทในเลือด ค่าการกระโดดสูงสุดและค่าความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง พบว่าผลการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนออกกำลังกาย กลุ่มหะฐะโยคะ ค่าการกระโดดสูงสุดมีค่าเพิ่มมากขึ้น (p<0.01) และค่าความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังมีค่าเพิ่มมากขึ้น (p<0.01) อีกทั้งไม่พบความแตกต่างของอัตราการเต้นของชีพจร ระดับความล้าของกล้ามเนื้อและค่าแลคเตทในเลือด จากการวิจัยสรุปได้ว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพกายแบบมีกิจจกรรมการเคลื่อนไหวด้วยเทคนิคหะฐะโยคะภายหลังการออกกำลังกายส่วนขาด้วยระดับความหนักสูงสุด สามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายในด้านความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อในนักกีฬา ในแง่ของการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถใช้ระหว่างพักครึ่งการแข่งขันที่มีเวลาอย่างจำกัดเพื่อให้สมรรถภาพทางกายของนักกีฬาพร้อมต่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป


The Measurement Of Transverse Relaxation Time (T2) Using Histogram From Roi Setting In Muscle Activity Study At 1.5 Tesla Mri, Kannikar Kanyakham Jan 2018

The Measurement Of Transverse Relaxation Time (T2) Using Histogram From Roi Setting In Muscle Activity Study At 1.5 Tesla Mri, Kannikar Kanyakham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Muscle functional MRI (mfMRI) is the method to evaluate the muscle activity before and immediately after the muscle exercise by the magnetic resonance images. Exercise of skeletal muscles enhances image contrast in T2-weighted magnetic resonance (MR) images. In previous studies, the exercised physiology used multiple-spin-echo (MSE) sequences for calculating transverse relaxation time (T2) with several small regions of interest (ROI) within the target tissue. Such a method may not represent all properties of the target tissue. The purpose of this study is to measure T2 in rest and exercise muscle at 1.5 Tesla MRI using average mode values in histogram …


Eye Lens Dose Measurement In Patients During Brain Arteriovenous Malformation Interventional Neuro-Radiology Procedure, Rasalin Thana Jan 2018

Eye Lens Dose Measurement In Patients During Brain Arteriovenous Malformation Interventional Neuro-Radiology Procedure, Rasalin Thana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Brain arteriovenous malformation (AVM) interventional neuroradiology (INR) is a complicated procedure which the patients may receive the high radiation dose exceeding the threshold level for detectable eye lens opacities and cataracts (ICRP, 2012). The objectives of this study are to measure the patient eye lens dose using optically stimulated luminescence dosimeter, OSLD, during AVM INR procedure at Interventional Radiology Unit, Department of Radiology, King Chulalongkorn Memorial Hospital (KCMH) and to study the factors affecting the patient eye lens dose. NanoDot OSLDs were attached on the transparent radiation thin film eyewear and closed to the patient eyelids during the procedure. Philips …


Investigation Of Parameters For Metallic Artifact Reduction Using 3-D Space In Mr Lumbar Spine At 1.5 Tesla: A Phantom Study, Thanatchaya Lowong Jan 2018

Investigation Of Parameters For Metallic Artifact Reduction Using 3-D Space In Mr Lumbar Spine At 1.5 Tesla: A Phantom Study, Thanatchaya Lowong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Metallic artifact reduction in magnetic resonance imaging (MRI) has increasingly interested especially metal implant postoperative in lumbar spine. Recently, the new pulse sequence based on true isotropic 3D voxel with high resolution namely Sampling Perfection with Application Optimized Contrasts using Different Flip Angle Evolutions (SPACE) was introduced. This study aimed to determine the appropriate 3D T2-SPACE parameters for reducing the metallic artifact in MR lumbar spine 1.5 Tesla. Cylindrical phantom filled with 3.3 g/L, NiCl2-6H2O and 2.4 g/L NaCl solution, and two commonly used metal implants (stainless steel and titanium) for lumbar spine were acquired using turbo spin echo (TSE) …


ผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพกต่อระยะเวลาที่ใช้ในการทำให้เกิดความมั่นคง ขณะทำการกระโดดลงน้ำหนักขาเดียว ในข้อเข่าของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมสร้างเอ็นไขว้หน้า, อรวรรณ ใจหาญ Jan 2018

ผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพกต่อระยะเวลาที่ใช้ในการทำให้เกิดความมั่นคง ขณะทำการกระโดดลงน้ำหนักขาเดียว ในข้อเข่าของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมสร้างเอ็นไขว้หน้า, อรวรรณ ใจหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพกต่อระยะเวลาที่ใช้ในการทำให้เกิดความมั่นคงขณะทำการกระโดดลงน้ำหนักขาเดียว และประเมินการทำงานของข้อเข่าก่อนและหลังจากการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพก โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครที่มีประวัติการผ่าตัดซ่อมสร้างเอ็นไขว้หน้าและสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้ แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มออกกำลังกาย (n=18) และกลุ่มควบคุม (n=18) กำหนดระยะเวลาของการออกกำลังกายเท่ากับ 6 สัปดาห์ ประกอบด้วยการออกกำลังกายทั้งหมด 5 ท่าทาง การทดสอบระยะเวลาที่ใช้ในการเกิดความมั่นคงของข้อเข่า คำนวณโดยใช้ค่าแรงกระทำจากพื้น (GRFs) ในขณะที่การทำงานของข้อเข่าจะใช้แบบประเมิน IKDC และประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพกและกล้ามเนื้อขาด้วยเครื่องทดสอบไอโซไคเนติก กำหนดความเร็วเชิงมุมเท่ากับ 60 องศาต่อวินาที ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับการออกกำลังกาย ใช้ระยะเวลาในการเกิดความมั่นคงหลังจากกระโดดลงน้ำหนักขาเดียวน้อยกว่า (กลุ่มควบคุม 1.67±0.5: กลุ่มออกกำลังกาย 1.22±0.49 วินาที, P=0.01) และมีค่าคะแนนการประเมินการทำงานของข้อเข่าที่เพิ่มขึ้น (กลุ่มควบคุม 77±14.14: กลุ่มออกกำลังกาย 88±8.69 คะแนน, P<0.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพกและกล้ามเนื้อขา มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายหลังจากการออกกำลังกาย จากการวิจัยจึงสรุปได้ว่าการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพกเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการวางแผนและออกแบบการฟื้นฟูการทำงานของข้อเข่า ในกลุ่มอาสาสมัครที่มีประวัติการผ่าตัดเปลี่ยนซ่อมเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ผลการเปลี่ยนแปลงของค่าคะแนนอาการปวดเข่าลูกสะบ้าและค่าผลลัพธ์การทำงานของข้อต่อลูกสะบ้าหลังได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านในนักวิ่งสมัครเล่นเพศชายและเพศหญิงที่มีอาการปวดเข่าลูกสะบ้า, กิตตินัฐ นวลใย Jan 2018

ผลการเปลี่ยนแปลงของค่าคะแนนอาการปวดเข่าลูกสะบ้าและค่าผลลัพธ์การทำงานของข้อต่อลูกสะบ้าหลังได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านในนักวิ่งสมัครเล่นเพศชายและเพศหญิงที่มีอาการปวดเข่าลูกสะบ้า, กิตตินัฐ นวลใย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของค่าคะแนนอาการปวดเข่าลูกสะบ้า (Kujala Score), Pain Scale, ค่า Single Leg Hop Test (SLHT), ค่า Step Down Test (SDT) และค่าอัตราส่วนแบบทำงานของความแข็งแรงกล้ามเนื้อเหยียดเข่าต่อกล้ามเนื้องอเข่า (Functional Qecc/Hcon ratio) หลังได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้าน 24 สัปดาห์ ในนักวิ่งสมัครเล่นเพศชายและเพศหญิงที่มีอาการปวดเข่าลูกสะบ้า จำนวน 59 คน เป็นเพศชาย 30 คน เพศหญิง 29 คน วัดค่า Kujala Score, Pain Scale, SLHT, SDT และค่า Functional Qecc/Hcon ratio ก่อนเริ่มต้นการออกกำลังกาย (T0) ครบ 8 สัปดาห์ (T8) ครบ 16 สัปดาห์ (T16) และเมื่อสิ้นสุด 24 สัปดาห์ (T24) ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมดมีค่า Kujala Score เพิ่มขึ้น จากที่ T0 มีค่า 78.95 ± 9.42 และที่ T24 มีค่าเป็น 99.50 ± 0.82, ค่า Pain Scale ที่ T0 มีค่า 5.61±1.43 ที่ T24 มีค่า 0.03±0.18, ค่า SLHT และค่า SDT มีค่าผลลัพธ์เปลี่ยนแปลงดีขึ้น ค่า Functional Qecc/Hcon ratio ที่ T0 มีค่า 1.34 ± …


ผลของการฝึกโปรแกรมการอบอุ่นร่างกายฟีฟ่าอีเลเว่นพลัส (Fifa 11+) ที่มีต่ออัตราส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าต่อกล้ามเนื้อเหยียดเข่าและอุบัติการณ์การบาดเจ็บบริเวณรยางค์ส่วนล่างในนักกีฬาฟุตซอลหญิงไทย, ณัฎฐินี ชีช้าง Jan 2018

ผลของการฝึกโปรแกรมการอบอุ่นร่างกายฟีฟ่าอีเลเว่นพลัส (Fifa 11+) ที่มีต่ออัตราส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าต่อกล้ามเนื้อเหยียดเข่าและอุบัติการณ์การบาดเจ็บบริเวณรยางค์ส่วนล่างในนักกีฬาฟุตซอลหญิงไทย, ณัฎฐินี ชีช้าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการอบอุ่นร่างกายฟีฟ่าอีเลเว่นพลัส (FIFA11+) ที่มีผลต่ออัตราส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าต่อกล้ามเนื้อเหยียดเข่า และศึกษาอุบัติการณ์การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับการฝึกโปรแกรมในนักฟุตซอลหญิงไทย โดยผู้เข้าร่วมงานวิจัยเป็นนักฟุตซอลหญิงไทย อายุ 18-30 ปี แบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 2 กลุ่มแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มละ 14 คน โดยกลุ่มทดลองเป็นนักฟุตซอลหญิงทีมชาติไทยได้รับการฝึกโปรแกรม FIFA 11+ 3 วันต่อสัปดาห์ กลุ่มควบคุมทำการอบอุ่นร่างกายแบบอยู่กับที่ (Static stretching) เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ มีการประเมินส่วนประกอบภายในร่างกาย การทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา (Isokinetic test) ความคล่องแคล่วว่องไว (Agility T-test) และการแกว่งของร่างกายขณะหยุดนิ่ง (The Footwork Pro balance test) พบว่ากลุ่มที่ได้รับการฝึก FIFA11+ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนี้ มีการเพิ่มขึ้นของค่ามวลกล้ามเนื้อและการลดลงของค่าไขมันทั้งหมด อัตราส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าต่อกล้ามเนื้อเหยียดเข่าขาข้างถนัดเพิ่มขึ้น การแกว่งของร่างกายที่ลดลงจากการทดสอบความสามารถในการทรงตัวของขาแต่ละข้างขณะหยุดนิ่งทั้งเปิดตาและปิดตา มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มของค่าความคล่องแคล่วว่องไว อุบัติการณ์การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นทั้งหมด 168.15 ครั้งต่อ 1,000 ชั่วโมงของการมีส่วนร่วมในการฝึกซ้อมและแข่งขัน ตำแหน่งของการบาดเจ็บที่พบมากที่สุด คือ ข้อเท้า 18.48% ข้อเข่า 18.48 % และกล้ามเนื้อต้นขา 17.7% เป็นการบาดเจ็บเอ็นข้อต่อที่เชื่อมระหว่างกระดูกอักเสบ การบาดเจ็บขาหนีบ และการฉีกขาดของกล้ามเนื้อต้นขา สรุปผลการฝึกโปรแกรม FIFA11+ สามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักกีฬา ซึ่งช่วยลดการบาดเจ็บบริเวณรยางค์ส่วนล่างในนักกีฬาฟุตซอลหญิงไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งลดอุบัติการณ์การบาดเจ็บของข้อเท้าและข้อเข่าระดับรุนแรงได้


การศึกษาผลของการฝึกเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องต่ออัตราการตอบสนองในการหดตัวขณะที่กล้ามเนื้อเหยียดยาวออกของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเหยียดหลังและการเปลี่ยนแปลงมุมการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับเอวในอาสาสมัครที่มีอาการปวดเอว, ปรารถนา เนมีย์ Jan 2018

การศึกษาผลของการฝึกเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องต่ออัตราการตอบสนองในการหดตัวขณะที่กล้ามเนื้อเหยียดยาวออกของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเหยียดหลังและการเปลี่ยนแปลงมุมการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับเอวในอาสาสมัครที่มีอาการปวดเอว, ปรารถนา เนมีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยโดยการทดลองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องต่ออัตราการตอบสนองของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเหยียดหลังขณะยืนก้มลำตัวในอาสาสมัครที่มีอาการปวดเอวที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี จำนวน 44 คน โดยถูกสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง (N=22) และกลุ่มควบคุม (N=22) ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายจำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ สำหรับกลุ่มควบคุมได้รับคู่มือเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ผลการศึกษาพบว่าหลังจากการทดลองกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกาย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างก่อนและหลังการทดลอง ของเปอร์เซ็นต์ของอัตราการตอบสนองของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเหยียดหลังเท่ากับ 42.52±25.32 และ 29.08±14.21 ตามลำดับ (P=0.015) มุมการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับเอวเท่ากับ 44.95±9.78 และ 37.28±8.66 องศา (P=0.017) มุมการเคลื่อนของข้อสะโพกเท่ากับ 42.17±17.62 และ 54.81±19.26 องศา (P=0.001) ค่าดัชนีชี้วัดระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเท่ากับ 16.89±2.16 และ 3.91±1.06 (P<0.05) และระดับความปวดระหว่างทำกิจกรรม 5.32±1.67 และ 2.26±1.76 (P<0.05) สำหรับกลุ่มควบคุมดังนั้นผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการฝึกเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องส่งผลต่อการลดลงของอัตราการตอบสนองของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเหยียดหลังขณะก้มลำตัวในระยะสุดท้าย มีองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับเอวลดลงและข้อสะโพกเพิ่มขึ้น การจำกัดการใช้ชีวิตประจำวันเนื่องจากอาการปวดน้อยลงและระดับปวดบริเวณเอวลดลง โดยโปรแกรมการออกกำลังกายนี้สามารถใช้เป็นทางเลือกในการรักษาและให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเอว