Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Sciences

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2018

Articles 1 - 30 of 94

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ความชุกของเชื้อลิชมาเนีย และทริพพาโนโซมในริ้นฝอยทราย ที่เก็บได้จากแหล่งระบาดของโรคลิชมาเนียในประเทศไทย, พิมพ์พิลาส ศรีสุธน Jan 2018

ความชุกของเชื้อลิชมาเนีย และทริพพาโนโซมในริ้นฝอยทราย ที่เก็บได้จากแหล่งระบาดของโรคลิชมาเนียในประเทศไทย, พิมพ์พิลาส ศรีสุธน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ริ้นฝอยทราย จัดเป็นแมลงดูดเลือดที่มีขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Psychodidae อันดับ Diptera ซึ่งเป็นแมลงที่มีความสำคัญทางการแพทย์ เพราะเป็นพาหะนำโรคลิชมาเนีย ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ในประเทศไทยมีรายงานการพบโรคลิชมาเนียและโรคทริพพาโนโซมในมนุษย์ แต่ข้อมูลของแมลงพาหะนำโรค ยังมีอยู่อย่างจำกัด งานวิจัยนี้ จึงได้ทำการศึกษาความชุกของเชื้อลิชมาเนียและเชื้อทริพพาโนโซม และความสัมพันธ์ของแมลงพาหะนำโรค ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งระบาดของโรคลิชมาเนีย (จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดเชียงราย) และพื้นที่ที่ไม่ใช่แหล่งระบาดของโรคลิชมาเนีย (จังหวัดชุมพร) จำนวนทั้งหมด 500 ตัวอย่าง แบ่งออกเป็นตัวเมีย 276 ตัวอย่าง และตัวผู้ 224 ตัวอย่าง ทำการตรวจหาเชื้อลิชมาเนีย และเชื้อทริพพาโนโซม โดยใช้ตำแหน่งของยีน ITS1 และ SSU rRNA ตามลำดับ และระบุชนิดของริ้นฝอยทรายที่ตรวจพบเชื้อ ด้วยเทคนิคทางอณูชีววิทยาโดยใช้ตำแหน่งของยีน COI และ CytB ผลตรวจหาเชื้อลิชมาเนีย และทริพพาโนโซมในริ้นฝอยทราย พบว่า ริ้นฝอยทรายจากจังหวัดสงขลาจำนวน 180 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อ L. martiniquensis 2 ตัวอย่าง (1.1%) และพบเชื้อ Trypanosoma sp. 4 ตัวอย่าง (2.8%) ในริ้นฝอยทราย Se. khawi ซึ่งในจำนวนนี้มีการตรวจพบ Co-infection ของเชื้อ L. martiniquensis และ Trypanosoma sp. ในริ้นฝอยทราย Se. khawi 1 ตัวอย่างด้วย ริ้นฝอยทรายจากจังหวัดพัทลุง จำนวน 136 ตัวอย่าง ตรวจพบ Trypanosoma sp. 2 ตัวอย่าง (1.5%) ในริ้นฝอยทราย Se. khawi และ Se. indica ริ้นฝอยทรายจากจังหวัดเชียงราย 61 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อ Trypanosoma noyesi 1 …


การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินขณะบริหารยาทางเส้นเลือด หลังการให้ยาแอนตี้ฮิสต้ามีน ในผู้ป่วยที่ได้การรักษาซ้ำ ด้วยยาเคมีบำบัดอ๊อกซาลิพลาติน, ฐิชกาญจน์ จันทสิริยากร Jan 2018

การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินขณะบริหารยาทางเส้นเลือด หลังการให้ยาแอนตี้ฮิสต้ามีน ในผู้ป่วยที่ได้การรักษาซ้ำ ด้วยยาเคมีบำบัดอ๊อกซาลิพลาติน, ฐิชกาญจน์ จันทสิริยากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา อ๊อกซาลิพลาติน เป็นยาเคมีบำบัดหลักที่ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ผลข้างเคียงที่มักพบบ่อย คือการเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินขณะได้รับอ๊อกซาลิพลาตินทางเส้นเลือด โดยมีแน้วโน้มสูงขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดที่มีอ๊อกซาลิพลาตินซ้ำ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินขณะได้รับอ๊อกซาลิพลาตินทางเส้นเลือด ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดที่มีอ๊อกซาลิพลาตินซ้ำ ซึ่งจะได้รับยาป้องกันคือ ยากลุ่ม แอนติฮิสตามีน ก่อนการให้ยาอ๊อกซาลิพลาติน วิธีการศึกษา ผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับยาคลอร์เฟนิรามีน 10 มิลลิกรัม ร่วมกับ รานิทิดีน 50 มิลลิกรัม ฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำ ก่อนเริ่มยาเคมีบำบัด 30นาที ในทุกรอบการรักษา จนกว่าการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดสูตรนี้จะยุติลง โดยจะรายงานอุบัติการณ์การเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินขณะได้รับอ๊อกซาลิพลาตินทางเส้นเลือด ผลการวิจัย ตั้งแต่ 1 ก.พ.2561 ถึง 20 เม.ย. 2562 มีผู้เข้าร่วมในวิจัย 35 คน พบการเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินขณะได้รับอ๊อกซาลิพลาตินทางเส้นเลือด ทั้งหมด 5 คน โดยไม่มีผู้เข้าร่วมวิจัยที่ต้องยุติการรักษาเนื่องจากการเกิดปฏิกิริยาการแพ้ดังกล่าว สรุปผลการวิจัย ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาซ้ำด้วยอ๊อกซาลิพลาติน พบอุบัติการณ์การเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบภูมิไวเกินขณะได้รับอ๊อกซาลิพลาตินทางเส้นเลือดหลังให้การป้องกันด้วยยากลุ่มแอนตี้ฮิสตามีน ร้อยละ 14.28


ความชุกของภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ปานุวัฒน์ สุธีรยงประเสริฐ Jan 2018

ความชุกของภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ปานุวัฒน์ สุธีรยงประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คำนำ: ภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีความสัมพันธ์กับการอักเสบเรื้อรังและภาวะสูงอายุ ภาวะนี้อาจมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานหรือสมรรถภาพทางเพศที่ลดลง การศึกษานี้เป็นการหาความชุกของภาวะนี้ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพศชายในประชากรไทย วิธีการ: การศึกษารวบรวมผู้ป่วยชายโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และชายสูงอายุสุขภาพดีที่รักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วัดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนโดยวิธี electrochemiluminescent immunoassay (ECLIA) รวมถึงการตรวจสมรรถภาพปอด และทำแบบสอบถามเพื่อประเมินสภาวะสุขภาพกาย จิต และ คุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษาประกอบด้วย ผู้ป่วย COPD เพศชาย 91 ราย และ ผู้สูงอายุชาย 39 ราย โดยมีอายุเฉลี่ย 72.6 และ 66.7 ปีตามลำดับ ความชุกของภาวะพร่องเทสโทสเตอโรนในผู้ป่วย COPD เป็น 8.8 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับผู้สูงอายุชาย 5.1 เปอร์เซ็นต์ (p = 0.722) โดยพบว่ากลุ่มผู้ป่วย COPD ที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีปริมาตร FVC ต่ำกว่าในกลุ่มที่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนปกติ (Pre-FVC: 2.07 vs 2.66, p = 0.03; Post-FVC: 1.80 vs 2.72, p = 0.02) สรุป: ความชุกของภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้ป่วยชาย COPD ไม่แตกต่างจากประชากรสูงอายุชายสุขภาพดี โดยความชุกอยู่ที่ 8.8 เปอร์เซ็นต์ และค่าการตรวจสมรรถภาพปอดที่มีระดับ FVC ต่ำอาจสัมพันธ์กับภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน


การศึกษาเปรียบเทียบขนาดก้อนมะเร็งตับอ่อน ในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนระยะลุกลาม ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการเผาทำลายโดยใช้เข็มคลื่นวิทยุผ่านทางกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดสูตรมาตรฐาน และ กลุ่มที่รักษาโดยการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดสูตรมาตรฐานเพียงอย่างเดียว, เกศินี เธียรกานนท์ Jan 2018

การศึกษาเปรียบเทียบขนาดก้อนมะเร็งตับอ่อน ในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนระยะลุกลาม ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการเผาทำลายโดยใช้เข็มคลื่นวิทยุผ่านทางกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดสูตรมาตรฐาน และ กลุ่มที่รักษาโดยการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดสูตรมาตรฐานเพียงอย่างเดียว, เกศินี เธียรกานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เป้าหมายงานวิจัย: เพื่อศึกษา เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของขนาดของก้อนที่ตับอ่อน ของมะเร็งตับอ่อนระยะลุกลาม ระหว่างผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการเผาทำลายโดยใช้เข็มคลื่นวิทยุผ่านทางกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด วิธีการศึกษา : เทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการรักษาด้วยการเผาทำลายโดยใช้เข็มคลื่นวิทยุผ่านทางกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดและกลุ่มควบคุม คือผู้ป่วยที่มี อายุ เพศ ระยะของมะเร็งตับอ่อน และ ECOG ใกล้เคียงกับผู้ป่วยกลุ่มทดลอง แต่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว มาเปรียบเทียบขนาดก่อนหลัง,ภาวะแทรกซ้อน และ ปริมานยาแก้ปวดที่ใช้ ก่อนและหลังทำการรักษาในช่วง 3เดือน ผลการศึกษา :เก็บข้อมูลตั้งแต่ กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ถึง กันยายน พ.ศ. 2561ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น28 ราย เป็นกลุ่มทดลอง และ กลุ่มควบคุม อย่างละ 14 ราย (อายุเฉลี่ย66.14±10ปี; อัตราส่วน ชาย: หญิง= 1: 3)พบว่า ไม่มีความแตกต่างของลักษณะก่อนทำการรักษาระหว่างประชากรระหว่างทั้งสองกลุ่ม มีการส่องกล้องคลื่นเสียง และเผาทำลายด้วยเข็มคลื่นวิทยุ ทั้งสิ้น 34 ครั้ง(พิสัย 1-4ครั้ง/คน)มีรายงานภาวะแทรกซ้อน ทั้งสิ้น3 ใน 34 ครั้ง ในผู้ป่วย2 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.8 ได้แก่ การติดเชื้อในก้อนมะเร็ง จำเป็นต้องได้ยาฆ่าเชื้อ (นอนโรงพยาบาล 7 วัน ), เลือดออกจากรอยเจาะเข็ม ใช้ฮีโมคลิปหยุดเลือด (นอนโรงพยาบาล 7 วัน)และ ตับอ่อนอักเสบไม่รุนแรง (นอนโรงพยาบาล 2วัน)โดยภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยไม่มียังสามารถเข้ารับยาเคมีบำบัดได้ตามกำหนดการเดิม ผลการทดลองพบว่า ในกลุ่มทดลอง ความยาวของก้อนมะเร็งไม่โตขึ้น (ก่อน เทียบกับ หลัง ; 61.37±20.1 ม.ม. เทียบกับ 64.25±22.0 ม.ม. (P = 0.099)แต่ในกลุ่มควบคุม ความยาวก้อนมะเร็งโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (ก่อน เทียบกับ หลัง ; 50.1 ± 21.1ม.ม. เทียบกับ 55.4 …


การศึกษาไขว้กลุ่มแบบไปข้างหน้า เปรียบเทียบอัตราการลดลงของของเสียที่จับกับโปรตีน ระหว่างการฟอกเลือดโดยใช้ตัวกรองรูกรองใหญ่พิเศษเปรียบเทียบกับการฟอกเลือดวิธีฮีโมไดอะฟิวเตรชัน ประสิทธิภาพสูงโดยใช้ตัวกรองมาตรฐาน, ธีระชัย ธรรมาธิวัฒน์ Jan 2018

การศึกษาไขว้กลุ่มแบบไปข้างหน้า เปรียบเทียบอัตราการลดลงของของเสียที่จับกับโปรตีน ระหว่างการฟอกเลือดโดยใช้ตัวกรองรูกรองใหญ่พิเศษเปรียบเทียบกับการฟอกเลือดวิธีฮีโมไดอะฟิวเตรชัน ประสิทธิภาพสูงโดยใช้ตัวกรองมาตรฐาน, ธีระชัย ธรรมาธิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย: การฟอกเลือดวิธีฮีโมไดอะฟิวเตรชัน เป็นวิธีการฟอกเลือดที่ดีที่สุดในปัจจุบันของผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยมีการศึกษาต่างๆ พบว่า การฟอกเลือดวิธีฮีโมไดอะฟิวเตรชันสามารถกำจัดสารยูรีมิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารยูรีมิกที่จับกับโปรตีน เช่น อินดอกซิลซัลเฟต และสารยูรีมิกขนาดกลาง เช่น บีต้า 2 ไมโครโกลบูลิน ได้ดีกว่าการฟอกเลือดโดยใช้ตัวกรองมาตรฐาน ทำให้การฟอกเลือดวิธีฮีโมไดอะฟิวเตรชันมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าสามารถลดอัตราเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามวิธีการฟอกเลือดนี้ไม่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย และมีราคาแพงมากกว่าการฟอกเลือดด้วยตัวกรองมาตรฐาน จึงนำไปสู่การศึกษาปัจจุบันที่เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการฟอกเลือดด้วยตัวกรองใหม่รูใหญ่พิเศษ (Novel super high-flux dialyzer, PES 17D alpha, Nipro, Japan) เปรียบเทียบกับการฟอกเลือดวิธีฮีโมไดอะฟิวเตรชัน ในแง่ของการกำจัดสารยูรีมิกที่จับกับโปรตีน และสารยูรีมิกขนาดกลาง โดยการศึกษานีเป็นการศึกษาแบบเทียบเคียง (non-inferiority trial) ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มไขว้แบบไปข้างหน้า รวบรวมผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอยู่เดิมทั้งหมด 12 ราย แบ่งการรักษาออกเป็น 2 กลุ่ม โดยที่สุ่มผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งฟอกเลือดด้วยตัวกรองรูใหญ่พิเศษ และอีกกลุ่มหนึ่งฟอกเลือดด้วยวิธีฮีโมไดอะฟิวเตรชัน แล้วจึงสลับการรักษา 12 สัปดาห์หลังการรักษา โดยผู้ป่วยมีระยะเวลาเข้าศึกษา (run-in) และ ระยะพัก (wash-out) ของการศึกษาเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ โดยใช้การฟอกเลือดด้วยตัวกรองมาตรฐาน (high flux dialyzer) โดยกำหนดคำถามหลักของการวิจัยคือเปรียบเทียบอัตราการลดลงของอินดอกซิลซัลเฟตของทั้ง 2 การรักษา นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบอัตราการลดลงของสารยูรีมิกขนาดกลาง และสารยูรีมิกขนาดเล็ก รวมไปถึงการสูญเสียอัลบูมินทางน้ำยาไตเทียม และตัวชี้วัดทางโภชนาการ โดยการศึกษานี้กำหนดให้จุดตัดของอัตราการลดลงของอินดอกซิลซัลเฟตไม่น้อยไปกว่าร้อยละ 5 จะถือว่าไม่มีความแตกต่างกันของการรักษาทั้ง 2 วิธี ผลการศึกษา: การฟอกเลือดด้วยตัวกรองรูใหญ่พิเศษมีประสิทธิภาพเทียบเคียงกับการฟอกเลือดวิธีฮีโมไดอะฟิวเตรชันในแง่อัตราการลดลงของอินดอกซิลซัลเฟต เป็นร้อยละ 50.9.8±25.03 และ 50.5±41.1 ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยของความต่างร้อยละ 5.87 (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95, -1.63, 13.37). สำหรับอัตราการลดลงของบีต้า 2 ไมโครโกลบูลิน และ อัลฟา 1 ไมโครโกลบูลิน ซึ่งเป็นสารยูรีมิกขนาดกลางไม่แตกต่างกันระหว่างการรักษาทั้ง 2 วิธี โดยมีค่าเฉลี่ยของความต่างร้อยละ 1.98 (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95, -0.21, 4.18) …


ความแม่นยำของการใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดต่อเนื่องเปรียบเทียบกับการใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดเจาะปลายนิ้วในการปรับอินซูลินในหอผู้ป่วยวิกฤติทาง อายุรกรรม, วัณณิตา ติงสรัตน์ Jan 2018

ความแม่นยำของการใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดต่อเนื่องเปรียบเทียบกับการใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดเจาะปลายนิ้วในการปรับอินซูลินในหอผู้ป่วยวิกฤติทาง อายุรกรรม, วัณณิตา ติงสรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความแม่นยำของการใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดต่อเนื่องเปรียบเทียบกับการใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดเจาะปลายนิ้วในการปรับอินซูลินในหอผู้ป่วยวิกฤติทางอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย วิธีการวิจัย เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ถึง 80 ปี ในหอผู้ป่วยวิกฤติทางอายุรกรรมที่มีน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และได้รับการรักษาด้วยอินซูลินทางหลอดเลือดดำอย่างน้อย 24 ชั่วโมง จะได้รับการติดเครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดต่อเนื่องใต้ชั้นผิวหนัง รุ่น iPro2 Medtronic เพื่อศึกษาระดับน้ำตาลเปรียบเทียบกับการเจาะเลือดปลายนิ้วใน 24 ชั่วโมงแรก และประเมินความแม่นยำของเครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดต่อเนื่องโดยใช้ค่า mean absolute relative difference (MARD) ซึ่งค่าที่ยอมรับคือ < 14%, กราฟ surveillance error grid analysis (SEG) และดูความสอดคล้องของข้อมูล โดยการใช้ Modified Bland-Altman Plot ผลการศึกษา มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 17 ราย ข้อมูลจากผู้ป่วยจำนวน 12 รายถูกนำมาวิเคราะห์ผล มีจำนวนคู่ของระดับน้ำตาลจากการเจาะเลือดปลายนิ้วใน 24 ชั่วโมงแแรกเปรียบเทียบกับเครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดต่อเนื่องจำนวน 144 คู่ ระดับน้ำตาลเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมงแรกจากเครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดต่อเนื่องเท่ากับ 161.28 ± 32.16 และ จากการเจาะเลือดปลายนิ้วเท่ากับ 161.09 ± 32.30 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (p value = 0.878) ความแม่นยำของเครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดต่อเนื่องมีค่า MARD เท่ากับร้อยละ 7.2 , SEG analysis มีระดับน้ำตาลที่อยู่ใน zone A และ zone B เท่ากับร้อยละ 100 และ Modified Bland-Altman Plot แสดง 95% of limit of agreement เท่ากับ -19.3% ถึง 20.6% สรุปการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าการใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดต่อเนื่องในผู้ป่วยวิกฤติทางอายุรกรรมมีระดับน้ำตาลไม่แตกต่างจากการเจาะเลือดปลายนิ้ว


การเปรียบเทียบการทำความสะอาดรอบท่อปัสสาวะระหว่างน้ำเกลือปกติและน้ำยาแซฟลอน ก่อนสวนปัสสาวะในการลดอุบัติการณ์ของแบคทีเรียในปัสสาวะหลังการคาสายสวน: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม, สาริน คหะแก้ว Jan 2018

การเปรียบเทียบการทำความสะอาดรอบท่อปัสสาวะระหว่างน้ำเกลือปกติและน้ำยาแซฟลอน ก่อนสวนปัสสาวะในการลดอุบัติการณ์ของแบคทีเรียในปัสสาวะหลังการคาสายสวน: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม, สาริน คหะแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนเป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบบ่อยซึ่งนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทำให้ผู้ป่วยต้องรับการรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากขึ้น พบว่าการมีเชื้อแบคทีเรียอยู่บริเวณรอบท่อปัสสาวะมีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์ของการมีแบคทีเรียในปัสสาวะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการทำความสะอาดรอบท่อปัสสาวะก่อนคาสายสวน ระหว่างของน้ำเกลือปกติและน้ำยาฆ่าเชื้อแซฟลอน ในการลดอุบัติการณ์ของแบคทีเรียในปัสสาวะหลังการคาสายสวน ผู้ป่วยและวิธีวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองไปข้างหน้าแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบ ว่าน้ำเกลือปกติไม่ด้อยกว่าน้ำยาแซฟลอนในการลดอุบัติการณ์ของแบคทีเรียในปัสสาวะในวันที่ 5 หลังการคาสายสวน โดยถือว่าไม่ด้อยกว่าหากอุบัติการณ์แตกต่างกันไม่เกินร้อยละ 10 ทำในผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะใน 2 หอผู้ป่วยอายุรกรรมวิกฤต 2 หอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทวิกฤต 1 หอผู้ป่วยศัลยกรรมวิกฤต 4 หอผู้ป่วยอายุรกรรมทั่วไป 4 หอผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป และห้องฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2561 ถึงวันที่ 30 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2562 โดยผู้ป่วยจะได้น้ำเกลือปกติหรือน้ำยาแซฟลอนทำความสะอาดรอบท่อปัสสาวะก่อนคาสายสวน น้ำยาแต่ละชนิดจะถูกสุ่มให้ใช้ในแต่ละหอผู้ป่วยที่มีลักษณะผู้ป่วยเหมือนกันตั้งแต่เริ่มการศึกษา และหลังจากนั้นจะสลับกันทุก 3 เดือนจนครบกำหนดระยะเวลาการศึกษา ผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนจะได้รับการเก็บปัสสาวะเพาะเชื้อในวันที่ 1, 3, และ 5 ของการคาสายสวน ผลการวิจัย: จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 508 ราย ถูกสุ่มให้อยู่ในกลุ่มน้ำเกลือปกติ 254 ราย และน้ำยาแซฟลอน 254 ราย ผู้ป่วยร้อยละ 55.7 ได้รับการคาสายสวนที่ห้องฉุกเฉิน อุบัติการณ์ของแบคทีเรียในปัสสาวะในวันที่ 3 และ 5 หลังการคาสายสวนของผู้ป่วยทุกรายเท่ากับร้อยละ 3.5 และ 12 ตามลำดับ อัตราการติดเชื้อ 2.9 ครั้งต่อ 1000 วันใส่สายสวน ระยะเวลามัธยฐานของการคาสายสวนคือ 5 (IQR 4, 7) วัน ในวันที่ 5 หลังการคาสายสวนพบว่าอุบัติการณ์ของแบคทีเรียในปัสสาวะในกลุ่มที่ใช้น้ำเกลือปกติและน้ำยาแซฟลอนในการทำความสะอาด เท่ากับร้อยละ 10.6 และ 6.6 ตามลำดับ (ค่าเฉลี่ยของผลต่าง ร้อยละ 3.9; 95% confidence interval (CI) 0.3 to …


ผลของผ้าปิดตาและที่อุดหูในเวลากลางคืนต่อคุณภาพการนอนหลับในหอผู้ป่วยวิกฤต, ภูรีพัทธ์ อรรถเวชกุล Jan 2018

ผลของผ้าปิดตาและที่อุดหูในเวลากลางคืนต่อคุณภาพการนอนหลับในหอผู้ป่วยวิกฤต, ภูรีพัทธ์ อรรถเวชกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: เสียงและแสงรบกวนที่มากเกินไปในหอผู้ป่วยวิกฤตนั้นสามารถที่จะรบกวนการนอนหลับของผู้ป่วยโดยการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวของสมองส่งผลให้คุณภาพการนอนหลับเลวลง เป้าหมาย: เพื่อที่จะประเมินประสิทธิภาพของอุปกรณ์ผ้าปิดตาและที่อุดหูในการเพิ่มคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติ วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าพักในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม จำนวน 20 คนได้เข้าสู่การศึกษา โดยจะสุ่มผู้ป่วยเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มแรกจะได้รับการสวมใส่อุปกรณ์ผ้าปิดตาและที่อุดหูในเวลากลางคืนเป็นเวลาห้าคืน ส่วนกลุ่มที่สองจะเป็นกลุ่มควบคุม มีผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มการรักษา 10 คน และ กลุ่มควบคุม 10 คน วัดผลดัชนีการตื่นตัวของสมองและค่าทางการนอนหลับอื่นๆ โดยเครื่องตรวจการนอนหลับที่มีผู้เฝ้า (attended polysomnography) วัดการนอนหลับและการเคลื่อนไหวของร่างกายในเวลากลางวันด้วย wrist actigraphy และ ประเมินคุณภาพการนอนหลับโดยแบบสอบถาม Richard-Campbell sleep questionnaire ในทุกวันของการศึกษา นอกจากนี้ข้อมูลจาก wrist actigraphy และ polysomnography จะนำมาเปรียบเทียบเพื่อหาความสัมพันธ์ ผลการศึกษา: การใช้ผ้าปิดตาและที่อุดหูในเวลากลางคืนในช่วงคืนแรกมีแนวโน้มที่จะสามารถลดค่าดัชนีการตื่นตัวของสมองได้เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (21.00 (21.40) กับ 42.10 (27.05) เหตุการณ์ต่อชั่วโมง, p=0.086) เพิ่มคุณภาพการนอนหลับ (59.00 (5.48) กับ 56.4 (5.17), p= 0.146) และเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายในเวลากลางวัน (7806 [7003] vs 1556 [3889] ครั้ง, p =0.067) ผลการวัดค่าการนอนหลับจาก polysomnography และ wrist actigraphy มีความสัมพันธ์กันเพียงเล็กน้อยในทุก parameter สรุป: การสวมใส่ผ้าปิดตาและที่อุดหูในผู้ป่วยวิกฤติอายุรกรรมมีแนวโน้มที่จะลดดัชนีการตื่นตัวของสมอง เพิ่มคุณภาพการนอนหลับและเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายในเวลากลางวัน อุปกรณ์ wrist actigraphy ไม่สามารถวัดค่าการนอนหลับในผู้ป่วยวิกฤติอายุรกรรมได้อย่างแม่นยำ


Characterization Of Leptospiral Extracellular Vesicles In Stress Conditions, Eakalak Phanchamnan Jan 2018

Characterization Of Leptospiral Extracellular Vesicles In Stress Conditions, Eakalak Phanchamnan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pathogenic Leptospira spp. is a causative agent of leptospirosis, a worldwide zoonosis with public health concern especially in the urban slum of metropolis and rural areas in tropical and subtropical countries. The pathogenesis of leptospirosis remains elusive. Extracellular vesicles (ECVs), which pinch off from the bacterial membranes, simultaneously harbor multiple active molecules that may serve as a secretion system, communication tool, and vaccine candidates. Recently, chemically induced leptospiral ECVs were studied and used as vaccine candidates. However, the naturally produced leptospiral ECVs has not been characterized. This study aimed to identify proteins in leptospiral ECVs produced under stress conditions including …


Comprehensive Proteomics Identification Of Ifn-Λ3-Regulated Antiviral Proteins In Hbv-Transfected Cells, Jiradej Makjaroen Jan 2018

Comprehensive Proteomics Identification Of Ifn-Λ3-Regulated Antiviral Proteins In Hbv-Transfected Cells, Jiradej Makjaroen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Interferon (IFN)-λ is a relatively unexplored, yet promising anti-viral agent. IFN-λ has recently been tested in clinical trials of chronic hepatitis B, with the advantage that side effects may be limited compared with IFN-α, as IFN-λ receptors are found only in epithelial cells. To date, IFN-λ downstream signaling pathway remains largely unelucidated, particularly via proteomics methods. Here, we report that IFN-λ3 inhibits HBV replication in HepG2.2.15 cells, reducing levels of both HBV transcripts and intracellular HBV DNA. Quantitative proteomic analysis of HBV-transfected cells was performed following 24-hour IFN-λ3 treatment, with parallel IFN-α2a and PBS treatments for comparison using a dimethyl …


Anticancer Activity Of Plumbagin On Stem-Like Characteristics, Tumor Angiogenesis And Metastatic Potential In Endocrine Resistant Breast Cancer, Nithidol Sakunrangsit Jan 2018

Anticancer Activity Of Plumbagin On Stem-Like Characteristics, Tumor Angiogenesis And Metastatic Potential In Endocrine Resistant Breast Cancer, Nithidol Sakunrangsit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Plumbagin (PLB), a naphthoquinone compound and vitamin K3 derivative, was shown its potent cytotoxicity and anti-invasion in anti-hormonal resistant cells through the inhibition of Snail-induced epithelial mesenchymal transition (EMT). Overexpression of Snail leads to decrease E-cadherin and increase of beta-catenin, resulting in the activation of Wnt pathway that increases cancer stem-like characteristics in these resistant cells. This study was aimed to investigate the inhibitory effects of PLB on cancer stem-like cells (CSLCs), angiogenesis and Wnt signaling-mediated cell proliferation and invasion. In addition, our study also focused on the anticancer activity of PLB in anti-hormonal resistant breast cancer in vivo. Both …


ผลการตอบสนองของเทคนิคการฟื้นฟูสมรรถภาพกายแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างเทคนิคหะฐะโยคะกับเทคนิคฟีฟ่า 11+ ภายหลังการออกกำลังกายส่วนขาด้วยระดับความหนักสูงสุดในนักกีฬาฟุตบอลชาย, พรรัตน์ จันทรังษี Jan 2018

ผลการตอบสนองของเทคนิคการฟื้นฟูสมรรถภาพกายแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างเทคนิคหะฐะโยคะกับเทคนิคฟีฟ่า 11+ ภายหลังการออกกำลังกายส่วนขาด้วยระดับความหนักสูงสุดในนักกีฬาฟุตบอลชาย, พรรัตน์ จันทรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของเทคนิคการฟื้นฟูสมรรถภาพกายแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างเทคนิคหะฐะโยคะกับเทคนิคฟีฟ่า 11+ และเทคนิคพื้นฐานภายหลังการออกกำลังกายส่วนขาด้วยระดับความหนักสูงสุดในนักกีฬาฟุตบอลชาย โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครนักฟุตบอลเพศชาย อายุ 18-29 ปี ที่มีระดับการแข่งขันอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยหรือสโมสรฟุตบอลต่างๆ จำนวน 59 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเทคนิคพื้นฐาน (n=20) กลุ่มหะฐะโยคะ (n=20) และกลุ่มฟีฟ่า 11+ (n=19) กำหนดให้อาสาสมัครทุกคนได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายกระตุ้นการล้าของขาด้วยการปั่นจักรยาน Wingate ที่ความหนัก 7.5% ของน้ำหนักตัว จำนวน 3 รอบ หลังจากนั้นจะแบ่งกลุ่มเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นระยะเวลา 20 นาที ซึ่งจะได้รับการทดสอบสมรรถภาพทุกๆ 5 นาที ได้แก่ อัตราการเต้นของชีพจร ระดับความล้าของกล้ามเนื้อ ค่าแลคเตทในเลือด ค่าการกระโดดสูงสุดและค่าความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง พบว่าผลการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนออกกำลังกาย กลุ่มหะฐะโยคะ ค่าการกระโดดสูงสุดมีค่าเพิ่มมากขึ้น (p<0.01) และค่าความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังมีค่าเพิ่มมากขึ้น (p<0.01) อีกทั้งไม่พบความแตกต่างของอัตราการเต้นของชีพจร ระดับความล้าของกล้ามเนื้อและค่าแลคเตทในเลือด จากการวิจัยสรุปได้ว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพกายแบบมีกิจจกรรมการเคลื่อนไหวด้วยเทคนิคหะฐะโยคะภายหลังการออกกำลังกายส่วนขาด้วยระดับความหนักสูงสุด สามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายในด้านความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อในนักกีฬา ในแง่ของการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถใช้ระหว่างพักครึ่งการแข่งขันที่มีเวลาอย่างจำกัดเพื่อให้สมรรถภาพทางกายของนักกีฬาพร้อมต่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป


ประสิทธิผลของการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการลดน้ำหนักในนิสิตระดับปริญญาตรีที่มีภาวะน้ำหนักเกิน, ธัมมะธิดา พัฒนพงศา Jan 2018

ประสิทธิผลของการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการลดน้ำหนักในนิสิตระดับปริญญาตรีที่มีภาวะน้ำหนักเกิน, ธัมมะธิดา พัฒนพงศา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแก้ปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินในประชากรถือเป็นความท้าทายที่สำคัญด้านสาธารณสุข โดยมีความสนใจที่จะนำสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook มาใช้ในการทำกิจกรรมเพื่อส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทำให้น้ำหนักตัวลดลง วัตถุประสงค์แรกของการศึกษานี้คือการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้กิจกรรมการลดน้ำหนักในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ผ่านมา โดยการสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูล PubMed Scopus และ Cochrane Library โดยสืบค้นในช่วงปี พ.ศ. 2548-2557 เลือกงานวิจัยการทดลองแบบสุ่มที่ใช้ภาษาอังกฤษหรือไทย ภายใต้คำสำคัญที่ใช้สืบค้นเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินและการใช้สื่อสังคมออนไลน์พบว่ามีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 436 บทความ และที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 2 บทความ โดยการศึกษาดังกล่าวมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ คือ Facebook หรือ Twitter และพบความแตกต่างในผลการลดลงของน้ำหนักระหว่างกลุ่มทั้งที่ให้ผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและที่ไม่พบความแตกต่าง อันจะเห็นได้ว่างานวิจัยทางด้านนี้ยังมีปริมาณน้อยและผลในภาพรวมยังไม่ชัดเจน วัตถุประสงค์ที่สองของการศึกษานี้คือการทดลองเพื่อเปรียบเทียบผลของการประยุกต์ใช้กิจกรรมการลดน้ำหนักในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินในกลุ่มทดลองที่ทำกิจกรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Facebook เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ทำกิจกรรมแบบออฟไลน์และใช้หนังสือคู่มือเป็นสื่อ โดยใช้ระยะเวลาศึกษา 6 เดือน แบ่งเป็นช่วงทดลอง 4 เดือน และช่วงติดตามผล 2 เดือน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 66 คนเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีจากคณะต่าง ๆ ที่ถูกสุ่มเข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แต่ละกลุ่มมีอาสาสมัครจำนวน 33 คน ทั้งสองกลุ่มมีพื้นฐานกิจกรรมคล้ายกันคือการเรียนรู้จากหลักสูตรด้านโภชนาการและการออกกำลังกาย การรายงานน้ำหนักประจำวัน การได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ และกิจกรรมการถามตอบคำถาม ส่วนที่แตกต่างคือการจัดกิจกรรมแบบออนไลน์ผ่าน Facebook หรือแบบออฟไลน์โดยใช้หนังสือคู่มือและติดต่อผ่านทางเอกสาร ข้อมูลพื้นฐานของทั้งสองกลุ่มก่อนเริ่มทดลองไม่แตกต่างกันยกเว้นรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีการร่วมกิจกรรมขอรับคำปรึกษามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีการเพิ่มของคะแนนด้านความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อวัดตั้งแต่ก่อนทดลองจนถึงเดือนที่ 6 ทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจเมื่อสิ้นสุดเดือนที่ 4 และ 6 ในระดับดีมาก และระดับ Body Mass Index (BMI) และ Weight-to-Height Ratio (WHtR) ณ เดือนที่ 4 ของกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ Mean diff (95% Cl) เท่ากับ 0.72 (0.13,1.30) และ 0.00758 (0.00157,0.01358) ตามลำดับ แต่การลดลงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเมื่อวัด ณ เดือนที่ 6 อันแสดงให้เห็นว่าการใช้สื่อสังคมออนไลน์ Facebook สามารถส่งผลต่อการลดลงของค่า BMI และ WHtR ในช่วงการทดลองแต่ผลที่ได้อาจไม่ยั่งยืน …


การบรรลุเป้าหมายของระดับ Ldl-C ก่อนและหลังการใช้ชุดคำสั่งมาตรฐานในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, โชคชัย แซ่ลิ่ม Jan 2018

การบรรลุเป้าหมายของระดับ Ldl-C ก่อนและหลังการใช้ชุดคำสั่งมาตรฐานในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, โชคชัย แซ่ลิ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา : ในการลดระดับ LDL-cholesterol (LDL-C) ด้วยยาลดไขมันในกลุ่มยา statin ที่มีความแรงระดับสูง (high-intensity statin) มีการพิสูจน์แล้วว่าลดอุบัติการณ์เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่เนื่องจากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีระดับ LDL-C ยังไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน (LDL-C น้อยกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และ/หรือ LDL-C ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 50) วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดคำสั่งมาตรฐานขณะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลต่อผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเพื่อที่ระดับไขมันได้ตามเป้าหมาย วิธีการศึกษา : หลังจากที่มีการใช้ชุดคำสั่งมาตรฐานภายในโรงพยาบาล ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันทุกคน หลังจากนั้นติดตามเก็บผลระดับไขมันในเลือดที่ 2 ถึง 6 เดือน แล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลผู้ป่วยก่อนใช้ชุดคำสั่งมาตรฐานในช่วง 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2561 ที่มีผลข้อมูลระดับไขมันช่วงนอนโรงพยาบาลและขณะติดตามที่ 2 ถึง 6 เดือน ผลการศึกษา : มีจำนวนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในกลุ่มก่อนใช้ชุดคำสั่งมาตรฐาน 131 คน ที่มีผลระดับไขมันในเลือด ร้อยละ 97 ได้รับยา statin ที่มีความแรงระดับสูง เทียบกับยา atorvastatin 37.4 ± 9.8 มิลลิกรัมต่อวัน ค่าเฉลี่ยของ LDL-C ขณะนอนโรงพยาบาลและติดตาม คือ 116.43 ± 42.83 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และ 81.37 ± 25.17 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ตามลำดับ ส่วนในกลุ่มที่ใช้ชุดคำสั่งมาตรฐาน เก็บข้อมูลผู้ป่วยได้ 34 คน ร้อยละ 100 ได้รับ ยา statin ที่มีความแรงระดับสูง เทียบกับยา atorvastatin 40 มิลลิกรัมต่อวัน ค่าเฉลี่ยของ LDL-C ขณะนอนโรงพยาบาลและขณะติดตาม คือ 121 ± …


การศึกษาความชุก ลักษณะทางคลินิคและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษในผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว, วีรภัทร โฆษิตานุฤทธิ์ Jan 2018

การศึกษาความชุก ลักษณะทางคลินิคและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษในผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว, วีรภัทร โฆษิตานุฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาและความสำคัญ: ความชุกของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวและการฟื้นตัวของภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบดีในปัจจุบัน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษและการฟื้นตัวของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวและเพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษ ระเบียบวิธีวิจัย: ทำการศึกษาแบบทบทวนย้อนหลังในผู้ป่วย 90 คนที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวและมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษระหว่างปีพ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2560 ทำการคัดผู้ป่วย 26 คนออกจากการศึกษาเนื่องจากมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (2 คน) ลิ้นหัวใจเอออติกตีบรุนแรง (1 คน) ลิ้นหัวใจไมตรัลตีบหรือรั่วรุนแรง (4 คน) หลอดเลือดหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด (1 คน) และไม่มีผลการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขณะนอนโรงพยาบาล (18 คน) ได้ผู้ป่วยเข้าสู่การศึกษาทั้งหมด 64 คน โดยกำหนดนิยามดังนี้ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษ คือ มีการบีบตัวของหัวใจห้องซ้ายล่างน้อยกว่าร้อยละ 55 การฟื้นตัวของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษโดยสมบูรณ์ คือ มีการฟื้นตัวของการบีบตัวของหัวใจห้องซ้ายล่างมากกว่าร้อยละ 55 และการฟื้นตัวของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษบางส่วน คือ มีการฟื้นตัวของการบีบตัวของหัวใจห้องซ้ายล่างเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 แต่การบีบตัวของหัวใจห้องซ้ายล่างยังน้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 55 ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 64 คน มีผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายลดลง (Heart failure with reduced ejection fraction; HFrEF) คิดเป็นร้อยละ 19 และมีผู้ป่วยที่มีภาวะภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษ 33 คน คิดเป็นร้อยละ 0.9 ของผู้ป่วยทั้งหมดที่มานอนโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมีค่าเฉลี่ยของอายุอยู่ที่ 46 + 15 ปี เป็นผู้หญิงร้อยละ 58 ในจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษ 33 คน มีผู้ป่วย 14 คนที่มีผลการตรวจติดตามคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหลังการรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษ และมีผู้ป่วย 7 คนคิดเป็นร้อยละ 57 ที่มีการฟื้นตัวของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งผู้ป่วย 7 คนมีการฟื้นตัวของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษโดยสมบูรณ์ และ 1 คนมีการฟื้นตัวของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษบางส่วน จากการวิเคราะห์หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษพบว่าระดับฮีโมโกลบิน ระดับเม็ดเลือดขาว และระดับครีเอตินีนที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษโดยสมบูรณ์ โดยมีค่าอัตราส่วนปัจจัยเสี่ยงเป็น 1.35 ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 เป็น 1.01-1.79; …


การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมของการฝึกปริชานปัญญาในผู้สูงอายุไทยในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ, มุทิตา พนาสถิตย์ Jan 2018

การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมของการฝึกปริชานปัญญาในผู้สูงอายุไทยในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ, มุทิตา พนาสถิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การฝึกปริชานปัญญาในผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงการเกิดภาวะสมองเสื่อม แต่ผลของการฝึกปริชานปัญญาโดยใช้คอมพิวเตอร์ประสมเชิงโต้ตอบนั้นยังไม่สามารถสรุปผลได้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกปริชานปัญญาในผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย และออกแบบศึกษาเป็นการทดลองแบบกลุ่มและมีกลุ่มควบคุมชนิด 2 กลุ่มคู่ขนานแบบอำพรางทางเดียวโดยปกปิดผู้วัดผลลัพธ์ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาคลินิกที่ใช้ชุดทดสอบประสาทจิตวิทยา จุดวัดผลลัพธ์แรก (treatment effect) วัดผลการทำงานของปริชานปัญญาแบบองค์รวมใช้แบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทย (Thai Mental State Examination ;TMSE) ภายหลังจบการฝึก ณ สัปดาห์ที่ 12 (T1) และจุดวัดผลลัพธ์ที่สอง (carryover effect) ภายหลังจบการฝึก ณ สัปดาห์ที่ 24 (T2) ผลการศึกษา มีอาสาสมัคร 86 รายจากศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลนครนนทบุรีผ่านเกณฑ์คัดเข้าที่ต้องมีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป กลุ่มทดลองมีอายุเฉลี่ย 66.66±5.52 ปี และกลุ่มรายชื่อรอเรียกมีอายุเฉลี่ย 67.52±6.46 ปี ณ จุดเริ่มต้น (T0) กลุ่มทดลองและกลุ่มรายชื่อรอเรียกมีค่าเฉลี่ยคะแนน TMSE ใกล้เคียงกัน (28.84±1.38 และ 28.83±1.12 ตามลำดับ) และมีคุณภาพชีวิตในระดับดีและไม่มีภาวะซึมเศร้า ในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการเข้ารับการฝึกเท่ากับ 14.82±7.62 ครั้ง เมื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ด้วย intention-to-treat analysis ณ จุดวัดผลลัพธ์แรก พบว่า ค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงคะแนน TMSE ในกลุ่มทดลองสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มรายชื่อรอเรียก (∆TMSEbetween group at T1-T0=0.57; 95%CI=0.07, 1.08) แต่ ณ จุดวัดผลลัพธ์ที่สอง ไม่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงคะแนน TMSE ระหว่างสองกลุ่มนี้ (∆TMSEbetween group at T2-T0=0.33; 95%CI= -0.23, 0.88) และพบว่า ค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงคะแนนการทำงานของปริชานปัญญารายด้านย่อย 8 ด้าน รวมทั้งคุณภาพชีวิตและภาวะซึมเศร้าของสองกลุ่มนี้ไม่แตกต่างกันทั้งจุดวัดผลลัพธ์แรกและที่สอง ซึ่งสรุปว่า การฝึกปริชานปัญญาในผู้สูงอายุไทยมีผลชนิด treatment effect อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการทำงานของปริชานปัญญาแบบองค์รวม แต่ไม่พบผลชนิด carryover effect


Diagnostic Performance Of The Faas Stroke Screening Tool Faas Stroke Screening Tool In Patients Who Presented To The Emergency Room With Neurological Symptoms, Warongporn Phuenpathom Jan 2018

Diagnostic Performance Of The Faas Stroke Screening Tool Faas Stroke Screening Tool In Patients Who Presented To The Emergency Room With Neurological Symptoms, Warongporn Phuenpathom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Rapid screening and intervention are the keys to successful early treatment of stroke. In Thailand, the conventional FAST stroke screening tool has generally been used by triage nurses to promptly detect acute stroke. However, the FAST score has a limitation in detecting posterior circulation stroke. Previous studies showed that adding ataxia could increase the sensitivity of posterior circulation stroke detection. Therefore, we studied the performance of a new stroke screening tool, the FAAS score, among acute ischemic stroke patients. Objectives: To evaluate the diagnostic performance of the FAAS score and compare the diagnostic performance between FAAS and the conventional …


Comparison Of The Ocular Microbiome On Ocular Surface Between Chronic Stevens-Johnson Syndrome Patients And Healthy Subjects, Thanachaporn Kittipibul Jan 2018

Comparison Of The Ocular Microbiome On Ocular Surface Between Chronic Stevens-Johnson Syndrome Patients And Healthy Subjects, Thanachaporn Kittipibul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Stevens-Johnson syndrome (SJS) usually causes ocular surface disease. 35% of these patients develop chronic ocular sequelae including symblepharon, limbal stem cell deficiency, etc. The sequelae from SJS may also affect the alteration of ocular microbiome. Subjects: 20 chronic SJS patients and 20 healthy subjects were enrolled for specimen collection from inferior conjunctiva for microbiome analysis by using conventional culture and next-generation sequencing(NGS) methods Methods: Prospective, age and sex matched analytical study Results: A significant higher proportion of culture-positive specimen was demonstrated in SJS group (SJS group 60%, healthy 10%, p-value=0.001). In SJS group, we found significantly higher severity score …


Effectiveness And Safety Of Intense Pulsed Light In Patients With Meibomian Gland Dysfunction, Yonrawee Piyacomn Jan 2018

Effectiveness And Safety Of Intense Pulsed Light In Patients With Meibomian Gland Dysfunction, Yonrawee Piyacomn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to study the clinical effects and safety in terms of symptoms and signs and to evaluate the change in tear inflammatory cytokines in meibomian gland dysfunction (MGD) after 3 sessions of Intense Pulsed Light (IPL) in a prospective randomized double-masked sham-controlled clinical trial. Patients with MGD who met all criteria were randomly assigned into IPL and sham-IPL group. The stratified blocked randomization was done using the MGD gradeas a stratum by computer-generated assistance. Each patient in IPL group underwent 3 sessions of IPL on day 0, 15 and 45. The other group underwent sham-IPL. Both group received …


Prescription Of Anti-Osteoporosis Medication Among Orthopedic Surgeon (Pam-Os Study) In Osteoporotic Hip Fracture, Piyabuth Kittithamvongs Jan 2018

Prescription Of Anti-Osteoporosis Medication Among Orthopedic Surgeon (Pam-Os Study) In Osteoporotic Hip Fracture, Piyabuth Kittithamvongs

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Summary: As a medication for preventing osteoporotic fracture is recommended but scarcely prescribed, this study surveyed Thai orthopedic surgeons to explore key determinants of their prescription practices. In addition to a set of well-known determinants, the patient's health insurance status could also influence the prescription practice.Purpose: Although many guidelines suggest using anti-osteoporosis medications in patients who suffered from fragility hip fractures, low rate of prescription was encountered all over the world. In this study, we aimed to explore potential determinants affecting the prescription of anti-osteoporosis medications by orthopedic surgeons.Materials and methods:Online questionnaire survey was conducted among randomly selected orthopedic surgeons …


The Validity And Reliability Of The Patient Health Questionnaire 9 In Screening Poststroke Depression, Piyapat Dajpratham Jan 2018

The Validity And Reliability Of The Patient Health Questionnaire 9 In Screening Poststroke Depression, Piyapat Dajpratham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Poststroke depression occurred about 30% during the first five years after stroke. Timely diagnosis and management could facilitate motor recovery and improve independence. The Patient Health Questionnaire 9 (PHQ-9) is one of the best screening tools for poststroke depression. Since specific screening tool has not yet presented in Thailand, the validity and reliability of the PHQ-9 in stroke patients is clinically essential. Objectives: To study the criterion validity and reliability of the PHQ-9 (Thai version) in screening poststroke depression by comparing to the psychiatric interview as the gold standard. Material and Methods: First ever stroke patients age 45 years …


Systems Biology Of Human Cells Responded To Influenza B Virus Infection, Kritsada Sirivassanametha Jan 2018

Systems Biology Of Human Cells Responded To Influenza B Virus Infection, Kritsada Sirivassanametha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Influenza B virus is a member of Orthomyxoviridae family which can cause influenza in human and affect to worldwide health problem. Systems biology is the computational modeling of molecular systems which is useful to predict how these biological systems change over time and under different conditions. In this study the multiomics was used to study human cellular response to influenza B virus infection. The transcriptome including mRNAs, lncRNAs and miRNAs and proteome were investigated by high-throughput technologies such as next-generation sequencing and mass spectrometry. The results showed that in human cells infected with influenza B virus, transcriptome including mRNAs, lncRNAs …


Mechanisms Of Ceftriaxone Resistance In Neisseria Gonorrhoeae Isolated From Thai Patients, Naris Kueakulpattana Jan 2018

Mechanisms Of Ceftriaxone Resistance In Neisseria Gonorrhoeae Isolated From Thai Patients, Naris Kueakulpattana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

N. gonorrhoeae is the causative agent of gonorrhea, which is one of the most important sexually transmitted disease. The multidrug resistance in N. gonorrhoeae has been increasingly reported worldwide. The objectives of this study were to investigate the prevalence and the mechanisms of ceftriaxone resistance in N. gonorrhoeae Thai isolates, and to investigate the synergistic activities of antibiotic combinations against N. gonorrhoeae isolates with reduced susceptibility or resistance to ceftriaxone. A total of 134 N. gonorrhoeae isolates were included in this study. The resistance rates of ciprofloxacin, tetracycline, penicillin G, gentamicin, azithromycin, ertapenem, fosfomycin, cefixime, and ceftriaxone were 90.30%, 82.09%, …


The Severity Of Cryptococcus Neoformans Infection In Fc Gamma Receptor Iib Deficient Mice, Saowapha Surawut Jan 2018

The Severity Of Cryptococcus Neoformans Infection In Fc Gamma Receptor Iib Deficient Mice, Saowapha Surawut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cryptococcus neoformans, an encapsulated yeast commonly infecting the central nervous system, refers to as cryptococcal meningitis or cryptococcosis is commonly found in Thailand. C. neoformans is able to replicate, survive inside host macrophages, evade from the cells and use macrophages as a vehicle to disseminate to the target organs, a mechanism known as Trojan horse. Therefore, the containment of C. neoformans in phagocytic cell is important for host protective immunity. Cryptococcosis is common in immunocompromised host such as in patients with low CD4+ T helper cells in HIV-infection and patients taking immunosuppressive drugs. However, the incidence of cryptococcosis in healthy …


Effect Of Chronic Paracetamol Treatment On The Alteration Of Learning And Memory In Rats, Laddawan Lalert Jan 2018

Effect Of Chronic Paracetamol Treatment On The Alteration Of Learning And Memory In Rats, Laddawan Lalert

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Paracetamol (acetaminophen: APAP) is widely used for treatment of pain and fever. Although APAP is well accepted as a safe drug, several studies have recently demonstrated that treatment with this drug can lead to an alteration of several neurobehaviors. However, the exact impact of the APAP treatment and the mechanisms underlying those effects are still largely unknown. The present study aimed to investigate the effect of APAP treatment on the alteration of learning and memory and the possible mechanism underlying deleterious effects induced by APAP treatment. In this study, APAP at the dose of 200 mg/kg bw was orally fed …


Localization Of Cervical Branches Of Facial Nerve Innervating Platysma Bands, Chalisa Tatsanametin Jan 2018

Localization Of Cervical Branches Of Facial Nerve Innervating Platysma Bands, Chalisa Tatsanametin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The facelift is a traditional surgical procedure to improve the appearance of the neck. However, cervical branch of facial nerve (CN) and retromandibular vein (RMV) injury can occur with scissors or even with a liposuction cannula during dissection. This dissection was performed on 27 hemifaces Thai embalmed cadavers to clarify the detail of CN as it relates to surface landmarks to help surgeons predict the location of CN. Branching point of cervical branch of facial nerve (BP) was frequently on C3 regions (96.67%) and located lateral to anterior border of sternocleidomastoid muscle (SCM) 2cm; along x-axis and the distances above …


The Study Of Nerves And Arteries Of Upper Face: Implication For Cosmetic Procedures, Dawinee Chinnawong Jan 2018

The Study Of Nerves And Arteries Of Upper Face: Implication For Cosmetic Procedures, Dawinee Chinnawong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study of nerves and arteries of upper face for avoiding injury during the forehead lift procedure was conducted to investigate the anatomical landmark and histological plane of the nerve and artery of the upper face for reduce some injuries during a consequence of forehead lift procedure. Thirty adult soft embalmed cadaveric head were dissected. The distances between the frontal branches of the facial nerve and the mid-point of zygomatic arch, lateral canthus and lateral brow were 10.52±2.41, 39.82±7.09 and 24.10±8.92 mm, respectively. The distances between the superficial temporal artery the mid-point of zygomatic arch, lateral canthus and lateral brow …


Does Early Initiation Of Renal Replacement Therapy Have An Impact On 28-Day Mortality In Critically Ill Patients With Acute Kidney Injury With Positive Furosemide Stress Test?: A Multicenter Randomized Controlled Trial, Nuttha Lumlertgul Jan 2018

Does Early Initiation Of Renal Replacement Therapy Have An Impact On 28-Day Mortality In Critically Ill Patients With Acute Kidney Injury With Positive Furosemide Stress Test?: A Multicenter Randomized Controlled Trial, Nuttha Lumlertgul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: The timing of initiation of renal replacement therapy (RRT) in severe acute kidney injury (AKI) remains controversial, with early initiation resulting in unnecessary therapy for some patients while expectant therapy may delay RRT for other patients. The furosemide stress test (FST) has been shown to predict the need for RRT and therefore could be used to exclude low-risk patients from enrollment in trials of RRT timing. Methods: FST was performed using intravenous furosemide (1 mg/kg in furosemide-naive patients or 1.5 mg/kg in previous furosemide users). FST-nonresponsive patients (urine output less than 200 mL in 2 h) were then randomized …


ผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพกต่อระยะเวลาที่ใช้ในการทำให้เกิดความมั่นคง ขณะทำการกระโดดลงน้ำหนักขาเดียว ในข้อเข่าของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมสร้างเอ็นไขว้หน้า, อรวรรณ ใจหาญ Jan 2018

ผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพกต่อระยะเวลาที่ใช้ในการทำให้เกิดความมั่นคง ขณะทำการกระโดดลงน้ำหนักขาเดียว ในข้อเข่าของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมสร้างเอ็นไขว้หน้า, อรวรรณ ใจหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพกต่อระยะเวลาที่ใช้ในการทำให้เกิดความมั่นคงขณะทำการกระโดดลงน้ำหนักขาเดียว และประเมินการทำงานของข้อเข่าก่อนและหลังจากการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพก โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครที่มีประวัติการผ่าตัดซ่อมสร้างเอ็นไขว้หน้าและสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้ แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มออกกำลังกาย (n=18) และกลุ่มควบคุม (n=18) กำหนดระยะเวลาของการออกกำลังกายเท่ากับ 6 สัปดาห์ ประกอบด้วยการออกกำลังกายทั้งหมด 5 ท่าทาง การทดสอบระยะเวลาที่ใช้ในการเกิดความมั่นคงของข้อเข่า คำนวณโดยใช้ค่าแรงกระทำจากพื้น (GRFs) ในขณะที่การทำงานของข้อเข่าจะใช้แบบประเมิน IKDC และประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพกและกล้ามเนื้อขาด้วยเครื่องทดสอบไอโซไคเนติก กำหนดความเร็วเชิงมุมเท่ากับ 60 องศาต่อวินาที ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับการออกกำลังกาย ใช้ระยะเวลาในการเกิดความมั่นคงหลังจากกระโดดลงน้ำหนักขาเดียวน้อยกว่า (กลุ่มควบคุม 1.67±0.5: กลุ่มออกกำลังกาย 1.22±0.49 วินาที, P=0.01) และมีค่าคะแนนการประเมินการทำงานของข้อเข่าที่เพิ่มขึ้น (กลุ่มควบคุม 77±14.14: กลุ่มออกกำลังกาย 88±8.69 คะแนน, P<0.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพกและกล้ามเนื้อขา มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายหลังจากการออกกำลังกาย จากการวิจัยจึงสรุปได้ว่าการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพกเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการวางแผนและออกแบบการฟื้นฟูการทำงานของข้อเข่า ในกลุ่มอาสาสมัครที่มีประวัติการผ่าตัดเปลี่ยนซ่อมเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การเปรียบเทียบผลการใช้เครื่องมือประเมินทางการยศาสตร์ระหว่าง Rapid Entire Body Assessment (Reba) และ Quick Exposure Check (Qec) ในโรงงานเหล็กแห่งหนึ่ง, คงฤทธิ์ ภิญโญวิวัฒน์ Jan 2018

การเปรียบเทียบผลการใช้เครื่องมือประเมินทางการยศาสตร์ระหว่าง Rapid Entire Body Assessment (Reba) และ Quick Exposure Check (Qec) ในโรงงานเหล็กแห่งหนึ่ง, คงฤทธิ์ ภิญโญวิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลจากการใช้เครื่องมือประเมินด้านการยศาสตร์ระหว่าง Rapid Entire Body Assessment (REBA) และ Quick Exposure Check (QEC) และความสัมพันธ์ระหว่างผลจากการใช้เครื่องมือทั้งสองกับอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่พบ รูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เก็บข้อมูลจากพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานเหล็กแห่งหนึ่งจำนวน 296 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองและแบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล มีการเปรียบเทียบผลการใช้เครื่องมือด้วย weighted kappa และวิเคราะห์ความความสัมพันธ์ระหว่างผลการประเมินด้วยเครื่องมือทั้งสองกับอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้มีการใช้สถิติ Fisher's exact test และ crude odds ratio โดยกำหนดช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า ความสอดคล้องของผลการใช้เครื่องมือระหว่าง REBA และ QEC พบว่าอยู่ในระดับน้อยและพอใช้ โดยมีค่า weighted kappa อยู่ระหว่าง 0.02-0.27 พนักงานรายการอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในกลุ่มตัวอย่างในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา มีความชุกร้อยละ 69.01 และร้อยละ 50.51 ของผู้ที่มีอาการผิดปกติ ได้รับผลกระทบต่อการทำงานจากอาการผิดปกติดังกล่าว เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือทั้งสองและอาการผิดปกติ ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างผลจากการใช้เครื่องมือ REBA กับอาการผิดปกติ แต่พบความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรวมของเครื่องมือ QEC กับอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ การศึกษาเพิ่มเติมต่อเนื่องจากการศึกษานี้ที่น่าสนใจได้แก่ การศึกษาในโรงงานเหล็กอื่นและอุตสาหกรรมอื่น ตลอดจนการเปรียบเทียบผลการใช้เครื่องมือกับ direct method