Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Sciences

PDF

Chulalongkorn University

2020

Articles 1 - 30 of 89

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การตรวจ Mcm2 เพื่อทำนายการตอบสนองทางพยาธิวิทยาแบบ Rcb0/I ภายหลังการให้ยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะต้นชนิดมีตัวรับฮอร์โมนและไม่มีตัวรับเฮอร์ทู, ธิติฏฐ์ สุศิริวัฒนนนท์ Jan 2020

การตรวจ Mcm2 เพื่อทำนายการตอบสนองทางพยาธิวิทยาแบบ Rcb0/I ภายหลังการให้ยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะต้นชนิดมีตัวรับฮอร์โมนและไม่มีตัวรับเฮอร์ทู, ธิติฏฐ์ สุศิริวัฒนนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา การตอบสนองทางพยาธิวิทยาภายหลังการได้รับยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดมีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ทางคลินิก ปัจจุบันไม่มีปัจจัยใดที่สามารถทำนายการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดในมะเร็งเต้านมชนิดมีตัวรับฮอร์โมนและไม่มีตัวรับเฮอร์ทูได้อย่างแม่นยำ เช่นเดียวกับ Ki-67 การแสดงออกของโปรตีน MCM2 ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการสังเคราะห์ดีเอ็นเอในระดับสูงบ่งชี้ถึงการแบ่งตัวของเซลล์ที่รวดเร็ว และมีความสัมพันธ์กับการพยากรณ์โรคที่ไม่ดีในมะเร็งหลายชนิดรวมถึงมะเร็งเต้านม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแสดงออกของ MCM2 ในชิ้นเนื้อก่อนได้รับยาเคมีบำบัดเพื่อทำนายการตอบสนองทางพยาธิวิทยาแบบ RCB 0/I ในมะเร็งเต้านมระยะต้นชนิดมีตัวรับฮอร์โมนและไม่มีตัวรับเฮอร์ทู วิธีการศึกษา ทบทวนเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะต้นชนิดมีตัวรับฮอร์โมนและไม่มีตัวรับเฮอร์ทูที่ได้รับยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่าง 1 มกราคม 2558 - 31 ธันวาคม 2563 นำชิ้นเนื้อก่อนได้รับยาเคมีบำบัดตรวจการแสดงออกของ MCM2 ด้วยการย้อมอิมมูโนฮิสโตเคมีและทบทวนลักณะทางพยาธิวิทยาเพื่อคำนวน RCB index ในชิ้นเนื้อหลังได้รับยาเคมีบำบัด คำนวนการติดสีของ MCM2 ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ภาพ Aperio Imagescope ผลการวิจัย ผู้ป่วยทั้งหมด 88 คน มีค่ามัธยฐานอายุ 49 ปี (พิสัย 27-80 ปี) 61.4% เป็นวัยก่อนหมดประจำเดือน มีระยะโรคมะเร็งทางคลินิก cT4 และ cN1 40% และ 66.7% ตามลำดับ เป็นมะเร็งเต้านมชนิด invasive ductal carcinoma 91.1% มีระดับทางพยาธิวิทยาระดับที่ 2 58.9% มีการแสดงออกของ ER >10% 92.2% และสถานะ PR เป็นลบ 22.2% ในชิ้นเนื้อมะเร็งเต้านมทั้งหมด 72 ชิ้นที่สามารถย้อม MCM2 และประเมิน RCB index ได้ พบว่าการแสดงออกของ MCM2 >=40% มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองทางพยาธิวิทยาแบบ RCB 0/I อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการวิเคราะห์แบบ univariate analysis (OR = 18.33 ช่วงความเชื่อมั่น 95% = 1.88-178.98 p-value = 0.012) ปัจจัยทางพยาธิวิทยาคลินิกที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับ …


ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่และความถี่ของการไหลย้อนของของเหลวจากกระเพาะสู่หลอดอาหารในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง, ทิวาพร ธรรมมงคล Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่และความถี่ของการไหลย้อนของของเหลวจากกระเพาะสู่หลอดอาหารในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง, ทิวาพร ธรรมมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาและวัตถุประสงค์ ปัจจุบันอุบัติการณ์การเกิดกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease) และ ท้องผูก (Constipation) พบร่วมกันได้บ่อย แต่ยังไม่มีแนวทางการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างชัดเจน การที่พบสองภาวะนี้ร่วมกันนั้นยังไม่ทราบว่าแน่ชัดว่ามีความสัมพันธ์ หรือกลไกที่เกี่ยวข้องกันระหว่างภาวะกรดไหลย้อน และภาวะท้องผูกหรือไม่ วิธีการวิจัย การศึกษาวิจัยทดลองแบบไขว้และสุ่ม ในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน คือ มีอาการแสบร้อนกลางอก หรือเรอเปรี้ยว อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ ร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง โดยท้องผูกมีอาการถ่ายอุจจาระ ≤ 2 ครั้ง หรือ ถ่ายลักษณะอุจจาระก้อนเล็กแข็งเป็นกระสุน รูปทรงยาวผิวตะปุ่มตะป่ำ หรือรูปทรงยาวผิวแตก (BSFS 1-3) ในช่วง 7 วัน จำนวนทั้งหมด 12 ราย อายุ 18-80 ปี โดยแบ่งกลุ่มการศึกษาเป็น 2 กลุ่ม และทำการทดลองแบบไขว้กัน โดยช่วงเวลาที่ผู้ป่วยจะเข้าร่วมแต่ละกลุ่มนั้นต้องห่างกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่เข้าการศึกษากลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยจะได้รับการรับประทานแคปซูลที่บรรจุสารทึบรังสี จำนวน 20 ชิ้น ในวันที่ 1 ต่อมาในเช้าวันที่ 4 ของการเข้าร่วมการศึกษา จะได้รับทำการถ่ายภาพรังสีบริเวณท้อง (x-ray abdomen) หากพบว่ามีสารทึบรังสีคั่งค้าง marker ≥ 90% (≥18/20) จะยืนยันเข้าศึกษาในกลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ และอีกกลุ่มผู้ป่วยจะได้รับการรับประทานแคปซูลที่บรรจุสารทึบรังสี จำนวน 20 ชิ้น ในวันที่ 1 เหมือนกันและสวนอุจจาระด้วย Unison enema วันละครั้งจำนวน 4 ครั้ง ต่อมาในเช้าวันที่ 4 หากถ่ายภาพรังสีบริเวณท้องพบว่ามีสารทึบรังสีคั่งค้าง marker < 90% (<18/20) จะยืนยันเข้าศึกษาในกลุ่มไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ ในการศึกษาแต่ละกลุ่มอาสาสมัครจะต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนรับการตรวจ โดยจะได้รับการตรวจการขยายตัวของกระเพาะอาหาร (Gastric accommodation) ด้วยวิธี Satiety nutrition drink test หลังจากตรวจสิ้นสุด 4 ชั่วโมงต่อมาจะได้การตรวจวัดการย้อนของกรดและน้ำย่อยในหลอดอาหาร (esophageal impedance pH monitoring) โดยให้อาสาสมัครทานอาหารควบคุม 520 กิโลแคลอรี เก็บข้อมูลการไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารโดยดูการเปลี่ยนแปลงความต้านทานในหลอดอาหาร (esophageal impedance) นาน 2 ชั่วโมง และตอบแบบสอบถามประเมินอาการทางเดินอาหาร ความรุนแรงของอาการระบบทางเดินอาหารส่วนต้นก่อนรับการตรวจช่วงที่งดน้ำและอาหาร และหลังจากเสร็จสิ้นการตรวจการขยายตัวของกระเพาะอาหารส่วนต้น นาน 30 นาที และเป่าลมหายใจเพื่อส่งตรวจระดับ ไฮโดรเจน และมีเทน ในช่วงงดน้ำและอาหาร เพื่อเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่มการศึกษา ผลการศึกษา ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง ในภาวะที่มีการค้างของอุจจาระในลำไส้ใหญ่พบว่ามีอาการทางเดินอาหารรบกวนโดยรวมที่มากกว่าโดยมีค่ามัธยฐาน 7 (3.3-8) เทียบกับกลุ่มที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่จำนวนค่ามัธยฐาน 4.5 (2.3-6) ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.04)และอาการท้องอืดเหมือนมีลมในท้องในระดับที่มากกว่าโดยมีค่ามัธยฐาน 5.5 (4-8) เทียบกับภาวะที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่มีค่ามัธยฐาน 3 (2-5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.02) โดยในช่วงอดอาหารและก่อนทานอาหาร ไม่พบว่ามีความแตกต่างของ ระดับไฮโดรเจน และมีเทนในลมหายใจ ในกลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ พบว่ามีจำนวนการเกิดการไหลย้อนของของเหลวสู่หลอดอาหารในระยะเวลา 2 ชั่วโมงหลังมื้ออาหาร จำนวนค่าเฉลี่ย 10.6 (4.8) จำนวนมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่จำนวนค่าเฉลี่ย 6.3 (4.1) ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.003) ในกลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ หลังการทานมีอาการแสบร้อนกลางอกที่รบกวน มีค่ามัธยฐาน 2 (0-7.5) มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่จำนวนค่ามัธยฐาน 0 (0-0) ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.04) และ ในกลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่มีการขยายตัวของกระเพาะอาหารในปริมาตรค่าเฉลี่ย 591.7 (202.1) มิลลิลิตร ซึ่งมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ ปริมาตรค่าเฉลี่ย 516.7 (158.6) มิลลิลิตร แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.07) สรุป ภาวะที่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่มีความสัมพันธ์กับจำนวนการเกิดการไหลย้อนของของเหลวสู่หลอดอาหารที่มากขึ้น มีผลต่ออาการแสบร้อนกลางอกที่รุนแรงมากขึ้น และมีการขยายตัวของกระเพาะอาหารในปริมาตรที่มากขึ้นเช่นกัน จากผลการศึกษาภาวะที่มีการค้างของอุจจาระในลำไส้ใหญ่ ในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง น่าจะเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการเกิดไหลย้อนของของเหลวสู่หลอดอาหารที่มากขึ้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับการขยายขนาดของกระเพาะอาหารที่มากขึ้นหลังการรับประทาน


ความเข้ากันได้ของฐานข้อมูลชุดข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้ม เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับตัวชี้วัดการดูแลสุขภาพแบบมุ่งเน้นคุณค่าที่อ้างอิงโดย Ichom ในกลุ่มโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง, สุวภัทร วิชานุวัฒน์ Jan 2020

ความเข้ากันได้ของฐานข้อมูลชุดข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้ม เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับตัวชี้วัดการดูแลสุขภาพแบบมุ่งเน้นคุณค่าที่อ้างอิงโดย Ichom ในกลุ่มโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง, สุวภัทร วิชานุวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้ากันได้ของฐานข้อมูลผู้ป่วยกลุ่มโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงจากชุดข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้ม นำมาใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับตัวชี้วัด ICHOM มีรูปแบบการศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed method research) คือการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาฐานข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2560 - กันยายน พ.ศ.2561 จากหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ 2 แห่ง และการการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ความเข้ากันได้ของฐานข้อมูลผู้ป่วยและแหล่งข้อมูลสำหรับตัวชี้วัด ICHOM ในกลุ่มโรคเบาหวานหน่วยบริการ A และหน่วยบริการ B มีความเข้ากันได้ 21 ตัวชี้วัดและ 33 ตัวชี้วัด หรือคิดเป็นร้อยละ 31.34 และ 49.25 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มโรคความดันโลหิตสูงหน่วยบริการ A และหน่วยบริการ B มีความเข้ากันได้ 14 ตัวชี้วัดและ 18 ตัวชี้วัด หรือคิดเป็นร้อยละ 31.11 และ 40.00 ตามลำดับ และผลการสัมภาษณ์โดยรวมความคิดเห็นตัวชี้วัดที่ใช้ปัจจุบันของผู้ป่วย ได้ข้อสรุปว่ามีประโยชน์และเพียงพอแล้ว โดยมองในมุมผู้รับบริการเป็นหลักว่าฐานข้อมูลที่เก็บเพียงพอต่อบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น และฟื้นฟูสภาพร่างกาย อีกทั้งในมุมของผู้ให้บริการเองมองเห็นว่าหากลดการบันทึกตัวชี้วัดที่ซ้ำซ้อนกับข้อมูลที่มีข้อมูลที่บันทึกประจำอยู่แล้ว จะลดภาระงาน และทำให้ตัวชี้วัดที่สำคัญมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ชุดข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้มไม่สามารถใช้ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ตัวชี้วัด ICHOM ที่เป็นข้อมูลระยะยาวได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่พบความไม่เข้ากันกับชุดตัวชี้วัด ICHOM แต่ชุดตัวชี้วัด ICHOM เป็นเพียงเงื่อนไขเริ่มต้นและปัจจัยเพื่อให้สามารถปรับเลือกใช้ตามบริบทของประเทศ ภูมิภาค รวมถึงความแตกต่างของจำนวนผู้ป่วยและผู้ให้บริการ หากนำมาปรับใช้กับบริบทประเทศไทยอาจต้องปรับโครงสร้างข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้มให้มีความครบถ้วนและถูกต้อง อีกทั้งควรมีเป้าหมายการนำไปใช้อย่างชัดเจน


การศึกษาระบาดวิทยาและความหลากหลายทางจีโนไทป์ของโรต้าไวรัสสายพันธุ์เอ ที่พบในเด็กทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีที่มีอาการท้องเสียเฉียบพลัน ในประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 ถึง 2562, สิริพัทธ์ พสิษฐังกูร Jan 2020

การศึกษาระบาดวิทยาและความหลากหลายทางจีโนไทป์ของโรต้าไวรัสสายพันธุ์เอ ที่พบในเด็กทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีที่มีอาการท้องเสียเฉียบพลัน ในประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 ถึง 2562, สิริพัทธ์ พสิษฐังกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ฮิวแมนโรต้าไวรัสสายพันธุ์ A (Human Rotavirus A) เป็นสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันหรือท้องเสียในเด็กทารกและเด็กเล็กทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี อีกทั้งยังเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทยอีกด้วย ในงานวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะศึกษาระบาดวิทยาของเชื้อโรต้าไวรัสในประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 ถึง 2562 โดยทำการเก็บตัวอย่างจากอุจจาระของผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีที่เข้ารับการรักษาด้วยอาการท้องเสียระหว่างเดือนมกราคม ปีพ.ศ. 2559 ถึง เดือนธันวาคม ปีพ.ศ.2562 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 2,001 ตัวอย่าง การตรวจวินิจฉัยฮิวแมนโรต้าไวรัสสายพันธุ์ A ใช้เทคนิค real-time PCR ผลการวิจัยพบตัวอย่างที่ให้ผลบวกต่อเชื้อโรต้าไวรัสจำนวน 301 ตัวอย่าง (15.0%) กลุ่มอายุผู้ป่วยติดเชื้อโรต้าไวรัสพบมากในช่วงอายุ 0 ถึง 2 ปี โดยอัตราการติดเชื้อโรต้าไวรัสพบมากในช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย จากการจัดจำแนกสายพันธุ์พบว่า สายพันธุ์โรต้าไวรัสที่พบมากที่สุด คือ สายพันธุ์ G3P[8] (33.6%, 101/301), รองลงมาคือ G8P[8] (10.6%, 32/301), G9P[8] (6.3%, 19/301), G2P[4] (6.0%, 18/301) และ G1P[6] (5.3%, 16/301) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังตรวจพบโรต้าไวรัสสายพันธุ์ที่พบได้น้อยในคน อาทิ G2P[8], G3P[4] และ G9P[4] เมื่อทำการวิเคราะห์ในเชิง genetic backbone พบว่า DS-1-like G3P[8] เป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุด (28.2%, 85/301) ผลการวิเคราะห์ phylogenetic tree แสดงให้เห็นว่า DS-1-like G3P[8] ที่พบในประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมใกล้ชิดกับ DS-1-like G3P[8] ที่พบในประเทศอื่น ๆทั่วโลก ดังนั้นความเกี่ยวข้องกันทางพันธุกรรมของเชื้อโรต้าไวรัสที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศควรมีการศึกษาต่อไป เพื่อเป็นประโยชน์ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรต้าไวรัสและการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันการระบาดของโรคในอนาคตต่อไป


ความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยของบุคลากรในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในสังกัดกรุงเทพมหานคร, วีรนุช เชาวกิจเจริญ Jan 2020

ความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยของบุคลากรในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในสังกัดกรุงเทพมหานคร, วีรนุช เชาวกิจเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยของบุคลากรในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรในโรงพยาบาล จำนวน 415 คน คัดเลือกด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนของตำแหน่งงาน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยของบุคลากรในโรงพยาบาลแบบตอบด้วยตนเอง ซึ่งได้รับการตรวจสอบคุณภาพโดยการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยวิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง มีคะแนนอยู่ในช่วง 0.60-1.00 และการตรวจสอบความเชื่อมั่นด้วยการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค พบความเชื่อมั่นรายด้านอยู่ที่ 0.81-0.93 และทั้งฉบับอยู่ที่ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.41 รายด้านที่มีคะแนนสูงที่สุดคือการจัดการสุขภาพของตนเองด้านอาชีวอนามัย (ร้อยละ 74.53) และรายด้านที่คะแนนน้อยที่สุดคือทักษะการสื่อสารข้อมูลด้านอาชีวอนามัย (ร้อยละ 67.27) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยที่ดี ได้แก่ เพศหญิง (p-value=0.011) อายุไม่เกิน 45 ปี (p-value<0.001) ไม่มีการทำงานเป็นกะหรือทำงานล่วงเวลา (p-value=0.029) มีประวัติการอบรมด้านอาชีวอนามัย (p-value=0.002) มีนโยบายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (p-value<0.001) และมีการสนับสนุนที่ดีจากหน่วยงาน (p-value=0.011) โดยสรุปการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยให้กับกลุ่มบุคลากรในโรงพยาบาลควรเน้นเรื่องทักษะการสื่อสารข้อมูลด้านอาชีวอนามัย การจัดบริการด้านอาชีวอนามัยให้เหมาะสมกับกลุ่มบุคลากร การจัดอบรมการวางแผนงานนโยบายด้านอาชีวอนามัย รวมถึงให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรสามารถพัฒนาสมรรถนะการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ


การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้น้ำยากลั้วปากโพวิโดนไอโอดีนกับน้ำยากลั้วปากเบนไซตามีนไฮโดรคลอไรด์ในการป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด, อรรถพล โชติรัตน์ Jan 2020

การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้น้ำยากลั้วปากโพวิโดนไอโอดีนกับน้ำยากลั้วปากเบนไซตามีนไฮโดรคลอไรด์ในการป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด, อรรถพล โชติรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: มะเร็งศีรษะและคอมีอุบัติการณ์ อยู่ใน 10 อันดับแรกของประเทศไทย การรักษาเพื่อมุ่งหวังให้หายขาด ประกอบไปด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งมีผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ ซึ่งพบได้มากถึง 40-80 % ของคนไข้ที่ได้รับเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา MASCCI/ISOO ได้แนะนำการใช้น้ำยากลั้วปากเบนไซตามีนไฮโดรคลอไรด์เพื่อป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ ขณะที่น้ำยากลั้วปากโพวิโดนไอโอดีนเอง มีการศึกษาพบว่ามีคุณสมบัติลดการอักเสบได้ดีกว่าน้ำเกลือ หรือ คลอเฮกซีดีนในการป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำยากลั้วปากเบนไซตามีนไฮโดรคลอไรด์ กับน้ำยากลั้วปากโพวิโดนไอโอดีนในการป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการให้รังสีรักษาร่วมกับยาเคมีบำบัด วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาทดลองแบบสุ่มโดยมีกลุ่มควบคุม ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีเป็นการรักษาเสริมหลังทำการผ่าตัด หรือ เป็นการรักษาหลัก โดยมีปัจจัยก่อกวนที่คำนึงถึง ได้แก่ ตำแหน่งของมะเร็งศีรษะและคอ, รูปแบบการรักษาเป็นการรักษาเสริมหลังผ่าตัดหรือการรักษาหลัก, สูตรยาเคมีบำบัดซิสพลาติน หรือ คาร์โบพลาติน และ ความถี่สูตรยาเคมีบำบัดซิสพลาตินรายสัปดาห์หรือราย 3 สัปดาห์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการศึกษา คือ การประเมินคะแนนเยื่อบุช่องปากอักเสบ โดย Oral Mucositis Assessment Scale(OMAS) และมีวัตถุประสงค์การศึกษารอง คือ คะแนนเยื่อบุช่องปากอักเสบโดย CTCAE V 5.0, อัตราการใช้ยาแก้ปวด, อัตราการใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา, อัตราการใส่สายจมูก และ อัตราการนอนโรงพยาบาล ผลการศึกษา: รายงานนี้เป็นรายงานเบื้องต้นของผู้ป่วยทั้งหมด 44 รายจากทั้งหมด 70ราย โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ถึง เมษายน พ.ศ. 2564 พบว่าลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วยไม่มีความแตกต่างกันของผู้เข้าร่วมทั้ง 2 กลุ่ม ค่ามัธยฐานรายสัปดาห์ของคะแนน OMAS จากการประเมินทั้ง 8 ครั้งของทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนยสำคัญ การประเมินภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบด้วย CTCAE V5.0 พบว่า การอักเสบในระดับ 3-4 นั้นมีแนวโน้มน้อยกว่าในกลุ่มที่ได้รับน้ำยาบ้วนปากโพวิโดนไอโอดีน แต่ไม่มีนยสำคัญทางสถิติ และผลการศึกษารองอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนยสำคัญ สรุปผลการศึกษา: รายงานเบื้องต้นพบว่าน้ำยากลั้วปากโพวิโดนไอโอดีนมีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับน้ำยากลั้วปากเบนไซตามีนไฮโดรคลอไรด์ในการลดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดพร้อมรังสีรักษา


การเปรียบเทียบองค์ประกอบของร่างกายในผู้ป่วยโรคอ้วนหลังเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักกับองค์ประกอบของร่างกายในผู้ที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักมาก่อน, ศิรินรัตน์ ตั้งจิตตรง Jan 2020

การเปรียบเทียบองค์ประกอบของร่างกายในผู้ป่วยโรคอ้วนหลังเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักกับองค์ประกอบของร่างกายในผู้ที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักมาก่อน, ศิรินรัตน์ ตั้งจิตตรง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของร่างกายในผู้ป่วยโรคอ้วนหลังการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก ที่ระยะเวลา 12 เดือน และเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักมาก่อน ที่มี อายุ เพศ และค่าดัชนีมวลกายใกล้เคียงกัน วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยโรคอ้วนที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักด้วยวิธี Laparoscopic Roux-en-Y gastric bypass(LRYGB) หรือ Laparoscopic sleeve gastrectomy(LSG) ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ช่วงปี พ.ศ.2558-2562 ที่หลังผ่าตัดที่ 12 เดือน มีค่าดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 30 กิโลกรัม/เมตร2 กลุ่มควบคุมคือกลุ่มผู้ที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะที่มี อายุ เพศ และค่าดัชนีมวลกายใกล้เคียงกัน และไม่มีโรคประจำตัว วิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกายด้วยเครื่อง Inbody 770 ที่คลินิกอายุรกรรมโรคอ้วน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลการศึกษา ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคอ้วนที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน จากการศึกษาพบว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม กลุ่มผู้ป่วยมีค่าสัดส่วนเอวต่อสะโพก (waist-hip ratio)(0.83 และ 0.9, P-value <0.001) ร้อยละของไขมันในร่างกาย (percentage of body fat)(ร้อยละ 30.6 และ ร้อยละ 35.9, P-value 0.001) มวลไขมันบริเวณลำตัว (trunk fat mass)(10.3 กิโลกรัม และ 12.4 กิโลกรัม , P-value 0.04) และ มวลรวมกล้ามเนื้อและอวัยวะบริเวณแขนขา (appendicular lean mass)(9 กิโลกรัม และ 16.9 กิโลกรัม, P-value <0.001) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม โดยมีค่ามวลรวมกล้ามเนื้อและอวัยวะทั้งร่างกาย (soft lean mass)(47.7 กิโลกรัม และ 39.9 กิโลกรัม, P-value 0.001) มวลรวมกล้ามเนื้อและอวัยวะบริเวณลำตัว (trunk lean mass)(21.2 กิโลกรัม และ 19 กิโลกรัม, P-value 0.02) มวลกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle mass)(27.5 กิโลกรัม และ 23 กิโลกรัม, P-value 0.003) และ มวลกายไร้ไขมัน (fat free mass)(51.1 กิโลกรัม และ 42.3 กิโลกรัม, P-value 0.001) มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และพบว่าหลังผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก ที่ระยะเวลา 6 เดือน และ 12 เดือน ค่าตัวแปรองค์ประกอบของร่างกายลดลงทั้งหมด โดยเห็นผลลดลงมากสุดที่ระยะเวลา 12 เดือนหลังเข้ารับผ่าตัด สรุปการศึกษา แสดงให้เห็นว่า ในกลุ่มผู้ป่วยโรคอ้วนที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก แม้ค่าตัวแปรองค์ประกอบของร่างกาย เช่น มวลไขมัน มวลกายไร้ไขมัน มวลกล้ามเนื้อ ลดลงทั้งหมดในช่วงตลอดระยะเวลา12 เดือน หลังเข้ารับการผ่าตัด แต่ มวลกล้ามเนื้อ และมวลกายไร้ไขมันในกลุ่มผู้ป่วยนั้น ยังคงสูงกว่าในกลุ่มควบคุมที่อายุ เพศ และค่าดัชนีมวลกายใกล้เคียงกัน


ประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดสมองขาดเลือดซ้ำของการให้ยาไรวารอกซาแบนภายหลังการเกิดภาวะสมองขาดเลือด เปรียบเทียบระหว่างการเริ่มให้ยาภายใน 48 ชั่วโมงแรกกับการให้ยาที่ 7 วัน ในผู้ป่วยสมองขาดเลือดที่มีสาเหตุมาจากหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่นที่ติดตามผลการรักษาโดยใช้ผลตรวจทางคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กสมอง, พัชราภา ทัศนวรปัญญา Jan 2020

ประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดสมองขาดเลือดซ้ำของการให้ยาไรวารอกซาแบนภายหลังการเกิดภาวะสมองขาดเลือด เปรียบเทียบระหว่างการเริ่มให้ยาภายใน 48 ชั่วโมงแรกกับการให้ยาที่ 7 วัน ในผู้ป่วยสมองขาดเลือดที่มีสาเหตุมาจากหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่นที่ติดตามผลการรักษาโดยใช้ผลตรวจทางคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กสมอง, พัชราภา ทัศนวรปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา ปัจจุบันแนวทางการรักษาเริ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วยสมองขาดเลือดที่มีสาเหตุมาจากภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่นยังไม่มีความชัดเจนของระยะเวลาในการเริ่มยา ยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันสมองขาดเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่นได้เทียบเท่าหรือดีกว่ายาวาร์ฟารินและมีอัตราการเกิดเลือดออกในสมองน้อยกว่า วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการป้องกันการเกิดสมองขาดเลือดซ้ำของการให้ยาไรวารอกซาแบนภายหลังการเกิดภาวะสมองขาดเลือดเปรียบเทียบระหว่างการเริ่มให้ยาตั้งแต่ 48 ชั่วโมงแรกกับการให้ยาที่ 7 วัน ในผู้ป่วยสมองขาดเลือดขนาดเล็กถึงปานกลางที่มีสาเหตุมาจากหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่น วิธีการวิจัย การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและปกปิดฝ่ายเดียวที่ศึกษาผู้ป่วยสมองขาดเลือดที่มีสาเหตุมาจากหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริลเลชั่นที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยทำการสุ่มผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาไรวารอกซาแบนภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังเกิดอาการสมองขาดเลือดและกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาไรวารอกซาแบนที่ 7 วันหลังเกิดอาการสมองขาดเลือด มาเปรียบเทียบอัตราการเกิดโรคสมองขาดเลือดซ้ำและอัตราการเกิดเลือดออกในสมองที่ตรวจพบจากการตรวจด้วยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ 4 สัปดาห์ ผลการวิจัย มีผู้ป่วยเข้าร่วมในการวิจัยจำนวน 26 ราย พบว่าการให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดไรวารอกซาแบนทั้งในกลุ่มที่ให้ยาแบบเร็วภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังเกิดอาการสมองขาดเลือดและกลุ่มที่ให้ยาแบบช้าที่ให้ยาไรวารอกซาแบนที่ 7 วันหลังเกิดอาการสมองขาดเลือด มีอัตราการเกิดสมองขาดเลือดซ้ำและอัตราการเกิดเลือดออกในสมองไม่แตกต่างกัน โดยผู้ป่วยที่เกิดภาวะเลือดออกในสมองทุกรายเป็นแบบไม่มีอาการและเป็นภาวะเลือดออกที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีภาวะเลือดออกนอกสมองและระดับความพิการจากโรคหลอดเลือดสมองไม่แตกต่างกัน และผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่พบภาวะเลือดออกนอกสมองที่รุนแรง ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดแดง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดในระหว่างการศึกษานี้ สรุป ในผู้ป่วยสมองขาดเลือดขนาดเล็กถึงปานกลางที่มีสาเหตุมาจากหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่น การให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดไรวารอกซาแบนภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังเกิดอาการสมองขาดเลือดและการให้ยาไรวารอกซาแบนที่ 7 วันหลังเกิดอาการสมองขาดเลือดมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่แตกต่างกัน


การเปรียบเทียบอัตราการลดลงของสารยูรีมิกมวลโมเลกุลขนาดกลาง ระหว่างการฟอกเลือดโดยใช้ตัวกรองรูใหญ่ขนาดปานกลาง เปรียบเทียบกับการฟอกเลือดด้วยเทคนิคฮีโมไดอะฟิวเตรชั่น แบบมิกซ์ไดลูชั่นโดยใช้ตัวกรองมาตรฐาน (การศึกษาไขว้กลุ่มแบบไปข้างหน้า), จิรารัตน์ เอี่ยมเจริญยิ่ง Jan 2020

การเปรียบเทียบอัตราการลดลงของสารยูรีมิกมวลโมเลกุลขนาดกลาง ระหว่างการฟอกเลือดโดยใช้ตัวกรองรูใหญ่ขนาดปานกลาง เปรียบเทียบกับการฟอกเลือดด้วยเทคนิคฮีโมไดอะฟิวเตรชั่น แบบมิกซ์ไดลูชั่นโดยใช้ตัวกรองมาตรฐาน (การศึกษาไขว้กลุ่มแบบไปข้างหน้า), จิรารัตน์ เอี่ยมเจริญยิ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการการลดลงของสารยูรีมิกมวลโมเลกุลขนาดกลาง ß2-microglobulin ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ทำการฟอกเลือดแบบดั้งเดิมโดยใช้ตัวกรองรูใหญ่ปานกลาง และการฟอกเลือดเทคนิคมิกซ์ไดลูชั่นฮีโมไดอะฟิวเตรชั่นโดยใช้ตัวกรองมาตรฐาน วิธีการวิจัย การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มไขว้กลุ่มแบบไปข้างหน้า ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 3 ครั้งต่อสัปดาห์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จำนวนทั้งหมด 14 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเทคนิคมิกซ์ไดลูชั่นฮีโมไดอะฟิวเตรชั่นโดยใช้ตัวกรองมาตรฐาน และกลุ่มที่ได้รับการฟอกเลือดแบบดั้งเดิมโดยใช้ตัวกรองรูใหญ่ปานกลาง ทั้งสองกลุ่มได้รับการเก็บเลือดส่งตรวจสารยูรีมิกในทุกวันที่มาฟอกกลางสัปดาห์ทุกสัปดาห์ จนครบ 8 สัปดาห์ก่อนฟอก และหลังฟอก และนำมาหาค่าเฉลี่ยของอัตราการลดลงของสารของแต่ละเทคนิค รวมทั้งยังเก็บน้ำยาไตเทียมที่ได้จากการฟอกเพื่อนำมาหาค่าเฉลี่ยของอัลบูมินที่สูญเสีย ผลการศึกษา พบว่าการฟอกเลือดด้วยเทคนิคมิกซ์ไดลูชั่นฮีโมไดอะฟิวเตรชั่นสามารถกำจัดสารยูรีมิกมวลโมเลกุลขนาดปานกลาง ß2-microglobulin ได้มากกว่าค่าที่ส่งผลดีต่ออัตราการรอดชีวิตคือร้อยละ 80 และยังมากกว่าการฟอกเลือดแบบดั้งเดิมโดยใช้ตัวกรองรูใหญ่ปานกลาง โดยค่าเฉลี่ยของอัตราการลดลงของ ß2-microglobulin และค่าเบี่ยงเบนมัธยฐานในเทคนิคมิกซ์ไดลูชั่นฮีโมไดอะฟิวเตรชั่น และการฟอกเลือดแบบดั้งเดิมโดยใช้ตัวกรองรูใหญ่ปานกลาง เท่ากับ 85.12 ± 3.87 และ 82.57 ± 5.34 ตามลำดับ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยของความแตกต่างระหว่างกลุ่มเท่ากับ 2.56 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) สำหรับสารยูรีมิกมวลโมเลกุลขนาดเล็ก ขนาดกลาง และสารยูรีมิกที่จับกับโปรตีน ได้แก่ ยูเรีย, Ƙ-free light chain และอินดอกซิลซัลเฟต ไม่พบความแตกต่างของความสามารถในการกำจัดระหว่าง 2 กลุ่ม อย่างไรก็ตามสารยูรีมิกมวลโมเลกุลขนาดปานกลางที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น ɑ1-microglobulin และ λ-free light chain พบว่าการฟอกเลือดแบบดั้งเดิมโดยใช้ตัวกรองรูใหญ่ปานกลางสามารถกำจัดออกได้มากกว่าการฟอกเลือดด้วยเทคนิคมิกซ์ไดลูชั่นฮีโมไดอะฟิวเตรชั่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) โดยค่าเฉลี่ยของอัตราการลดลงของ ɑ1-microglobulin เท่ากับ 41.49 ± 11.46 และ 30.13 ± 15.90 ตามลำดับ และ λ-free light chain เท่ากับ 50.81 ± 13.18 และ 40.85 ± 13.92 ตามลำดับ ในแง่ของการสูญเสียอัลบูมินทางน้ำยาไตเทียมพบว่าการฟอกเลือดแบบดั้งเดิมโดยใช้ตัวกรองรูใหญ่ปานกลางสูญเสียอัลบูมินมากกว่าการฟอกเลือดด้วยเทคนิคมิกซ์ไดลูชั่นฮีโมไดอะฟิวเตรชั่น เท่ากับ 3.51กรัมต่อครั้ง และ0.58 กรัมต่อครั้งตามลำดับซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.025) แต่เมื่อพิจารณาแง่ของระดับอัลบูมินในเลือดพบว่าทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน สรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการฟอกเลือดทั้ง 2 เทคนิคสามารถกำจัดสารยูรีมิกได้ในระดับที่เหมาะสม ดังนั้นในกรณีที่เครื่องมือฮีโมไดอะฟิวเตรชั่นไม่พร้อมใช้สามารถนำการฟอกเลือดแบบดั้งเดิมโดยใช้ตัวกรองรูใหญ่ปานกลางมาใช้ทดแทนกันได้


การวัดปริมาตรปอดโดยใช้ความต่างศักย์ไฟฟ้า เพื่อทำนายการเกิดถุงลมปอดแฟบ ระหว่างการลดแรงดันบวกในระยะสิ้นสุดการหายใจออก ในผู้ป่วยภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันระยะฟื้นตัว, ธันยวีร์ เสริมแก้ว Jan 2020

การวัดปริมาตรปอดโดยใช้ความต่างศักย์ไฟฟ้า เพื่อทำนายการเกิดถุงลมปอดแฟบ ระหว่างการลดแรงดันบวกในระยะสิ้นสุดการหายใจออก ในผู้ป่วยภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันระยะฟื้นตัว, ธันยวีร์ เสริมแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การลดแรงดันบวกในระยะสิ้นสุดการหายใจออก(PEEP)ในผู้ป่วยทางเดินหายใจลำบากเฉียบพลันระยะฟื้นตัว(recovering ARDS) หากทำด้วยความไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะถุงลอมปอดแฟบ(lung collapse) ออกซิเจนในเลือดต่ำและหย่าเครื่องช่วยหายใจไม่สำเร็จ การวัดปริมาตรปอดที่ลดลงจากการลดแรงดันบวกระยะสิ้นสุดการหายใจออกโดยใช้เครื่องช่วยหายใจ(EELV changes) สามารถทำนายการเกิดถุงลมปอดแฟบได้ การใช้เครื่องวัดความต่างศักย์ไฟฟ้า(EIT)สามารถวัดปริมาตรปอดได้แม่นยำใกล้เคียงกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน จึงนำมาศึกษาเพื่อใช้ในการทำนายภาวะถุงลมปอดแฟบหลังลดแรงดันบวกในระยะสิ้นสุดการหายใจออก วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาโดย prospective interventional study ในผู้ป่วยทางเดินหายใจลำบากเฉียบพลันระยะฟื้นตัว คือ มีค่า PF ratio ≥ 150 mmHg และ PEEP ≥ 8 cmH2O ทำการวัดปริมาตรปอดโดยใช้เครื่องช่วยหายใจ nitrogen washin-washout technique (EELV) วัดปริมาตรปอดโดยใช้เครื่องวัดความต่างศักย์ไฟฟ้า(delta EELI global) และพารามิเตอร์อื่นๆ ที่เวลา 5 นาที 30 นาที และ 120 นาที ภายหลังการลด PEEP 2 cmH2O เพื่อทำนายการเกิดถุงลมปอดแฟบ คือ SpO2 ลดลง ≥ 3% หรือ PaO2 ลดลง ≥10% ผลการศึกษาหลักคือการใช้พารามิเตอร์ของ EIT ทำนายการเกิดถุงลมปอดแฟบภายใน 120 นาทีภายหลังการลด PEEP ผลการศึกษารองคือศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการวัดปริมาตรปอดจากทั้ง 2 วิธีและพารามิเตอร์อื่นๆที่สามารถนำมาใช้ในการทำนายการเกิดถุงลมปอดแฟบได้ ผลการศึกษา: ทำการศึกษาทั้งหมด 27 หัตถการในผู้ป่วย 12 ราย ทั้งหมดมีสาเหตุจากปอดอักเสบ มีค่า PF ratio เฉลี่ย 256.5 mmHg พบการเกิดถุงลมปอดแฟบ 14 ครั้ง (51.8%) ปริมาตรปอดวัดโดย EIT (∆ EELI global) ที่เวลา 5 นาทีหลังการลด PEEP ไม่สามารถนำมาใช้ทำนายการเกิดถุงลมปอดแฟบได้ แต่ปริมาตรปอดที่วัดโดยเครื่องช่วยหายใจ (%∆EELV) ที่เวลา 5 …


ความเหนื่อยล้าทางการรู้คิด ต่อตัวกระตุ้นด้านการคงสมาธิในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน, เสฎฐพงศ์ ชูนามชัย Jan 2020

ความเหนื่อยล้าทางการรู้คิด ต่อตัวกระตุ้นด้านการคงสมาธิในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน, เสฎฐพงศ์ ชูนามชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิธีการวิจัย การวิจัยกึ่งทดลอง โดยเปรียบเทียบระยะเวลา (Reaction time) และความแม่นยำของการตอบสนองต่อ Stroop color test ก่อนและหลังการสร้างความเครียดทางการรู้คิดโดยการใช้ Paced visual serial addition test ระหว่างกลุ่มพาร์กินสันและกลุ่มควบคุม โดยใช้ independent t-test จากนั้นจึงทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานของตัวอย่างกับการเกิดความเหนื่อยล้าทางการรู้คิด ได้แก่ อายุ คะแนนแบบทดสอบสภาพจิตใจแบบย่อ (TMSE) คุณภาพการนอนหลับ (PSQI) ด้วยวิธี Linear regression analysis และทำการศึกษาเฉพาะในกลุ่มพาร์กินสันเพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องของปัจจัยพื้นฐาน การเกิดความเหนื่อยล้าทางการรู้คิด และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (PDQ-8) ผลการศึกษา กลุ่มพาร์กินสันใช้ระยะเวลาในการตอบสนองที่มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.008) ปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการระยะเวลาการตอบสนองที่ยาวขึ้นในกลุ่มพาร์กินสันได้แก่ ขนาดยาเทียบเท่าขนาดเลโวโดปาที่ผู้ป่วยใช้ที่มากขึ้น (p=0.042) และอาการแข็งเกร็ง (Rigidity) (p = 0.048) และพบว่ามีความสัมพันธ์ระดับปานกลางระหว่างระยะเวลาการตอบสนองที่ยาวขึ้นกับคุณภาพชีวิตที่แย่ลงของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.323, p=0.042) สรุป การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยพาร์กินสัน มีระยะเวลาในการตอบสนองต่อการทดสอบที่ต้องใช้สมาธิและการจดจ่อ ในสถานการณ์ที่เกิดความเครียดทางการรู้คิดที่ช้ากว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งอาจแสดงถึงการเกิดภาวะเหนื่อยล้าทางการรู้คิดในผู้ป่วยพาร์กินสันภายใต้ความเครียดดังกล่าว


Predictive Factors For Identifying Macrolide Responder In Treating Chronic Rhinosinusitis, Kachorn Seresirikachorn Jan 2020

Predictive Factors For Identifying Macrolide Responder In Treating Chronic Rhinosinusitis, Kachorn Seresirikachorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: A low-dose macrolide (LDM) has antineutrophilic activity, so they should not work for eosinophilic inflammation. Clinical predictors are required to select favorable patients for LDM therapy appropriately. This study aims to assess individual predictive factors and propose suitable multiple predictive factors for identifying a macrolide responder in treating CRS. Methodology: Prospective cohort study was done in adult CRS patients. Clinical data collection, Lund-Mackay CT score, visual analog scale (VAS), and sino-nasal outcome test 22 (SNOT-22) were assessed. Patients received 150 mg of roxithromycin once daily plus saline irrigation for 12 weeks. VAS was evaluated at every visit. If the …


Telomere Shortening And Cellular Senescence Induced By Oxalate And Nephrolithiasis Urine In Hk-2 Cells, Kamonchanok Chuenwisad Jan 2020

Telomere Shortening And Cellular Senescence Induced By Oxalate And Nephrolithiasis Urine In Hk-2 Cells, Kamonchanok Chuenwisad

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Kidney stone disease is a common urologic problem worldwide, especially in the tropics such as Thailand. It is known as a multifactorial condition, and aging increases the risk of stone development. The major type of stones is calcium oxalate (CaOx), and its formation is driven by increased urinary oxalate excretion and calcium oxalate monohydrate (COM) crystallization. Both oxalate and COM are known to induce reactive oxygen species (ROS) production and cause oxidative stress. Furthermore, patients with CaOx stone have increased extent of oxidative stress. In this study, we investigated the induction of cellular senescence and telomere shortening through oxidative stress …


Agreement Of Total Corneal Power Measured By Casia 2, Pentacam Axl, And Iolmaster 700 In Normal And Keratoconic Patients, Rusaporn Yodying Jan 2020

Agreement Of Total Corneal Power Measured By Casia 2, Pentacam Axl, And Iolmaster 700 In Normal And Keratoconic Patients, Rusaporn Yodying

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Purpose: To evaluate agreement of total corneal power (TCP), ocular biometry and IOL power calculation measured by CASIA 2, Pentacam AXL, and IOLMaster 700 in normal and keratoconic patients Setting: King Chulalongkorn Memorial Hospital, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand Design: Prospective observational study Methods: One-hundred normal eyes and 34 keratoconic eyes were enrolled. Biometric values were measured by each device for three times by two operators to evaluate repeatability and reproducibility of TCP and other parameters. The agreement of TCP and other parameters including total corneal astigmatism, anterior keratometry, anterior corneal astigmatism, posterior keratometry, posterior corneal astigmatism, anterior chamber depth, white-to-white …


Molecular Detection Of Viable Mycobacterium Tuberculosis Complex In Clinical Specimens, Suthidee Petsong Jan 2020

Molecular Detection Of Viable Mycobacterium Tuberculosis Complex In Clinical Specimens, Suthidee Petsong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Tuberculosis (TB) is the global health concern because of the rising incidence and mortality. TB is caused by Mycobacterium tuberculosis complex (MTBC) and transmitted via inhalation of infectious droplet nuclei circulating in the air. The World Health Organization (WHO) recommends the use of Acid-fast (AFB) smear microscopy, MTBC culture, and molecular detection of MTBC DNA for diagnosis of TB. The response to treatment should be acquired as soon as possible to reduce disease transmission and drug resistance. Although MTBC culture is a gold standard, it is laborious, expensive, and may take up to 8 weeks. The AFB staining and molecular …


The Differential Dendritic Cell Properties In Response To Candida Albicans And Non-Albican Candida Β-Glucan, Truc Thi Huong Dinh Jan 2020

The Differential Dendritic Cell Properties In Response To Candida Albicans And Non-Albican Candida Β-Glucan, Truc Thi Huong Dinh

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Increased mortality and antifungal drug resistance of non-albicans Candidiasis patients have become an alarming in health problems nowadays, whereas profound knowledge of their pathogenesis mechanisms is still limited. The immune responses of innate and adaptive immunity play a crucial role in protecting from Candida infections. Dendritic cells (DCs) are the most notable because of their roles in bridging an innate immunity and specific adaptive immunity to eliminate fungal invasion. It is little known about DC functions in non-albicans Candida (NACs) infections. Besides, there is less study on evaluating the DC properties upon the interaction between DCs and NACs-derived ß-glucans. Therefore, …


Sonographic Ductal Changes And Pertinent Characteristics That Associate With Proliferative Lesions Of Breast, Anggraeni Ayu Rengganis Jan 2020

Sonographic Ductal Changes And Pertinent Characteristics That Associate With Proliferative Lesions Of Breast, Anggraeni Ayu Rengganis

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Managing for sonographic focally thick duct lesions is not established in practice guidelines. Most cases showed scant cells on fine-needle aspiration (FNA). The study aimed to detect any variables that could predict proliferative lesions of the ducts and avoid unnecessary biopsies. A retrospective cohort design was done to analyze the association between ultrasound (US) variables and the outcome of proliferative or non-proliferative ductal lesions, determined by corresponding histopathology or cytology on consecutive follow-ups for at least three years. The data collection from 2015-2017 at King Chulalongkorn Memorial Hospital showed that 199 female patients with 210 index lesions met the eligibility …


Effect Of Peak Plantar Presure On Plantar Corn Size, Milintorn Wongchinchai Jan 2020

Effect Of Peak Plantar Presure On Plantar Corn Size, Milintorn Wongchinchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Corn and callus are one of the most common problems faced by dermatologists in dermatology clinic. Repeated local irritation to plantar skin results in the thickening of traumatized skin. Corn and callus are often overlooked, and this becomes longstanding problem causing pain when walking and standing up. There is no study explore the correlation between plantar pressure and size of corn. Objectives: To explore the correlation between peak plantar pressure and size of corn Materials and methods: 30 participants with plantar corn were recruited in this study. Their plantar corns were measured in millimetre using a dermoscope. Each participant …


Detection Of Leptospires By Rpa-Nalfia And Crispr-Cas12a, Sirawit Jirawannaporn Jan 2020

Detection Of Leptospires By Rpa-Nalfia And Crispr-Cas12a, Sirawit Jirawannaporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The key barrier in leptospirosis diagnosis is a lack of available sensitive point-of-care testing. Therefore, we aimed to develop and validate nucleic acid lateral flow immunoassay (NALFIA) and clustered regularly interspaced short palindromic repeat (CRISPR)/CRISPR-associated protein 12a (CRISPR/Cas12a) platform combined with isothermal amplification to detect leptospires from extracted patients' DNA samples. A recombinase polymerase amplification (RPA)-NALFIA and RPA-CRISPR/Cas12a assay was designed to detect the LipL32, SecY and lfb1 genes of pathogenic Leptospira spp. The RPA-NALFIA targeting LipL32 observed the LOD at 105 copies/reaction. In comparison, the RPA-CRISPR/Cas12a targeting LipL32 and SecY demonstrated a limit of detection (LOD) of 100 copies/reaction, …


Neutrophil Extracellular Traps (Nets) Formation Of Fcgr2b Deficient Mice In Lupus Mouse Model With Ischemic Reperfusion Injury, Wilasinee Saisorn Jan 2020

Neutrophil Extracellular Traps (Nets) Formation Of Fcgr2b Deficient Mice In Lupus Mouse Model With Ischemic Reperfusion Injury, Wilasinee Saisorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Acute kidney injury (AKI) caused by renal ischemic reperfusion (I/R) is the most prevalent cause of morbidity and mortality in patients. Neutrophil extracellular traps (NETs) are important for the progression of lupus nephritis after renal I/R injury. Because neutrophils are the first immune cell that respond to tissue damage, neutrophils might be an important cell that determines renal I/R injury. Additionally, NET components, including cell-free DNA, histone, nucleosome, and cytoplasmic protein compartment release the auto-antigens that accelerate lupus disease activity. Therefore, this project aimed to compare NETs formation in several internal organs following renal I/R injury in Fcgr2b deficient (Fcgr2b-/-) …


การประเมินประสิทธิผลและความคุ้มค่าของการดำเนินกิจกรรมการทาฟลูออไรด์วาร์นิชเพื่อป้องกันฟันผุ สำหรับเด็กอายุ 9 – 30 เดือน ในคลินิกเด็กดี: กรณีศึกษาใน 3 จังหวัด, รติชนก นันทนีย์ Jan 2020

การประเมินประสิทธิผลและความคุ้มค่าของการดำเนินกิจกรรมการทาฟลูออไรด์วาร์นิชเพื่อป้องกันฟันผุ สำหรับเด็กอายุ 9 – 30 เดือน ในคลินิกเด็กดี: กรณีศึกษาใน 3 จังหวัด, รติชนก นันทนีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและประเมินต้นทุนประสิทธิผลและต้นทุนผลได้ของกิจกรรมการทาฟลูออไรด์วาร์นิชเพื่อป้องกันฟันผุ ในคลินิกเด็กดี 3 จังหวัด การศึกษาประสิทธิผลเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ชนิดย้อนหลังและไปข้างหน้าในเด็กอายุ 15 - 22 เดือน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 460 คน ได้รับการสอบถามข้อมูลปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจำนวนฟันผุ ถอน อุด และวัดระดับคราบจุลินทรีย์ ดูประวัติบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมการทาฟลูออไรด์วาร์นิชระหว่างอายุ 9 – 30 เดือน และได้รับการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากและความจำเป็นต้องได้รับการรักษาเมื่อสิ้นสุดการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สมการ Quadratic regression ระหว่างจำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมและจำนวนฟันผุ ถอน อุด และควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การประมาณค่าต้นทุนและผลลัพธ์ทำโดยสอบถามข้อมูลจากทันตบุคลากร ใช้ข้อมูลการจัดซื้อของโรงพยาบาล และสอบถามผู้ปกครองที่พาเด็กมาร่วมกิจกรรมการทาฟลูออไรด์วาร์นิชและพาเด็กมารับการรักษา ผลการศึกษาพบว่า เมื่อควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การเข้าร่วมกิจกรรมการทาฟลูออไรด์วาร์นิชมีความสัมพันธ์กับจำนวนฟันผุ ถอน อุด (p=0.036) และการเข้าร่วมกิจกรรม 1, 2, 3 และ 4 ครั้งมีจำนวนฟันผุ ถอน อุด เฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [-1.31 (95% CI: -2.39, -0.23), -2.08 (95% CI: -3.73, -0.42), -2.31 (95% CI: -4.14, -0.48) และ -2.01 (95% CI: -3.93, -0.09) ซี่ตามลำดับ] และกิจกรรมมีความคุ้มค่าโดยการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มและการวิเคราะห์ผลได้ส่วนเพิ่ม ในมุมมองผู้ให้และผู้รับบริการ (ICER = -427.81 และ -416.56 ผลได้ส่วนเพิ่ม 543.32 และ 529.03 บาท ตามลำดับ) ผู้วิจัยจึงแนะนำให้มีการดำเนินกิจกรรมการทาฟลูออไรด์วาร์นิชเพื่อป้องกันฟันผุในคลินิกเด็กดีให้เด็กและผู้เลี้ยงดูเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 3 ครั้ง ในช่วงอายุ 9 – 30 เดือน ในวันเดียวกับการมารับวัคซีน


การศึกษาย้อนหลังหาความชุกและลักษณะของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่ไม่มีการยกของเอสทีเซกเมนต์ ที่ไม่มีการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญของเส้นเลือดหัวใจ, สุชัจจ์ ศรีชลวัฒนา Jan 2020

การศึกษาย้อนหลังหาความชุกและลักษณะของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่ไม่มีการยกของเอสทีเซกเมนต์ ที่ไม่มีการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญของเส้นเลือดหัวใจ, สุชัจจ์ ศรีชลวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา : จากการศึกษาในอดีตพบว่ามีผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่ไม่มีการยกของเอสทีเซกเมนต์จำนวนร้อยละ 8-12 เมื่อไปฉีดสีตรวจเส้นเลือดหัวใจพบว่าไม่มีการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามความชุกของผู้ป่วยกลุ่มนี้ในประเทศไทย ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด วิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่ไม่มีการยกของเอสทีเซกเมนต์และได้รับการฉีดสีตรวจเส้นเลือดหัวใจ ที่รับไว้ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ตุลาคม 2563 โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ หาความชุกของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่ไม่มีการยกของเอสทีเซกเมนต์ ที่ไม่มีการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญของเส้นเลือดหัวใจ และวัตถุประสงค์รองคือ หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการที่ไม่พบการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษา : จากการศึกษารวบรวมผู้ป่วยทั้งหมด 522 ราย มีผู้ป่วยจำนวน 74 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.2 ที่พบว่า ไม่มีการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญของเส้นเลือดหัวใจ และพบว่ามีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการที่ไม่มีการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญของเส้นเลือดหัวใจในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่ไม่มีการยกของเอสทีเซกเมนต์ ได้แก่ การตรวจไม่พบการบีบตัวที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง การตรวจไม่พบการเปลี่ยนแปลงของเอสทีเซกเมนต์จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพศหญิง และการไม่มีประวัติเป็นโรคไขมันในเลือดสูง โดยจากการวิเคราะห์พหุตัวแปร ทำให้สามารถกำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการทำนายลักษณะของเส้นเลือดหัวใจที่ไม่พบการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญได้ สรุปผล : ความชุกของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่ไม่มีการยกของเอสทีเซกเมนต์ ที่ไม่มีการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญของเส้นเลือดหัวใจ คือร้อยละ 14.2 โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับการที่ไม่มีการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญของเส้นเลือดหัวใจ คือ การตรวจไม่พบการบีบตัวที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง การตรวจไม่พบการเปลี่ยนแปลงของเอสทีเซกเมนต์จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพศหญิง และการไม่มีประวัติเป็นโรคไขมันในเลือดสูง


การศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุมเพื่อศึกษาความแปรผันทางพันธุกรรมของยีนตัวรับวิตามินดีในกลุ่มผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบี ระยะพาหะชนิดเชื้อน้อย และระยะที่มีตับอักเสบเรื้อรัง, พฤกษา อนันต์ชื่นสุข Jan 2020

การศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุมเพื่อศึกษาความแปรผันทางพันธุกรรมของยีนตัวรับวิตามินดีในกลุ่มผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบี ระยะพาหะชนิดเชื้อน้อย และระยะที่มีตับอักเสบเรื้อรัง, พฤกษา อนันต์ชื่นสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างความแปรผันหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนตัวรับวิตามินดีกับระยะของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังโดยแบ่งเป็นระยะพาหะชนิดเชื้อน้อย และระยะตับอักเสบเรื้อรัง วิธีการศึกษา: การศึกษารวบรวมผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง โดยแบ่งเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ 2 กลุ่มคือ กลุ่มระยะพาหะชนิดเชื้อน้อยที่มี HBV DNA ในเลือด< 2,000 IU/ml และกลุ่มระยะตับอักเสบเรื้อรังที่มี HBV DNA ในเลือด ≥ 2,000 IU/ml และระดับ ALT ในเลือด > 40 IU/ml หรือพบหลักฐานการอักเสบหรือพังผืดในตับ ผู้ทำการวิจัยทำการศึกษา SNP ของยีนตัวรับวิตามินดีจำนวน 6 ตำแหน่ง คือ CdX-2, GATA, FokI, Bsml, ApaI และ TaqI ตรวจโดยใช้ TaqMan real-time polymerase chain reaction (PCR) assay เพื่อศึกษาความแตกต่างของอัลลีล จีโนไทป์ และ haplotype ของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังระยะพาหะชนิดเชื้อน้อยและระยะตับอักเสบเรื้อรัง รวมถึง linkage disequilibrium (LD) mapping ได้รับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย haplotype inference application ผลการศึกษา: การศึกษารวบรวมผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง 324 คนช่วงเดือน กุมภาพันธ์ถึงสิงหาคม พ.ศ.2563 แบ่งเป็นกลุ่มระยะพาหะชนิดเชื้อ 163 คน และกลุ่มระยะตับอักเสบเรื้อรัง 161 คน สัดส่วนของผู้ป่วยเพศชายในผู้ป่วยกลุ่มระยะพาหะชนิดเชื้อน้อยน้อยกว่ากลุ่มระยะตับอักเสบเรื้อรังอย่างมีนัยยะสำคัญที่ร้อยละ 46.0 ต่อร้อยละ 68.3 (p < 0.001) ค่าเฉลี่ยระดับวิตามินดีในแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ สัดส่วนความถี่อัลลีล CdX-2 ในกลุ่มระยะพาหะชนิดเชื้อน้อยและกลุ่มระยะตับอักเสบเรื้อรังของอัลลีล G (G allele) คิดเป็นร้อยละ 53.7 และ 62.7 ตามลำดับ สัดส่วนของอัลลีล A (A allele) คิดเป็นร้อยละ 46.3 และ 37.3 ตามลำดับโดยแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ (p 0.019) สัดส่วนความถี่จีโนไทป์ CdX-2 พบ G/G จีโนไทป์ในกลุ่มระยะพาหะชนิดเชื้อน้อยน้อยกว่ากลุ่มระยะตับอักเสบเรื้อรัง โดยพบร้อยละ 27.0 และ 41.0 ตามลำดับ (p 0.028) AA haplotype ของ CdX-2/GATA และ AAC haplotype ของ CdX-2/GATA/FokI สัมพันธ์กับกลุ่มระยะพาหะชนิดเชื้อน้อยอย่างมีนัยยะสำคัญโดยมีอัตราส่วนออด 1.43 (1.04-1.96), p 0.025 และ 1.98 (1.34-2.91), p < 0.0019 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบหลายตัวแปรพบว่า G/A จีโนไทป์ของ Cdx-2 เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์ระยะพาหะชนิดเชื้อน้อยอย่างมีนัยยะสำคัญโดยมีอัตราส่วนออดที่ปรับแล้ว 1.83 (95%CI 1.10 – 3.04) จาก Linkage disequilibrium (LD) triangular mapping พบว่า BsmI, ApaI และ TaqI มีค่าคะแนน LD (LD'score) สูง (D' > 0.8) ทั้งในทั้งสองระยะ ในขณะที่ CdX-2/GATA และ GATA/FokI พบคะแนน LD สูงเฉพาะในกลุ่มระยะตับอักเสบเรื้อรัง สรุปผล: G/A จีโนไทป์ของ CdX-2 สัมพันธ์กับระยะพาหะชนิดเชื้อน้อยในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังชาวไทยอย่างมีนัยยะสำคัญ นอกจากนี้การศึกษาพบความแตกต่างของ LD ของ CdX-2/GATA และ GATA/FokI ในกลุ่มระยะพาหะชนิดเชื้อน้อยและกลุ่มระยะตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเป็นไปได้ว่าความแตกต่างของความหลากหลายของยีนตัวรับวิตามินดีนี้นำไปสู่ความแตกต่างของการควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน


การเปลี่ยนแปลงความหลากหลายของไมโครไบโอต้าในลำไส้หลังการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้อื่น, พิมพ์กมล เกียรติสุรนนท์ Jan 2020

การเปลี่ยนแปลงความหลากหลายของไมโครไบโอต้าในลำไส้หลังการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้อื่น, พิมพ์กมล เกียรติสุรนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาและความสำคัญ การเปลี่ยนแปลงของไมโครไบโอต้าในลำไส้ส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์และการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้อื่น ปัจจุบันหลักฐานดังกล่าวมีจำกัดในแถบเอเชียและยังไม่เคยมีการศึกษาในประเทศมาก่อน ผู้วิจัยจึงทำการศึกษารูปแบบการเปลี่ยนแปลงของไมโครไบโอต้าในลำไส้และความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้อื่นในประชากรไทย วิธีการวิจัย ทำการวิจัยแบบนำร่องในผู้ป่วยอายุ ≥ 15 ปีที่เข้ารับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้อื่นในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เก็บตัวอย่างอุจจาระที่ 3 ระยะคือ ภายใน 1 สัปดาห์ก่อนได้รับยาเคมีบำบัดเพื่อรับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ภายใน 3 วันหลังร่างกายยอมรับเซลล์ต้นกำเนิดจากผู้บริจาค (engraftment) และหลังจาก engraftment แล้ว 1 เดือน นำตัวอย่างอุจจาระไปทำการวิเคราะห์ทางจุลชีวิทยาโดย 16S rRNA gene sequencing ประเมินความหลากหลายโดยใช้ Shannon diversity index เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของไมโครไบโอต้าในลำไส้หลังการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดและดูความสัมพันธ์ระหว่างไมโครไบโอต้าในลำไส้กับการเกิดภาวะเซลล์ต้นกำเนิดใหม่ต่อต้านต้านร่างกายชนิดเฉียบพลัน (acute graft versus host disease, acute GVHD) ผลการศึกษา ผู้ป่วยที่เข้ารับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้อื่นทั้งหมด 11 ราย มีผู้ป่วย 2 ราย (ร้อยละ 18.2) เกิด acute GVHD ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตในระหว่าง การศึกษานี้ พบการติดเชื้อในกระแสเลือดและการติดเชื้อ C. difficile อย่างละ 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.3 จากผลการศึกษา Shannon diversity index ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่ม post-conditioning regimen เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ แสดงว่าช่วงที่มี engraftment จะมีความมากชนิดและความหลากหลายของแบคทีเรียลดลง สรุปผล พบการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายของไมโครไบโอต้าในลำไส้หลังการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้อื่น ความหลากหลายที่ลดลงมีแนวโน้มสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนคือการติดเชื้อและ acute GVHD สิ่งเหล่านี้บ่งชี้ว่าไมโครไบโอต้าในลำไส้นั้นอาจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้อื่นได้


ความชุกของภาวะความหนาแน่นของกระดูกต่ำ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และ การเกิดกระดูกหักในผู้ใหญ่ไทยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือด, สุทธนา โสธนนันทน์ Jan 2020

ความชุกของภาวะความหนาแน่นของกระดูกต่ำ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และ การเกิดกระดูกหักในผู้ใหญ่ไทยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือด, สุทธนา โสธนนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะความหนาแน่นของกระดูกต่ำ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และการเกิดกระดูกหักในผู้ใหญ่ไทยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือด วิธีการวิจัย การวิจัยแบบตัดขวางในผู้ใหญ่ไทยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ทำการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกที่กระดูกสันหลังส่วนเอว (lumbar spine) กระดูกสะโพกรวม (total hip) และกระดูกคอสะโพก (femoral neck) ด้วยเครื่อง dual energy X-ray absorptiometry เก็บข้อมูลกระดูกหักจากการซักประวัติและการตรวจทางรังสีของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว และประเมินภาวะกล้ามเนื้อน้อยตามเกณฑ์วินิจฉัยของ Asian Working Group for Sarcopenia ปี ค.ศ. 2014 ผลการศึกษา ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 116 คน มีค่ามัธยฐานของอายุ 33 (IQR 23-43.5) ปี ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย 20.0 กก./ม.2 ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดเบต้าฮีโมโกลบินอี พบความหนาแน่นของกระดูกต่ำ (T-score < -1.0) ร้อยละ 93.9 ในจำนวนนี้ร้อยละ 40 มีภาวะกระดูกพรุน (T-score < -2.5) พบความชุกของการเกิดกระดูกหักจากภยันตรายที่ไม่รุนแรง (fragility fracture) ร้อยละ 20.7 และภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยร้อยละ 30.2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความหนาแน่นของกระดูกได้แก่ ดัชนีมวลกาย (กระดูกสันหลังส่วนเอวและสะโพกรวม) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความหนาแน่นของกระดูกได้แก่ เพศหญิง (กระดูกคอสะโพก) ระดับเฟอร์ริติน (กระดูกสะโพกรวม) ประวัติตัดม้าม (กระดูกสะโพกรวม) และภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (กระดูกสะโพกรวม) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยคือการใช้ยาขับเหล็กชนิด deferiprone (OR 2.37; 95%CI 1.052-5.348, p=0.037) พบว่าผู้ป่วยที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อยทุกคนจะมีความหนาแน่นของกระดูกต่ำ ในทางกลับกัน ร้อยละ 32 ของผู้ป่วยที่มีความหนาแน่นของกระดูกต่ำจะมีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยร่วมด้วย และพบว่าภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักจากภยันตรายที่ไม่รุนแรง 3.5 เท่า (OR 3.49, 95%CI 1.318, 9.236, P=0.012) ความผิดปกติทางฮอร์โมนที่พบบ่อยที่สุดในการศึกษานี้คือ ภาวะขาดวิตามินดี (ระดับ 25-dihydroxyvitamin D < 20 นก./มล.) คิดเป็นร้อยละ 51 รองลงมาคือระดับ IGF-1 ต่ำ ฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำหรือต่ำแบบไม่มีอาการ ระดับฮอร์โมนเพศต่ำ ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติ (impaired fasting glucose) และระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ต่ำ ในความผิดปกติทางฮอร์โมนทั้งหมดนี้ พบว่ามีเพียงระดับ IGF-1 ที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความหนาแน่นของกระดูก และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการเกิดกระดูกหักจากภยันตรายที่ไม่รุนแรง สรุป ผู้ป่วยธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือดมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความหนาแน่นของกระดูกต่ำ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และกระดูกหักจากภยันตรายที่ไม่รุนแรง ดังนั้นจึงควรมีแนวทางคัดกรองและป้องกันภาวะเหล่านี้ เพื่อลดโอกาสในการเกิดกระดูกหักในอนาคต


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดการกลายพันธุ์ของยีนเอพิเดอร์มอลโกรทแฟกเตอร์รีเซ็บเตอร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790m ในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็กที่มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ภายหลังที่ได้รับยาต้านอีจีเอฟอาร์ไทโรซีนไคเนส, ณิชา ซึงสนธิพร Jan 2020

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดการกลายพันธุ์ของยีนเอพิเดอร์มอลโกรทแฟกเตอร์รีเซ็บเตอร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790m ในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็กที่มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ภายหลังที่ได้รับยาต้านอีจีเอฟอาร์ไทโรซีนไคเนส, ณิชา ซึงสนธิพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: กลไกการดื้อยาต้านอีจีเอฟอาร์ไทโรซีนไคเนสรุ่นที่หนึ่งหรือสองในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็กที่มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ที่พบได้บ่อยที่สุดคือการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M แต่ในปัจจุบันยังไม่มีปัจจัยที่แน่ชัดที่สามารถทำนายการเกิดการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่ามีปัจจัยใดหรือไม่ที่สัมพันธ์กับการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็กที่มีการกลายพันธุ์ปฐมภูมิของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิด exon 19 deletion หรือ L858R mutation และมีการดำเนินโรคมากขึ้นภายหลังที่ได้รับยาต้านอีจีเอฟอาร์ไทโรซีนไคเนสรุ่นที่หนึ่งหรือรุ่นที่สอง โดยมีตัวชี้วัดปฐมภูมิคือความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางคลินิกกับการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M ผลการศึกษา: ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 มีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษาวิจัยทั้งหมด 207 ราย ตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M ในผู้ป่วยร้อยละ 66.7 ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 64 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 67.6 และเป็นมะเร็งปอดชนิดอะดีโนร้อยละ 95.2 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการวิเคราะห์ข้อมูลแบบตัวแปรเดียว ได้แก่ การตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านอีจีเอฟอาร์ไทโรซีนไคเนส (OR 2.74, p = 0.006) และระยะเวลาปลอดการลุกลามโรคของการรักษาด้วยยาต้านอีจีเอฟอาร์ไทโรซีนไคเนสมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน (OR 3.71, p = 0.001) เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแบบพหุตัวแปรพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านอีจีเอฟอาร์ไทโรซีนไคเนส (OR 2.61, p = 0.009) อัตราการรอดชีวิตรวมในกลุ่มที่มีและไม่มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M เท่ากับ 41.9 เดือนและ 20.1 เดือนตามลำดับ (log rank p-value < 0.001) สรุปผลการศึกษา: การตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านอีจีเอฟอาร์ไทโรซีนไคเนสเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็กที่มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ และมีการดำเนินโรคมากขึ้นภายหลังที่ได้รับยาต้านอีจีเอฟอาร์ไทโรซีนไคเนสรุ่นที่หนึ่งหรือรุ่นที่สอง


ผลลัพธ์ของการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมและการใช้บอลลูนถ่างขยายลิ้นหัวใจในผู้ป่วย ลิ้นไมทรัลตีบแบบรูมาติกอย่างรุนแรงในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จากการติดตาม 10 ปี, วศินี พรหมรัตน์พรรณ์ Jan 2020

ผลลัพธ์ของการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมและการใช้บอลลูนถ่างขยายลิ้นหัวใจในผู้ป่วย ลิ้นไมทรัลตีบแบบรูมาติกอย่างรุนแรงในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จากการติดตาม 10 ปี, วศินี พรหมรัตน์พรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการรักษาโรคลิ้นหัวใจไมทรัลตีบแบบรูมาติกอย่างรุนแรงด้วยวิธีการใช้บอลลูนถ่างขยายและการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา วิธีการวิจัย: ทำการเก็บข้อมูลเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2553-2563 โดยมีผู้ป่วยในกลุ่มที่ใช้บอลลูนถ่างขยาย 164 รายและผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ 100 ราย ผลลัพธ์หลักในการวิจัย (primary outcome) คือผลลัพธ์รวมของอัตราการเสียชีวิต การทำหัตถการซ้ำ การเกิดเส้นเลือดอุดตัน และการเกิดภาวะน้ำท่วมปอดต้องนอนโรงพยาบาล ผลการศึกษา: ผลลัพธ์หลักในกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้บอลลูนถ่างขยายลิ้นหัวใจ แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.002) (37.2% และ 22% ตามลำดับ) โดยปัจจัยที่เป็นสาเหตุหลักมาจากการอัตราการทำหัตถการซ้ำ ซึ่งพบมากในกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้บอลลูนถ่างขยายลิ้นหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (18.3% และ 0% ตามลำดับ (p=0.000)) ในขณะที่อัตราการเสียชีวิต การเกิดเส้นเลือดอุดตัน และการเกิดน้ำท่วมปอดต้องนอนโรงพยาบาลไม่แตกต่างกันในสองกลุ่ม สรุป: การรักษาโรคลิ้นหัวใจไมทรัลตีบแบบรูมาติกอย่างรุนแรงด้วยวิธีการใช้บอลลูนถ่างขยายมีอัตราการทำหัตถการซ้ำมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่อัตราการเสียชีวิต การเกิดเส้นเลือดอุดตัน และการเกิดน้ำท่วมปอดต้องนอนโรงพยาบาลไม่แตกต่างกันในสองกลุ่ม


ภาวะเหลือคงค้างของสารแกดโดลิเนียมในหัวใจจากการตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจกับการทำนายภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจ, ธัชชาวุฒิ เทียนสันติสุข Jan 2020

ภาวะเหลือคงค้างของสารแกดโดลิเนียมในหัวใจจากการตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจกับการทำนายภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจ, ธัชชาวุฒิ เทียนสันติสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาและความสำคัญ : ในปัจจุบัน มีข้อมูลว่าการตรวจภาวะเหลือคงค้างของสารแกดโดลิเนียมในหัวใจจากการตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจน่าจะช่วยพยากรณ์การเกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะได้ จึงเป็นที่มาของการวิจัยนี้ที่จะหาความสัมพันธ์ของการตรวจพบภาวะเหลือคงค้างของสารแกดโดลิเนียมในหัวใจกับภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะในบริบทของประเทศไทย วิธีการวิจัย : การวิจัยนี้เป็นการศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจที่มีความสามารถในการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 ที่มาทำการตรวจหาภาวะเหลือคงค้างของสารแกดโดลิเนียมในหัวใจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจทั้งหมด 305 คน โดยพิจารณาศึกษาร่วมกับปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ และพิสูจน์ว่าภาวะเหลือคงค้างของสารแกดโดลิเนียมในหัวใจสามารถใช้ทำนายภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะได้หรือไม่ ผลการวิจัย : อัตราการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นผลการวิจัยหลักในกลุ่มคนไข้ที่ตรวจพบภาวะเหลือคงค้างของสารแกดโดลิเนียมในหัวใจสูงกว่ากลุ่มคนไข้ที่ตรวจไม่พบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 11.5 เทียบกับร้อยละ 4.1, p = 0.024) ในการวิเคราะห์ตัวแปรเดียว แต่ไม่พบความแตกต่างนี้ในการวิเคราะห์หลายตัวแปร, และไม่พบความแตกต่างของอัตราการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นผลการวิจัยรองเนื่องจากการเกิดเหตุการณ์น้อย นอกจากนี้การวิเคราะห์ระยะปลอดเหตุการณ์ยังแสดงให้เห็นว่า กลุ่มที่ตรวจพบภาวะเหลือคงค้างของสารแกดโดลิเนียมในหัวใจมีค่าอัตราส่วนอันตรายเป็น 2.89 เท่าของกลุ่มที่ตรวจไม่พบภาวะเหลือคงค้างของสารแกดโดลิเนียมในหัวใจ (p = 0.033) ในการเกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ สรุปผลการวิจัย : ภาวะเหลือคงค้างของสารแกดโดลิเนียมในหัวใจเป็นปัจจัยหนึ่งในหลายปัจจัย แต่ไม่ใช่ปัจจัยอิสระ ที่สามารถนำมาใช้ทำนายภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะได้ การนำข้อมูลจากการวิจัยนี้มาใช้ทางคลินิกเพื่อช่วยในการตัดสินใจใส่เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้ายังต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตต่อไป


Genetic Diversity Of Merozoite Surface Protein 1 Gene Of Plasmodium Falciparum In Thailand, May Myat Thu Jan 2020

Genetic Diversity Of Merozoite Surface Protein 1 Gene Of Plasmodium Falciparum In Thailand, May Myat Thu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In 2030, World health organization's target is to eliminate malaria at least in 35 countries. At present, Thailand is low risk of malaria so that, it has the potential to eliminate. About 10 years ago, malaria prevalence was high along the country border areas. To prevent the recurrence in those areas, evaluation of drug susceptibility of parasites and vaccine are important. Therefore, basic knowledge on genetic diversity in malaria parasite is needed. Merozoite surface protein 1(msp1), one of the vaccine candidate genes, is useful for monitoring genetic diversity of the parasite and the potential gene of vaccine. However, high diversity …


The Effects Of Limited Infusion Rate Of Fluid In The Early Resuscitation Of Sepsis On Syndecan-1 Shedding: A Randomized Controlled Trial (Life3s Trial), Jutamas Saoraya Jan 2020

The Effects Of Limited Infusion Rate Of Fluid In The Early Resuscitation Of Sepsis On Syndecan-1 Shedding: A Randomized Controlled Trial (Life3s Trial), Jutamas Saoraya

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Aggressive fluid administration is recommended in the resuscitation of septic patients. However, the delivery of a rapid fluid bolus might cause harm by inducing degradation of the endothelial glycocalyx. This research aimed to examine the effects of the limited infusion rate of fluid on glycocalyx shedding as measured by syndecan-1 in patients with sepsis-induced hypoperfusion. Methods: A prospective, randomized, controlled, open-label trial was conducted between November 2018 and February 2020 in an urban academic emergency department. Patients with sepsis-induced hypoperfusion, defined as hypotension or hyperlactatemia, were randomized to receive either the standard rate (30 ml/kg/hr) or limited rate (10 …