Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Diseases

Chulalongkorn University

2018

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ความชุกของเชื้อลิชมาเนีย และทริพพาโนโซมในริ้นฝอยทราย ที่เก็บได้จากแหล่งระบาดของโรคลิชมาเนียในประเทศไทย, พิมพ์พิลาส ศรีสุธน Jan 2018

ความชุกของเชื้อลิชมาเนีย และทริพพาโนโซมในริ้นฝอยทราย ที่เก็บได้จากแหล่งระบาดของโรคลิชมาเนียในประเทศไทย, พิมพ์พิลาส ศรีสุธน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ริ้นฝอยทราย จัดเป็นแมลงดูดเลือดที่มีขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Psychodidae อันดับ Diptera ซึ่งเป็นแมลงที่มีความสำคัญทางการแพทย์ เพราะเป็นพาหะนำโรคลิชมาเนีย ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ในประเทศไทยมีรายงานการพบโรคลิชมาเนียและโรคทริพพาโนโซมในมนุษย์ แต่ข้อมูลของแมลงพาหะนำโรค ยังมีอยู่อย่างจำกัด งานวิจัยนี้ จึงได้ทำการศึกษาความชุกของเชื้อลิชมาเนียและเชื้อทริพพาโนโซม และความสัมพันธ์ของแมลงพาหะนำโรค ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งระบาดของโรคลิชมาเนีย (จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดเชียงราย) และพื้นที่ที่ไม่ใช่แหล่งระบาดของโรคลิชมาเนีย (จังหวัดชุมพร) จำนวนทั้งหมด 500 ตัวอย่าง แบ่งออกเป็นตัวเมีย 276 ตัวอย่าง และตัวผู้ 224 ตัวอย่าง ทำการตรวจหาเชื้อลิชมาเนีย และเชื้อทริพพาโนโซม โดยใช้ตำแหน่งของยีน ITS1 และ SSU rRNA ตามลำดับ และระบุชนิดของริ้นฝอยทรายที่ตรวจพบเชื้อ ด้วยเทคนิคทางอณูชีววิทยาโดยใช้ตำแหน่งของยีน COI และ CytB ผลตรวจหาเชื้อลิชมาเนีย และทริพพาโนโซมในริ้นฝอยทราย พบว่า ริ้นฝอยทรายจากจังหวัดสงขลาจำนวน 180 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อ L. martiniquensis 2 ตัวอย่าง (1.1%) และพบเชื้อ Trypanosoma sp. 4 ตัวอย่าง (2.8%) ในริ้นฝอยทราย Se. khawi ซึ่งในจำนวนนี้มีการตรวจพบ Co-infection ของเชื้อ L. martiniquensis และ Trypanosoma sp. ในริ้นฝอยทราย Se. khawi 1 ตัวอย่างด้วย ริ้นฝอยทรายจากจังหวัดพัทลุง จำนวน 136 ตัวอย่าง ตรวจพบ Trypanosoma sp. 2 ตัวอย่าง (1.5%) ในริ้นฝอยทราย Se. khawi และ Se. indica ริ้นฝอยทรายจากจังหวัดเชียงราย 61 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อ Trypanosoma noyesi 1 …


Detection Of Flagellated Protozoa Belonging To The Trypanosomatidae Family In Sand Flies Collected From Songkhla Province, Southern Thailand, Komson Chinwirunsirisup Jan 2018

Detection Of Flagellated Protozoa Belonging To The Trypanosomatidae Family In Sand Flies Collected From Songkhla Province, Southern Thailand, Komson Chinwirunsirisup

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Autochthonous leishmaniasis cases in Thailand are increasing dramatically, the disease is caused by two major of Leishmania species; L. orientalis and L. martiniquensis. Leishmaniasis is transmitted to the vertebrate hosts through the bite of the infected female sand fly. Moreover, other trypanosomatid protozoa have also been reported in this insect vector. In 2016, Trypanosoma sp. has been detected in sand fly from Songkhla province, where the leishmaniasis case has been reported. The aims of this study are to investigate the potential vectors of trypanosomatids in this area using morphological and molecular identification based on the Cytb gene. The parasites were …


การตรวจหาเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในเหาโคจาก 3 จังหวัดของประเทศไทย, จุฬาลักษณ์ พรมรังษ์ Jan 2018

การตรวจหาเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในเหาโคจาก 3 จังหวัดของประเทศไทย, จุฬาลักษณ์ พรมรังษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหาโค (Cattle lice) เป็นแมลงดูดเลือดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นสาเหตุหลักของปัญหาสุขภาพสัตว์ทั่วโลก หลายงานวิจัยได้เปิดเผยข้อมูลการตรวจพบเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในเหาโคและเหาโคอาจมีศักยภาพที่สามารถทำหน้าที่เป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ ที่สามารถติดต่อโดยเหา และการศึกษาชนิดของเหาโคโดยใช้เทคนิคทางอณูชีววิทยาและการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในประเทศไทยยังไม่มีการรายงาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในเหาโคและจำแนกชนิดของเหาโคที่เก็บจากพื้นที่ 3 จังหวัดของประเทศไทย โดยตัวอย่างเหาโคทั้งหมด 109 ตัวอย่าง จะนำมาสกัดดีเอ็นเอและใช้เทคนิค PCR ศึกษาบนตำแหน่งยีน 18S rRNA ที่ได้ทำการพัฒนาออกแบบขึ้นเพื่อระบุชนิดของเหาโค และตรวจหาเชื้อ Bartonella spp., Acinetobacter spp. และ Rickettsia spp. จากนั้นนำมาวิเคราะห์หาลำดับนิวคลีโอไทด์และสร้างแผนภูมิวิวัฒนาการ จากผลลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 18S rRNA แสดงให้เห็นว่าชนิดของเหาโคในงานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ Haematopinus quadripertusus และ Haematopinus spp. ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ H. tuberculatus และสามารถตรวจพบเชื้อ Bartonella spp. ทั้งยีน gltA และ rpoB ทั้งหมด 25 ตัวอย่างจาก 109 ตัวอย่าง (22.93%) พบทั้งในระยะไข่และตัวเต็มวัย เมื่อทำการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์และศึกษาแผนภูมิวิวัฒนาการของยีน gltA และ rpoB พบว่าเชื้อ Bartonella spp. ในงานวิจัยนี้มีความใกล้ชิดกับสายพันธุ์ B. bovis งานวิจัยนี้เป็นการรายงานครั้งแรกของการตรวจพบเชื้อ Bartonella spp. ในเหาโคที่เก็บจากพื้นที่ 3 จังหวัดของประเทศไทย และทำให้ทราบถึงข้อมูลชนิดของเหาโคในประเทศไทยโดยใช้เทคนิคทางอณูชีววิทยา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจนำมาใช้เพื่อระบุศักยภาพของเหาโคที่จะทำหน้าที่เป็นพาหะนำโรคและอาจถ่ายทอดเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเหล่านี้จากสัตว์มาสู่มนุษย์