Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Biochemistry

PDF

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2021

Articles 1 - 5 of 5

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Development Of Novel Point-Of-Care-Testing For Oxalate Detection In Urine Based On Oxalate-Binding Ligands, Naruerat Joybumrung Jan 2021

Development Of Novel Point-Of-Care-Testing For Oxalate Detection In Urine Based On Oxalate-Binding Ligands, Naruerat Joybumrung

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Kidney stone disease is the third most common urinary tract disease worldwide that is more prevalent in the tropics. In Thailand, the highest stone prevalence up to 17% is reported in the Northeast. The disease is highly recurrent with a recurrence rate of about 50% within 5-10 years. The most common type of kidney stones is calcium oxalate (CaOx), and an increased urinary oxalate excretion is an important risk factor. Most of kidney stone patients have a hyperoxaluria condition (urinary oxalate >40 mg/day or >0.46 mmol/day). Therefore, urinary oxalate measurement has been widely used for estimating the risk of CaOx …


บทบาทของ Advanced Glycation End Products และภาวะเครียดออกซิเดชันในโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม, มนัสนันท์ จิตรจำนงค์ Jan 2021

บทบาทของ Advanced Glycation End Products และภาวะเครียดออกซิเดชันในโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม, มนัสนันท์ จิตรจำนงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลัง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ปัจจัยหนึ่งที่เป็นสาเหตุร่วมทำให้เกิดการเสื่อมคือภาวะเครียดออกซิเดชัน การสะสมของสารอนุมูลอิสระ และ advanced glycation end products (AGEs) ซึ่งอาจมีบทบาทสำคัญต่อการเกิดและการดำเนินโรค วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาบทบาทของ AGEs, receptor for AGEs (RAGE) ตัวชี้วัดภาวะเครียดออกซิเดชัน สารต้านอนุมูลอิสระ และความยาวเทโลเมียร์ในเลือดของผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม การศึกษานี้แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นสองกลุ่ม กลุ่มคนปกติที่มีสุขภาพดีและกลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม กลุ่มละ 75 ราย ซึ่งใช้ภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging, MRI) เพื่อแบ่งกลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมตามระดับความรุนแรงของโรค โดยทำการเก็บตัวอย่างเลือดจากอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มเพื่อตรวจวัดระดับ AGEs, RAGE, 8-hydroxy-2'-deoxyguanosine (8-OHdG), protein carbonyl, malondialdehyde (MDA), nitrite ในพลาสมา การแสดงออกของยีน inducible nitric oxide synthase (iNOS) ในเลือด ระดับ total antioxidant capacity (TAC), ferric reducing antioxidant power (FRAP) ในพลาสมา ค่า catalase activity ค่า superoxide dismutase (SOD) activity ค่า glutathione peroxidase (GPx) activity และความยาวเทโลเมียร์ในเลือด จากการศึกษาพบว่าระดับ AGEs, RAGE, 8-OHdG, protein carbonyl, MDA, nitrite ในพลาสมา การแสดงออกของยีน iNOS ในเลือดของกลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001, P < 0.001, P = 0.001, P = 0.01, P = 0.02, P < 0.001, P < 0.001 ตามลำดับ) และค่า GPx activity ในเลือดของกลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมมีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.04) สำหรับระดับ TAC, FRAP ค่า catalase activity ค่า SOD activity และความยาวเทโลเมียร์ในเลือดพบว่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมและกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่าระดับ protein carbonyl และ nitrite ในพลาสมามีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของโรคที่เพิ่มขึ้นจากภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การศึกษานี้สรุปได้ว่าระดับ protein carbonyl และ nitrite ในพลาสมาอาจนำมาประยุกต์ใช้เป็นตัวชี้วัดในการพยากรณ์ระดับความรุนแรงของโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมได้


Epigenetic Regulation Of Reactive Oxygen Species-Induced Tumor Progression In Hepatocellular Carcinoma, Suchittra Phoyen Jan 2021

Epigenetic Regulation Of Reactive Oxygen Species-Induced Tumor Progression In Hepatocellular Carcinoma, Suchittra Phoyen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Oxidative stress is a consequence of an imbalance of antioxidants and reactive species. The most common form of reactive species is derived from oxygen, called reactive oxygen species (ROS). ROS involve in pathogenesis of several diseases including cancers. Cancer genesis and progression are contributed through both genetic and epigenetic mechanisms. Histone modification, a post-translational modification at histone tails, is one of the epigenetic mechanisms known to participate in carcinogenesis and tumor progression. Although the ROS-induced histone modification alteration has been demonstrated in some cancers, the change in histone methylation and gene expression by ROS in hepatocellular carcinoma (HCC) is scarcely …


Integrative Transcriptomic Analysis And Validation Of Non-Coding Rna In Liver Cancers, Varunya Virushkul Jan 2021

Integrative Transcriptomic Analysis And Validation Of Non-Coding Rna In Liver Cancers, Varunya Virushkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hepatocellular carcinoma (HCC) and intrahepatic cholangiocarcinoma (iCCA) are the most common and cause cancer-related deaths. Due to the lack of sensitivity and specificity of conventional markers, such as AFP, CA19-9 and CEA. Thus, this study aimed to identify miRNAs as a diagnostic biomarker for HCC and iCCA. First, in discovery set, RNA sequencing and small RNA sequencing data of 992 HCC and adjacent tissues and 116 iCCA and adjacent tissues were downloaded from the GEO database. After that, the lncRNA-miRNA-mRNA network was constructed and analyzed for the differential expression of lncRNA (DElncRNA), miRNA (DEmiRNA), and mRNA (DEmRNA). Then, the significant …


การตรวจสอบการกลายพันธุ์บริเวณ Basal Core Promoter ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ด้วยเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบดรอปเลทดิจิตอล, ชวิศ พลพงษ์ Jan 2021

การตรวจสอบการกลายพันธุ์บริเวณ Basal Core Promoter ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ด้วยเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบดรอปเลทดิจิตอล, ชวิศ พลพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การกลายพันธุ์บริเวณ Basal core promoter (BCP) ตำแหน่ง A1762T/G1764A ของไวรัสตับอักเสบบี มีความสัมพันธ์กับการดำเนินโรคไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง(chronic hepatitis B; CHB) อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่เป็นการศึกษาด้วย Sanger sequencing ที่ให้ผลเชิงคุณภาพ แต่การศึกษาด้วยเทคนิคอื่นเช่นเทคนิค droplet digital PCR(ddPCR) ที่สามารถบ่งบอกปริมาณร้อยละการกลายพันธุ์ (mutation percentage) ได้ยังคงมีจำกัด การศึกษานี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจสอบการกลายพันธุ์บริเวณ BCP โดยใช้ ddPCR เปรียบเทียบกับ Sanger sequencing และ Real- Time PCR และหาความสัมพันธ์ของ mutation percentage กับปัจจัยทางไวรัสและคลินิก ในผู้ป่วย CHB จำนวน 185 คน ผลการศึกษาพบว่าจากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดมีผู้ป่วย 78 รายที่นำมาศึกษาเปรียบเทียบกันได้ทั้ง 3 วิธี โดยพบว่า ddPCR สามารถตรวจพบการกลายพันธุ์ได้มากกว่าSanger sequence(84.6%vs.43.6%,P<0.001) และReal-time PCR(84.6%vs. 60.3%,P<0.001) และพบการกลายพันธุ์ได้(limit of detection(LOD)ตั้งแต่ร้อยละ0.25 การศึกษาด้วย ddPCR พบว่าผู้ป่วย HBeAg-positive มีร้อยละการกลายพันธุ์ต่ำกว่าผู้ป่วย HBeAg-negative (31.36±33.56vs.46.86±27.88 ,P<0.001) นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับ HBcrAg ในเลือดของผู้ป่วย HBeAg-positive(r=-0.286,P=0.070) และพบว่าผู้ป่วยกลุ่ม wild type มีระดับของ HBcrAg สูงสุด และพบระดับ HBcrAg ลดลงเมื่อมีการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้น ส่วนในผู้ป่วย HBeAg-negative พบว่าการกลายพันธุ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ HBcrAg(r=0.273,P=0.008) ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ddPCR เป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพและมีความไวในการตรวจสอบการกลายพันธุ์บริเวณ BCP ได้ดีที่สุด นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์กับระดับของ HBcrAg ในเลือดซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ใหม่ที่ใช้ในทางคลินิก ดังนั้นเทคนิค ddPCR จึงอาจจะสามารถเป็นวิธีทางเลือกหนึ่งในการตรวจสอบการกลายพันธุ์ของไวรัสตับอักเสบบีได้