Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Sciences

2019

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 86

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของการฝึกออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลางต่อการออกซิเดชันของไขมันในขณะพักฟื้นหลังออกกำลังกายในอุณหภูมิร้อนและเย็นของหญิงอ้วน, ปริมล แก้วผลึก Jan 2019

ผลของการฝึกออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลางต่อการออกซิเดชันของไขมันในขณะพักฟื้นหลังออกกำลังกายในอุณหภูมิร้อนและเย็นของหญิงอ้วน, ปริมล แก้วผลึก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกกำลังกายเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดไขมันและน้ำหนักสำหรับคนอ้วน การเพิ่มการออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้นภายหลังเสร็จสิ้นการออกกำลังกายเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และมีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับอุณหภูมิแวดล้อมที่ส่งผลต่อการออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้นภายหลังการออกกำลังกายเพียงหนึ่งครั้งในหญิงอ้วน แต่ยังไม่มีการศึกษาในหญิงอ้วนที่มีการฝึกออกกำลังกาย งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาในเพศหญิงที่มีภาวะอ้วนจำนวน 16 คน อายุ 18-50 ปี มีดัชนีมวลกาย 27.5-40 กิโลกรัมต่อเมตร2 มีประจำเดือนปกติ โดยทำการศึกษาในช่วง follicular phase ของประจำเดือนเท่านั้น ผู้เข้าร่วมวิจัยควบคุมอาหารเป็นเวลา 1 เดือน และเข้าโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายบนลู่วิ่งสายพานที่ความหนักระดับปานกลาง (50-60% heart rate reserve (HRR) ระยะเวลา 30-60 นาที) เป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นทำการทดสอบการออกกำลังกาย 2 ครั้ง ที่ความหนัก 60%HRR เวลา 60 นาที และพักฟื้นนาน 60 นาที ในอุณหภูมิร้อน (HT; 31-32°C) ครั้งหนึ่ง และเย็น (CT; 22-23°C) อีกครั้งหนึ่ง ตามลำดับที่สุ่มไว้ มีการประเมินการออกซิเดชันของซับสเตรท และการใช้พลังงานรวมตลอดการทดสอบ ผลการศึกษาพบว่าขณะพักฟื้นในที่เย็นมีการออกซิเดชันของไขมันสูงกว่าในที่ร้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (CT; 56.0 ± 24.6 mg.kg-1.h-1 vs. HT; 39.7 ± 27.5 mg.kg-1.h-1, p < 0.001) และขณะพักฟื้นในที่ร้อนมีการออกซิเดชันของคาร์โบไฮเดรทมากกว่าในที่เย็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (HT; 104.0 ± 46.9 mg.kg-1.h-1 vs. CT; 64.6 ± 40.5 mg.kg-1.h-1, p < 0.001) ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างของการใช้พลังงานรวมขณะพักฟื้นในทั้งสองอุณหภูมิ (HT; 70.5 ± 19.6 kcal.h-1 vs. CT; 71.3 ± 13.7 kcal.h-1, p = 0.846) สรุปว่าปริมาณการออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้นในอุณหภูมิเย็นมากกว่าในอุณหภูมิร้อน ดังนั้นการพักฟื้นในอุณหภูมิเย็นภายหลังการฝึกออกกำลังกายในระดับปานกลาง จึงควรเป็นทางเลือกที่ดีในการลดไขมันและน้ำหนักสำหรับคนอ้วน


การเปรียบเทียบการเกิดภาวะเอียงของกระดูกเชิงกรานขณะวิ่งที่ระดับความหนักปานกลางในกลุ่มนักวิ่งมือใหม่และนักวิ่งสันทนาการเพศหญิง, หทัยภัทร ทิพยุทธ Jan 2019

การเปรียบเทียบการเกิดภาวะเอียงของกระดูกเชิงกรานขณะวิ่งที่ระดับความหนักปานกลางในกลุ่มนักวิ่งมือใหม่และนักวิ่งสันทนาการเพศหญิง, หทัยภัทร ทิพยุทธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการวิ่งที่ระดับความหนักปานกลางต่อระยะเวลาการเกิดภาวะเอียงของกระดูกเชิงกราน (pelvic drop) ในนักวิ่งมือใหม่ และนักวิ่งสันทนาการเพศหญิง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแนวการเอียงของกระดูกเชิงกราน (pelvic alignment)กับอัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate; HR), การใช้ออกซิเจน (VO2 uptake), ค่าความรู้สึกเหนื่อย (Rating of Perceived Exertion; RPE), ค่าความรู้สึกล้าของขา (Rating of Perceived Exertion for legs; RPElegs) และความล้าของกล้ามเนื้อ Gluteus medius และ Gluteus maximus กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้อายุระหว่าง 18 - 35 ปี เป็นนักวิ่งมือใหม่ (ประสบการณ์น้อยกว่า 1 ปี) 27 คน และนักวิ่งสันทนาการ (ประสบการณ์ 2 - 4 ปี) 27 คน ซึ่งทั้งสองกลุ่มได้รับการทดสอบประสิทธิภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2max) และวิ่งบนลู่วิ่ง 30 นาที ที่ระดับความหนักปานกลางที่อัตราเร็วที่เลือกเอง (นักวิ่งมือใหม่; 5.87 ± 0.62 กม./ชม. vs. นักวิ่งสันทนาการเพศหญิง; 6.44 ± 0.58 กม./ชม.) โดยอยู่ในช่วงอัตราการเต้นหัวใจที่ 40 - 59% ของอัตราการเต้นหัวใจสำรองสูงสุด (heart rate reserve; HRR) ขณะทดสอบบนลู่วิ่ง 30 นาที นักวิ่งทั้งสองกลุ่มจะถูกบันทึกค่าอัตราการเต้นของหัวใจ, การใช้ออกซิเจน, ค่าความรู้สึกเหนื่อย, ค่าความรู้สึกล้าของขา และวัดการทำงานของกล้ามเนื้อ (muscle activity) จากสัญญาณไฟฟ้า (electromyography; EMG) ที่กล้ามเนื้อ Gluteus medius และ Gluteus maximus ทุก ๆ …


การตรวจทางอณูชีววิทยาของเชื้อลิชมาเนียและทริพาโนโซมในจิ้งจกจากแหล่งระบาดของโรคลิชมาเนียในภาคใต้ของประเทศไทย, ประพิมพร ตุ่นทอง Jan 2019

การตรวจทางอณูชีววิทยาของเชื้อลิชมาเนียและทริพาโนโซมในจิ้งจกจากแหล่งระบาดของโรคลิชมาเนียในภาคใต้ของประเทศไทย, ประพิมพร ตุ่นทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จิ้งจกเป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กที่จัดอยู่ในสกุล Hemidactylus สามารถพบได้ในที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ได้มีการรายงานว่าจิ้งจกสามารถเป็นแหล่งกักเก็บโรคได้ เช่น แบคทีเรีย และโปรโตซัว สำหรับในประเทศไทยเชื้อ Leishmania spp. และ Trypanosoma spp. มีการติดต่อสู่คนและสัตว์โดยการกัดของริ้นฝอยทรายเพศเมีย อย่างไรก็ตามข้อมูลในสัตว์ที่เป็นแหล่งกักเก็บโรคของเชื้อโปรโตซัวดังกล่าวในประเทศไทยยังมีอยู่อย่างจำกัด ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาเชื้อ Leishmania และ Trypanosoma DNA ในจิ้งจกที่เก็บจากบ้านของผู้ป่วย leishmaniasis ในภาคใต้ของประเทศไทย จากตัวอย่างจำนวน 57 ตัวอย่างซึ่งได้จากจิ้งจกทั้งหมด 19 ตัว ประกอบด้วยตับ ม้าม และหัวใจ ตัวอย่างทั้งหมดถูกนำมาใช้ในการตรวจหา DNA ของเชื้อ Leishmania spp. และ Trypanosoma spp. โดยเทคนิค Polymerase Chain Reaction (PCR) จากตำแหน่งยีน ITS1 และ SSU rRNA ตามลำดับ โดยผลการทดลองพบว่า มี 15 ตัวอย่างที่ตรวจพบเชื้อ Trypanosoma spp. ประกอบไปด้วย ตับ 4 ตัวอย่าง ม้าม 5 ตัวอย่าง และหัวใจ 6 ตัวอย่างจากตัวอย่างจิ้งจกทั้งหมด 9 ตัว แต่ไม่สามารถตรวจพบเชื้อ Leishmania spp. ในการศึกษาครั้งนี้ จากผลแผนภูมิวิวัฒนาการที่ตำแหน่งยีน ITS1 แสดงให้เห็นว่า เชื้อ Trypanosoma spp. จัดอยู่ใน An04/Frog1 ของกลุ่ม Anura clade และผลแผนภูมิวิวัฒนาการของจิ้งจกที่ตำแหน่งยีน cytb แสดงให้เห็นว่าจิ้งจกทั้งหมดในการศึกษาครั้งนี้มีความเหมือนกับจิ้งจกสายพันธุ์ Hemidactylus platyurus ที่จัดอยู่ในกลุ่ม tropical asian clade โดยการศึกษานี้เป็นการตรวจพบเชื้อ Trypanosoma spp.ในจิ้งจกเป็นครั้งแรก ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าจิ้งจกอาจมีศักยภาพเป็นแหล่งเก็บโรคของเชื้อ Trypanosoma spp. นอกจากนี้การศึกษาอาจเป็นประโยขน์ในการป้องกันและควบคุมโรค Trypanosomiasis …


การเสริมผลิตภัณฑ์จากพืชเพื่อชะลอความเสื่อมของไตจากโรคเบาหวานในหนู, วิรินทร์ บวรสมสฤษดิ์ Jan 2019

การเสริมผลิตภัณฑ์จากพืชเพื่อชะลอความเสื่อมของไตจากโรคเบาหวานในหนู, วิรินทร์ บวรสมสฤษดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus, DM) เป็นภาวะผิดปกติที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ จนนำไปสู่อาการแทรกซ้อนต่าง ๆ อาทิ โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย และโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic fatty liver disease, NAFLD) เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะได้รับการแนะนำให้บริโภคอาหารในแต่ละมื้อลดลง และเพิ่มมื้ออาหารว่างเป็นอาหารที่มีค่าดัชนีอาหารต่ำ เป็นที่ทราบกันดีว่าพืชในตระกูลถั่วและงามีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ การศึกษาในพืชตระกูลถั่วพบว่าสามารถป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูงรวมถึงบรรเทาภาวะโรคเบาหวานได้ และยังมีการศึกษาที่พบว่างา (Sesame) ช่วยลดคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ในเลือด นอกจากนี้ถั่วเขียวทอดและงาคั่วเป็นหนึ่งในอาหารกินเล่นที่นิยมของคนไทย สมควรที่จะส่งเสริมผู้ป่วยโรคเบาหวานบริโภคถั่วเขียวทอดหรืองาคั่วเป็นอาหารว่าง หากแต่ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะทำให้เชื่อมั่นได้ว่า ถั่วเขียวทอดและงาคั่ว สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้จริงหรือไม่ ในงานวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะศึกษาผลของการบริโภคถั่วเขียวทอดและงาดำคั่วต่อการดำเนินโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในหนูทดลอง โดยการแบ่งหนูทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม คือ หนูปกติกลุ่มควบคุม (Normal control group; NC) หนูเบาหวานกลุ่มควบคุม (Diabetes mellitus control group; DMC) หนูเบาหวานที่บริโภคถั่วเขียวทอด (Fried mung bean group; FMB) และหนูเบาหวานที่บริโภคงาดำคั่ว (Roasted black sesame group; RBS) หนูทดลองนอกเหนือจากกลุ่มปกติควบคุมจะถูกกระตุ้นให้เป็นเบาหวาน และบริโภคอาหารไขมันสูง พบว่าในสัปดาห์ที่ 12 ของการทดลอง ระดับน้ำตาล HbA1C ระดับไขมันและคริอะตินินในเลือดในหนูทดลองแต่ละกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน แต่เมื่อทำการศึกษาพยาธิสภาพของไตและตับด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบแสง และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน พบว่าหนูเบาหวานกลุ่มควบคุมมีปริมาณไขมันสะสมในตับสูง และมีความหนาของเยื่อฐานโกลเมอรูลัส (Glomerular basement membrane) และความกว้างของขาเซลล์โพโดไซต์ (podocyte foot process) มากกว่าหนูปกติกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนระยะแรกของตับและไตในโรคเบาหวาน และพบว่าหนูที่ได้รับถั่วเขียวทอดและงาดำคั่ว ไม่พบความผิดปกติทางพยาธิสภาพของตับและไตดังกล่าว จากผลการทดลองทั้งหมดในการวิจัยครั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าการบริโภคถั่วเขียวทอดหรืองาดำคั่วสามารถบรรเทาพยาธิสภาพของไตและตับที่เกิดจากโรคเบาหวานในหนูทดลองที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้


ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ของเครื่องมือประเมินอันตรายจากบ้านต่อการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุไทย, จารุภา เลขทิพย์ Jan 2019

ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ของเครื่องมือประเมินอันตรายจากบ้านต่อการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุไทย, จารุภา เลขทิพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า (Prospective study) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความถูกต้องเชิงพยากรณ์ของแบบประเมินอันตรายจากบ้านชนิดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น คือ แบบประเมิน Thai Home Fall Hazard Assessment Tool (Thai-HFHAT) และชนิดที่ผู้วิจัยแปลผลงานวิจัยต่างประเทศ คือ แบบประเมิน Modified Home Falls and Accidents Screening Tool (Modified HOME FAST) และ แบบประเมิน Modified Home Falls and Accidents Screening Tool-Self Report (Modified HOME FAST-SR) ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีอายุ ≥ 60 ปี จำนวน 450 คน ทำการติดตามกลุ่มตัวอย่างเป็นระยะเวลา 1 ปี ใช้สถิติ Cox's proportional hazard model ในการประมาณค่าอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรค (Hazard Ratios: HR) วิเคราะห์พื้นที่ใต้โค้ง receiver operating characteristic (ROC) และ วิเคราะห์ความตรงเชิงพยากรณ์ (predictive validity) ประกอบด้วย sensitivity, specificity, positive predictive value, negative predictive value, Likelihood Ratio ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุจำนวนทั้งหมด 450 คน มีอุบัติการณ์ของการเกิดการล้มรายใหม่ 123 ราย คิดเป็นอัตราอุบัติการณ์เท่ากับร้อยละ 27.33 (95% CI: 22.72, 32.61) ต่อปี นับเป็นจำนวนครั้งทั้งสิ้น 334 ครั้ง จากจำนวนที่ศึกษาทั้งหมด 784 ครั้ง ในระยะติดตาม 163,550 …


ภาวะซึมเศร้าและคุณภาพการนอนของพยาบาลในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร, ปริยนุช จันทร์สถิตานนท์ Jan 2019

ภาวะซึมเศร้าและคุณภาพการนอนของพยาบาลในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร, ปริยนุช จันทร์สถิตานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการนอนและภาวะซึมเศร้า รวมไปถึงความชุกและปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดใดจุดหนึ่ง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาคือพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีและอยู่ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวนทั้งสิ้น 638 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามประเมินภาวะซึมเศร้า Patient Health Questionnaire-9 (PHQ-9) ฉบับภาษาไทยและแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับฉบับภาษาไทย ซึ่งดัดแปลงมาจาก the Pittsburgh sleep quality index (PSQI) ข้อมูลความชุกของภาวะซึมเศร้าและผลรวมประเมินคุณภาพการนอนจะถูกนำเสนอในรูปแบบร้อยละ ส่วนข้อมูลด้านปัจจัยและการหาความสัมพันธ์นำเสนอในรูปแบบ crude และ adjusted odds ratios (ORs) ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพการนอนและภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มที่คุณภาพการนอนไม่ดีเกิดภาวะซึมเศร้าเป็น 3.38 เท่าของกลุ่มที่มีคุณภาพการนอนที่ดี โดยความชุกของภาวะซึมเศร้าในพยาบาลคิดเป็นร้อยละ 17.3 โดยพยาบาลส่วนใหญ่มีคุณภาพการนอนที่ไม่ดีคิดเป็นร้อยละ 61 ปัจจัยอื่น ๆ ที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าคือ ได้แก่ การออกกำลังกาย ดัชนีมวลกาย ความพึงพอใจในงาน สวัสดิการและการได้รับการสนับสนุนและคุณภาพการนอน สรุปผลการศึกษา คุณภาพการนอนมีผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งเสริมให้มีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นการศึกษานี้จึงเป็นข้อมูลเบื้องต้น เพื่อเป็นข้อมูลนำไปสู่การวางแผนและกำหนดแนวทางการแก้ไข้ปัญหาการเกิดภาวะซึมเศร้าในพยาบาล


ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของความรุนแรงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตสุขภาพที่ 10, ปิยะพัทธ์ ปั้นดี Jan 2019

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของความรุนแรงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตสุขภาพที่ 10, ปิยะพัทธ์ ปั้นดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันปัญหาความรุนแรงในที่ทำงาน (Workplace violence) คือหนึ่งในปัญหาสำคัญที่เกิดในสถานพยาบาล การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุความรุนแรง โดยกลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตสุขภาพที่ 10 เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดใดจุดหนึ่ง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองซึ่งพัฒนาจากแบบประเมินความรุนแรงขณะปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ ข้อมูลความชุกของความรุนแรงขณะปฏิบัติงานจะถูกนำเสนอในรูปแบบร้อยละ ส่วนข้อมูลด้านปัจจัยที่จะถูกนำเสนอในรูปแบบ crude และ adjusted odds ratios (ORs) ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของการพบเหตุความรุนแรงอยู่ที่ร้อยละ 32.2 โดยเป็นความรุนแรงทางวาจามากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 92.9 รองลงมาเป็นทางเพศ และทางกาย ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพบความรุนแรง ได้แก่ สถานภาพสมรส โดยกลุ่มหม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ มีการเกิดความรุนแรง 0.35 เท่า (95% CI= 0.13-0.94) เมื่อเทียบกับกลุ่มโสด และระดับการศึกษาสูงสุด โดยการศึกษาระดับปริญญาตรี มีการเกิดความรุนแรง 1.98 เท่า (95% CI = 1.02-3.84) เมื่อเทียบกับระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี สรุปผลการศึกษา ความชุกของการเกิดเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานแม้ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก็ยังพบได้บ่อย ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์ก็เพื่อเป็นข้อมูลนำไปสู่การวางแผนรับมือและป้องกันความเสี่ยงในขณะปฏิบัติงานได้ ลดผลกระทบต่อบุคลากรทั้งทางร่างกายและจิตใจ


วิจัยและพัฒนาหลักสูตรการกู้ชีพและช่วยชีวิตทางน้ำ, มรรษยุว์ อิงคภาสกร Jan 2019

วิจัยและพัฒนาหลักสูตรการกู้ชีพและช่วยชีวิตทางน้ำ, มรรษยุว์ อิงคภาสกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตร MALS (Maritime and Aquatic Life Support) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เรียนจำนวน 328 คน ผู้สอนจำนวน 10 คน และผู้บังคับบัญชาจำนวน 15 คน คัดเลือกจากหน่วยงานที่มีผู้ผ่านการเรียนหลักสูตร MALS ในปี 2560 และ 2561 จำนวน 15 หน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าหลังการอบรม เกินครึ่งหนึ่งของผู้เรียนไม่มีโอกาสนำไปปฏิบัติจริงในที่ทำงานเพราะยังเป็นนักเรียนนักศึกษาอยู่ โดยเป็นกลุ่ม Basic Course (B-MALS) 107 คน (ร้อยละ 51.4) และกลุ่ม Health Care Provider Course (MALS-HCP) 75 คน (ร้อยละ 62.5) ความรู้และการนำไปปฏิบัติเมื่อเทียบก่อนเข้ารับการอบรมและหลังการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติการฉุกเฉินทางน้ำและทะเล (MALS) มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.9 ในกลุ่ม B-MALS และร้อยละ 94.2 ในกลุ่ม MALS-HCP ความมั่นใจในการปฏิบัติงานหลังจบหลักสูตรในทั้งสองกลุ่มอยู่ที่ร้อยละ 50.0 ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ได้แก่ ควรกำหนดคุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร B-MALS และ MALS-HCP ให้ชัดเจน หลักสูตรการอบรมควรยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การจัดการเรียนการสอนต้องสอดคล้องกับการนำไปปฏิบัติจริง เพิ่มศักยภาพครูผู้สอนและพัฒนาหลักสูตรการอบรมอย่างต่อเนื่อง


ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานขณะป่วยในแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ใช้ทุนในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง, วิทวัส สุรวัฒนสกุล Jan 2019

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานขณะป่วยในแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ใช้ทุนในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง, วิทวัส สุรวัฒนสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันปัญหาการทำงานขณะป่วย (Presenteeism) คือหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ได้รับความสนใจในวงกว้าง เกิดขึ้นกับหลากหลายอาชีพ โดยเฉพาะในบุคลากรทางการแพทย์รวมถึงแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ใช้ทุน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานขณะป่วยในแพทย์ประจำบ้าน เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ณ จุดใดจุดหนึ่ง ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 250 คน คิดเป็นร้อยละ 47.7 เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ชนิดตอบด้วยตนเองประกอบด้วย ส่วนที่พัฒนามาจากการทบทวนวรรณกรรมและส่วนของแบบสอบถามสุขภาพทั่วไป ข้อมูลความชุกของการทำงานขณะป่วยถูกนำเสนอในรูปแบบร้อยละ ส่วนข้อมูลด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องถูกนำเสนอในรูปแบบ crude และ adjusted odds ratios (ORs) ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของการทำงานขณะป่วยในแพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้านอยู่ที่ร้อยละ 58.6 (95% CI = 52.2,64.7) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทำงานขณะป่วย ได้แก่ ชั้นปีของแพทย์ประจำบ้าน โดยแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 2 มีความสัมพันธ์กับการทำงานขณะป่วย 3.48 เท่า (95% CI = 1.72,7.05) แต่กลุ่มแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 3,4 และ 5 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปัจจัยการมีสมดุลการทำงานและการใช้ชีวิตที่ดี คือกลุ่มที่มีสมดุลการทำงานและใช้ชีวิตที่ดีมีความสัมพันธ์กับการทำงานขณะป่วย 0.30 เท่า (95% CI = 0.17,0.54) สรุปผลการศึกษา ความชุกของการทำงานขณะป่วยในแพทย์ประจำบ้านพบได้บ่อย ดังนั้นการส่งเสริมให้มีสมดุลการทำงานและการใช้ชีวิตที่ดี น่าจะช่วยลดการทำงานขณะป่วยได้ กลุ่มที่ควรให้ความสนใจในการแก้ปัญหานี้หรือศึกษาปัญหานี้เพิ่มเติม คือ กลุ่มแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 2


ความสามารถในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบุคลากรทางการแพทย์สูงอายุในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, ศรวิทย์ โอสถศิลป์ Jan 2019

ความสามารถในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบุคลากรทางการแพทย์สูงอายุในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, ศรวิทย์ โอสถศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดใดจุดหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสามารถในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบุคลากรทางการแพทย์สูงอายุในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป จำนวน 285 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนของแต่ละกลุ่มอาชีพ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามดัชนีชี้วัดความสามารถในการทำงาน (Work ability index) ฉบับภาษาไทย และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการทำงาน ข้อมูลจะถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบเชิงชั้น ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความสามารถในการทำงานอยู่ในระดับดี จำนวน 166 คน (ร้อยละ 58.2) และดัชนีชี้วัดความสามารถในการทำงานเฉลี่ยอยู่ที่ 38.8 คะแนน (SD = 4.50) และโดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ได้แก่ เคยมีประวัติการสูบบุหรี่ (ORadj = 11.43, 95% CI = 1.78 – 73.36) มีสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ดีในด้านการยศาสตร์ (ORadj = 4.22, 95% CI = 1.80 – 9.90) กลุ่มอาชีพแพทย์ (ORadj = 12.36, 95% CI = 2.15 – 71.00) มีความขัดแย้งกันกับบุคคลในครอบครัว (ORadj = 2.63, 95% CI = 1.14 – 6.06) เพศชาย (ORadj = 0.06, 95% CI = 0.01 - 0.32) ระดับการศึกษาสูงสุดสูงกว่าปริญญาตรี (ORadj = 0.37, 95% CI = 0.14 – 0.93) และรายได้ต่อเดือนมากกว่าทุก 1 พันบาท (ORadj = 0.95, 95% …


การตีตราในวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี ในประเทศไทย, ศุภลักษณ์ พลพิทักษ์ Jan 2019

การตีตราในวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี ในประเทศไทย, ศุภลักษณ์ พลพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาการตีตราระหว่าง หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีวัยรุ่นและวัยอื่น และปัจจัยที่มีผลต่อการตีตราในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบผสม (Mixed-method) มี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยแบบตัดขวาง (cross-sectional study) ทำการเก็บข้อมูลในหญิงตั้งครรภ์อายุ 15 ปี ขึ้นไป ที่ติดเชื้อเอชไอวีหรือหญิงหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวีที่ลูกอายุไม่เกิน 5 ขวบ ใช้แบบสอบถาม 5 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการมีเพศสัมพันธ์และการตีตรา ประวัติการติดเชื้อเอชไอวี การตีตราจากการติดเชื้อเอชไอวี 40 ข้อ และแบบสอบถามเผชิญ 36 ข้อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Multiple linear regression ระยะที่ 2 เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก 16 คน เป็นกลุ่มวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 5 คน และหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีวัยอื่นจำนวน 11 คน การศึกษาระยะที่ 1 ประชากรที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 222 คน เป็นวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 68 คน และหญิงตั้งครรภ์วัยอื่นที่ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 154 คน ผลการศึกษาพบว่าอายุเฉลี่ยของวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี 18.44 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.57) อายุเฉลี่ยของวัยอื่นตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี 29.95 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.15) อายุเฉลี่ยทั้ง 2 กลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) ข้อมูลการตีตราในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีพบว่า ในวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีมีคะแนนการตีตราน้อยกว่าในหญิงตั้งครรภ์วัยอื่นที่ติดเชื้อเอชไอวี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.024) และ พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อคะแนนการตีตรา ได้แก่ อายุตอนตั้งครรภ์ แหล่งที่มาของรายได้ การฝากครรภ์ ระยะเวลาการติดเชื้อเอชไอวี และการเปิดเผยผลเลือด การศึกษาระยะที่ 2 ทำการศึกษาโดยสัมภาษณ์เชิงลึก 16 คน ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม วัยรุ่นตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีมีการตีตราน้อยกว่าหญิงตั้งครรภ์วัยอื่นที่ติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากคนในครอบครัวทำให้ก้าวผ่านปัญหาไปได้ ส่วนในวัยอื่นจะกังวลการเปิดเผยผลเลือด กลัวสามีหรือคนในครอบครัวรับไม่ได้ ทำให้ไม่กล้าที่จะเปิดเผยผลเลือดให้คนอื่นรับรู้


Qualitative Analysis Of Optic Nerve Head Peripapillary Microvasculature In Healthy Eyes Using Optical Coherence Tomography Angiography, Sittikorn Laojaroenwanit Jan 2019

Qualitative Analysis Of Optic Nerve Head Peripapillary Microvasculature In Healthy Eyes Using Optical Coherence Tomography Angiography, Sittikorn Laojaroenwanit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Primary objective: To evaluate optic nerve head microvasculature/radial peripapillary capillaries (RPCs) in healthy adult eyes using swept-source optical coherence tomography angiography Secondary objectives: To evaluate macular microvascular network in healthy adult eyes using swept-source optical coherence tomography angiography Design: Cross-sectional study Participants: 224 eyes of 112 healthy adult volunteers at eye clinic of King Chulalongkorn Memorial Hospital. Method: En face 3x3-mm OCTA at macular area, 6x6-mm OCTA at optic nerve head and high-definition horizontal lines 16-mm scans crossing the fovea and optic disc were acquired using the SS-OCTA Plex Elite 9000. To evaluate RPCs density, the images were binarized and …


An Affordable Immunohistochemical Approach To Estimate The Prevalence Of Braf V600e Mutation In Papillary Thyroid Cancer Patients Of King Chulalongkorn Memorial Hospital, Thailand., Sonam Choden Jan 2019

An Affordable Immunohistochemical Approach To Estimate The Prevalence Of Braf V600e Mutation In Papillary Thyroid Cancer Patients Of King Chulalongkorn Memorial Hospital, Thailand., Sonam Choden

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Papillary thyroid carcinoma (PTC) accounts for the majority of diagnoses of thyroid carcinoma. BRAFV600E mutation is the most common genetic alteration in PTC, which has diagnostic and prognostic significance. The rate of BRAFV600E mutation in PTC from Thailand has not been reported. Our purpose was to estimate the prevalence of BRAF mutation in a large institutional series using an affordable approach, which combined mutation-specific immunohistochemistry (IHC) with VE1 antibody and tissue microarray (TMA). Methods: A total of 476 PTC cases plotted on TMA were employed for determining the mutation status in this study. The cancer tissue of initial 100 …


Access To Malaria Diagnostic Testing, Anti-Malarial Treatment And Long-Lasting Insecticidal Nets Among Immigrant Workers In Yala Province, Southern Thailand, Tinzar Naing Jan 2019

Access To Malaria Diagnostic Testing, Anti-Malarial Treatment And Long-Lasting Insecticidal Nets Among Immigrant Workers In Yala Province, Southern Thailand, Tinzar Naing

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: In Southeast Asia, trans-border migration from neighboring countries into Thailand is a well-known phenomenon. Population movement and migration is a factor having significant implications for vector-borne disease transmissions. Objectives: This study aims to assess migrants’ access to malaria diagnosis and treatment in Yala province who have had fever in the previous three months and to evaluate the coverage and utilization of ITNs (insecticidal nets). Methodology: A survey was conducted among 414 immigrant workers, in which information was sought on socio-demography, history of fever, health seeking behaviours, net ownership and utilization. Survey analysis was employed. Results: As key findings, 36.5% …


Evaluation Of The Outcomes And Regression Rate After Early Treatment For Retinopathy Of Prematurity Treatment In King Chulalongkorn Memorial Hospital, Yothin Titawattanakul Jan 2019

Evaluation Of The Outcomes And Regression Rate After Early Treatment For Retinopathy Of Prematurity Treatment In King Chulalongkorn Memorial Hospital, Yothin Titawattanakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Primary objectives: To study the unfavorable outcomes and assess the regression rate after early treatment protocol for the ROP in KCMH. - Secondary objectives: To study the complications and evaluate the progression and recurrence of ROP requiring retreatment after early treatment protocol for the ROP in KCMH. To identify the independent risk factor for the Retinopathy of Prematurity development in KCMH. - Design: The Retrospective descriptive study and retrospective cohort study. - Participants: The study included all premature infants who were screened ROP in King Chulalongkorn Memorial Hospital from January 2009 to January 2014. - Method: The data retrieved from …


Jellyfish Sting And First Aid Knowledge Among 6th-9thgrade Students In Koh Mak, Koh Kood, And Koh Chang, Trat Province, Thailand, Hansa Premmaneesakul Jan 2019

Jellyfish Sting And First Aid Knowledge Among 6th-9thgrade Students In Koh Mak, Koh Kood, And Koh Chang, Trat Province, Thailand, Hansa Premmaneesakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Injuries from jellyfish are an important public issue. Students are both potential victims and victim-helpers. Objectives: This study aims to investigate the knowledge of jellyfish stings and first aid management in 6th-9th grade students living on three islands in Trat, Thailand. Materials and Methods: A cross-sectional study was conducted by using a questionnaire distributed to all 6th-9th grade students living on these islands. Relationship between total knowledge score and independent variables were assessed by Fisher’s exact test and multiple logistic regression. Results: Of the three islands students from Koh Kood had the highest knowledge (75.27%), followed by students from …


Functional And Transcriptomic Changes In Synergy Of Endotoxin And (1->3)-Β-D-Glucan In Bone Marrow Derived Macrophage From Fc Gamma Receptor Iib Deficient Mice, Jiraphorn Issara-Amphorn Jan 2019

Functional And Transcriptomic Changes In Synergy Of Endotoxin And (1->3)-Β-D-Glucan In Bone Marrow Derived Macrophage From Fc Gamma Receptor Iib Deficient Mice, Jiraphorn Issara-Amphorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Systemic lupus erythematosus (SLE) is an autoimmune disease with a diverse array of clinical symptoms. There are many factors including environmental factors may trigger disease progression. In this study, we investigated the influence of spontaneous gut leakage upon polymicrobial sepsis in Fc gamma receptor IIb deficient (FcgRIIb-/-) mice aged 8 and 40 weeks, as representing asymptomatic and symptomatic lupus, respectively. The spontaneous gut leakage as determined by i) the level of serum FITC-dextran, ii) increased serum endotoxin (LPS), and iii) increased serum (1->3)-b-D-glucan (BG), were demonstrated in symptomatic FcgRIIb-/- mice, but not in asymptomatic group. Moreover, spontaneous gut leakage …


The Incidence Of Antibiotic-Resistant Staphylococcus Spp. Colonization And Infection In Children And Adults With Atopic Dermatitis, Matchima Laowansiri Jan 2019

The Incidence Of Antibiotic-Resistant Staphylococcus Spp. Colonization And Infection In Children And Adults With Atopic Dermatitis, Matchima Laowansiri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Atopic dermatitis (AD) is an inflammatory skin disease characterized by chronic and recurrent eczematous rash. AD occurs in both children and adults, but children are more affected. An important aggravating factor is caused by Staphylococcus aureus (S. aureus) infection. Therefore, topical (beta-lactam, macrolides, clindamycin) and systemic (mupirocin and fusidic acid) antibiotics are essential for treatment of AD. However, frequent use of antibiotics results in an increase in the incidence of antibiotic-resistant S. aureus. Methicillin resistance S. aureus (MRSA) becomes a problem in the treatment of skin diseases. It’s found that the change from penicillin binding protein (PBP) to PBP2a with …


The Effect Of A Trehalase Inhibitor, Validamycin A, On The Growth Of Aspergillus Flavus, Napasawan Plabutong Jan 2019

The Effect Of A Trehalase Inhibitor, Validamycin A, On The Growth Of Aspergillus Flavus, Napasawan Plabutong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Aspergillus flavus is a fungus found in the environment causing keratitis, cutaneous infections, sinusitis, invasive pulmonary aspergillosis in humans. Although this fungus can be treated with antifungal agents, these main antifungal agents have many side effects. Trehalase is an enzyme for digesting trehalose into two glucose subunits and is essential for virulence in many fungi. A trehalase inhibitor, called validamycin A, has been used effectively against a rice fungal pathogen, Rhizoctonia solani. In this study, we observed that validamycin A increased trehalose levels significantly in A. flavus spores and delayed the germination of those spores. In addition, to further investigate …


Development Of Polymerase Chain Reaction Enzyme Linked Immunosorbent Assay For Detection Of Human Papillomavirus 16 L1 Gene Methylation, Sasiprapa Liewchalermwong Jan 2019

Development Of Polymerase Chain Reaction Enzyme Linked Immunosorbent Assay For Detection Of Human Papillomavirus 16 L1 Gene Methylation, Sasiprapa Liewchalermwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

It has been well known that cervical cancer is caused by persistent infections with the high risk human papillomavirus (HR-HPV) especially HPV16 and 18. However, a minority of HR-HPV infected women developed cancer, therefore, triage test is necessary to particularly select some HR-HPV infected women who are at higher risk to progress to cervical cancer quickly for colposcopy examination. Since HPV16 L1 gene hypermethylation has been reported to be correlated well with high grade cervical lesions and cancer, the present study aims to develop PCR-ELISA for detection of HPV16 L1 gene methylation. Cervical cells were collected from women who referred …


Effects Of Non-Albicans Candida Species On Biofilm Formation And Acidogenicity Of Dual-Species Biofilms And On Cariogenic Virulence Gene Expression Of Streptococcus Mutans, Wirunphat Sansanoa Jan 2019

Effects Of Non-Albicans Candida Species On Biofilm Formation And Acidogenicity Of Dual-Species Biofilms And On Cariogenic Virulence Gene Expression Of Streptococcus Mutans, Wirunphat Sansanoa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Early childhood caries is a common oral disease found in children which could affect their general health. Streptococcus mutans is an important cariogenic pathogen since it possesses cariogenic properties, which are acid production, acid tolerance and biofilm formation. Recent studies showed that Candida albicans, which is frequently found together with S. mutans in plaques of children with dental caries, enhances cariogenicity. At the same time, increasing prevalence of non-albicans Candida species (NACs) in children and immune-compromised patients has been reported. Therefore, this study aims to investigate the effects of NACs when co-cultured with S. mutans on cariogenic properties and virulence …


Development Of A Clinically Feasible Translational Medical Approaches In The Treatment Of Pseudomonas Aeruginosa And Acinetobacter Baumannii Persistent Biofilm Infections., Dhammika Leshan Wannigama Jan 2019

Development Of A Clinically Feasible Translational Medical Approaches In The Treatment Of Pseudomonas Aeruginosa And Acinetobacter Baumannii Persistent Biofilm Infections., Dhammika Leshan Wannigama

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Despite strengthened antimicrobial therapy, biofilm infections of Pseudomonas aeruginosa and Acinetobacter baumannii are associated with poor prognosis and limited therapeutic options. Assessing antibiotics on planktonic bacteria can result in failure against biofilm infections. Currently, antibiotics to treat biofilm infections are administered empirically, usually without considering the susceptibility of the biofilm objectively before beginning treatment. For effective therapy to resolve biofilm infections it is essential to assess the efficacy of commonly used antibiotics against biofilms. Here, we offer a robust and simple assay to assess the efficacy of antibiotics against biofilms. In the present work, we carefully optimized the incubation time, …


Effects Of Moderate - Intensity Exercise Training On Cardiac Angiogenic Capacity And Fibrosis In Middle-Aged And Aged Rats, Titiporn Mekrungruangwong Jan 2019

Effects Of Moderate - Intensity Exercise Training On Cardiac Angiogenic Capacity And Fibrosis In Middle-Aged And Aged Rats, Titiporn Mekrungruangwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to investigate the protective effects of exercise training against age-induced the reduction of cardiac angiogenic capacity associated with p-Akt1, eNOS, Mdm2, p53, VEGF, and CD31 in rat hearts. Additionally, age-induced cardiac fibrosis association with TGF-β1 was also observed. Male Wistar rats were divided into five groups: Sedentary - young group (SE-Young, aged 4 months), Sedentary - middle-aged group (SE-Mid-Age, 14 months), Sedentary – aged group (SE-Age, aged 22 months), Exercise-trained middle-aged group (ET-Mid-Age, aged 14 months), and Exercise-trained -aged group (ET-Age, aged 22 months). In the SE- groups, rats were immersed individually for 30 minutes/day, 5 days/week …


Effect Of Canagliflozin On Liver Steatosis In Obese Non Diabetic Patients With Non-Alcoholicfatty Liver Disease: A Double Blind Randomized Controlled Trial, Borwonkhun Tontivuthikul Jan 2019

Effect Of Canagliflozin On Liver Steatosis In Obese Non Diabetic Patients With Non-Alcoholicfatty Liver Disease: A Double Blind Randomized Controlled Trial, Borwonkhun Tontivuthikul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objective: To demonstrate whether treatment with canagliflozin had an effect on liver steatosis in obese non-diabetic patients with NAFLD compared with the control group Methods: 82 nondiabetic patients with BMI 25-35 kg/m2 underwent 24 weeks of double blind randomized controlled trial with combined canagliflozin 100 mg daily with diet-lifestyle modification or placebo with diet-lifestyle modification (500 calories restriction and moderate intensity aerobic exercise). Primary outcome was the change in Controlled attenuation parameter (CAP) representing hepatic steatosis. Liver stiffness measurement (LSM) representing liver stiffness/fibrosis and other secondary outcomes including changes in body weight, fasting plasma glucose, lipid profile, liver function test …


การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาแก้คลื่นไส้อาเจียนสูตรที่มีนิวทูพิแทนเป็นส่วนประกอบ (ยานิวทูพิแทน ยาพาโลโนซีตรอน ยาโอแลนซาปีนและยาเดกซาเมททาโซน) ในการควบคุมอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยทีได้รับยาเคมีบําบัดสูตรซิสพลาตินขนาดสูง กับยาสูตรมาตรฐานใหม่ (ยาออนแดนซีตรอน ยาโอแลนซาปีนและยาเดกซาเมททาโซน), เฉลิมชัย เลิศอนันต์สิทธิ์ Jan 2019

การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาแก้คลื่นไส้อาเจียนสูตรที่มีนิวทูพิแทนเป็นส่วนประกอบ (ยานิวทูพิแทน ยาพาโลโนซีตรอน ยาโอแลนซาปีนและยาเดกซาเมททาโซน) ในการควบคุมอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยทีได้รับยาเคมีบําบัดสูตรซิสพลาตินขนาดสูง กับยาสูตรมาตรฐานใหม่ (ยาออนแดนซีตรอน ยาโอแลนซาปีนและยาเดกซาเมททาโซน), เฉลิมชัย เลิศอนันต์สิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การป้องกันการเกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาผู้ป่วยด้วยยาเคมีบำบัด ยาที่แนะนำให้ใช้ในการป้องกันการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบาบัดที่ทำให้คลื่นไส้และอาเจียนในขนาดสูงตามมาตรฐานสากล เช่น ยากลุ่มนิวโรไคนินวันแอนทาโกนิส นั้นมีราคาแพงและไม่ได้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ดังนั้นทางผู้วิจัยต้องการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาแก้คลื่นไส้อาเจียนสูตรมาตรฐานใหม่ (ยาออนแดนซีตรอน ยาโอแลนซาปีนและยาเดกซาเมททาโซน) ในการควบคุมอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยทีได้รับยาเคมีบําบัดสูตรซิสพลาตินขนาดสูงกับยาสูตรที่มีนิวทูพิแทนเป็นส่วนประกอบ วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบสุ่ม, วิธีอาพรางผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมวิจัยและมีการใช้ยาหลอก ผู้ป่วยที่คัดเลือกคือไม่เคยได้รับเคมีบำบัดมาก่อนและมีนัดหมายเพื่อรับเคมีบำบัดสูตรซิสพลาตินขนาดสูง และจะถูกสุ่มแบบ 1:1 เพื่อเข้าในกลุ่มยาแก้คลื่นไส้อาเจียนสูตรมาตรฐานใหม่ หรือกลุ่มสูตรยาสี่ชนิดที่มีนิวทูพิแทนเป็นส่วนประกอบ จุดประสงค์หลักคือเพื่อดูอัตราของการไม่มีอาการอาเจียนและไม่ต้องใช้ยาเสริมเพื่อควบคุมอาการคลื่นไส้และอาเจียน ผลการศึกษา: ผู้ที่เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 49 คน โดยมี 25 คนได้รับยาที่มีนิวทูพิแทนเป็นส่วนประกอบ และอีก 24 ได้รับยามาตรฐานใหม่สามตัว ซึ่งปัจจัยพื้นฐานประชากรเท่ากันดีทั้งสองกลุ่มการทดลองเช่น มีเพศหญิง 25% และ 29%, ได้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายแสง 79% และ 79% ในกลุ่มที่ได้ยาที่มีนิวทูพิแทนเป็นส่วนประกอบและยามาตรฐานใหม่สามตัว ตามลำดับ จากผลการศึกษาในรอบแรกของเคมีบำบัด อัตรา CR ของเวลาทั้งหมด (0-120 h) เป็น 75% เทียบกับ 91% (p-value 0.058) และเมื่อแบ่งตามระยะเวลาที่ทำให้อาเจียน อัตรา CR ในระยะเฉียบพลัน (0- 24 hrs.) และในช่วงเวลาที่ 24-120 ชั่วโมงเป็น 91% เทียบกับ 100% (p-value 0.091) และ 75% เทียบกับ. 91% (p-value 0.114) ในกลุ่มที่ได้ยาที่มีนิวทูพิแทนเป็นส่วนประกอบและยามาตรฐานใหม่สามตัวตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์ในกลุ่มย่อยในผู้ป่วยที่ให้ยาเคมีบำบัดสูตรซิสพลาตินร่วมกับการฉายแสงก็ได้ผลไปในทางเดียวกันกับที่กล่าวข้างต้น อัตรา CR ของเวลาทั้งหมด (0-120 h) เป็น 75% ในกลุ่มที่ได้ยาที่มีนิวทูพิแทนเป็นส่วนประกอบ และ 89% ยามาตรฐานใหม่สามตัว (Chi-square p-value 0.370). ร่วมไปถึงเมื่อดูค่าเฉลี่ยของอาการคลื่นไส้และความง่วงนอนก็ไม่แตกต่างทางสถิติทั้งสอง มีผู้ร่วมวิจัยเกิดภาวะไตวายเฉียบหลันรุนแรงหลังได้รับยาเคมีบำบัดในรอบแรกทั้งสิ้น 4 ราย โดยที่ 3 รายได้รับยาป้องกันอาการอาเจียนสูตรที่มีนิวทูพิแทนเป็นส่วนประกอบและ 1 รายได้รับยามาตรฐานใหม่สามตัว รวมไปถึงไม่พบว่ามีความ แตกต่างของการเกิด …


การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาทิโมลอลต่อความชุ่มชื้นของผิว และการสูญเสียน้ำจากผิว หลังการทำเลเซอร์ชนิดคาร์บอนไดออกไซด์แบบแบ่งส่วน ในการรักษาหลุมสิว: แบบสุ่ม ปกปิดสองทาง และแบ่งครึ่งหน้าเทียบกับยาหลอก, โกเมศ กิมวัฒนานุกุล Jan 2019

การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาทิโมลอลต่อความชุ่มชื้นของผิว และการสูญเสียน้ำจากผิว หลังการทำเลเซอร์ชนิดคาร์บอนไดออกไซด์แบบแบ่งส่วน ในการรักษาหลุมสิว: แบบสุ่ม ปกปิดสองทาง และแบ่งครึ่งหน้าเทียบกับยาหลอก, โกเมศ กิมวัฒนานุกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: ผิวหนังที่ได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์ชนิดคาร์บอนไดออกไซด์แบบแบ่งส่วน (AFCO2 laser) ในการรักษาหลุมสิวมักมีแผลโดยเฉพาะในช่วงแรก ยาทิโมลอลสามารถเร่งการหายของแผลด้วยการกระตุ้นการเคลื่อนที่ของเคอราติโนไซต์จึงอาจนำมาใช้ในการฟื้นฟูแผลที่เกิดหลังเลเซอร์ได้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาทิโมลอล มาลีทเอท ต่อการหายของแผลหลังการทำ AFCO2 laser โดยการวัดความเปลี่ยนแปลงของความชุ่มชื้นผิว (corneometry) และการสูญเสียน้ำจากผิว (TEWL) วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยที่เป็นหลุมสิวบริเวณใบหน้าทั้งสองข้างได้รับการรักษาด้วย AFCO2 laser หลังจากนั้นให้ทายาลงบนแก้มตามข้างที่ได้รับการสุ่ม โดยแก้มข้างหนึ่งจะได้รับการทา 0.5% ทิโมลอล มาลีเอท แก้มอีกข้างทาด้วยน้ำเกลือ (normal saline) โดยใช้ประมาณ 10-15 หยดต่อข้าง ทาติดต่อกัน วันละ 2 ครั้ง นาน 7 วัน และติดตามผลการรักษาที่ 48, 96, และ 168 ชั่วโมงด้วยวัดค่า corneometry, TEWL, และ colorimetry และประเมินคะแนนความแดง บวม และการเป็นสะเก็ด ทั้งนี้ยังให้ผู้ป่วยประเมินอาการคันและความรู้สึกตึงของผิว ผลการศึกษา: จากผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 25 คน พบว่าค่าความชุ่มชื้นผิวของข้างทดลองมากกว่าข้างควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้ง 3 ช่วงเวลา คือ 48, 96 และ168 ชั่วโมงหลังเลเซอร์ (p-value <0.001) และค่าความสูญสียน้ำจากผิวข้างทดลองน้อยกว่าข้างควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้ง 3 ช่วงเวลาหลังเลเซอร์ (p-value <0.001) ส่วนค่าความแดงของผิวและคะแนนอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างข้างทดลองและข้างควบคุม ไม่มีรายงานพบผลข้างเคียงระหว่างการศึกษา สรุปผล: การทายา 0.5% ทิโมลอล มาลีเอท หลัง AFCO2 laser วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน สามารถทำให้แผลหลังเลเซอร์หายเร็วขึ้นได้ โดยการเพิ่มความชุ่มชื้นของผิว และลดการสูญเสียน้ำจากผิวได้


การศึกษาอัตราการรอดชีวิตในโรงพยาบาลและปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, คณินทร์ จันทราประภาเวช Jan 2019

การศึกษาอัตราการรอดชีวิตในโรงพยาบาลและปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, คณินทร์ จันทราประภาเวช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาของปัญหา ปัจจุบัน การใช้ VA ECMO ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากหัวใจที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่น (cardiogenic shock) เป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยเครื่อง VA ECMO ทำให้คนไข้มีโอกาสที่จะรอดชีวิตมากขึ้น แต่อัตราการเสียชีวิตของคนไข้ยังสูง ในขณะที่การใช้ VA ECMO มีค่าใช้จ่ายสูง ใช้ทรัพยากรมากและมีข้อจำกัดอื่นๆ การพิจารณาให้คนไข้รับการรักษาด้วยการใส่ VA ECMO ควรเลือกผู้ป่วยให้เหมาะสม บทวิจัยนี้จะวิเคราะห์อัตราการรอดชีวิตในโรงพยาบาลและปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด ผลการวิจัยจะเป็นข้อมูลชี้ให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญที่ควรพิจารณา เพื่อเลื่อกคนไข้ในการรักษาด้วย VA ECMO ได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ การศึกษาอัตราการรอดชีวิตในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่ใส่ VA ECMO และปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการรอดชีวิต เป็นบทศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนรับคนไข้เข้าใช้เครื่อง VA ECMO เพื่อที่จะได้คนไข้ที่เหมาะสม และสามารถนำสู่โอกาสการรอดชีวิตได้มากขึ้น รูปแบบงานวิจัยและผลการวิจัย งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับการทำ VA ECMO แบบติดตามข้อมูลย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนในโรงพยาบาล ในระหว่างปี 2555-2562 บทศึกษาหลักคือดูอัตราการอยู่รอดของคนไข้จนสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ แล้วเก็บข้อมูลปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการอยู่รอดจนสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยการวิเคราะห์ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค (univariate and multivariate logistic regression) ผลการศึกษาโดยวิธี univariate regression พบว่า ผู้ป่วยได้รับการใส่ VA ECMO มี 81 คน รอดชีวิต 20 คน คิดเป็นอัตราการรอดชีวิต 24.69% ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการรอดชีวิต ได้แก่ การบีบตัวผนังห้องซ้าย ( LVEF) , ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล, ระยะเวลาใส่ VA ECMO, Glasgow Coma Scale , ขนาดยานอร์อิพิเนฟริน, ระดับความเข้มข้นโซเดียมในเลือด, ความดันคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดแดง ( ABG CO2), lactate ก่อนใส่ VA ECMO และอัตราการเสียชีวิตโดยคาดคะเนจากคะแนน APACHE2, และ SOFA เมื่อนำปัจจัยต่าง …


การศึกษาเปรียบเทียบดัชนีการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ระหว่างผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นและอาสาสมัครสุขภาพแข็งแรง, จรงกร ศิริมงคลเกษม Jan 2019

การศึกษาเปรียบเทียบดัชนีการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ระหว่างผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นและอาสาสมัครสุขภาพแข็งแรง, จรงกร ศิริมงคลเกษม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาและวัตถุประสงค์: แม้ว่าเคยมีรายงานความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea) หรือภาวะ OSA กับโรคลำไส้แปรปรวน แต่ยังไม่มีการศึกษากลไกทางสรีรวิทยาของการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ในภาวะนี้ เราจึงตั้งเป้าหมายเพื่อศึกษาความแตกต่างของการบีบตัวลำไส้ใหญ่ระหว่างผู้ป่วยภาวะ OSA และกลุ่มสุขภาพแข็งแรง วิธีการวิจัย: คัดกรองอาสาสมัครที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะ OSA โดยใช้แบบสอบถาม STOP-Bang และอาสาสมัครสุขภาพแข็งแรงเข้าร่วมงานวิจัย ทำตรวจการบีบตัวของลำไส้ใหญ่พร้อมกับการตรวจการนอนหลับช่วงกลางคืนและนำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ผลการวิจัย: ผู้ป่วยจำนวน 6 คน ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะ OSA จากเกณฑ์ดัชนีหยุดหายใจและหายใจแผ่วเบาอย่างน้อย 10 และอาสาสมัครสุขภาพแข็งแรงอีกจำนวน 6 คนมีดัชนีดังกล่าวน้อยกว่า 10 ข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่ต่างกันยกเว้นอายุ ดัชนีหยุดหายใจและหายใจแผ่วเบาในกลุ่ม OSA มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (20.8 ± 7.3 ต่อ 5 ± 3.2, p< 0.05) ในขณะที่ค่าตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับนั้นไม่มีความแตกต่างกันระหว่างประชากรสองกลุ่ม ดัชนีการบีบตัวรวมของทุกส่วนของลำไส้ใหญ่ของกลุ่ม OSA มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (317.0 ± 114.1 ต่อ 198.3 ± 32.0 มิลลิเมตรปรอท*วินาทีต่อนาที p = 0.05) จากการวิเคราะห์สหสัมพันธ์พบว่ามีเพียงดัชนีหยุดหายใจและหายใจแผ่วเบาที่มีความเกี่ยวข้องกับค่าดัชนีการบีบตัวที่สูงขึ้น (r = 0.67, p = 0.02) สรุปผลการวิจัย: ผู้ป่วยภาวะ OSA มีการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ในระหว่างการนอนหลับมากกว่าอาสาสมัครสุขภาพแข็งแรงและจำนวนการตื่นเร้าไม่มีผลต่อการบีบตัวของลำไส้ใหญ่


ความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือของคะแนนรวมอาการผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติฉบับภาษาไทยสำหรับผู้ป่วยโรคเส้นประสาทอัตโนมัติพิการในผู้ป่วยนอกคลินิกอายุรกรรมประสาทโรคเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ชไมพร เตชะกำพุ Jan 2019

ความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือของคะแนนรวมอาการผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติฉบับภาษาไทยสำหรับผู้ป่วยโรคเส้นประสาทอัตโนมัติพิการในผู้ป่วยนอกคลินิกอายุรกรรมประสาทโรคเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ชไมพร เตชะกำพุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบความเทียงตรงและความเชื่อมั่นด้วยการสอบซ้ำของแบบสอบถามคะแนนรวมอาการผิดปกติระบบประสาทอัตโนมัติฉบับภาษาไทย (Composite Autonomic Symptom Score 31, Thai-COMPASS 31) วิธีการวิจัย ผู้วิจัยขออนุญาตและแปลแบบสอบถาม COMPASS 31 ฉบับภาษาอังกฤษต้นฉบับเป็นภาษาไทย (Thai-COMPASS 31) ที่มีความทัดเทียมเชิงเนื้อหาและวัฒนธรรม แล้วนำมาทดสอบกับผู้ป่วยโรคเส้นประสาทอัตโนมัติพิการที่มีอาการคงที่และได้ตรวจระบบประสาทอัตโนมัติทางห้องปฏิบัติการครบถ้วนภายในระยะเวลา 12 เดือน และมีคะแนนรวม Composite Autonomic Severity Score (CASS) ตั้งแต่ 1 คะแนนขึ้นไป ผู้เข้าร่วมวิจัยตอบแบบสอบถาม Thai-COMPASS 31 ฉบับเดิมด้วยตนเอง 2 ครั้งห่างกัน 2 สัปดาห์ ผู้วิจัยทดสอบความเที่ยงตรงของคะแนนรวม Thai-COMPASS 31 ครั้งที่ 1 และคะแนนรวม CASS ในผู้ป่วยจำนวน 47 คน และทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีสอบซ้ำด้วยคะแนนรวม Thai-COMPASS 31 ทั้ง 2 ครั้ง กับผู้ป่วยจำนวน 42 คน และเปรียบเทียบคะแนนรวม Thai-COMPASS 31 ครั้งที่ 1 ในแต่ละกลุ่มย่อยของลักษณะประชากรพื้นฐาน ผลการศึกษา คะแนนรวม CASS มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคะแนนรวม Thai-COMPASS 31 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = 0.347; p<0.05) คะแนนรวม Thai-COMPASS 31 ทั้ง 2 ครั้งมีความสัมพันธ์กันทางบวกระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = 0.801; p<0.001) ค่ามัธยฐานเวลาที่ใช้ตอบแบบสอบถามเท่ากับ 7 นาที (IQR: 6,8) และไม่พบว่าคะแนนรวม Thai-COMPASS 31 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ระหว่างกลุ่มย่อยลักษณะประชากรพื้นฐาน สรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าแบบสอบถาม Thai-COMPASS 31 มีความเที่ยงตรงเมื่อเทียบกับคะแนนรวม CASS ซึ่งเป็นตัววัดมาตรฐาน และมีความเชื่อมั่นเมื่อทดสอบซ้ำ คะแนนรวม Thai-COMPASS 31 สามารถนำไปใช้กับประชากรไทยทั่วไปที่มีโรคเส้นประสาทอัตโนมัติพิการได้


การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนัง จุลชีพและเพปไทด์ต้านจุลชีพของผิวหนังผู้ป่วยมะเร็งก้อนระยะกระจายที่ได้รับยายับยั้งการทำงานของอิพิเดอร์มอลโกรทแฟคเตอร์รีเซพเตอร์, ทิวานันท์ พรหมวรานนท์ Jan 2019

การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนัง จุลชีพและเพปไทด์ต้านจุลชีพของผิวหนังผู้ป่วยมะเร็งก้อนระยะกระจายที่ได้รับยายับยั้งการทำงานของอิพิเดอร์มอลโกรทแฟคเตอร์รีเซพเตอร์, ทิวานันท์ พรหมวรานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: ผลข้างเคียงทางผิวหนังที่เกิดจากยายับยั้งการทำงานของอิพิเดอร์มอลโกรทแฟคเตอร์รีเซพเตอร์(EGFR inhibitors) มักพบการติดเชื้อ Staphylococcus aureus เป็นส่วนมาก อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้แน่ชัด และยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับ skin microbiota ในผู้ป่วยกลุ่มนี้มาก่อน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของ skin microbiota และ antimicrobial peptides ที่ผิวหนังของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับ EGFR inhibitors เปรียบเทียบที่ก่อนและหลังได้รับยาเป็นระยะเวลา 1 เดือน และ 6 เดือน วิธีการศึกษา: รวบรวมผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับ EGFR inhibitors จำนวน 19 คน เก็บตัวอย่างจากแก้ม ซอกเล็บนิ้วโป้งและซอกเล็บนิ้วกลางเท้า ส่งวิเคราะห์ skin microbiota ด้วย 16S rRNA gene sequencing และเก็บตัวอย่างจากแก้มโดยเทคนิค tape stripping ส่งวิเคราะห์ total protein และ hBD-3, RNase7 ด้วยวิธี micro bicinchoninic (BCA) protein assay kit และ enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) และวัด biophysical properties ของผิวหนัง ที่ก่อนได้รับยา และหลังได้รับยาเป็นระยะเวลา 1 และ 6 เดือน ผลการศึกษา: เมื่อเปรียบเทียบที่ก่อนและหลังได้รับยาเป็นระยะเวลา 6 เดือน ผล 16S rRNA gene sequencing จากผู้ป่วยจำนวน 8 คน พบว่าความชุกชุมสัมพัทธ์ของไฟลัม Actinobacteria มีค่าเพิ่มมากขึ้น ส่วนไฟลัม Bacteroidetes มีค่าลดลง และผล ELISA จากผู้ป่วยจำนวน 15 คน พบว่า …